ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ –นายกสมาคมประมงสงขลา จี้รัฐติดเครื่องเปิดโต๊ะเจรจาอินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม หรือพม่า เปิดทางประมงเรือใหญ่ไทยหนีตายอาศัยพื้นที่ทำกินจับปลาน่านน้ำต่างชาติอย่างถูกกฎหมาย ชี้พิษน้ำมัน-ปลาอ่าวไทยลดทำให้เสี่ยงตายลักลอบจับปลาถูกปล้น-จับกุมเสียเงินและทรัพย์สินนับร้อยล้านต่อปี ด้านผู้ประกอบการขนส่งรายใหญ่ในภาคใต้สุดอั้นแบกต้นทุนน้ำมันสูงกว่า 11 บาทไม่ไหว ขอลูกค้าปรับค้าบริการเร็วๆ นี้ จี้รัฐเลิกขายฝันรถไฟรางคู่หันมาหนุน รฟท.เพิ่มหัวรถจักร และซ่อมแซมให้พร้อมใช้ก็จะลดต้นทุนขนส่งได้ในระยะยาว
จี้ “นพดล” เจรจาเพื่อนบ้านเปิดน่านน้ำช่วย “เรือใหญ่”
นายประพร เอกอุรุ นายกสมาคมประมง จ.สงขลา และเจ้าของกิจการประมงขนาดใหญ่ กล่าวว่า จากภาวะราคาน้ำมันแพงและสัตว์น้ำในอ่าวไทยมีน้อย ทำให้เรือประมงขนาดใหญ่เสี่ยงลักลอบหาปลาในน่านน้ำต่างประเทศเพื่อความอยู่รอด แม้ว่าแต่ละปีจะถูกปล้น จับกุมและปรับเงินเสียเป็นร้อยล้านก็ตาม แต่นั่นไม่ใช่ทางออกที่ดีของชาวประมง
"ในฐานะที่ผมดำรงตำแหน่ง ส.ส.ประชาธิปัตย์ จ.สงขลา ได้ร่วมกับ ส.ส.ในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเลเพื่อร่วมนำปัญหาของพี่น้องชาวประมงเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและรัฐมนตรีครบทุกเรื่องตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยเร่งรัดให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศรับข้อเสนอเปิดโต๊ะเจรจากับรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้านทั้งอินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า และมาเลเซีย เพื่อเปิดทางให้เรือประมงไทยสามารถทำประมงในประเทศนั้นได้ถูกต้องและมีโอกาสเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ยังสามารถนำสัตว์น้ำป้อนให้กับโรงงานอุตสาหกรรมในไทยที่ประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบได้อีกด้วย แต่ในขณะนี้ก็ยังไม่มีเสียงตอบรับใดๆ"
นายประพร กล่าวต่อด้วยว่า ธุรกิจประมงที่ตนทำซึ่งยังอยู่ได้ในภาวะเช่นนี้ เพราะได้ทำจ้อยส์เวนเจอร์ซึ่งอาศัยความเชื่อถือกันกับนักธุรกิจเอกชนของประเทศอินโดนีเซียจำนวน 5 ลำ และมาเลเซียอีก 8 ลำ เพื่อทำประมงในน่านน้ำประเทศเหล่านั้น ซึ่งต้องนำสัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือพร้อมกับจ่ายภาษีราว 60,000 บาท/ลำ และขายสัตว์น้ำป้อนสู่โรงงานที่นั่นให้ทั้งหมด ซึ่งในแต่ละเดือนมีรายได้ราวเดือนละ 1.5-2.0 ล้านบาท/ลำ เพราะทรัพยากรยังอุดมสมบูรณ์ และประเทศอินโดนีเซียไม่นิยมทำประมงพื้นบ้าน แต่จะหันมาลงทุนธุรกิจต่อเนื่องและส่งสินค้าออกสู่ประเทศสิงคโปร์จึงมีความต้องการให้ประมงต่างชาติเข้ามามากขึ้น
