ดังได้กล่าวมาแล้ว 2 ตอน ใครที่ยังไม่ได้อ่านตอนที่หนึ่งและสอง ก็ขอเชิญชวนท่านสาธุชนทั้งหลายได้หาอ่านเพื่อพัฒนาปัญญาอันยิ่งของท่านทั้งหลาย โดยหาอ่านได้จากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันฉบับวันอังคารที่ 29 ม.ค. และ 5 ก.พ. มีรายละเอียดครบ หรือในเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ หรือค้นคำว่า “ป. เพชรอริยะ” ก็พบได้โดยง่าย
ในช่วงที่กำลังเขียนเรื่องนี้ ผู้เขียนได้จาริกมาที่ พุทธคยา (Bodhgaya) ณ สถานที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้, ที่มหาวิทยาลัยนาลันทา เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ยิ่งใหญ่แห่งแรกของโลก ตามประวัติศาสตร์เขียนว่าในราว พ. ศ. 1700 ถูกกองทัพมุสลิมเตอร์กได้รุกรานเผาทำลายล้างจนหมดสิ้น และพุทธบริษัท 4 (ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา) ถูกบังคับให้เปลี่ยนศาสนา เมื่อไม่ยอมจึงถูกฆ่าตายอย่างอเนจอนาถร่วม 15,000-20,000 ชีวิต เป็นอุทาหรณ์ เป็นเครื่องเตือนใจไม่ให้ประมาท อยากให้ผู้ปกครองไทยมาดู มาเห็นเสียบ้างก็จะดีไม่น้อย, ที่สารนารถ มีธัมเมขสถูป เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ธรรมอันเป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) และขันธ์ 5 โปรดปัญจวรรคีย์ทั้ง 5 กระทั่งได้บรรลุพระอรหันต์ในที่สุด เป็นเหตุให้มีครบองค์พระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์, และได้จาริกไปสถานที่ต่างๆ อีกหลายแห่ง ตั้งใจเขียนเรื่องนี้เพื่อร่วมกันน้อมถวายเป็นปฏิบัติบูชา คือการบูชาอันสูงสุด และถือโอกาสนี้เชิญชวนท่านผู้อ่านทั้งหลายได้มาร่วมใจกันน้อมรำลึกถึงคุณอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า คุณอันยิ่งใหญ่ของพระรัตนตรัยอันหาที่เปรียบมิได้ และร่วมใจกันถวายเป็นราชบูชาแด่องค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์
ในตอนที่ 3 นี้ ตั้งใจเขียนให้ละเอียดเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ของชาติและประชาชน จะได้สรุปย่อความสัมพันธ์ของกฎธรรมชาติในมิติต่างๆ อันเป็นเหตุปัจจัยให้ธรรมทรงไว้ซึ่งดุลยภาพ ที่ได้กล่าวมาแล้วสักเล็กน้อย ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะอสังขตธรรม กับ สภาวะสังขตธรรม ทรงไว้ซึ่งดุลยภาพ มั่นคง ก้าวหน้า และเป็นเหตุของการวิวัฒนาการของสรรพสิ่งทั้งปวง
2. ความสัมพันธ์ระหว่างความไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย กับ ความเกิดแก่ตาย
3. ความสัมพันธ์ระหว่างด้านปฐมภูมิ กับ ด้านทุติยภูมิ
4. ความสัมพันธ์ระหว่างด้านเอกภาพ กับ ด้านความแตกต่างหลากหลาย
5. ความสัมพันธ์ระหว่างด้านลักษณะทั่วไป (General Law) กับ ด้านลักษณะเฉพาะ (Individual Law)
6. ความสัมพันธ์ระหว่างด้านแผ่กระจาย หรือลักษณะแผ่กระจาย กับ ด้านรวมศูนย์ มุ่งตรงต่อองค์เอกภาพ
7. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะที่อยู่เหนือกฎไตรลักษณ์ กับ สภาวะที่ต้องตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์
8. ความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์หลัก กับ ความสัมพันธ์รอง
9. ความสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์ กับ ดาวเคราะห์ เป็นต้น
ทั้ง 9 มิติ 9 มุมมองนี้ เป็นความสัมพันธ์อย่างดุลยภาพของกฎธรรมชาติ อันเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า เราผู้เป็นสาวกได้ปฏิบัติธรรมและการเผยแผ่ธรรมอันยิ่งเป็นภารกิจแห่งชีวิต เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เพื่อความมั่นคงของชาติ และเพื่อประโยชน์และความสุขของมหาชนสืบไป
อีกนัยหนึ่งเรามาดู ความสัมพันธ์ในคำสอนของพุทธเจ้า อันเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะนิพพาน กับ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
2. ความสัมพันธ์ระหว่างนิพพาน กับ 84,000 พระธรรมขันธ์ อันเป็นคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
3. ความสัมพันธ์ระหว่างพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า กับ พระธรรม (พระพุทธศาสนา)
4. ความสัมพันธ์ระหว่างพระธรรมหรือหลักธรรม กับ พระวินัย
5. ความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธศาสนา กับ ราชอาณาจักร หรือประเทศต่างๆ
6. ความสัมพันธ์ระหว่างพระรัตนตรัย กับ พุทธบริษัท 4 หรือชาวพุทธทั้งมวล
จะเห็นว่าความสัมพันธ์ทั้ง 6 ทั้งข้อนี้ เป็นไปในทำนองเดียวกันกับความสัมพันธ์ของกฎธรรมชาติดังกล่าวข้างต้น 9 มิติ จะยกเอาข้อ 6 มาเป็นตัวอย่างและขยายความ ดังนี้
1. พระรัตนตรัย เป็นด้านอสังขตธรรม ส่วนพุทธบริษัท 4 (ภิกษุ, ภิกษุณี,อุบาสก, และอุบาสิกา) เป็นด้านสังขตธรรม ทรงไว้ซึ่งดุลยภาพ มั่นคง ก้าวหน้า
2. พระรัตนตรัยเป็นด้านไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ส่วนพุทธบริษัท 4 เป็นด้านเกิด แก่ เจ็บ ตาย
3. พระรัตนตรัยเป็นด้านปฐมภูมิ ส่วนพุทธบริษัท 4 เป็นด้านทุติยภูมิ
4. พระรัตนตรัยเป็นด้านเอกภาพ ส่วนพุทธบริษัท 4 เป็นด้านความแตกต่างหลากหลาย
5. พระรัตนตรัยเป็นด้านลักษณะทั่วไป (General Law) ส่วนพุทธบริษัท 4 เป็นด้านลักษณะเฉพาะ (Individual Law) ที่แตกต่างหลากหลาย เช่นหลายเชื้อชาติ หลายอาชีพ เป็นต้น
6. พระรัตนตรัยเป็นด้านแผ่กระจาย หรือลักษณะแผ่กระจาย ส่วนพุทธบริษัท 4 เป็นด้านรวมศูนย์ มุ่งตรงต่อองค์เอกภาพคือองค์พระรัตนตรัย
7. พระรัตนตรัยอยู่เหนือกฎไตรลักษณ์ ส่วนพุทธบริษัท 4 เป็นสภาวะที่ต้องตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ เว้นแต่เพียงผู้เข้าสู่สภาวะพระอรหันต์แล้วเท่านั้น
8. พระรัตนตรัยเป็นด้านความสัมพันธ์หลัก ส่วนพุทธบริษัท 4 เป็นด้านความสัมพันธ์รอง
9. พระรัตนตรัยอุปมาดุจดวงสุริยัน (พระอาทิตย์) ส่วนพุทธบริษัท 4 ดุจดาวเคราะห์ เป็นต้นและนี่คือเหตุปัจจัยที่จะทำให้พระพุทธศาสนามีความมั่นคงดุจเดียวกับกฎธรรมชาติ
อีกนัยหนึ่งเรามาดูความสัมพันธ์ของชีวิต หรือขันธ์ 5 (ของพระอรหันต์) เป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ ใน 9 มิติ
