คมนาคม ปล่อยขึ้นค่าโดยสารเรือด่วน แสนแสบ อีก 2 บาท เรือข้ามฟาก 50 สต. มีผล 25 มิ.ย.นี้ ขณะที่ครม.เห็นชอบแผนเช่ารถเมล์ เอ็นจีวี 6,000 คัน มูลค่า 1.1 แสนล้านบาท "หมัก" ขึงขังบอก"คณะลูกกรอก" อย่าโกง แม้แต่สลึงเดียว "สันติ" ยันไม่มีส่วนแบ่งคันละ 1 ล้าน อ้างโครงการใหญ่ต้องให้เอกชนรายเดียวจัดหา ขณะที่วิกฤติน้ำมันยังไม่คลาย เชื่อดีเซลแตะ 50 บาท เสนอรัฐตั้งกองทุน NGV 2 หมื่นล้าน อุ้มขนส่ง สิบล้อนัดหยุดวิ่งวันนี้ รอฟังรัฐช่วยเหลือหรือไม่
นายประสงค์ ตันมณีวัฒนา กรมการขนส่งทางน้ำ และพาณิชยนาวี (ขน.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกำกับกิจการเรือโดยสาร เปิดเผยภายหลังการประชุมวานนี้ (10 มิ.ย.) ว่า คณะกรรมการได้พิจารณาอนุมัติให้ปรับขึ้นค่าโดยสาร เรือด่วนเจ้าพระยา และ เรือคลองแลนแสบ อีกระยะละ 2 บาท เรือธรรมดาระยะละ 1 บาท และเรือข้ามฟากอีก 50 สตางค์ เฉพาะท่าเรือขนาดเล็กที่มีผู้โดยสารไม่เกิน 5,000 คนต่อวัน
ส่วนท่าเรือขนาดใหญ่อีก 6 แห่ง ประกอบด้วย ท่าช้าง-วัดระฆัง ,ท่าช้าง-วังหลัง,ท่าพระจันทร์เหนือ-วังหลัง,ท่าพระจันทร์เหนือ-รถไฟ,ท่าพระจันทร์เหนือ-ปิ่นเกล้า ,ท่าปิ่นเกล้า-ฝั่งธนฯ-ฝั่งพระนคร ให้ตรึงค่าโดยสารไปก่อน โดยให้มีผล ตั้งแต่วันที่ 25 มิ.ย.นี้ เป็นต้นไป ตามที่ผู้ประกอบการเรียกร้อง
โดย ขน.ได้เจรจากับผู้ประกอบการให้ตรึงค่าโดยสารนี้ต่อไปจนกว่าราคาน้ำมันดีเซล จะถึงลิตรละ 45 บาท จึงจะมีการพิจารณาราคาค่าโดยสารอีกครั้ง เพื่อช่วยเหลือประชาชน และได้หารือถึงกรณีที่ผู้ประกอบการ ต้องการให้รัฐอุดหนุนราคาจำหน่ายน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 3 บาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเรือโดยสารเช่นเดียวกับผู้ประกอบการรถร่วมบริการขสมก. ซึ่งกรมขนส่งทางน้ำฯ จะนำไปหารือกับกระทรวงคมนาคมอีกครั้ง
ขณะที่นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานเกี่ยวกับมติคณะกรรมการกำกับกิจการเรือโดยสาร ที่ให้ปรับขึ้นค่าโดยสารเรือด่วน เรือคลองแสนแสบ และเรือข้ามฟาก จึงยังไม่สามารถบอกได้ว่า จะมีการขึ้นราคาหรือไม่ เนื่องจาก การจะให้ปรับขึ้นค่าโดยสารนั้นจะต้องดูเหตุผลเรื่องต้นทุน ความถี่ในการให้บริการ การบริหารจัดการ และประสิทธิภาพในการเดินเรือ ว่าเหมาะสมหรือไม่ด้วย
ครม.ให้เช่ารถเอ็นจีวี 6,000 คัน
พล.ต.ท.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.วานนี้ (10 มิ.ย.) ได้เห็นชอบในหลักการให้ องค์กรขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ดำเนินการตามแผนการปรับปรุงการบริหารจัดการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้ ขสมก. ดำเนินการเช่ารถโดยสารปรับอากาศใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 6,000 คัน และให้ ขสมก.ขายรถโดยสารเก่าจำนวน 3,535 คันและนำเงินที่ได้มาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
