ครั้งที่ 70
ทานที่บุคคลให้แล้วในคราวตกยาก
ย่อมยังผู้ทำให้ร่าเริงเบิกบาน และมีอานิสงส์มาก
อีกครั้งหนึ่งที่กรุงราชคฤห์มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อมหาเสนพราหมณ์ เคยเป็นสหายของวังคันตพราหมณ์ผู้บิดาของพระธรรมเสนาบดี หรือ พระสารีบุตร พราหมณ์ผู้นี้เคยมั่งคั่งมาก ต่อมาตกยาก พระสารีบุตรต้องการจะสงเคราะห์เขา จึงไปบิณฑบาตยังประตูเรือนของพราหมณ์นั้น
มหาเสนะผู้ซึ่งบัดนี้ตกยาก ได้เห็นพระเถระมายืนอยู่ที่ประตูเรือน คิดว่า "บุตรของเรามายืนอยู่ที่ประตูเรือนคงไม่ทราบกระมังว่าบัดนี้เราไม่เหมือนเมื่อก่อนแล้ว อะไรๆ ในเรือนของเราที่พอเป็นไทยธรรมได้ไม่มีเลย" ดังนี้แล้วไม่อาจเผชิญหน้ากับพระเถระได้จึงหลบเสีย
วันอื่นๆ พระเถระก็ไปยังประตูเรือนนั้นอีก แต่มหาเสนพราหมณ์ไม่มีอะไรถวายจึงหลบเสียเช่นเคย เหตุการณ์เป็นไปเยี่ยงนี้อยู่หลายวัน จนกระทั่งวันหนึ่งพราหมณ์ได้ข้าวมธุปายาสมาถาดหนึ่งและผ้าสาฏกเนื้อหยาบผืนหนึ่งจากที่ที่เจ้าภาพเชิญพราหมณ์ไปทำพิธี แล้วให้ของ
มหาเสนพราหมณ์ถือของกลับบ้านพร้อมกับนึกว่า "วันนี้เรามีไทยธรรมแล้ว ถ้าพระเถระ บุตรของเรามาเราจะถวายของนี้ให้ชื่นใจสักวันหนึ่ง"
พอดีวันนั้นพระเถระเข้าฌานสมาบัติ ออกจากสมาบัติแล้ว พิจารณาหาบุคคลที่ควรโปรด ได้้เห็นด้วยทิพยจักษุซึ่งพราหมณ์นั้นว่า บัดนี้เขามีไทยธรรมแล้ว เราควรไปโปรดเขา จึงไปยังประตูเรือนของพราหมณ์นั้น
พอเห็นพระเถระเท่านั้น จิตของพราหมณ์นั้นก็เลื่อมใส เขาเข้าไปหาพระเถระ ไหว้แล้วกระทำปฏิสันถาร นิมนต์ให้นั่งบนเรือน ถือถาดที่เต็มด้วยข้าวปายาสเข้ามา เทลงในบาตรของพระเถระ พระธรรมเสนาบดีรับไว้ครึ่งหนึ่งแล้วปิดบาตร เขากล่าวกับท่านว่า
"ท่านผู้เจริญ ! ข้าวปายาสนี้เพียงพอสำหรับคนคนเดียวเท่านั้น ขอท่านได้โปรดรับไว้ทั้งหมดเถิด อย่าสงเคราะห์กระผมเพียงในโลกนี้เท่านั้นเลย ขอได้โปรดสงเคราะห์ในโลกหน้าด้วย กระผมขอถวายท่านทั้งหมด ดังนี้แล้วเทข้าวปายาสลงทั้งหมด
เมื่อพระเถระฉันเสร็จแล้ว เขานำผ้าสาฏกเนื้อหยาบมาถวายพร้อมกล่าวว่า ขอกระผมพึงได้บรรลุธรรมที่ท่านเห็นแล้วด้วยเถิด
พระมหาเถระพิจารณาแล้วเห็นว่า พราหมณ์จักเป็นผู้มีลาภเป็นอันมากในอนาคต และจักได้บรรลุธรรมแต่อายุยังน้อยทีเดียว จึงกล่าวอนุโมทนาว่า "ขอจงเป็นอย่างนั้นเถิดพราหมณ์ ดังนี้แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป จาริกไปโดยลำดับ จนถึงเมืองสาวัตถี พักอยู่ ณ เชตวันวิหาร
