รัฐบาลเมินใช้ระบบรัฐสภาแก้ปัญหารีบชิงเสนอร่าง พ.ร.ฎ.ปิดประชุมสภาฯ 28 มิ.ย. พร้อมมีหนังสือถึงเลขาฯ วุฒิฯ ไม่พร้อมให้ 61 ส.ว.อภิปรายตามญัตติที่เสนอ “คำนูณ” ผิดหวังถูกรัฐบาลปัดซักฟอก ระบุจงใจขัดรัฐธรรมนูญ ทำประชาชนเสื่อมศรัทธา หันมาหาประชาธิปไตยรูปแบบใหม่ตามแนวทางพันธมิตรฯ ขณะที่ฝ่ายค้านไม่สนมีมติยื่นซักฟอก “สมัคร” พร้อม 7 รมต. “เฉลิม” ติดหางเลขหลังปากดีท้าทาย พร้อมเตรียมยื่นญัตติวันนี้ ด้าน “ชัย” ประกาศรอรับญัตติฝ่ายค้านเต็มที่ เผย ส.ส.อีสาน พปช.หนุน ปชป.ยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ อ้างเพื่อลดกระแส
ที่สุดรัฐบาลก็เผยธาตุแท้ออกมาให้เห็นชัดเจนอีกครั้งด้วยการปฎิเสธที่จะใช้ระบบรัฐสภาเพื่อแก้ปัญหาประเทศชาติที่รุมเร้าในทุกด้าน ทั้งที่ก่อนหน้าที่คนในรัฐบาลออกมาเรียกร้องให้ใช้กลไกรัฐสภามาแก้วิกฤตการเมือง แต่พอฝ่ายค้าน จะยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็รีบเสนอพระราชกฤษฎิกาปิดสมัยประชุมสภาวิสามัญ และยังปฎิเสธที่จะให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) อภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ ทั้งที่ได้ยื่นญัตติดังกล่าวไปแล้ว
โดยล่าสุดวานนี้ (17 มิ.ย.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเหตุชอบร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา โดยนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษ๋กประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ครม.มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสนัยวิสามัญในวันที่ 28 มิ.ย.2551 เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า สำหรับกรณีที่ ส.ว.61 คนได้ยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทึ่วไปเกี่ยวกับประเด็นการบริหารราชการแผ่นดินของ ครม. เพื่อให้ ชี้แจงปัญหาต่างๆ ต่อที่ประชุมวุฒิสภา โดยกำหนดให้ชี้แจงข้อเท็จจริงในวันที่ 23 มิ.ย. นี้นั้น ครม.ได้รับทรายแล้ว แต่นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ ส่วนที่เกี่ยวข้องทำหนังสือแจ้งทางสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาให้ทราบว่า เนื่องจาก ครม.ติดภารกิจอยู่ระหว่างการเตรียมการเพื่อการประชุมพิจารณางบประมาณปี 2552 ในวันที่ 25 มิ.ย.นี้ จึงไม่พร้อมที่จะไปแถลงหรือชี้แจงญัตติดังกล่าวได้
"คำนูณ"ชี้รัฐบาลจงใจขัด รธน.
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ได้ทราบว่า มีการทำหนังสือจากสำนักนายกรัฐมนตรี ถึงเลขาธิการวุฒิสภาแล้วกรณีที่รัฐบาลปฎิเสธที่จะให้วุฒิสภาฯอภิปรายทั่วไปตามญัตติที่ 61 ส.ว.เสนอไป เมื่อเป็นเช่นนี้จะมีการหารือกันในที่ประชุมวุฒิสภาวันศุกร์ที่ 20 มิ.ย.นี้ โดยประธานจะต้องแจ้งหนังสือที่ชี้แจงเหตุขัดข้องจาก ครม.ให้ที่ประชุมวุฒิสภาทราบ ซึ่งก็คงจะได้หารือหาข้อสรุปกันว่า ในวันจันทร์ที่ 23 มิ.ย.นี้ จะดำเนินการต่อไปอย่างไร
สำหรับความเห็นส่วนตัว มาตรา 161 ของรัฐธรรมนูญที่เปิดโอกาสให้ ส.ว.ยื่นญัตติอภิปรายทั่วไปนั้น เป็นเรื่องที่ขอให้ คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริง หรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหาราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติ เมื่อ ครม.ไม่มาเสียแล้ว การอภิปราบฝ่ายเดียวก็ไม่น่าจะเกิดประโยชน์ อย่างไรก็ดี คงจะต้องรอความเห็นของสมาชิกท่านอื่นที่ร่วมลงชื่อยื่นญัตติด้วย
นายคำนูณ กล่าวอีกว่า แม้มาตรา 161 จะไม่ได้ไม่กำหนดให้รัฐมนตรี ต้องมาชี้แจง แต่ในเมื่อรัฐธรรมนูญนี้ ได้ให้สิทธิ ส.ว.ในการเปิดอภิปรายทั่วไป รัฐบาลควรที่จะต้องสนองสิทธินั้นด้วยการมาชี้แจง เพราะสิทธิและหน้าที่เป็นของคู่กัน และเมื่อดูมาตรา 162 ที่กำหนดให้รัฐมนตรีต้องมาชี้แจงเมื่อมีการตั้งกระทู้ถามและเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ โปรดสังเกตว่า แม้แต่การตั้งกระทู้ยังให้รัฐบาลต้องมาชี้แจง เพราะฉะนั้นการเปิดอภิปรายทั่วไปเป็นเรื่องใหญ่กว่า รัฐบาลยิ่งควรจะต้องมาชี้แจง จึงมีความเห็นว่า รัฐบาลชุดนี้จงใจปฏิบัติในทางที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
ระบุพันธมิตรฯ ชุมนุมคือ ปชต.รูปแบบใหม่
“เป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างยิ่ง ที่รัฐบาลประเมินสถานการณ์ต่ำเกินไป แทนที่จะใช้เวทีรัฐสภา เป็นที่บรรเทาปัญหา ไม่ว่าจะเป็นตามมาตรา 161 หรือมาตรา 179 รัฐบาลกลับไม่ทำ ผลเสียหายที่จะเกิดขึ้น ก็คือ คนจะมองได้ว่าระบบรัฐสภา ไม่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤติของประเทศได้ ขณะนี้ สิ่งที่รัฐบาลและนักการเมืองในระบบ ควรจะต้องสังวรณ์ให้มาก คือ เวทีของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่เชิงสะพานมัฆวานนั้น มองให้ลึกแล้ว ไม่ใช่เป็นเพียงการเรียกร้องต่อสู้ของคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น หากแต่กำลังเป็นการก่อรูปของการเมืองแบบใหม่ ที่ไม่ใช่เป็นการเมืองแบบตัวแทน หากแต่เป็นการเมืองภาคประชาชนที่ใช้สิทธิโดยตรง”
