เมื่อเช้าวานนี้ (16 มิ.ย. ) แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ ได้ประชุมเพื่อหารือถึงความคืบหน้าร่างญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ตามมาตรา158 และมาตรา 159 ว่าขณะนี้มีรายชื่อรัฐมนตรีที่จะถูกยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งชัดเจนแล้ว คือ 1.นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กรณีการบริหารราชการแผ่นดินล้มเหลว 2. นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ในกรณีการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ 3. นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พานิชย์ กรณีการแก้ไขปัญหาราคาข้าวตกต่ำ 4.นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ กรณีเขาพระวิหาร 5. นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.ยุติธรรม กรณีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในกระทรวงที่ไม่เป็นธรรม และกรณีการแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.) 6. นายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.คมนาคม ในกรณี การจัดซื้อรถเมล์ เอ็นจีวี จำนวน 6,000 คัน 7 . ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า การร่างญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้น จะแยกออกเป็น 2 ชุด โดยชุดแรก คือ ร่างญัตติอภปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 158 โดยจะระบุถึงพฤติกรรมของนายกรัฐมนตรี ว่าไม่น่าไว้วางใจจากการบริหารราชการแผ่นดิน พร้อมกันนั้น พรรคจะเสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้ดำรงตำแหน่งแทน ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ส่วนร่างญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีทั้ง 6 คนนั้น จะเน้นภาพรวมการบริหารงานที่บกพร่องล้มเหลว โดยร่างญัตติทั้ง 2 มาตรานี้ฝ่ายค้านจะชี้ให้ประชาชนเห็นว่า พฤติกรรมของรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้ไม่น่าไว้วางใจอย่างไร ซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลจะต้องขัดขวาง และหลีกเลี่ยงการตรวจสอบตามกระบวนการของรัฐสภาอย่างแน่นอน
โดยเฉพาะท่าทีของนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร แม้จะอยู่ฝ่ายนิติบัญญัติแต่การทำงานกลับดูเหมือนว่าถูกครอบงำจากฝ่ายบริหารอย่างชัดเจน เห็นได้จากกรณีที่ ส.ว.และส.ส. เรียกร้องขอให้นายกรัฐมนตรี เปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ ตามมาตรา 179 แต่ประธานสภา กลับออกมารับลูกนายกฯ ด้วยการไม่เปิดอภิปรายทั่วไป
นายสาทิตย์ กล่าวว่า คาดว่าร่างญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจจะแล้วเสร็จ จากนั้นจะส่งให้นายอภิสิทธิ์ ตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง และในวันนี้ ( 17 มิ.ย.) จะนำร่างทั้ง 2 ญัตติ หารือในที่ประชุมวิปฝ่ายค้านในช่วงเช้า จากนั้นในช่วงบ่าย ในที่ประชุมส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ก็จะเปิดโอกาสให้ส.ส.ทั้ง 164 คน ร่วมกันเข้าชื่อ ส่วนการยื่นญัตติดังกล่าว จะทันก่อนหมดเวลาราชการในวันที่ 17 มิ.ย.นี้ ตามที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคระบุหรือไม่ ก็คงต้องรอดูต่อไป
