เมื่อวันที่ 15 ก.ค.ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ประกาศใช้มาตรการ 6 ประการผ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน โดยมีเนื้อหาสรุปเป็นประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้
1. ลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน แก๊สโซฮอล์ 91 แก๊สโซฮอล์ 95 E10 E20 จาก 3.30 เหลือ 0.0165 ต่อลิตร น้ำมันดีเซลจากลิตรละ 2.30 บาทเหลือ 0.005
2. ชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้มในภาคครัวเรือน
3. ลดค่าใช้จ่ายค่าน้ำประปาที่ใช้ในครัวเรือน โดยรัฐจะรับภาระสำหรับผู้ใช้น้ำในปริมาณ 0-50 ลบ.ม.ต่อเดือน
4. ลดภาระค่าไฟฟ้าที่ใช้ในภาคครัวเรือน โดยรัฐจะรับภาระสำหรับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 80 หน่วยต่อเดือนทั้งหมด และรับภาระครึ่งหนึ่งสำหรับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 80 หน่วย แต่ไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน
5. ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับผู้ที่โดยสารรถโดยสารประจำทางของ ขสมก.โดยจัดรถ 800 คันจาก 1,600 คันใน 73 เส้นทางของรถโดยสารธรรมดา ให้บริการโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และให้รถที่ไม่เก็บค่าโดยสารวิ่งบริการสลับกับรถที่เก็บค่าโดยสาร
6. ให้บริการฟรีสำหรับผู้โดยสารรถไฟชั้น 3 ไม่ปรับอากาศทั่วประเทศ
มาตรการทั้ง 6 ข้อดังกล่าวข้างต้นจะใช้เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 25 ก.ค. และไปสิ้นสุดในวันที่ 31 ม.ค. 2552
จากมาตรการดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนเชื่อว่าถ้าประชาชนได้ฟังแล้วเชื่อว่าจะรู้สึกใจชื้นขึ้นมาทันที และทำให้รู้สึกนิยมชมชอบรัฐบาลที่ห่วงใยประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ฟังที่เป็นรากหญ้าและเป็นแฟนเก่าของพรรคพลังประชาชน ซึ่งเคยได้รับอานิสงส์ในทำนองนี้มาจากนโยบายประชานิยมของพรรคไทยรักไทย อันเป็นบ่อเกิดหรือรากเหง้าของพรรคพลังประชาชน
แต่ในทางกลับกัน ท่านผู้ฟังที่มิได้นิยมชมชอบพรรคการเมืองใดในลักษณะเป็นแฟนคลับ และมองมาตรการนี้ด้วยการใช้วิจารณญาณแล้ว ก็จะเกิดความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไปจากที่แฟนคลับของพรรคพลังประชาชนมองค่อนข้างมาก โดยมองทั้งในแง่บวก และแง่ลบ
เริ่มด้วยแง่บวกก็จะเห็นด้วย และคล้อยตามในการที่รัฐบาลพยายามแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้แก่คนยากคนจน ถึงแม้ว่าเมื่อมองลึกลงไปถึงกาลเวลาที่เริ่มมาตรการ และวิธีการใช้มาตรการแล้วไม่ค่อยจะเชื่อนักว่าคนจนอันเป็นจุดให้เกิดมาตรการนี้จะได้รับอานิสงส์โดยตรงและทั่วถึงนัก แต่คนกลุ่มนี้ก็มองในแง่ที่ทำดีกว่าไม่ทำ ถึงแม้จะให้ผลน้อยก็ดีกว่าไม่ให้ผลเลย คนของพรรคประชาธิปัตย์ก็จัดอยู่ในประเภทนี้ด้วย
