“หมอเลี้ยบ”ไอเดียกระฉูดเปิดแนวคิดเพิ่มประสิทธิภาพขนส่งสินค้าทั้งทางอากาศ-ทะเล สั่ง "การบินไทย" ตั้งบริษัทลูกทำ"แอร์คาร์โก้" ให้บริการขนส่งสินค้าเกษตร คาดเห็นแผนชัดในปีนี้ ส่วนทางทะเลเตรียมขยายกองเรือ-เพิ่มระวางสินค้าเกษตร หวังเพิ่มส่วนแบ่งตลาดให้สูงปัจจุบันที่อยู่ในระดับกว่า 10%
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า รัฐบาลมีแนวคิดที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ทั้งทางอากาศและทางทะเลให้สูงขึ้น ด้วยการเร่งผลักดันให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI จัดตั้งสายการบินที่ให้บริการด้านขนส่งสินค้าโดยเฉพาะ(แอร์คาร์โก้)ขึ้นมา เช่น สินค้าทางการเกษตร รวมถึงสินค้าที่มีความเปราะบาง มีเวลาจำกัดในการเก็บรักษา โดยใช้วิธีแยกมาตั้งเป็นบริษัทลูกของการบินไทย ซึ่งเชื่อว่าจะได้เห็นแผนการดำเนินการที่ชัดเจนภายในปีนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าการดำเนินการในขั้นปฏิบัติมีกระบวนการมาก คงต้องใช้เวลาอีกสักระยะจึงเห็นเป็นรูปธรรม
“เรื่องนี้เป็นนโยบายที่ได้มีการพูดคุยกัน และกระทรวงคมนาคมก็ได้เตรียมการผลักดันเรื่องนี้ ส่วนแอร์คาร์โก้ก็มีแนวคิดมาจากว่าทำอย่างไรที่เราจะให้สินค้าของเราโดยเฉพาะสินค้าเกษตร หรือสินค้าที่มีเวลาเก็บไม่นาน ออกไปตลาดโลกได้ ก็จะมีต่อยอดมาว่าอาจแยกเป็นสายการบิน เพื่อเป็นบริษัทลูก เพื่อทำเรื่องส่งสินค้า รวมทั้งมีศูนย์ที่มีแพ็คเกจสินค้าให้เหมาะสม เพื่อส่งต่อไปยังต่างประเทศด้วย โดยแนวทางเบื้องต้น คือ จะมีทั้งที่สนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมือง ส่วนในแง่การเตรียมการนั้น เป็นหน้าที่ของทางคณะกรรมการการบินไทยที่ต้องเร่งพัฒนา เพราะต้องยอมรับว่าสถานการณ์ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น การพัฒนาประสิทธิภาพ การลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ จึงถือว่าเป็นโจทย์ที่หนักและท้าทายในขณะนี้”นพ.สุรพงษ์กล่าว
ส่วนการขนส่งทางทะเลนั้น จะผลักดันการขยายกองเรือพาณิชย์ของไทย การเพิ่มระวางสินค้าเกษตร เพื่อรองรับการส่งออกสินค้าเกษตรที่จะมีเพิ่มมากขึ้นตามความต้องการตลาดโลก ซึ่งยอมรับว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่พูดคุยมานาน แต่ยังไม่มีการดำเนินการอย่างจริงจัง ดังนั้น จึงต้องเร่งรัด โดยกระทรวงคมนาคมจะเป็นผู้พิจารณาดำเนินการต่อไป
“ปัจจุบันนี้เราอาศัยการขนส่งทางทะเลและทางอากาศเป็นหลัก ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งการขนส่งทางทะเลนั้น มีสัดส่วนถึง 90% ของการส่งออกทั้งหมด หรือคิดเป็นมูลค่ามากกว่าปีละ 400,000 ล้านบาท แต่มีส่วนแบ่งทางการตลาดแค่ 10% เท่านั้น ก็ทำให้เสียโอกาส ดังนั้นจึงต้องขยายกองเรือพาณิชย์ของไทยให้แข่งขันได้ รวมถึงจะแก้ปัญหาขาดแคลนระวางเรือขนส่งสินค้าการเกษตร”
นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า ในสภาพแวดล้อมของโลกที่มีการแข่งขันทางการค้าเสรีที่แข่งขันกันรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา ไทยคงไม่สามารถเอาแต่ตั้งรับได้อีกต่อไป จึงจำเป็นต้องมีมาตรการเชิงรุก คือต้องเร่งปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ของประเทศ เตรียมพร้อมให้ผู้ประกอบการไทยรู้ถึงกฎระเบียบต่าง ๆ อย่างเท่าทัน และพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้แข่งขันได้ ซึ่งรัฐบาลจะเร่งส่งเสริมการดำเนินธุรกิจ ด้วยการใช้มาตรการภาษีและสนับสนุนแหล่งเงินทุน
“ถ้าดูโครงสร้างพื้นฐานของเราในปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า ยังไม่สามารถแข่งขันกับประเทศที่พัฒนาเรื่องนี้มาตลอดได้ โดยถ้าดูจากการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน ไทยเราอยู่อันดับ 29, 30, 31, 32 มาตลอด บางเรื่องเราก็แข่งขันได้ แต่ในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ไทยต่ำที่สุด คือจากที่มีทั้งหมด 55 ประเทศ เราอยู่อันดับที่ 48 ดังนั้นการเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อลดต้นทุนจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก”
อนึ่ง ปัจจุบันไทยพึ่งพาการขนส่งทางรถถึง 86% ของระบบขนส่งทั้งหมด ขณะที่พึ่งพาระบบรางแค่ 2% ส่วนขนส่งทางน้ำพึ่งพาเป็นอันดับสอง และทางอากาศ 1% แต่ละปีสิ้นเปลืองพลังงานด้านขนส่งมากถึง 1.2 ล้านล้านบาท ซึ่งส่วนนี้เป็นค่าน้ำมันสำเร็จรูปถึง 800,000 ล้านบาท หรือ 10% ของจีดีพี รวมแล้วไทยมีต้นทุนโลจิสติกส์สูงถึง 16% ขณะที่ญี่ปุ่นมีเพียง 8%เท่านั้นทั้งนี้ เห็นว่าไทยเป็นประเทศที่มียุทธศาสตร์ที่ตั้งที่ดี หากใช้ประโยชน์ในเส้นทางสายเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่เชื่อมทั้งจากเหนือ-ใต้ และตะวันออก-ตะวันตก ก็จะทำให้ไทยได้เปรียบในการแข่งขันมากขึ้นได้
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า รัฐบาลมีแนวคิดที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ทั้งทางอากาศและทางทะเลให้สูงขึ้น ด้วยการเร่งผลักดันให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI จัดตั้งสายการบินที่ให้บริการด้านขนส่งสินค้าโดยเฉพาะ(แอร์คาร์โก้)ขึ้นมา เช่น สินค้าทางการเกษตร รวมถึงสินค้าที่มีความเปราะบาง มีเวลาจำกัดในการเก็บรักษา โดยใช้วิธีแยกมาตั้งเป็นบริษัทลูกของการบินไทย ซึ่งเชื่อว่าจะได้เห็นแผนการดำเนินการที่ชัดเจนภายในปีนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าการดำเนินการในขั้นปฏิบัติมีกระบวนการมาก คงต้องใช้เวลาอีกสักระยะจึงเห็นเป็นรูปธรรม
“เรื่องนี้เป็นนโยบายที่ได้มีการพูดคุยกัน และกระทรวงคมนาคมก็ได้เตรียมการผลักดันเรื่องนี้ ส่วนแอร์คาร์โก้ก็มีแนวคิดมาจากว่าทำอย่างไรที่เราจะให้สินค้าของเราโดยเฉพาะสินค้าเกษตร หรือสินค้าที่มีเวลาเก็บไม่นาน ออกไปตลาดโลกได้ ก็จะมีต่อยอดมาว่าอาจแยกเป็นสายการบิน เพื่อเป็นบริษัทลูก เพื่อทำเรื่องส่งสินค้า รวมทั้งมีศูนย์ที่มีแพ็คเกจสินค้าให้เหมาะสม เพื่อส่งต่อไปยังต่างประเทศด้วย โดยแนวทางเบื้องต้น คือ จะมีทั้งที่สนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมือง ส่วนในแง่การเตรียมการนั้น เป็นหน้าที่ของทางคณะกรรมการการบินไทยที่ต้องเร่งพัฒนา เพราะต้องยอมรับว่าสถานการณ์ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น การพัฒนาประสิทธิภาพ การลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ จึงถือว่าเป็นโจทย์ที่หนักและท้าทายในขณะนี้”นพ.สุรพงษ์กล่าว
