เหตุแห่งการเหยียบย่ำทำลายชาติของตนเอง อย่างไม่รู้จักจบสิ้น เป็นที่น่าอนาถใจยิ่งนัก ผู้ไม่รู้ย่อมมองไม่เห็น ภัยร้ายจากแนวคิดมิจฉาทิฐิ ผู้ไม่รู้ย่อมถูกครอบงำ ต่างก็ร่วมมือกันทำลายชาติของตนโดยไม่รู้ตัว จะมีแต่เหตุปัจจัยทางปัญญาเท่านั้นที่จะช่วยให้ประเทศชาติพ้นจากแนวทางนรกที่คณะผู้ปกครองมิจฉาทิฐิได้กระทำไว้โดยสืบๆ ต่อกันมา โดยขาดการวิเคราะห์ วิจัย และการฉุกคิด ธรรมดาของนักปราชญ์ จะกล่าวคัดค้านสิ่งใด หรือจะเห็นด้วยกับสิ่งใด ย่อมผ่านการคิดพิจารณา สำรวจ สืบสวน ลงมือปฏิบัติ ให้รู้แจ้งชัดในสิ่งนั้นเสมอไป
ถ้าเราได้ทำความเข้าใจในกฎธรรมชาติ ได้รู้ ได้เห็นความสัมพันธ์ของกฎธรรมชาติในมิติต่างๆ อันเป็นเหตุปัจจัยให้ทรงสภาพไว้ซึ่งดุลยภาพ การแนะนำของผู้รู้ และการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพียงทางเดียวเท่านั้นที่เป็นเหตุให้รู้แจ้งถึงความสัมพันธ์ หรือสัมพันธภาพของกฎธรรมชาติในมิติต่างๆ เช่น
1. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะอสังขตธรรมกับสภาวะสังขตธรรม ทรงไว้ซึ่งดุลยภาพ มั่นคง ก้าวหน้า และเป็นเหตุวิวัฒนาการของสรรพสิ่ง และสิ่งมีชีวิตทั้งปวง
2. ความสัมพันธ์ระหว่างจุดมุ่งหมายกับมรรควิธี หรือหลักการกับวิธีการ
3. ความสัมพันธ์ระหว่างด้านเอกภาพกับด้านความแตกต่างหลากหลาย
4. ความสัมพันธ์ระหว่างด้านแผ่กระจาย หรือลักษณะแผ่กระจายกับด้านรวมศูนย์ มุ่งตรงต่อองค์เอกภาพถาวร (สภาวะอสังขตธรรม, บรมธรรม, นิพพาน, ธรรมาธิปไตย)
5. ความสัมพันธ์ระหว่างด้านปฐมภูมิกับด้านทุติยภูมิ
6. ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทั่วไป (General Law) กับลักษณะเฉพาะ (Individual Law)
7. ความสัมพันธ์ระหว่างความไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตายกับความเกิด แก่ เจ็บ ตาย
8. ความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์หลักกับความสัมพันธ์รอง
9. ความสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ เป็นต้น
ทั้ง 9 มิติ 9 มุมมองนี้ เป็นความสัมพันธ์อย่างดุลยภาพของกฎธรรมชาติ
อีกนัยหนึ่งความสัมพันธ์ตามคำสอนของพุทธเจ้า อันเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ได้แก่
1. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะนิพพานกับพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
2. ความสัมพันธ์ระหว่างนิพพานกับ 84,000 พระธรรมขันธ์ อันเป็นคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
3. ความสัมพันธ์ระหว่างพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระธรรม (พระพุทธศาสนา)
4. ความสัมพันธ์ระหว่างพระธรรมกับพระวินัย
5. ความสัมพันธ์ระหว่างพระรัตนตรัยกับพุทธบริษัท 4 หรือชาวพุทธทั้งมวล
จะเห็นว่าสัมพันธภาพทั้ง 5 ข้อนี้ เป็นไปในทำนองเดียวกันกับสัมพันธภาพของกฎธรรมชาติทั้ง 9 ข้อ ดังกล่าวข้างต้น