**"อภิสิทธิ์"ชี้มีเวลาเหลือเฟือ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการวางตัวผู้ที่จะอภิปรายว่าไม่มีปัญหา เพราะพรรคมีคนที่ติดตามงานของพรรคในทุกกระทรวงอยู่แล้ว โดยเฉพาะรัฐมนตรีเงาของพรรค จะต้องเป็นหลักในการนำเสนอ แต่จะอภิปรายหรือไม่ เป็นอีกเรื่อง อย่างไรก็ตาม พรรคให้ความสำคัญกับเนื้อหาสาระก่อน และยังเชื่อมั่นว่ามีเวลาพอที่จะอภิปรายไม่ไว้วางใจได้
"ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ยื่นญัตติไปตามรัฐธรรมนูญ ก็จะดูว่ารัฐบาลกับประธานสภา จะดำเนินการอย่างไร ที่จริงกรณีของเราก็ยังไม่ได้เป็นเรื่องที่ยื่นไปแล้ว แต่กรณีของวุฒิสภาที่ยื่นไปแล้ว ทางประธานสภา หรือทางรัฐบาลต้องพูดให้ชัด เพราะผมมองไม่เห็นว่ามีเหตุผลอะไรที่วุฒิสภาจะไม่สามารถใช้สิทธิของเขาได้ และวันนี้ ผมยังยืนยันว่า เวลาเพียงพอ ญัตติอาจจะยื่นพรุ่งนี้ มะรืนนี้ ตรวจสอบรายชื่อประมาณวันสองวัน ส่งให้รัฐบาล รัฐบาลก็พร้อมชี้แจงอยู่แล้ว หลังพิจารณางบประมาณก็ได้ ทำไมถึงจะไม่ให้ ในเมื่อรัฐบาลมีมติไว้เองว่าจะปิดสภาวันที่ 30 มิ.ย.นี้" นายอภิสิทธิ์กล่าว
ส่วนถ้ารัฐบาลปิดสมัยประชุมรัฐสภาก่อน และไม่สามารถอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ จะทำอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คงจะต้องดูว่ามีความจงใจที่จะไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่ข้อมูลที่มีอยู่ก็จะไม่สูญเปล่าอย่างแน่นอน
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การยื่นญัตติอภิปรายนายกฯและรัฐมนตรี ในวันนี้ (17 มิ.ย.) เป็นการวัดใจประธานสภา ว่าจะบรรจุหรือไม่ ทั้งนี้ส่วนตัวเห็นว่า ประธานสภาต้องมีความเป็นกลาง จะมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกับนายกฯไม่ได้ เพราะยังมีเวลาในการประชุมสภาสมัยวิสามัญ พร้อมเห็นใจนายกรัฐมนตรี เมื่อพูดถึงปัญหาบ้านเมืองกลับอารมณ์ไม่ดี แต่พอพูดถึงการทำกับข้าว กลับอารมณ์ดี
ผู้สื่อข่าวถามว่า พันธมิตรฯ ออกมาชวนว่า ถ้าใช้เวทีในสภาไม่ได้ก็ให้ไปร่วมกับเวทีพันธมิตรฯ นายสุเทพ กล่าวว่า ตนก็เอาใจช่วยพันธมิตรฯ เพราะมองว่าพันธมิตรฯ ก็มีความปรารถนาดีต่อบ้านเมือง ส่วนจะให้พวกตนไปร่วมด้วยคงไม่ได้ เพราะเรามีเวทีของเรา เมื่อถามว่า อาจถูกมองได้ว่าสุดท้ายแล้วก็ร่วมมือกัน เพราะพรรคประชาธิปัตย์ เล่นเกมในสภา โดยให้พันธมิตรฯ เล่นนอกสภา นายสุเทพ กล่าวว่า คงไม่ใช่ พันธมิตรฯ จริงๆ แล้วก็ไม่ได้สนใจมากว่าใครจะรู้สึกอย่างไร เนื่องจากเขามีแนวทางชัดเจน ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ เราก็มีแนวทางของเรา แต่มีส่วนเหลื่อมอยู่บ้าง เพราะคนของเราบางคนมาจากพื้นฐานเดิมคือ เป็นพันธมิตรฯ มาก่อน อย่างนี้ห้ามปรามยาก แต่ก็ได้พูดกันให้เป็นที่เข้าใจแล้ว ถ้าตราบใดที่พันธมิตรฯ ชุมนุมประท้วงต่อต้านแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการใช้อำนาจที่ไม่ถูกต้องของรัฐบาล อย่างนี้ก็ไปร่วมด้วย แต่เมื่อไรที่พันธมิตรฯ เปิดเกมขับไล่รัฐบาลพวกเราคงไปร่วมไม่ได้
