บริหารมา 4 เดือนเศษ รัฐบาลชุดนี้ได้ทำผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า!
เศรษฐกิจ สังคม การเมือง มีแต่ความวุ่นวายปั่นป่วน
หลายต่อหลายเรื่องพอถูกจับได้ไล่ทันก็ลื่นไหล เฉไฉ เอาตัวรอดไปอย่างหน้าด้านๆ เช่น กรณีเขาพระวิหาร
ทว่า! หลังจากที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวานนี้ (8 ก.ค.) มีมติเอกฉันท์ 8 ต่อ 1 วินิจฉัยชี้ขาดว่า แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา หรือ Joint Communique ฉบับวันที่ 18 มิ.ย. 2551 กรณีปราสาทพระวิหาร มีลักษณะครบองค์ประกอบเป็นสนธิสัญญาตามอนุสัญญากรุงเวียนนา และมีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นว่า แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญ ที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
นับเป็นการตอกย้ำที่ชัดเจนมากว่า รัฐบาลชุดนี้หมดความชอบธรรม! หมดสภาพที่จะบริหารบ้านเมืองต่อไปอย่างปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้
การที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีนี้ แม้จะเกิดขึ้นมาจาก ส.ว. 77 คน และ ส.ส.อีก 151 ได้ยื่นคำร้องให้ตีความการลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย - กัมพูชา ของนายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ ในการสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 190 วรรค 2 หรือไม่ แต่ต้องไม่ลืมว่า เรื่องเดิมมีที่มา จากการเคลื่อนไหวเรียกร้องของประชาชนจากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เปิดประเด็นนี้มาอย่างต่อเนื่อง และ เป็นผู้ที่ยื่นให้ศาลปกครองไต่สวนฉุกเฉินคุ้มครองชั่วคราว ท่ามกลางเสียงหัวเราะถากถางของนักวิชาการประเภทปากคาบคัมภีร์ มือถือถุงขนม
อุปมาพันธมิตรฯ เหมือนกับ ‘ยาม’ ที่เห็นโจรกำลังจะขึ้นบ้านแล้วร้องตะโกนให้ตำรวจช่วยจับดำเนินคดี แต่ที่ผ่านมาโจรไม่สำนึกผิดและรับสารภาพ เมื่อจำนนด้วยหลักฐานก็ เอ้อ อ้า โบ้ยรัฐบาลชุดก่อน อ้างข้าราชการประจำเป็นคนทำ ขุดนิสัยถาวรของนักเลือกตั้งชั้นเลวมาใช้
นายสมัคร สุนทรเวช ในฐานะหัวหน้าคณะรัฐบาล นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ ถึงเวลานี้ยังต้องรอให้ใครเขาถามอีกหรือ จะทำอย่างไร?
รัฐบาลจะต้องออกไปทั้งคณะทันที เป็นหนทางเดียวเท่านั้น!
ในเมื่อรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการจัดการปกครองของรัฐ คณะรัฐมนตรีร่วมกันกระทำผิด ขัดต่อกฎหมายก็ไม่มีสิทธิที่จะคิดเป็นอื่นไปจริงๆ
แต่! ก็นั่นละ ‘มาตรฐานความรับผิดชอบ’ ของรัฐบาลชุดนี้ไม่เคยมีอยู่แล้ว ความหวังว่า พวกเขาเหล่านี้จะรับผิดชอบด้วยการลาออกเองคงไม่เกิดขึ้น การดื้อแพ่ง ตะแบงไปได้ทุกเรื่องก็ไม่ได้อยู่นอกเหนือความคาดหมายของนอมินีเหล่านี้
ประกอบกับโดยหลักการ จากนี้ศาลรัฐธรรมนูญจะส่งคำวินิจฉัยให้กับประธานวุฒิสภาและประธานสภาผู้แทนฯ ดำเนินการต่อไป แต่การดำเนินการจะเป็นอย่างไรต่อไป ไม่อยู่ในอำนาจที่ศาลรัฐธรรมนูญจะไปก้าวล่วงได้
ความหวังจึงพอมีแต่ว่า ครม.อัปยศชุดนี้จะถูกผลักถูกดันให้เข้าสู่แดนประหารจากกลไกที่มีอยู่
ทางหนึ่ง คือ การถอดถอนซึ่งถือเป็นวิถีตามหาความรับผิดชอบทางตามครรลองประชาธิปไตยเป็นหน้าที่ของ ส.ส.เข้าชื่อ 1 ใน 4 หรือประชาชนเข้าชื่อ 20,000 คน ยื่นให้วุฒิสภาดำเนินการ
ขณะเดียวกัน การดำเนินการเพื่อเอาผิดในแง่กฎหมายก็อีกเรื่องหนึ่ง!
