ลักษณะการเคารพพระรัตนตรัย (ต่อ)
พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เรื่องลักษณะการเคารพพระรัตนตรัย มีความต่อจากฉบับที่แล้ว ดังนี้
ในภาคย์เบื้องต้นนี้ จะขอกล่าวลักษณะเคารพ นมัสการ กราบไหว้ คำนับน้อม แลลักษณะทำสักการบูชานับถือในพระรัตนตรัยนั้น ให้เข้าใจถนัดก่อน
อันการอ่อนน้อมคำนับในโลกนี้ มีกิริยาทำต่างๆกัน ในประเทศต่างๆ อย่างนั้นๆ ไม่ต้องกัน ไม่เหมือนกัน จนถึงขัดขวางกัน ดังหนึ่งข้างจีนถือว่า เมื่อจะ คำนับไหว้พระไหว้เจ้า แลจะเข้าไปหานายต้องสอดสวมเครื่องแต่งตัว หมวก เสื้อ รองเท้า เข้าให้ครบ จึงจะไหว้ พระไหว้เจ้าไหว้นายได้ ถ้าไม่มีเครื่องแต่งตัวเต็ม ไม่สวมหมวกสอดรองเท้า ก็ว่าไม่เคารพ
ฝ่ายข้างชาวยุโรป แลอเมริกา ถือว่าถ้าสวมหมวกอยู่ เป็นไม่คำนับ เมื่อจะคำนับ ต้องถอดหมวกออก ถือออกโบก แต่เครื่องแต่งตัวคือเสื้อชั้นนอกที่ไม่ได้สวมอยู่โดยปรกติ แลรองเท้า แลเครื่องอื่นๆ ตามยศ จนถึงกระบี่ซึ่งเป็นเครื่องติดอยู่กับเครื่องคาดเอว ต้องแต่งเข้าพร้อม จึงเป็นอันเคารพ
ฝ่ายลัทธิในการเคารพของพวกชาวบ้านเมืองถือพระพุทธศาสนา แลถือข้างพราหมณ์ มักถือว่าไม่สวมหมวก ไม่โพกผ้า เป็นเคารพ รองเท้าแลอาวุธห้าม เป็นอันขาด ไม่ให้สอดสวม ไม่ให้คาดแต่ไกลทีเดียว จึงเป็นเคารพ ฝ่ายผ้าห่มนั้นต้องให้มี จึงเป็นเคารพ ถึงกระนั้นในที่เคารพ ก็บังคับให้ลดเปิดบ่าข้างขวาออก แลในชาวสยามผู้ชาย เมื่อเคารพผู้มีบรรดาศักดิ์ ต้องเอาผ้าห่มลงเกี้ยวพุงไว้ การเป็นต่างๆ ขัดกัน ไม่ต้องกัน ดังนี้แล
อนึ่งในกิริยาอิริยาบถ ก็ถือไม่ต้องกัน ในเมืองอื่นๆ ถือว่า ผู้ซึ่งยืนเป็นอันคำนับผู้ซึ่งนั่ง ถ้าผู้มีบรรดาศักดิ์นั่งอยู่ ผู้มีบรรดาศักดิ์น้อยต้องยืนอยู่ ต่อผู้มีบรรดาศักดิ์ใหญ่บังคับยอมให้นั่งลง จึงนั่งลงได้ ถ้าผู้มีบรรดาศักดิ์ใหญ่ยืนขึ้นแล้ว ผู้มีบรรดาศักดิ์น้อยนั่งอยู่ไม่ได้เลย ต้องยืนขึ้น ไม่ต้องบังคับว่าให้ยืนเลย ถึงในวินัยบัญญัติในพระพุทธศาสนาก็มีบังคับว่า เมื่อผู้จะสำแดงธรรม จะยืนสำแดงธรรมให้คนที่นั่งอยู่มิได้ป่วยไข้ไม่ได้ ต้องให้คนฟังยืนขึ้นฟังธรรม
แต่ในเมืองไทย เมืองเขมร เมืองลาว เหล่านี้ ถือกิริยาคนสูงศักดิ์ไว้ให้สูง คนต่ำบรรดาศักดิ์ต้องไว้กิริยา ต่ำแก่ผู้มีบรรดาศักดิ์สูง ถ้าผู้บรรดาศักดิ์ยืน ก็ต้องนั่ง ถ้านั่ง ก็ต้องหมอบคลาน การอย่างนี้ได้ยินว่าในลังกาเก่าแลทมิฬก็ถือ เมื่อเจ้าแผ่นดินเสด็จออกไปที่ใดๆ นอกเมืองนอกวัง ราษฎรที่พบเสด็จ ต้องพังพาบ ก้มศีรษะราบกับแผ่นดิน เงยหน้าขึ้นไม่ได้ เป็นแต่พนมมือ ยกขึ้นไว้บนศีรษะ กว่าเจ้าแผ่นดินจะเสด็จล่วงไป
ถ้าจะว่าถึงกิริยาต่างๆในการคำนับที่มีชื่อเรียกต่างๆ คือ กราบพังพาบทั้งตัวดังว่านั้น เรียกว่า กราบสุงสุมารนิบาต แปลว่าล้มลงเป็นจรเข้ แลเบญจางคประดิษฐ์ กราบวางองค์ห้าลง ทั้งมือสอง เท้าสอง ศีรษะหนึ่งแลกราบสามลาแลกุย อย่างญวนแลจีน คุกเข่าคำนับอย่างชาวยุโรป แลอื่นๆ แล้วก็มากมายหลายอย่าง