นายคำนูณ กล่าวว่า หากมองจากแว่นของระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทน อาจจะเห็นได้ว่า ไม่เหมาะสม ไม่มีกฎเกณฑ์ แต่หามองอย่างทำใจให้ว่าง เราจะเห็นได้ว่า เป็นการก่อรูปของประชาธิปไตยแบบใหม่ที่น่าสนใจ การที่คนกลุ่มหนึ่งยืนหยัดตากแดดตากฝนได้นานนับเดือน มาจากทั่วสารทิศ ไม่ใช่เรื่องที่ควรละเลย หากประชาธิปไตยแบบตัวแทนไม่สามารถพิสูจน์ตัวเองให้เห็นว่า สามารถแก้ปัญหาได้ จะทำให้ประชาชนจำนวนมากเสื่อมศรัทธาในระบบประชาธิปไตยตัวแทน และหันไปให้ความสนใจกับการเมืองรูปแบบใหม่ที่ก่อตัวขึ้น
เปรยอาจร่วมฝ่ายค้านเปิดวิสามัญ
สำหรับหนทางต่อไปของนักการเมืองในระบบ คือ ส.ว.และ ส.ส.ก็จะต้องพิจารณาว่า จะสามารถร่วมกันผลักดันให้มีการเปิดสภาสมัยวิสามัญอีกครั้ง ตามมาตรา 129 ของรัฐธรรมนูญ หรือไม่ เชื่อว่าในส่วนของ ส.ว.กลุ่ม 61 คน จะได้เริ่มหารือกันในเย็นวันพฤหัสฯ ที่จะถึงนี้ ตามที่ได้นัดหมายกันไว้ก่อน ทั้งนี้ จะมีการหารือกันว่า ในกรณีที่ ครม.ไม่มาชี้แจงในการประชุมวันที่ 23 มิ.ย.เราจะพูดฝ่ายเดียวหรือไม่ และประเด็นที่ 2 จะหารือว่าสามารถเปิดอภิปรายตามมาตรา 129 หรือไม่
ฝ่ายค้านมีมติยื่นญัตติฟันสมัคร
ด้าน พรรคประชาธิปัตย์ วันเดียวกันมีการประชุมแกนนำและ ส.ส.ของพรรค เพื่อพิจารณารายชื่อ ครม.ที่จะถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยใช้เวลาในการหารือกว่า 4 ชั่วโมง หลังการประชุมนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวพรรคมีมติที่จะอภิปรายนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม โดยเนื้อหาเน้นการทำหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีฐานความผิดทั้งหมด 9 ข้อคือ 1.นายสมัคร ในฐานะเป็นนายกรัฐมนตรีได้สนองตอบและรับใช้อดีตนักการเมืองผู้สูญเสียประโยชน์อย่างโจ่งแจ้ง ไม่ใส่ใจต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของบุคคล ในบ้านเมือง การคัดเลือกบุคคลเข้าร่วม ครม.ไม่เหมาะสมและไม่มีประสิทธิภาพสมกับตำแหน่งวที่ได้รับ ตกอยู่ใต้การครอบงำของผู้มีอิทธิพลและพรรคการเมือง ก่อให้เกิดปัญหาในการบริหารงาน
2.นายกรัฐมนตรียอมรับให้บุคคลที่ไม่มีวุฒิภาวะขาดความรู้ความสามารถ มีปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนเป็นสมุนรับใช้อดีตนักการเมืองที่สูญเสียประโยชน์เข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี 3.นายกรัฐมนตรีบกพร่องอย่างร้ายแรงที่ปล่อยปละละเลยให้รัฐมนตรีร่วมรัฐบาลบริหารราชการแผ่นดินตามอำเภอใจ ต่างคนต่างไม่มีความเป็นเอกภาพไร้ทิศทางขาดความรู้ มุ่งแต่จะสร้างภาพของตน จนทำให้การบริหารงานในเชิงนโยบายล้มเหลว
4.นายกรัฐมนตรีปล่อยปละเลยให้มีการใช้ข้าราชการที่ยอมตนเป็นพวก กระทำการใช้อำนาจหน้าที่ล้างแค้นบุคคลและองค์กรที่ตนไม่พอใจ ขณะเดียวกันก็ปกป้องพวกพ้องของตัวเองทำลายระบบคุณธรรม จริยธรรมอย่างสิ้นเชิง 5.นายกรัฐมนตรีแสดงท่าทีปกป้องให้ท้ายกับผู้บังคับบัญชาที่กระทำความผิดอย่างออกนอก หน้าหลายกรณี โดยไม่ใส่ใจถึงผลกระทบของการกระทำของรัฐมนนตรีท่านนั้นๆ
6.นายกรัฐมนตรีบริหารงานเพียงไปวันๆ ไม่ใส่ใจการแก้ปัญหาวิกฤตที่กระทบต่อปากท้องของประชาชน ปล่อยปละละเลยให้ปัญหาลุกลามจนเกิดผลกระทบในวงกว้างถึงประชาชนทุกชนชั้น ทุกอาชีพ ต้องเผชิญกับภาวะข้างยากหมากแพง รายได้ลดลง รายจ่ายเพิ่มขึ้น มีการเรียกร้องจากประชาชนกลุ่มต่างๆ ให้รัฐบาลเข้ามาแก้ไข
7.นายกรัฐมนตรีทั้งในฐานะนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมทอดทิ้งและไม่ใส่ใจต่อความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรง และยังตกอยู่ในสภาพไร้ความหวังซึ่งมีแนวโน้มจะเลวร้ายลงเรื่อยๆ
8.ขณะที่ปัญหาของประเทศบานปลายและลุกลามกลายเป็ฯวิกฤตเรื่อยๆ แต่นายกรัฐมนตรีกลับเฉยเมยมองข้ามและมีความรู้สึกเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น มุ่งแต่จะสนองความต้องการความปรารถนาของผู้บงการอยู่เบื้องหลัง โดยการพยายามรวบรัด สนอบตอบต่อความพยายามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อช่วยเหลือผู้มีบุญคุณ และลบล้างบทลงโทษในคดีที่พรรคการเมืองของตัวเองทำผิดเอาไว้ในการเลือกตั้ง และ9.นายสมัครในฐานะนายกรัฐมนตรีมีพฤติกรรมภาวะผู้นำบกพร่องด้วยผลดังกล่าว พรรคประชาธิปัตย์เห็นว่าสมควรที่จะอภิปรายไม่ไว้วางใจนายสมัครตามมาตรา 158
