ป.ป.ช.ส่งหนังสือถึง กทม.ขอข้อมูลสินบนอุโมงค์ระบายน้ำแสนแสบ ด้าน “อภิรักษ์” รับลูกพร้อมส่งต่อข้อมูลหลังตรวจสอบเสร็จทันที ขณะที่ข้อมูลล่าสุดระบุสินบนที่จ่ายไม่ใช่ 125 ล้าน แต่เป็น 250 ล้าน ส่วนสื่อญี่ปุ่นตีข่าวไม่หยุด ระบุชัด 2 ส-1 ธ รับเงิน-ส.ก.ปชป.สงสัยการตั้ง ปธ.พิจารณาทำไมใช้แค่รองสำนัก ขณะที่การตรวจสอบข้อเท็จคืบหน้าแล้ว 80% พร้อมส่งต่อปลัด กทม.10 ก.ค.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเช้าวันที่ 9 ก.ค.ที่ห้องประชุมสภากรุงเทพมหานคร (กทม.) ศาลาว่าการ กทม.โดยก่อนการประชุม มีสมาชิกสภา กทม.(ส.ก.) ทั้งพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และพลังประชาชน (พปช.) รวมทั้งข้าราชการได้จับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์กรณีบริษัท นิชิมัตซึ คอนสตรัคชั่น จากประเทศญี่ปุ่น ได้จ่ายสินบนกว่า 400 ล้านเยน หรือประมาณ 125 ล้านบาท เพื่อให้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองลาดพร้าวและคลองแสนแสบ
โดย ส.ก.ปชป.รายหนึ่งสังกัดพื้นที่ย่านธุรกิจ ระบุว่า หลังเกิดข่าวฉาวมีเพื่อนคนไทยในญี่ปุ่นโทรศัพท์มาแจ้งว่า หนังสือพิมพ์ญี่ปุ่นรายงานเรื่องนี้เป็นข่าวครึกโครมในโตเกียว จนทำให้คนไทยให้ความสนใจมาก ซึ่งในหนังสือพิมพ์ของโตเกียวได้ระบุชื่อผู้รับสินบนอย่างชัดเจนโดยเป็นผู้มีอักษรย่อ ส.2 คน และอักษร ธ.1 คน
นอกจากนี้ ยังมีการวิพากษ์วิจารณ์กันใน กทม.อีกว่า เรื่องนี้มีการจ่ายสินบนกันถึง 250 ล้านบาท ไม่ใช่ 125 ล้านบาทตามที่เป็นข่าว เพราะอาจจะมีการจ่ายสินบนในโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำอีกแห่งหนึ่งที่ใช้งบประมาณ 2,166 ล้านบาทด้วย เนื่องจากผู้ที่ยื่นเสนอราคาในโครงการนี้เป็นรายเดียวกับที่ยื่นในโครงการอุโมงค์คลองลาดพร้าวและคลองแสนแสบแต่ผู้ได้งานเป็นคนละราย ทั้งนี้โครงการอุโมงค์ดังกล่วาเปิดใช้งานแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า และเมื่อเปิดการประชุมสภา กทม.ในเวลา 10.30 น.นางกรณิศ งามสุคนธ์รัตนา ส.ก.เขตคลองเตย พรรค ปชป.ได้นำเรื่องดังกล่าวหารือในที่ประชุมโดยแสดงความเป็นห่วงต่อภาพพจน์องค์กร กทม.ที่มีเรื่องเสื่อมเสียในระดับประเทศ และเร่งรัดให้คณะกรรมการการปกครองของสภา กทม.ที่มี นายวันชัย เปี่ยมสวัสดิ์ ส.ก.เขตทุ่งครุ พรรค ปชป.เป็นประธานเร่งตรวจสอบเรื่องนี้ จากนั้น ส.ก.ปชป.หลายคนได้ลุกขึ้นอภิปรายหลายคน เช่น นายอภิชาติ หาลำเจียก ส.ก.เขตดินแดง นายพิพัฒน์ ลาภปรารถนา ส.ก.เขตบางรัก ได้โจมตีเรื่องเดียวกัน ทำให้ ส.ก.พปช.อย่าง นายประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ เขตห้วยขวาง และ นายวิสูตร สำเร็จวาณิชย์ เขตลาดกระบัง ลุกขึ้นตอบโต้ โดยระบุว่า ในฐานะ ส.ก.รู้สึกไม่สบายใจที่เกิดข่าวฉาวดังกล่าวขึ้นซึ่งกระทบต่อองค์กร
