"หมัก" โผล่เสนอหน้าขอแจมเจรจา 4 โรงกลั่น เรียกคะแนนเสียงท่ามกลางวิกฤติน้ำมัน แจ้งข่าวดีโรงกลั่นยอมจัดสรรดีเซล122 ล้านลิตรต่อเดือนตั้งแต่มิ.ย.-พ.ย.รวม 732 ล้านลิตรในราคาต่ำกว่าขายปลีกปกติ 3 บาท ต่อลิตร คิดเป็นมูลค่าที่ช่วยเหลือ 2.2 พันล้านบาท ล็อตแรกแบ่ง 30 ล้านลิตรต่อเดือนให้รถ ขสมก.และรถร่วมเบรกการประท้วงหยุดรถและขึ้นราคาชั่วคราว เชลล์-ปตท. ประกาศลดราคา แก๊สโซฮอล์ 70 สต./ลิตร ด้าน"ดร.โกร่ง"สับเละนโยบายเหตุผลทางการเมืองมากกว่าเศรษฐกิจไม่ชอบด้วยจริยธรรม และจรรยาบรรณ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้( 30 พ.ค.) พลโทหญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รมว.พลังงาน ได้หารือร่วมกับโรงกลั่นน้ำมัน 4 แห่งคือ ไทยออยล์ ไออาร์พีซี พีทีทีเออาร์ และบางจาก ช่วงเวลา 10.30 น.ปรากฏว่านายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ระหว่างทานอาหารที่ตลาดโบ้เบ้ ได้เดินทางเข้ามาร่วมรับฟังการประชุมครั้งนี้
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กล่าวหลังการหารือเสร็จว่า ได้มาสังเกตการณ์ในการหารือร่วมกันซึ่งก็ถือเป็นข่าวดีที่โรงกลั่นจะขายดีเซลให้ด้วยการลดราคาให้ต่ำกว่าปกติ 3 บาทต่อลิตร เป็นเวลา 6 เดือนส่วนรายละเอียดทางกระทรวงพลังงานจะได้มีการชี้แจงต่อไป ขณะเดียวกันยังมาหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับค่าการกลั่นว่าทำไมต้องอิงตลาดสิงคโปร์ก็ได้รับความจริงว่าไม่ได้อิงโรงกลั่นสิงคโปร์แต่ต้องอิงราคาตลาดสิงคโปร์ที่เป็นตลาดใหญ่เพราะมีผู้ค้าน้ำมันมากถึง 300 บริษัท
“มาครั้งนี้ก็ถือว่าได้ความรู้ใหม่เพราะที่ผ่านมาก็ฟังมาจากข้างนอกว่าทำไมเราต้องอิงสิงคโปร์เพราะมีบริษัทไม่กี่แห่งก็ทราบว่ามีมากถึง 300 บริษัทเพราะฉะนั้นจึงต้องใช้ราคาน้ำมันเฉลี่ยที่สิงคโปร์ที่เป็นตลาดใหญ่ ส่วนการช่วยเหลือเราก็จะเน้นเป็นกลุ่มๆ ที่ลำบากอย่างเกษตรกร ขนส่ง เรื่องนี้พลังงานก็จะต้องไปดู”นายกฯกล่าว
พลโทหญิง พูนภิรมย์ ลิปภพัลลภ รมว.พลังานกล่าวว่า 4 โรงกลั่นพร้อมให้ความร่วมมือในการจะจัดสรรน้ำมันดีเซลผ่าน กระทรวงพลังงานจำนวน 122 ล้านลิตรต่อเดือนเป็นระยะเวลา 6 เดือนตั้งแต่มิ.ย.-พ.ย. 2551 ในราคาจะต่ำกว่าขายปลีกปกติ 3 บาทต่อลิตร รวมเป็นดีเซลที่ได้รับการสนับสนุนทั้งสิ้น 732 ล้านลิตรคิดเป็นส่วนลดราคาให้ 2,200 ล้านบาท โดยแนวทางการบริหารน้ำมันดังกล่าวจะไม่นำไปลดราคาขายปลีกเป็นการทั่วไปแต่จะนำไปช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันสูงแล้วกระทบต่อประชาชนเช่น กรณีรถร่วมองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) เป็นต้น