ที่นี้จะว่าการตามที่ว่าไว้ในหนังสือที่มีในพระพุทธศาสนา ในพระบาลี มีอยู่ ๔ อย่างตามชื่อ คือ อภิวาท ๑ วันทนาการ ๑ นิปัจจนาการ ๑ อัญชลีกรรม ๑ เป็นสำแดงกิริยาคำนับต่อหน้าผู้มีตัวประจักษ์เฉพาะ ยังอีก ๒ อย่างคือ นมการ ๑ นมัสการ ๑ สองอย่างนี้ว่าด้วยการนับถือเป็นพระที่ยิ่ง แลแสดงความน้อมไปแด่พระนั้นด้วยไตรทวาร คือ กาย วาจา จิต จะหาที่ชี้อุทาหรณ์เยี่ยงอย่างของคำที่สำแดงชื่อ ๖ อย่าง คือ อภิวาท วันทนาการ นิปัจจนาการ อัญชลีกรรม แลนมการ นมัสการนั้น ก็ได้เห็นอยู่ชุกชุม คือ
“ภควนฺตํ อภิวาทเทตวา” ในที่นั้นๆแล“อภิวาทนสีลิสฺส” ที่เป็นคาถาแลอื่นๆ เป็นอุทาหรณ์ของอภิวาท
“ภควโต ปาเท สิรสา วนฺทาหิ” ฤา “วนฺทติ” ในพระวินัยเรียกชื่อ “อวนฺทิโย ปุคฺคโล วนฺทิโย ปุคฺคโล” แลอื่นๆเป็นอุทาหรณ์ของวันทนาการ
ในพระบาลีว่า “ภควโต ปาเทสุ สิรสา นิปติตฺวา” แล “นิปฺปการํ กโรมิ” เป็นอุทาหรณ์ของนิปัจจนาการ
“เยน ภควา เตนญฺชลิมฺปณาเมตฺวา” ฤา “อญฺชลิมฺปคยฺห” ฤา “อญฺชลิโก อฏฐาสิ” แลในบทสวดมนต์ว่า “อญฺชลีกรณีโย” เหล่านี้เป็นอุทาหรณ์ของอัญชลีกรรม
“นโม ตสฺส ภควโต นมตฺถุ นโม เต ปุริสาชญฺญ” แลอื่นๆ เป็นอุทาหรณ์ของนมการ
“นมสฺสนฺติ โคตมํ นมสฺสมาโน สมฺพุทธํ” แลอื่นๆ เป็นอุทาหรณ์ของนมัสการ
ก็ในชื่ออาการ ๖ อย่างที่มาในบาลีนี้ คนทำอย่างไร จะเรียกว่าชื่อไร ก็ไม่ได้ความชัด
อภิวาท นั้นเห็นที่มาเป็นกิริยาที่เขาใช้ต่อหน้า แลทำกับผู้สูงศักดิ์ คือพระพุทธเจ้า แลพระสาวกผู้ใหญ่ แลพระเจ้าแผ่นดิน แลมหาพราหมณ์ มีคำอรรถกถาบางอันแก้ว่า “อภิวาเทตฺวา สุขี โหหีติ วทาเปตฺวา” ก็มีบ้าง แต่ที่แก้ว่า อภิวาทนั้น ก็คือ วันทนกิริยานั้นเอง โดยมาก ถึงกระนั้น เห็นที่มาในบาลี อภิวาทดูทีเป็นการอย่างสูงแลการต่อหน้า วันทนาการเป็นการต่ำลงมา แลมักมีในคำสั่งฝากไหว้คำนับไปอภิวาท แลสงฆ์แลคณะก็ไม่ใคร่จะมี มีแต่วันทนาการ แลอัญชลีกรรม จะชักอุทาหรณ์มาว่าให้เห็นได้ แต่จะเพ้อมากนักไป อัญชลีนั้น อรรถกถาแก้ว่า “ทสนขสโมธานํ”.....(หมาย เหตุผู้เขียน : ต้นฉบับพระราชนิพนธ์นี้ ผู้เขียนได้รับมา เพียงเท่านี้ จึงนำลงเท่าที่มีอยู่ ข้อมูลจึงยังไม่สมบูรณ์)
เพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจในเรื่องพระรัตนตรัยอันเป็นธรรมอรรถรสแห่งพระราชนิพนธ์บทนี้ ขอนำอรรถาธิบายเรื่องพระรัตนตรัย ในบทพระนิพนธ์เรื่อง “พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร” ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (สุวฑฺฒนมหาเถร) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ ‘พระสาสนโสภณ’ ที่ทรงเรียบเรียงตาม คำอาราธนาของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ครั้งดำรงพระยศที่ สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ดังนี้