อย่างไรก็ตาม อยากให้นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม.ใช้มาตรฐานเดียวกันในการตรวจสอบการทุจริต เนื่องจากก่อนหน้านี้ กทม.มีปัญหาถูกตรวจสอบเรื่องการทุจริตฮั้วประมูล 16 โครงการก่อสร้างอุโมงค์ ทางลอดมูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท ในสำนักการโยธา (สนย.) ช่วงนายอภิรักษ์ เป็นผู้ว่าฯ กทม.ซึ่งได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและตรวจสอบการทุจริตหลายชุด แต่ปัจจุบันก็ยังไม่ปรากฏผลการตรวจสอบที่ชัดเจนต่อสังคม ทั้งที่เกิดปัญหาขณะที่ตนเองดำรงตำแหน่ง การอภิปรายดังกล่าวทำให้ ส.ก.ปชป.ถึงกับหยุดอภิปรายโจมตีเรื่องสินบน ขณะที่นายธวัชชัย ปิยนนทยา ประธานสภา กทม.ก็รีบตัดบทเพื่อให้นำเข้าสู่การประชุมตามวาระทันที
ขณะที่ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม.กล่าวชี้แจงในที่ประชุมว่า ตนได้สั่งการให้ปลัด กทม. รวบรวมข้อมูลของสำนักระบายน้ำ (สนน.) และประสานขอข้อมูลกับกระทรวงการต่างประเทศ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น เพื่อขอข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลของสื่อมวลชนญี่ปุ่นที่นำเสนอในเรื่องนี้ โดยเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ทางสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามายื่นหนังสือขอความร่วมมือสนับสนุนในการตรวจสอบเรื่องสินบนอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบ และลาดพร้าว 125 ล้านบาทด้วย ซึ่งหากทางปลัดกทม.รวมรวบข้อมูลแล้วเสร็จใน 7 วันแล้ว ตนก็จะนำข้อมูลที่ได้ส่งมอบให้ ป.ป.ช.ทันที
นายพินิจ กาญจนชูศักดิ์ ส.ก.เขตสัมพันธวงศ์ พรรค ปชป.ให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อปี 2546 บริษัท สี่แสงการโยธา (1979) ได้เข้าร้องเรียนนายสามารถ มะลูลีม ส.ส.กรุงเทพฯ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งประธานสภา กทม. ซึ่งได้ส่งเรื่องให้ตนในฐานะประธานคณะกรรมการรับเรื่องร้องทุกข์สภา กทม.พิจารณาเรื่องการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบและคลองลาดพร้าวสู่แม่น้ำเจ้าพระยา มูลค่า 2,178 ล้านบาท ที่เข้าข่ายการล็อกสเปกและกีดกันการแข่งขันให้บริษัทบางบริษัทได้งาน ซึ่งขณะนั้นผลการตรวจสอบพบว่า แม้ กทม.วางหลักเกณฑ์กำหนดสเปคสูงเพื่อให้ได้ผู้รับเหมาที่ดี แต่ก็มองได้ว่าเป็นการวางแผนเพื่อให้มีการประมูลในราคาที่สูงใกล้เคียงกับราคากลาง