เนื่องเพราะประเด็นที่เกี่ยวกับ ‘พระวิหาร’ ซึ่งบัดนี้กลายเป็นมรดกโลกโดยการเสนอของเขมรฝ่ายเดียวไปแล้ว ความกังวลว่า เราจะมีความสุ่มเสี่ยงที่จะเสียอธิปไตย เสียดินแดนจากการจัดการตามเงื่อนไขมรดกโลก รัฐบาลชุดนี้ก็ไม่มีสิทธิปฏิเสธความรับผิดชอบเช่นกัน
ไม่ว่า นายนพดล จะอ้างหรือท่องคาถา เราไม่เสียดินแดนๆ แต่ผลจากข้อผูกมัดที่ นายนพดลไปทำสนธิสัญญาไว้นั้น ผู้รู้วิเคราะห์ว่า ไทยต้องสูญเสียอย่างน้อยๆ ก็เสียประสาทพระวิหารและปราสาทอื่นอีก 3 หลัง รวมทั้งทางขึ้นและทะเลสาบซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้าง
ขณะที่ดินแดน เราอาจต้องเสียพื้นที่ซึ่งเป็นที่ตั้งสิ่งก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 3,000 ไร่ และพื้นที่โดยรอบอีกประมาณ 10,000 ไร่ เพราะต้องให้เขมรเข้ามามีส่วนร่วมบริหารจัดการตามข้อตกลง ‘พื้นที่ซับซ้อน’
ใครก็ตามที่มีพฤติกรรมเช่นนี้ ถามว่าเข้าข่ายประมวลกฎหมายไหนบ้าง?
หาก ครม.และนายนพดล ยังมึนๆ งงๆ อยู่ก็น่าดีใจแทนที่ไม่ต้องเสียเวลาคิด เพราะมีคนเฉลยให้แล้ว
ตัวแทน 77 ส.ว.ที่เขาทำเรื่องนี้มาแต่ต้นตัดสินใจแล้วว่า จะใช้สิทธิตามมาตรา 275 ดำเนินการตามขั้นตอน โดยจะกล่าวโทษ ครม.ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ส่งเรื่องไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในข้อหาไม่ปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 และผิดตามประมวลกฎหมายอาญา (ป.วิอาญา) มาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติตามหน้าที่ และพิจารณาว่าจะเข้าข่ายขัดต่อ ป.อาญา มาตรา 119 และ 120 โทษสูงสุด คือ จำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต!
ชัดๆ อีกครั้งตรงนี้ สำหรับมาตรา 119 และ 120 ระบุว่า...
“ตามประมวลกฎหมายมาตรา 119 บัญญัติว่า ผู้ใดกระทำการใดๆ เพื่อราชอาณาจักรหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรตกไปอยู่ใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐต่างประเทศ หรือเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต และมาตรา 120 ผู้ใดคบคิดกับบุคคลซึ่งกระทำการเพื่อประโยชน์รัฐต่างประเทศ ด้วยความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดการดำเนินการรบต่อรัฐ หรือในทางอื่นที่เป็นปรปักษ์ต่อรัฐ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 10-20 ปี”
นายนพดล ที่แสดงตัวว่าเก่งและฉลาดเรื่องกฎหมายมาตลอดชีวิต คงพอจำได้แล้วกระมัง!