ท่านกล่าวว่า ทานที่บุคคลให้แล้วในคราวตกยาก ย่อมยังผู้ทำให้ร่าเริงเบิกบานและมีอานิสงส์มาก ด้วยเหตุที่พราหมณ์นั้นถวายทานแก่พระเถระ แล้วมีจิตเลื่อมใสอย่างยิ่ง โสมนัสอย่างยิ่ง มีความสิเน่หาเป็นอย่างยิ่งในพระเถระ ไม่นานนักพราหมณ์นั้น ทำกาละแล้ว ไปปฏิสนธิในสกุลอุปัฏฐากของพระเถระในกรุงสาวัตถี
มารดาของทารกในครรภ์ได้บริหารครรภ์อย่างดี เว้นการบริโภคของร้อนจัด เย็นจัด เปรี้ยวจัด และเผ็ดจัด เป็นต้น ถึงกระนั้น นางก็ได้มีอาการแพ้ท้องใคร่ทำบุญกุศลรำพึงอยู่เสมอว่า "ไฉนหนอ เราพึงนิมนต์ภิกษุ 500 รูปมีพระสารีบุตรเถระเป็นประธาน ให้นั่งในเรือนถวายข้าวปายาสเจือน้ำนมล้วน แม้เราเองก็พึงนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ถือขันทองคำนั่งปลายอาสนะ แล้วบริโภคข้าวปายาสที่เหลือจากภิกษุทั้งหลาย
การที่นางผู้เป็นมารดามีอาการแพ้ท้องดังนี้ เป็นบุพนิมิตว่าบุตรที่อยู่ในครรภ์นั้นจักได้บรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา พวกญาติทราบการแพ้ท้องของนางแล้วยินดีว่า "อาการแพ้ท้องแห่งธิดาของเราประกอบด้วยธรรมปรารภธรรม เป็นนิมิตอันดี" จึงชวนกัน จัดแจงให้เป็นไปตามความต้องการของนางทุกประการ ความแพ้ท้องจึงสงบลง
ระหว่างเวลาที่ทารกอยู่ในครรภ์นั้น เมื่อปรารภจะทำงานมงคลใดๆ ก็ทำโดยทำนองนั้นทุกครั้ง คือถวายข้าวปายาสแก่ภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตรเถระเป็นประธาน และนางนุ่งห่มผ้ากาสาวะนั่งอยู่ปลายอาสนะถือขันทองคำบริโภคข้าวปายาสที่เหลือจากภิกษุสงฆ์
ในวันคลอด พวกญาติได้ทำพิธีมงคลให้ทารกอาบน้ำแต่เช้าตรู่ ประดับประดาด้วยสรรพาภรณ์ แล้วให้นอนบนผ้ากัมพลมีค่า แสนหนึ่งบนที่นอนอันมีสิริ เรื่องข้าวปายาสก็ดี เรื่องที่เด็กได้นอนบนผ้ากัมพลอันมีราคามากก็ดี เป็นผลแห่งข้าวมธุปายาสและผ้าเนื้อหยาบ ที่ทารกได้ถวายแก่พระสารีบุตรในชาติก่อน ชาติที่เป็นพราหมณ์ตกยาก