“ที่สำคัญ ประเด็นของการตั้งคณะกรรมการพิจารณาเรื่องเทคนิคและซองราคาที่แต่งตั้งรองผอ.สำนักการระบายน้ำ ในขณะนั้นเป็นประธาน ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าควรตั้งระดับรองปลัดกทม.หรือเป็นระดับระดับ ผอ.สำนักเป็นประธานจะมีความเหมาะสมมากกว่า นอกจากนี้ ผมยังได้เสนอให้เปิดซองราคาของทุกบริษัทเพื่อให้ทราบราคาเพื่อความโปร่งใสว่าไม่ได้ล็อคราคาให้ใกล้เคียงราคากลาง แต่ กทม.กลับเปิดซองราคาเฉพาะผู้ที่ผ่านเทคนิค อีกทั้งกรรมการฯยังเคยเสนอให้ กทม.ยกเลิกการประมูลโครงการเพื่อความเหมาะสมแต่ท้ายที่สุด กทม.ยืนยันจะเดินหน้าโครงการ จนทำให้บริษัทสี่แสงฯไปฟ้องศาลปกครอง ดังนั้น ผมเชื่อว่า โครงการนี้มีความไม่ชอบมาพากลแน่นอน แม้ว่าท้ายที่สุดศาลปกครองจะชี้ขาดให้ กทม.ชนะคดีก็ตาม เรื่องนี้ยอมรับว่าการตรวจสอบให้ชัดแจ้งทำได้ยากเพราะยากในการสืบหาข้อมูล ซึ่งหาก ป.ป.ช.เข้ามาตรวจสอบน่าจะตรวจสอบได้ดีกว่า” นายพินิจ กล่าว
ด้าน นายชาญชัย วิทูรปัญญากิจ ผอ.สนน.กล่าวว่า ขณะนี้ตนได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ เสร็จกว่า 80% แล้ว และจะนำเสนอปลัด กทม.ในวันที่ 10 ก.ค.นี้ โดยไม่ต้องรอให้ครบตามกรอบ 7 วัน เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญหลายฝ่ายให้ความสนใจ รวมทั้งเพื่อให้ผู้บริหารนำไปพิจารณา ประกอบกับขณะนี้ ป.ป.ช.ได้เข้ามาร่วมตรวจสอบโครงการดังกล่าวด้วย สำหรับข้อมูลที่รวบรวมได้นั้นเป็นข้อมูลที่มาที่ไปของโครงการ คณะกรรมการประกวดราคา คณะกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติ และคณะกรรมการพิจารณาผล เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเช้าวันที่ 9 ก.ค.ที่ห้องประชุมสภากรุงเทพมหานคร (กทม.) ศาลาว่าการ กทม.โดยก่อนการประชุม มีสมาชิกสภา กทม.(ส.ก.) ทั้งพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และพลังประชาชน (พปช.) รวมทั้งข้าราชการได้จับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์กรณีบริษัท นิชิมัตซึ คอนสตรัคชั่น จากประเทศญี่ปุ่น ได้จ่ายสินบนกว่า 400 ล้านเยน หรือประมาณ 125 ล้านบาท เพื่อให้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองลาดพร้าวและคลองแสนแสบ
โดย ส.ก.ปชป.รายหนึ่งสังกัดพื้นที่ย่านธุรกิจ ระบุว่า หลังเกิดข่าวฉาวมีเพื่อนคนไทยในญี่ปุ่นโทรศัพท์มาแจ้งว่า หนังสือพิมพ์ญี่ปุ่นรายงานเรื่องนี้เป็นข่าวครึกโครมในโตเกียว จนทำให้คนไทยให้ความสนใจมาก ซึ่งในหนังสือพิมพ์ของโตเกียวได้ระบุชื่อผู้รับสินบนอย่างชัดเจนโดยเป็นผู้มีอักษรย่อ ส.2 คน และอักษร ธ.1 คน