ท่านผู้อ่านสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ที่ เอ็มบล็อก http://mblog.manager.co.th/suwitcha67 หรือ E-mail suwitcha@manager.co.th
เศรษฐกิจ สังคม การเมือง มีแต่ความวุ่นวายปั่นป่วน
หลายต่อหลายเรื่องพอถูกจับได้ไล่ทันก็ลื่นไหล เฉไฉ เอาตัวรอดไปอย่างหน้าด้านๆ เช่น กรณีเขาพระวิหาร
ทว่า! หลังจากที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวานนี้ (8 ก.ค.) มีมติเอกฉันท์ 8 ต่อ 1 วินิจฉัยชี้ขาดว่า แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา หรือ Joint Communique ฉบับวันที่ 18 มิ.ย. 2551 กรณีปราสาทพระวิหาร มีลักษณะครบองค์ประกอบเป็นสนธิสัญญาตามอนุสัญญากรุงเวียนนา และมีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นว่า แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญ ที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
นับเป็นการตอกย้ำที่ชัดเจนมากว่า รัฐบาลชุดนี้หมดความชอบธรรม! หมดสภาพที่จะบริหารบ้านเมืองต่อไปอย่างปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้
การที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีนี้ แม้จะเกิดขึ้นมาจาก ส.ว. 77 คน และ ส.ส.อีก 151 ได้ยื่นคำร้องให้ตีความการลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย - กัมพูชา ของนายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ ในการสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 190 วรรค 2 หรือไม่ แต่ต้องไม่ลืมว่า เรื่องเดิมมีที่มา จากการเคลื่อนไหวเรียกร้องของประชาชนจากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เปิดประเด็นนี้มาอย่างต่อเนื่อง และ เป็นผู้ที่ยื่นให้ศาลปกครองไต่สวนฉุกเฉินคุ้มครองชั่วคราว ท่ามกลางเสียงหัวเราะถากถางของนักวิชาการประเภทปากคาบคัมภีร์ มือถือถุงขนม
อุปมาพันธมิตรฯ เหมือนกับ ‘ยาม’ ที่เห็นโจรกำลังจะขึ้นบ้านแล้วร้องตะโกนให้ตำรวจช่วยจับดำเนินคดี แต่ที่ผ่านมาโจรไม่สำนึกผิดและรับสารภาพ เมื่อจำนนด้วยหลักฐานก็ เอ้อ อ้า โบ้ยรัฐบาลชุดก่อน อ้างข้าราชการประจำเป็นคนทำ ขุดนิสัยถาวรของนักเลือกตั้งชั้นเลวมาใช้
นายสมัคร สุนทรเวช ในฐานะหัวหน้าคณะรัฐบาล นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ ถึงเวลานี้ยังต้องรอให้ใครเขาถามอีกหรือ จะทำอย่างไร?
รัฐบาลจะต้องออกไปทั้งคณะทันที เป็นหนทางเดียวเท่านั้น!
ในเมื่อรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการจัดการปกครองของรัฐ คณะรัฐมนตรีร่วมกันกระทำผิด ขัดต่อกฎหมายก็ไม่มีสิทธิที่จะคิดเป็นอื่นไปจริงๆ
แต่! ก็นั่นละ ‘มาตรฐานความรับผิดชอบ’ ของรัฐบาลชุดนี้ไม่เคยมีอยู่แล้ว ความหวังว่า พวกเขาเหล่านี้จะรับผิดชอบด้วยการลาออกเองคงไม่เกิดขึ้น การดื้อแพ่ง ตะแบงไปได้ทุกเรื่องก็ไม่ได้อยู่นอกเหนือความคาดหมายของนอมินีเหล่านี้
ประกอบกับโดยหลักการ จากนี้ศาลรัฐธรรมนูญจะส่งคำวินิจฉัยให้กับประธานวุฒิสภาและประธานสภาผู้แทนฯ ดำเนินการต่อไป แต่การดำเนินการจะเป็นอย่างไรต่อไป ไม่อยู่ในอำนาจที่ศาลรัฐธรรมนูญจะไปก้าวล่วงได้
ความหวังจึงพอมีแต่ว่า ครม.อัปยศชุดนี้จะถูกผลักถูกดันให้เข้าสู่แดนประหารจากกลไกที่มีอยู่
ทางหนึ่ง คือ การถอดถอนซึ่งถือเป็นวิถีตามหาความรับผิดชอบทางตามครรลองประชาธิปไตยเป็นหน้าที่ของ ส.ส.เข้าชื่อ 1 ใน 4 หรือประชาชนเข้าชื่อ 20,000 คน ยื่นให้วุฒิสภาดำเนินการ
ขณะเดียวกัน การดำเนินการเพื่อเอาผิดในแง่กฎหมายก็อีกเรื่องหนึ่ง!