ส่วนที่ประเทศมาเลเซียนั้นมีข้อได้เปรียบที่หากโควตาน้ำมันราคาถูก ซึ่งหากนำปลาขึ้นท่าเทียบเรือได้เดือนละ 3 ตัน ก็สามารถซื้อน้ำมันได้ราว 20,000-30,000 ลิตรซึ่งปัจจุบันยังคงอยู่ที่ลิตรละ 14 บาท รัฐบาลจึงควรใช้โอกาสนี้เร่งเจรจาช่วยเหลือประมงรายอื่นๆ ได้มีช่องทางทำกินต่อไป
ชี้ไม่เกิน 2 เดือนประมงสงขลาตายสนิท
นายประพร เอกอุรุ เปิดเผยว่า ประมงไทยได้รับความเดือดร้อนจากราคาน้ำมันตั้งแต่ประกาศลอยตัวราว 3 ปีก่อน ซึ่งปรับตัวสูงขึ้นทุกเดือน ทำให้อาชีพประมงก้าวสู่ขั้นวิกฤตขึ้นเรื่อยๆ ด้วยนอกจากปัจจัยราคาน้ำมันที่รัฐไม่สามารถควบคุมได้แล้ว ยังมีปัญหาสัตว์น้ำในอ่าวไทยเหลือน้อย อุปกรณ์ประมงปรับราคาขึ้นอีก 30% และยังมีปัญหาถูกกดราคาปลาเป็ดอีกด้วย ด้วยการรับซื้อถูกผูกขาดราคาด้วยบริษัทยักษ์ใหญ่เครือเจริญโภคภัณฑ์แต่เพียงผู้เดียวว่าจะให้ราคาเท่าไหร่ และไม่เป็นธรรมต่อพี่น้องชาวประมง โดยปัจจุบันราคาปลาเป็ดยังคงอยู่ที่กิโลกรัมละ 3-4 บาทเท่านั้น ทั้งที่ควรจะปรับขึ้นเป็น 7-8 บาท เพื่อให้สอดรับกับต้นทุนน้ำมันที่สูงขึ้น
“สถานการณ์ประมงตอนนี้น่าเป็นห่วงมาก เหลือเรือประมงประมงพื้นบ้านที่ยังมีทุนมีที่ดินก็ยังกัดฟันสู้ต่อเหลือแค่ 30% จนกว่าสายป่านจะขาด เชื่อว่าอีกไม่เกิน 2 เดือนเรือต้องหยุดทั้งหมดแน่ ซึ่งจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ทั้งระบบ ทั้งท่าเทียบเรือ แพปลา โรงงานน้ำแข็ง กลุ่มธุรกิจขายส่ง-ปลีก อุตสาหกรรมต่อเนื่องจากสัตว์น้ำ ประชาชนในท้องถิ่นที่เคยรับจ้างก็จะว่างงานมากขึ้น” นายประพรกล่าว
ผู้ประกอบการใต้เล็งปรับค่าขนส่ง
นายธีรศักดิ์ ชื่นจิตพิทักษ์ เจ้าของบริษัททักษิณขนส่ง จำกัด อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และบริษัทในเครือซึ่งให้บริการขนส่งสินค้าผ่านกรุงเทพฯ-มาเลเซียทั้งทางบกและรถไฟ กล่าวยอมรับว่าในขณะนี้ผู้ประกอบการหลายรายเตรียมที่จะปรับค่าขนส่งเช่นเดียวกันตน เนื่องจากไม่สามารถแบกรับต้นทุนเอาไว้ได้ทั้งหมดแล้ว เฉพาะในส่วนของทักษิณขนส่งเจ้าเดียวก็มีรถบรรทุกรับส่งสินค้าวันละ 30 – 40 คัน ใช้น้ำมันประมาณ 5,000 ลิตร ซึ่งแบกรับต้นทุนน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นกว่า 11 บาทนับจากการขอปรับราคาครั้งล่าสุดประมาณ 10% เมื่อราคาน้ำมันดีเซลลิตรละ 26 บาท