1. สภาวะนิพพาน เป็นด้านอสังขตธรรม ส่วนขันธ์ 5 เป็นด้านสังขตธรรม ทรงไว้ซึ่งดุลยภาพ
2. สภาวะนิพพานเป็นด้านไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ส่วนขันธ์ 5 เป็นด้านเกิด แก่ เจ็บ ตาย
3. สภาวะนิพพานเป็นด้านปฐมภูมิ ส่วนขันธ์ 5 เป็นด้านทุติยภูมิ
4. สภาวะนิพพานเป็นด้านเอกภาพ ส่วนขันธ์ 5 เป็นด้านความแตกต่างหลากหลาย
5. สภาวะนิพพานเป็นด้านลักษณะทั่วไป (General Law) ส่วนขันธ์ 5 เป็นด้านลักษณะเฉพาะ (Individual Law) ที่มีลักษณะแตกต่างหลากหลาย
6. สภาวะนิพพานเป็นด้านแผ่กระจาย หรือลักษณะแผ่กระจาย ส่วนขันธ์ 5 เป็นด้านรวมศูนย์ มุ่งตรงต่อองค์เอกภาพคือนิพพาน ดังนี้แล้วมนุษย์ทั้งหลายเกิดมาชาติหนึ่ง ควรจะได้ใช้ขันธ์ 5 ของตนๆ ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ก็คือการได้ศึกษาและปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
7. สภาวะนิพพานอยู่เหนือกฎไตรลักษณ์ ส่วนขันธ์ 5 เป็นสภาวะที่ต้องตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ เว้นแต่เพียงผู้เข้าสู่สภาวะพระอรหันต์แล้วเท่านั้น
8. สภาวะนิพพานเป็นด้านความสัมพันธ์หลัก ส่วนขันธ์ 5 เป็นด้านความสัมพันธ์รอง
9. สภาวะนิพพานอุปมาดุจดวงสุริยัน (พระอาทิตย์) ส่วนขันธ์ 5 ดุจดาวเคราะห์ เป็นต้น และนี่คือเหตุปัจจัยที่ทำให้พระอรหันต์เข้าถึงกฎธรรมชาติและเป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ
อีกนัยหนึ่งเราได้ประยุกต์เพื่อความมั่นคง ก้าวหน้า ระหว่างประเทศชาติ กับประชาชน ซึ่งได้จัดความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ และขันธ์ 5 ใน 9 มิติ
1. ประเทศชาติด้านอสังขตธรรม ส่วนประชาชนเป็นด้านสังขตธรรม ทรงไว้ซึ่งดุลยภาพ
2. ประเทศชาติเป็นด้านไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ส่วนประชาชนเป็นด้านเกิด แก่ เจ็บ ตาย
3. ประเทศชาติเป็นด้านปฐมภูมิ ส่วนประชาชนเป็นด้านทุติยภูมิ
4. ประเทศชาติเป็นด้านเอกภาพ ส่วนประชาชนเป็นด้านความแตกต่างหลากหลาย
5. ประเทศชาติเป็นด้านลักษณะทั่วไป (General Law) ส่วนประชาชนเป็นด้านลักษณะเฉพาะ (Individual Law) ที่มีลักษณะแตกต่างหลากหลาย
6. ประเทศชาติเป็นด้านแผ่กระจาย หรือลักษณะแผ่กระจายครอบคลุมประชาชนทั้งหมด ส่วนประชาชนเป็นด้านรวมศูนย์ มุ่งตรงต่อองค์เอกภาพคือชาติ “เรียนอะไรก็ได้ ทำหน้าที่อะไรก็ได้ตามตนถนัด คิดสร้างสรรค์อะไรก็ได้ แต่ให้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเทศชาติ”
7. ประเทศชาติอยู่เหนือกฎไตรลักษณ์ ส่วนประชาชนตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ หมายความสถาบันชาติ สถาบันพระศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ จะต้องไม่ตายไม่ล่มสลาย ส่วนประชาชนก็ต้องเกิด แก่เจ็บ ตายไปเป็นธรรมดา
8. ประเทศชาติเป็นด้านความสัมพันธ์หลัก ส่วนประชาชนเป็นด้านความสัมพันธ์รอง หมายความว่า ประโยชน์ของประเทศชาติต้องมาก่อนประโยชน์ของพรรค บริษัท หรือบุคคล