ในพิธีมงคลวันหนึ่ง ทารกนอนอยู่บนผ้ากัมพลแลดูพระเสรีบุตรเถระพลางคิดว่าเราได้สมบัติเห็นปานนี้ก็เพราะได้อาศัยพระเถระนี้ ท่านเป็นบุรพาจารย์ของเรา เราควรบริจาคอะไรสักอย่างหนึ่งแก่ท่านในวันนี้ ในขณะที่พวกญาตินำเข้าไปรับศีลนั่นเอง ทารกได้เอา นิ้วก้อยเกี่ยวผ้ากัมพลผืนนั้นยึดไว้ พวกญาติพยายามปลดออก แต่เด็กไม่ยอมปล่อยและร้องไห้ พวกญาติจึงพาทารกไปไหว้ พระเถระพร้อมทั้งผ้ากัมพล เมื่อญาติให้ไหว้พระเถระ ทารกชักนิ้วออกให้ผ้ากัมพลตกอยู่ที่เท้าของท่าน พวกญาติมีมารดาเป็นต้น ได้กล่าวว่า ท่านเจ้าขา ผ้ากัมพลผืนนี้ที่ทารกเกี่ยวก้อยติดมานี้ ขอให้เป็นผ้าอันทารกถวายแล้วแก่ท่าน ขอได้โปรดรับไว้ด้วยเถิด
"เด็กคนนี้ชื่ออะไร ? พระเถระถาม
"ชื่อ ติสสะ เจ้าค่ะ มารดาของทารกตอบ
ต่อมา ก่อนอายุจะครบ 7 ขวบได้มีพิธีมงคลอีกหลายครั้ง แต่ละครั้งก็ทำอย่างเดียวกับครั้งก่อน ๆ นั่นเอง ส่วนมารดาของเด็กก็ได้ตั้งใจไว้ว่าจะไม่ทำลายอัธยาศัยของลูก ถ้าลูกปรารถนาจะบวชก็จะให้บวช เมื่อเด็กอายุครบ 3 ขวบ ได้กล่าวกับมารดาว่า "คุณแม่ครับ ลูกจะบวชในสำนักของพระเถระ"
มารดาตอบยินยอมด้วยความยินดี เพราะมีอัธยาศัยนิยมในทางธรรมอยู่แล้ว ใคร่เห็นบุตรเจริญในทางธรรมยิ่งกว่าในทางโลก วันนั้นเอง ได้นิมนต์พระเถระมาถวายภิกษาแล้วกราบเรียนให้ทราบถึงเรื่องที่บุตรน้อยขออนุญาตบวชในสำนักของท่าน
ตอนเย็น จึงพาบุตรน้อยไปสู่สำนักพระสารีบุตร พร้อมด้วยสักการะเป็นอันมาก พระเถระกล่าวกับทารกก่อนบวชว่า "ติสสะ การบวชเป็นของยาก ทำให้บริบูรณ์ได้ยาก ความเป็นอยู่ไม่สะดวกเหมือนคฤหัสถ์ เมื่อต้องการของร้อนก็ได้ของเย็น เมื่อต้องการของเย็นก็ได้ของร้อน นักบวชจึงต้องอดทน ไม่ประพฤติตามใจตัวเองในเรื่องนี้ เธอเคยมีความสุขมาแล้ว ขอให้คิดดูเสียก่อน"
เด็กน้อยติสสะรับอย่างมั่นคงว่าจะทำได้ตามที่ท่านสั่งสอน พระเถระจึงให้บวชเป็นสามเณรโดยการบอกกรรมฐาน 5 ให้ก่อน
กรรมฐาน 5 คือ ให้พิจารณาอวัยวะทั้ง 5 กล่าวคือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ว่าเป็นของปฏิกูล น่ารังเกียจ โสโครก ไม่ควรกำหนัด ควรพิจารณาเนือง ๆ ซึ่งความปฏิกูลของ ผม ขน เล็บ ฟัน หนังนี้ เมื่อพิจารณาเนืองๆ ย่อมทำให้เบื่อหน่ายคลายกำหนัด จิตเป็นสมาธิได้เร็ว กรรมฐาน 5 นี้ พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ไม่เคยทรงละทิ้งเลย อนึ่ง ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้พิจารณา กรรมฐาน 5 นี้แล้วได้บรรลุอรหัตตผลมีจำนวนมากมายกำหนดไม่ได้
พระสารีบุตรเถระบอกกรรมฐาน 5 ให้ แล้วให้ดำรงอยู่ในศีล 10 แล้วให้เด็กน้อยดำรงอยู่ในภาวะแห่งสามเณร มารดาบิดาของสามเณรถวายข้าวมธุปายาสมีน้ำน้อยแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขในวิหารนั่นเองเป็นเวลา 2 วัน ภิกษุบางพวกเบื่ออาหารประเภทนั้น จึงกล่าวโพนทะนาขึ้นว่า "พวกเราไม่อาจฉันอาหารอย่างเดียวเป็นนิตย์ได้"
มารดาบิดาของสามเณรขออาศัยอยู่ในวัดเป็นเวลา 7 วัน ในเย็นวันที่ 7 จึงกลับเรือนของตน ในวันที่ 8 สามเณรจึงเข้าไปบิณฑบาตกับภิกษุทั้งหลาย
ชาวเมืองสาวัตถีรู้กันว่าสามเณรเข้าไปบิณฑบาตในเช้าวันนั้น จึงพากันจัดแจงไทยธรรมเป็นอันมากเช่นผ้าสาฏกและอาหารอันประณีตแล้วไปยืนดักถวาย แม้ในวันรุ่งขึ้นก็ชวนกันไปดักถวายที่ป่าใกล้ที่อยู่ของสามเณร เพียง 2 วันเท่านั้น สามเณรได้ผ้าสาฏกจำนวนพันและไทยธรรมอื่นๆ อีกเป็นอันมาก เธอได้ถวายของเหล่านั้นแก่ภิกษุสงฆ์
การที่สามเณรได้ผ้าสาฏกเป็นอันมากนั้น เป็นอานิสงส์แห่งการถวายผ้าสาฏกเนื้อหยาบแก่พระสารีบุตรในสมัยที่ตนเป็นพราหมณ์ยากจน ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุทั้งหลายจึงขนานนามสามเณรว่า ปิณฑปาตทายกติสสะ หรือ ติสสะผู้ถวายบิณฑบาต
ทานที่บุคคลให้แล้วในคราวตกยาก
ย่อมยังผู้ทำให้ร่าเริงเบิกบาน และมีอานิสงส์มาก
อีกครั้งหนึ่งที่กรุงราชคฤห์มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อมหาเสนพราหมณ์ เคยเป็นสหายของวังคันตพราหมณ์ผู้บิดาของพระธรรมเสนาบดี หรือ พระสารีบุตร พราหมณ์ผู้นี้เคยมั่งคั่งมาก ต่อมาตกยาก พระสารีบุตรต้องการจะสงเคราะห์เขา จึงไปบิณฑบาตยังประตูเรือนของพราหมณ์นั้น
มหาเสนะผู้ซึ่งบัดนี้ตกยาก ได้เห็นพระเถระมายืนอยู่ที่ประตูเรือน คิดว่า "บุตรของเรามายืนอยู่ที่ประตูเรือนคงไม่ทราบกระมังว่าบัดนี้เราไม่เหมือนเมื่อก่อนแล้ว อะไรๆ ในเรือนของเราที่พอเป็นไทยธรรมได้ไม่มีเลย" ดังนี้แล้วไม่อาจเผชิญหน้ากับพระเถระได้จึงหลบเสีย
วันอื่นๆ พระเถระก็ไปยังประตูเรือนนั้นอีก แต่มหาเสนพราหมณ์ไม่มีอะไรถวายจึงหลบเสียเช่นเคย เหตุการณ์เป็นไปเยี่ยงนี้อยู่หลายวัน จนกระทั่งวันหนึ่งพราหมณ์ได้ข้าวมธุปายาสมาถาดหนึ่งและผ้าสาฏกเนื้อหยาบผืนหนึ่งจากที่ที่เจ้าภาพเชิญพราหมณ์ไปทำพิธี แล้วให้ของ
มหาเสนพราหมณ์ถือของกลับบ้านพร้อมกับนึกว่า "วันนี้เรามีไทยธรรมแล้ว ถ้าพระเถระ บุตรของเรามาเราจะถวายของนี้ให้ชื่นใจสักวันหนึ่ง"
พอดีวันนั้นพระเถระเข้าฌานสมาบัติ ออกจากสมาบัติแล้ว พิจารณาหาบุคคลที่ควรโปรด ได้้เห็นด้วยทิพยจักษุซึ่งพราหมณ์นั้นว่า บัดนี้เขามีไทยธรรมแล้ว เราควรไปโปรดเขา จึงไปยังประตูเรือนของพราหมณ์นั้น
พอเห็นพระเถระเท่านั้น จิตของพราหมณ์นั้นก็เลื่อมใส เขาเข้าไปหาพระเถระ ไหว้แล้วกระทำปฏิสันถาร นิมนต์ให้นั่งบนเรือน ถือถาดที่เต็มด้วยข้าวปายาสเข้ามา เทลงในบาตรของพระเถระ พระธรรมเสนาบดีรับไว้ครึ่งหนึ่งแล้วปิดบาตร เขากล่าวกับท่านว่า
"ท่านผู้เจริญ ! ข้าวปายาสนี้เพียงพอสำหรับคนคนเดียวเท่านั้น ขอท่านได้โปรดรับไว้ทั้งหมดเถิด อย่าสงเคราะห์กระผมเพียงในโลกนี้เท่านั้นเลย ขอได้โปรดสงเคราะห์ในโลกหน้าด้วย กระผมขอถวายท่านทั้งหมด ดังนี้แล้วเทข้าวปายาสลงทั้งหมด
เมื่อพระเถระฉันเสร็จแล้ว เขานำผ้าสาฏกเนื้อหยาบมาถวายพร้อมกล่าวว่า ขอกระผมพึงได้บรรลุธรรมที่ท่านเห็นแล้วด้วยเถิด
พระมหาเถระพิจารณาแล้วเห็นว่า พราหมณ์จักเป็นผู้มีลาภเป็นอันมากในอนาคต และจักได้บรรลุธรรมแต่อายุยังน้อยทีเดียว จึงกล่าวอนุโมทนาว่า "ขอจงเป็นอย่างนั้นเถิดพราหมณ์ ดังนี้แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป จาริกไปโดยลำดับ จนถึงเมืองสาวัตถี พักอยู่ ณ เชตวันวิหาร
ท่านกล่าวว่า ทานที่บุคคลให้แล้วในคราวตกยาก ย่อมยังผู้ทำให้ร่าเริงเบิกบานและมีอานิสงส์มาก ด้วยเหตุที่พราหมณ์นั้นถวายทานแก่พระเถระ แล้วมีจิตเลื่อมใสอย่างยิ่ง โสมนัสอย่างยิ่ง มีความสิเน่หาเป็นอย่างยิ่งในพระเถระ ไม่นานนักพราหมณ์นั้น ทำกาละแล้ว ไปปฏิสนธิในสกุลอุปัฏฐากของพระเถระในกรุงสาวัตถี
มารดาของทารกในครรภ์ได้บริหารครรภ์อย่างดี เว้นการบริโภคของร้อนจัด เย็นจัด เปรี้ยวจัด และเผ็ดจัด เป็นต้น ถึงกระนั้น นางก็ได้มีอาการแพ้ท้องใคร่ทำบุญกุศลรำพึงอยู่เสมอว่า "ไฉนหนอ เราพึงนิมนต์ภิกษุ 500 รูปมีพระสารีบุตรเถระเป็นประธาน ให้นั่งในเรือนถวายข้าวปายาสเจือน้ำนมล้วน แม้เราเองก็พึงนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ถือขันทองคำนั่งปลายอาสนะ แล้วบริโภคข้าวปายาสที่เหลือจากภิกษุทั้งหลาย
