ผู้จัดการรายวัน-การบินไทยยันค่าปรับอียูกรณีฮั้วค่าธรรมเนียมน้ำมันขนส่งสินค้าทางอากาศไม่สูงตามข่าว ขณะที่บอร์ด ยอมรับหลายปัญหารุม ทั้งสถานการณ์ราคาน้ำมันซึ่งฝ่ายบริหารไร้แผนรองรับที่ชัดเจน การจ่ายเงินค่างวดให้แอร์บัส และค่าปรับที่อียู ส่อกระทบการเงินบริษัทอย่างมาก
เรืออากาศโทอภินันทน์ สุมนะเศรณี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่ากรณีที่บริษัท การบินไทย ได้รับหนังสือโต้แย้งการกระทำและแจ้งการเริ่มดำเนินคดี (Statement of Objections and Initiation of Proceedings) ของคณะกรรมาธิการประชาคมยุโรป (Commission of the European Communities) หรือชื่อย่อคือ EC แจ้งว่าบริษัทฯ ได้กำหนดราคาค่าธรรมเนียมพิเศษเพื่อชดเชยค่าน้ำมัน (Fuel Surcharge) ค่าธรรมเนียมการรักษาความปลอดภัย (Security Surcharge) ค่าธรรมเนียมการเสี่ยงภัย (War Risk Surcharge) อัตราค่าระวางการขนส่งสินค้า และค่าธรรมเนียมอื่นๆ อันเป็นการละเมิดต่อกฎหมายประชาคมยุโรป (EU Law) ทำให้กลุ่มผู้ใช้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศได้รับความเสียหาย ซึ่ง EC กำลังดำเนินการตรวจสอบและพิจารณากำหนดค่าเสียหายนั้น คาดว่าการปรับถ้าหากมีขึ้น ก็คงเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล ซึ่งคาดว่าจะเป็นจำนวนเงินไม่สูงตามที่เป็นข่าว
เรืออากาศโทอภินันทน์กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องระดับประเทศ เนื่องจากการบินไทยเป็นสายการบินแห่งชาติซึ่งมีรัฐบาลไทยเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ดังนั้นกระทรวงการต่างประเทศจึงได้เข้ามาช่วยเหลืออย่างเต็มที่ โดยมีการแต่งตั้งคณะทำงานรวมทั้งเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยียมเข้ามาช่วยดูแลและประสานงานด้านการทูต
แหล่งข่าวจากบริษัทการบินไทยกล่าวว่า กรณีที่สหภาพยุโรปหรือ EC ได้เรียกค่าเสียหายการบินไทยกรณีและอีกหลายสายการบินในกรณีฮั้วค่าธรรมเนียมน้ำมัน การขนส่งสินค้าทางอากาศ เป็นเรื่องที่ใหญ่มากเพราะตัวเลขค่าปรับสูงมากแต่ฝ่ายบริหารกลับไม่ชี้แจงรายละเอียดต่อบอร์ดทำให้การตัดสินใจของบอร์ดในการให้การบินไทยสู้คดีผิดพลาด
แหล่งข่าวจากบริษัทการบินไทยกล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์การเงินของการบินไทยมีความน่าเป็นห่วงทั้งเรื่องผลประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นและฝ่ายบริหารยังไม่มีแผนรองรับสถานการณ์ที่ชัดเจน กรณีที่การบินไทยจ่ายเงินค่างวดและจัดซื้ออุปกรณ์ BEF เช่น เครื่องยนต์ อุปกรณ์ภายในห้องโดยสาร ระบบ Entertainment ระบบ electronic ของเครื่องบินA330 จำนวน8 ลำ ซึ่งขัดมติครม.ที่ให้การบินไทยเช่า ไปแล้ว 2 งวด ๆละ 30 กว่าล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างการตรวจสอบสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) อยู่
รวมถึงการถูก EC เรียกค่าเสียหาย ซึ่งหากค่าปรับที่การบินไทยต้องจ่ายใกล้เคียงกับสายการบินอื่นที่ถูกเรียกเก็บไปแล้วเช่น แอร์ฟรานซ์ ที่เสียค่าปรับประมาณ 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 11,550 ล้านบาท) ในขณะที่การบินไทยมีทุนจดทะเบียนเพียง 17,000 ล้านบาท ทำให้บอร์ดหลายคนมีความกังวลมาก