7 รมต.โดนด้วย-เฉลิมติดหางเลข
นายองอาจ กล่าวว่า ฝ่ายค้านยังยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีอีก 7 คนตามมาตรา 159 คือ 1.นพ.สุรพงษ์สืบวงศ์ลี รองนายกฯ และรมว.การคลัง ในข้อหาไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจทุกด้าน 2.นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์ ในข้อหาการแก้ปัญหาราคาข้าว และการแก้ปัญหาราคาสินค้าแพง 3.นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม และ4.นายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.คมนาคม ในข้อหา การเช่ารถโดยสารปรับอากาศเอ็นจีวีของขสมก. ที่ส่อทุจริตจำนวน 6,000 ล้านบาท เนื่องจากทั้งสองคนเป็นคณะกรรมการจัดการระบบขนส่งทางรางและขนส่งมวลชน
5.นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.ยุติธรรม ในกรณีการบริหารบุคคลที่ผิดพลาด และการใช้ตำแหน่งหน้าที่ทางมิชอบ รวมไปถึงกรณีการแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันแปละปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.) 6.นายนพดล ปัทมะ รมว.การต่างประเทศ ข้อหาการบริหารงานที่ผิดพลาดบกพร่องภายในกระทรวง รวมไปถึงการนำปราสาทเขาพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และ7.ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย ข้อหาไร้ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งเรื่องการใช้อำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยออกคำสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตัดสัญญาณเอเอสทีวี
นายองอาจกล่าวต่อว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้มอบหมายให้นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานวิปฝ่ายค้าน ไปยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจในวันนี้ (18 มิ.ย.) เวลา 10.30 น. ให้กับประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยยืนยันว่าอาจจะสามารถ อภิปรายได้ทันในการปิดสมัยประชุมสภาวิสามัญภายในวันที่ 28 มิ.ย.นี้แน่นอน อย่างไรก็ตาม การวางตัวผู้อภิปรายนั้นจะไม่เน้นให้มีผู้อภิปรายเยอะ โดยคาดว่าจะมีคนอภิปรายทั้งผู้ที่เป็นครม.เงา และส.ส.ของพรรคประมาณ 1-2 คน ต่อรัฐมนตรี 1 คน
สมพงษ์ขาสั่นพร้อมถูกอภิปราย
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.ยุติธรรม กล่าวว่าเพิ่งทราบข่าวว่าเป็นคนหนึ่งที่จะถูกฝ่ายค้านยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจจึงไม่ทราบว่าจะอภิปรายเรื่องอะไร แต่ก็เป็นสิทธิของฝ่ายค้าน ส่วนที่จะยกกรณีการย้าย นายสุนัย มโนมัยอุดม อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) อย่างไม่เป็นธรรมนั้น เรื่องนี้ตนได้ชี้แจงไปแล้ว แต่ไม่เป็นอะไรหากจะให้พูดซ้ำอีกครั้งตนพร้อมจะชี้แจง
“ความจริงจะบอกว่าไม่กังวลก็คงไม่ได้ ก็ต้องคิดนู่นคิดนี่อยู่ เพราะคนเรามันชอบคิด แต่ทั้งนี้การอภิปรายคงจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการโยกย้ายมากกว่า ซึ่งผมเรียนว่าการโยกย้ายเราก็ทำด้วยความเหมาะสมทุกประการ ไม่มีข้อบกพร่อง รับประกันได้ เพราะไม่อย่างนั้นสื่อมวลชนก็คงจะอาละวาดไปพักใหญ่ละมั๊ง หรือว่ายังไม่มีใครเจาะ”
ผู้สื่อข่าวถามว่านายกรัฐมนตรีกังวลหรือกำชับอะไรหรือไม่ นายสมพงษ์ กล่าวว่า ท่านนายกฯไม่ได้กังวลอะไรท่านบอกว่าจะมีเวลาพอหรือ เพราะเราคงจะอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องของงบประมาณเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งยังมีกฎหมายลูกอีกหลายฉบับ
“ท่านก็ห่วงในเรื่องของเวลา และต้องดูว่าความพอเพียงมันมีไหม เพราะในช่วงอภิปรายงบประมาณมันก็เขวออกไปได้ทุกเรื่องในการอภิปราย เพราะการอภิปรายงบประมาณไม่ใช่คุยแค่เรื่องของเม็ดเงิน แต่ยังพูดถึงเรื่องการปฏิบัติ การดำเนินงาน ซึ่งสามารถหยิบยกปัญหาขึ้นมาพูดได้ทุกอย่าง เพราะฉะนั้นการอภิปรายงบประมาณมันก็คล้ายๆ กึ่งๆ กับอภิปรายไม่ไว้วางใจอยู่แล้ว ท่านนายกฯ ก็บอกว่ามีอยู่แล้ว แต่ทำไมจะเอากันอีก ก็ว่ากันไปไม่ว่ากันเป็นสิทธิ์ ซึ่งผมก็เตรียมพร้อมก็เรียนให้ท่านทราบ”
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีการฟังเสียงของพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อลงมติอะไรหรือไม่ นายสมพงษ์ กล่าวว่า เชื่อว่าเรื่องนี้ไม่น่าจะมีปัญหา คงพูดกันได้
“ความมั่นใจในพรรคร่วมรัฐบาล ไม่มั่นใจได้ยังไง วันนี้เราก็ประชุม ครม. ทำไม เรายังไม่ไว้ใจกันหละ เรายังไว้ใจพรรคร่วมตลอด หรือเขาไม่ไว้ใจเรา”
"ชัย"ยินดีรับญัตติซักฟอกจาก ปชป.
นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่าขณะนี้ตนรอฝ่ายค้านที่จะยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจอยู่ เพราะฝ่ายค้านโจมตีตนว่าไม่เป็นกลาง ถ้าหากฝ่ายค้านยื่นญัตติมาจริงตนก็จะตรวจสอบอย่างช้าไม่เกิน 3 วัน และจะส่งให้รัฐบาลก่อนกำหนดซึ่งน่าจะบรรจุญัตติเสร็จทันภายในวันที่ 21 มิถุนายนนี้ ส่วนจะมีการพิจารณาอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล)และวิปฝ่ายค้าน จะตกลงกัน ทั้งนี้เรื่องแรกที่จะบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมคื อเรื่องงบประมาณแผ่นดิน หลังจากนั้นจะเสนอเรื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นเรื่องที่ 2 นอกจากนี้ตนขอยืนยันว่าจะทำหน้าที่อย่างเต็มที่และทำตัวเป็นกลางไม่เข้าข้าง ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จะเอานอกประเด็นนอกลู่นอกทางไม่เอาเด็ดขาด
อ้าง ปชป.รับใบสั่งพันธมิตรยื่นซักฟอก
ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน กล่าวถึงกรณีที่วิปฝ่ายค้าน มีมติยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจโดยไม่ยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีของพรรคพลังประชาชน จำนวน 6 คน ว่าหากพรรคประชาธิปัตย์จริงใจ ก็ควรยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยเข้าชื่อรวมกับ ส.ว.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของสองสภา ตามรัฐธรรมนูญ ม.129 เพราะรัฐบาลเพิ่งบริหารประเทศได้เพียง 4 เดือน เท่าที่ดูวันนี้พรรคประชาธิปัตย์ก็ยังลังเลเหมือนกับนางวันทองสองใจโดยจะยื่นอภิปรายทั้งตามมาตรา129 และ มาตรา158 ที่ส.ส.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 เข้าชื่อเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยที่จะต้องเสนอชื่อ ผู้ที่สมควรดำรง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไปซึ่งมาตราดังกล่าวจะบล็อคให้นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาไม่ได้
นาย นิสิต สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด กรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน กล่าวว่าหากฝ่ายค้านจะยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจเพื่อแขวนไว้ในสภา ก็สามารถทำได้เพราะเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ แต่ต้องสร้างมาตรฐานของเนื้อหาที่ฝ่ายค้านจะยื่นอภิปรายไม่ไว้วาง ไม่ใช่คิดเพียงแค่จะยื่นเพื่อเล่นการเมือง หรือเป็นการไปรับลูก รับใบสั่งจากกลุ่มพันธมิตรฯเท่านั้นเพราะจะยิ่งทำให้ประเทศเสียเวลาในการแก้ปัญหาให้บ้านเมือง อีกทั้งที่ผ่านมาวิปรัฐบาลและฝ่ายค้านได้มีการหารือและมีข้อตกลงกันไว้แล้วว่าในช่วงสมัยประชุมนี้จะเป็นการประชุมสภาเพื่อพิจารณาญัตติตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญและเพื่อพิจารณางบประมาณของประเทศในสมัยประชุมหน้าเท่านั้น
พปช.อีสานหนุนซักฟอกลดกระแส
มีรายงานข่าวจากพรรคพลังประชาชนว่าขณะที่ ส.ส.ในพรรคส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะ ส.ส.ภาคอีสานเห็นว่า รัฐบาลควรยอมให้ฝ่ายค้านยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจและรอการเสนอเข้าบรรจุวาระภายหลังที่สภาได้มีการประชุมสมัยสามัญเพื่อพิจารณางบประมาณเสร็จสิ้นเพื่อแก้ปัญหาสถานการณ์การเมือง ที่เกิดความขัดแย้งในขณะนี้โดยเฉพาะทำให้เหตุผลในการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯขาดความชอบธรรม อย่างไรก็ตามทาง ส.ส.อีกสานมีความเชื่อมั่นว่าทั้ง นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี จะสามารถชี้แจงได้ เนื่องจากรัฐบาลเพิ่งเข้ามาทำงานไม่นานสามารถชี้เหตุผลที่ยังสภา ยังไม่มีการพิจารณางบประมาณไปใช้จ่ายในการบริหารประเทศได้รวมทั้งยังไม่มีปัญหาเรื่องการทุจริตคอรัปชั่น
เติ้งบอกฝ่ายค้านยื่นญัตติช้าไป
นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวว่าเท่าที่ดูเหลือเวลาเปิดสมัยประชุมเพียง 10 วัน โดยจะปิดสมัยประชุมในวันที่ 28 มิ.ย.หากฝ่ายค้านยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจเกรงว่าจะไม่ทัน เพราะกว่าจะส่งเรื่องให้รัฐบาล หากยื่นมาวันที่ 18 มิ.ย.ก็ส่งเรื่องให้รัฐบาลวันที่ 19 มิ.ย. ซึ่งก็เหลือไม่กี่วันเข้าใจว่ารัฐบาล คงไม่พร้อมที่จะตอบ เพราะ 25-26 มิ.ย.ก็ต้องพิจารณางบประมาณ ความจริงถ้าจะยื่นก็ควรยื่นตั้งแต่ต้นเดือน มิ.ย. ถ้ามายื่นตอนนี้ก็ไม่แน่ว่าจะทันหรือไม่
