ผู้จัดการรายวัน-“สันติ”ไม่หวั่นถูกฝ่ายค้านเล็งอภิปราย ขอโอกาสทำงานแก้ปัญหาให้ประชาชน ยันทำอย่างบริสุทธิ์ โปร่งใส “ทรงศักดิ์”เข็นโปรเจ็กต์เช่ารถเอ็นจีวี 6,000 คันเข้าครม. วันนี้(17 มิ.ย.) ยันโปร่งใส บริสุทธิ์ ด้านสหภาพฯ ขสมก.ยืนหนังสือถึงสมัครค้านเลิกรถร้อน ชี้เท่ากับทิ้งนโยบาย PSO พร้อมทำจดหมายเปิดผนึก ท้า”สมัคร”ตั้งคนกลางสอบทุจริต หลังพูดในรายการสนทนาประสาสมัครว่ามีคอร์รัปชั่น ระบุอย่ากล่าวหาลอยๆ เจ๊เกียว’ ขอขึ้นอีก 9 สตางค์ต่อกิโลเมตร อ้างดีเซลพุ่งทะลุ 42 บาทต่อลิตร ขณะที่สิงห์รถบรรทุกเลื่อนบุกกรุง อ้างรอผลหารือระหว่างคมนาคม- พลังงาน 19 มิ.ย.
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า พร้อมที่จะชี้แจงการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะ ปัญหาขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งยืนยันว่ามีความโปร่งใสทุกกรณี ทุกขั้นตอน ไม่มีการประมูลด้วยวิธีพิเศษ จึงมั่นใจว่าจะอภิปรายได้ อย่างไรก็ตามรัฐบาล ทำงานเพียง 4 เดือนเท่านั้น ควรที่จะรอดูการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพเสียก่อน
“มีความพยายามสร้างเหตุการณ์กระตุกขาตามมาอีกหลายเรื่องจากฝ่ายค้านและฝ่ายที่ไม่ชอบรัฐบาลทำให้การเดินหน้าแก้ปัญหาให้กับประชาชนต้องล่าช้า โดยเห็นว่า การเลือกอภิปรายเฉพาะรัฐมนตรีในสังกัดพรรคพลังประชาชนนั้น เป็นเทคนิคอย่างหนึ่ง และยืนยันว่ารัฐบาลตั้งใจจริงในการแก้ปัญหาให้กับประชาชน โดยเฉพาะการเดินหน้าการขนส่งระบบรางคู่”นายสันติกล่าว
ด้านนายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวยืนยันว่า จะ นำโครงการเช่ารถโดยสารที่ใช้เครื่องยนต์ก๊าซธรรมชาติ (เอ็นจีวี ) เป็นเชื้อเพลิง จำนวน 6,000 คัน ซึ่งรวมอยู่ในแผนฟื้นฟูกิจการ ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในวันนี้ (17 มิ.ย.) นี้ เนื่องจากเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ และสร้างความสะดวกสบายในการเดินทางให้แก่คนกรุงเทพฯ
ส่วนข้อสังเกตของฝ่ายค้าน เช่น เป็นความต้องการของรัฐบาลที่มีการยกเลิกโครงการเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็นเอ็นจีวีเดิม 2,000 คันของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา เพื่อผลักดันโครงการเช่ารถโดยสารเอ็นจีวี 6,000 คันแทนนั้น จากข้อเท็จจริงการศึกษาเพื่อเปลี่ยนเครื่องยนต์รถโดยสาร 2,000 คันเป็นเอ็นจีวีนั้น ยังเป็นแค่ขั้นตอนแรกของการศึกษาความเป็นไปได้ ซึ่งเมื่อมีการทดลองใช้จริงก็พบว่า สภาพของรถขสมก.ที่เก่าทำให้เกิดปัญหามากมาย