การที่นางผู้เป็นมารดามีอาการแพ้ท้องดังนี้ เป็นบุพนิมิตว่าบุตรที่อยู่ในครรภ์นั้นจักได้บรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา พวกญาติทราบการแพ้ท้องของนางแล้วยินดีว่า "อาการแพ้ท้องแห่งธิดาของเราประกอบด้วยธรรมปรารภธรรม เป็นนิมิตอันดี" จึงชวนกัน จัดแจงให้เป็นไปตามความต้องการของนางทุกประการ ความแพ้ท้องจึงสงบลง
ระหว่างเวลาที่ทารกอยู่ในครรภ์นั้น เมื่อปรารภจะทำงานมงคลใดๆ ก็ทำโดยทำนองนั้นทุกครั้ง คือถวายข้าวปายาสแก่ภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตรเถระเป็นประธาน และนางนุ่งห่มผ้ากาสาวะนั่งอยู่ปลายอาสนะถือขันทองคำบริโภคข้าวปายาสที่เหลือจากภิกษุสงฆ์
ในวันคลอด พวกญาติได้ทำพิธีมงคลให้ทารกอาบน้ำแต่เช้าตรู่ ประดับประดาด้วยสรรพาภรณ์ แล้วให้นอนบนผ้ากัมพลมีค่า แสนหนึ่งบนที่นอนอันมีสิริ เรื่องข้าวปายาสก็ดี เรื่องที่เด็กได้นอนบนผ้ากัมพลอันมีราคามากก็ดี เป็นผลแห่งข้าวมธุปายาสและผ้าเนื้อหยาบ ที่ทารกได้ถวายแก่พระสารีบุตรในชาติก่อน ชาติที่เป็นพราหมณ์ตกยาก
ในพิธีมงคลวันหนึ่ง ทารกนอนอยู่บนผ้ากัมพลแลดูพระเสรีบุตรเถระพลางคิดว่าเราได้สมบัติเห็นปานนี้ก็เพราะได้อาศัยพระเถระนี้ ท่านเป็นบุรพาจารย์ของเรา เราควรบริจาคอะไรสักอย่างหนึ่งแก่ท่านในวันนี้ ในขณะที่พวกญาตินำเข้าไปรับศีลนั่นเอง ทารกได้เอา นิ้วก้อยเกี่ยวผ้ากัมพลผืนนั้นยึดไว้ พวกญาติพยายามปลดออก แต่เด็กไม่ยอมปล่อยและร้องไห้ พวกญาติจึงพาทารกไปไหว้ พระเถระพร้อมทั้งผ้ากัมพล เมื่อญาติให้ไหว้พระเถระ ทารกชักนิ้วออกให้ผ้ากัมพลตกอยู่ที่เท้าของท่าน พวกญาติมีมารดาเป็นต้น ได้กล่าวว่า ท่านเจ้าขา ผ้ากัมพลผืนนี้ที่ทารกเกี่ยวก้อยติดมานี้ ขอให้เป็นผ้าอันทารกถวายแล้วแก่ท่าน ขอได้โปรดรับไว้ด้วยเถิด
"เด็กคนนี้ชื่ออะไร ? พระเถระถาม
"ชื่อ ติสสะ เจ้าค่ะ มารดาของทารกตอบ
ต่อมา ก่อนอายุจะครบ 7 ขวบได้มีพิธีมงคลอีกหลายครั้ง แต่ละครั้งก็ทำอย่างเดียวกับครั้งก่อน ๆ นั่นเอง ส่วนมารดาของเด็กก็ได้ตั้งใจไว้ว่าจะไม่ทำลายอัธยาศัยของลูก ถ้าลูกปรารถนาจะบวชก็จะให้บวช เมื่อเด็กอายุครบ 3 ขวบ ได้กล่าวกับมารดาว่า "คุณแม่ครับ ลูกจะบวชในสำนักของพระเถระ"
มารดาตอบยินยอมด้วยความยินดี เพราะมีอัธยาศัยนิยมในทางธรรมอยู่แล้ว ใคร่เห็นบุตรเจริญในทางธรรมยิ่งกว่าในทางโลก วันนั้นเอง ได้นิมนต์พระเถระมาถวายภิกษาแล้วกราบเรียนให้ทราบถึงเรื่องที่บุตรน้อยขออนุญาตบวชในสำนักของท่าน
ตอนเย็น จึงพาบุตรน้อยไปสู่สำนักพระสารีบุตร พร้อมด้วยสักการะเป็นอันมาก พระเถระกล่าวกับทารกก่อนบวชว่า "ติสสะ การบวชเป็นของยาก ทำให้บริบูรณ์ได้ยาก ความเป็นอยู่ไม่สะดวกเหมือนคฤหัสถ์ เมื่อต้องการของร้อนก็ได้ของเย็น เมื่อต้องการของเย็นก็ได้ของร้อน นักบวชจึงต้องอดทน ไม่ประพฤติตามใจตัวเองในเรื่องนี้ เธอเคยมีความสุขมาแล้ว ขอให้คิดดูเสียก่อน"
เด็กน้อยติสสะรับอย่างมั่นคงว่าจะทำได้ตามที่ท่านสั่งสอน พระเถระจึงให้บวชเป็นสามเณรโดยการบอกกรรมฐาน 5 ให้ก่อน
กรรมฐาน 5 คือ ให้พิจารณาอวัยวะทั้ง 5 กล่าวคือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ว่าเป็นของปฏิกูล น่ารังเกียจ โสโครก ไม่ควรกำหนัด ควรพิจารณาเนือง ๆ ซึ่งความปฏิกูลของ ผม ขน เล็บ ฟัน หนังนี้ เมื่อพิจารณาเนืองๆ ย่อมทำให้เบื่อหน่ายคลายกำหนัด จิตเป็นสมาธิได้เร็ว กรรมฐาน 5 นี้ พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ไม่เคยทรงละทิ้งเลย อนึ่ง ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้พิจารณา กรรมฐาน 5 นี้แล้วได้บรรลุอรหัตตผลมีจำนวนมากมายกำหนดไม่ได้
พระสารีบุตรเถระบอกกรรมฐาน 5 ให้ แล้วให้ดำรงอยู่ในศีล 10 แล้วให้เด็กน้อยดำรงอยู่ในภาวะแห่งสามเณร มารดาบิดาของสามเณรถวายข้าวมธุปายาสมีน้ำน้อยแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขในวิหารนั่นเองเป็นเวลา 2 วัน ภิกษุบางพวกเบื่ออาหารประเภทนั้น จึงกล่าวโพนทะนาขึ้นว่า "พวกเราไม่อาจฉันอาหารอย่างเดียวเป็นนิตย์ได้"
มารดาบิดาของสามเณรขออาศัยอยู่ในวัดเป็นเวลา 7 วัน ในเย็นวันที่ 7 จึงกลับเรือนของตน ในวันที่ 8 สามเณรจึงเข้าไปบิณฑบาตกับภิกษุทั้งหลาย
ชาวเมืองสาวัตถีรู้กันว่าสามเณรเข้าไปบิณฑบาตในเช้าวันนั้น จึงพากันจัดแจงไทยธรรมเป็นอันมากเช่นผ้าสาฏกและอาหารอันประณีตแล้วไปยืนดักถวาย แม้ในวันรุ่งขึ้นก็ชวนกันไปดักถวายที่ป่าใกล้ที่อยู่ของสามเณร เพียง 2 วันเท่านั้น สามเณรได้ผ้าสาฏกจำนวนพันและไทยธรรมอื่นๆ อีกเป็นอันมาก เธอได้ถวายของเหล่านั้นแก่ภิกษุสงฆ์
การที่สามเณรได้ผ้าสาฏกเป็นอันมากนั้น เป็นอานิสงส์แห่งการถวายผ้าสาฏกเนื้อหยาบแก่พระสารีบุตรในสมัยที่ตนเป็นพราหมณ์ยากจน ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุทั้งหลายจึงขนานนามสามเณรว่า ปิณฑปาตทายกติสสะ หรือ ติสสะผู้ถวายบิณฑบาต