“เราขอความร่วมมือจากโรงกลั่นไม่ได้บังคับแต่อย่างใดเพราะเห็นว่าส่วนต่างราคาน้ำมันดิบกับดีเซลในช่วงเม.ย.-พ.ค.7-9 บาทต่อลิตรนั้นได้ปรับตัวเพิ่มสูงก็น่าจะจัดสรรส่วนนี้มาช่วยเหลือได้บ้าง”รมว.พลังงานกล่าว
ทั้งนี้ การดูแลและจัดสรรการช่วยเหลือจะเป็นไปตามคำยื่นขอและจะมีการพิจารณาการช่วยเหลือและติดตามการใช้น้ำมันอย่างใกล้ชิดผ่านการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.) โดยจะเริ่มมีการประชุมนัดแรกเพื่อพิจารณาแนวทางการจัดสรรน้ำมันให้กับกลุ่มต่างๆ ในวันที่ 2 มิถุนายนนี้และจะมีผลในทางปฏบัติในวันดังกล่าวทันทีเมื่อมีการอนุมัติ โดยเฉพาะแนวทางการช่วยเหลือรถร่วมขสมก.ที่ได้หารือกับนายปิยะพันธ์ จัมปาสุต รองปลัดกระทรวงคมนาคมถึงแนวทางการช่วยเหลือเบื้องต้นแล้วที่จะจัดสรรน้ำมันให้รถขสมก.และรถร่วมขสมก. 30 ล้านลิตรต่อเดือน
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การช่วยเหลือครั้งนี้ถือว่าเป็นโครงการโรงกลั่นน้ำมันช่วยชาติส่วนโรงกลั่นสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟนิ่ง จำกัด(เอสพีอาร์ซี) และโรงกลั่นเอสโซ่นั้นเบื้องต้นได้มีการประสานงานก็ยินดีที่จะร่วมมือเพื่อช่วยเหลือประชาชนโดยกำลังพิจารณาว่าจะช่วยรูปแบบใดอาจเป็นรูปแบบเดียวกับ 4 โรงกลั่นหรืออาจจะไปลดราคาขายปลีก
นายปิยะพันธ์ จัมปาสุต รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า คงจะต้องรอกบง.ประกาศการช่วยเหลือแต่เบื้องต้นเป็นข่าวดีที่จะได้รับจัดสรรช่วยเหลือ 30 ล้านลิตรต่อเดือนซึ่งก็เพียงพอกับความต้อง โดยคาดว่าภายในวันที่ 3 มิ.ย.จะจ่ายน้ำมันให้ได้ทันทีระหว่างนี้จะประสานให้ปตท.มาเติมน้ำมันตามจุดจ่ายของขสมก.ที่มีอยู่ 24 แห่ง และขสมก.จะรับผิดชอบไปลงทะเบียนในการเติมเพื่อป้องกันปัญหาการรั่วไหล ถ้าผิดพลาดก็ถือเป็นความผิดขสมก.ที่ดูแลไม่เข้มงวด
“หากแยกการใช้ดีเซลจะแบ่งเป็นขสมก.ใช้ 10.7 ล้านลิตรต่อเดือน รถร่วมขสมก.ประมาณ 10.6 ล้านลิตรต่อเดือน มินิบัส 2.2 ล้านลิตรต่อเดือน และรถตู้ขสมก. 6 ล้านลิตรต่อเดือน “นายปิยะพันธ์กล่าว
ปตท.แจงข้อเท็จจริงค่าการกลั่น
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บมจ.ปตท. กล่าวว่า ค่าการกลั่นยังมีความเข้าใจผิดกันอยู่แท้จริงที่พูดกันนั้นเป็นเพียงส่วนต่างระหว่างน้ำมันดิบและดีเซลที่สูง 7-8 บาทช่วงเม.ย.-พ.ค.แต่น้ำมันดิบ 1 บาร์เรลนั้นไม่ได้นำมากลั่นได้ดีเซลทั้งหมดมีหลายประเภทและบางอย่างเช่นน้ำมันเตา ก๊าซหุงต้มราคาต่ำมาก และจะต้องมีค่าบริหารจัดการ เมื่อเป็นน้ำมันที่ขายตามปั๊มยังมีภาษีอีกจำนวนมา รวมแล้วค่าการกลั่นเฉลี่ยที่ 1-1.50 บาทต่อลิตรเท่านั้น การช่วยเหลือดังกล่าวถือเป็นการภาระที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันคงไม่ใช่ภาระคนใดคนหนึ่งดังนั้นตนเองก็จะต้องปรับตัวด้วย และปัญหาน้ำมันตลาดโลกแพงอย่างรวดเร็วก็ไม่มีใครคาดคิดปัญหาเกิดขึ้นเองไม่ได้โรงกลั่นเป็นผู้ทำให้เกิดปัญหา