“ราคาน้ำมันในเดือนนี้ค่อนข้างจะเรียกว่าวิกฤตสำหรับผู้ประกอบการเลยทีเดียว และก็ยังมีแนวโน้มว่าจะพุ่งสูงขึ้นเหมือนอย่างที่หลายคนประมาณการณ์ว่าคงจะขึ้นถึงลิตรละ 50 บาท แต่ผู้ให้บริการขนส่งก็ไม่สามารถปรับค่าบริการได้ตามสถานการณ์ เพราะต้องรักษาลูกค้าเป็นหลัก และคุยกันนานกว่าจะปรับได้สักครั้งหนึ่ง ทำให้ทุกครั้งที่ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นต้องแบกรับภาระมาโดยตลอด และหาวิธีลดค่าใช้จ่ายเพื่อประคับประคองตัวไว้” นายธีรศักดิ์กล่าว
จี้ รฟท.เพิ่มหัวรถจักรพัฒนาระบบรางสู้วิกฤตน้ำมัน
ในภาวะที่ราคาน้ำมันทุบสถิติรายเดือนเช่นนี้ นายธีรศักดิ์มองว่า นอกจากรัฐจะหามาตรการช่วยเหลือในระยะสั้นแล้ว ก็ต้องมองถึงการแก้ปัญหาระยะยาวด้วย ซึ่งตนเล็งเห็นถึงการพัฒนาระบบรางรถไฟให้มีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องพูดถึงโครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่ซึ่งมีมูลค่ามหาศาล เพราะเป็นไปได้น้อยและยาก ด้วยปัญหาทางการเมืองทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อการแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศอย่างจริงจัง ซึ่งภายใต้ความวิกฤตของปัญหาน้ำมันในขณะนี้ขอแค่รัฐบาลและการรถไฟแห่งประเทศไทยเพิ่มหัวรถจักรให้เพียงพอต่อความต้องการ และซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้ก็เพียงพอแล้ว
ทั้งนี้ ปัจจุบันหัวรถจักรสามารถพ่วงตู้คอนเทรนเนอร์ได้ราว 40 ตู้ ต่างจากรถลากตู้คอนเทรนเนอร์ที่จำกัดอยู่ 1:1 และแม้ว่ารถไฟจะต้องใช้เวลานานกว่ารถยนต์แต่ก็ยังมีความนิยมแพร่หลาย เพราะปัจจุบันก็มีการขนส่งทางรถไฟจากสิงคโปร์-มาเลเซีย-หาดใหญ่-กรุงเทพฯ แต่ข้อจำกัดกลับอยู่ที่หัวรถจักรไม่เพียงพอเท่านั้นเอง
ขนส่งใหญ่เมิน NGV ชี้ทุนสูง-เสี่ยงขาดแคลน
ส่วนนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ประชาชนหันมาใช้ก๊าซ NGV เพื่อทดแทนการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศนั้น ตนยังมองว่าเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคต้องรับภาระค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงเอง เนื่องจากสถานีบริการยังไม่ครอบคลุม และผู้ประกอบการขนส่งเองก็ยังไม่อยากเพิ่มต้นทุนส่วนนี้โดยที่ยังไม่มีความมั่นใจ ซึ่งล่าสุดปั๊ม ปตท.ในหาดใหญ่ก็มีปัญหาให้บริการ NGV เนื่องจากระบบส่งก๊าซที่โรงไฟฟ้าขนอม จ.นครศรีธรรมราชขัดข้อง ทำให้ไม่สามารถผลิต NGV ส่งให้กับสถานีย่อยได้
