มันเป็นเวลายาวนานถึง 76 ปีแห่งความเสื่อม ล้มเหลวอย่างซ้ำซาก ประเทศไทยนับแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ. ศ. 2475 เป็นต้นมา ใช้รัฐธรรมนูญมากถึง 18 ฉบับ สภาวการณ์ของประเทศไทย คือการดำรงอยู่จริงของประเทศ โดยมีรูปประเทศ (Form of the Country) คือ ราชอาณาจักร (Kingdome) แต่มีการปกครองแบบเผด็จการ โดยประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมอย่างรอบด้าน และได้ใช้รูปการปกครอง (Form of Government) คือระบบรัฐสภา (Parliamentary System) ใช้รัฐธรรมนูญโดยไม่มีหลักการปกครอง (Non-Principle of Government) จึงไม่ชี้ชัดว่าเป็นระบอบอะไรกันแน่ (แต่หลอกและบิดเบือนว่านี่คือระบอบประชาธิปไตย) มีแต่เพียงวิธีการปกครอง (Methods of Government) เพียงด้านเดียว ได้แก่หมวดและมาตราต่างๆ ในรัฐธรรมนูญ
บรมธรรม (ธรรมาธิปไตย) เป็นศูนย์แห่งสรรพสิ่ง, ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล, พระรัตนตรัยเป็นศูนย์กลางของชาวพุทธ, พระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลางของเหล่าพสกนิกรและปวงชนในชาติ, พ่อแม่เป็นศูนย์กลางของบุตร ฯลฯ ฉันใด
หลักการปกครอง (ระบอบ) ย่อมเป็นศูนย์กลางของรัฐธรรมนูญ (หมวดและมาตราต่างๆ) และเป็นศูนย์กลางของประชาชนในทางการเมือง ฉันนั้น
แต่ในช่วงเวลา 76 ปี รัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ ประเทศไทยไม่เคยมีหลักการปกครอง นี่คือเหตุแห่งความหายนะในทุกด้านของชาติ เหตุแห่งความทุกข์ยากต่างๆ นานาของแผ่นดิน
เมื่อโครงสร้างทางการเมืองไทยปราศจากหลักการปกครองเสียแล้ว ย่อมเป็นปัจจัยให้รัฐธรรมนูญต้องล้มเหลวทุกครั้งไป (ถึงแม้ว่ามาตราต่างๆ จะดูดีก็ตาม)
ลองตริตรองดูเถิดว่า หากไม่มีดวงอาทิตย์ หรือดวงอาทิตย์มีอันต้องพินาศ ดาวเคราะห์ทั้งหลายก็ย่อมต้องพินาศตามไปด้วย
หากไม่มีพระรัตนตรัย (พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์) ชาวพุทธจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
ดังนั้น โครงสร้างทางการเมืองที่ปราศจากหลักการปกครองโดยธรรม ย่อมเป็นโครงสร้างทางการเมืองมิจฉาทิฐิ ย่อมเป็นปัจจัยให้รัฐธรรมนูญ (หมวดและมาตราต่างๆ) มิจฉาทิฐิ ย่อมเป็นปัจจัยให้รัฐบาลมิจฉาทิฐิ ปกครองอย่างมิจฉาทิฐิ เศรษฐกิจ สังคม ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมก็จะพลอยพินาศ ย่ำแย่ตามไปด้วยอย่างเป็นไปเอง
นอกจากนี้ ยังมีปรากฏการณ์ อันเป็นผลของโครงสร้างทางการเมืองมิจฉาทิฐิ คือ ความขัดแย้งของชนในชาติ โดยมีตัวรัฐธรรมนูญเป็นศูนย์กลางแห่งความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองต่อผู้ปกครองด้วยกันเอง ขัดแย้งกันทุกฉบับไม่มีเว้น นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 จนกระทั่งฉบับปัจจุบัน องค์กรอื่นที่ต่ำลงมา กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน วัด โรงเรียน บริษัท ครอบครัวหย่าร้าง และองค์กรต่างๆ ล้วนแล้วมีความขัดแย้งแตกแยกกันไปหมด