เมื่อถามว่า ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย เป็นรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในฐานะที่เป็น รมว.มหาดไทยเงา จะเป็นคนอภิปรายเองหรือไม่ นายสุเทพกล่าวว่า ต้องดูว่าทางคณะทำงานจะมอบหมายภารกิจอะไรให้ อย่างที่เรียน ไปแล้วว่าตนไม่ค่อยให้ราคา ร.ต.อ.เฉลิม แต่เมื่อเขาเป็นรมว.มหาดไทย แล้วไม่ทำในสิ่งที่ควรจะทำ หรือทำในสิ่งที่ไม่สมควรจะทำ ก็ต้องถูกอภิปราย โดยจะชี้ให้ประชาชนเห็นว่าคนเหล่านี้ไม่เหมาะสมและไม่สมควรที่จะมาเป็นรัฐมนตรี ยิ่งอยู่นานไปก็เสียโอกาสของประชาชนและประเทศชาติ
** รัฐบาลอ้างไม่มีเวลาให้อภิปราย
ด้านนายสามารถ แก้วมีชัย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล หรือวิปรัฐบาล กล่าวการยื่นขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านว่าคงไม่สามารถจะเปิดการอภิปรายได้ทันในสมัยการประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญนี้ เนื่องจากเงื่อนไขเรื่องเวลา และขณะนี้รัฐสภามีร่าง พ.ร.บ. สำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ คือ ร่าง พ.ร.บ. ผู้ตรวจเงินแผ่นดิน ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และร่างพ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี
นายสามารถ ยังเรียกร้องให้ฝ่ายค้านเปิดโอกาสให้รัฐบาลทำงานบริหารประเทศก่อน ซึ่งหากการบริหารล้มเหลว ฝ่ายค้านจะยื่นขอเปิดอภิปรายในช่วงนั้น น่าจะเหมาะสมกว่า และเกิดความชอบธรรมกว่าด้วย
นอกจากนี้ ประธานวิปรัฐบาล กล่าวด้วยว่า หากฝ่ายค้านต้องการอภิปรายจริงๆ ก็สามารถยื่นขอเปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญอีกครั้ง ตามมาตรา 129 ก็สามารถทำได้ โดยการรวบรวมรายชื่อส.ส. และส.ว. รวมกันให้ได้ 207 รายชื่อก็ขอเปิดได้
"คาดว่าพระราชกฤษฏีกา เปิดสมัยประชุมสามัยวิสามัญน่าจะอยู่ประมาณวันที่ 27-28 มิ.ย. เมื่อพิจารณา พ.ร.บ.งบประมาณแล้ว ซึ่งเมื่อดูจากเวลาทั้งหมดไม่น่าจะทัน เพราะเวลามีจำกัด อีกทั้งรัฐบาลก็เพิ่งเข้ามาบริหารเพียง 4 เดือน จึงอยากขอเวลาให้รัฐบาลทำงาน และมีงบประมาณของตนเองก่อน ซึ่งหากรัฐบาลทำงานแล้ว หากมีความเสียหายค่อยมาอภิปรายก็ได้ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังมีบทบัญญัติให้ฝ่ายเสียงข้างน้อยเปิดอภิปรายรัฐบาลได้เมื่อรัฐบาลบริหารราชการแผ่นดินแล้ว 2 ปี" นายสามารถ กล่าว
ด้านนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปกติแล้วญัตติที่ยื่นไปแล้วและประธานบรรจุในระเบียบวาระแล้ว รัฐบาลจำเป็นจะต้องมาตอบหรือไม่นั้น ตามข้อบังคับบอกว่า ให้แจ้งรัฐบาลโดยเร็ว แต่ที่ผ่านมานั้นก็เห็นว่าต้องมีการประสานกันว่า จะหยิบยกญัตตินี้ขึ้นมาพิจารณากันเมื่อไร หากบรรจุแล้ว แต่หากยังไม่ได้บรรจุ ก็อาจจะหารือกับรัฐบาลก่อนว่าพร้อมเมื่อไร
เมื่อถามว่ากรณีของ ส.ว.ที่ยื่นญัตติแล้ว และประธานส.ว.บรรจุในระเบียบวาระแล้ว รัฐบาลพร้อมหรือไม่ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า รัฐบาลก็มีสิทธิบอกว่า จะสมควรเมื่อไร อย่างไร มีข้อจำกัดอะไรบ้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากดูสถานการณ์ในขณะนี้แล้ว มองได้หรือไม่ว่า รัฐบาลได้ปิดทางการขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านไป แล้ว ใช่หรือไม่ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ตอนนี้ก็แล้วแต่ความเห็นของประธานสภา กับความเห็นของนายกฯ ในฐานะผู้นำรัฐบาล ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องของกฎระเบียบ ข้อบังคับที่มีอยู่ ที่ไม่สามารถดิ้นไปไหนได้ เมื่อถามว่าเท่าที่ประเมิน เห็นว่าฝ่ายค้านจงใจอภิปรายเพราะต้องการดักทางไม่ให้มีกระบวนการยุบสภา หรือไม่มีสาระจริงๆ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า เดาไม่ถูก ต้องให้ชั้นเซียนเขาวิเคราะห์
**อ้างเป็นแผนแยกปลาจากน้ำ
นายสุทิน คลังแสง ส.ส. มหาสารคาม พรรคพลังประชาชน กล่าวว่า ถ้าสังเกตให้ดี จะเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์เลือกอภิปรายนายกฯ กับรัฐมนตรี ในส่วนของพรรคพลังประชาชน โดยไม่มีรัฐมนตรีของพรรคร่วมรัฐบาลเลย ซึ่งเป็นแผนตื้นๆ ทางการเมือง ที่ต้องการตอกลิ่มความแตกแยกในรัฐบาล และหวังว่าในที่สุด รัฐบาลจะล้มและพรรคประชาธิปัตย์ จะนำพรรคร่วมรัฐบาลแยกตัวออกไปเป็นพวกของตัวเอง พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีเจตนาในการอภิปรายอย่างสร้างสรรค์ หรือจะเสนอทางออกให้สังคมตามเหตุผลที่กล่าวอ้างเลย เป็นเพียงการสงวนมิตรไว้แล้ว แยกศัตรูออก
**61ส.ว.เสียงแข็ง ยันต้องอภิปราย
น.ส.สุมล สุตตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี ,นางพรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ส.ว.สรรหา , นายสาย กังกเวคิน ส.ว.ระยอง ,นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ,นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา ,นายไพบูลย์ นิติตะวัน สรรหา ในฐานะแกนนำ 61 ส.ว. ร่วมกันแถลงผลการประชุม ของตัวแทนและผู้ประสานงานกลุ่ม 61 ส.ว. ที่ได้ยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปรัฐบาล ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 โดย น.ส.สุมนต์ กล่าวว่า กลุ่ม ส.ว.ยังคงยืนยันที่จะดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 ซึ่งถือเป็นสิทธิของ ส.ว. ที่จะดำเนินการได้ และถือเป็นหน้าที่ของรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญด้วยเช่นกัน ที่จะต้องมาชี้แจง เพราะเป็นสิทธิของส.ว. และก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องมาชี้แจง ทาง ส.ว.ยืนยันว่า จะใช้รัฐธรรมนูญ มาตรา 161
น.ส.สุมล กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีหนังสือตอบรับอย่างเป็นทางการของรัฐบาล ข่าวที่เกิดขึ้นเป็นเพียงข่าวที่ปรากฏทางสื่อมวลชนเท่านั้นว่า รัฐบาลจะไม่มาชี้แจง นางพรพันธุ์ กล่าวว่า เรายังมั่นใจว่ากรณีนี้เป็นเรื่องที่รัฐธรรมนูญบังคับไว้อย่างชัดเจน โดยการอภิปรายรัฐบาลเป็นเรื่องความเดือดร้อนของประชาชนจริงๆ เราไม่ได้ต้องการสร้างเรื่อง หรือ หาเรื่องรัฐบาล เรามีความคิดเห็นที่อยากเสนอแนะรัฐบาล เมื่อรัฐธรรมนูญเปิดช่องให้ จึงเห็นว่าไม่มีเหตุผลอะไรที่รัฐบาลจะปฏิเสธ ส.ว.ที่ปรารถนาดีต่อรัฐบาลด้วยเช่นกัน
นายไพบูลย์ กล่าวว่า หากมีความชัดเจนจากรัฐบาลแล้ว กลุ่ม 61 ส.ว. จะมีการประชุมเพื่อกำหนดท่าทีอีกครั้ง ในวันที่ 19 มิ.ย. เวลา 17.00 น. ที่ ร.ร.รอยัลปริ๊นซ์เซส หลานหลวง เพื่อกำหนดท่าทีที่กลุ่มส.ว. จะดำเนินการต่อไปอีกครั้ง
ขณะที่นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า เวลามีเสมอ ถ้าคิดจะแก้ปัญหา แต่ถ้าไม่คิดจะแก้ปัญหาเวลาก็ไม่มี คิดว่าเวลาที่เหลือขณะนี้มีเพียงพอ ถ้าไม่มาผลเสียก็ตกที่นายกฯ และระบบของรัฐสภา ซึ่งรัฐบาลเรียกร้องให้ใช้เวทีสภาแก้ปัญหาแต่กลับปฎิเสธเสียเอง ถือว่าเป็นการทำลายระบบรัฐสภา