“เมื่อมีการทดลองของเอกชน พบว่าการนำเครื่องยนต์เอ็นจีวีไปติดตั้งในรถโดยสารที่มีอายุการใช้งานมากถึง 30 ปี พบว่า มีปัญหาทั้งในเรื่องของคลัชท์ซี ต้องเปลี่ยนระบบเกียร์ และที่สำคัญคือเฟื่องท้าย ที่ไม่สามารถทำงานตามรอบของเครื่องยนต์ได้ เมื่อนำมาใช้งานจริงจะเกิดปัญหา เป็นภาระในการซ่อมมากกว่า” นายทรงศักดิ์กล่าว
ส่วนการกล่าวหาว่า การยกเลิกรถร้อนและเปลี่ยนเป็นรถแอร์ทั้งหมดนั้น เป็นการปิดทางเลือกของผู้ใช้บริการนั้น นายทรงศักดิ์กล่าวว่า ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เพราะระบบรถโดยสารในกรุงเทพฯ ทั้งหมดมีมากถึง 18,000 คัน ซึ่ง ขสมก.จะจัดหารถแอร์ 6,000 คันเท่านั้น ซึ่งในระบบยังเหลือความต้องการรถอีกจำนวนมาก ส่วนที่มีการระบุว่า การจัดเช่ารถโดยสารคันละ 6,000 คัน คันละ 5,000 บาทต่อวัน เป็นระยะเวลา 10 ปีนั้น ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล ควรที่จะใช้วิธีการจัดซื้อมากกว่าข้อเท็จจริงโครงการนี้ไม่ว่าซื้อหรือเช่า ก็เป็นการนำเงินในอนาคตมาใช้ แต่การเช่านั้นภาระลงทุนจะมีเอกชนเป็นผู้ลงทุนไปก่อนและเก็บรายได้คืนจากการจัดแบ่งรายได้จากค่าโดยสารที่จะมีภายหลัง ซึ่งเป็นผลดีไม่เป็นภาระต่องบประมาณ
***สหภาพฯขสมก.ค้านเลิกรถร้อน
วานนี้ (16มิ.ย.) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้ยื่นหนังสือต่อนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เพื่อคัดค้านการยกเลิกเดินรถร้อนและคงเห็นควรให้ขสมก.คงรถร้อนและรถปรับอากาศในสัดส่วนที่เท่ากัน เพื่อเป็นทางเลือกในการใช้บริการและช่วยแบ่งเบาภาระค่าครองชีพของประชาชนที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเสนอให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการ 4 ข้อประกอบด้วย 1. ในการเช่ารถโดยสาร6,000 คัน แบ่งเป็นรถโดยสารปรับอากาศ 4,000 คัน และรถร้อนเก็บค่าโดยสารราคาถูก 2,000 คัน, 2. รถร้อนและรถปรับอากาศที่ ขสมก. ใช้งานได้ในปัจจุบันยังให้คงใช้งานต่อไป โดยให้บรรจุรถในเส้นทางรถร่วมเอกชนที่ได้สัมปทาน 20-50% ของจำนวนรถแต่ละเส้นทางเพื่อเป็นทางเลือกและแข่งขันการให้บริการที่ดีแก่ประชาชนผู้ใช้บริการและป้องกันความเดือดร้อนของประชาชนหากรถเอกชนหยุดวิ่งทุกกรณี
3.การจัดจ้างเช่ารถโดยสาร 6,000 คัน จะต้องโปร่งใสและแต่งตั้งผู้แทนองค์กรภาคเอกชนและผู้แทนสหภาพแรงงานฯ เข้าร่วมเป็นกรรมการดำเนินการด้วย และ 4.คุณสมบัติเสนอราคาให้เช่ารถโดยสารจะต้องไม่เคยผิดเงื่อนไขสัญญา หรือละทิ้งสัญญาที่ทำหรือเคยทำกับหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจและการกระทำดังกล่าว ทำให้หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เกิดความเสียหาย
อย่างไรก็ตามในการปรับโครงสร้างขสมก.นั้น ก่อนหน้านี้ มีการพูดถึงการให้บริการเชิงสังคม (PSO) กับผู้มีรายได้น้อย เพื่อเป็นทางเลือก เพราะ รถร้อนจะมีค่าโดยสารต่ำกว่ารถปรับอากาศ ดังนั้นไม่ว่าจะมีการจัดหารถปรับอากาศเข้ามาอย่างไร ก็ต้องมีรถร้อนบริการด้วย แต่นโยบายขณะนี้ไม่ได้พูดถึงซึ่งถือว่าไม่ถูกต้อง