เนื่องเพราะประเด็นที่เกี่ยวกับ ‘พระวิหาร’ ซึ่งบัดนี้กลายเป็นมรดกโลกโดยการเสนอของเขมรฝ่ายเดียวไปแล้ว ความกังวลว่า เราจะมีความสุ่มเสี่ยงที่จะเสียอธิปไตย เสียดินแดนจากการจัดการตามเงื่อนไขมรดกโลก รัฐบาลชุดนี้ก็ไม่มีสิทธิปฏิเสธความรับผิดชอบเช่นกัน
ไม่ว่า นายนพดล จะอ้างหรือท่องคาถา เราไม่เสียดินแดนๆ แต่ผลจากข้อผูกมัดที่ นายนพดลไปทำสนธิสัญญาไว้นั้น ผู้รู้วิเคราะห์ว่า ไทยต้องสูญเสียอย่างน้อยๆ ก็เสียประสาทพระวิหารและปราสาทอื่นอีก 3 หลัง รวมทั้งทางขึ้นและทะเลสาบซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้าง
ขณะที่ดินแดน เราอาจต้องเสียพื้นที่ซึ่งเป็นที่ตั้งสิ่งก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 3,000 ไร่ และพื้นที่โดยรอบอีกประมาณ 10,000 ไร่ เพราะต้องให้เขมรเข้ามามีส่วนร่วมบริหารจัดการตามข้อตกลง ‘พื้นที่ซับซ้อน’
ใครก็ตามที่มีพฤติกรรมเช่นนี้ ถามว่าเข้าข่ายประมวลกฎหมายไหนบ้าง?
หาก ครม.และนายนพดล ยังมึนๆ งงๆ อยู่ก็น่าดีใจแทนที่ไม่ต้องเสียเวลาคิด เพราะมีคนเฉลยให้แล้ว
ตัวแทน 77 ส.ว.ที่เขาทำเรื่องนี้มาแต่ต้นตัดสินใจแล้วว่า จะใช้สิทธิตามมาตรา 275 ดำเนินการตามขั้นตอน โดยจะกล่าวโทษ ครม.ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ส่งเรื่องไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในข้อหาไม่ปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 และผิดตามประมวลกฎหมายอาญา (ป.วิอาญา) มาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติตามหน้าที่ และพิจารณาว่าจะเข้าข่ายขัดต่อ ป.อาญา มาตรา 119 และ 120 โทษสูงสุด คือ จำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต!
ชัดๆ อีกครั้งตรงนี้ สำหรับมาตรา 119 และ 120 ระบุว่า...
“ตามประมวลกฎหมายมาตรา 119 บัญญัติว่า ผู้ใดกระทำการใดๆ เพื่อราชอาณาจักรหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรตกไปอยู่ใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐต่างประเทศ หรือเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต และมาตรา 120 ผู้ใดคบคิดกับบุคคลซึ่งกระทำการเพื่อประโยชน์รัฐต่างประเทศ ด้วยความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดการดำเนินการรบต่อรัฐ หรือในทางอื่นที่เป็นปรปักษ์ต่อรัฐ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 10-20 ปี”
นายนพดล ที่แสดงตัวว่าเก่งและฉลาดเรื่องกฎหมายมาตลอดชีวิต คงพอจำได้แล้วกระมัง!
ท่านผู้อ่านสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ที่ เอ็มบล็อก http://mblog.manager.co.th/suwitcha67 หรือ E-mail suwitcha@manager.co.th