“กว่าจะออกมาเป็นราคาน้ำมันที่ขายกับผู้บริโภคต้องผ่านกระบวนการทั้งค่าดำเนินการ ภาษีสรรพสามิต มูลค่าเพิ่ม ค่าการตลาด เฉพาะแค่เบนซินนั้นภาษีสูงถึง 11 บาทต่อลิตร “นายประเสริฐ กล่าว
นายพิชัย ชุณหวชิร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่การเงินและบัญชี ปตท.กล่าวว่า โรงกลั่นได้พิจารณาเห็นว่าการช่วยเหลือนั้นจะต้องนำไปสู่กลุ่มเป้าหมายที่จะให้โดยเฉพาะลูกค้าเพราะต้องยอมรับว่าวิกฤติน้ำมันที่เกิดขึ้นมีผลกระทบไม่น้อยหากลูกค้าเหล่านี้อยู่ไม่ได้ท้ายสุดโรงกลั่นก็ลำบากการช่วยเหลือลดให้ 3 บาทต่อลิตรหากคำนวณกลับมาเป็นค่าการกลั่นก็แค่ 4 สตางค์ต่อลิตรเท่านั้นซึ่งทั้งหมดก็ถือเป็นคำตอบที่ดีต่อทุกฝ่ายและเชื่อว่าผู้ถือหุ้นเองก็น่าจะเข้าใจ
"โกร่ง" สับเละนโยบายสนองการเมือง
ดร.วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายก และกรรมการบริหารบมจ.ไออาร์พีซี ซึ่งเป็น 1 ใน 4 โรงกลั่นที่จะต้องจัดสรรดีเซลเข้าช่วยเหลือ กล่าวว่า แนวคิดการลดส่วนต่างราคาน้ำมันดิบและดีเซลนั้นเป็นแนวคิดที่จะสร้างผลเสียหายต่อความมั่นใจของนักลงทุนในการแทกแซงกิจการโรงกลั่นในเครือปตท.ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งถือว่าไม่ชอบด้วยเหตุผล และการช่วยเหลือจะต้องไม่บิดเบือนกลไกตลาดเพราะไม่ใช่เหตุผลที่ดีทางด้านเศรษฐกิจนอกเสียจากจะเป็นเหตุผลทางการเมือง
”ผมไม่เห็นด้วยกับการบิดเบือนกลไกตลาดแต่ถ้าเป็นนโยบายจากรัฐมีเหตุผลทางการเมือง ผมก็ไม่ว่าอะไร แต่ถ้าไม่ใช่เหตุผลทางเศรษฐกิจและใช้วิธีหักคออย่างนี้ ยอมรับไม่ได้ เมื่อวันก่อนบอร์ดมีมติอย่างไร ผมก็บันทึกว่าผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งถือเป็นมาตรการที่ไม่ชอบด้วยเหตุผล ไม่ว่าจะทางเศรษฐกิจ กฎหมาย จริยธรรม จรรยาบรรณ” นายวีรพงษ์ กล่าว
ลดราคาแก๊สโซฮอล์ 70 สต./ลิตร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าล่าสุดเชลล์ ได้แจ้งนำลดราคาขายปลีกลงส่วนของดีเซล 20 สตางค์ต่อลิตรมีผลวันนี้(31พ.ค.)ส่งผลให้ดีเซลของเชลล์อยู่ที่ 39.54 บาทต่อลิตร และแก๊สโซฮอล์ลดลง 70 สต./ลิตร ส่งผลให้แก๊สโซฮอล์ 95 เชลล์อยู่ที่ 35.39 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 91 เป็น 34.59 บาทต่อลิตร ต่อมาปตท.ได้แจ้งปรับลดเฉพาะแก๊สโซฮอล์ตาม 70 สต./ลิตรทำให้แก๊สโซฮอล์ปตท.และเชลล์เท่ากันส่งผลให้ราคาแก๊สโซฮอล์95ต่ำกว่าเบนซิน50 ประมาณ 4.70 บาทต่อลิตร
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชฯ)กล่าวว่าในปีนี้เชื่อว่าราคาน้ำมันดิบคงไม่แตะ 200 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล แต่อาจจะมีบางช่วงที่ราคาแตะ 150 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งปัจจุบันราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 120-130 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ทำให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปยังอยู่ระดับสูง โดยน้ำมันเบนซินอยู่ที่ 130 เหรียญสหรัฐและดีเซล 160-170 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ส่งผลให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปเบนซินขายปลีกอยู่ที่ 40 บาท/ลิตรและดีเซล(บี2) 39 บาท/ลิตร
ขณะที่ค่าการกลั่นของโรงกลั่นในประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ลิตรละ 1.50 บาท หรือประมาณ 6-8 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เนื่องจากราคาน้ำมันเตาและแอลพีจีจำหน่ายในราคาต่ำกว่าราคาน้ำมันดิบ แต่ส่วนต่างน้ำมันดิบกับดีเซลอยู่ที่ 7-8 บาท/ลิตร และส่วนต่างเบนซิน 2 บาท/ลิตร ทำให้กลุ่มโรงกลั่นไม่สามารถปรับลดค่าการกลั่นดีเซล 1 บาท/ลิตรให้ได้ แต่สามารถช่วยเหลือโดยการจัดสรรน้ำมันดีเซลให้ 122 ล้านลิตร/เดือนในราคาต่ำกว่าราคาตลาด 3 บาท/ลิตร เป็นเวลา 6 เดือนเท่านั้น หรือคิดเป็นเงินอุดหนุน 366 ล้านบาท/เดือน ซึ่งการลดราคาน้ำมันดีเซลต่ำกว่าราคาตลาด 3 บาท/ลิตรใน 4 โรงกลั่น จะทำให้การรับรู้รายได้ของปตท. ลดลงตามสัดส่วนการถือหุ้นในโรงกลั่นดังกล่าว ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวนี้ อยู่ในอำนาจการตัดสินใจของคณะกรรมการบริษัทฯ ไม่จำเป็นต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทฯ
นอกจากนี้ตนยังเชื่อว่าโรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ และโรงกลั่นสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง (SPRC)จะเข้ามาช่วยอุดหนุนบางอุตสาหกรรมโดยอัตราส่วน 3 บาท/ลิตร เท่ากับโรงกลั่นในเครือปตท. ซึ่งเรื่องนี้ทางกระทรวงพลังงานจะหารือกับโรงกลั่นดังกล่าวข้างต้นต่อไป
"ผลประกอบการโรงกลั่นในปีนี้ไม่ดีไปกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากราคาน้ำมันผันผวน ทำให้ปรับตัวไม่ทัน ในฐานะที่ปตท.แข็งแกร่ง ก็ต้องเข้ามาช่วยเหลือ แต่คงช่วยอะไรมากไม่ได้ เพราะบริษัทฯ อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงต้องพิจารณาหาจุดสมดุลในการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่เดือดร้อนเช่นภาคขนส่ง ประมงและเกษตร"
นายประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้รัฐบาลในหลายประเทศทั้งอินโดนีเซียและจีนเริ่มที่จะไม่สามารถอุดหนุนราคาน้ำมันในประเทศให้ประชาชนได้แล้ว ซึ่งจะทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศสูงขึ้นทำให้การใช้น้ำมันจะไม่สูงขึ้น อันจะทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกไม่น่าจะปรับตัวสูงมากกว่านี้ ส่วนสาเหตุที่ ราคาน้ำมันไม่สามารถปรับลดลงได้ เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันของโลกยังสูงเพิ่มขึ้นปีละ 1 ล้านบาร์เรล/วัน โดยจีดีพีของจีนและอินเดียขยายตัวสูงอยู่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้( 30 พ.ค.) พลโทหญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รมว.พลังงาน ได้หารือร่วมกับโรงกลั่นน้ำมัน 4 แห่งคือ ไทยออยล์ ไออาร์พีซี พีทีทีเออาร์ และบางจาก ช่วงเวลา 10.30 น.ปรากฏว่านายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ระหว่างทานอาหารที่ตลาดโบ้เบ้ ได้เดินทางเข้ามาร่วมรับฟังการประชุมครั้งนี้
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กล่าวหลังการหารือเสร็จว่า ได้มาสังเกตการณ์ในการหารือร่วมกันซึ่งก็ถือเป็นข่าวดีที่โรงกลั่นจะขายดีเซลให้ด้วยการลดราคาให้ต่ำกว่าปกติ 3 บาทต่อลิตร เป็นเวลา 6 เดือนส่วนรายละเอียดทางกระทรวงพลังงานจะได้มีการชี้แจงต่อไป ขณะเดียวกันยังมาหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับค่าการกลั่นว่าทำไมต้องอิงตลาดสิงคโปร์ก็ได้รับความจริงว่าไม่ได้อิงโรงกลั่นสิงคโปร์แต่ต้องอิงราคาตลาดสิงคโปร์ที่เป็นตลาดใหญ่เพราะมีผู้ค้าน้ำมันมากถึง 300 บริษัท
“มาครั้งนี้ก็ถือว่าได้ความรู้ใหม่เพราะที่ผ่านมาก็ฟังมาจากข้างนอกว่าทำไมเราต้องอิงสิงคโปร์เพราะมีบริษัทไม่กี่แห่งก็ทราบว่ามีมากถึง 300 บริษัทเพราะฉะนั้นจึงต้องใช้ราคาน้ำมันเฉลี่ยที่สิงคโปร์ที่เป็นตลาดใหญ่ ส่วนการช่วยเหลือเราก็จะเน้นเป็นกลุ่มๆ ที่ลำบากอย่างเกษตรกร ขนส่ง เรื่องนี้พลังงานก็จะต้องไปดู”นายกฯกล่าว
พลโทหญิง พูนภิรมย์ ลิปภพัลลภ รมว.พลังานกล่าวว่า 4 โรงกลั่นพร้อมให้ความร่วมมือในการจะจัดสรรน้ำมันดีเซลผ่าน กระทรวงพลังงานจำนวน 122 ล้านลิตรต่อเดือนเป็นระยะเวลา 6 เดือนตั้งแต่มิ.ย.-พ.ย. 2551 ในราคาจะต่ำกว่าขายปลีกปกติ 3 บาทต่อลิตร รวมเป็นดีเซลที่ได้รับการสนับสนุนทั้งสิ้น 732 ล้านลิตรคิดเป็นส่วนลดราคาให้ 2,200 ล้านบาท โดยแนวทางการบริหารน้ำมันดังกล่าวจะไม่นำไปลดราคาขายปลีกเป็นการทั่วไปแต่จะนำไปช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันสูงแล้วกระทบต่อประชาชนเช่น กรณีรถร่วมองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) เป็นต้น
“เราขอความร่วมมือจากโรงกลั่นไม่ได้บังคับแต่อย่างใดเพราะเห็นว่าส่วนต่างราคาน้ำมันดิบกับดีเซลในช่วงเม.ย.-พ.ค.7-9 บาทต่อลิตรนั้นได้ปรับตัวเพิ่มสูงก็น่าจะจัดสรรส่วนนี้มาช่วยเหลือได้บ้าง”รมว.พลังงานกล่าว
ทั้งนี้ การดูแลและจัดสรรการช่วยเหลือจะเป็นไปตามคำยื่นขอและจะมีการพิจารณาการช่วยเหลือและติดตามการใช้น้ำมันอย่างใกล้ชิดผ่านการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.) โดยจะเริ่มมีการประชุมนัดแรกเพื่อพิจารณาแนวทางการจัดสรรน้ำมันให้กับกลุ่มต่างๆ ในวันที่ 2 มิถุนายนนี้และจะมีผลในทางปฏบัติในวันดังกล่าวทันทีเมื่อมีการอนุมัติ โดยเฉพาะแนวทางการช่วยเหลือรถร่วมขสมก.ที่ได้หารือกับนายปิยะพันธ์ จัมปาสุต รองปลัดกระทรวงคมนาคมถึงแนวทางการช่วยเหลือเบื้องต้นแล้วที่จะจัดสรรน้ำมันให้รถขสมก.และรถร่วมขสมก. 30 ล้านลิตรต่อเดือน
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การช่วยเหลือครั้งนี้ถือว่าเป็นโครงการโรงกลั่นน้ำมันช่วยชาติส่วนโรงกลั่นสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟนิ่ง จำกัด(เอสพีอาร์ซี) และโรงกลั่นเอสโซ่นั้นเบื้องต้นได้มีการประสานงานก็ยินดีที่จะร่วมมือเพื่อช่วยเหลือประชาชนโดยกำลังพิจารณาว่าจะช่วยรูปแบบใดอาจเป็นรูปแบบเดียวกับ 4 โรงกลั่นหรืออาจจะไปลดราคาขายปลีก
นายปิยะพันธ์ จัมปาสุต รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า คงจะต้องรอกบง.ประกาศการช่วยเหลือแต่เบื้องต้นเป็นข่าวดีที่จะได้รับจัดสรรช่วยเหลือ 30 ล้านลิตรต่อเดือนซึ่งก็เพียงพอกับความต้อง โดยคาดว่าภายในวันที่ 3 มิ.ย.จะจ่ายน้ำมันให้ได้ทันทีระหว่างนี้จะประสานให้ปตท.มาเติมน้ำมันตามจุดจ่ายของขสมก.ที่มีอยู่ 24 แห่ง และขสมก.จะรับผิดชอบไปลงทะเบียนในการเติมเพื่อป้องกันปัญหาการรั่วไหล ถ้าผิดพลาดก็ถือเป็นความผิดขสมก.ที่ดูแลไม่เข้มงวด
“หากแยกการใช้ดีเซลจะแบ่งเป็นขสมก.ใช้ 10.7 ล้านลิตรต่อเดือน รถร่วมขสมก.ประมาณ 10.6 ล้านลิตรต่อเดือน มินิบัส 2.2 ล้านลิตรต่อเดือน และรถตู้ขสมก. 6 ล้านลิตรต่อเดือน “นายปิยะพันธ์กล่าว
ปตท.แจงข้อเท็จจริงค่าการกลั่น
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บมจ.ปตท. กล่าวว่า ค่าการกลั่นยังมีความเข้าใจผิดกันอยู่แท้จริงที่พูดกันนั้นเป็นเพียงส่วนต่างระหว่างน้ำมันดิบและดีเซลที่สูง 7-8 บาทช่วงเม.ย.-พ.ค.แต่น้ำมันดิบ 1 บาร์เรลนั้นไม่ได้นำมากลั่นได้ดีเซลทั้งหมดมีหลายประเภทและบางอย่างเช่นน้ำมันเตา ก๊าซหุงต้มราคาต่ำมาก และจะต้องมีค่าบริหารจัดการ เมื่อเป็นน้ำมันที่ขายตามปั๊มยังมีภาษีอีกจำนวนมา รวมแล้วค่าการกลั่นเฉลี่ยที่ 1-1.50 บาทต่อลิตรเท่านั้น การช่วยเหลือดังกล่าวถือเป็นการภาระที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันคงไม่ใช่ภาระคนใดคนหนึ่งดังนั้นตนเองก็จะต้องปรับตัวด้วย และปัญหาน้ำมันตลาดโลกแพงอย่างรวดเร็วก็ไม่มีใครคาดคิดปัญหาเกิดขึ้นเองไม่ได้โรงกลั่นเป็นผู้ทำให้เกิดปัญหา
“กว่าจะออกมาเป็นราคาน้ำมันที่ขายกับผู้บริโภคต้องผ่านกระบวนการทั้งค่าดำเนินการ ภาษีสรรพสามิต มูลค่าเพิ่ม ค่าการตลาด เฉพาะแค่เบนซินนั้นภาษีสูงถึง 11 บาทต่อลิตร “นายประเสริฐ กล่าว
นายพิชัย ชุณหวชิร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่การเงินและบัญชี ปตท.กล่าวว่า โรงกลั่นได้พิจารณาเห็นว่าการช่วยเหลือนั้นจะต้องนำไปสู่กลุ่มเป้าหมายที่จะให้โดยเฉพาะลูกค้าเพราะต้องยอมรับว่าวิกฤติน้ำมันที่เกิดขึ้นมีผลกระทบไม่น้อยหากลูกค้าเหล่านี้อยู่ไม่ได้ท้ายสุดโรงกลั่นก็ลำบากการช่วยเหลือลดให้ 3 บาทต่อลิตรหากคำนวณกลับมาเป็นค่าการกลั่นก็แค่ 4 สตางค์ต่อลิตรเท่านั้นซึ่งทั้งหมดก็ถือเป็นคำตอบที่ดีต่อทุกฝ่ายและเชื่อว่าผู้ถือหุ้นเองก็น่าจะเข้าใจ
"โกร่ง" สับเละนโยบายสนองการเมือง
ดร.วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายก และกรรมการบริหารบมจ.ไออาร์พีซี ซึ่งเป็น 1 ใน 4 โรงกลั่นที่จะต้องจัดสรรดีเซลเข้าช่วยเหลือ กล่าวว่า แนวคิดการลดส่วนต่างราคาน้ำมันดิบและดีเซลนั้นเป็นแนวคิดที่จะสร้างผลเสียหายต่อความมั่นใจของนักลงทุนในการแทกแซงกิจการโรงกลั่นในเครือปตท.ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งถือว่าไม่ชอบด้วยเหตุผล และการช่วยเหลือจะต้องไม่บิดเบือนกลไกตลาดเพราะไม่ใช่เหตุผลที่ดีทางด้านเศรษฐกิจนอกเสียจากจะเป็นเหตุผลทางการเมือง
”ผมไม่เห็นด้วยกับการบิดเบือนกลไกตลาดแต่ถ้าเป็นนโยบายจากรัฐมีเหตุผลทางการเมือง ผมก็ไม่ว่าอะไร แต่ถ้าไม่ใช่เหตุผลทางเศรษฐกิจและใช้วิธีหักคออย่างนี้ ยอมรับไม่ได้ เมื่อวันก่อนบอร์ดมีมติอย่างไร ผมก็บันทึกว่าผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งถือเป็นมาตรการที่ไม่ชอบด้วยเหตุผล ไม่ว่าจะทางเศรษฐกิจ กฎหมาย จริยธรรม จรรยาบรรณ” นายวีรพงษ์ กล่าว
ลดราคาแก๊สโซฮอล์ 70 สต./ลิตร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าล่าสุดเชลล์ ได้แจ้งนำลดราคาขายปลีกลงส่วนของดีเซล 20 สตางค์ต่อลิตรมีผลวันนี้(31พ.ค.)ส่งผลให้ดีเซลของเชลล์อยู่ที่ 39.54 บาทต่อลิตร และแก๊สโซฮอล์ลดลง 70 สต./ลิตร ส่งผลให้แก๊สโซฮอล์ 95 เชลล์อยู่ที่ 35.39 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 91 เป็น 34.59 บาทต่อลิตร ต่อมาปตท.ได้แจ้งปรับลดเฉพาะแก๊สโซฮอล์ตาม 70 สต./ลิตรทำให้แก๊สโซฮอล์ปตท.และเชลล์เท่ากันส่งผลให้ราคาแก๊สโซฮอล์95ต่ำกว่าเบนซิน50 ประมาณ 4.70 บาทต่อลิตร
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชฯ)กล่าวว่าในปีนี้เชื่อว่าราคาน้ำมันดิบคงไม่แตะ 200 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล แต่อาจจะมีบางช่วงที่ราคาแตะ 150 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งปัจจุบันราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 120-130 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ทำให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปยังอยู่ระดับสูง โดยน้ำมันเบนซินอยู่ที่ 130 เหรียญสหรัฐและดีเซล 160-170 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ส่งผลให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปเบนซินขายปลีกอยู่ที่ 40 บาท/ลิตรและดีเซล(บี2) 39 บาท/ลิตร