***ท้า”สมัคร”ตั้งคนกลางสอบทุจริต
นอกจากนี้สหภาพฯ ขสมก.ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึง นายกรัฐมนตรี และพนักงาน ขสมก.รวมถึงประชาชนผู้ใช้บริการ โดยเรียกร้องให้นายกฯตั้งคณะกรรมการจากทำเนียบรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมที่เป็นกลาง เพื่อสวนสวนพิสูจน์ข้อกล่าวว่า กรณีที่ นายกฯได้กล่าวในรายการสนทนาประสาสมัครเมื่อวันที่ 15 มิ.ย.51 ในเรื่องการแก้ปัญหา ขสมก.4 เรื่องซึ่ง หนึ่งในนั้นคือการทุจริต คอรัปชั่นภายใน ขสมก. โดยมีการลักลอบนำน้ำมันไปขายและมีทุจริตในการขายตั๋ว โดยใช้วิธีตัดตั๋วเหลื่อม ซึ่งหมายถึงตั๋ว 10 ใบพนักงานจะแบ่งขายเป็น 12 ใบด้วยการตัดตั๋วเหลื่อม
โดยสหภาพฯ ขสมก.ยืนยันว่า หากนายกฯ พูดว่ามีการทุจริตดังกล่าว ก็เท่ากับว่า นายกฯมีข้อมูล ดังนั้นควรตั้งกรรมการสอบสวนมากกว่าที่จะมากล่าวหากันลอยๆ ซึ่งทำให้พนักงานขสมก.เสียหาย ทั้งๆที่ เป็นที่ทราบกันดีว่า สาเหตุที่ทำให้ ขสมก.ต้องประสบกับปัญหาขาดทุนเนื่องจาก นโยบายของรัฐบาลที่ควบคุมค่าโดยสารต่ำกว่าต้นทุนจริง ส่วนการทุจริตต่างๆ มีการตรวจสอบกันภายในอยู่แล้ว
**** เครือข่ายฯ ขู่ฟ้องศาลปกครอง
นายบุญชัย รุ่งเรืองไพศาลสุข ประธานเครือข่ายคัดค้านขึ้นค่าโดยสารสาธารณะ กล่าวว่า จุดยืนของเครือข่ายฯ ไม่เห็นด้วย กับแนวทางการจัดหารถเมล์ 6,000 คัน ด้วยวิธีเช่าเพราะมีต้นทุนสูงกว่าซื้อและจำนวน6,000 คันนั้นมากเกินไป โดยเห็นว่า ปัจจุบัน ขสมก.มีรถวิ่งบริการทั้งหมด ประมาณ 3,500 คัน การจัดหารถใหม่ ควรอยู่ในจำนวนประมาณ 4,000 คันก็ถือว่าเพียงพอต่อการใช้งานแล้ว หากรัฐบาลดึงดัน ที่จะเดินหน้าโครงการ และมีการผ่านความเห็นชอบจัดเช่ารถเมล์ ขสมก.6,000 คัน กลุ่มเครือข่ายจะเข้าฟ้องร้องต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อขอคุ้มครองระงับการทำโครงการดังกล่าว
ส่วนการจัดหารถโดยวิธีเช่าคันละ 5,100 บาทต่อวันจำนวน 6,000 คัน เป็นเวลา 10 ปี จะรวมเป็นเงินนับ แสนล้านบาท ซึ่งถือว่าไม่เป็นภาระกับประชาชน และกับงบประมาณของรัฐมากเกินไป แต่หากซื้อแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) กับประเทศผู้ผลิต โดยนำสินค้าเกษตรของไทย ไปแลกซื้อได้ ราคาซื้อประมาณคันละ 2-5 ล้านบาท รวมไม่เกิน 30,000 ล้านบาท
***เจ๊เกียว’ ขอขึ้น อีก 9 สตางค์
วันเดียวกันนางสุจินดา เชิดชัย หรือ ‘เจ๊เกียว’ นายกสมาคมผู้ประกอบการรถยนต์โดยสาร ได้นำสมาชิกสมาคมฯ เข้าขอพบนายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม ยื่นข้อเรียกร้อง ขอปรับราคาค่าโดยสารรถร่วมบริการ ของบริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส. อีก 9 สตางค์ ต่อกิโลเมตร และขอให้มีผลเร็วที่สุด หลังราคาน้ำมันดีเซล ปรับราคาสูงสุดถึง 42.14 บาท/ลิตรแล้ว ส่งผลให้ผู้ประกอบการขาดทุนจากการให้บริการเป็นอย่างมาก