“เมื่อก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี ได้มีมหาบุรุษท่านหนึ่งเกิดขึ้นมาในโลก เป็นโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายา แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ สักกชนบท ซึ่งบัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล มีพระนามว่า “สิทธัตถะ” ต่อมาอีก ๓๕ ปี พระสิทธัตถะได้ตรัสรู้ธรรม ได้พระนามตามความตรัสรู้ว่า “พุทธะ” ซึ่งไทย เรียกว่า “พระพุทธเจ้า” พระองค์ได้ทรงประกาศพระธรรมที่ได้ตรัสรู้แก่ประชาชนจึงเกิดพระพุทธศาสนา (คำสั่งสอนของพระพุทธะ) และบริษัท ๔ คือ ภิกษุ (สามเณร) ภิกษุณี (สามเณรี) อุบาสก อุบาสิกาขึ้นในโลกจำเดิมแต่นั้น บัดนี้ ในเมืองไทยมีแต่ภิกษุ (สามเณร) อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุนั้น คือชายผู้มีอายุยังไม่ครบ ๒๐ ปี หรือแม้อายุเกิน ๒๐ ปี แล้วเข้ามาถือบวช ปฏิบัติสิกขาของสามเณร อุบาสก อุบาสิกานั้นคือ คฤหัสถ์ชายหญิงผู้นับถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ (ที่พึ่ง) และปฏิบัติอยู่ในศีลสำหรับคฤหัสถ์ บัดนี้ มีคำเรียกชายหญิงทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ผู้ประกาศตนเป็นสรณะว่า “พุทธมามกะ” “พุทธมามิกะ” แปลว่า “ผู้นับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นพระของตน” พระพุทธศาสนาได้แผ่ออกจากประเทศถิ่นที่เกิดไปในประเทศต่างๆในโลก
หลักเคารพสูงสุดในพระพุทธศาสนา คือ พระรัตนตรัย (รัตนะ ๓) ได้แก่ พระพุทธเจ้า คือ พระผู้ตรัสรู้พระธรรม แล้วทรงประกาศสั่งสอนตั้งพระพุทธศาสนาขึ้น พระธรรม คือ สัจธรรม (ธรรม คือ ความจริง)ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และได้ทรงประกาศสั่งสอนเป็นพระศาสนาขึ้น พระสงฆ์ คือ หมู่ชนผู้ได้ฟังคำสั่งสอน ได้ปฏิบัติและได้รู้ตามพระพุทธเจ้า บางพวกออกบวชตาม ได้ช่วยนำพระพุทธศาสนาและสืบต่อวงศ์ การบวชมาจนถึงปัจจุบันนี้
ทุกคนผู้เข้ามานับถือพระพุทธศาสนา จะเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม จะถือบวชก็ตาม ต้องทำกิจเบื้องต้น คือ ปฏิญาณตนถึงพระรัตนตรัยนี้เป็นสรณะ คือ ที่พึ่ง หรือดังที่เรียกว่านับถือเป็นพระของตน เทียบกับทางสกุล คือ นับถือพระพุทธเจ้าเป็นพระบิดา ผู้ให้กำเนิดชีวิตในทางจิตใจของตน พุทธศาสนิกชนย่อมสังคมกับผู้นับถือศาสนาอื่นได้ และย่อมแสดงความเคารพสิ่งเคารพในศาสนาอื่นได้ตามมรรยาทที่เหมาะสม เช่นเดียวกับแสดงความเคารพบิดาหรือมารดา หรือผู้ใหญ่ ของคนอื่นได้ แต่ก็คงมีบิดาของตน ฉะนั้น จึงไม่ขาด จากความเป็นพุทธศาสนิกชนตลอดเวลาที่นับถือพระรัตนตรัยเป็นของตน เช่นเดียวกับเมื่อยังไม่ตัดบิดาของตนไปรับบิดาของเขามาเป็นบิดา ก็คงเป็นบุตรธิดาของบิดาตนอยู่ หรือเมื่อยังไม่แปลงสัญชาติเป็นอื่น ก็คงเป็นไทยอยู่นั่นเอง ฉะนั้น พระพุทธศาสนาจึงไม่คับแคบ ผู้นับถือย่อมสังคมกับชาวโลกต่างชาติต่างศาสนาได้สะดวก ทั้งไม่สอนให้ลบหลู่ใคร ตรงกันข้ามกลับให้ความเคารพต่อผู้ควรเคารพทั้งปวง และไม่ซ่อน เร้นหวงกันธรรมไว้โดยเฉพาะ ใครจะมาศึกษาปฏิบัติก็ได้ทั้งนั้น โดยไม่ต้องมานับถือก่อน ทั้งนี้ เพราะแสดงธรรมที่เปิดทางให้พิสูจน์ได้ว่า เป็นสัจจะ (ความจริง) ที่เป็นประโยชน์สุขแก่การดำรงชีวิตในปัจจุบัน......”
พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฎ์ (เทสก์ เทสฺรํสี) ได้พรรณนา คุณพระรัตนตรัย ไว้ในหนังสือ ‘สิ้นโลก เหลือธรรม’ (นัยที่สอง) ความว่า
“พระพุทธองค์ทรงแสดงเรื่องคุณของพระรัตนตรัย ดังจะอธิบายพอสังเขป พระรัตนตรัยมีคุณอเนกเหลือที่จะคณานับ ทรงสอนให้มนุษย์เอาใจยึดไว้ในคุณพระรัตนตรัย ดังนี้
อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ด้วยประการอย่างนี้ๆ ทรงเป็นผู้แจกธรรมด้วยความรู้ที่เป็นพระอรหันต์ และตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง คำว่า “ตรัสรู้เองโดยชอบ” นั้น หมายความว่า ชอบด้วยเหตุผลและศีลธรรม อันเป็นเหตุให้นำผู้ปฏิบัติตาม ที่พระองค์สอนไว้นั้น เข้าถึงสวรรค์ พระนิพพาน เหลือที่จะคณานับ จึงกล่าวว่าผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
ภควา ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแจกไว้นั้น มีมาก มายหลายประการ นับไม่ถ้วน แต่พอจะประมวลมาแจกแจงแสดงให้เห็นได้ตามหลักพระพุทธศาสนา
สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว คำว่า “ดี” ในที่นี้ หมายความว่าดีเลิศประเสริฐสุดที่มนุษย์จะสามารถทำได้ ดีด้วยเหตุ ด้วยผล อันมนุษย์ปุถุชนสามารถฟังได้ เข้าใจได้ ตามความเป็นจริง แล้วสามารถนำมาปฏิบัติให้สมควรแก่อัธยาศัย ซึ่งเป็นไปในทางสวรรค์และพระนิพพาน พระองค์ทรงแสดงธรรมโดยอรรถและพยัญชนะครบครันบริบูรณ์ นักปราชญ์ทั้งหลายในโลกไม่สามารถจะคัดค้านได้ว่าเป็นของไม่จริงไม่แท้ อรรถและพยัญชนะที่พระองค์ทรงแสดงสอนไว้แล้วนั้นคือธรรม ที่แปลว่า ของจริงของแท้
ทำ คือการกระทำกิจธุระภาระทั้งหมด ที่โลกพากันกระทำอยู่นั้น
ธรรมเนียม คือประเพณีอันดีงาม ที่โลกถือปฏิบัติมาโดยลำดับ
ธรรมดา คือคำสอนที่พระพุทธเจ้าสอนไว้แล้วนั่นเอง
ธรรม แปลว่าธรรมชาติซึ่งเกิดเองแล้วก็ย่อมต้องดับไปเป็นธรรมดา
สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ หมู่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตามคำสอนของพระองค์ ที่เรียกว่า ปาริสุทธิศีล ๔ เป็นต้น มีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามศีลสิกขาบทนั้นๆ ให้สมบูรณ์บริบูรณ์ คือ
๑.ปาฏิโมกขสังวรศีล สำรวมในพระปาติโมกข์ เว้นจากข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม กระทำตามข้อที่พระองค์ทรงอนุญาต
๒.อินทรียสังวรศีล สำรวมอินทรีย์ ๖ มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
๓.อาชีวปาริสุทธิศีล เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบประกอบแต่กรรมที่เป็นกุศล งดเว้นจากกรรมที่ไม่ดีทั้งปวง
๔.ปัจจัยสันนิสิตศีล พิจารณาเสียก่อน จึงบริโภค
อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ หมู่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติตรงต่อความบริสุทธิ์ คือพระนิพพาน
ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ หมู่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติธรรม เพื่อขัดเกลากิเลส อันเป็นเหตุให้บริสุทธิ์ สิ้นภพ สิ้นชาติ
สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ หมู่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติเป็นใหญ่ เป็นเจ้าของแห่งคำสอนของพระพุทธเจ้า อุปมาเปรียบเหมือนบุคคลได้สมบัติอันล้ำค่ามาแล้ว มีสิทธิ์ที่จะปกป้องรักษาสมบัตินั้นไว้ด้วยตนเอง ใครจะมาประมาทดูหมิ่นดูถูกไม่ได้ จะต้องสกัดกั้นด้วยปัญญาและวาทะอันเฉียบแหลม เพื่อให้ผู้นั้นกลับใจมาเป็นพวกพ้องของตน
(โปรดติดตามตอนต่อไปในฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 90 พ.ค. 51 โดย พระพจนารถ ปภาโส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม)
พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เรื่องลักษณะการเคารพพระรัตนตรัย มีความต่อจากฉบับที่แล้ว ดังนี้
ในภาคย์เบื้องต้นนี้ จะขอกล่าวลักษณะเคารพ นมัสการ กราบไหว้ คำนับน้อม แลลักษณะทำสักการบูชานับถือในพระรัตนตรัยนั้น ให้เข้าใจถนัดก่อน
อันการอ่อนน้อมคำนับในโลกนี้ มีกิริยาทำต่างๆกัน ในประเทศต่างๆ อย่างนั้นๆ ไม่ต้องกัน ไม่เหมือนกัน จนถึงขัดขวางกัน ดังหนึ่งข้างจีนถือว่า เมื่อจะ คำนับไหว้พระไหว้เจ้า แลจะเข้าไปหานายต้องสอดสวมเครื่องแต่งตัว หมวก เสื้อ รองเท้า เข้าให้ครบ จึงจะไหว้ พระไหว้เจ้าไหว้นายได้ ถ้าไม่มีเครื่องแต่งตัวเต็ม ไม่สวมหมวกสอดรองเท้า ก็ว่าไม่เคารพ
ฝ่ายข้างชาวยุโรป แลอเมริกา ถือว่าถ้าสวมหมวกอยู่ เป็นไม่คำนับ เมื่อจะคำนับ ต้องถอดหมวกออก ถือออกโบก แต่เครื่องแต่งตัวคือเสื้อชั้นนอกที่ไม่ได้สวมอยู่โดยปรกติ แลรองเท้า แลเครื่องอื่นๆ ตามยศ จนถึงกระบี่ซึ่งเป็นเครื่องติดอยู่กับเครื่องคาดเอว ต้องแต่งเข้าพร้อม จึงเป็นอันเคารพ
ฝ่ายลัทธิในการเคารพของพวกชาวบ้านเมืองถือพระพุทธศาสนา แลถือข้างพราหมณ์ มักถือว่าไม่สวมหมวก ไม่โพกผ้า เป็นเคารพ รองเท้าแลอาวุธห้าม เป็นอันขาด ไม่ให้สอดสวม ไม่ให้คาดแต่ไกลทีเดียว จึงเป็นเคารพ ฝ่ายผ้าห่มนั้นต้องให้มี จึงเป็นเคารพ ถึงกระนั้นในที่เคารพ ก็บังคับให้ลดเปิดบ่าข้างขวาออก แลในชาวสยามผู้ชาย เมื่อเคารพผู้มีบรรดาศักดิ์ ต้องเอาผ้าห่มลงเกี้ยวพุงไว้ การเป็นต่างๆ ขัดกัน ไม่ต้องกัน ดังนี้แล
อนึ่งในกิริยาอิริยาบถ ก็ถือไม่ต้องกัน ในเมืองอื่นๆ ถือว่า ผู้ซึ่งยืนเป็นอันคำนับผู้ซึ่งนั่ง ถ้าผู้มีบรรดาศักดิ์นั่งอยู่ ผู้มีบรรดาศักดิ์น้อยต้องยืนอยู่ ต่อผู้มีบรรดาศักดิ์ใหญ่บังคับยอมให้นั่งลง จึงนั่งลงได้ ถ้าผู้มีบรรดาศักดิ์ใหญ่ยืนขึ้นแล้ว ผู้มีบรรดาศักดิ์น้อยนั่งอยู่ไม่ได้เลย ต้องยืนขึ้น ไม่ต้องบังคับว่าให้ยืนเลย ถึงในวินัยบัญญัติในพระพุทธศาสนาก็มีบังคับว่า เมื่อผู้จะสำแดงธรรม จะยืนสำแดงธรรมให้คนที่นั่งอยู่มิได้ป่วยไข้ไม่ได้ ต้องให้คนฟังยืนขึ้นฟังธรรม
แต่ในเมืองไทย เมืองเขมร เมืองลาว เหล่านี้ ถือกิริยาคนสูงศักดิ์ไว้ให้สูง คนต่ำบรรดาศักดิ์ต้องไว้กิริยา ต่ำแก่ผู้มีบรรดาศักดิ์สูง ถ้าผู้บรรดาศักดิ์ยืน ก็ต้องนั่ง ถ้านั่ง ก็ต้องหมอบคลาน การอย่างนี้ได้ยินว่าในลังกาเก่าแลทมิฬก็ถือ เมื่อเจ้าแผ่นดินเสด็จออกไปที่ใดๆ นอกเมืองนอกวัง ราษฎรที่พบเสด็จ ต้องพังพาบ ก้มศีรษะราบกับแผ่นดิน เงยหน้าขึ้นไม่ได้ เป็นแต่พนมมือ ยกขึ้นไว้บนศีรษะ กว่าเจ้าแผ่นดินจะเสด็จล่วงไป