เรืออากาศโทอภินันทน์ สุมนะเศรณี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่ากรณีที่บริษัท การบินไทย ได้รับหนังสือโต้แย้งการกระทำและแจ้งการเริ่มดำเนินคดี (Statement of Objections and Initiation of Proceedings) ของคณะกรรมาธิการประชาคมยุโรป (Commission of the European Communities) หรือชื่อย่อคือ EC แจ้งว่าบริษัทฯ ได้กำหนดราคาค่าธรรมเนียมพิเศษเพื่อชดเชยค่าน้ำมัน (Fuel Surcharge) ค่าธรรมเนียมการรักษาความปลอดภัย (Security Surcharge) ค่าธรรมเนียมการเสี่ยงภัย (War Risk Surcharge) อัตราค่าระวางการขนส่งสินค้า และค่าธรรมเนียมอื่นๆ อันเป็นการละเมิดต่อกฎหมายประชาคมยุโรป (EU Law) ทำให้กลุ่มผู้ใช้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศได้รับความเสียหาย ซึ่ง EC กำลังดำเนินการตรวจสอบและพิจารณากำหนดค่าเสียหายนั้น คาดว่าการปรับถ้าหากมีขึ้น ก็คงเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล ซึ่งคาดว่าจะเป็นจำนวนเงินไม่สูงตามที่เป็นข่าว
เรืออากาศโทอภินันทน์กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องระดับประเทศ เนื่องจากการบินไทยเป็นสายการบินแห่งชาติซึ่งมีรัฐบาลไทยเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ดังนั้นกระทรวงการต่างประเทศจึงได้เข้ามาช่วยเหลืออย่างเต็มที่ โดยมีการแต่งตั้งคณะทำงานรวมทั้งเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยียมเข้ามาช่วยดูแลและประสานงานด้านการทูต
แหล่งข่าวจากบริษัทการบินไทยกล่าวว่า กรณีที่สหภาพยุโรปหรือ EC ได้เรียกค่าเสียหายการบินไทยกรณีและอีกหลายสายการบินในกรณีฮั้วค่าธรรมเนียมน้ำมัน การขนส่งสินค้าทางอากาศ เป็นเรื่องที่ใหญ่มากเพราะตัวเลขค่าปรับสูงมากแต่ฝ่ายบริหารกลับไม่ชี้แจงรายละเอียดต่อบอร์ดทำให้การตัดสินใจของบอร์ดในการให้การบินไทยสู้คดีผิดพลาด
แหล่งข่าวจากบริษัทการบินไทยกล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์การเงินของการบินไทยมีความน่าเป็นห่วงทั้งเรื่องผลประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นและฝ่ายบริหารยังไม่มีแผนรองรับสถานการณ์ที่ชัดเจน กรณีที่การบินไทยจ่ายเงินค่างวดและจัดซื้ออุปกรณ์ BEF เช่น เครื่องยนต์ อุปกรณ์ภายในห้องโดยสาร ระบบ Entertainment ระบบ electronic ของเครื่องบินA330 จำนวน8 ลำ ซึ่งขัดมติครม.ที่ให้การบินไทยเช่า ไปแล้ว 2 งวด ๆละ 30 กว่าล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างการตรวจสอบสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) อยู่
รวมถึงการถูก EC เรียกค่าเสียหาย ซึ่งหากค่าปรับที่การบินไทยต้องจ่ายใกล้เคียงกับสายการบินอื่นที่ถูกเรียกเก็บไปแล้วเช่น แอร์ฟรานซ์ ที่เสียค่าปรับประมาณ 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 11,550 ล้านบาท) ในขณะที่การบินไทยมีทุนจดทะเบียนเพียง 17,000 ล้านบาท ทำให้บอร์ดหลายคนมีความกังวลมาก