นายสันติกล่าวว่า กระทรวงจะรับขอเรียกร้องของผู้ประกอบการไว้ แต่การจะอนุมัติให้ปรับราคาค่าโดยสารนั้น จะเป็นอำนาจของคณะกรรมการ ควบคุมขนส่งทางบกกลาง ที่จะมีการพิจารณาต้นทุนของผู้ประกอบการอีกครั้ง
***รถบรรทุก เลื่อนบุกกรุง
นายยู เจียรยืนยงพงศ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการรถบรรทุกจะเลื่อนนำรถเข้ากรุงเทพที่กำหนดไว้ในวันนี้( 17 มิ.ย.) ออกไปก่อน เพื่อรอผลการหารือระหว่าง กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 19 มิ.ย. ในประเด็นที่ได้เรียกร้องไว้ทั้ง 8 ข้อ ซึ่งหากภาครัฐได้ข้อสรุปแนวทางการช่วยเหลือผู้ประกอบการอย่างไร ทางสมาคมจะตกลงกันอีกครั้ง ซึ่งหากผู้ประกอบการได้รับส่วนลดราคาน้ำมันดีเซลหน้าปั๊ม 3 บาทต่อลิตรจะไม่มีการขึ้นค่าขนส่ง ซึ่ง 2-3 ปีที่ผ่านมาก็ไม่ได้มีการขึ้นค่าขนส่งแต่อย่างใด
*****รอกบง.ชี้ขาดจัดสรรน้ำมันรถบรรทุก
พลโทหญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รมว.พลังงาน กล่าวว่า กรณีที่สมาคมรถบรรทุกได้ทำหนังสือมาเพื่อขอให้ช่วยจัดสรรน้ำมันดีเซลราคาต่ำกว่าปกติ 3 บาทต่อลิตรนั้นคงจะต้องมีการนำเข้าหารือในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงาน(กบง.) เร็ว ๆ นี้ว่าจะจัดสรรหรือไม่ อย่างไร กระทรวงพลังงานไม่สามารถตัดสินใจได้เพราะต้องรับฟังข้อคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เป็นตัวแทนในกบง.ก่อน
“ ดีเซลที่เราได้รับความสนับสนุนจาก 4 โรงกลั่นในการจัดสรรราคาต่ำกว่าปกติ 3 บาทต่อลิตรนั้นมีทั้งสิ้น 122 ล้านลิตรเป็นเวลา 6 เดือน ก่อนหน้าเราจัดสรรไปให้รถขสมก.และรถร่วมแล้ว 30 ล้านลิตรต่อเดือนยังเหลือ 90 ล้านลิตรต่อเดือน”รมว.พลังงานกล่าว
**ดีเซลคาดไม่พอป้อนรถบรรทุก
นายชวลิต พิชาสัย รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กล่าวว่า ขณะนี้สมาคมรถบรรทุกภาคอีสาน และสมาพันธ์รถบรรทุกแห่งประเทศไทยได้ทำหนังสือมาเพื่อขอให้สนพ.จัดสรรน้ำมันดีเซลราคาต่ำช่วยเหลือแล้ว โดยส่วนของสมาคมรถบรรทุกอีสานมีรถที่ต้องการใช้น้ำมัน 2,500 คัน ต้องการวันละ 150 ลิตรต่อวันต่อคัน ขณะที่สมาชิกของสหพันธ์รถบรรทุกมีนับแสนคันยังไม่ได้ระบุหากพิจารณาตัวเลขเบื้องต้นน้ำมันที่มีอยู่คงไม่เพียงพอต่อความต้องการหากต้องจัดสรรให้ทั้งหมด
******โรงกลั่นปิดประตูไม่ให้เพิ่ม
แหล่งข่าวจากกลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน ระบุว่า โรงกลั่นคงไม่สามารถจะจัดสรรน้ำมันให้เพิ่มไปจากข้อกำหนดเดิมแล้วเพราะเห็นว่ากรณีรถบรรทุกนั้นส่วนหนึ่งสามารถขึ้นค่าขนส่งได้ทันทีเว้นกรณีมีสัญญาระยะยาวก็ต้องไปเจรจากับผู้รับจ้างเองเพราะถือว่าทุกอย่างคือธุรกิจ ประกอบกับส่วนหนึ่งพบว่ารถบรรทุกจำนวนไม่น้อยที่ได้หันไปติดตั้งก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์หรือ NGV ที่ลดต้นทุนได้อย่างมากแล้วจะเรียกร้องเพื่ออะไร
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า พร้อมที่จะชี้แจงการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะ ปัญหาขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งยืนยันว่ามีความโปร่งใสทุกกรณี ทุกขั้นตอน ไม่มีการประมูลด้วยวิธีพิเศษ จึงมั่นใจว่าจะอภิปรายได้ อย่างไรก็ตามรัฐบาล ทำงานเพียง 4 เดือนเท่านั้น ควรที่จะรอดูการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพเสียก่อน
“มีความพยายามสร้างเหตุการณ์กระตุกขาตามมาอีกหลายเรื่องจากฝ่ายค้านและฝ่ายที่ไม่ชอบรัฐบาลทำให้การเดินหน้าแก้ปัญหาให้กับประชาชนต้องล่าช้า โดยเห็นว่า การเลือกอภิปรายเฉพาะรัฐมนตรีในสังกัดพรรคพลังประชาชนนั้น เป็นเทคนิคอย่างหนึ่ง และยืนยันว่ารัฐบาลตั้งใจจริงในการแก้ปัญหาให้กับประชาชน โดยเฉพาะการเดินหน้าการขนส่งระบบรางคู่”นายสันติกล่าว
ด้านนายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวยืนยันว่า จะ นำโครงการเช่ารถโดยสารที่ใช้เครื่องยนต์ก๊าซธรรมชาติ (เอ็นจีวี ) เป็นเชื้อเพลิง จำนวน 6,000 คัน ซึ่งรวมอยู่ในแผนฟื้นฟูกิจการ ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในวันนี้ (17 มิ.ย.) นี้ เนื่องจากเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ และสร้างความสะดวกสบายในการเดินทางให้แก่คนกรุงเทพฯ
ส่วนข้อสังเกตของฝ่ายค้าน เช่น เป็นความต้องการของรัฐบาลที่มีการยกเลิกโครงการเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็นเอ็นจีวีเดิม 2,000 คันของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา เพื่อผลักดันโครงการเช่ารถโดยสารเอ็นจีวี 6,000 คันแทนนั้น จากข้อเท็จจริงการศึกษาเพื่อเปลี่ยนเครื่องยนต์รถโดยสาร 2,000 คันเป็นเอ็นจีวีนั้น ยังเป็นแค่ขั้นตอนแรกของการศึกษาความเป็นไปได้ ซึ่งเมื่อมีการทดลองใช้จริงก็พบว่า สภาพของรถขสมก.ที่เก่าทำให้เกิดปัญหามากมาย
“เมื่อมีการทดลองของเอกชน พบว่าการนำเครื่องยนต์เอ็นจีวีไปติดตั้งในรถโดยสารที่มีอายุการใช้งานมากถึง 30 ปี พบว่า มีปัญหาทั้งในเรื่องของคลัชท์ซี ต้องเปลี่ยนระบบเกียร์ และที่สำคัญคือเฟื่องท้าย ที่ไม่สามารถทำงานตามรอบของเครื่องยนต์ได้ เมื่อนำมาใช้งานจริงจะเกิดปัญหา เป็นภาระในการซ่อมมากกว่า” นายทรงศักดิ์กล่าว