นายธีรศักดิ์ กล่าวต่อว่า ราคาน้ำมันขนาดนี้การติด NGV ที่รัฐสนับสนุนนั้น ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะความไม่พร้อมและค่าใช้จ่ายที่สูง ล่าสุดเพื่อนผมนำรถเก๋งไปติดตั้งหมดเงินไป 5 แสนบาท แต่วิ่งได้ไม่ถึงสัปดาห์ ปั๊มให้บริการบอกว่าแก๊สหมด ซึ่งตรงนี้เป็นปัญหาใหญ่ของการใช้ NGV เลยว่า ตราบใดที่ยังไม่มีปั๊มบริการยังไม่เพียงพอ ผู้ประกอบการขนส่งก็ไม่สามารถเสี่ยงไปใช้ได้ ก็ต้องพึ่งพาน้ำมันเชื้อเพลิงกันต่อไปอย่างไม่มีทางเลือก
จี้ “นพดล” เจรจาเพื่อนบ้านเปิดน่านน้ำช่วย “เรือใหญ่”
นายประพร เอกอุรุ นายกสมาคมประมง จ.สงขลา และเจ้าของกิจการประมงขนาดใหญ่ กล่าวว่า จากภาวะราคาน้ำมันแพงและสัตว์น้ำในอ่าวไทยมีน้อย ทำให้เรือประมงขนาดใหญ่เสี่ยงลักลอบหาปลาในน่านน้ำต่างประเทศเพื่อความอยู่รอด แม้ว่าแต่ละปีจะถูกปล้น จับกุมและปรับเงินเสียเป็นร้อยล้านก็ตาม แต่นั่นไม่ใช่ทางออกที่ดีของชาวประมง
"ในฐานะที่ผมดำรงตำแหน่ง ส.ส.ประชาธิปัตย์ จ.สงขลา ได้ร่วมกับ ส.ส.ในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเลเพื่อร่วมนำปัญหาของพี่น้องชาวประมงเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและรัฐมนตรีครบทุกเรื่องตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยเร่งรัดให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศรับข้อเสนอเปิดโต๊ะเจรจากับรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้านทั้งอินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า และมาเลเซีย เพื่อเปิดทางให้เรือประมงไทยสามารถทำประมงในประเทศนั้นได้ถูกต้องและมีโอกาสเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ยังสามารถนำสัตว์น้ำป้อนให้กับโรงงานอุตสาหกรรมในไทยที่ประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบได้อีกด้วย แต่ในขณะนี้ก็ยังไม่มีเสียงตอบรับใดๆ"
นายประพร กล่าวต่อด้วยว่า ธุรกิจประมงที่ตนทำซึ่งยังอยู่ได้ในภาวะเช่นนี้ เพราะได้ทำจ้อยส์เวนเจอร์ซึ่งอาศัยความเชื่อถือกันกับนักธุรกิจเอกชนของประเทศอินโดนีเซียจำนวน 5 ลำ และมาเลเซียอีก 8 ลำ เพื่อทำประมงในน่านน้ำประเทศเหล่านั้น ซึ่งต้องนำสัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือพร้อมกับจ่ายภาษีราว 60,000 บาท/ลำ และขายสัตว์น้ำป้อนสู่โรงงานที่นั่นให้ทั้งหมด ซึ่งในแต่ละเดือนมีรายได้ราวเดือนละ 1.5-2.0 ล้านบาท/ลำ เพราะทรัพยากรยังอุดมสมบูรณ์ และประเทศอินโดนีเซียไม่นิยมทำประมงพื้นบ้าน แต่จะหันมาลงทุนธุรกิจต่อเนื่องและส่งสินค้าออกสู่ประเทศสิงคโปร์จึงมีความต้องการให้ประมงต่างชาติเข้ามามากขึ้น
ส่วนที่ประเทศมาเลเซียนั้นมีข้อได้เปรียบที่หากโควตาน้ำมันราคาถูก ซึ่งหากนำปลาขึ้นท่าเทียบเรือได้เดือนละ 3 ตัน ก็สามารถซื้อน้ำมันได้ราว 20,000-30,000 ลิตรซึ่งปัจจุบันยังคงอยู่ที่ลิตรละ 14 บาท รัฐบาลจึงควรใช้โอกาสนี้เร่งเจรจาช่วยเหลือประมงรายอื่นๆ ได้มีช่องทางทำกินต่อไป
ชี้ไม่เกิน 2 เดือนประมงสงขลาตายสนิท
นายประพร เอกอุรุ เปิดเผยว่า ประมงไทยได้รับความเดือดร้อนจากราคาน้ำมันตั้งแต่ประกาศลอยตัวราว 3 ปีก่อน ซึ่งปรับตัวสูงขึ้นทุกเดือน ทำให้อาชีพประมงก้าวสู่ขั้นวิกฤตขึ้นเรื่อยๆ ด้วยนอกจากปัจจัยราคาน้ำมันที่รัฐไม่สามารถควบคุมได้แล้ว ยังมีปัญหาสัตว์น้ำในอ่าวไทยเหลือน้อย อุปกรณ์ประมงปรับราคาขึ้นอีก 30% และยังมีปัญหาถูกกดราคาปลาเป็ดอีกด้วย ด้วยการรับซื้อถูกผูกขาดราคาด้วยบริษัทยักษ์ใหญ่เครือเจริญโภคภัณฑ์แต่เพียงผู้เดียวว่าจะให้ราคาเท่าไหร่ และไม่เป็นธรรมต่อพี่น้องชาวประมง โดยปัจจุบันราคาปลาเป็ดยังคงอยู่ที่กิโลกรัมละ 3-4 บาทเท่านั้น ทั้งที่ควรจะปรับขึ้นเป็น 7-8 บาท เพื่อให้สอดรับกับต้นทุนน้ำมันที่สูงขึ้น
“สถานการณ์ประมงตอนนี้น่าเป็นห่วงมาก เหลือเรือประมงประมงพื้นบ้านที่ยังมีทุนมีที่ดินก็ยังกัดฟันสู้ต่อเหลือแค่ 30% จนกว่าสายป่านจะขาด เชื่อว่าอีกไม่เกิน 2 เดือนเรือต้องหยุดทั้งหมดแน่ ซึ่งจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ทั้งระบบ ทั้งท่าเทียบเรือ แพปลา โรงงานน้ำแข็ง กลุ่มธุรกิจขายส่ง-ปลีก อุตสาหกรรมต่อเนื่องจากสัตว์น้ำ ประชาชนในท้องถิ่นที่เคยรับจ้างก็จะว่างงานมากขึ้น” นายประพรกล่าว
ผู้ประกอบการใต้เล็งปรับค่าขนส่ง
นายธีรศักดิ์ ชื่นจิตพิทักษ์ เจ้าของบริษัททักษิณขนส่ง จำกัด อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และบริษัทในเครือซึ่งให้บริการขนส่งสินค้าผ่านกรุงเทพฯ-มาเลเซียทั้งทางบกและรถไฟ กล่าวยอมรับว่าในขณะนี้ผู้ประกอบการหลายรายเตรียมที่จะปรับค่าขนส่งเช่นเดียวกันตน เนื่องจากไม่สามารถแบกรับต้นทุนเอาไว้ได้ทั้งหมดแล้ว เฉพาะในส่วนของทักษิณขนส่งเจ้าเดียวก็มีรถบรรทุกรับส่งสินค้าวันละ 30 – 40 คัน ใช้น้ำมันประมาณ 5,000 ลิตร ซึ่งแบกรับต้นทุนน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นกว่า 11 บาทนับจากการขอปรับราคาครั้งล่าสุดประมาณ 10% เมื่อราคาน้ำมันดีเซลลิตรละ 26 บาท
“ราคาน้ำมันในเดือนนี้ค่อนข้างจะเรียกว่าวิกฤตสำหรับผู้ประกอบการเลยทีเดียว และก็ยังมีแนวโน้มว่าจะพุ่งสูงขึ้นเหมือนอย่างที่หลายคนประมาณการณ์ว่าคงจะขึ้นถึงลิตรละ 50 บาท แต่ผู้ให้บริการขนส่งก็ไม่สามารถปรับค่าบริการได้ตามสถานการณ์ เพราะต้องรักษาลูกค้าเป็นหลัก และคุยกันนานกว่าจะปรับได้สักครั้งหนึ่ง ทำให้ทุกครั้งที่ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นต้องแบกรับภาระมาโดยตลอด และหาวิธีลดค่าใช้จ่ายเพื่อประคับประคองตัวไว้” นายธีรศักดิ์กล่าว