ส่วนประเด็นที่พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งข้อสังเกตว่า อาจจะมีการเรียกเก็บคอมมิชชั่นในโครงการนี้นั้น พล.ต.ท.วิเชียรโชติ อ้างว่า ครม.ไม่ได้พูดถึงพรรคอื่น รวมถึงการให้สัมภาษณ์ของนายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.คมนาคม เรื่องขายรถเก่า 3,535 คันให้กับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ก็ไม่มีการพูดถึง
"นายสมัคร ได้บอกในที่ประชุมชัดเจนว่า จะต้องไม่มีการโกง หรือเรียกเก็บค่าคอมมิชชั่น จะต้องไม่มีการทุจริตแม้แต่สลึงเดียว ให้มีการดำเนินการอย่างโปร่งใสและรอบคอบ และรัฐบาลจะให้ทุกคนสามารถเข้ามาตรวจสอบโครงการนี้ได้ ขณะที่ โครงสร้างการจัดการและอัตราการจัดเก็บค่าโดยสารหรือราคาต้นทุนค่างวดต่างๆได้ให้ ขสมก.กลับไปทำรายละเอียดเสนอ ครม.ในสัปดาห์หน้า"โฆษกรัฐบาล ระบุ
ทั้งนี้ ครม.ยังเห็นชอบการปรับปรุงการจัดเก็บรายได้ค่าโดยสาร ด้วยบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการบริการ การปรับปรุงด้านบุคลากร และปรับปรุงการตรวจสอบ และปฏิบัติการเดินรถหมุนเวียน เพราะหากไม่ดำเนินการปรับปรุง ขสมก. จะมีหนี้สะสมถึง 1 แสนล้านบาท
นายพิเณศวร์ พัวพัฒนกุล ผู้อำนวยการ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กล่าวว่า ครม.ยังไม่มีมติใดๆ ต่อการเสนอขอเช่าซื้อรถโดยสารของ ขสมก. ที่ใช้เครื่องยนต์ NGV จำนวน 6,000 คัน โดยจะมีการเสนอครม.เห็นชอบอีกครั้ง ในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้ยืนยันว่า การดำเนินการดังกล่าว จะเป็นผลดีต่อประชาชน ทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหาการขาดทุนของขสมก.อีกด้วย
คุยจะได้เห็น ขสมก.มีกำไรแน่
ทั้งนี้ นายสันติ รมว.คมนาคม กล่าวว่า การกำหนดค่าเช่ารถคันละ 5,100 บาทต่อวัน เป็นเวลา 10 ปี รวมวงเงินกว่า 1.1 แสนล้านบาทนั้น ประเมินว่า ขสมก. จะเริ่มมีกำไรในปี 53 ประมาณ 500 ล้านบาท โดยแบ่ง 30% สำหรับการบริหารจัดการ ส่วนอีก 70% จะทยอยชำระหนี้ ที่ปัจจุบัน ขสมก.มีมูลหนี้อยู่ 69,000 ล้านบาท ซึ่งกระทรวงการคลัง จะช่วยรับภาระดอกเบี้ยแทน และคาดว่าเมื่อครบกำหนดเช่า 10 ปี ขสมก.จะมีกำไรถึง 5,000 ล้านบาท นอกจากนี้ การที่ ขสมก.นำระบบตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ (E-ticket) มาใช้ จึงต้องให้พนักงานบางส่วนเกษียณอายุก่อนกำหนด ซึ่งเงินชดเชย ตรงส่วนดังกล่าวรัฐบาลอาจต้องเข้าไปอุดหนุน "นายสันติ กล่าว
อัดปชป.โง่ที่ยังห่วงรถเมล์ร้อน
ส่วนกรณีที่พรรคฝ่ายค้านมองว่าการยกเลิกรถเมล์ธรรมดา หรือรถเมล์ร้อน จะส่งผลต่อผู้โดยสารที่มีรายได้น้อยนั้น นายสันติ กล่าวว่า ความคิดแบบนี้ เป็นของคนโง่ ทำไมประชาชน ที่มีรายได้น้อย จะไม่อยากใช้รถที่มีคุณภาพดี ซึ่งค่าโดยสารที่ ขสมก.กำหนดเที่ยวเดียว 15 บาท และเหมา 30 บาทเหมาะสมแล้ว เพราะผู้มีรายได้น้อยส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ชานเมือง