9. ประเทศชาติอุปมาดุจดวงสุริยัน (พระอาทิตย์) ส่วนประชาชนดุจดาวเคราะห์ เป็นต้น และนี่คือเหตุปัจจัยที่จะทำให้ประเทศชาติมั่นคง ดำรงอยู่ดุจเดียวกับกฎธรรมชาติ (อ่านต่อตอนที่ 4 เกี่ยวกับความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ ฯลฯ)
ในช่วงที่กำลังเขียนเรื่องนี้ ผู้เขียนได้จาริกมาที่ พุทธคยา (Bodhgaya) ณ สถานที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้, ที่มหาวิทยาลัยนาลันทา เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ยิ่งใหญ่แห่งแรกของโลก ตามประวัติศาสตร์เขียนว่าในราว พ. ศ. 1700 ถูกกองทัพมุสลิมเตอร์กได้รุกรานเผาทำลายล้างจนหมดสิ้น และพุทธบริษัท 4 (ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา) ถูกบังคับให้เปลี่ยนศาสนา เมื่อไม่ยอมจึงถูกฆ่าตายอย่างอเนจอนาถร่วม 15,000-20,000 ชีวิต เป็นอุทาหรณ์ เป็นเครื่องเตือนใจไม่ให้ประมาท อยากให้ผู้ปกครองไทยมาดู มาเห็นเสียบ้างก็จะดีไม่น้อย, ที่สารนารถ มีธัมเมขสถูป เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ธรรมอันเป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) และขันธ์ 5 โปรดปัญจวรรคีย์ทั้ง 5 กระทั่งได้บรรลุพระอรหันต์ในที่สุด เป็นเหตุให้มีครบองค์พระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์, และได้จาริกไปสถานที่ต่างๆ อีกหลายแห่ง ตั้งใจเขียนเรื่องนี้เพื่อร่วมกันน้อมถวายเป็นปฏิบัติบูชา คือการบูชาอันสูงสุด และถือโอกาสนี้เชิญชวนท่านผู้อ่านทั้งหลายได้มาร่วมใจกันน้อมรำลึกถึงคุณอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า คุณอันยิ่งใหญ่ของพระรัตนตรัยอันหาที่เปรียบมิได้ และร่วมใจกันถวายเป็นราชบูชาแด่องค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์
ในตอนที่ 3 นี้ ตั้งใจเขียนให้ละเอียดเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ของชาติและประชาชน จะได้สรุปย่อความสัมพันธ์ของกฎธรรมชาติในมิติต่างๆ อันเป็นเหตุปัจจัยให้ธรรมทรงไว้ซึ่งดุลยภาพ ที่ได้กล่าวมาแล้วสักเล็กน้อย ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะอสังขตธรรม กับ สภาวะสังขตธรรม ทรงไว้ซึ่งดุลยภาพ มั่นคง ก้าวหน้า และเป็นเหตุของการวิวัฒนาการของสรรพสิ่งทั้งปวง
2. ความสัมพันธ์ระหว่างความไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย กับ ความเกิดแก่ตาย
3. ความสัมพันธ์ระหว่างด้านปฐมภูมิ กับ ด้านทุติยภูมิ
4. ความสัมพันธ์ระหว่างด้านเอกภาพ กับ ด้านความแตกต่างหลากหลาย
5. ความสัมพันธ์ระหว่างด้านลักษณะทั่วไป (General Law) กับ ด้านลักษณะเฉพาะ (Individual Law)
6. ความสัมพันธ์ระหว่างด้านแผ่กระจาย หรือลักษณะแผ่กระจาย กับ ด้านรวมศูนย์ มุ่งตรงต่อองค์เอกภาพ
7. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะที่อยู่เหนือกฎไตรลักษณ์ กับ สภาวะที่ต้องตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์
8. ความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์หลัก กับ ความสัมพันธ์รอง
9. ความสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์ กับ ดาวเคราะห์ เป็นต้น
ทั้ง 9 มิติ 9 มุมมองนี้ เป็นความสัมพันธ์อย่างดุลยภาพของกฎธรรมชาติ อันเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า เราผู้เป็นสาวกได้ปฏิบัติธรรมและการเผยแผ่ธรรมอันยิ่งเป็นภารกิจแห่งชีวิต เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เพื่อความมั่นคงของชาติ และเพื่อประโยชน์และความสุขของมหาชนสืบไป
อีกนัยหนึ่งเรามาดู ความสัมพันธ์ในคำสอนของพุทธเจ้า อันเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะนิพพาน กับ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
2. ความสัมพันธ์ระหว่างนิพพาน กับ 84,000 พระธรรมขันธ์ อันเป็นคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
3. ความสัมพันธ์ระหว่างพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า กับ พระธรรม (พระพุทธศาสนา)
4. ความสัมพันธ์ระหว่างพระธรรมหรือหลักธรรม กับ พระวินัย
5. ความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธศาสนา กับ ราชอาณาจักร หรือประเทศต่างๆ
6. ความสัมพันธ์ระหว่างพระรัตนตรัย กับ พุทธบริษัท 4 หรือชาวพุทธทั้งมวล
จะเห็นว่าความสัมพันธ์ทั้ง 6 ทั้งข้อนี้ เป็นไปในทำนองเดียวกันกับความสัมพันธ์ของกฎธรรมชาติดังกล่าวข้างต้น 9 มิติ จะยกเอาข้อ 6 มาเป็นตัวอย่างและขยายความ ดังนี้
1. พระรัตนตรัย เป็นด้านอสังขตธรรม ส่วนพุทธบริษัท 4 (ภิกษุ, ภิกษุณี,อุบาสก, และอุบาสิกา) เป็นด้านสังขตธรรม ทรงไว้ซึ่งดุลยภาพ มั่นคง ก้าวหน้า
2. พระรัตนตรัยเป็นด้านไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ส่วนพุทธบริษัท 4 เป็นด้านเกิด แก่ เจ็บ ตาย
3. พระรัตนตรัยเป็นด้านปฐมภูมิ ส่วนพุทธบริษัท 4 เป็นด้านทุติยภูมิ
4. พระรัตนตรัยเป็นด้านเอกภาพ ส่วนพุทธบริษัท 4 เป็นด้านความแตกต่างหลากหลาย
5. พระรัตนตรัยเป็นด้านลักษณะทั่วไป (General Law) ส่วนพุทธบริษัท 4 เป็นด้านลักษณะเฉพาะ (Individual Law) ที่แตกต่างหลากหลาย เช่นหลายเชื้อชาติ หลายอาชีพ เป็นต้น
6. พระรัตนตรัยเป็นด้านแผ่กระจาย หรือลักษณะแผ่กระจาย ส่วนพุทธบริษัท 4 เป็นด้านรวมศูนย์ มุ่งตรงต่อองค์เอกภาพคือองค์พระรัตนตรัย
7. พระรัตนตรัยอยู่เหนือกฎไตรลักษณ์ ส่วนพุทธบริษัท 4 เป็นสภาวะที่ต้องตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ เว้นแต่เพียงผู้เข้าสู่สภาวะพระอรหันต์แล้วเท่านั้น
8. พระรัตนตรัยเป็นด้านความสัมพันธ์หลัก ส่วนพุทธบริษัท 4 เป็นด้านความสัมพันธ์รอง
9. พระรัตนตรัยอุปมาดุจดวงสุริยัน (พระอาทิตย์) ส่วนพุทธบริษัท 4 ดุจดาวเคราะห์ เป็นต้นและนี่คือเหตุปัจจัยที่จะทำให้พระพุทธศาสนามีความมั่นคงดุจเดียวกับกฎธรรมชาติ
อีกนัยหนึ่งเรามาดูความสัมพันธ์ของชีวิต หรือขันธ์ 5 (ของพระอรหันต์) เป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ ใน 9 มิติ
1. สภาวะนิพพาน เป็นด้านอสังขตธรรม ส่วนขันธ์ 5 เป็นด้านสังขตธรรม ทรงไว้ซึ่งดุลยภาพ
2. สภาวะนิพพานเป็นด้านไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ส่วนขันธ์ 5 เป็นด้านเกิด แก่ เจ็บ ตาย