แต่ในขณะที่มองในแง่บวกและเห็นด้วย ก็มองในแง่ลบและอ้างถึงในแง่ของผลกระทบที่จะตามมาในอนาคต รวมไปถึงความไม่คุ้มค่าของการสูญเสียรายได้รัฐจาก 6 มาตรการนี้มีถึง 4.6 หมื่นล้านบาท และเงินจำนวนนี้ก็คือรายได้ของแผ่นดินอันเกิดจากการเก็บภาษีอากรจากผู้มีรายได้ ทั้งภาษีบุคคลธรรมดา และภาษีนิติบุคคล
เมื่อรายได้จำนวนนี้ขาดหายไป แต่รายจ่ายของประเทศที่จะต้องจัดหามาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการพัฒนาประเทศมีอยู่ แน่นอนว่ารัฐบาลอาจจะเป็นรัฐบาลนี้หรือรัฐบาลอื่นที่จะเข้ามาในอนาคตต่อจากนี้ จะต้องได้รับวิบากกรรมที่รัฐบาลนี้ทำไว้ด้วยการจัดเก็บภาษีเพิ่มหรือไม่ก็ก่อหนี้เพิ่มนั้น ก็หมายถึงว่ารัฐจะก่อความเดือดร้อนให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนเพิ่มขึ้นอันเป็นผลพวงของ 6 มาตรการนี้
แต่ที่ยิ่งกว่านี้ ผู้คนที่มองแบบวิเคราะห์เจาะลึก เช่น นักวิชาการ จะมองมาตรการ 6 ประการที่รัฐออกมาในทำนองว่าเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ และแถมยังให้ข้อสังเกตว่าการที่รัฐได้ออกมาตรการในลักษณะนี้ออกมาในช่วงนี้ น่าจะเป็นการสร้างค่านิยมทางการเมืองเพื่อเตรียมเลือกตั้ง หลังจากยุบสภาฯ ซึ่งคาดกันว่าน่าจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ และเกี่ยวกับประเด็นนี้ผู้เขียนเองก็มองเห็นในทำนองเดียวกัน ทั้งนี้โดยอาศัยปัจจัยในทางตรรกศาสตร์ดังต่อไปนี้
1. การที่รัฐต้องสูญเสียรายได้ถึง 4.6 หมื่นล้านบาท ภายในระยะเวลา 6 เดือน เพียงเพื่อจะช่วยลดความเดือดร้อนเป็นการชั่วคราว ไม่ว่าจะมองในแง่ของการบริหารจัดการหรือมองในแง่ของการลงทุนแล้ว พูดได้ว่าไม่คุ้ม เพราะต้องไม่ลืมว่าการที่ให้เขาใช้ของถูกก็เท่ากับไม่ให้สติเพื่อเตือนให้เขาประหยัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของภาษีน้ำมัน เพราะปริมาณการใช้จะเพิ่มขึ้นแทนที่จะลดลงเพราะราคาแพงอันเป็นการสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงในโลกของการแข่งขัน
2. สถานการณ์การเงินการคลังของประเทศไทยในขณะนี้ก็ใช่ว่าจะอยู่ในฐานะร่ำรวย และมีเหลือเฟือมากพอที่จะนำจากคนรวยมาให้แก่คนจนได้ เพราะโดยสภาพความเป็นจริงผู้ประกอบการธุรกิจในขณะนี้อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการล้มละลายหรือเลิกกิจการ เมื่อรัฐต้องเสียรายได้ส่วนหนึ่งไป ก็จะต้องหาทางเก็บส่วนอื่นเพิ่ม ซึ่งคงหนีไม่พ้นต้องรีดภาษีเพิ่มหรือไม่ก็กู้เพิ่ม ซึ่งล้วนแต่ก่อความเดือดร้อนให้แก่ลูกหลานในอนาคตทั้งสิ้น