เมื่อเราเข้าใจความสัมพันธภาพของกฎธรรมชาติแล้ว ย่อมได้รู้อย่างชัดแจ้งว่า ความสัมพันธ์ของรัฐธรรมนูญไทยทุกฉบับ รวมทั้งฉบับปัจจุบัน ล้วนเป็นมิจฉาทิฐิ ผิดไปจากคลองธรรม หรือวิถีธรรมทั้งสิ้น คือ ไม่เคยมีหลักการปกครอง ก็คือไม่มีด้านเอกภาพหรือจุดมุ่งหมาย มีแต่เฉพาะวิธีการปกครอง ได้แก่ หมวด และมาตราต่างๆ เพียงด้านเดียว ผู้ปกครองฯ ได้นำวิธีการมาเป็นหลักการ หรือนำด้านทุติภูมิมาเป็นด้านปฐมภูมิ ดุจเอาหัวเดินต่างเท้า ความเห็นนี้เราขอเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ดังตารางที่แสดงนี้
นี่คือ เหตุที่มาของวงจรอุบาทว์ ดุจพายเรือในอ่างน้ำ ประเทศไทยและประชาชนจึงตกอยู่ในความสับสนซ้ำซาก ล้มเหลวซ้ำรอยเดิม ผิดแล้วผิดอีก เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับนั้นๆ ถูกนำมาใช้ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจตามตามตัวบทกฎหมาย หรือตามวิธีการปกครอง จึงเป็นปัจจัยให้เกิดสัมพันธภาพใหม่อย่างเป็นไปเอง ดังภาพ
ใครได้เป็นนายกรัฐมนตรี (นายสมัคร) จะกลายเป็นศูนย์กลางของระบอบ หรือกลายเป็นหลักการของระบอบ เพราะเป็นผู้ใช้อำนาจตามกฎหมาย แต่บุคคลจะเป็นหลักการได้อย่างไร เพราะจิตใจยังเต็มไปด้วยอวิชชา กลัว โลภ โกรธ หลง และไม่ใช่สภาวธรรม และที่มิจฉาทิฐิสุดๆ ระบอบนี้คือทำให้นายกรัฐมนตรีอยู่เหนือสถาบันหลักของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นต้น
ในความถูกต้อง ความมั่นคงสูงสุดของชาติ สถาบันหลักของชาติจะต้องเป็นฝ่ายหลักการปกครอง เสมอไป แต่ได้พลิกผันกลับกลายมาเป็นฝ่ายวิธีการปกครอง นี่คือมิจฉาทิฐิอันใหญ่หลวง เป็นอันตรายร้ายแรงยิ่งต่อความมั่นคงของชาติ เป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งอย่างไม่รู้จบสิ้น หากนายกรัฐมนตรีนั้นๆ คิดมักใหญ่ใฝ่สูง หรือตกเป็นแนวร่วมของพวกสาธารณะรัฐ (Republic) อาจนำไปสู่สงครามกลางเมืองขึ้นได้ในอนาคต
ทั้งนี้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้กลับกลายอยู่ในฐานะหลักการปกครอง หลักการปกครองย่อมเหนือกว่าวิธีการปกครอง และวิธีการปกครองย่อมต้องขึ้นต่อหลักการปกครองเสมอไป นี่คือความเพี้ยน ความโง่เขลา อย่างยิ่งของผู้ปกครอง ภัยอันใหญ่ยิ่งที่ได้ครอบงำทำลายชาติ จนยากที่จะอธิบายให้พวกเขาเข้าใจได้
ด้วยเหตุนี้ พระประมุขแห่งรัฐ จะด้วยเหตุใดก็ตามพระมหากษัตริย์ไม่อาจปฏิบัติพระราชภารกิจอันยิ่งยวด คือการสถาปนาหลักการปกครองโดยธรรม ซึ่งสอดคล้องกับพระปฐมบรมราชโองการ ”ราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”ประเทศไทยก็จะตกอยู่ในวังวนวงจรอุบาทว์เช่นเดิม
การสร้างระบอบที่ถูกต้อง โดยมีธรรมอันสูงสุดและสถาบันหลักแห่งชาติเป็นแกนกลาง เรียกว่าหลักการปกครอง หรือระบอบธรรมาธิปไตย นำมาใช้ทางการเมืองตามลักษณะพิเศษของชาติไทย และเพื่อความมั่นคงของชาติ เราได้จัดสัมพันธภาพอย่างถูกต้องเป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ ระหว่างหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 (มีลักษณะแผ่กระจาย) กับวิธีการปกครอง หมวดและมาตราต่างๆ (มีลักษณะรวมศูนย์) ดังนี้จะเป็นปัจจัยให้เกิดดุลยภาพ ดำรงอยู่อย่างมั่นคงดุจเดียวกับกฎธรรมชาติ และมีลักษณะดุจพระธรรมจักร ดังรูป
หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 เป็นด้านปฐมภูมิหรือด้านเอกภาพ กับ วิธีการปกครอง เป็นด้านทุติยภูมิ คือ หมวดและมาตราต่างๆ อันมีความแตกต่างหลากหลาย เราได้แสดงสัมพันธภาพระหว่างหลักการปกครองกับวิธีการปกครอง ซึ่งได้ประยุกต์เป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ ใน 9 มิติ ดังนี้
1. หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 เป็นด้านอสังขตธรรม ส่วนวิธีการปกครอง (หมวดและมาตราต่างๆ) เป็นด้านสังขตธรรม ทรงไว้ซึ่งดุลยภาพ และการขับเคลื่อนไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ก้าวหน้าของชาติ
2. หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 เป็นด้านไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนวิธีการปกครองเป็นด้านที่เปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
3. หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 เป็นด้านปฐมภูมิ ส่วนวิธีการปกครอง เป็นด้านทุติยภูมิ
4. หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 เป็นด้านเอกภาพ ส่วนวิธีการปกครอง เป็นด้านความแตกต่างหลากหลาย
5. หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 เป็นลักษณะทั่วไป (General Law) คือครอบคลุมทุกคน ส่วนวิธีการปกครอง เป็นลักษณะเฉพาะ (Individual Law) คือเกี่ยวข้องกับคนใดคนหนึ่ง ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
6. หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 เป็นด้านแผ่กระจาย หรือลักษณะแผ่กระจาย ส่วนวิธีการปกครอง เป็นด้านรวมศูนย์ มุ่งตรงต่อองค์เอกภาพคือหลักการปกครองฯ เป็นปัจจัยให้เกิดดุลยภาพ
7. หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 อยู่เหนือกฎไตรลักษณ์ (ไม่เปลี่ยนแปลง มั่นคง ถาวร) ส่วนวิธีการปกครอง ตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตามความเหมาะสม
8. หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 เป็นด้านความสัมพันธ์หลัก ส่วนวิธีการปกครอง เป็นด้านความสัมพันธ์รอง
9. หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 อุปมาดุจดวงสุริยัน (พระอาทิตย์) ส่วนวิธีการปกครอง ดุจดาวเคราะห์ เป็นต้น นี่คือการจัดสัมพันธภาพระหว่างหลักการปกครองกับวิธีการปกครองเป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ
พิจารณาแนวทางที่ถูกต้อง ขอประกาศเชิญชวนทุกฝ่ายให้ช่วยกันผลักดัน สถาปนาหลักการปกครองโดยธรรม เป็นธรรมาธิปไตย เพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ของชาติอย่างมั่นคง เหนือประเทศใดๆ ในโลก