ส่วนที่ฝ่ายค้านเกรงว่ารัฐบาลพยายามปิดกั้นทั้งที่การอภิปรายจะทำให้ คลี่คลายสถานการณ์ได้ นายบรรหาร กล่าวว่า ไม่ใช่คนละเรื่อง ความจริงเห็นด้วยที่จะยื่นเปิดอภิปรายฯแต่น่าจะยื่นตั้งแต่วันที่ 8-9 มิ.ย.จะได้มีเวลาให้รัฐบาลเตรียมตัว แต่มายื่นวันนี้ไม่แน่ใจว่าจะทันหรือเปล่า เพราะว่าถ้ารัฐมนตรี 6-7 คนก็ต้องให้เวลา ได้เตรียมข้อมูล ส่วนการยื่นญัตติของ 61 ส.ว.ตนขอไม่ตอบ ไม่ทราบเรื่อง เพียงแต่ เห็นว่าในการเปิดสมัยประชุมมันก็กระชั้นเกิน
ผู้สื่อข่าวถามว่ารัฐบาลควรขยายเวลาสมัยประชุมหรือไม่ นายบรรหาร กล่าวว่า ตนตอบแทนไม่ได้ เมื่อถามว่าไม่มีรายชื่อรัฐมนตรีพรรคร่วมรัฐบาลถูกอภิปรายฯ แสดงว่าพรรคร่วมบริหารงานดีใช่หรือไม่ นายบรรหาร กล่าวว่า ยังไม่รู้เลยว่า มีใครบ้าง เพราะตามข่าวหนังสือพิมพ์เท่านั้น รอดูความชัดเจนก่อน และเท่าที่ดูรัฐมนตรีที่กล่าวถึงล้วนอยู่ในกระทรวงสำคัญเป็นของพรรคแกนนำ
ที่สุดรัฐบาลก็เผยธาตุแท้ออกมาให้เห็นชัดเจนอีกครั้งด้วยการปฎิเสธที่จะใช้ระบบรัฐสภาเพื่อแก้ปัญหาประเทศชาติที่รุมเร้าในทุกด้าน ทั้งที่ก่อนหน้าที่คนในรัฐบาลออกมาเรียกร้องให้ใช้กลไกรัฐสภามาแก้วิกฤตการเมือง แต่พอฝ่ายค้าน จะยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็รีบเสนอพระราชกฤษฎิกาปิดสมัยประชุมสภาวิสามัญ และยังปฎิเสธที่จะให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) อภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ ทั้งที่ได้ยื่นญัตติดังกล่าวไปแล้ว
โดยล่าสุดวานนี้ (17 มิ.ย.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเหตุชอบร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา โดยนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษ๋กประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ครม.มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสนัยวิสามัญในวันที่ 28 มิ.ย.2551 เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า สำหรับกรณีที่ ส.ว.61 คนได้ยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทึ่วไปเกี่ยวกับประเด็นการบริหารราชการแผ่นดินของ ครม. เพื่อให้ ชี้แจงปัญหาต่างๆ ต่อที่ประชุมวุฒิสภา โดยกำหนดให้ชี้แจงข้อเท็จจริงในวันที่ 23 มิ.ย. นี้นั้น ครม.ได้รับทรายแล้ว แต่นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ ส่วนที่เกี่ยวข้องทำหนังสือแจ้งทางสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาให้ทราบว่า เนื่องจาก ครม.ติดภารกิจอยู่ระหว่างการเตรียมการเพื่อการประชุมพิจารณางบประมาณปี 2552 ในวันที่ 25 มิ.ย.นี้ จึงไม่พร้อมที่จะไปแถลงหรือชี้แจงญัตติดังกล่าวได้
"คำนูณ"ชี้รัฐบาลจงใจขัด รธน.
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ได้ทราบว่า มีการทำหนังสือจากสำนักนายกรัฐมนตรี ถึงเลขาธิการวุฒิสภาแล้วกรณีที่รัฐบาลปฎิเสธที่จะให้วุฒิสภาฯอภิปรายทั่วไปตามญัตติที่ 61 ส.ว.เสนอไป เมื่อเป็นเช่นนี้จะมีการหารือกันในที่ประชุมวุฒิสภาวันศุกร์ที่ 20 มิ.ย.นี้ โดยประธานจะต้องแจ้งหนังสือที่ชี้แจงเหตุขัดข้องจาก ครม.ให้ที่ประชุมวุฒิสภาทราบ ซึ่งก็คงจะได้หารือหาข้อสรุปกันว่า ในวันจันทร์ที่ 23 มิ.ย.นี้ จะดำเนินการต่อไปอย่างไร
สำหรับความเห็นส่วนตัว มาตรา 161 ของรัฐธรรมนูญที่เปิดโอกาสให้ ส.ว.ยื่นญัตติอภิปรายทั่วไปนั้น เป็นเรื่องที่ขอให้ คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริง หรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหาราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติ เมื่อ ครม.ไม่มาเสียแล้ว การอภิปราบฝ่ายเดียวก็ไม่น่าจะเกิดประโยชน์ อย่างไรก็ดี คงจะต้องรอความเห็นของสมาชิกท่านอื่นที่ร่วมลงชื่อยื่นญัตติด้วย
นายคำนูณ กล่าวอีกว่า แม้มาตรา 161 จะไม่ได้ไม่กำหนดให้รัฐมนตรี ต้องมาชี้แจง แต่ในเมื่อรัฐธรรมนูญนี้ ได้ให้สิทธิ ส.ว.ในการเปิดอภิปรายทั่วไป รัฐบาลควรที่จะต้องสนองสิทธินั้นด้วยการมาชี้แจง เพราะสิทธิและหน้าที่เป็นของคู่กัน และเมื่อดูมาตรา 162 ที่กำหนดให้รัฐมนตรีต้องมาชี้แจงเมื่อมีการตั้งกระทู้ถามและเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ โปรดสังเกตว่า แม้แต่การตั้งกระทู้ยังให้รัฐบาลต้องมาชี้แจง เพราะฉะนั้นการเปิดอภิปรายทั่วไปเป็นเรื่องใหญ่กว่า รัฐบาลยิ่งควรจะต้องมาชี้แจง จึงมีความเห็นว่า รัฐบาลชุดนี้จงใจปฏิบัติในทางที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
ระบุพันธมิตรฯ ชุมนุมคือ ปชต.รูปแบบใหม่