3. นอกจากข้อ 1 และข้อ 2 แล้ว ในบางมาตรการ เช่น การจัดรถประจำทางให้บริการฟรีสลับกับรถเก็บเงิน ถ้าดูให้ลึกแล้วจะเห็นได้ว่ามาตรการที่ว่านี้บังเกิดผลแก่คนจนได้ไม่ทั่วถึง และจะย้อนเข้าตัวรัฐบาลเอง เพราะจะต้องไม่ลืมว่า คนจะเดินทางหนาแน่นในช่วงเช้าเพื่อไปทำงาน และช่วงเย็นกลับบ้านเพื่อการพักผ่อนซึ่งล้วนแล้วแต่มีข้อจำกัดในการรอ คือ ตอนเช้าต้องไปถึงที่ทำงานก่อนหรือตรงเวลาทำงาน และตอนเย็นต้องรีบกลับบ้านเพื่อพักผ่อนให้เพียงพอเป็นการสะสมกำลังไว้ทำงานในวันรุ่งขึ้น แล้วจะเอาเวลางานมารอรถฟรี และไม่แน่ว่ารอแล้วจะมีที่ว่างให้ยืนหรือเปล่า ไม่ต้องพูดถึงที่นั่ง เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วคนจนจะได้รับบริการทั่วถึงละหรือ
ยิ่งกว่านี้พนักงานเก็บเงินของรถประจำทางโดยปกติจะมีรายได้จากเงินเดือนประจำ และเปอร์เซ็นต์จากการขายตั๋ว เมื่อให้ขึ้นรถฟรีแล้วพนักงานพวกนี้จะได้เงินจากที่ไหนมาชดเชยรายได้ที่ขาดหายไป
อีกมาตรการหนึ่งที่ไม่น่าจะแก้ความเดือดร้อนให้คนจนอย่างตรงจุด คือ น้ำประปาที่บอกว่า ถ้าใช้ในครัวเรือนไม่เกิน 50 ลบ.ม.ต่อเดือน รัฐจะออกให้แต่ถ้าเกินให้จ่ายเองนั้น ถ้ามองเพียงตัวเลขก็พอจะอนุมานได้ว่าได้ผล แต่ถ้ามองในแง่ตรรกะว่าจำนวนน้ำที่ใช้ขึ้นอยู่กับจำนวนคนในบ้าน คนจนส่วนใหญ่จะอยู่รวมกันพ่อ แม่ ลูก บางครอบครัวรวมญาติด้วยก็จะมาก เมื่อเทียบกับคนที่แยกกันอยู่บ้านเดียวไม่กี่คน จึงอาจเป็นไปได้ว่าค่าน้ำที่รัฐออกให้จะไม่จำกัดอยู่ในวงของคนจน แต่อาจทำให้คนรวยที่ควรจะจ่ายเองได้ผลพวงจากมาตรการนี้ก็ได้ และถ้าข้อสังเกตนี้เป็นจริงก็เท่ากับรัฐเสียรายได้ที่ไม่ควรเสียนั่นเอง
โดยสรุป 6 มาตรการนี้ ถ้ามองในภาวะแวดล้อมทั้งทางการเงินของรัฐ และระยะเวลาที่ใช้มาตรการแล้วจะให้ผลประโยชน์แก่ประเทศโดยรวมน้อยกว่าที่รัฐจ่ายไป ทั้งยังเป็นการแก้ปัญหาด้วยการสร้างปัญหาเพิ่มด้วย
เมื่อเป็นเช่นนี้จึงกล่าวได้ว่า มาตรการ 6 ข้อที่ว่านี้ออกมาด้วยการพิจารณาที่ไม่รอบคอบ และรีบร้อนเพื่อหวังแก้ปัญหาทางการเมืองอันเนื่องมาจากรัฐบาลประสบปัญหาวิกฤตศรัทธาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั่นเอง
ส่วนประเด็นที่มีผู้วิพากษ์ว่ารัฐบาลออกมาตรการนี้มา เพื่อปูทางไปสู่การสร้างคะแนนนิยมก่อนมีการยุบสภาฯ และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่นั้น ถ้าดูจากภาวะการเมืองช่วงนี้ก็พอจะมีน้ำหนักอยู่บ้างแต่ก็ไม่น่ามาก เพราะปัญหาการยุบพรรค และคดีความที่ผู้นำรัฐบาลกำลังประสบอยู่ไม่น่าที่จะทำให้มีความหวังใดๆ ว่าจะได้รับการเลือกตั้งอีกครั้งแล้วจะหาคะแนนไปทำไม จึงเป็นไปได้มากที่สุดว่า 6 มาตรการคงเป็นเหมือนยาแก้โรคเสื่อมศรัทธาทางการเมืองให้ ครม.ชุดนี้ และต่ออายุเพื่อการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้มาจากการอยู่ในตำแหน่งน่าจะถูกต้องกว่า
1. ลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน แก๊สโซฮอล์ 91 แก๊สโซฮอล์ 95 E10 E20 จาก 3.30 เหลือ 0.0165 ต่อลิตร น้ำมันดีเซลจากลิตรละ 2.30 บาทเหลือ 0.005
2. ชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้มในภาคครัวเรือน
3. ลดค่าใช้จ่ายค่าน้ำประปาที่ใช้ในครัวเรือน โดยรัฐจะรับภาระสำหรับผู้ใช้น้ำในปริมาณ 0-50 ลบ.ม.ต่อเดือน
4. ลดภาระค่าไฟฟ้าที่ใช้ในภาคครัวเรือน โดยรัฐจะรับภาระสำหรับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 80 หน่วยต่อเดือนทั้งหมด และรับภาระครึ่งหนึ่งสำหรับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 80 หน่วย แต่ไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน
5. ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับผู้ที่โดยสารรถโดยสารประจำทางของ ขสมก.โดยจัดรถ 800 คันจาก 1,600 คันใน 73 เส้นทางของรถโดยสารธรรมดา ให้บริการโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และให้รถที่ไม่เก็บค่าโดยสารวิ่งบริการสลับกับรถที่เก็บค่าโดยสาร
6. ให้บริการฟรีสำหรับผู้โดยสารรถไฟชั้น 3 ไม่ปรับอากาศทั่วประเทศ
มาตรการทั้ง 6 ข้อดังกล่าวข้างต้นจะใช้เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 25 ก.ค. และไปสิ้นสุดในวันที่ 31 ม.ค. 2552
จากมาตรการดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนเชื่อว่าถ้าประชาชนได้ฟังแล้วเชื่อว่าจะรู้สึกใจชื้นขึ้นมาทันที และทำให้รู้สึกนิยมชมชอบรัฐบาลที่ห่วงใยประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ฟังที่เป็นรากหญ้าและเป็นแฟนเก่าของพรรคพลังประชาชน ซึ่งเคยได้รับอานิสงส์ในทำนองนี้มาจากนโยบายประชานิยมของพรรคไทยรักไทย อันเป็นบ่อเกิดหรือรากเหง้าของพรรคพลังประชาชน
แต่ในทางกลับกัน ท่านผู้ฟังที่มิได้นิยมชมชอบพรรคการเมืองใดในลักษณะเป็นแฟนคลับ และมองมาตรการนี้ด้วยการใช้วิจารณญาณแล้ว ก็จะเกิดความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไปจากที่แฟนคลับของพรรคพลังประชาชนมองค่อนข้างมาก โดยมองทั้งในแง่บวก และแง่ลบ
เริ่มด้วยแง่บวกก็จะเห็นด้วย และคล้อยตามในการที่รัฐบาลพยายามแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้แก่คนยากคนจน ถึงแม้ว่าเมื่อมองลึกลงไปถึงกาลเวลาที่เริ่มมาตรการ และวิธีการใช้มาตรการแล้วไม่ค่อยจะเชื่อนักว่าคนจนอันเป็นจุดให้เกิดมาตรการนี้จะได้รับอานิสงส์โดยตรงและทั่วถึงนัก แต่คนกลุ่มนี้ก็มองในแง่ที่ทำดีกว่าไม่ทำ ถึงแม้จะให้ผลน้อยก็ดีกว่าไม่ให้ผลเลย คนของพรรคประชาธิปัตย์ก็จัดอยู่ในประเภทนี้ด้วย