พูดง่ายๆ ว่า โครงสร้างการเมืองไทยเราเมื่อไม่มีหลักการปกครอง คือไม่มีศูนย์กลาง แก่นกลาง หรือรากฐานของชาติในทางการเมือง มันกลายเป็นว่าต่างคนต่างความคิด หาข้อยุติไม่ได้ ร้อยคนร้อยจุดมุ่งหมาย พันคนพันจุดมุ่งหมาย ล้านคนล้านจุดมุ่งหมาย ไปกันคนละทิศละทาง หาความเป็นเอกภาพไม่ได้ ผู้ปกครองขัดแย้งกันเอง คนในชาติมาขัดแย้งกันเอง และทำให้อ่อนแอลงๆ ประเทศไทยกลายเป็นคนป่วยกลายเป็นคนอ่อนแอ นี่เป็นผลจากการที่ไม่มีหลักการปกครอง
นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่าเมื่อเรามีปัญหากระทบกระทั่ง กรณีพิพาทต่างๆ กับเพื่อนบ้าน เราต้องเสียเปรียบตลอดทุกครั้งไป แม้แต่กับประเทศเขมรเราก็เสียเปรียบเขาตลอด แล้วคอยดูกันต่อไป
แต่เหล่าพวกผู้ปกครองไทยรุ่นแล้วรุ่นเล่าหาได้ฉุกคิดไม่ ต่างก็สืบทอดลัทธิรัฐธรรมนูญ อันเป็นแนวทางมิจฉาทิฐิอันใหญ่หลวงอย่างร้ายกาจที่สุดคือ ร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมรรควิธีนี้ แนวทางนี้ซึ่งได้พิสูจน์ให้เห็นประจักษ์ชัดมาแล้วว่าล้มเหลวมาตลอด ล้มเหลวอย่างซ้ำซากตลอดระยะเวลา 76 ปี
แนวทางแก้ไขโดยธรรม
รัฐธรรมนูญที่ถูกต้อง คือยิ่งกว่าถูกต้อง จะต้องมีหลักการปกครองโดยเป็นศูนย์กลางขณะเดียวกัน หลักการปกครองย่อมเป็นศูนย์กลางของปวงชนในชาติ หลักการปกครองคือรากฐานของชาติ รากฐานของชาติที่สำคัญยิ่งคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยมีธรรมเป็นศูนย์กลาง นั้นก็คือธรรมาธิปไตย นั่นเอง (ธรรม + อธิปไตย ก็คือ การถือธรรมเป็นใหญ่)
ประเทศชาติจะรุ่งเรืองมั่นคงก้าวหน้า คือการถือหลักเอกภาพของความหลากหลาย (Unity of Diversity) ความเป็นเอกภาพคือความสามัคคีธรรมและความสันติสุขของคนในชาติ บนความแตกต่างทางวุฒิการศึกษา อาชีพ ศาสนา ลัทธิฯ ลัทธิการเมือง ความเชื่อ ค่านิยม ฯลฯ จะเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมได้นั้น ก็ต่อเมื่อประเทศไทยเราจะต้องมีหลักการปกครองโดยธรรมเท่านั้น
เอกภาพหรือสามัคคีธรรม คือสัมพันธภาพระหว่างด้านเอกภาพกับด้านความแตกต่างหลากหลาย เราได้ยืนยันความถูกต้องโดยธรรม จากสัมพันธภาพในลักษณะต่างๆ โดยย่อ ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ระหว่างนิพพานกับขันธ์ 5 ส่วน นิพพานเป็นด้านเอกภาพ ส่วนขันธ์ 5 (กายกับจิต) รูป ได้ธาตุ 4 มีธาตุดิน, น้ำ, ลม, ไฟ ส่วนนาม 4 ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และจิตตสังขารที่ปรุงแต่งเป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง เช่น กลัว โลภ โกรธ หลง มีลักษณะแตกต่างหลากหลาย
2. สัมพันธภาพของกฎธรรมชาติระหว่างอสังขตธรรม (ธรรมที่ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง) กับ สังขตธรรม คือ ธรรมที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่สิ่งไม่มีชีวิตและสิ่งมีชีวิต, พืช, สัตว์ อันมีความแตกต่างหลากหลาย จะพบว่าอสังขตธรรมเป็นด้านปฐมภูมิและเป็นองค์เอกภาพ ส่วนสังขตธรรมเป็นด้านทุติยภูมิ และมีลักษณะแตกต่างหลากหลาย