3. สภาวะนิพพานเป็นด้านปฐมภูมิ ส่วนขันธ์ 5 เป็นด้านทุติยภูมิ
4. สภาวะนิพพานเป็นด้านเอกภาพ ส่วนขันธ์ 5 เป็นด้านความแตกต่างหลากหลาย
5. สภาวะนิพพานเป็นด้านลักษณะทั่วไป (General Law) ส่วนขันธ์ 5 เป็นด้านลักษณะเฉพาะ (Individual Law) ที่มีลักษณะแตกต่างหลากหลาย
6. สภาวะนิพพานเป็นด้านแผ่กระจาย หรือลักษณะแผ่กระจาย ส่วนขันธ์ 5 เป็นด้านรวมศูนย์ มุ่งตรงต่อองค์เอกภาพคือนิพพาน ดังนี้แล้วมนุษย์ทั้งหลายเกิดมาชาติหนึ่ง ควรจะได้ใช้ขันธ์ 5 ของตนๆ ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ก็คือการได้ศึกษาและปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
7. สภาวะนิพพานอยู่เหนือกฎไตรลักษณ์ ส่วนขันธ์ 5 เป็นสภาวะที่ต้องตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ เว้นแต่เพียงผู้เข้าสู่สภาวะพระอรหันต์แล้วเท่านั้น
8. สภาวะนิพพานเป็นด้านความสัมพันธ์หลัก ส่วนขันธ์ 5 เป็นด้านความสัมพันธ์รอง
9. สภาวะนิพพานอุปมาดุจดวงสุริยัน (พระอาทิตย์) ส่วนขันธ์ 5 ดุจดาวเคราะห์ เป็นต้น และนี่คือเหตุปัจจัยที่ทำให้พระอรหันต์เข้าถึงกฎธรรมชาติและเป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ
อีกนัยหนึ่งเราได้ประยุกต์เพื่อความมั่นคง ก้าวหน้า ระหว่างประเทศชาติ กับประชาชน ซึ่งได้จัดความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ และขันธ์ 5 ใน 9 มิติ
1. ประเทศชาติด้านอสังขตธรรม ส่วนประชาชนเป็นด้านสังขตธรรม ทรงไว้ซึ่งดุลยภาพ
2. ประเทศชาติเป็นด้านไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ส่วนประชาชนเป็นด้านเกิด แก่ เจ็บ ตาย
3. ประเทศชาติเป็นด้านปฐมภูมิ ส่วนประชาชนเป็นด้านทุติยภูมิ
4. ประเทศชาติเป็นด้านเอกภาพ ส่วนประชาชนเป็นด้านความแตกต่างหลากหลาย
5. ประเทศชาติเป็นด้านลักษณะทั่วไป (General Law) ส่วนประชาชนเป็นด้านลักษณะเฉพาะ (Individual Law) ที่มีลักษณะแตกต่างหลากหลาย
6. ประเทศชาติเป็นด้านแผ่กระจาย หรือลักษณะแผ่กระจายครอบคลุมประชาชนทั้งหมด ส่วนประชาชนเป็นด้านรวมศูนย์ มุ่งตรงต่อองค์เอกภาพคือชาติ “เรียนอะไรก็ได้ ทำหน้าที่อะไรก็ได้ตามตนถนัด คิดสร้างสรรค์อะไรก็ได้ แต่ให้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเทศชาติ”
7. ประเทศชาติอยู่เหนือกฎไตรลักษณ์ ส่วนประชาชนตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ หมายความสถาบันชาติ สถาบันพระศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ จะต้องไม่ตายไม่ล่มสลาย ส่วนประชาชนก็ต้องเกิด แก่เจ็บ ตายไปเป็นธรรมดา
8. ประเทศชาติเป็นด้านความสัมพันธ์หลัก ส่วนประชาชนเป็นด้านความสัมพันธ์รอง หมายความว่า ประโยชน์ของประเทศชาติต้องมาก่อนประโยชน์ของพรรค บริษัท หรือบุคคล
9. ประเทศชาติอุปมาดุจดวงสุริยัน (พระอาทิตย์) ส่วนประชาชนดุจดาวเคราะห์ เป็นต้น และนี่คือเหตุปัจจัยที่จะทำให้ประเทศชาติมั่นคง ดำรงอยู่ดุจเดียวกับกฎธรรมชาติ (อ่านต่อตอนที่ 4 เกี่ยวกับความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ ฯลฯ)