แต่ในขณะที่มองในแง่บวกและเห็นด้วย ก็มองในแง่ลบและอ้างถึงในแง่ของผลกระทบที่จะตามมาในอนาคต รวมไปถึงความไม่คุ้มค่าของการสูญเสียรายได้รัฐจาก 6 มาตรการนี้มีถึง 4.6 หมื่นล้านบาท และเงินจำนวนนี้ก็คือรายได้ของแผ่นดินอันเกิดจากการเก็บภาษีอากรจากผู้มีรายได้ ทั้งภาษีบุคคลธรรมดา และภาษีนิติบุคคล
เมื่อรายได้จำนวนนี้ขาดหายไป แต่รายจ่ายของประเทศที่จะต้องจัดหามาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการพัฒนาประเทศมีอยู่ แน่นอนว่ารัฐบาลอาจจะเป็นรัฐบาลนี้หรือรัฐบาลอื่นที่จะเข้ามาในอนาคตต่อจากนี้ จะต้องได้รับวิบากกรรมที่รัฐบาลนี้ทำไว้ด้วยการจัดเก็บภาษีเพิ่มหรือไม่ก็ก่อหนี้เพิ่มนั้น ก็หมายถึงว่ารัฐจะก่อความเดือดร้อนให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนเพิ่มขึ้นอันเป็นผลพวงของ 6 มาตรการนี้
แต่ที่ยิ่งกว่านี้ ผู้คนที่มองแบบวิเคราะห์เจาะลึก เช่น นักวิชาการ จะมองมาตรการ 6 ประการที่รัฐออกมาในทำนองว่าเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ และแถมยังให้ข้อสังเกตว่าการที่รัฐได้ออกมาตรการในลักษณะนี้ออกมาในช่วงนี้ น่าจะเป็นการสร้างค่านิยมทางการเมืองเพื่อเตรียมเลือกตั้ง หลังจากยุบสภาฯ ซึ่งคาดกันว่าน่าจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ และเกี่ยวกับประเด็นนี้ผู้เขียนเองก็มองเห็นในทำนองเดียวกัน ทั้งนี้โดยอาศัยปัจจัยในทางตรรกศาสตร์ดังต่อไปนี้
1. การที่รัฐต้องสูญเสียรายได้ถึง 4.6 หมื่นล้านบาท ภายในระยะเวลา 6 เดือน เพียงเพื่อจะช่วยลดความเดือดร้อนเป็นการชั่วคราว ไม่ว่าจะมองในแง่ของการบริหารจัดการหรือมองในแง่ของการลงทุนแล้ว พูดได้ว่าไม่คุ้ม เพราะต้องไม่ลืมว่าการที่ให้เขาใช้ของถูกก็เท่ากับไม่ให้สติเพื่อเตือนให้เขาประหยัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของภาษีน้ำมัน เพราะปริมาณการใช้จะเพิ่มขึ้นแทนที่จะลดลงเพราะราคาแพงอันเป็นการสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงในโลกของการแข่งขัน
2. สถานการณ์การเงินการคลังของประเทศไทยในขณะนี้ก็ใช่ว่าจะอยู่ในฐานะร่ำรวย และมีเหลือเฟือมากพอที่จะนำจากคนรวยมาให้แก่คนจนได้ เพราะโดยสภาพความเป็นจริงผู้ประกอบการธุรกิจในขณะนี้อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการล้มละลายหรือเลิกกิจการ เมื่อรัฐต้องเสียรายได้ส่วนหนึ่งไป ก็จะต้องหาทางเก็บส่วนอื่นเพิ่ม ซึ่งคงหนีไม่พ้นต้องรีดภาษีเพิ่มหรือไม่ก็กู้เพิ่ม ซึ่งล้วนแต่ก่อความเดือดร้อนให้แก่ลูกหลานในอนาคตทั้งสิ้น
3. นอกจากข้อ 1 และข้อ 2 แล้ว ในบางมาตรการ เช่น การจัดรถประจำทางให้บริการฟรีสลับกับรถเก็บเงิน ถ้าดูให้ลึกแล้วจะเห็นได้ว่ามาตรการที่ว่านี้บังเกิดผลแก่คนจนได้ไม่ทั่วถึง และจะย้อนเข้าตัวรัฐบาลเอง เพราะจะต้องไม่ลืมว่า คนจะเดินทางหนาแน่นในช่วงเช้าเพื่อไปทำงาน และช่วงเย็นกลับบ้านเพื่อการพักผ่อนซึ่งล้วนแล้วแต่มีข้อจำกัดในการรอ คือ ตอนเช้าต้องไปถึงที่ทำงานก่อนหรือตรงเวลาทำงาน และตอนเย็นต้องรีบกลับบ้านเพื่อพักผ่อนให้เพียงพอเป็นการสะสมกำลังไว้ทำงานในวันรุ่งขึ้น แล้วจะเอาเวลางานมารอรถฟรี และไม่แน่ว่ารอแล้วจะมีที่ว่างให้ยืนหรือเปล่า ไม่ต้องพูดถึงที่นั่ง เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วคนจนจะได้รับบริการทั่วถึงละหรือ
ยิ่งกว่านี้พนักงานเก็บเงินของรถประจำทางโดยปกติจะมีรายได้จากเงินเดือนประจำ และเปอร์เซ็นต์จากการขายตั๋ว เมื่อให้ขึ้นรถฟรีแล้วพนักงานพวกนี้จะได้เงินจากที่ไหนมาชดเชยรายได้ที่ขาดหายไป
อีกมาตรการหนึ่งที่ไม่น่าจะแก้ความเดือดร้อนให้คนจนอย่างตรงจุด คือ น้ำประปาที่บอกว่า ถ้าใช้ในครัวเรือนไม่เกิน 50 ลบ.ม.ต่อเดือน รัฐจะออกให้แต่ถ้าเกินให้จ่ายเองนั้น ถ้ามองเพียงตัวเลขก็พอจะอนุมานได้ว่าได้ผล แต่ถ้ามองในแง่ตรรกะว่าจำนวนน้ำที่ใช้ขึ้นอยู่กับจำนวนคนในบ้าน คนจนส่วนใหญ่จะอยู่รวมกันพ่อ แม่ ลูก บางครอบครัวรวมญาติด้วยก็จะมาก เมื่อเทียบกับคนที่แยกกันอยู่บ้านเดียวไม่กี่คน จึงอาจเป็นไปได้ว่าค่าน้ำที่รัฐออกให้จะไม่จำกัดอยู่ในวงของคนจน แต่อาจทำให้คนรวยที่ควรจะจ่ายเองได้ผลพวงจากมาตรการนี้ก็ได้ และถ้าข้อสังเกตนี้เป็นจริงก็เท่ากับรัฐเสียรายได้ที่ไม่ควรเสียนั่นเอง
โดยสรุป 6 มาตรการนี้ ถ้ามองในภาวะแวดล้อมทั้งทางการเงินของรัฐ และระยะเวลาที่ใช้มาตรการแล้วจะให้ผลประโยชน์แก่ประเทศโดยรวมน้อยกว่าที่รัฐจ่ายไป ทั้งยังเป็นการแก้ปัญหาด้วยการสร้างปัญหาเพิ่มด้วย
เมื่อเป็นเช่นนี้จึงกล่าวได้ว่า มาตรการ 6 ข้อที่ว่านี้ออกมาด้วยการพิจารณาที่ไม่รอบคอบ และรีบร้อนเพื่อหวังแก้ปัญหาทางการเมืองอันเนื่องมาจากรัฐบาลประสบปัญหาวิกฤตศรัทธาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั่นเอง
ส่วนประเด็นที่มีผู้วิพากษ์ว่ารัฐบาลออกมาตรการนี้มา เพื่อปูทางไปสู่การสร้างคะแนนนิยมก่อนมีการยุบสภาฯ และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่นั้น ถ้าดูจากภาวะการเมืองช่วงนี้ก็พอจะมีน้ำหนักอยู่บ้างแต่ก็ไม่น่ามาก เพราะปัญหาการยุบพรรค และคดีความที่ผู้นำรัฐบาลกำลังประสบอยู่ไม่น่าที่จะทำให้มีความหวังใดๆ ว่าจะได้รับการเลือกตั้งอีกครั้งแล้วจะหาคะแนนไปทำไม จึงเป็นไปได้มากที่สุดว่า 6 มาตรการคงเป็นเหมือนยาแก้โรคเสื่อมศรัทธาทางการเมืองให้ ครม.ชุดนี้ และต่ออายุเพื่อการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้มาจากการอยู่ในตำแหน่งน่าจะถูกต้องกว่า