ดังนั้นการเดินทางเข้ามาทำงานในเมืองจะต้องใช้บริการรถสาธารณะไม่ต่ำกว่า 2 ต่อ ซึ่งปัจจุบันค่าโดยสารรถเมล์ร้อนอยู่ที่ 8.50 บาท การเดินทางทั้งไปและกลับจึงต้องจ่ายค่าโดยสารมากกว่า 30 บาทต่อวันแน่นอน พร้อมยืนยันว่า ไม่มีบุคคลในรัฐบาลได้รับส่วนแบ่งคันละ 1 ล้านบาท อย่างที่ฝ่ายค้านกล่าวหา เพราะตนทำงานโปร่งใส พร้อมให้ตรวจสอบได้ทุกเวลา
"วิธีคิดของฝ่ายค้านแบบนี้มันไม่สร้างสรรค์ คิดที่จะทำลายระบบโครงการดีๆ ที่จะมารับใช้ประชาชน นั่งเทียนแล้วก็บอกว่าจะได้คันละ 1 ล้าน จะเป็นไปได้หรือ ถ้าได้คันละ 1 ล้านบาท จบโครงการไปตั้งพรรคกลับมาเป็นนายกฯได้เลย โครงการนี้ ขสมก. จ่ายค่าเช่าเป็นรายวัน รายเดือน ผู้ให้เช่าก็ต้องไปชำระหนี้ต่อ ใครจะเอาเงินมาให้" นายสันติ กล่าว
ทั้งนี้ยอมรับว่า กังวลเรื่องการเปิดประมูลเพื่อหาผู้ให้เช่ารถ NGV ทั้ง 6,000 คัน เพียงรายเดียว เพื่อสะดวกต่อการบริการจัดการ ถือว่าเป็นโครงการใหญ่ และรัฐบาลต้องการให้มอบรถในคราวเดียวทั้งหมดเนื่องจากเป็นการใช้ระบบตั๋วอิเลกทรอนิกส์ หากทยอยรับมอบจะทำให้การบริการไม่ครอบคลุม จึงเป็นไปได้ว่าการประมูลครั้งนี้ต้องมีลักษณะผู้ร่วมทุนซึ่งรถจะมีหลายยี่ห้อได้
ยันเช่าคุ้มกว่าซื้อ
นายสันติ กล่าวยืนยันว่า การเช่าจะคุ้มค่ากว่าการซื้อเนื่องจาก ขสมก.ไม่มีภาระค่าซ่อมบำรุงตลอด 10 ปี ซึ่งก็เป็นเงินจำนวนมาก ขณะเดียวกันเอกชน ซึ่งเป็นผู้จัดหารถ ก็จะต้องการันตี ว่าจะต้องมีรถวิ่งทุกวัน วันละ 6,000 คันตามสัญญา ซึ่งค่าเช่า 5,100 บาทต่อวันต่อคันนั้น เป็นค่าเช่ารถวันละกว่า 1,000 บาทเท่านั้น ที่เหลือเป็น ค่าซ่อมบำรุงค่าประกันภัย ค่าบริหารระบบ GPS และระบบจัดเก็บค่าโดยสารอิเล็คโทรนิกส์
รถร่วมโวย ทำลายธุรกิจเอกชน
ด้านสมาคมผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทาง ได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา คัดค้านแผนดังกล่าวของ ขสมก. และขอให้ทบทวนตัวเลขว่า จะมีกำไรจริงหรือไม่ และ ขสมก.ควรคำนึงถึงผู้ประกอบการเอกชนที่ทำสัญญาร่วมเดินรถกับ ขสมก.ตั้งแต่แรก เพราะจะได้รับผลกระทบ ซึ่งนโยบายที่ผ่านมา การปรับปรุงดังกล่าวต้องให้เอกชนมีส่วนร่วมในการเดินรถกับ ขสมก. 50-50 เพื่อลดภาระการลงทุนของ ขสมก. แต่นโยบายดังกล่าวเป็นการทำลายธุรกิจของเอกชน
เสนอรัฐตั้งกองทุน NGV 2 หมื่นล้าน
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวในการเสวนา "น้ำมันลิตรละ 50 บาท...ประเทศไทยจะอยู่รอดได้อย่างไร? ซึ่งจัดโดยสายงานโลจิสติกส์ ส.อ.ท.วานนี้ (10มิ.ย.) ว่าหลายฝ่ายคาดว่าน้ำมันกลางปีนี้จะแตะระดับ 150 เหรียญ ต่อบาร์เรล จึงเป็นเหตุผลที่หลายฝ่ายมองว่าโอกาสเห็นดีเซลในไทยไปแตะ 50 บาท ต่อลิตรก็มีโอกาสสูงเพราะช่วงพ.ย.ที่ปกติดีเซลจะมีราคาแพงเพราะเข้าสู่ฤดูหนาวที่ความต้องการเพิ่มขึ้น ซึ่งราคาดีเซลระดับดังกล่าวจะกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ระดับ 7.6% (ดีเซล31บ.) เพิ่มไปสูงถึง 9% ได้ในช่วงไตรมาส 3-4 ปีนี้ซึ่งเศรษฐกิจไทยจะชะลออย่างมาก