ส่วนการขนส่งทางทะเลนั้น จะผลักดันการขยายกองเรือพาณิชย์ของไทย การเพิ่มระวางสินค้าเกษตร เพื่อรองรับการส่งออกสินค้าเกษตรที่จะมีเพิ่มมากขึ้นตามความต้องการตลาดโลก ซึ่งยอมรับว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่พูดคุยมานาน แต่ยังไม่มีการดำเนินการอย่างจริงจัง ดังนั้น จึงต้องเร่งรัด โดยกระทรวงคมนาคมจะเป็นผู้พิจารณาดำเนินการต่อไป
“ปัจจุบันนี้เราอาศัยการขนส่งทางทะเลและทางอากาศเป็นหลัก ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งการขนส่งทางทะเลนั้น มีสัดส่วนถึง 90% ของการส่งออกทั้งหมด หรือคิดเป็นมูลค่ามากกว่าปีละ 400,000 ล้านบาท แต่มีส่วนแบ่งทางการตลาดแค่ 10% เท่านั้น ก็ทำให้เสียโอกาส ดังนั้นจึงต้องขยายกองเรือพาณิชย์ของไทยให้แข่งขันได้ รวมถึงจะแก้ปัญหาขาดแคลนระวางเรือขนส่งสินค้าการเกษตร”
นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า ในสภาพแวดล้อมของโลกที่มีการแข่งขันทางการค้าเสรีที่แข่งขันกันรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา ไทยคงไม่สามารถเอาแต่ตั้งรับได้อีกต่อไป จึงจำเป็นต้องมีมาตรการเชิงรุก คือต้องเร่งปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ของประเทศ เตรียมพร้อมให้ผู้ประกอบการไทยรู้ถึงกฎระเบียบต่าง ๆ อย่างเท่าทัน และพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้แข่งขันได้ ซึ่งรัฐบาลจะเร่งส่งเสริมการดำเนินธุรกิจ ด้วยการใช้มาตรการภาษีและสนับสนุนแหล่งเงินทุน
“ถ้าดูโครงสร้างพื้นฐานของเราในปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า ยังไม่สามารถแข่งขันกับประเทศที่พัฒนาเรื่องนี้มาตลอดได้ โดยถ้าดูจากการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน ไทยเราอยู่อันดับ 29, 30, 31, 32 มาตลอด บางเรื่องเราก็แข่งขันได้ แต่ในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ไทยต่ำที่สุด คือจากที่มีทั้งหมด 55 ประเทศ เราอยู่อันดับที่ 48 ดังนั้นการเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อลดต้นทุนจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก”
อนึ่ง ปัจจุบันไทยพึ่งพาการขนส่งทางรถถึง 86% ของระบบขนส่งทั้งหมด ขณะที่พึ่งพาระบบรางแค่ 2% ส่วนขนส่งทางน้ำพึ่งพาเป็นอันดับสอง และทางอากาศ 1% แต่ละปีสิ้นเปลืองพลังงานด้านขนส่งมากถึง 1.2 ล้านล้านบาท ซึ่งส่วนนี้เป็นค่าน้ำมันสำเร็จรูปถึง 800,000 ล้านบาท หรือ 10% ของจีดีพี รวมแล้วไทยมีต้นทุนโลจิสติกส์สูงถึง 16% ขณะที่ญี่ปุ่นมีเพียง 8%เท่านั้นทั้งนี้ เห็นว่าไทยเป็นประเทศที่มียุทธศาสตร์ที่ตั้งที่ดี หากใช้ประโยชน์ในเส้นทางสายเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่เชื่อมทั้งจากเหนือ-ใต้ และตะวันออก-ตะวันตก ก็จะทำให้ไทยได้เปรียบในการแข่งขันมากขึ้นได้