ส่วนการกล่าวหาว่า การยกเลิกรถร้อนและเปลี่ยนเป็นรถแอร์ทั้งหมดนั้น เป็นการปิดทางเลือกของผู้ใช้บริการนั้น นายทรงศักดิ์กล่าวว่า ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เพราะระบบรถโดยสารในกรุงเทพฯ ทั้งหมดมีมากถึง 18,000 คัน ซึ่ง ขสมก.จะจัดหารถแอร์ 6,000 คันเท่านั้น ซึ่งในระบบยังเหลือความต้องการรถอีกจำนวนมาก ส่วนที่มีการระบุว่า การจัดเช่ารถโดยสารคันละ 6,000 คัน คันละ 5,000 บาทต่อวัน เป็นระยะเวลา 10 ปีนั้น ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล ควรที่จะใช้วิธีการจัดซื้อมากกว่าข้อเท็จจริงโครงการนี้ไม่ว่าซื้อหรือเช่า ก็เป็นการนำเงินในอนาคตมาใช้ แต่การเช่านั้นภาระลงทุนจะมีเอกชนเป็นผู้ลงทุนไปก่อนและเก็บรายได้คืนจากการจัดแบ่งรายได้จากค่าโดยสารที่จะมีภายหลัง ซึ่งเป็นผลดีไม่เป็นภาระต่องบประมาณ
***สหภาพฯขสมก.ค้านเลิกรถร้อน
วานนี้ (16มิ.ย.) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้ยื่นหนังสือต่อนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เพื่อคัดค้านการยกเลิกเดินรถร้อนและคงเห็นควรให้ขสมก.คงรถร้อนและรถปรับอากาศในสัดส่วนที่เท่ากัน เพื่อเป็นทางเลือกในการใช้บริการและช่วยแบ่งเบาภาระค่าครองชีพของประชาชนที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเสนอให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการ 4 ข้อประกอบด้วย 1. ในการเช่ารถโดยสาร6,000 คัน แบ่งเป็นรถโดยสารปรับอากาศ 4,000 คัน และรถร้อนเก็บค่าโดยสารราคาถูก 2,000 คัน, 2. รถร้อนและรถปรับอากาศที่ ขสมก. ใช้งานได้ในปัจจุบันยังให้คงใช้งานต่อไป โดยให้บรรจุรถในเส้นทางรถร่วมเอกชนที่ได้สัมปทาน 20-50% ของจำนวนรถแต่ละเส้นทางเพื่อเป็นทางเลือกและแข่งขันการให้บริการที่ดีแก่ประชาชนผู้ใช้บริการและป้องกันความเดือดร้อนของประชาชนหากรถเอกชนหยุดวิ่งทุกกรณี
3.การจัดจ้างเช่ารถโดยสาร 6,000 คัน จะต้องโปร่งใสและแต่งตั้งผู้แทนองค์กรภาคเอกชนและผู้แทนสหภาพแรงงานฯ เข้าร่วมเป็นกรรมการดำเนินการด้วย และ 4.คุณสมบัติเสนอราคาให้เช่ารถโดยสารจะต้องไม่เคยผิดเงื่อนไขสัญญา หรือละทิ้งสัญญาที่ทำหรือเคยทำกับหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจและการกระทำดังกล่าว ทำให้หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เกิดความเสียหาย
อย่างไรก็ตามในการปรับโครงสร้างขสมก.นั้น ก่อนหน้านี้ มีการพูดถึงการให้บริการเชิงสังคม (PSO) กับผู้มีรายได้น้อย เพื่อเป็นทางเลือก เพราะ รถร้อนจะมีค่าโดยสารต่ำกว่ารถปรับอากาศ ดังนั้นไม่ว่าจะมีการจัดหารถปรับอากาศเข้ามาอย่างไร ก็ต้องมีรถร้อนบริการด้วย แต่นโยบายขณะนี้ไม่ได้พูดถึงซึ่งถือว่าไม่ถูกต้อง