ถ้าจะว่าถึงกิริยาต่างๆในการคำนับที่มีชื่อเรียกต่างๆ คือ กราบพังพาบทั้งตัวดังว่านั้น เรียกว่า กราบสุงสุมารนิบาต แปลว่าล้มลงเป็นจรเข้ แลเบญจางคประดิษฐ์ กราบวางองค์ห้าลง ทั้งมือสอง เท้าสอง ศีรษะหนึ่งแลกราบสามลาแลกุย อย่างญวนแลจีน คุกเข่าคำนับอย่างชาวยุโรป แลอื่นๆ แล้วก็มากมายหลายอย่าง
ที่นี้จะว่าการตามที่ว่าไว้ในหนังสือที่มีในพระพุทธศาสนา ในพระบาลี มีอยู่ ๔ อย่างตามชื่อ คือ อภิวาท ๑ วันทนาการ ๑ นิปัจจนาการ ๑ อัญชลีกรรม ๑ เป็นสำแดงกิริยาคำนับต่อหน้าผู้มีตัวประจักษ์เฉพาะ ยังอีก ๒ อย่างคือ นมการ ๑ นมัสการ ๑ สองอย่างนี้ว่าด้วยการนับถือเป็นพระที่ยิ่ง แลแสดงความน้อมไปแด่พระนั้นด้วยไตรทวาร คือ กาย วาจา จิต จะหาที่ชี้อุทาหรณ์เยี่ยงอย่างของคำที่สำแดงชื่อ ๖ อย่าง คือ อภิวาท วันทนาการ นิปัจจนาการ อัญชลีกรรม แลนมการ นมัสการนั้น ก็ได้เห็นอยู่ชุกชุม คือ
“ภควนฺตํ อภิวาทเทตวา” ในที่นั้นๆแล“อภิวาทนสีลิสฺส” ที่เป็นคาถาแลอื่นๆ เป็นอุทาหรณ์ของอภิวาท
“ภควโต ปาเท สิรสา วนฺทาหิ” ฤา “วนฺทติ” ในพระวินัยเรียกชื่อ “อวนฺทิโย ปุคฺคโล วนฺทิโย ปุคฺคโล” แลอื่นๆเป็นอุทาหรณ์ของวันทนาการ
ในพระบาลีว่า “ภควโต ปาเทสุ สิรสา นิปติตฺวา” แล “นิปฺปการํ กโรมิ” เป็นอุทาหรณ์ของนิปัจจนาการ
“เยน ภควา เตนญฺชลิมฺปณาเมตฺวา” ฤา “อญฺชลิมฺปคยฺห” ฤา “อญฺชลิโก อฏฐาสิ” แลในบทสวดมนต์ว่า “อญฺชลีกรณีโย” เหล่านี้เป็นอุทาหรณ์ของอัญชลีกรรม
“นโม ตสฺส ภควโต นมตฺถุ นโม เต ปุริสาชญฺญ” แลอื่นๆ เป็นอุทาหรณ์ของนมการ
“นมสฺสนฺติ โคตมํ นมสฺสมาโน สมฺพุทธํ” แลอื่นๆ เป็นอุทาหรณ์ของนมัสการ
ก็ในชื่ออาการ ๖ อย่างที่มาในบาลีนี้ คนทำอย่างไร จะเรียกว่าชื่อไร ก็ไม่ได้ความชัด
อภิวาท นั้นเห็นที่มาเป็นกิริยาที่เขาใช้ต่อหน้า แลทำกับผู้สูงศักดิ์ คือพระพุทธเจ้า แลพระสาวกผู้ใหญ่ แลพระเจ้าแผ่นดิน แลมหาพราหมณ์ มีคำอรรถกถาบางอันแก้ว่า “อภิวาเทตฺวา สุขี โหหีติ วทาเปตฺวา” ก็มีบ้าง แต่ที่แก้ว่า อภิวาทนั้น ก็คือ วันทนกิริยานั้นเอง โดยมาก ถึงกระนั้น เห็นที่มาในบาลี อภิวาทดูทีเป็นการอย่างสูงแลการต่อหน้า วันทนาการเป็นการต่ำลงมา แลมักมีในคำสั่งฝากไหว้คำนับไปอภิวาท แลสงฆ์แลคณะก็ไม่ใคร่จะมี มีแต่วันทนาการ แลอัญชลีกรรม จะชักอุทาหรณ์มาว่าให้เห็นได้ แต่จะเพ้อมากนักไป อัญชลีนั้น อรรถกถาแก้ว่า “ทสนขสโมธานํ”.....(หมาย เหตุผู้เขียน : ต้นฉบับพระราชนิพนธ์นี้ ผู้เขียนได้รับมา เพียงเท่านี้ จึงนำลงเท่าที่มีอยู่ ข้อมูลจึงยังไม่สมบูรณ์)
เพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจในเรื่องพระรัตนตรัยอันเป็นธรรมอรรถรสแห่งพระราชนิพนธ์บทนี้ ขอนำอรรถาธิบายเรื่องพระรัตนตรัย ในบทพระนิพนธ์เรื่อง “พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร” ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (สุวฑฺฒนมหาเถร) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ ‘พระสาสนโสภณ’ ที่ทรงเรียบเรียงตาม คำอาราธนาของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ครั้งดำรงพระยศที่ สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ดังนี้