จี้ รฟท.เพิ่มหัวรถจักรพัฒนาระบบรางสู้วิกฤตน้ำมัน
ในภาวะที่ราคาน้ำมันทุบสถิติรายเดือนเช่นนี้ นายธีรศักดิ์มองว่า นอกจากรัฐจะหามาตรการช่วยเหลือในระยะสั้นแล้ว ก็ต้องมองถึงการแก้ปัญหาระยะยาวด้วย ซึ่งตนเล็งเห็นถึงการพัฒนาระบบรางรถไฟให้มีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องพูดถึงโครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่ซึ่งมีมูลค่ามหาศาล เพราะเป็นไปได้น้อยและยาก ด้วยปัญหาทางการเมืองทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อการแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศอย่างจริงจัง ซึ่งภายใต้ความวิกฤตของปัญหาน้ำมันในขณะนี้ขอแค่รัฐบาลและการรถไฟแห่งประเทศไทยเพิ่มหัวรถจักรให้เพียงพอต่อความต้องการ และซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้ก็เพียงพอแล้ว
ทั้งนี้ ปัจจุบันหัวรถจักรสามารถพ่วงตู้คอนเทรนเนอร์ได้ราว 40 ตู้ ต่างจากรถลากตู้คอนเทรนเนอร์ที่จำกัดอยู่ 1:1 และแม้ว่ารถไฟจะต้องใช้เวลานานกว่ารถยนต์แต่ก็ยังมีความนิยมแพร่หลาย เพราะปัจจุบันก็มีการขนส่งทางรถไฟจากสิงคโปร์-มาเลเซีย-หาดใหญ่-กรุงเทพฯ แต่ข้อจำกัดกลับอยู่ที่หัวรถจักรไม่เพียงพอเท่านั้นเอง
ขนส่งใหญ่เมิน NGV ชี้ทุนสูง-เสี่ยงขาดแคลน
ส่วนนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ประชาชนหันมาใช้ก๊าซ NGV เพื่อทดแทนการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศนั้น ตนยังมองว่าเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคต้องรับภาระค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงเอง เนื่องจากสถานีบริการยังไม่ครอบคลุม และผู้ประกอบการขนส่งเองก็ยังไม่อยากเพิ่มต้นทุนส่วนนี้โดยที่ยังไม่มีความมั่นใจ ซึ่งล่าสุดปั๊ม ปตท.ในหาดใหญ่ก็มีปัญหาให้บริการ NGV เนื่องจากระบบส่งก๊าซที่โรงไฟฟ้าขนอม จ.นครศรีธรรมราชขัดข้อง ทำให้ไม่สามารถผลิต NGV ส่งให้กับสถานีย่อยได้
นายธีรศักดิ์ กล่าวต่อว่า ราคาน้ำมันขนาดนี้การติด NGV ที่รัฐสนับสนุนนั้น ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะความไม่พร้อมและค่าใช้จ่ายที่สูง ล่าสุดเพื่อนผมนำรถเก๋งไปติดตั้งหมดเงินไป 5 แสนบาท แต่วิ่งได้ไม่ถึงสัปดาห์ ปั๊มให้บริการบอกว่าแก๊สหมด ซึ่งตรงนี้เป็นปัญหาใหญ่ของการใช้ NGV เลยว่า ตราบใดที่ยังไม่มีปั๊มบริการยังไม่เพียงพอ ผู้ประกอบการขนส่งก็ไม่สามารถเสี่ยงไปใช้ได้ ก็ต้องพึ่งพาน้ำมันเชื้อเพลิงกันต่อไปอย่างไม่มีทางเลือก