***ท้า”สมัคร”ตั้งคนกลางสอบทุจริต
นอกจากนี้สหภาพฯ ขสมก.ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึง นายกรัฐมนตรี และพนักงาน ขสมก.รวมถึงประชาชนผู้ใช้บริการ โดยเรียกร้องให้นายกฯตั้งคณะกรรมการจากทำเนียบรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมที่เป็นกลาง เพื่อสวนสวนพิสูจน์ข้อกล่าวว่า กรณีที่ นายกฯได้กล่าวในรายการสนทนาประสาสมัครเมื่อวันที่ 15 มิ.ย.51 ในเรื่องการแก้ปัญหา ขสมก.4 เรื่องซึ่ง หนึ่งในนั้นคือการทุจริต คอรัปชั่นภายใน ขสมก. โดยมีการลักลอบนำน้ำมันไปขายและมีทุจริตในการขายตั๋ว โดยใช้วิธีตัดตั๋วเหลื่อม ซึ่งหมายถึงตั๋ว 10 ใบพนักงานจะแบ่งขายเป็น 12 ใบด้วยการตัดตั๋วเหลื่อม
โดยสหภาพฯ ขสมก.ยืนยันว่า หากนายกฯ พูดว่ามีการทุจริตดังกล่าว ก็เท่ากับว่า นายกฯมีข้อมูล ดังนั้นควรตั้งกรรมการสอบสวนมากกว่าที่จะมากล่าวหากันลอยๆ ซึ่งทำให้พนักงานขสมก.เสียหาย ทั้งๆที่ เป็นที่ทราบกันดีว่า สาเหตุที่ทำให้ ขสมก.ต้องประสบกับปัญหาขาดทุนเนื่องจาก นโยบายของรัฐบาลที่ควบคุมค่าโดยสารต่ำกว่าต้นทุนจริง ส่วนการทุจริตต่างๆ มีการตรวจสอบกันภายในอยู่แล้ว
**** เครือข่ายฯ ขู่ฟ้องศาลปกครอง
นายบุญชัย รุ่งเรืองไพศาลสุข ประธานเครือข่ายคัดค้านขึ้นค่าโดยสารสาธารณะ กล่าวว่า จุดยืนของเครือข่ายฯ ไม่เห็นด้วย กับแนวทางการจัดหารถเมล์ 6,000 คัน ด้วยวิธีเช่าเพราะมีต้นทุนสูงกว่าซื้อและจำนวน6,000 คันนั้นมากเกินไป โดยเห็นว่า ปัจจุบัน ขสมก.มีรถวิ่งบริการทั้งหมด ประมาณ 3,500 คัน การจัดหารถใหม่ ควรอยู่ในจำนวนประมาณ 4,000 คันก็ถือว่าเพียงพอต่อการใช้งานแล้ว หากรัฐบาลดึงดัน ที่จะเดินหน้าโครงการ และมีการผ่านความเห็นชอบจัดเช่ารถเมล์ ขสมก.6,000 คัน กลุ่มเครือข่ายจะเข้าฟ้องร้องต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อขอคุ้มครองระงับการทำโครงการดังกล่าว
ส่วนการจัดหารถโดยวิธีเช่าคันละ 5,100 บาทต่อวันจำนวน 6,000 คัน เป็นเวลา 10 ปี จะรวมเป็นเงินนับ แสนล้านบาท ซึ่งถือว่าไม่เป็นภาระกับประชาชน และกับงบประมาณของรัฐมากเกินไป แต่หากซื้อแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) กับประเทศผู้ผลิต โดยนำสินค้าเกษตรของไทย ไปแลกซื้อได้ ราคาซื้อประมาณคันละ 2-5 ล้านบาท รวมไม่เกิน 30,000 ล้านบาท
***เจ๊เกียว’ ขอขึ้น อีก 9 สตางค์
วันเดียวกันนางสุจินดา เชิดชัย หรือ ‘เจ๊เกียว’ นายกสมาคมผู้ประกอบการรถยนต์โดยสาร ได้นำสมาชิกสมาคมฯ เข้าขอพบนายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม ยื่นข้อเรียกร้อง ขอปรับราคาค่าโดยสารรถร่วมบริการ ของบริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส. อีก 9 สตางค์ ต่อกิโลเมตร และขอให้มีผลเร็วที่สุด หลังราคาน้ำมันดีเซล ปรับราคาสูงสุดถึง 42.14 บาท/ลิตรแล้ว ส่งผลให้ผู้ประกอบการขาดทุนจากการให้บริการเป็นอย่างมาก
นายสันติกล่าวว่า กระทรวงจะรับขอเรียกร้องของผู้ประกอบการไว้ แต่การจะอนุมัติให้ปรับราคาค่าโดยสารนั้น จะเป็นอำนาจของคณะกรรมการ ควบคุมขนส่งทางบกกลาง ที่จะมีการพิจารณาต้นทุนของผู้ประกอบการอีกครั้ง