“เมื่อก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี ได้มีมหาบุรุษท่านหนึ่งเกิดขึ้นมาในโลก เป็นโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายา แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ สักกชนบท ซึ่งบัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล มีพระนามว่า “สิทธัตถะ” ต่อมาอีก ๓๕ ปี พระสิทธัตถะได้ตรัสรู้ธรรม ได้พระนามตามความตรัสรู้ว่า “พุทธะ” ซึ่งไทย เรียกว่า “พระพุทธเจ้า” พระองค์ได้ทรงประกาศพระธรรมที่ได้ตรัสรู้แก่ประชาชนจึงเกิดพระพุทธศาสนา (คำสั่งสอนของพระพุทธะ) และบริษัท ๔ คือ ภิกษุ (สามเณร) ภิกษุณี (สามเณรี) อุบาสก อุบาสิกาขึ้นในโลกจำเดิมแต่นั้น บัดนี้ ในเมืองไทยมีแต่ภิกษุ (สามเณร) อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุนั้น คือชายผู้มีอายุยังไม่ครบ ๒๐ ปี หรือแม้อายุเกิน ๒๐ ปี แล้วเข้ามาถือบวช ปฏิบัติสิกขาของสามเณร อุบาสก อุบาสิกานั้นคือ คฤหัสถ์ชายหญิงผู้นับถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ (ที่พึ่ง) และปฏิบัติอยู่ในศีลสำหรับคฤหัสถ์ บัดนี้ มีคำเรียกชายหญิงทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ผู้ประกาศตนเป็นสรณะว่า “พุทธมามกะ” “พุทธมามิกะ” แปลว่า “ผู้นับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นพระของตน” พระพุทธศาสนาได้แผ่ออกจากประเทศถิ่นที่เกิดไปในประเทศต่างๆในโลก
หลักเคารพสูงสุดในพระพุทธศาสนา คือ พระรัตนตรัย (รัตนะ ๓) ได้แก่ พระพุทธเจ้า คือ พระผู้ตรัสรู้พระธรรม แล้วทรงประกาศสั่งสอนตั้งพระพุทธศาสนาขึ้น พระธรรม คือ สัจธรรม (ธรรม คือ ความจริง)ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และได้ทรงประกาศสั่งสอนเป็นพระศาสนาขึ้น พระสงฆ์ คือ หมู่ชนผู้ได้ฟังคำสั่งสอน ได้ปฏิบัติและได้รู้ตามพระพุทธเจ้า บางพวกออกบวชตาม ได้ช่วยนำพระพุทธศาสนาและสืบต่อวงศ์ การบวชมาจนถึงปัจจุบันนี้
ทุกคนผู้เข้ามานับถือพระพุทธศาสนา จะเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม จะถือบวชก็ตาม ต้องทำกิจเบื้องต้น คือ ปฏิญาณตนถึงพระรัตนตรัยนี้เป็นสรณะ คือ ที่พึ่ง หรือดังที่เรียกว่านับถือเป็นพระของตน เทียบกับทางสกุล คือ นับถือพระพุทธเจ้าเป็นพระบิดา ผู้ให้กำเนิดชีวิตในทางจิตใจของตน พุทธศาสนิกชนย่อมสังคมกับผู้นับถือศาสนาอื่นได้ และย่อมแสดงความเคารพสิ่งเคารพในศาสนาอื่นได้ตามมรรยาทที่เหมาะสม เช่นเดียวกับแสดงความเคารพบิดาหรือมารดา หรือผู้ใหญ่ ของคนอื่นได้ แต่ก็คงมีบิดาของตน ฉะนั้น จึงไม่ขาด จากความเป็นพุทธศาสนิกชนตลอดเวลาที่นับถือพระรัตนตรัยเป็นของตน เช่นเดียวกับเมื่อยังไม่ตัดบิดาของตนไปรับบิดาของเขามาเป็นบิดา ก็คงเป็นบุตรธิดาของบิดาตนอยู่ หรือเมื่อยังไม่แปลงสัญชาติเป็นอื่น ก็คงเป็นไทยอยู่นั่นเอง ฉะนั้น พระพุทธศาสนาจึงไม่คับแคบ ผู้นับถือย่อมสังคมกับชาวโลกต่างชาติต่างศาสนาได้สะดวก ทั้งไม่สอนให้ลบหลู่ใคร ตรงกันข้ามกลับให้ความเคารพต่อผู้ควรเคารพทั้งปวง และไม่ซ่อน เร้นหวงกันธรรมไว้โดยเฉพาะ ใครจะมาศึกษาปฏิบัติก็ได้ทั้งนั้น โดยไม่ต้องมานับถือก่อน ทั้งนี้ เพราะแสดงธรรมที่เปิดทางให้พิสูจน์ได้ว่า เป็นสัจจะ (ความจริง) ที่เป็นประโยชน์สุขแก่การดำรงชีวิตในปัจจุบัน......”
พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฎ์ (เทสก์ เทสฺรํสี) ได้พรรณนา คุณพระรัตนตรัย ไว้ในหนังสือ ‘สิ้นโลก เหลือธรรม’ (นัยที่สอง) ความว่า
“พระพุทธองค์ทรงแสดงเรื่องคุณของพระรัตนตรัย ดังจะอธิบายพอสังเขป พระรัตนตรัยมีคุณอเนกเหลือที่จะคณานับ ทรงสอนให้มนุษย์เอาใจยึดไว้ในคุณพระรัตนตรัย ดังนี้
อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ด้วยประการอย่างนี้ๆ ทรงเป็นผู้แจกธรรมด้วยความรู้ที่เป็นพระอรหันต์ และตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง คำว่า “ตรัสรู้เองโดยชอบ” นั้น หมายความว่า ชอบด้วยเหตุผลและศีลธรรม อันเป็นเหตุให้นำผู้ปฏิบัติตาม ที่พระองค์สอนไว้นั้น เข้าถึงสวรรค์ พระนิพพาน เหลือที่จะคณานับ จึงกล่าวว่าผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
ภควา ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแจกไว้นั้น มีมาก มายหลายประการ นับไม่ถ้วน แต่พอจะประมวลมาแจกแจงแสดงให้เห็นได้ตามหลักพระพุทธศาสนา
สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว คำว่า “ดี” ในที่นี้ หมายความว่าดีเลิศประเสริฐสุดที่มนุษย์จะสามารถทำได้ ดีด้วยเหตุ ด้วยผล อันมนุษย์ปุถุชนสามารถฟังได้ เข้าใจได้ ตามความเป็นจริง แล้วสามารถนำมาปฏิบัติให้สมควรแก่อัธยาศัย ซึ่งเป็นไปในทางสวรรค์และพระนิพพาน พระองค์ทรงแสดงธรรมโดยอรรถและพยัญชนะครบครันบริบูรณ์ นักปราชญ์ทั้งหลายในโลกไม่สามารถจะคัดค้านได้ว่าเป็นของไม่จริงไม่แท้ อรรถและพยัญชนะที่พระองค์ทรงแสดงสอนไว้แล้วนั้นคือธรรม ที่แปลว่า ของจริงของแท้
ทำ คือการกระทำกิจธุระภาระทั้งหมด ที่โลกพากันกระทำอยู่นั้น
ธรรมเนียม คือประเพณีอันดีงาม ที่โลกถือปฏิบัติมาโดยลำดับ
ธรรมดา คือคำสอนที่พระพุทธเจ้าสอนไว้แล้วนั่นเอง
ธรรม แปลว่าธรรมชาติซึ่งเกิดเองแล้วก็ย่อมต้องดับไปเป็นธรรมดา
สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ หมู่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตามคำสอนของพระองค์ ที่เรียกว่า ปาริสุทธิศีล ๔ เป็นต้น มีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามศีลสิกขาบทนั้นๆ ให้สมบูรณ์บริบูรณ์ คือ
๑.ปาฏิโมกขสังวรศีล สำรวมในพระปาติโมกข์ เว้นจากข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม กระทำตามข้อที่พระองค์ทรงอนุญาต
๒.อินทรียสังวรศีล สำรวมอินทรีย์ ๖ มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
๓.อาชีวปาริสุทธิศีล เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบประกอบแต่กรรมที่เป็นกุศล งดเว้นจากกรรมที่ไม่ดีทั้งปวง
๔.ปัจจัยสันนิสิตศีล พิจารณาเสียก่อน จึงบริโภค
อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ หมู่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติตรงต่อความบริสุทธิ์ คือพระนิพพาน
ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ หมู่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติธรรม เพื่อขัดเกลากิเลส อันเป็นเหตุให้บริสุทธิ์ สิ้นภพ สิ้นชาติ
สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ หมู่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติเป็นใหญ่ เป็นเจ้าของแห่งคำสอนของพระพุทธเจ้า อุปมาเปรียบเหมือนบุคคลได้สมบัติอันล้ำค่ามาแล้ว มีสิทธิ์ที่จะปกป้องรักษาสมบัตินั้นไว้ด้วยตนเอง ใครจะมาประมาทดูหมิ่นดูถูกไม่ได้ จะต้องสกัดกั้นด้วยปัญญาและวาทะอันเฉียบแหลม เพื่อให้ผู้นั้นกลับใจมาเป็นพวกพ้องของตน
(โปรดติดตามตอนต่อไปในฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 90 พ.ค. 51 โดย พระพจนารถ ปภาโส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม)