นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ส..ส.นครนายก พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติไม่ชอบ แถลงภายหลังการประชุม ให้สัมภาษณ์วานนี้ (10 ก.ค.) ว่า ที่ประชุมมีมติรับเรื่องกรณีที่ผู้บริหารบริษัทนิชิมัตสึ คอนสตรัคชั่นจำกัดของญี่ปุ่นให้การกับอัยการของญี่ปุ่นว่า เคยจ่ายเงินสินบนกว่า 400 ล้านเยนหรือกว่า 125 ล้านบาทให้กับเจ้าหน้าที่ของไทย เพื่อแลกกับการได้งานโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบ-ลาดพร้าว ของกทม.เมื่อปี 2546 สมัยที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯกทม.) โดยในสัปดาห์หน้าจะเชิญเจ้าหน้าที่ จาก กทม.มาให้ข้อมูลเพื่อจะได้ทราบว่าจะต้องเชิญบุคคลใดเข้าชี้แจงบ้าง โดยในกรณี ของนายสมัคร หากพบว่ามีการพาดพิงหรือมีการบันทึกข้อความถึงก็ต้องเชิญ มาชี้แจงด้วย ขอยืนยันว่ากรรมาธิการไม่ได้มีเรื่องการเมืองหรือพรรคเข้ามาเกี่ยวข้อง และไม่มีเป้าหมายที่จะเอาผิดกับนายสมัครหรือเอาให้ตาย ซึ่งหากข้อมูลไม่ถึงนายสมัครเรื่องก็ต้องตกไป
กรรมาธิการได้มอบให้ผมไปรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการขอความร่วมมือ ที่ญี่ปุ่น ซึ่งจากประสบการณ์จากการตรวจสอบการจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด ซีทีเอ็กซ์ พบว่าขั้นตอนการประสานระหว่างอัยการไทยและอัยการต่างประเทศ ล้าช้ามาก ดังนั้นหลังจากที่ผมได้ศึกษาแล้วจะขอให้กรรมาธิการมีมติอนุมัติให้เดินทาง ไปที่ประเทศญี่ปุ่นเพื่อขอข้อมูลด้วยตัวเอง ซึ่งจะทำให้ได้เอกสารรวดเร็ว ถ้าขั้นตอน เป็นแบบนี้ก็จะสามารถสรุปได้ภายใน 1 เดือน จากนั้นกรรมาธิการจะส่งข้อมูลไปยัง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อตรวจสอบต่อไป ซึ่งอาจจะมีการนำเรื่องเข้าสู่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือ เอาผิดทางวินัยกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
นายชาญชัย กล่าวว่า ข้อมูลขณะนี้หัวใจสำคัญอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นหากได้มา โดยการเซ็นรับรองที่ถูกต้องทุกอย่างก็จบ ปิดคดีได้ ตรวจสอบได้เลยว่าจริงหรือไม่ ที่บริษัท นิชิมัตสึฯจ่ายเงินสินบนให้กับใคร ซึ่งจะเป็นบทเรียนสำคัญให้บริษัทข้ามชาติ และข้าราชการที่ดูแลเมกกะโปรเจค สภาจะทำความจริงให้ปรากฏและต้องลงโทษให้เข็ดหลาบ
ผู้สื่อข่าวาถามว่าจะมีการตรวจสอบเส้นทางการเงินของผู้ที่เกี่ยวข้องหรือไม่ นายชาญชัย กล่าวว่า กรรมาธิการฯมีสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ โดยเร็วๆ นี้มีกำหนดการที่จะไปดูงานที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ป.ป.ง.)สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ(ป.ป.ท.) ซึ่งจะมีการขอข้อมูล ทางการเงินกับหน่วยงานเหล่านี้ด้วย พร้อมให้ป.ป.ง.ตรวจสอบเส้นทางการเงิน ของผู้ที่เกี่ยงข้องด้วย และจะได้มีการประสานงานทางลับกับทางเจบิคด้วย เพราะเจบิครู้เรื่องนี้ด้วย
นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้มีมติเชิญนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ มาเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการด้วย เนื่องจากนายพีระพันธุ์เคยตรวจสอบเรื่องนี้มาก่อน
นายชาญชัย กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบว่าเรื่องนี้เคยผ่านที่ประชุมสภา กทม.มาก่อน โดยสมาชิกในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ได้เคยสอบถามเรื่องนี้ แต่นายสมัคร ซึ่งเป็นผู้ว่าฯ กทม.สมัยนั้นได้อ้างว่าเรื่องนี้อยู่ระหว่างการสอบสวน ในศาลปกครอง จึงไม่ได้ให้ความร่วมมือใดๆ
ผู้สื่อข่าวถามถึงบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตโดยมีอักษรย่อ 2 ส. 1 ธ. นายชาญชัยกล่าวว่า เรื่องนี้ทางกรรมาธิการฯจะเชิญเจ้าหน้าที่ของ กทม.มาชี้แจงวันพุธที่ 16 ก.ค.เวลา 13.00 น. โดยบุคคลที่จะมาชี้แจงเบื้องต้นจะเป็นระดับเจ้าหน้าที่ แต่หากมีการพาดพิงก็อาจจะมีการเชิญผู้ว่าฯกทม.และอดีตผู้ว่าฯ กทม.มาชี้แจงได้
สหัสหนีสื่อยกเลิกวาระงานทำเนียบฯ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันเดียวกัน เจ้าหน้าที่ทำเนียบฯ ได้แจกวาระงานของ นายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 11 ก.ค. โดยในเวลา 13.30 น. นายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกรัรฐมนตรี และอดีตรองผู้ว่าฯ กทม.ยุค นายสมัคร สุนทรเวช เป็นผู้ว่าฯกทม. ซึ่งถูกเพ่งเล็งว่ามีส่วนเกี่ยวจ้องกับสินบนที่ บริษัท นิชิมัตสึ คอนสตรัคชั่น ในโครงการอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบ มูลค่ากว่า 2 พันล้านบาท จะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอ ครม. คณะที่ 4.1 ณ ห้องประชุมครม.ชั้น 2 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล แต่ปรากฏว่าหลังจากเจ้าหน้าที่เดินแจกวาระงานได้ไม่นานได้มีเจ้าหน้าที่กองงานโฆษกโทรศัพท์เข้ามา ที่ห้องพักสื่อมวลชนโดยแจ้งยกเลิกวาระงานดังกล่าว ผู้สื่อข่าวถามมีการประชุมแต่ไม่แจ้งหมายหรือยกเลิกงานจริงๆ เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวระบุว่ายกเลิกจริงๆ ทำให้ สื่อมวลชนต่างพากันวิพากษ์วิจารณ์ว่าการยกเลิกกำหนดการครั้งนี้ อาจเป็นไปได้ว่า นายสหัส กลัวว่าจะถูกผู้สื่อข่าวซักถามเรื่องสินบนโครงการอุโมงค์ระบายน้ำ จึงยกเลิกวานระดังกล่าว
ปลัดกทม.ยัน 14 ก.ค.ข้อมูลถึงมือ
นายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลัดกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยความคืบหน้า การรวบรวมข้อเท็จจริงกรณีการจ่ายสินบนให้กับเจ้าหน้าที่ กทม. เพื่อให้ได้รับงาน โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบ-คลองลาดพร้าว ของสำนักการระบายน้ำ(สนน.)เป็นเงิน 400 ล้านเยน หรือกว่า 125 ล้านบาท ว่า ขณะนี้ได้รับการประสานจาก นายชาญชัย วิทูรปัญญากิจ ผอ.สนน. ซึ่งได้รับมอบหมายให้รวบรวมข้อมูล โครงการทั้งหมดว่าโดยข้อมูลทุกอย่างจะส่งถึงมือตนในวันที่ 14 ก.ค. นี้ โดยข้อมูลจะเริ่มตั้งแต่ที่มาที่ไปของโครงการ ขั้นตอนการประกวดราคา การพิจารณาผลการประกวดราคา
ขณะเดียวกันต้องรอให้สถานทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย และกระทรวงการต่างประเทศ ประสานกลับมายัง กทม. หลังจากที่ตนได้ทำหนังสือให้ช่วยประสานหน่วยงานภายในญี่ปุ่น ประกอบด้วยบริษัท นิชิมัตสึ สำนักข่าวญี่ปุ่น และอัยการกรุงโตเกียว เพื่อขอข้อมูลข้อเท็จจริงทั้งหมดเท่าที่จะสามารถให้ได้ จากนั้นจึงจะนำข้อมูลทั้งสองส่วนมาประมวลข้อเท็จจริง เพื่อนำเสนอให้นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม. พิจารณาอีกครั้ง
ชาญชัยของขึ้น ลั่นต่อรองแทบตาย
นายชาญชัย วิทูรปัญญากิจ ผอ.สนน. กล่าวถึงกรณีที่ถูกบุคคลจากหลายฝ่าย สงสัยว่า อาจมีส่วนรู้เห็นกรณีรับสินบนจำนวน 125 ล้านบาทว่า ถ้าหากกรรมการมีสันดานที่จะรับสินบนจริง คงไม่ต้องต่อรองราคาที่กิจการร่วมค้าไอเอ็น ระหว่างบริษัท อิตาเลียนไทยและบริษัทนิชิมัตสึ คอนสตรัคชั่น ประจำเทศญี่ปุ่น ซึ่งเสนอราคาต่ำกว่า ราคากลางอยู่แล้ว ให้ต่ำลงไปอีกจนเหลือแค่ 2,094 ล้านบาท จากราคากลางกว่า 2,178 ล้านบาททำไม ซึ่งกว่าจะต่อรองได้ต้องใช้เวลาถึง 2 ชั่วโมง
ส่วนที่สงสัยว่ามีการล็อคสเปก โดยการเปลี่ยนแบบก่อสร้างเดิมที่ออกแบบไว้ ที่ท่อระบายน้ำจำนวน 2 ท่อ ท่อละ 2.5 เมตร เป็นท่อเดียว ขนาด 5 เมตรนั้น ตนไม่ทราบ และไม่ได้เกี่ยวข้อง เพราะทำหน้าที่แค่เปิดซองด้านเทคนิค และซองราคาเท่านั้น ทั้งนี้ข้อมูลที่รวบรวมได้ตนได้จัดส่งให้กับนายสมศักดิ์ กลั่นพจน์ รองปลัดกทม.แล้ว
ผมรู้ว่านักข่าวตอนนี้จ้องมาที่ผม แทนที่จะไปจ้องว่าทางการญี่ปุ่นเขาว่า ได้ให้สินบนกับใคร แต่กลับพุ่งเป้ามาที่ผมก็เชิญผมไม่หนักใจ และพร้อมที่จะชี้แจง เนื่องจากว่าคงมีผมคนเดียวที่เกี่ยวข้องกับโครงการที่ยังทำงานและมีชีวิต ส่วนนอกนั้นต่างก็เกษียณและตายไปหมดแล้ว ผมก็ขอความเป็นธรรมกับสื่อที่จะให้ผมได้ชี้แจง ในข้อเท็จจริงด้วย งานนี้หากมีการฮั้วหรือสมยอมกัน ราคาที่ว่าจ้างกิจการร่วมค้าไอเอ็น ก็จะสูงกว่าราคากลางมากกว่านี้
รองผอ.ระบายน้ำชี้โปร่งใส
นายพรพจน์ กรรณสูต รองผอ.สนน เปิดเผยว่า ตนเองในฐานะ 1 ในคณะกรรมการพิจารณาการประมูล ขอยืนยันว่าการพิจารณาเป็นไปด้วยความโปร่งใส และผ่านการตรวจสอบเรียบแล้วจากกระบวนการของศาลปกครอง เนื่องจากเรื่องนี้ บ.สี่แสงการโยธา (1979) จำกัด ได้ฟ้องร้องต่อศาลปกครองและท้ายที่สุดทางศาลปกครองได้พิจารณาให้กทม.ชนะคดี ซึ่งเท่ากับว่าการประมูลโครงการดังกล่าวมีความโปร่งใส ซึ่งในการฟ้องร้องครั้งนั้นทางบ.สี่แสงฯ ได้กล่าวอ้างว่านามสกุลของตนพ้องกับผู้บริหารของบริษัทที่เข้าร่วมประมูลคือ นายพลพัฒ กรรณสูต กรรมการผู้มีอำนาจ และนายมานะ กรรณสูต กรรมการของบ.นวรัตน์ พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) และนายพลพัฒ ก็ยังเป็นผู้ถือหุ้นของบ.อิตาเลี่ยนไทย ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด(มหาชน) ซึ่งเป็นกลุ่มกิจการร่วมค้ากับบริษัท นิชิมัตสึที่ประมูลงานโครงการจากกทม.ด้วย
ทั้งนี้ ขอยืนยันอีกครั้งว่า ตนไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้บริหารทั้ง 2 ราย ไม่เคยรู้จักเป็นการส่วนตัว ไม่เคยไปนับญาติ รวมถึงเรื่องงานก็ไม่เคยติดต่อกันเพราะโดยปรกติแล้วผู้ที่มาติดจะส่งลูกน้องมามากกว่าที่จะมาด้วยตัวเอง
ชมรมขรก.กทม.บี้ปลัดหาข้อเท็จจริง
นายพิชิต ชนะกุล หัวหน้าฝ่ายทะเบียน เขตลาดกระบัง ในฐานะรองประธานชมรมข้าราชการและลูกจ้างเพื่อการพัฒนา กทม. กล่าวว่า เมื่อวันที่ 10 ก.ค. ตนได้ทำหนังสือเปิดผนึกถึงปลัด กทม. เพื่อให้เร่งตรวจสอบคดีสินบนข้ามชาติ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อกำลังใจของข้าราชการ กทม.เท่านั้น แต่ยังสรรางความเสื่อมเสียต่อคนไทยทั่วโลก ขณะที่เร็วๆ นี้จะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. อาจทำให้คนทั่วโลกคิดว่าผู้บริหารที่จะเข้ามาบริหารอาจแสวงหาผลประโยชน์ไม่ได้ต้องการทำงาน และจะทำให้กทม. กลายเป็นองค์กรที่มีช่องทางแสวงหาผล เนื่องจากมีงบประมาณปีละ 50,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ หากปลัดกทม. ได้รับข้อมูลที่ ผอ.สำนักการระบานน้ำ รายงานมาแล้ว เพื่อดำเนินการต่อไป เช่น อาจตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ตนเห็นว่าควรตั้งคนนอกเข้ามาเป็นกรรมการ เพื่อความโปร่งใสในการตรวจสอบ ไม่ควรให้รองปลัด ที่ดูแลสำนักการระบายน้ำ ผอ. และรองผอ.สำนักการะบายน้ำ มาร่วมเป็นกรรมการ เพราะจะทำให้เป็นข้อกังขา
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า จากการโทรศัพท์ติดต่อไปยังบริษัท สี่แสงฯ สำนักงานใหญ่ที่บริเวณ 5 แยกปากเกร็ด ถ.แจ้งวัฒนะ เพื่อขอสัมภาษณ์ผู้บริหาร ถึงกรณีการ ฟ้องศาลปกครอง กรณีการประมูลอุโมงค์ก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำที่มีการล็อคสเปค และกีดกันการแข่งขัน ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวได้รับการปฏิเสธ จากพนักงานรับโทรศัพท์ของบริษัทว่า ผู้บริหารมีนโยบายห้ามไม่ให้สัมภาษณ์เนื่องจากคดีดังกล่าวมีการชี้ขาดจาก ศาลปกครองสูงสุดแล้ว ที่ยืนยันว่ากทม. ดำเนินการถูกต้อง และบริษัทยอมรับในการตัดสินของศาล จึงไม่ต้องการให้เกิดปัญหาขึ้นอีก ทั้งนี้ในการร้องเรียนดังกล่าวบริษัทได้ร้องเรียนในประเด็นเรื่องการล็อคสเปคไม่ได้มีการ้องเรียนเรื่องสินบน และปัญหาสินบนที่ปรากฏเป็นข่าว บริษัทไม่อยากเข้าไปยุ่งเกี่ยวอีก
กรรมาธิการได้มอบให้ผมไปรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการขอความร่วมมือ ที่ญี่ปุ่น ซึ่งจากประสบการณ์จากการตรวจสอบการจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด ซีทีเอ็กซ์ พบว่าขั้นตอนการประสานระหว่างอัยการไทยและอัยการต่างประเทศ ล้าช้ามาก ดังนั้นหลังจากที่ผมได้ศึกษาแล้วจะขอให้กรรมาธิการมีมติอนุมัติให้เดินทาง ไปที่ประเทศญี่ปุ่นเพื่อขอข้อมูลด้วยตัวเอง ซึ่งจะทำให้ได้เอกสารรวดเร็ว ถ้าขั้นตอน เป็นแบบนี้ก็จะสามารถสรุปได้ภายใน 1 เดือน จากนั้นกรรมาธิการจะส่งข้อมูลไปยัง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อตรวจสอบต่อไป ซึ่งอาจจะมีการนำเรื่องเข้าสู่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือ เอาผิดทางวินัยกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
นายชาญชัย กล่าวว่า ข้อมูลขณะนี้หัวใจสำคัญอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นหากได้มา โดยการเซ็นรับรองที่ถูกต้องทุกอย่างก็จบ ปิดคดีได้ ตรวจสอบได้เลยว่าจริงหรือไม่ ที่บริษัท นิชิมัตสึฯจ่ายเงินสินบนให้กับใคร ซึ่งจะเป็นบทเรียนสำคัญให้บริษัทข้ามชาติ และข้าราชการที่ดูแลเมกกะโปรเจค สภาจะทำความจริงให้ปรากฏและต้องลงโทษให้เข็ดหลาบ
ผู้สื่อข่าวาถามว่าจะมีการตรวจสอบเส้นทางการเงินของผู้ที่เกี่ยวข้องหรือไม่ นายชาญชัย กล่าวว่า กรรมาธิการฯมีสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ โดยเร็วๆ นี้มีกำหนดการที่จะไปดูงานที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ป.ป.ง.)สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ(ป.ป.ท.) ซึ่งจะมีการขอข้อมูล ทางการเงินกับหน่วยงานเหล่านี้ด้วย พร้อมให้ป.ป.ง.ตรวจสอบเส้นทางการเงิน ของผู้ที่เกี่ยงข้องด้วย และจะได้มีการประสานงานทางลับกับทางเจบิคด้วย เพราะเจบิครู้เรื่องนี้ด้วย
นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้มีมติเชิญนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ มาเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการด้วย เนื่องจากนายพีระพันธุ์เคยตรวจสอบเรื่องนี้มาก่อน
นายชาญชัย กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบว่าเรื่องนี้เคยผ่านที่ประชุมสภา กทม.มาก่อน โดยสมาชิกในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ได้เคยสอบถามเรื่องนี้ แต่นายสมัคร ซึ่งเป็นผู้ว่าฯ กทม.สมัยนั้นได้อ้างว่าเรื่องนี้อยู่ระหว่างการสอบสวน ในศาลปกครอง จึงไม่ได้ให้ความร่วมมือใดๆ
ผู้สื่อข่าวถามถึงบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตโดยมีอักษรย่อ 2 ส. 1 ธ. นายชาญชัยกล่าวว่า เรื่องนี้ทางกรรมาธิการฯจะเชิญเจ้าหน้าที่ของ กทม.มาชี้แจงวันพุธที่ 16 ก.ค.เวลา 13.00 น. โดยบุคคลที่จะมาชี้แจงเบื้องต้นจะเป็นระดับเจ้าหน้าที่ แต่หากมีการพาดพิงก็อาจจะมีการเชิญผู้ว่าฯกทม.และอดีตผู้ว่าฯ กทม.มาชี้แจงได้
สหัสหนีสื่อยกเลิกวาระงานทำเนียบฯ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันเดียวกัน เจ้าหน้าที่ทำเนียบฯ ได้แจกวาระงานของ นายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 11 ก.ค. โดยในเวลา 13.30 น. นายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกรัรฐมนตรี และอดีตรองผู้ว่าฯ กทม.ยุค นายสมัคร สุนทรเวช เป็นผู้ว่าฯกทม. ซึ่งถูกเพ่งเล็งว่ามีส่วนเกี่ยวจ้องกับสินบนที่ บริษัท นิชิมัตสึ คอนสตรัคชั่น ในโครงการอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบ มูลค่ากว่า 2 พันล้านบาท จะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอ ครม. คณะที่ 4.1 ณ ห้องประชุมครม.ชั้น 2 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล แต่ปรากฏว่าหลังจากเจ้าหน้าที่เดินแจกวาระงานได้ไม่นานได้มีเจ้าหน้าที่กองงานโฆษกโทรศัพท์เข้ามา ที่ห้องพักสื่อมวลชนโดยแจ้งยกเลิกวาระงานดังกล่าว ผู้สื่อข่าวถามมีการประชุมแต่ไม่แจ้งหมายหรือยกเลิกงานจริงๆ เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวระบุว่ายกเลิกจริงๆ ทำให้ สื่อมวลชนต่างพากันวิพากษ์วิจารณ์ว่าการยกเลิกกำหนดการครั้งนี้ อาจเป็นไปได้ว่า นายสหัส กลัวว่าจะถูกผู้สื่อข่าวซักถามเรื่องสินบนโครงการอุโมงค์ระบายน้ำ จึงยกเลิกวานระดังกล่าว
ปลัดกทม.ยัน 14 ก.ค.ข้อมูลถึงมือ
นายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลัดกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยความคืบหน้า การรวบรวมข้อเท็จจริงกรณีการจ่ายสินบนให้กับเจ้าหน้าที่ กทม. เพื่อให้ได้รับงาน โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบ-คลองลาดพร้าว ของสำนักการระบายน้ำ(สนน.)เป็นเงิน 400 ล้านเยน หรือกว่า 125 ล้านบาท ว่า ขณะนี้ได้รับการประสานจาก นายชาญชัย วิทูรปัญญากิจ ผอ.สนน. ซึ่งได้รับมอบหมายให้รวบรวมข้อมูล โครงการทั้งหมดว่าโดยข้อมูลทุกอย่างจะส่งถึงมือตนในวันที่ 14 ก.ค. นี้ โดยข้อมูลจะเริ่มตั้งแต่ที่มาที่ไปของโครงการ ขั้นตอนการประกวดราคา การพิจารณาผลการประกวดราคา
ขณะเดียวกันต้องรอให้สถานทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย และกระทรวงการต่างประเทศ ประสานกลับมายัง กทม. หลังจากที่ตนได้ทำหนังสือให้ช่วยประสานหน่วยงานภายในญี่ปุ่น ประกอบด้วยบริษัท นิชิมัตสึ สำนักข่าวญี่ปุ่น และอัยการกรุงโตเกียว เพื่อขอข้อมูลข้อเท็จจริงทั้งหมดเท่าที่จะสามารถให้ได้ จากนั้นจึงจะนำข้อมูลทั้งสองส่วนมาประมวลข้อเท็จจริง เพื่อนำเสนอให้นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม. พิจารณาอีกครั้ง
ชาญชัยของขึ้น ลั่นต่อรองแทบตาย
นายชาญชัย วิทูรปัญญากิจ ผอ.สนน. กล่าวถึงกรณีที่ถูกบุคคลจากหลายฝ่าย สงสัยว่า อาจมีส่วนรู้เห็นกรณีรับสินบนจำนวน 125 ล้านบาทว่า ถ้าหากกรรมการมีสันดานที่จะรับสินบนจริง คงไม่ต้องต่อรองราคาที่กิจการร่วมค้าไอเอ็น ระหว่างบริษัท อิตาเลียนไทยและบริษัทนิชิมัตสึ คอนสตรัคชั่น ประจำเทศญี่ปุ่น ซึ่งเสนอราคาต่ำกว่า ราคากลางอยู่แล้ว ให้ต่ำลงไปอีกจนเหลือแค่ 2,094 ล้านบาท จากราคากลางกว่า 2,178 ล้านบาททำไม ซึ่งกว่าจะต่อรองได้ต้องใช้เวลาถึง 2 ชั่วโมง
ส่วนที่สงสัยว่ามีการล็อคสเปก โดยการเปลี่ยนแบบก่อสร้างเดิมที่ออกแบบไว้ ที่ท่อระบายน้ำจำนวน 2 ท่อ ท่อละ 2.5 เมตร เป็นท่อเดียว ขนาด 5 เมตรนั้น ตนไม่ทราบ และไม่ได้เกี่ยวข้อง เพราะทำหน้าที่แค่เปิดซองด้านเทคนิค และซองราคาเท่านั้น ทั้งนี้ข้อมูลที่รวบรวมได้ตนได้จัดส่งให้กับนายสมศักดิ์ กลั่นพจน์ รองปลัดกทม.แล้ว
ผมรู้ว่านักข่าวตอนนี้จ้องมาที่ผม แทนที่จะไปจ้องว่าทางการญี่ปุ่นเขาว่า ได้ให้สินบนกับใคร แต่กลับพุ่งเป้ามาที่ผมก็เชิญผมไม่หนักใจ และพร้อมที่จะชี้แจง เนื่องจากว่าคงมีผมคนเดียวที่เกี่ยวข้องกับโครงการที่ยังทำงานและมีชีวิต ส่วนนอกนั้นต่างก็เกษียณและตายไปหมดแล้ว ผมก็ขอความเป็นธรรมกับสื่อที่จะให้ผมได้ชี้แจง ในข้อเท็จจริงด้วย งานนี้หากมีการฮั้วหรือสมยอมกัน ราคาที่ว่าจ้างกิจการร่วมค้าไอเอ็น ก็จะสูงกว่าราคากลางมากกว่านี้
รองผอ.ระบายน้ำชี้โปร่งใส
นายพรพจน์ กรรณสูต รองผอ.สนน เปิดเผยว่า ตนเองในฐานะ 1 ในคณะกรรมการพิจารณาการประมูล ขอยืนยันว่าการพิจารณาเป็นไปด้วยความโปร่งใส และผ่านการตรวจสอบเรียบแล้วจากกระบวนการของศาลปกครอง เนื่องจากเรื่องนี้ บ.สี่แสงการโยธา (1979) จำกัด ได้ฟ้องร้องต่อศาลปกครองและท้ายที่สุดทางศาลปกครองได้พิจารณาให้กทม.ชนะคดี ซึ่งเท่ากับว่าการประมูลโครงการดังกล่าวมีความโปร่งใส ซึ่งในการฟ้องร้องครั้งนั้นทางบ.สี่แสงฯ ได้กล่าวอ้างว่านามสกุลของตนพ้องกับผู้บริหารของบริษัทที่เข้าร่วมประมูลคือ นายพลพัฒ กรรณสูต กรรมการผู้มีอำนาจ และนายมานะ กรรณสูต กรรมการของบ.นวรัตน์ พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) และนายพลพัฒ ก็ยังเป็นผู้ถือหุ้นของบ.อิตาเลี่ยนไทย ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด(มหาชน) ซึ่งเป็นกลุ่มกิจการร่วมค้ากับบริษัท นิชิมัตสึที่ประมูลงานโครงการจากกทม.ด้วย