ขณะที่ค่าการกลั่นของโรงกลั่นในประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ลิตรละ 1.50 บาท หรือประมาณ 6-8 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เนื่องจากราคาน้ำมันเตาและแอลพีจีจำหน่ายในราคาต่ำกว่าราคาน้ำมันดิบ แต่ส่วนต่างน้ำมันดิบกับดีเซลอยู่ที่ 7-8 บาท/ลิตร และส่วนต่างเบนซิน 2 บาท/ลิตร ทำให้กลุ่มโรงกลั่นไม่สามารถปรับลดค่าการกลั่นดีเซล 1 บาท/ลิตรให้ได้ แต่สามารถช่วยเหลือโดยการจัดสรรน้ำมันดีเซลให้ 122 ล้านลิตร/เดือนในราคาต่ำกว่าราคาตลาด 3 บาท/ลิตร เป็นเวลา 6 เดือนเท่านั้น หรือคิดเป็นเงินอุดหนุน 366 ล้านบาท/เดือน ซึ่งการลดราคาน้ำมันดีเซลต่ำกว่าราคาตลาด 3 บาท/ลิตรใน 4 โรงกลั่น จะทำให้การรับรู้รายได้ของปตท. ลดลงตามสัดส่วนการถือหุ้นในโรงกลั่นดังกล่าว ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวนี้ อยู่ในอำนาจการตัดสินใจของคณะกรรมการบริษัทฯ ไม่จำเป็นต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทฯ
นอกจากนี้ตนยังเชื่อว่าโรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ และโรงกลั่นสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง (SPRC)จะเข้ามาช่วยอุดหนุนบางอุตสาหกรรมโดยอัตราส่วน 3 บาท/ลิตร เท่ากับโรงกลั่นในเครือปตท. ซึ่งเรื่องนี้ทางกระทรวงพลังงานจะหารือกับโรงกลั่นดังกล่าวข้างต้นต่อไป
"ผลประกอบการโรงกลั่นในปีนี้ไม่ดีไปกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากราคาน้ำมันผันผวน ทำให้ปรับตัวไม่ทัน ในฐานะที่ปตท.แข็งแกร่ง ก็ต้องเข้ามาช่วยเหลือ แต่คงช่วยอะไรมากไม่ได้ เพราะบริษัทฯ อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงต้องพิจารณาหาจุดสมดุลในการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่เดือดร้อนเช่นภาคขนส่ง ประมงและเกษตร"
นายประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้รัฐบาลในหลายประเทศทั้งอินโดนีเซียและจีนเริ่มที่จะไม่สามารถอุดหนุนราคาน้ำมันในประเทศให้ประชาชนได้แล้ว ซึ่งจะทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศสูงขึ้นทำให้การใช้น้ำมันจะไม่สูงขึ้น อันจะทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกไม่น่าจะปรับตัวสูงมากกว่านี้ ส่วนสาเหตุที่ ราคาน้ำมันไม่สามารถปรับลดลงได้ เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันของโลกยังสูงเพิ่มขึ้นปีละ 1 ล้านบาร์เรล/วัน โดยจีดีพีของจีนและอินเดียขยายตัวสูงอยู่