“เป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างยิ่ง ที่รัฐบาลประเมินสถานการณ์ต่ำเกินไป แทนที่จะใช้เวทีรัฐสภา เป็นที่บรรเทาปัญหา ไม่ว่าจะเป็นตามมาตรา 161 หรือมาตรา 179 รัฐบาลกลับไม่ทำ ผลเสียหายที่จะเกิดขึ้น ก็คือ คนจะมองได้ว่าระบบรัฐสภา ไม่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤติของประเทศได้ ขณะนี้ สิ่งที่รัฐบาลและนักการเมืองในระบบ ควรจะต้องสังวรณ์ให้มาก คือ เวทีของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่เชิงสะพานมัฆวานนั้น มองให้ลึกแล้ว ไม่ใช่เป็นเพียงการเรียกร้องต่อสู้ของคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น หากแต่กำลังเป็นการก่อรูปของการเมืองแบบใหม่ ที่ไม่ใช่เป็นการเมืองแบบตัวแทน หากแต่เป็นการเมืองภาคประชาชนที่ใช้สิทธิโดยตรง”
นายคำนูณ กล่าวว่า หากมองจากแว่นของระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทน อาจจะเห็นได้ว่า ไม่เหมาะสม ไม่มีกฎเกณฑ์ แต่หามองอย่างทำใจให้ว่าง เราจะเห็นได้ว่า เป็นการก่อรูปของประชาธิปไตยแบบใหม่ที่น่าสนใจ การที่คนกลุ่มหนึ่งยืนหยัดตากแดดตากฝนได้นานนับเดือน มาจากทั่วสารทิศ ไม่ใช่เรื่องที่ควรละเลย หากประชาธิปไตยแบบตัวแทนไม่สามารถพิสูจน์ตัวเองให้เห็นว่า สามารถแก้ปัญหาได้ จะทำให้ประชาชนจำนวนมากเสื่อมศรัทธาในระบบประชาธิปไตยตัวแทน และหันไปให้ความสนใจกับการเมืองรูปแบบใหม่ที่ก่อตัวขึ้น
เปรยอาจร่วมฝ่ายค้านเปิดวิสามัญ
สำหรับหนทางต่อไปของนักการเมืองในระบบ คือ ส.ว.และ ส.ส.ก็จะต้องพิจารณาว่า จะสามารถร่วมกันผลักดันให้มีการเปิดสภาสมัยวิสามัญอีกครั้ง ตามมาตรา 129 ของรัฐธรรมนูญ หรือไม่ เชื่อว่าในส่วนของ ส.ว.กลุ่ม 61 คน จะได้เริ่มหารือกันในเย็นวันพฤหัสฯ ที่จะถึงนี้ ตามที่ได้นัดหมายกันไว้ก่อน ทั้งนี้ จะมีการหารือกันว่า ในกรณีที่ ครม.ไม่มาชี้แจงในการประชุมวันที่ 23 มิ.ย.เราจะพูดฝ่ายเดียวหรือไม่ และประเด็นที่ 2 จะหารือว่าสามารถเปิดอภิปรายตามมาตรา 129 หรือไม่
ฝ่ายค้านมีมติยื่นญัตติฟันสมัคร
ด้าน พรรคประชาธิปัตย์ วันเดียวกันมีการประชุมแกนนำและ ส.ส.ของพรรค เพื่อพิจารณารายชื่อ ครม.ที่จะถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยใช้เวลาในการหารือกว่า 4 ชั่วโมง หลังการประชุมนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวพรรคมีมติที่จะอภิปรายนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม โดยเนื้อหาเน้นการทำหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีฐานความผิดทั้งหมด 9 ข้อคือ 1.นายสมัคร ในฐานะเป็นนายกรัฐมนตรีได้สนองตอบและรับใช้อดีตนักการเมืองผู้สูญเสียประโยชน์อย่างโจ่งแจ้ง ไม่ใส่ใจต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของบุคคล ในบ้านเมือง การคัดเลือกบุคคลเข้าร่วม ครม.ไม่เหมาะสมและไม่มีประสิทธิภาพสมกับตำแหน่งวที่ได้รับ ตกอยู่ใต้การครอบงำของผู้มีอิทธิพลและพรรคการเมือง ก่อให้เกิดปัญหาในการบริหารงาน
2.นายกรัฐมนตรียอมรับให้บุคคลที่ไม่มีวุฒิภาวะขาดความรู้ความสามารถ มีปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนเป็นสมุนรับใช้อดีตนักการเมืองที่สูญเสียประโยชน์เข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี 3.นายกรัฐมนตรีบกพร่องอย่างร้ายแรงที่ปล่อยปละละเลยให้รัฐมนตรีร่วมรัฐบาลบริหารราชการแผ่นดินตามอำเภอใจ ต่างคนต่างไม่มีความเป็นเอกภาพไร้ทิศทางขาดความรู้ มุ่งแต่จะสร้างภาพของตน จนทำให้การบริหารงานในเชิงนโยบายล้มเหลว
4.นายกรัฐมนตรีปล่อยปละเลยให้มีการใช้ข้าราชการที่ยอมตนเป็นพวก กระทำการใช้อำนาจหน้าที่ล้างแค้นบุคคลและองค์กรที่ตนไม่พอใจ ขณะเดียวกันก็ปกป้องพวกพ้องของตัวเองทำลายระบบคุณธรรม จริยธรรมอย่างสิ้นเชิง 5.นายกรัฐมนตรีแสดงท่าทีปกป้องให้ท้ายกับผู้บังคับบัญชาที่กระทำความผิดอย่างออกนอก หน้าหลายกรณี โดยไม่ใส่ใจถึงผลกระทบของการกระทำของรัฐมนนตรีท่านนั้นๆ
6.นายกรัฐมนตรีบริหารงานเพียงไปวันๆ ไม่ใส่ใจการแก้ปัญหาวิกฤตที่กระทบต่อปากท้องของประชาชน ปล่อยปละละเลยให้ปัญหาลุกลามจนเกิดผลกระทบในวงกว้างถึงประชาชนทุกชนชั้น ทุกอาชีพ ต้องเผชิญกับภาวะข้างยากหมากแพง รายได้ลดลง รายจ่ายเพิ่มขึ้น มีการเรียกร้องจากประชาชนกลุ่มต่างๆ ให้รัฐบาลเข้ามาแก้ไข
7.นายกรัฐมนตรีทั้งในฐานะนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมทอดทิ้งและไม่ใส่ใจต่อความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรง และยังตกอยู่ในสภาพไร้ความหวังซึ่งมีแนวโน้มจะเลวร้ายลงเรื่อยๆ
8.ขณะที่ปัญหาของประเทศบานปลายและลุกลามกลายเป็ฯวิกฤตเรื่อยๆ แต่นายกรัฐมนตรีกลับเฉยเมยมองข้ามและมีความรู้สึกเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น มุ่งแต่จะสนองความต้องการความปรารถนาของผู้บงการอยู่เบื้องหลัง โดยการพยายามรวบรัด สนอบตอบต่อความพยายามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อช่วยเหลือผู้มีบุญคุณ และลบล้างบทลงโทษในคดีที่พรรคการเมืองของตัวเองทำผิดเอาไว้ในการเลือกตั้ง และ9.นายสมัครในฐานะนายกรัฐมนตรีมีพฤติกรรมภาวะผู้นำบกพร่องด้วยผลดังกล่าว พรรคประชาธิปัตย์เห็นว่าสมควรที่จะอภิปรายไม่ไว้วางใจนายสมัครตามมาตรา 158