ทั้งนี้ ขอยืนยันอีกครั้งว่า ตนไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้บริหารทั้ง 2 ราย ไม่เคยรู้จักเป็นการส่วนตัว ไม่เคยไปนับญาติ รวมถึงเรื่องงานก็ไม่เคยติดต่อกันเพราะโดยปรกติแล้วผู้ที่มาติดจะส่งลูกน้องมามากกว่าที่จะมาด้วยตัวเอง
ชมรมขรก.กทม.บี้ปลัดหาข้อเท็จจริง
นายพิชิต ชนะกุล หัวหน้าฝ่ายทะเบียน เขตลาดกระบัง ในฐานะรองประธานชมรมข้าราชการและลูกจ้างเพื่อการพัฒนา กทม. กล่าวว่า เมื่อวันที่ 10 ก.ค. ตนได้ทำหนังสือเปิดผนึกถึงปลัด กทม. เพื่อให้เร่งตรวจสอบคดีสินบนข้ามชาติ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อกำลังใจของข้าราชการ กทม.เท่านั้น แต่ยังสรรางความเสื่อมเสียต่อคนไทยทั่วโลก ขณะที่เร็วๆ นี้จะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. อาจทำให้คนทั่วโลกคิดว่าผู้บริหารที่จะเข้ามาบริหารอาจแสวงหาผลประโยชน์ไม่ได้ต้องการทำงาน และจะทำให้กทม. กลายเป็นองค์กรที่มีช่องทางแสวงหาผล เนื่องจากมีงบประมาณปีละ 50,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ หากปลัดกทม. ได้รับข้อมูลที่ ผอ.สำนักการระบานน้ำ รายงานมาแล้ว เพื่อดำเนินการต่อไป เช่น อาจตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ตนเห็นว่าควรตั้งคนนอกเข้ามาเป็นกรรมการ เพื่อความโปร่งใสในการตรวจสอบ ไม่ควรให้รองปลัด ที่ดูแลสำนักการระบายน้ำ ผอ. และรองผอ.สำนักการะบายน้ำ มาร่วมเป็นกรรมการ เพราะจะทำให้เป็นข้อกังขา
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า จากการโทรศัพท์ติดต่อไปยังบริษัท สี่แสงฯ สำนักงานใหญ่ที่บริเวณ 5 แยกปากเกร็ด ถ.แจ้งวัฒนะ เพื่อขอสัมภาษณ์ผู้บริหาร ถึงกรณีการ ฟ้องศาลปกครอง กรณีการประมูลอุโมงค์ก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำที่มีการล็อคสเปค และกีดกันการแข่งขัน ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวได้รับการปฏิเสธ จากพนักงานรับโทรศัพท์ของบริษัทว่า ผู้บริหารมีนโยบายห้ามไม่ให้สัมภาษณ์เนื่องจากคดีดังกล่าวมีการชี้ขาดจาก ศาลปกครองสูงสุดแล้ว ที่ยืนยันว่ากทม. ดำเนินการถูกต้อง และบริษัทยอมรับในการตัดสินของศาล จึงไม่ต้องการให้เกิดปัญหาขึ้นอีก ทั้งนี้ในการร้องเรียนดังกล่าวบริษัทได้ร้องเรียนในประเด็นเรื่องการล็อคสเปคไม่ได้มีการ้องเรียนเรื่องสินบน และปัญหาสินบนที่ปรากฏเป็นข่าว บริษัทไม่อยากเข้าไปยุ่งเกี่ยวอีก