เมื่อถามว่า มีข้อเสนอจากฝ่ายค้าน ให้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 129 ให้ ส.ว.ร่วมลงชื่อเพื่อขอเปิดสภาสมัยวิสามัญอีกครั้ง นายคำนูณ กล่าวว่า ขณะนี้สภาวิสามัญก็ยังเปิดอยู่ ถ้าเราไปยื่นเพื่อขอเปิดสมัยวิสามัญอีก เดี๋ยวจะมีคนหาว่า เรากระเหี้ยนกระหือรือ และเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมว่า ภารกิจอีกครึ่งทางรัฐบาลจะทำให้เสร็จหลังจากที่วุฒิสภาทำไปแล้วครึ่งหนึ่ง
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า การร่างญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้น จะแยกออกเป็น 2 ชุด โดยชุดแรก คือ ร่างญัตติอภปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 158 โดยจะระบุถึงพฤติกรรมของนายกรัฐมนตรี ว่าไม่น่าไว้วางใจจากการบริหารราชการแผ่นดิน พร้อมกันนั้น พรรคจะเสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้ดำรงตำแหน่งแทน ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ส่วนร่างญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีทั้ง 6 คนนั้น จะเน้นภาพรวมการบริหารงานที่บกพร่องล้มเหลว โดยร่างญัตติทั้ง 2 มาตรานี้ฝ่ายค้านจะชี้ให้ประชาชนเห็นว่า พฤติกรรมของรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้ไม่น่าไว้วางใจอย่างไร ซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลจะต้องขัดขวาง และหลีกเลี่ยงการตรวจสอบตามกระบวนการของรัฐสภาอย่างแน่นอน
โดยเฉพาะท่าทีของนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร แม้จะอยู่ฝ่ายนิติบัญญัติแต่การทำงานกลับดูเหมือนว่าถูกครอบงำจากฝ่ายบริหารอย่างชัดเจน เห็นได้จากกรณีที่ ส.ว.และส.ส. เรียกร้องขอให้นายกรัฐมนตรี เปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ ตามมาตรา 179 แต่ประธานสภา กลับออกมารับลูกนายกฯ ด้วยการไม่เปิดอภิปรายทั่วไป
นายสาทิตย์ กล่าวว่า คาดว่าร่างญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจจะแล้วเสร็จ จากนั้นจะส่งให้นายอภิสิทธิ์ ตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง และในวันนี้ ( 17 มิ.ย.) จะนำร่างทั้ง 2 ญัตติ หารือในที่ประชุมวิปฝ่ายค้านในช่วงเช้า จากนั้นในช่วงบ่าย ในที่ประชุมส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ก็จะเปิดโอกาสให้ส.ส.ทั้ง 164 คน ร่วมกันเข้าชื่อ ส่วนการยื่นญัตติดังกล่าว จะทันก่อนหมดเวลาราชการในวันที่ 17 มิ.ย.นี้ ตามที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคระบุหรือไม่ ก็คงต้องรอดูต่อไป
**"อภิสิทธิ์"ชี้มีเวลาเหลือเฟือ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการวางตัวผู้ที่จะอภิปรายว่าไม่มีปัญหา เพราะพรรคมีคนที่ติดตามงานของพรรคในทุกกระทรวงอยู่แล้ว โดยเฉพาะรัฐมนตรีเงาของพรรค จะต้องเป็นหลักในการนำเสนอ แต่จะอภิปรายหรือไม่ เป็นอีกเรื่อง อย่างไรก็ตาม พรรคให้ความสำคัญกับเนื้อหาสาระก่อน และยังเชื่อมั่นว่ามีเวลาพอที่จะอภิปรายไม่ไว้วางใจได้
"ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ยื่นญัตติไปตามรัฐธรรมนูญ ก็จะดูว่ารัฐบาลกับประธานสภา จะดำเนินการอย่างไร