"น้ำมันขึ้นไป 50 บาทต่อลิตร เราจะต้องเผชิญ 2 วิกฤติคือ นอกจากน้ำมันแพงมากแล้ว เราต้องเจอกับปัญหาราคาอาหารปัญหาเงินเฟ้อเกิดขึ้น แรงซื้อประชาชนจะลดลงทุกอย่างจะกระทบเป็นลูกโซ่ โดยภาคธุรกิจจะเห็นชัดเจนส่วนของผู้ประกอบการรายเล็ก หรือ เอสเอ็มอี ซึ่งถ้าน้ำมัน 50 บาทต่อลิตร น่าเป็นห่วงมากเพราะเอสเอ็มอีมีแรงงานอยู่ในระดับถึง 2.5 ล้านคน ปัญหาการเมืองและสังคมจะรุนแรงขึ้นจุดนี้ต้องระวัง ซึ่งเรามองโลกในแง่ดีว่าคงไม่ถึงขั้นวิกฤติช่วงปี 2540 เพราะทั่วโลกก็มีปัญหาเช่นกัน" นายธนิตกล่าว
จวกรัฐแก้ปัญหารายวัน
ทั้งนี้แนวทางที่จะอยู่ให้รอดนั้นรัฐบาลไม่ควรแก้ไขปัญหาแบบรายวันเช่นที่ทำอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องปลีกย่อยแต่ควรมองเรื่องพลังงานเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องกำหนดให้ชัดเจนระยะสั้น ระยะกลางและยาวเพื่อให้เดินไปสู่เป้าหมายทุกส่วนซึ่งเห็นว่าเร่งด่วนที่ควรมองคือ การลดต้นทุนภาคขนส่งที่ต้องเน้นไปใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์หรือ NGV ที่เดินมาถูกทางแต่ต้องเร่งในเรื่องการติดตั้งในรถบรรทุก รถขนส่งให้มากสุดด้วยการจัดตั้งกองทุน NGV วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท เพื่อติดกับรถบรรทุกที่มีอยู่ 3.3 หมื่นคัน ดอกเบี้ยต่ำกว่า MLR 2% ระยะเวลา 3 ปี อย่างไรก็ตามราคา NGV ภาครัฐก็ต้องประกาศให้ชัดเจนว่าจะไปทางใดด้วยเพื่อให้เอกชนปรับตัวได้ทัน
"ระยะกลางและยาวต้องเร่งให้มีรถไฟ 9 สายและรถไฟรางคู่เพราะจุดนี้ต้องใช้เวลาอีก 4-5 ปีจึงจะเห็นผล ซึ่งอยากให้รัฐบาลมองว่าน้ำมันเป็นวิกฤติรัฐบาลควรชัดเจนว่าจะมียุทธศาสตร์ชี้นำภาคการผลิตและขนส่งให้รับมืออย่างไร ส่วนการที่คลังออกมาทำคูปองคนจนนั้นยังไม่ชัดว่าช่วยอย่างไร นานแค่ไหนและจะแก้ปัญหาได้หรือไม่เพราะคนไทยไม่ได้บริโภคอาหารแค่ 3 มื้อแล้วจบ ขณะเดียวกันเมื่อน้ำมันมีปัญหากระทบเงินเฟ้อก็ควรมองเรื่องของการตรึงอัตราดอกเบี้ยด้วย" นายธนิต กล่าว
แนะตรึงดอกเบี้ยหวั่นกระทบลงทุน
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานส.อ.ท. กล่าวว่า ราคาดีเซล 50 บาทต่อลิตร มีโอกาสเกิดขึ้นได้ช่วงปลายปี สิ่งที่เอกชนวิตกคือ ภาวะเงินเฟ้อ และค่าครองชีพของประชาชนจะสูงขึ้น ซึ่งขณะนี้ผู้ประกอบการรายเล็กเริ่มมีการหยุดกิจการบ้างแล้วเช่นประมงชายฝั่ง เฟอร์นิเจอร์รายย่อย เป็นต้น หากปล่อยปัญหาไว้จะกระทบมากขึ้นและนำไปสู่การชะลอตัวทางเศรษฐกิจได้และเห็นว่าทิศทางของดอกเบี้ยนั้นควรจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบหากปรับเพิ่มจะกระทบลงทุนได้