3. สัมพันธภาพระหว่างนิพพานกับคำสอน 84,000 พระธรรมขันธ์ พระพุทธเจ้าตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เอง เข้าถึงพระนิพพานก่อนแล้วจึงบัญญัติคำสอน แสดงให้เห็นว่านิพพาน เป็นด้านปฐมภูมิและเป็นองค์เอกภาพ ส่วนคำสอนเป็นด้านทุติยภูมิและเป็นด้านแตกต่างหลากหลาย
4. สัมพันธภาพระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ พบว่าดวงอาทิตย์เป็นด้านเอกภาพ และเป็นฝ่ายปฐมภูมิ ส่วนดาวเคราะห์เป็นด้านแตกต่างหลากหลายและเป็นฝ่ายทุติยภูมิ
5. สัมพันธภาพระหว่างพระรัตนตรัยกับพุทธศาสนิกชน พระรัตนตรัยเป็นด้านเอกภาพ ส่วนพุทธศาสนิกชนเป็นด้านแตกต่างหลากหลาย
6. สัมพันธภาพระหว่างประเทศชาติกับประชาชน ถ้าเป็นสัมมาทิฐิจะพบว่า ประเทศชาติเป็นด้านเอกภาพ ส่วนประชาชนเป็นด้านแตกต่างหลากหลาย
7. สัมพันธภาพระหว่างพระมหากษัตริย์กับพสกนิกร พระมหากษัตริย์เป็นด้านเอกภาพ ส่วนพสกนิกรเป็นด้านแตกต่างหลากหลาย
8. สัมพันธภาพระหว่างหลักการกับวิธีการ หลักการเป็นด้านปฐมภูมิและเป็นด้านเอกภาพ ส่วนวิธีการเป็นด้านทุติยภูมิและเป็นด้านแตกต่างหลากหลาย
9. สัมพันธภาพของระบอบการเมืองโดยธรรม พบว่าองค์ประกอบของระบอบการเมือง คือ 1) หลักการปกครอง (ระบอบ) เป็นด้านปฐมภูมิหรือเป็นด้านเอกภาพ 2) วิธีการปกครอง เป็นด้านทุติยภูมิ ได้แก่หมวดและมาตราต่างๆ และเป็นด้านแตกต่างหลากหลาย ประกอบกันขึ้นเป็นรัฐธรรมนูญ
มีข้อสังเกตว่าการจัดสัมพันธภาพในมิติที่ 1 - 9 ด้านปฐมภูมิเป็นด้านเอกภาพ หรือองค์เอกภาพ ส่วนด้านทุติยภูมิมีความแตกต่างหลายหลาย ด้านทุติยภูมิจะต้องขึ้นตรงต่อด้านปฐมภูมิเสมอไป หรือด้านความแตกต่างหลากหลาย จะต้องขึ้นตรงต่อด้านเอกภาพเสมอไป และเมื่อพิจารณาทั้งองค์รวม ความสัมพันธ์ดังกล่าวจะมีลักษณะพระธรรมจักร ช่างเป็นสิ่งมหัศจรรย์ยิ่งนัก
ถ้าเราดำเนินการใดๆ ให้ถูกต้องโดยธรรม ก็จะก่อให้เกิดการดำรงอยู่อย่างก้าวหน้า มั่นคงยั่งยืน เช่นเดียวกับกฎธรรมชาติที่ดำรงอยู่อย่างยาวนานเป็นเวลาหลายล้านปีมาแล้ว
เอกภาพหรือรู้รักสามัคคีธรรมจะเกิดขึ้นในชาติเป็นจริงได้อย่างไร
ในระบอบเผด็จการทุกรูปแบบ จะทำให้ประชาชนขัดแย้งแตกความสามัคคี และหลายฝ่ายต่างเรียกร้องให้ชนในชาติสามัคคีธรรม จะเกิดขึ้นได้จะต้องมาจากฐานที่ถูกต้องเป็นธรรม ด้วยปัจจัยของระบอบการเมืองโดยธรรม สาระสำคัญคือหลักธรรมาธิปไตย 9 เป็นหลักการปกครอง จะเป็นเหตุปัจจัยให้ประชาชน 1) มีเอกภาพในชาติ 2) มีเอกภาพในศาสนา 3) มีเอกภาพในสถาบันพระมหากษัตริย์ 4) มีเอกทางการเมือง 5) มีเอกภาพในการอยู่ร่วมกันในสังคมทุกระดับชั้น อันเกิดจากเหตุปัจจัยที่ถูกต้อง ดังได้จัดสัมพันธภาพของรัฐธรรมนูญโดยธรรม ดังนี้