ที่จริงกรณีของเราก็ยังไม่ได้เป็นเรื่องที่ยื่นไปแล้ว แต่กรณีของวุฒิสภาที่ยื่นไปแล้ว ทางประธานสภา หรือทางรัฐบาลต้องพูดให้ชัด เพราะผมมองไม่เห็นว่ามีเหตุผลอะไรที่วุฒิสภาจะไม่สามารถใช้สิทธิของเขาได้ และวันนี้ ผมยังยืนยันว่า เวลาเพียงพอ ญัตติอาจจะยื่นพรุ่งนี้ มะรืนนี้ ตรวจสอบรายชื่อประมาณวันสองวัน ส่งให้รัฐบาล รัฐบาลก็พร้อมชี้แจงอยู่แล้ว หลังพิจารณางบประมาณก็ได้ ทำไมถึงจะไม่ให้ ในเมื่อรัฐบาลมีมติไว้เองว่าจะปิดสภาวันที่ 30 มิ.ย.นี้" นายอภิสิทธิ์กล่าว
ส่วนถ้ารัฐบาลปิดสมัยประชุมรัฐสภาก่อน และไม่สามารถอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ จะทำอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คงจะต้องดูว่ามีความจงใจที่จะไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่ข้อมูลที่มีอยู่ก็จะไม่สูญเปล่าอย่างแน่นอน
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การยื่นญัตติอภิปรายนายกฯและรัฐมนตรี ในวันนี้ (17 มิ.ย.) เป็นการวัดใจประธานสภา ว่าจะบรรจุหรือไม่ ทั้งนี้ส่วนตัวเห็นว่า ประธานสภาต้องมีความเป็นกลาง จะมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกับนายกฯไม่ได้ เพราะยังมีเวลาในการประชุมสภาสมัยวิสามัญ พร้อมเห็นใจนายกรัฐมนตรี เมื่อพูดถึงปัญหาบ้านเมืองกลับอารมณ์ไม่ดี แต่พอพูดถึงการทำกับข้าว กลับอารมณ์ดี
ผู้สื่อข่าวถามว่า พันธมิตรฯ ออกมาชวนว่า ถ้าใช้เวทีในสภาไม่ได้ก็ให้ไปร่วมกับเวทีพันธมิตรฯ นายสุเทพ กล่าวว่า ตนก็เอาใจช่วยพันธมิตรฯ เพราะมองว่าพันธมิตรฯ ก็มีความปรารถนาดีต่อบ้านเมือง ส่วนจะให้พวกตนไปร่วมด้วยคงไม่ได้ เพราะเรามีเวทีของเรา เมื่อถามว่า อาจถูกมองได้ว่าสุดท้ายแล้วก็ร่วมมือกัน เพราะพรรคประชาธิปัตย์ เล่นเกมในสภา โดยให้พันธมิตรฯ เล่นนอกสภา นายสุเทพ กล่าวว่า คงไม่ใช่ พันธมิตรฯ จริงๆ แล้วก็ไม่ได้สนใจมากว่าใครจะรู้สึกอย่างไร เนื่องจากเขามีแนวทางชัดเจน ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ เราก็มีแนวทางของเรา แต่มีส่วนเหลื่อมอยู่บ้าง เพราะคนของเราบางคนมาจากพื้นฐานเดิมคือ เป็นพันธมิตรฯ มาก่อน อย่างนี้ห้ามปรามยาก แต่ก็ได้พูดกันให้เป็นที่เข้าใจแล้ว ถ้าตราบใดที่พันธมิตรฯ ชุมนุมประท้วงต่อต้านแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการใช้อำนาจที่ไม่ถูกต้องของรัฐบาล อย่างนี้ก็ไปร่วมด้วย แต่เมื่อไรที่พันธมิตรฯ เปิดเกมขับไล่รัฐบาลพวกเราคงไปร่วมไม่ได้
เมื่อถามว่า ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย เป็นรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในฐานะที่เป็น รมว.มหาดไทยเงา จะเป็นคนอภิปรายเองหรือไม่ นายสุเทพกล่าวว่า ต้องดูว่าทางคณะทำงานจะมอบหมายภารกิจอะไรให้ อย่างที่เรียน ไปแล้วว่าตนไม่ค่อยให้ราคา ร.ต.อ.เฉลิม แต่เมื่อเขาเป็นรมว.มหาดไทย แล้วไม่ทำในสิ่งที่ควรจะทำ หรือทำในสิ่งที่ไม่สมควรจะทำ ก็ต้องถูกอภิปราย โดยจะชี้ให้ประชาชนเห็นว่าคนเหล่านี้ไม่เหมาะสมและไม่สมควรที่จะมาเป็นรัฐมนตรี ยิ่งอยู่นานไปก็เสียโอกาสของประชาชนและประเทศชาติ