"เงินเฟ้อเวลานี้ไม่ได้เกิดจากอุปสงค์แต่เกิดจากราคาน้ำมันดันต้นทุนเพิ่ม ขึ้นหากรัฐมีการพิจารณาปรับดอกเบี้ยขึ้นก็จะกระทบต่อการลงทุนอย่างมากซึ่งจะต้องพิจารณาเรื่องนี้ให้รอบคอบ ส่วนการจัดคูปองของคลังนั้นก็ถือว่าดีในการลดค่าใช้จ่ายซึ่งควรจะหารือกับผู้ผลิตรายใหญ่ในการร่วมกันผลักดันแต่ก็ต้องชัดเจนว่าให้กลุ่มไหนและทำอย่างไร" นายสันติกล่าว
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกลุ่มธุรกิจเกษตร และอาหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า ราคาน้ำมันดิบ 150 เหรียญต่อบาร์เรลมีโอกาสเกิดขึ้นได้แต่ 200 เหรียญต่อบาร์เรลนั้น จะกระทบอย่างมากซึ่งเชื่อว่าทุกประเทศจะต้องหาทางออกไม่ให้เกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตามปัญหาดังกล่าวคงไม่มีผลให้เกิดวิกฤติอาหารในไทย เพราะโชคดีที่ไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของโลก อย่งไรก็ตาม ทุกส่วนก็ต้องเตรียมพร้อมรับมือ และมีการลดใช้น้ำมันอย่างจริงจังและเห็นว่าการผลิตพลังานจากพืชจีเอ็มโอก็น่าจะเป็นทางเลือกของไทยได้
นำเข้าพลังงานปีนี้จ่อ 1.5 ล้านล้าน
นางศรีวรรณ เอี่ยมรุ่งโรจน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่และแผนกลยุทธ์ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ประเมินว่าปีนี้ไทยอาจนำเข้าพลังงานสูงถึง 1.5 ล้านล้านบาท หรือ 15 %ของจีดีพี เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่นำเข้า มูลค่า 9 แสนล้านบาทหรือ 10 % ของจีดีพี โดยส่วนของก๊าซหุงต้มนั้นอยู่ที่รัฐจะให้ปรับขึ้นมากน้อยเพียงใดเพื่อชะลอการใช้ที่สูงขึ้นมากซึ่งหากขึ้นเฉพาะภาคขนส่ง-อุตสาหกรรมอีก 3 บาทต่อกิโลกรัมคาดว่ายังไม่เพียงพอ เพราะยังต่ำกว่าราคาน้ำมันมาก โดยหากจะต้องสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงก็น่าจะขึ้นอีก 10 บาทต่อกิโลกรัม
ปตท.บางจากสุดอั้นขึ้นน้ำมันตาม
รายงานข่าวจากสำนักนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.)แจ้งว่า ปตท.และบางจาก ได้ตัดสินใจปรับขึ้นน้ำมันเบนซิน และดีเซลอีกลิตรละ 80 สตางค์ มีผลวันที่ 11 มิ.ย.เป็นต้นไปส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันเท่ากันทุกราย หลังจากที่ค่ายอื่นๆได้ปรับไปก่อนหน้านี้ โดยเบนซิน 95 แตะที่ 41.95 บาทต่อลิตร เบนซิน 91 อยู่ที่ 40.49 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 95 เป็น 36.89 บาทต่อลิตร และดีเซล 40.54 บาทต่อลิตร
รถบรรทุกขู่หยุดวิ่งวันนี้
นายทองอยู่ คงขันธ์ นายกสมาคมขนส่งสินค้าเพื่อการนำเข้าและส่งออก กล่าวว่า วันนี้ (11มิ.ย.) รถบรรทุกประมาณ 1 หมื่นคัน จะหยุดวิ่งเพื่อประท้วงรัฐบาลที่ไม่ใส่ใจแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้นซึ่งก่อนหน้านี้ได้ยื่นข้อเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมแล้ว และจะมีการเคลื่อนขบวนเข้ากทม.ในวันที่ 17 มิ.ย.นี้ หากรัฐยังไม่มีมาตรการช่วยเหลือที่เป็นรูปธรรม