นอกจากนี้ ยังมีการวิพากษ์วิจารณ์กันใน กทม.อีกว่า เรื่องนี้มีการจ่ายสินบนกันถึง 250 ล้านบาท ไม่ใช่ 125 ล้านบาทตามที่เป็นข่าว เพราะอาจจะมีการจ่ายสินบนในโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำอีกแห่งหนึ่งที่ใช้งบประมาณ 2,166 ล้านบาทด้วย เนื่องจากผู้ที่ยื่นเสนอราคาในโครงการนี้เป็นรายเดียวกับที่ยื่นในโครงการอุโมงค์คลองลาดพร้าวและคลองแสนแสบแต่ผู้ได้งานเป็นคนละราย ทั้งนี้โครงการอุโมงค์ดังกล่วาเปิดใช้งานแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า และเมื่อเปิดการประชุมสภา กทม.ในเวลา 10.30 น.นางกรณิศ งามสุคนธ์รัตนา ส.ก.เขตคลองเตย พรรค ปชป.ได้นำเรื่องดังกล่าวหารือในที่ประชุมโดยแสดงความเป็นห่วงต่อภาพพจน์องค์กร กทม.ที่มีเรื่องเสื่อมเสียในระดับประเทศ และเร่งรัดให้คณะกรรมการการปกครองของสภา กทม.ที่มี นายวันชัย เปี่ยมสวัสดิ์ ส.ก.เขตทุ่งครุ พรรค ปชป.เป็นประธานเร่งตรวจสอบเรื่องนี้ จากนั้น ส.ก.ปชป.หลายคนได้ลุกขึ้นอภิปรายหลายคน เช่น นายอภิชาติ หาลำเจียก ส.ก.เขตดินแดง นายพิพัฒน์ ลาภปรารถนา ส.ก.เขตบางรัก ได้โจมตีเรื่องเดียวกัน ทำให้ ส.ก.พปช.อย่าง นายประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ เขตห้วยขวาง และ นายวิสูตร สำเร็จวาณิชย์ เขตลาดกระบัง ลุกขึ้นตอบโต้ โดยระบุว่า ในฐานะ ส.ก.รู้สึกไม่สบายใจที่เกิดข่าวฉาวดังกล่าวขึ้นซึ่งกระทบต่อองค์กร
อย่างไรก็ตาม อยากให้นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม.ใช้มาตรฐานเดียวกันในการตรวจสอบการทุจริต เนื่องจากก่อนหน้านี้ กทม.มีปัญหาถูกตรวจสอบเรื่องการทุจริตฮั้วประมูล 16 โครงการก่อสร้างอุโมงค์ ทางลอดมูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท ในสำนักการโยธา (สนย.) ช่วงนายอภิรักษ์ เป็นผู้ว่าฯ กทม.ซึ่งได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและตรวจสอบการทุจริตหลายชุด แต่ปัจจุบันก็ยังไม่ปรากฏผลการตรวจสอบที่ชัดเจนต่อสังคม ทั้งที่เกิดปัญหาขณะที่ตนเองดำรงตำแหน่ง การอภิปรายดังกล่าวทำให้ ส.ก.ปชป.ถึงกับหยุดอภิปรายโจมตีเรื่องสินบน ขณะที่นายธวัชชัย ปิยนนทยา ประธานสภา กทม.ก็รีบตัดบทเพื่อให้นำเข้าสู่การประชุมตามวาระทันที
ขณะที่ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม.กล่าวชี้แจงในที่ประชุมว่า ตนได้สั่งการให้ปลัด กทม. รวบรวมข้อมูลของสำนักระบายน้ำ (สนน.) และประสานขอข้อมูลกับกระทรวงการต่างประเทศ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น เพื่อขอข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลของสื่อมวลชนญี่ปุ่นที่นำเสนอในเรื่องนี้ โดยเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ทางสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามายื่นหนังสือขอความร่วมมือสนับสนุนในการตรวจสอบเรื่องสินบนอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบ และลาดพร้าว 125 ล้านบาทด้วย ซึ่งหากทางปลัดกทม.รวมรวบข้อมูลแล้วเสร็จใน 7 วันแล้ว ตนก็จะนำข้อมูลที่ได้ส่งมอบให้ ป.ป.ช.ทันที