** รัฐบาลอ้างไม่มีเวลาให้อภิปราย
ด้านนายสามารถ แก้วมีชัย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล หรือวิปรัฐบาล กล่าวการยื่นขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านว่าคงไม่สามารถจะเปิดการอภิปรายได้ทันในสมัยการประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญนี้ เนื่องจากเงื่อนไขเรื่องเวลา และขณะนี้รัฐสภามีร่าง พ.ร.บ. สำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ คือ ร่าง พ.ร.บ. ผู้ตรวจเงินแผ่นดิน ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และร่างพ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี
นายสามารถ ยังเรียกร้องให้ฝ่ายค้านเปิดโอกาสให้รัฐบาลทำงานบริหารประเทศก่อน ซึ่งหากการบริหารล้มเหลว ฝ่ายค้านจะยื่นขอเปิดอภิปรายในช่วงนั้น น่าจะเหมาะสมกว่า และเกิดความชอบธรรมกว่าด้วย
นอกจากนี้ ประธานวิปรัฐบาล กล่าวด้วยว่า หากฝ่ายค้านต้องการอภิปรายจริงๆ ก็สามารถยื่นขอเปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญอีกครั้ง ตามมาตรา 129 ก็สามารถทำได้ โดยการรวบรวมรายชื่อส.ส. และส.ว. รวมกันให้ได้ 207 รายชื่อก็ขอเปิดได้
"คาดว่าพระราชกฤษฏีกา เปิดสมัยประชุมสามัยวิสามัญน่าจะอยู่ประมาณวันที่ 27-28 มิ.ย. เมื่อพิจารณา พ.ร.บ.งบประมาณแล้ว ซึ่งเมื่อดูจากเวลาทั้งหมดไม่น่าจะทัน เพราะเวลามีจำกัด อีกทั้งรัฐบาลก็เพิ่งเข้ามาบริหารเพียง 4 เดือน จึงอยากขอเวลาให้รัฐบาลทำงาน และมีงบประมาณของตนเองก่อน ซึ่งหากรัฐบาลทำงานแล้ว หากมีความเสียหายค่อยมาอภิปรายก็ได้ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังมีบทบัญญัติให้ฝ่ายเสียงข้างน้อยเปิดอภิปรายรัฐบาลได้เมื่อรัฐบาลบริหารราชการแผ่นดินแล้ว 2 ปี" นายสามารถ กล่าว
ด้านนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปกติแล้วญัตติที่ยื่นไปแล้วและประธานบรรจุในระเบียบวาระแล้ว รัฐบาลจำเป็นจะต้องมาตอบหรือไม่นั้น ตามข้อบังคับบอกว่า ให้แจ้งรัฐบาลโดยเร็ว แต่ที่ผ่านมานั้นก็เห็นว่าต้องมีการประสานกันว่า จะหยิบยกญัตตินี้ขึ้นมาพิจารณากันเมื่อไร หากบรรจุแล้ว แต่หากยังไม่ได้บรรจุ ก็อาจจะหารือกับรัฐบาลก่อนว่าพร้อมเมื่อไร
เมื่อถามว่ากรณีของ ส.ว.ที่ยื่นญัตติแล้ว และประธานส.ว.บรรจุในระเบียบวาระแล้ว รัฐบาลพร้อมหรือไม่ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า รัฐบาลก็มีสิทธิบอกว่า จะสมควรเมื่อไร อย่างไร มีข้อจำกัดอะไรบ้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากดูสถานการณ์ในขณะนี้แล้ว มองได้หรือไม่ว่า รัฐบาลได้ปิดทางการขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านไป แล้ว ใช่หรือไม่ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ตอนนี้ก็แล้วแต่ความเห็นของประธานสภา กับความเห็นของนายกฯ ในฐานะผู้นำรัฐบาล ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องของกฎระเบียบ ข้อบังคับที่มีอยู่ ที่ไม่สามารถดิ้นไปไหนได้ เมื่อถามว่าเท่าที่ประเมิน เห็นว่าฝ่ายค้านจงใจอภิปรายเพราะต้องการดักทางไม่ให้มีกระบวนการยุบสภา หรือไม่มีสาระจริงๆ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า เดาไม่ถูก ต้องให้ชั้นเซียนเขาวิเคราะห์