นายประสงค์ ตันมณีวัฒนา กรมการขนส่งทางน้ำ และพาณิชยนาวี (ขน.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกำกับกิจการเรือโดยสาร เปิดเผยภายหลังการประชุมวานนี้ (10 มิ.ย.) ว่า คณะกรรมการได้พิจารณาอนุมัติให้ปรับขึ้นค่าโดยสาร เรือด่วนเจ้าพระยา และ เรือคลองแลนแสบ อีกระยะละ 2 บาท เรือธรรมดาระยะละ 1 บาท และเรือข้ามฟากอีก 50 สตางค์ เฉพาะท่าเรือขนาดเล็กที่มีผู้โดยสารไม่เกิน 5,000 คนต่อวัน
ส่วนท่าเรือขนาดใหญ่อีก 6 แห่ง ประกอบด้วย ท่าช้าง-วัดระฆัง ,ท่าช้าง-วังหลัง,ท่าพระจันทร์เหนือ-วังหลัง,ท่าพระจันทร์เหนือ-รถไฟ,ท่าพระจันทร์เหนือ-ปิ่นเกล้า ,ท่าปิ่นเกล้า-ฝั่งธนฯ-ฝั่งพระนคร ให้ตรึงค่าโดยสารไปก่อน โดยให้มีผล ตั้งแต่วันที่ 25 มิ.ย.นี้ เป็นต้นไป ตามที่ผู้ประกอบการเรียกร้อง
โดย ขน.ได้เจรจากับผู้ประกอบการให้ตรึงค่าโดยสารนี้ต่อไปจนกว่าราคาน้ำมันดีเซล จะถึงลิตรละ 45 บาท จึงจะมีการพิจารณาราคาค่าโดยสารอีกครั้ง เพื่อช่วยเหลือประชาชน และได้หารือถึงกรณีที่ผู้ประกอบการ ต้องการให้รัฐอุดหนุนราคาจำหน่ายน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 3 บาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเรือโดยสารเช่นเดียวกับผู้ประกอบการรถร่วมบริการขสมก. ซึ่งกรมขนส่งทางน้ำฯ จะนำไปหารือกับกระทรวงคมนาคมอีกครั้ง
ขณะที่นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานเกี่ยวกับมติคณะกรรมการกำกับกิจการเรือโดยสาร ที่ให้ปรับขึ้นค่าโดยสารเรือด่วน เรือคลองแสนแสบ และเรือข้ามฟาก จึงยังไม่สามารถบอกได้ว่า จะมีการขึ้นราคาหรือไม่ เนื่องจาก การจะให้ปรับขึ้นค่าโดยสารนั้นจะต้องดูเหตุผลเรื่องต้นทุน ความถี่ในการให้บริการ การบริหารจัดการ และประสิทธิภาพในการเดินเรือ ว่าเหมาะสมหรือไม่ด้วย
ครม.ให้เช่ารถเอ็นจีวี 6,000 คัน
พล.ต.ท.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.วานนี้ (10 มิ.ย.) ได้เห็นชอบในหลักการให้ องค์กรขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ดำเนินการตามแผนการปรับปรุงการบริหารจัดการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้ ขสมก. ดำเนินการเช่ารถโดยสารปรับอากาศใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 6,000 คัน และให้ ขสมก.ขายรถโดยสารเก่าจำนวน 3,535 คันและนำเงินที่ได้มาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
ส่วนประเด็นที่พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งข้อสังเกตว่า อาจจะมีการเรียกเก็บคอมมิชชั่นในโครงการนี้นั้น พล.ต.ท.วิเชียรโชติ อ้างว่า ครม.ไม่ได้พูดถึงพรรคอื่น รวมถึงการให้สัมภาษณ์ของนายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.คมนาคม เรื่องขายรถเก่า 3,535 คันให้กับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ก็ไม่มีการพูดถึง
