มาตรา 201 ก่อนเข้ารับหน้าที่ผู้พิพากษาและตุลาการต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้
“ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธยด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยปราศจากอคติทั้งปวง เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ประชาชน และความสงบสุขแห่งราชอาณาจักร ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายทุกประการ”
ด้วยคำปฏิญาณนี้เราจึงต้องเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม และศาลสถิตยุติธรรม
ดังนั้นทันทีที่คำพิพากษาของศาลแพ่ง มีคำสั่งให้แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ เปิดพื้นที่การจราจรบนถนนพระราม 5 และถนนพิษณุโลก ให้โจทก์ทั้ง 10 รถยนต์โดยสาธารณะ (รถเมล์) และประชาชนสามารถผ่านไปมาได้โดยสะดวก และห้ามมิให้จำเลยทั้ง 6 กับพวกใช้เครื่องขยายเสียงในลักษณะที่เป็นการรบกวนการเรียนการสอนของโรงเรียนราชวินิต มัธยม ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ระหว่างเวลา 07.30-16.30 น.ไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
แกนนำพันธมิตรฯ ทั้ง 6 คนที่ตกเป็นจำเลยของคณะครูโรงเรียนราชวินิต มัธยมทั้งสิบที่อ้างว่าเป็นผู้เดือดร้อนจะต้องน้อมรับและได้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอย่างเคร่งครัด
แต่การแสวงหาความยุติธรรมย่อมเป็นสัญชาตญาณพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน ดังนั้นการที่พันธมิตรฯ ไม่มีโอกาสซักค้านพยานและแสดงเหตุผลของตัวเองก่อนที่ศาลแพ่งจะออกคำสั่ง จึงจำเป็นต้องยื่นคำร้องคัดค้านเพื่อแสดงเหตุผลและความจำเป็นของตัวเองในการใช้สิทธิการชุมนุม แม้จะรู้อยู่แล้วว่า ศาลใดออกคำสั่ง ศาลย่อมไม่เพิกถอนคำสั่งของตนเอง
อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า ศาลแพ่งเองก็รู้ว่า คำสั่งนั้นสร้าง “ความไม่เข้าใจ” “ขัดข้อง” “หม่นหมอง” “มึนงง” ให้กับหลายฝ่าย ดังนั้นในวันที่ฝ่ายพันธมิตรฯ ได้ไปยื่นคำร้องขอยกเลิกคำสั่งศาลนั้น ศาลจึงได้ชี้แจงว่า ไม่ได้เป็นการสั่งให้รื้อเวที หรือยุติการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ
ศาลไม่ได้สั่งให้ “รื้อเวที” และ “เลิกการชุมนุม” จริงครับ เพราะไม่มีอำนาจอะไรที่จะให้ศาลแพ่งมีคำสั่งเช่นนั้น
แต่ศาลแค่สั่งให้พันธมิตรฯ เปิดถนนพระราม 5 และถนนพิษณุโลก สั่งให้งดใช้เครื่องขยายเสียง
แล้วพันธมิตรฯ จะต้องทำอย่างไรเพื่อจะเปิดถนน ใช่หรือไม่ว่า คำตอบก็คือ พันธมิตรฯ จะต้อง “รื้อเวที” เพราะเวทีตั้งอยู่บนถนน และพันธมิตรฯ จะชุมนุมอยู่ได้อย่างไรโดยไม่มีเครื่องขยายเสียง หรือว่าเราจะต้องยืนชุมนุมโดยการนิ่งเงียบ นั่งสมาธิ
คำสั่งของศาลที่บอกให้ “เปิดถนน” กับ “ห้ามใช้เครื่องขยายเสียง” จะแตกต่างกับการให้สั่งให้ “รื้อเวที” และ “เลิกชุมนุม” อย่างไร
คำถามก็คือว่า นับแต่นี้ไปการชุมนุมซึ่งเป็นการใช้สิทธิของประชาชนตามกฎหมายรัฐธรรมนูญในประเทศไทยจะเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะไม่ว่า ใครจะจัดการชุมนุมขึ้นที่ไหน ก็จะต้องมีผู้ได้รับความเดือดร้อน และทุกคนมีสิทธิที่จะใช้บรรทัดฐานของศาลแพ่งเพื่อให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองและให้ผู้ชุมนุมยุติการชุมนุมอย่างทันท่วงทีได้
มาตรา 63 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก
เมื่อมีผู้สามารถอ้างว่าเป็นผู้เดือดร้อนต่อศาลแพ่งเพื่อยับยั้งการชุมนุมของประชาชนจำนวนมาก โดยไม่ต้องคำนึงถึงประโยชน์จากการชุมนุม กับสิทธิของผู้ที่อ้างสิทธิว่าสิ่งไหนที่ก่อให้เกิดต่อประโยชน์ส่วนรวมมากกว่ากัน สิทธิเสรีภาพของมหาชน ตามมาตรา 63 นี้ก็ย่อมจะไม่มีความหมายอีกต่อไป
แล้วคดีแพ่งคืออะไร
คดีแพ่งถือว่ามีผลกระทบระหว่างเอกชนกับเอกชนคู่กรณีเท่านั้น และหากเป็นกรณีที่เป็นข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้งระหว่างเอกชนกับรัฐก็ต้องอยู่ในฐานะที่เท่าเทียมกันไม่มีฝ่ายใดที่มีอำนาจหรือสิทธิพิเศษเหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นจะต้องเป็นความเสียหายต่อส่วนตัวของคู่กรณีไม่กระทบกระเทือนต่อประโยชน์สาธารณะของมหาชนส่วนรวม
ดังนั้นคำสั่งของศาลแพ่งจึงมีข้อผูกพันระหว่างผู้ฟ้องคือครูโรงเรียนราชวินิต 10 คน และจำเลยคือฝ่ายพันธมิตรฯ เพียง 6 คนเท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมถึงบุคคลทั่วไป ใช่หรือไม่ว่า ประชาชนโดยทั่วไปยังมีสิทธิที่จะชุมนุมบนท้องถนนหน้าทำเนียบรัฐบาล บริเวณถนนพิษณุโลกและพระราม 5 ได้
นอกจากนั้นยังมีความเห็นของผู้ใช้นามว่า “ดุลย์พากษ์” ในเว็บไซต์ www.manager.co.th ที่น่ารับฟังฟังดังนี้
1. ประมวลกฎหมายแพ่งเป็นบทบัญญัติทางแพ่งระหว่างบุคคล สิทธิในทางแพ่งเป็นสิทธิส่วนบุคคล แต่สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะสิทธิในการชุมนุมเป็นสิทธิมหาชนกับรัฐ จึงใหญ่กว่าสิทธิส่วนบุคคล จะอ้างสิทธิส่วนบุคคลไปลบล้างสิทธิเสรีภาพของมหาชนตามรัฐธรรมนูญไม่ได้
2. ที่ศาลวินิจฉัยว่าการชุมนุมเปิดเครื่องเสียงเป็นการใช้สิทธิที่มีแต่จะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นตามมาตรา 421 นั้น หมายถึงสิทธิทางแพ่งตามประมวลกฎหมายแพ่ง ไม่ใช่สิทธิตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นสิทธิคนละประเภทกัน และแท้จริงแล้วไม่ใช่สิทธิที่มีแต่จะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หากเป็นประโยชน์ต่อชาติและประชาชนโดยแท้ โดยผู้ชุมนุมต้องเสียสละและเสี่ยงภัยเองทั้งสิ้น การใช้สิทธิชุมนุมเป็นประโยชน์แก่โจทก์ทุกคนด้วย จึงไม่ใช่กรณีตามมาตรา 421 ดังที่ศาลวินิจฉัย
3.รัฐธรรมนูญมาตรา 63 รับรองว่าจะจำกัดสิทธิชุมนุมไม่ได้ เว้นแต่จะอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และตามบทบัญญัติที่ว่านี้บังคับว่าต้องเพื่อการคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ คือต้องคุ้มครอง “ประชาชน” ไม่ใช่ “บุคคล” อันเป็นเอกชนคือพวกโจทก์ ทั้งปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายจำกัดสิทธิที่ว่านี้ ที่ศาลอ้างมาตรา 421 แห่งประมวลแพ่ง ไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญมาตรา 63 แต่อย่างใด
4.ในปัญหาข้อเท็จจริง มีครูนักเรียนโรงเรียนอีกหลายคนไปเบิกความต่อศาลหักล้างฝ่ายโจทก์ เช่น มีทางอื่นอีกหลายทางเข้าออกไป เครื่องเสียงที่เปิดดังน้อยกว่าเสียงรถยนต์เสียอีก ชอบที่จะต้องหยิบยกขึ้นชั่งน้ำหนักด้วย เพราะรับฟังได้
อย่างไรก็ตาม อุทาหรณ์จากกรณีนี้ ไม่ได้ทำให้ผมสิ้นหวังเสียทีเดียว เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ผมได้ไปกราบไหว้ขอที่พึ่งจาก “ศาลเสด็จเตี่ย” ใกล้สถานที่ชุมนุม
เพราะจากกรณีถุงขนม 2 ล้าน ก็พอทำให้เราเชื่อได้ว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์มีอยู่จริง
“ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธยด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยปราศจากอคติทั้งปวง เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ประชาชน และความสงบสุขแห่งราชอาณาจักร ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายทุกประการ”
ด้วยคำปฏิญาณนี้เราจึงต้องเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม และศาลสถิตยุติธรรม
ดังนั้นทันทีที่คำพิพากษาของศาลแพ่ง มีคำสั่งให้แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ เปิดพื้นที่การจราจรบนถนนพระราม 5 และถนนพิษณุโลก ให้โจทก์ทั้ง 10 รถยนต์โดยสาธารณะ (รถเมล์) และประชาชนสามารถผ่านไปมาได้โดยสะดวก และห้ามมิให้จำเลยทั้ง 6 กับพวกใช้เครื่องขยายเสียงในลักษณะที่เป็นการรบกวนการเรียนการสอนของโรงเรียนราชวินิต มัธยม ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ระหว่างเวลา 07.30-16.30 น.ไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
แกนนำพันธมิตรฯ ทั้ง 6 คนที่ตกเป็นจำเลยของคณะครูโรงเรียนราชวินิต มัธยมทั้งสิบที่อ้างว่าเป็นผู้เดือดร้อนจะต้องน้อมรับและได้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอย่างเคร่งครัด
แต่การแสวงหาความยุติธรรมย่อมเป็นสัญชาตญาณพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน ดังนั้นการที่พันธมิตรฯ ไม่มีโอกาสซักค้านพยานและแสดงเหตุผลของตัวเองก่อนที่ศาลแพ่งจะออกคำสั่ง จึงจำเป็นต้องยื่นคำร้องคัดค้านเพื่อแสดงเหตุผลและความจำเป็นของตัวเองในการใช้สิทธิการชุมนุม แม้จะรู้อยู่แล้วว่า ศาลใดออกคำสั่ง ศาลย่อมไม่เพิกถอนคำสั่งของตนเอง
อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า ศาลแพ่งเองก็รู้ว่า คำสั่งนั้นสร้าง “ความไม่เข้าใจ” “ขัดข้อง” “หม่นหมอง” “มึนงง” ให้กับหลายฝ่าย ดังนั้นในวันที่ฝ่ายพันธมิตรฯ ได้ไปยื่นคำร้องขอยกเลิกคำสั่งศาลนั้น ศาลจึงได้ชี้แจงว่า ไม่ได้เป็นการสั่งให้รื้อเวที หรือยุติการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ
ศาลไม่ได้สั่งให้ “รื้อเวที” และ “เลิกการชุมนุม” จริงครับ เพราะไม่มีอำนาจอะไรที่จะให้ศาลแพ่งมีคำสั่งเช่นนั้น
แต่ศาลแค่สั่งให้พันธมิตรฯ เปิดถนนพระราม 5 และถนนพิษณุโลก สั่งให้งดใช้เครื่องขยายเสียง
แล้วพันธมิตรฯ จะต้องทำอย่างไรเพื่อจะเปิดถนน ใช่หรือไม่ว่า คำตอบก็คือ พันธมิตรฯ จะต้อง “รื้อเวที” เพราะเวทีตั้งอยู่บนถนน และพันธมิตรฯ จะชุมนุมอยู่ได้อย่างไรโดยไม่มีเครื่องขยายเสียง หรือว่าเราจะต้องยืนชุมนุมโดยการนิ่งเงียบ นั่งสมาธิ
คำสั่งของศาลที่บอกให้ “เปิดถนน” กับ “ห้ามใช้เครื่องขยายเสียง” จะแตกต่างกับการให้สั่งให้ “รื้อเวที” และ “เลิกชุมนุม” อย่างไร
คำถามก็คือว่า นับแต่นี้ไปการชุมนุมซึ่งเป็นการใช้สิทธิของประชาชนตามกฎหมายรัฐธรรมนูญในประเทศไทยจะเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะไม่ว่า ใครจะจัดการชุมนุมขึ้นที่ไหน ก็จะต้องมีผู้ได้รับความเดือดร้อน และทุกคนมีสิทธิที่จะใช้บรรทัดฐานของศาลแพ่งเพื่อให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองและให้ผู้ชุมนุมยุติการชุมนุมอย่างทันท่วงทีได้
มาตรา 63 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก
เมื่อมีผู้สามารถอ้างว่าเป็นผู้เดือดร้อนต่อศาลแพ่งเพื่อยับยั้งการชุมนุมของประชาชนจำนวนมาก โดยไม่ต้องคำนึงถึงประโยชน์จากการชุมนุม กับสิทธิของผู้ที่อ้างสิทธิว่าสิ่งไหนที่ก่อให้เกิดต่อประโยชน์ส่วนรวมมากกว่ากัน สิทธิเสรีภาพของมหาชน ตามมาตรา 63 นี้ก็ย่อมจะไม่มีความหมายอีกต่อไป
แล้วคดีแพ่งคืออะไร
คดีแพ่งถือว่ามีผลกระทบระหว่างเอกชนกับเอกชนคู่กรณีเท่านั้น และหากเป็นกรณีที่เป็นข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้งระหว่างเอกชนกับรัฐก็ต้องอยู่ในฐานะที่เท่าเทียมกันไม่มีฝ่ายใดที่มีอำนาจหรือสิทธิพิเศษเหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นจะต้องเป็นความเสียหายต่อส่วนตัวของคู่กรณีไม่กระทบกระเทือนต่อประโยชน์สาธารณะของมหาชนส่วนรวม
ดังนั้นคำสั่งของศาลแพ่งจึงมีข้อผูกพันระหว่างผู้ฟ้องคือครูโรงเรียนราชวินิต 10 คน และจำเลยคือฝ่ายพันธมิตรฯ เพียง 6 คนเท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมถึงบุคคลทั่วไป ใช่หรือไม่ว่า ประชาชนโดยทั่วไปยังมีสิทธิที่จะชุมนุมบนท้องถนนหน้าทำเนียบรัฐบาล บริเวณถนนพิษณุโลกและพระราม 5 ได้
นอกจากนั้นยังมีความเห็นของผู้ใช้นามว่า “ดุลย์พากษ์” ในเว็บไซต์ www.manager.co.th ที่น่ารับฟังฟังดังนี้
1. ประมวลกฎหมายแพ่งเป็นบทบัญญัติทางแพ่งระหว่างบุคคล สิทธิในทางแพ่งเป็นสิทธิส่วนบุคคล แต่สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะสิทธิในการชุมนุมเป็นสิทธิมหาชนกับรัฐ จึงใหญ่กว่าสิทธิส่วนบุคคล จะอ้างสิทธิส่วนบุคคลไปลบล้างสิทธิเสรีภาพของมหาชนตามรัฐธรรมนูญไม่ได้
2. ที่ศาลวินิจฉัยว่าการชุมนุมเปิดเครื่องเสียงเป็นการใช้สิทธิที่มีแต่จะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นตามมาตรา 421 นั้น หมายถึงสิทธิทางแพ่งตามประมวลกฎหมายแพ่ง ไม่ใช่สิทธิตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นสิทธิคนละประเภทกัน และแท้จริงแล้วไม่ใช่สิทธิที่มีแต่จะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หากเป็นประโยชน์ต่อชาติและประชาชนโดยแท้ โดยผู้ชุมนุมต้องเสียสละและเสี่ยงภัยเองทั้งสิ้น การใช้สิทธิชุมนุมเป็นประโยชน์แก่โจทก์ทุกคนด้วย จึงไม่ใช่กรณีตามมาตรา 421 ดังที่ศาลวินิจฉัย
3.รัฐธรรมนูญมาตรา 63 รับรองว่าจะจำกัดสิทธิชุมนุมไม่ได้ เว้นแต่จะอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และตามบทบัญญัติที่ว่านี้บังคับว่าต้องเพื่อการคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ คือต้องคุ้มครอง “ประชาชน” ไม่ใช่ “บุคคล” อันเป็นเอกชนคือพวกโจทก์ ทั้งปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายจำกัดสิทธิที่ว่านี้ ที่ศาลอ้างมาตรา 421 แห่งประมวลแพ่ง ไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญมาตรา 63 แต่อย่างใด
4.ในปัญหาข้อเท็จจริง มีครูนักเรียนโรงเรียนอีกหลายคนไปเบิกความต่อศาลหักล้างฝ่ายโจทก์ เช่น มีทางอื่นอีกหลายทางเข้าออกไป เครื่องเสียงที่เปิดดังน้อยกว่าเสียงรถยนต์เสียอีก ชอบที่จะต้องหยิบยกขึ้นชั่งน้ำหนักด้วย เพราะรับฟังได้
อย่างไรก็ตาม อุทาหรณ์จากกรณีนี้ ไม่ได้ทำให้ผมสิ้นหวังเสียทีเดียว เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ผมได้ไปกราบไหว้ขอที่พึ่งจาก “ศาลเสด็จเตี่ย” ใกล้สถานที่ชุมนุม
เพราะจากกรณีถุงขนม 2 ล้าน ก็พอทำให้เราเชื่อได้ว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์มีอยู่จริง