**อ้างเป็นแผนแยกปลาจากน้ำ
นายสุทิน คลังแสง ส.ส. มหาสารคาม พรรคพลังประชาชน กล่าวว่า ถ้าสังเกตให้ดี จะเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์เลือกอภิปรายนายกฯ กับรัฐมนตรี ในส่วนของพรรคพลังประชาชน โดยไม่มีรัฐมนตรีของพรรคร่วมรัฐบาลเลย ซึ่งเป็นแผนตื้นๆ ทางการเมือง ที่ต้องการตอกลิ่มความแตกแยกในรัฐบาล และหวังว่าในที่สุด รัฐบาลจะล้มและพรรคประชาธิปัตย์ จะนำพรรคร่วมรัฐบาลแยกตัวออกไปเป็นพวกของตัวเอง พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีเจตนาในการอภิปรายอย่างสร้างสรรค์ หรือจะเสนอทางออกให้สังคมตามเหตุผลที่กล่าวอ้างเลย เป็นเพียงการสงวนมิตรไว้แล้ว แยกศัตรูออก
**61ส.ว.เสียงแข็ง ยันต้องอภิปราย
น.ส.สุมล สุตตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี ,นางพรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ส.ว.สรรหา , นายสาย กังกเวคิน ส.ว.ระยอง ,นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ,นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา ,นายไพบูลย์ นิติตะวัน สรรหา ในฐานะแกนนำ 61 ส.ว. ร่วมกันแถลงผลการประชุม ของตัวแทนและผู้ประสานงานกลุ่ม 61 ส.ว. ที่ได้ยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปรัฐบาล ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 โดย น.ส.สุมนต์ กล่าวว่า กลุ่ม ส.ว.ยังคงยืนยันที่จะดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 ซึ่งถือเป็นสิทธิของ ส.ว. ที่จะดำเนินการได้ และถือเป็นหน้าที่ของรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญด้วยเช่นกัน ที่จะต้องมาชี้แจง เพราะเป็นสิทธิของส.ว. และก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องมาชี้แจง ทาง ส.ว.ยืนยันว่า จะใช้รัฐธรรมนูญ มาตรา 161
น.ส.สุมล กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีหนังสือตอบรับอย่างเป็นทางการของรัฐบาล ข่าวที่เกิดขึ้นเป็นเพียงข่าวที่ปรากฏทางสื่อมวลชนเท่านั้นว่า รัฐบาลจะไม่มาชี้แจง นางพรพันธุ์ กล่าวว่า เรายังมั่นใจว่ากรณีนี้เป็นเรื่องที่รัฐธรรมนูญบังคับไว้อย่างชัดเจน โดยการอภิปรายรัฐบาลเป็นเรื่องความเดือดร้อนของประชาชนจริงๆ เราไม่ได้ต้องการสร้างเรื่อง หรือ หาเรื่องรัฐบาล เรามีความคิดเห็นที่อยากเสนอแนะรัฐบาล เมื่อรัฐธรรมนูญเปิดช่องให้ จึงเห็นว่าไม่มีเหตุผลอะไรที่รัฐบาลจะปฏิเสธ ส.ว.ที่ปรารถนาดีต่อรัฐบาลด้วยเช่นกัน
นายไพบูลย์ กล่าวว่า หากมีความชัดเจนจากรัฐบาลแล้ว กลุ่ม 61 ส.ว. จะมีการประชุมเพื่อกำหนดท่าทีอีกครั้ง ในวันที่ 19 มิ.ย. เวลา 17.00 น. ที่ ร.ร.รอยัลปริ๊นซ์เซส หลานหลวง เพื่อกำหนดท่าทีที่กลุ่มส.ว. จะดำเนินการต่อไปอีกครั้ง
ขณะที่นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า เวลามีเสมอ ถ้าคิดจะแก้ปัญหา แต่ถ้าไม่คิดจะแก้ปัญหาเวลาก็ไม่มี คิดว่าเวลาที่เหลือขณะนี้มีเพียงพอ ถ้าไม่มาผลเสียก็ตกที่นายกฯ และระบบของรัฐสภา ซึ่งรัฐบาลเรียกร้องให้ใช้เวทีสภาแก้ปัญหาแต่กลับปฎิเสธเสียเอง ถือว่าเป็นการทำลายระบบรัฐสภา
เมื่อถามว่า มีข้อเสนอจากฝ่ายค้าน ให้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 129 ให้ ส.ว.ร่วมลงชื่อเพื่อขอเปิดสภาสมัยวิสามัญอีกครั้ง นายคำนูณ กล่าวว่า ขณะนี้สภาวิสามัญก็ยังเปิดอยู่ ถ้าเราไปยื่นเพื่อขอเปิดสมัยวิสามัญอีก เดี๋ยวจะมีคนหาว่า เรากระเหี้ยนกระหือรือ และเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมว่า ภารกิจอีกครึ่งทางรัฐบาลจะทำให้เสร็จหลังจากที่วุฒิสภาทำไปแล้วครึ่งหนึ่ง