7 รมต.โดนด้วย-เฉลิมติดหางเลข
นายองอาจ กล่าวว่า ฝ่ายค้านยังยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีอีก 7 คนตามมาตรา 159 คือ 1.นพ.สุรพงษ์สืบวงศ์ลี รองนายกฯ และรมว.การคลัง ในข้อหาไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจทุกด้าน 2.นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์ ในข้อหาการแก้ปัญหาราคาข้าว และการแก้ปัญหาราคาสินค้าแพง 3.นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม และ4.นายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.คมนาคม ในข้อหา การเช่ารถโดยสารปรับอากาศเอ็นจีวีของขสมก. ที่ส่อทุจริตจำนวน 6,000 ล้านบาท เนื่องจากทั้งสองคนเป็นคณะกรรมการจัดการระบบขนส่งทางรางและขนส่งมวลชน
5.นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.ยุติธรรม ในกรณีการบริหารบุคคลที่ผิดพลาด และการใช้ตำแหน่งหน้าที่ทางมิชอบ รวมไปถึงกรณีการแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันแปละปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.) 6.นายนพดล ปัทมะ รมว.การต่างประเทศ ข้อหาการบริหารงานที่ผิดพลาดบกพร่องภายในกระทรวง รวมไปถึงการนำปราสาทเขาพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และ7.ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย ข้อหาไร้ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งเรื่องการใช้อำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยออกคำสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตัดสัญญาณเอเอสทีวี
นายองอาจกล่าวต่อว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้มอบหมายให้นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานวิปฝ่ายค้าน ไปยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจในวันนี้ (18 มิ.ย.) เวลา 10.30 น. ให้กับประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยยืนยันว่าอาจจะสามารถ อภิปรายได้ทันในการปิดสมัยประชุมสภาวิสามัญภายในวันที่ 28 มิ.ย.นี้แน่นอน อย่างไรก็ตาม การวางตัวผู้อภิปรายนั้นจะไม่เน้นให้มีผู้อภิปรายเยอะ โดยคาดว่าจะมีคนอภิปรายทั้งผู้ที่เป็นครม.เงา และส.ส.ของพรรคประมาณ 1-2 คน ต่อรัฐมนตรี 1 คน
สมพงษ์ขาสั่นพร้อมถูกอภิปราย
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.ยุติธรรม กล่าวว่าเพิ่งทราบข่าวว่าเป็นคนหนึ่งที่จะถูกฝ่ายค้านยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจจึงไม่ทราบว่าจะอภิปรายเรื่องอะไร แต่ก็เป็นสิทธิของฝ่ายค้าน ส่วนที่จะยกกรณีการย้าย นายสุนัย มโนมัยอุดม อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) อย่างไม่เป็นธรรมนั้น เรื่องนี้ตนได้ชี้แจงไปแล้ว แต่ไม่เป็นอะไรหากจะให้พูดซ้ำอีกครั้งตนพร้อมจะชี้แจง
“ความจริงจะบอกว่าไม่กังวลก็คงไม่ได้ ก็ต้องคิดนู่นคิดนี่อยู่ เพราะคนเรามันชอบคิด แต่ทั้งนี้การอภิปรายคงจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการโยกย้ายมากกว่า ซึ่งผมเรียนว่าการโยกย้ายเราก็ทำด้วยความเหมาะสมทุกประการ ไม่มีข้อบกพร่อง รับประกันได้ เพราะไม่อย่างนั้นสื่อมวลชนก็คงจะอาละวาดไปพักใหญ่ละมั๊ง หรือว่ายังไม่มีใครเจาะ”
ผู้สื่อข่าวถามว่านายกรัฐมนตรีกังวลหรือกำชับอะไรหรือไม่ นายสมพงษ์ กล่าวว่า ท่านนายกฯไม่ได้กังวลอะไรท่านบอกว่าจะมีเวลาพอหรือ เพราะเราคงจะอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องของงบประมาณเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งยังมีกฎหมายลูกอีกหลายฉบับ
“ท่านก็ห่วงในเรื่องของเวลา และต้องดูว่าความพอเพียงมันมีไหม เพราะในช่วงอภิปรายงบประมาณมันก็เขวออกไปได้ทุกเรื่องในการอภิปราย เพราะการอภิปรายงบประมาณไม่ใช่คุยแค่เรื่องของเม็ดเงิน แต่ยังพูดถึงเรื่องการปฏิบัติ การดำเนินงาน ซึ่งสามารถหยิบยกปัญหาขึ้นมาพูดได้ทุกอย่าง เพราะฉะนั้นการอภิปรายงบประมาณมันก็คล้ายๆ กึ่งๆ กับอภิปรายไม่ไว้วางใจอยู่แล้ว ท่านนายกฯ ก็บอกว่ามีอยู่แล้ว แต่ทำไมจะเอากันอีก ก็ว่ากันไปไม่ว่ากันเป็นสิทธิ์ ซึ่งผมก็เตรียมพร้อมก็เรียนให้ท่านทราบ”
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีการฟังเสียงของพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อลงมติอะไรหรือไม่ นายสมพงษ์ กล่าวว่า เชื่อว่าเรื่องนี้ไม่น่าจะมีปัญหา คงพูดกันได้
“ความมั่นใจในพรรคร่วมรัฐบาล ไม่มั่นใจได้ยังไง วันนี้เราก็ประชุม ครม. ทำไม เรายังไม่ไว้ใจกันหละ เรายังไว้ใจพรรคร่วมตลอด หรือเขาไม่ไว้ใจเรา”
"ชัย"ยินดีรับญัตติซักฟอกจาก ปชป.
นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่าขณะนี้ตนรอฝ่ายค้านที่จะยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจอยู่ เพราะฝ่ายค้านโจมตีตนว่าไม่เป็นกลาง ถ้าหากฝ่ายค้านยื่นญัตติมาจริงตนก็จะตรวจสอบอย่างช้าไม่เกิน 3 วัน และจะส่งให้รัฐบาลก่อนกำหนดซึ่งน่าจะบรรจุญัตติเสร็จทันภายในวันที่ 21 มิถุนายนนี้ ส่วนจะมีการพิจารณาอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล)และวิปฝ่ายค้าน จะตกลงกัน ทั้งนี้เรื่องแรกที่จะบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมคื อเรื่องงบประมาณแผ่นดิน หลังจากนั้นจะเสนอเรื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นเรื่องที่ 2 นอกจากนี้ตนขอยืนยันว่าจะทำหน้าที่อย่างเต็มที่และทำตัวเป็นกลางไม่เข้าข้าง ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จะเอานอกประเด็นนอกลู่นอกทางไม่เอาเด็ดขาด
อ้าง ปชป.รับใบสั่งพันธมิตรยื่นซักฟอก
ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน กล่าวถึงกรณีที่วิปฝ่ายค้าน มีมติยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจโดยไม่ยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีของพรรคพลังประชาชน จำนวน 6 คน ว่าหากพรรคประชาธิปัตย์จริงใจ ก็ควรยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยเข้าชื่อรวมกับ ส.ว.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของสองสภา ตามรัฐธรรมนูญ ม.129 เพราะรัฐบาลเพิ่งบริหารประเทศได้เพียง 4 เดือน เท่าที่ดูวันนี้พรรคประชาธิปัตย์ก็ยังลังเลเหมือนกับนางวันทองสองใจโดยจะยื่นอภิปรายทั้งตามมาตรา129 และ มาตรา158 ที่ส.ส.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 เข้าชื่อเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยที่จะต้องเสนอชื่อ ผู้ที่สมควรดำรง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไปซึ่งมาตราดังกล่าวจะบล็อคให้นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาไม่ได้
นาย นิสิต สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด กรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน กล่าวว่าหากฝ่ายค้านจะยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจเพื่อแขวนไว้ในสภา ก็สามารถทำได้เพราะเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ แต่ต้องสร้างมาตรฐานของเนื้อหาที่ฝ่ายค้านจะยื่นอภิปรายไม่ไว้วาง ไม่ใช่คิดเพียงแค่จะยื่นเพื่อเล่นการเมือง หรือเป็นการไปรับลูก รับใบสั่งจากกลุ่มพันธมิตรฯเท่านั้นเพราะจะยิ่งทำให้ประเทศเสียเวลาในการแก้ปัญหาให้บ้านเมือง อีกทั้งที่ผ่านมาวิปรัฐบาลและฝ่ายค้านได้มีการหารือและมีข้อตกลงกันไว้แล้วว่าในช่วงสมัยประชุมนี้จะเป็นการประชุมสภาเพื่อพิจารณาญัตติตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญและเพื่อพิจารณางบประมาณของประเทศในสมัยประชุมหน้าเท่านั้น
พปช.อีสานหนุนซักฟอกลดกระแส
มีรายงานข่าวจากพรรคพลังประชาชนว่าขณะที่ ส.ส.ในพรรคส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะ ส.ส.ภาคอีสานเห็นว่า รัฐบาลควรยอมให้ฝ่ายค้านยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจและรอการเสนอเข้าบรรจุวาระภายหลังที่สภาได้มีการประชุมสมัยสามัญเพื่อพิจารณางบประมาณเสร็จสิ้นเพื่อแก้ปัญหาสถานการณ์การเมือง ที่เกิดความขัดแย้งในขณะนี้โดยเฉพาะทำให้เหตุผลในการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯขาดความชอบธรรม อย่างไรก็ตามทาง ส.ส.อีกสานมีความเชื่อมั่นว่าทั้ง นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี จะสามารถชี้แจงได้ เนื่องจากรัฐบาลเพิ่งเข้ามาทำงานไม่นานสามารถชี้เหตุผลที่ยังสภา ยังไม่มีการพิจารณางบประมาณไปใช้จ่ายในการบริหารประเทศได้รวมทั้งยังไม่มีปัญหาเรื่องการทุจริตคอรัปชั่น
เติ้งบอกฝ่ายค้านยื่นญัตติช้าไป
นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวว่าเท่าที่ดูเหลือเวลาเปิดสมัยประชุมเพียง 10 วัน โดยจะปิดสมัยประชุมในวันที่ 28 มิ.ย.หากฝ่ายค้านยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจเกรงว่าจะไม่ทัน เพราะกว่าจะส่งเรื่องให้รัฐบาล หากยื่นมาวันที่ 18 มิ.ย.ก็ส่งเรื่องให้รัฐบาลวันที่ 19 มิ.ย. ซึ่งก็เหลือไม่กี่วันเข้าใจว่ารัฐบาล คงไม่พร้อมที่จะตอบ เพราะ 25-26 มิ.ย.ก็ต้องพิจารณางบประมาณ ความจริงถ้าจะยื่นก็ควรยื่นตั้งแต่ต้นเดือน มิ.ย. ถ้ามายื่นตอนนี้ก็ไม่แน่ว่าจะทันหรือไม่
ส่วนที่ฝ่ายค้านเกรงว่ารัฐบาลพยายามปิดกั้นทั้งที่การอภิปรายจะทำให้ คลี่คลายสถานการณ์ได้ นายบรรหาร กล่าวว่า ไม่ใช่คนละเรื่อง ความจริงเห็นด้วยที่จะยื่นเปิดอภิปรายฯแต่น่าจะยื่นตั้งแต่วันที่ 8-9 มิ.ย.จะได้มีเวลาให้รัฐบาลเตรียมตัว แต่มายื่นวันนี้ไม่แน่ใจว่าจะทันหรือเปล่า เพราะว่าถ้ารัฐมนตรี 6-7 คนก็ต้องให้เวลา ได้เตรียมข้อมูล ส่วนการยื่นญัตติของ 61 ส.ว.ตนขอไม่ตอบ ไม่ทราบเรื่อง เพียงแต่ เห็นว่าในการเปิดสมัยประชุมมันก็กระชั้นเกิน
ผู้สื่อข่าวถามว่ารัฐบาลควรขยายเวลาสมัยประชุมหรือไม่ นายบรรหาร กล่าวว่า ตนตอบแทนไม่ได้ เมื่อถามว่าไม่มีรายชื่อรัฐมนตรีพรรคร่วมรัฐบาลถูกอภิปรายฯ แสดงว่าพรรคร่วมบริหารงานดีใช่หรือไม่ นายบรรหาร กล่าวว่า ยังไม่รู้เลยว่า มีใครบ้าง เพราะตามข่าวหนังสือพิมพ์เท่านั้น รอดูความชัดเจนก่อน และเท่าที่ดูรัฐมนตรีที่กล่าวถึงล้วนอยู่ในกระทรวงสำคัญเป็นของพรรคแกนนำ