ส่วน 2 แนวทาง เป็นมิจฉาทิฐิหรือไม่ คือ (1) คณะแก้ไขรัฐธรรมนูญ (เพื่อประโยชน์ตน พรรคฯ และร้ายที่สุด คือยังคงรักษาแนวทางมิจฉาทิฐิเอาไว้ต่อไป) (2) คณะต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (จะเพื่อใครก็ตาม และร้ายที่สุด คือยังคงรักษาแนวทางมิจฉาทิฐิเอาไว้ต่อไป เช่นกัน) ทั้ง 2 คณะ คือขบวนการของลัทธิรัฐธรรมนูญ มีรัฐธรรมนูญเป็นศูนย์กลางมิจฉาทิฐิ และเป็นศูนย์กลางของความขัดแย้ง ตั้งใจพิจารณาโดยปัญญาเถิด
ถ้าเราได้ทำความเข้าใจในกฎธรรมชาติ ได้รู้ ได้เห็นความสัมพันธ์ของกฎธรรมชาติในมิติต่างๆ อันเป็นเหตุปัจจัยให้ทรงสภาพไว้ซึ่งดุลยภาพ การแนะนำของผู้รู้ และการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพียงทางเดียวเท่านั้นที่เป็นเหตุให้รู้แจ้งถึงความสัมพันธ์ หรือสัมพันธภาพของกฎธรรมชาติในมิติต่างๆ เช่น
1. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะอสังขตธรรมกับสภาวะสังขตธรรม ทรงไว้ซึ่งดุลยภาพ มั่นคง ก้าวหน้า และเป็นเหตุวิวัฒนาการของสรรพสิ่ง และสิ่งมีชีวิตทั้งปวง
2. ความสัมพันธ์ระหว่างจุดมุ่งหมายกับมรรควิธี หรือหลักการกับวิธีการ
3. ความสัมพันธ์ระหว่างด้านเอกภาพกับด้านความแตกต่างหลากหลาย
4. ความสัมพันธ์ระหว่างด้านแผ่กระจาย หรือลักษณะแผ่กระจายกับด้านรวมศูนย์ มุ่งตรงต่อองค์เอกภาพถาวร (สภาวะอสังขตธรรม, บรมธรรม, นิพพาน, ธรรมาธิปไตย)
5. ความสัมพันธ์ระหว่างด้านปฐมภูมิกับด้านทุติยภูมิ
6. ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทั่วไป (General Law) กับลักษณะเฉพาะ (Individual Law)
7. ความสัมพันธ์ระหว่างความไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตายกับความเกิด แก่ เจ็บ ตาย
8. ความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์หลักกับความสัมพันธ์รอง
9. ความสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ เป็นต้น
ทั้ง 9 มิติ 9 มุมมองนี้ เป็นความสัมพันธ์อย่างดุลยภาพของกฎธรรมชาติ
อีกนัยหนึ่งความสัมพันธ์ตามคำสอนของพุทธเจ้า อันเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ได้แก่
1. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะนิพพานกับพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
2. ความสัมพันธ์ระหว่างนิพพานกับ 84,000 พระธรรมขันธ์ อันเป็นคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
3. ความสัมพันธ์ระหว่างพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระธรรม (พระพุทธศาสนา)
4. ความสัมพันธ์ระหว่างพระธรรมกับพระวินัย
5. ความสัมพันธ์ระหว่างพระรัตนตรัยกับพุทธบริษัท 4 หรือชาวพุทธทั้งมวล
จะเห็นว่าสัมพันธภาพทั้ง 5 ข้อนี้ เป็นไปในทำนองเดียวกันกับสัมพันธภาพของกฎธรรมชาติทั้ง 9 ข้อ ดังกล่าวข้างต้น
เมื่อเราเข้าใจความสัมพันธภาพของกฎธรรมชาติแล้ว ย่อมได้รู้อย่างชัดแจ้งว่า ความสัมพันธ์ของรัฐธรรมนูญไทยทุกฉบับ รวมทั้งฉบับปัจจุบัน ล้วนเป็นมิจฉาทิฐิ ผิดไปจากคลองธรรม หรือวิถีธรรมทั้งสิ้น คือ ไม่เคยมีหลักการปกครอง ก็คือไม่มีด้านเอกภาพหรือจุดมุ่งหมาย มีแต่เฉพาะวิธีการปกครอง ได้แก่ หมวด และมาตราต่างๆ เพียงด้านเดียว ผู้ปกครองฯ ได้นำวิธีการมาเป็นหลักการ หรือนำด้านทุติภูมิมาเป็นด้านปฐมภูมิ ดุจเอาหัวเดินต่างเท้า ความเห็นนี้เราขอเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ดังตารางที่แสดงนี้