***รถบรรทุก เลื่อนบุกกรุง
นายยู เจียรยืนยงพงศ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการรถบรรทุกจะเลื่อนนำรถเข้ากรุงเทพที่กำหนดไว้ในวันนี้( 17 มิ.ย.) ออกไปก่อน เพื่อรอผลการหารือระหว่าง กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 19 มิ.ย. ในประเด็นที่ได้เรียกร้องไว้ทั้ง 8 ข้อ ซึ่งหากภาครัฐได้ข้อสรุปแนวทางการช่วยเหลือผู้ประกอบการอย่างไร ทางสมาคมจะตกลงกันอีกครั้ง ซึ่งหากผู้ประกอบการได้รับส่วนลดราคาน้ำมันดีเซลหน้าปั๊ม 3 บาทต่อลิตรจะไม่มีการขึ้นค่าขนส่ง ซึ่ง 2-3 ปีที่ผ่านมาก็ไม่ได้มีการขึ้นค่าขนส่งแต่อย่างใด
*****รอกบง.ชี้ขาดจัดสรรน้ำมันรถบรรทุก
พลโทหญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รมว.พลังงาน กล่าวว่า กรณีที่สมาคมรถบรรทุกได้ทำหนังสือมาเพื่อขอให้ช่วยจัดสรรน้ำมันดีเซลราคาต่ำกว่าปกติ 3 บาทต่อลิตรนั้นคงจะต้องมีการนำเข้าหารือในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงาน(กบง.) เร็ว ๆ นี้ว่าจะจัดสรรหรือไม่ อย่างไร กระทรวงพลังงานไม่สามารถตัดสินใจได้เพราะต้องรับฟังข้อคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เป็นตัวแทนในกบง.ก่อน
“ ดีเซลที่เราได้รับความสนับสนุนจาก 4 โรงกลั่นในการจัดสรรราคาต่ำกว่าปกติ 3 บาทต่อลิตรนั้นมีทั้งสิ้น 122 ล้านลิตรเป็นเวลา 6 เดือน ก่อนหน้าเราจัดสรรไปให้รถขสมก.และรถร่วมแล้ว 30 ล้านลิตรต่อเดือนยังเหลือ 90 ล้านลิตรต่อเดือน”รมว.พลังงานกล่าว
**ดีเซลคาดไม่พอป้อนรถบรรทุก
นายชวลิต พิชาสัย รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กล่าวว่า ขณะนี้สมาคมรถบรรทุกภาคอีสาน และสมาพันธ์รถบรรทุกแห่งประเทศไทยได้ทำหนังสือมาเพื่อขอให้สนพ.จัดสรรน้ำมันดีเซลราคาต่ำช่วยเหลือแล้ว โดยส่วนของสมาคมรถบรรทุกอีสานมีรถที่ต้องการใช้น้ำมัน 2,500 คัน ต้องการวันละ 150 ลิตรต่อวันต่อคัน ขณะที่สมาชิกของสหพันธ์รถบรรทุกมีนับแสนคันยังไม่ได้ระบุหากพิจารณาตัวเลขเบื้องต้นน้ำมันที่มีอยู่คงไม่เพียงพอต่อความต้องการหากต้องจัดสรรให้ทั้งหมด
******โรงกลั่นปิดประตูไม่ให้เพิ่ม
แหล่งข่าวจากกลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน ระบุว่า โรงกลั่นคงไม่สามารถจะจัดสรรน้ำมันให้เพิ่มไปจากข้อกำหนดเดิมแล้วเพราะเห็นว่ากรณีรถบรรทุกนั้นส่วนหนึ่งสามารถขึ้นค่าขนส่งได้ทันทีเว้นกรณีมีสัญญาระยะยาวก็ต้องไปเจรจากับผู้รับจ้างเองเพราะถือว่าทุกอย่างคือธุรกิจ ประกอบกับส่วนหนึ่งพบว่ารถบรรทุกจำนวนไม่น้อยที่ได้หันไปติดตั้งก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์หรือ NGV ที่ลดต้นทุนได้อย่างมากแล้วจะเรียกร้องเพื่ออะไร