นายพินิจ กาญจนชูศักดิ์ ส.ก.เขตสัมพันธวงศ์ พรรค ปชป.ให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อปี 2546 บริษัท สี่แสงการโยธา (1979) ได้เข้าร้องเรียนนายสามารถ มะลูลีม ส.ส.กรุงเทพฯ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งประธานสภา กทม. ซึ่งได้ส่งเรื่องให้ตนในฐานะประธานคณะกรรมการรับเรื่องร้องทุกข์สภา กทม.พิจารณาเรื่องการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบและคลองลาดพร้าวสู่แม่น้ำเจ้าพระยา มูลค่า 2,178 ล้านบาท ที่เข้าข่ายการล็อกสเปกและกีดกันการแข่งขันให้บริษัทบางบริษัทได้งาน ซึ่งขณะนั้นผลการตรวจสอบพบว่า แม้ กทม.วางหลักเกณฑ์กำหนดสเปคสูงเพื่อให้ได้ผู้รับเหมาที่ดี แต่ก็มองได้ว่าเป็นการวางแผนเพื่อให้มีการประมูลในราคาที่สูงใกล้เคียงกับราคากลาง
“ที่สำคัญ ประเด็นของการตั้งคณะกรรมการพิจารณาเรื่องเทคนิคและซองราคาที่แต่งตั้งรองผอ.สำนักการระบายน้ำ ในขณะนั้นเป็นประธาน ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าควรตั้งระดับรองปลัดกทม.หรือเป็นระดับระดับ ผอ.สำนักเป็นประธานจะมีความเหมาะสมมากกว่า นอกจากนี้ ผมยังได้เสนอให้เปิดซองราคาของทุกบริษัทเพื่อให้ทราบราคาเพื่อความโปร่งใสว่าไม่ได้ล็อคราคาให้ใกล้เคียงราคากลาง แต่ กทม.กลับเปิดซองราคาเฉพาะผู้ที่ผ่านเทคนิค อีกทั้งกรรมการฯยังเคยเสนอให้ กทม.ยกเลิกการประมูลโครงการเพื่อความเหมาะสมแต่ท้ายที่สุด กทม.ยืนยันจะเดินหน้าโครงการ จนทำให้บริษัทสี่แสงฯไปฟ้องศาลปกครอง ดังนั้น ผมเชื่อว่า โครงการนี้มีความไม่ชอบมาพากลแน่นอน แม้ว่าท้ายที่สุดศาลปกครองจะชี้ขาดให้ กทม.ชนะคดีก็ตาม เรื่องนี้ยอมรับว่าการตรวจสอบให้ชัดแจ้งทำได้ยากเพราะยากในการสืบหาข้อมูล ซึ่งหาก ป.ป.ช.เข้ามาตรวจสอบน่าจะตรวจสอบได้ดีกว่า” นายพินิจ กล่าว
ด้าน นายชาญชัย วิทูรปัญญากิจ ผอ.สนน.กล่าวว่า ขณะนี้ตนได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ เสร็จกว่า 80% แล้ว และจะนำเสนอปลัด กทม.ในวันที่ 10 ก.ค.นี้ โดยไม่ต้องรอให้ครบตามกรอบ 7 วัน เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญหลายฝ่ายให้ความสนใจ รวมทั้งเพื่อให้ผู้บริหารนำไปพิจารณา ประกอบกับขณะนี้ ป.ป.ช.ได้เข้ามาร่วมตรวจสอบโครงการดังกล่าวด้วย สำหรับข้อมูลที่รวบรวมได้นั้นเป็นข้อมูลที่มาที่ไปของโครงการ คณะกรรมการประกวดราคา คณะกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติ และคณะกรรมการพิจารณาผล เป็นต้น