ดังนั้น ในสถานการณ์ปัจจุบันไม่ใช่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่การแก้ไขเหตุวิกฤตชาติ ก่อนอื่นคือ พระเจ้าแผ่นดิน ทรงสถาปนาหลักการปกครอง (ระบอบ) ธรรมาธิปไตย จากนั้นจึงค่อยมาปรับปรุงหมวดและมาตราต่างๆ เท่าที่จำเป็นให้สอดคล้องกับหลักการปกครอง ฯลฯ และจะเป็นเหตุให้ได้ประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ยิ่ง ขอให้ทุกคนเรียกร้องหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 กันเถิด จะก่อให้เกิดคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศชาติและมนุษยชาติอย่างกว้างขวางสู่การสร้างสรรค์สันติภาพโลกต่อไป “สัตบุรุษ ย่อมเข้าใจและร่วมแก้ไขเหตุวิกฤตชาติ”
บรมธรรม (ธรรมาธิปไตย) เป็นศูนย์แห่งสรรพสิ่ง, ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล, พระรัตนตรัยเป็นศูนย์กลางของชาวพุทธ, พระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลางของเหล่าพสกนิกรและปวงชนในชาติ, พ่อแม่เป็นศูนย์กลางของบุตร ฯลฯ ฉันใด
หลักการปกครอง (ระบอบ) ย่อมเป็นศูนย์กลางของรัฐธรรมนูญ (หมวดและมาตราต่างๆ) และเป็นศูนย์กลางของประชาชนในทางการเมือง ฉันนั้น
แต่ในช่วงเวลา 76 ปี รัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ ประเทศไทยไม่เคยมีหลักการปกครอง นี่คือเหตุแห่งความหายนะในทุกด้านของชาติ เหตุแห่งความทุกข์ยากต่างๆ นานาของแผ่นดิน
เมื่อโครงสร้างทางการเมืองไทยปราศจากหลักการปกครองเสียแล้ว ย่อมเป็นปัจจัยให้รัฐธรรมนูญต้องล้มเหลวทุกครั้งไป (ถึงแม้ว่ามาตราต่างๆ จะดูดีก็ตาม)
ลองตริตรองดูเถิดว่า หากไม่มีดวงอาทิตย์ หรือดวงอาทิตย์มีอันต้องพินาศ ดาวเคราะห์ทั้งหลายก็ย่อมต้องพินาศตามไปด้วย
หากไม่มีพระรัตนตรัย (พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์) ชาวพุทธจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
ดังนั้น โครงสร้างทางการเมืองที่ปราศจากหลักการปกครองโดยธรรม ย่อมเป็นโครงสร้างทางการเมืองมิจฉาทิฐิ ย่อมเป็นปัจจัยให้รัฐธรรมนูญ (หมวดและมาตราต่างๆ) มิจฉาทิฐิ ย่อมเป็นปัจจัยให้รัฐบาลมิจฉาทิฐิ ปกครองอย่างมิจฉาทิฐิ เศรษฐกิจ สังคม ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมก็จะพลอยพินาศ ย่ำแย่ตามไปด้วยอย่างเป็นไปเอง
นอกจากนี้ ยังมีปรากฏการณ์ อันเป็นผลของโครงสร้างทางการเมืองมิจฉาทิฐิ คือ ความขัดแย้งของชนในชาติ โดยมีตัวรัฐธรรมนูญเป็นศูนย์กลางแห่งความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองต่อผู้ปกครองด้วยกันเอง ขัดแย้งกันทุกฉบับไม่มีเว้น นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 จนกระทั่งฉบับปัจจุบัน องค์กรอื่นที่ต่ำลงมา กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน วัด โรงเรียน บริษัท ครอบครัวหย่าร้าง และองค์กรต่างๆ ล้วนแล้วมีความขัดแย้งแตกแยกกันไปหมด
พูดง่ายๆ ว่า โครงสร้างการเมืองไทยเราเมื่อไม่มีหลักการปกครอง คือไม่มีศูนย์กลาง แก่นกลาง หรือรากฐานของชาติในทางการเมือง มันกลายเป็นว่าต่างคนต่างความคิด หาข้อยุติไม่ได้ ร้อยคนร้อยจุดมุ่งหมาย พันคนพันจุดมุ่งหมาย ล้านคนล้านจุดมุ่งหมาย ไปกันคนละทิศละทาง หาความเป็นเอกภาพไม่ได้ ผู้ปกครองขัดแย้งกันเอง คนในชาติมาขัดแย้งกันเอง และทำให้อ่อนแอลงๆ ประเทศไทยกลายเป็นคนป่วยกลายเป็นคนอ่อนแอ นี่เป็นผลจากการที่ไม่มีหลักการปกครอง
นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่าเมื่อเรามีปัญหากระทบกระทั่ง กรณีพิพาทต่างๆ กับเพื่อนบ้าน เราต้องเสียเปรียบตลอดทุกครั้งไป แม้แต่กับประเทศเขมรเราก็เสียเปรียบเขาตลอด แล้วคอยดูกันต่อไป
แต่เหล่าพวกผู้ปกครองไทยรุ่นแล้วรุ่นเล่าหาได้ฉุกคิดไม่ ต่างก็สืบทอดลัทธิรัฐธรรมนูญ อันเป็นแนวทางมิจฉาทิฐิอันใหญ่หลวงอย่างร้ายกาจที่สุดคือ ร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมรรควิธีนี้ แนวทางนี้ซึ่งได้พิสูจน์ให้เห็นประจักษ์ชัดมาแล้วว่าล้มเหลวมาตลอด ล้มเหลวอย่างซ้ำซากตลอดระยะเวลา 76 ปี
แนวทางแก้ไขโดยธรรม
รัฐธรรมนูญที่ถูกต้อง คือยิ่งกว่าถูกต้อง จะต้องมีหลักการปกครองโดยเป็นศูนย์กลางขณะเดียวกัน หลักการปกครองย่อมเป็นศูนย์กลางของปวงชนในชาติ หลักการปกครองคือรากฐานของชาติ รากฐานของชาติที่สำคัญยิ่งคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยมีธรรมเป็นศูนย์กลาง นั้นก็คือธรรมาธิปไตย นั่นเอง (ธรรม + อธิปไตย ก็คือ การถือธรรมเป็นใหญ่)
ประเทศชาติจะรุ่งเรืองมั่นคงก้าวหน้า คือการถือหลักเอกภาพของความหลากหลาย (Unity of Diversity) ความเป็นเอกภาพคือความสามัคคีธรรมและความสันติสุขของคนในชาติ บนความแตกต่างทางวุฒิการศึกษา อาชีพ ศาสนา ลัทธิฯ ลัทธิการเมือง ความเชื่อ ค่านิยม ฯลฯ จะเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมได้นั้น ก็ต่อเมื่อประเทศไทยเราจะต้องมีหลักการปกครองโดยธรรมเท่านั้น
เอกภาพหรือสามัคคีธรรม คือสัมพันธภาพระหว่างด้านเอกภาพกับด้านความแตกต่างหลากหลาย เราได้ยืนยันความถูกต้องโดยธรรม จากสัมพันธภาพในลักษณะต่างๆ โดยย่อ ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ระหว่างนิพพานกับขันธ์ 5 ส่วน นิพพานเป็นด้านเอกภาพ ส่วนขันธ์ 5 (กายกับจิต) รูป ได้ธาตุ 4 มีธาตุดิน, น้ำ, ลม, ไฟ ส่วนนาม 4 ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และจิตตสังขารที่ปรุงแต่งเป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง เช่น กลัว โลภ โกรธ หลง มีลักษณะแตกต่างหลากหลาย
2. สัมพันธภาพของกฎธรรมชาติระหว่างอสังขตธรรม (ธรรมที่ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง) กับ สังขตธรรม คือ ธรรมที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่สิ่งไม่มีชีวิตและสิ่งมีชีวิต, พืช, สัตว์ อันมีความแตกต่างหลากหลาย จะพบว่าอสังขตธรรมเป็นด้านปฐมภูมิและเป็นองค์เอกภาพ ส่วนสังขตธรรมเป็นด้านทุติยภูมิ และมีลักษณะแตกต่างหลากหลาย
3. สัมพันธภาพระหว่างนิพพานกับคำสอน 84,000 พระธรรมขันธ์ พระพุทธเจ้าตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เอง เข้าถึงพระนิพพานก่อนแล้วจึงบัญญัติคำสอน แสดงให้เห็นว่านิพพาน เป็นด้านปฐมภูมิและเป็นองค์เอกภาพ ส่วนคำสอนเป็นด้านทุติยภูมิและเป็นด้านแตกต่างหลากหลาย
4. สัมพันธภาพระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ พบว่าดวงอาทิตย์เป็นด้านเอกภาพ และเป็นฝ่ายปฐมภูมิ ส่วนดาวเคราะห์เป็นด้านแตกต่างหลากหลายและเป็นฝ่ายทุติยภูมิ
5. สัมพันธภาพระหว่างพระรัตนตรัยกับพุทธศาสนิกชน พระรัตนตรัยเป็นด้านเอกภาพ ส่วนพุทธศาสนิกชนเป็นด้านแตกต่างหลากหลาย
6. สัมพันธภาพระหว่างประเทศชาติกับประชาชน ถ้าเป็นสัมมาทิฐิจะพบว่า ประเทศชาติเป็นด้านเอกภาพ ส่วนประชาชนเป็นด้านแตกต่างหลากหลาย
7. สัมพันธภาพระหว่างพระมหากษัตริย์กับพสกนิกร พระมหากษัตริย์เป็นด้านเอกภาพ ส่วนพสกนิกรเป็นด้านแตกต่างหลากหลาย
8. สัมพันธภาพระหว่างหลักการกับวิธีการ หลักการเป็นด้านปฐมภูมิและเป็นด้านเอกภาพ ส่วนวิธีการเป็นด้านทุติยภูมิและเป็นด้านแตกต่างหลากหลาย
9. สัมพันธภาพของระบอบการเมืองโดยธรรม พบว่าองค์ประกอบของระบอบการเมือง คือ 1) หลักการปกครอง (ระบอบ) เป็นด้านปฐมภูมิหรือเป็นด้านเอกภาพ 2) วิธีการปกครอง เป็นด้านทุติยภูมิ ได้แก่หมวดและมาตราต่างๆ และเป็นด้านแตกต่างหลากหลาย ประกอบกันขึ้นเป็นรัฐธรรมนูญ
มีข้อสังเกตว่าการจัดสัมพันธภาพในมิติที่ 1 - 9 ด้านปฐมภูมิเป็นด้านเอกภาพ หรือองค์เอกภาพ ส่วนด้านทุติยภูมิมีความแตกต่างหลายหลาย ด้านทุติยภูมิจะต้องขึ้นตรงต่อด้านปฐมภูมิเสมอไป หรือด้านความแตกต่างหลากหลาย จะต้องขึ้นตรงต่อด้านเอกภาพเสมอไป และเมื่อพิจารณาทั้งองค์รวม ความสัมพันธ์ดังกล่าวจะมีลักษณะพระธรรมจักร ช่างเป็นสิ่งมหัศจรรย์ยิ่งนัก
ถ้าเราดำเนินการใดๆ ให้ถูกต้องโดยธรรม ก็จะก่อให้เกิดการดำรงอยู่อย่างก้าวหน้า มั่นคงยั่งยืน เช่นเดียวกับกฎธรรมชาติที่ดำรงอยู่อย่างยาวนานเป็นเวลาหลายล้านปีมาแล้ว
เอกภาพหรือรู้รักสามัคคีธรรมจะเกิดขึ้นในชาติเป็นจริงได้อย่างไร
ในระบอบเผด็จการทุกรูปแบบ จะทำให้ประชาชนขัดแย้งแตกความสามัคคี และหลายฝ่ายต่างเรียกร้องให้ชนในชาติสามัคคีธรรม จะเกิดขึ้นได้จะต้องมาจากฐานที่ถูกต้องเป็นธรรม ด้วยปัจจัยของระบอบการเมืองโดยธรรม สาระสำคัญคือหลักธรรมาธิปไตย 9 เป็นหลักการปกครอง จะเป็นเหตุปัจจัยให้ประชาชน 1) มีเอกภาพในชาติ 2) มีเอกภาพในศาสนา 3) มีเอกภาพในสถาบันพระมหากษัตริย์ 4) มีเอกทางการเมือง 5) มีเอกภาพในการอยู่ร่วมกันในสังคมทุกระดับชั้น อันเกิดจากเหตุปัจจัยที่ถูกต้อง ดังได้จัดสัมพันธภาพของรัฐธรรมนูญโดยธรรม ดังนี้
ดังนั้น ในสถานการณ์ปัจจุบันไม่ใช่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่การแก้ไขเหตุวิกฤตชาติ ก่อนอื่นคือ พระเจ้าแผ่นดิน ทรงสถาปนาหลักการปกครอง (ระบอบ) ธรรมาธิปไตย จากนั้นจึงค่อยมาปรับปรุงหมวดและมาตราต่างๆ เท่าที่จำเป็นให้สอดคล้องกับหลักการปกครอง ฯลฯ และจะเป็นเหตุให้ได้ประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ยิ่ง ขอให้ทุกคนเรียกร้องหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 กันเถิด จะก่อให้เกิดคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศชาติและมนุษยชาติอย่างกว้างขวางสู่การสร้างสรรค์สันติภาพโลกต่อไป “สัตบุรุษ ย่อมเข้าใจและร่วมแก้ไขเหตุวิกฤตชาติ”