นี่คือ เหตุที่มาของวงจรอุบาทว์ ดุจพายเรือในอ่างน้ำ ประเทศไทยและประชาชนจึงตกอยู่ในความสับสนซ้ำซาก ล้มเหลวซ้ำรอยเดิม ผิดแล้วผิดอีก เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับนั้นๆ ถูกนำมาใช้ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจตามตามตัวบทกฎหมาย หรือตามวิธีการปกครอง จึงเป็นปัจจัยให้เกิดสัมพันธภาพใหม่อย่างเป็นไปเอง ดังภาพ
ใครได้เป็นนายกรัฐมนตรี (นายสมัคร) จะกลายเป็นศูนย์กลางของระบอบ หรือกลายเป็นหลักการของระบอบ เพราะเป็นผู้ใช้อำนาจตามกฎหมาย แต่บุคคลจะเป็นหลักการได้อย่างไร เพราะจิตใจยังเต็มไปด้วยอวิชชา กลัว โลภ โกรธ หลง และไม่ใช่สภาวธรรม และที่มิจฉาทิฐิสุดๆ ระบอบนี้คือทำให้นายกรัฐมนตรีอยู่เหนือสถาบันหลักของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นต้น
ในความถูกต้อง ความมั่นคงสูงสุดของชาติ สถาบันหลักของชาติจะต้องเป็นฝ่ายหลักการปกครอง เสมอไป แต่ได้พลิกผันกลับกลายมาเป็นฝ่ายวิธีการปกครอง นี่คือมิจฉาทิฐิอันใหญ่หลวง เป็นอันตรายร้ายแรงยิ่งต่อความมั่นคงของชาติ เป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งอย่างไม่รู้จบสิ้น หากนายกรัฐมนตรีนั้นๆ คิดมักใหญ่ใฝ่สูง หรือตกเป็นแนวร่วมของพวกสาธารณะรัฐ (Republic) อาจนำไปสู่สงครามกลางเมืองขึ้นได้ในอนาคต
ทั้งนี้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้กลับกลายอยู่ในฐานะหลักการปกครอง หลักการปกครองย่อมเหนือกว่าวิธีการปกครอง และวิธีการปกครองย่อมต้องขึ้นต่อหลักการปกครองเสมอไป นี่คือความเพี้ยน ความโง่เขลา อย่างยิ่งของผู้ปกครอง ภัยอันใหญ่ยิ่งที่ได้ครอบงำทำลายชาติ จนยากที่จะอธิบายให้พวกเขาเข้าใจได้
ด้วยเหตุนี้ พระประมุขแห่งรัฐ จะด้วยเหตุใดก็ตามพระมหากษัตริย์ไม่อาจปฏิบัติพระราชภารกิจอันยิ่งยวด คือการสถาปนาหลักการปกครองโดยธรรม ซึ่งสอดคล้องกับพระปฐมบรมราชโองการ ”ราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”ประเทศไทยก็จะตกอยู่ในวังวนวงจรอุบาทว์เช่นเดิม
การสร้างระบอบที่ถูกต้อง โดยมีธรรมอันสูงสุดและสถาบันหลักแห่งชาติเป็นแกนกลาง เรียกว่าหลักการปกครอง หรือระบอบธรรมาธิปไตย นำมาใช้ทางการเมืองตามลักษณะพิเศษของชาติไทย และเพื่อความมั่นคงของชาติ เราได้จัดสัมพันธภาพอย่างถูกต้องเป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ ระหว่างหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 (มีลักษณะแผ่กระจาย) กับวิธีการปกครอง หมวดและมาตราต่างๆ (มีลักษณะรวมศูนย์) ดังนี้จะเป็นปัจจัยให้เกิดดุลยภาพ ดำรงอยู่อย่างมั่นคงดุจเดียวกับกฎธรรมชาติ และมีลักษณะดุจพระธรรมจักร ดังรูป
หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 เป็นด้านปฐมภูมิหรือด้านเอกภาพ กับ วิธีการปกครอง เป็นด้านทุติยภูมิ คือ หมวดและมาตราต่างๆ อันมีความแตกต่างหลากหลาย เราได้แสดงสัมพันธภาพระหว่างหลักการปกครองกับวิธีการปกครอง ซึ่งได้ประยุกต์เป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ ใน 9 มิติ ดังนี้
1. หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 เป็นด้านอสังขตธรรม ส่วนวิธีการปกครอง (หมวดและมาตราต่างๆ) เป็นด้านสังขตธรรม ทรงไว้ซึ่งดุลยภาพ และการขับเคลื่อนไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ก้าวหน้าของชาติ
2. หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 เป็นด้านไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนวิธีการปกครองเป็นด้านที่เปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
3. หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 เป็นด้านปฐมภูมิ ส่วนวิธีการปกครอง เป็นด้านทุติยภูมิ
4. หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 เป็นด้านเอกภาพ ส่วนวิธีการปกครอง เป็นด้านความแตกต่างหลากหลาย
5. หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 เป็นลักษณะทั่วไป (General Law) คือครอบคลุมทุกคน ส่วนวิธีการปกครอง เป็นลักษณะเฉพาะ (Individual Law) คือเกี่ยวข้องกับคนใดคนหนึ่ง ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
6. หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 เป็นด้านแผ่กระจาย หรือลักษณะแผ่กระจาย ส่วนวิธีการปกครอง เป็นด้านรวมศูนย์ มุ่งตรงต่อองค์เอกภาพคือหลักการปกครองฯ เป็นปัจจัยให้เกิดดุลยภาพ
7. หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 อยู่เหนือกฎไตรลักษณ์ (ไม่เปลี่ยนแปลง มั่นคง ถาวร) ส่วนวิธีการปกครอง ตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตามความเหมาะสม
8. หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 เป็นด้านความสัมพันธ์หลัก ส่วนวิธีการปกครอง เป็นด้านความสัมพันธ์รอง
9. หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 อุปมาดุจดวงสุริยัน (พระอาทิตย์) ส่วนวิธีการปกครอง ดุจดาวเคราะห์ เป็นต้น นี่คือการจัดสัมพันธภาพระหว่างหลักการปกครองกับวิธีการปกครองเป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ
พิจารณาแนวทางที่ถูกต้อง ขอประกาศเชิญชวนทุกฝ่ายให้ช่วยกันผลักดัน สถาปนาหลักการปกครองโดยธรรม เป็นธรรมาธิปไตย เพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ของชาติอย่างมั่นคง เหนือประเทศใดๆ ในโลก
ส่วน 2 แนวทาง เป็นมิจฉาทิฐิหรือไม่ คือ (1) คณะแก้ไขรัฐธรรมนูญ (เพื่อประโยชน์ตน พรรคฯ และร้ายที่สุด คือยังคงรักษาแนวทางมิจฉาทิฐิเอาไว้ต่อไป) (2) คณะต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (จะเพื่อใครก็ตาม และร้ายที่สุด คือยังคงรักษาแนวทางมิจฉาทิฐิเอาไว้ต่อไป เช่นกัน) ทั้ง 2 คณะ คือขบวนการของลัทธิรัฐธรรมนูญ มีรัฐธรรมนูญเป็นศูนย์กลางมิจฉาทิฐิ และเป็นศูนย์กลางของความขัดแย้ง ตั้งใจพิจารณาโดยปัญญาเถิด