"นายสมัคร ได้บอกในที่ประชุมชัดเจนว่า จะต้องไม่มีการโกง หรือเรียกเก็บค่าคอมมิชชั่น จะต้องไม่มีการทุจริตแม้แต่สลึงเดียว ให้มีการดำเนินการอย่างโปร่งใสและรอบคอบ และรัฐบาลจะให้ทุกคนสามารถเข้ามาตรวจสอบโครงการนี้ได้ ขณะที่ โครงสร้างการจัดการและอัตราการจัดเก็บค่าโดยสารหรือราคาต้นทุนค่างวดต่างๆได้ให้ ขสมก.กลับไปทำรายละเอียดเสนอ ครม.ในสัปดาห์หน้า"โฆษกรัฐบาล ระบุ
ทั้งนี้ ครม.ยังเห็นชอบการปรับปรุงการจัดเก็บรายได้ค่าโดยสาร ด้วยบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการบริการ การปรับปรุงด้านบุคลากร และปรับปรุงการตรวจสอบ และปฏิบัติการเดินรถหมุนเวียน เพราะหากไม่ดำเนินการปรับปรุง ขสมก. จะมีหนี้สะสมถึง 1 แสนล้านบาท
นายพิเณศวร์ พัวพัฒนกุล ผู้อำนวยการ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กล่าวว่า ครม.ยังไม่มีมติใดๆ ต่อการเสนอขอเช่าซื้อรถโดยสารของ ขสมก. ที่ใช้เครื่องยนต์ NGV จำนวน 6,000 คัน โดยจะมีการเสนอครม.เห็นชอบอีกครั้ง ในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้ยืนยันว่า การดำเนินการดังกล่าว จะเป็นผลดีต่อประชาชน ทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหาการขาดทุนของขสมก.อีกด้วย
คุยจะได้เห็น ขสมก.มีกำไรแน่
ทั้งนี้ นายสันติ รมว.คมนาคม กล่าวว่า การกำหนดค่าเช่ารถคันละ 5,100 บาทต่อวัน เป็นเวลา 10 ปี รวมวงเงินกว่า 1.1 แสนล้านบาทนั้น ประเมินว่า ขสมก. จะเริ่มมีกำไรในปี 53 ประมาณ 500 ล้านบาท โดยแบ่ง 30% สำหรับการบริหารจัดการ ส่วนอีก 70% จะทยอยชำระหนี้ ที่ปัจจุบัน ขสมก.มีมูลหนี้อยู่ 69,000 ล้านบาท ซึ่งกระทรวงการคลัง จะช่วยรับภาระดอกเบี้ยแทน และคาดว่าเมื่อครบกำหนดเช่า 10 ปี ขสมก.จะมีกำไรถึง 5,000 ล้านบาท นอกจากนี้ การที่ ขสมก.นำระบบตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ (E-ticket) มาใช้ จึงต้องให้พนักงานบางส่วนเกษียณอายุก่อนกำหนด ซึ่งเงินชดเชย ตรงส่วนดังกล่าวรัฐบาลอาจต้องเข้าไปอุดหนุน "นายสันติ กล่าว
อัดปชป.โง่ที่ยังห่วงรถเมล์ร้อน
ส่วนกรณีที่พรรคฝ่ายค้านมองว่าการยกเลิกรถเมล์ธรรมดา หรือรถเมล์ร้อน จะส่งผลต่อผู้โดยสารที่มีรายได้น้อยนั้น นายสันติ กล่าวว่า ความคิดแบบนี้ เป็นของคนโง่ ทำไมประชาชน ที่มีรายได้น้อย จะไม่อยากใช้รถที่มีคุณภาพดี ซึ่งค่าโดยสารที่ ขสมก.กำหนดเที่ยวเดียว 15 บาท และเหมา 30 บาทเหมาะสมแล้ว เพราะผู้มีรายได้น้อยส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ชานเมือง
ดังนั้นการเดินทางเข้ามาทำงานในเมืองจะต้องใช้บริการรถสาธารณะไม่ต่ำกว่า 2 ต่อ ซึ่งปัจจุบันค่าโดยสารรถเมล์ร้อนอยู่ที่ 8.50 บาท การเดินทางทั้งไปและกลับจึงต้องจ่ายค่าโดยสารมากกว่า 30 บาทต่อวันแน่นอน พร้อมยืนยันว่า ไม่มีบุคคลในรัฐบาลได้รับส่วนแบ่งคันละ 1 ล้านบาท อย่างที่ฝ่ายค้านกล่าวหา เพราะตนทำงานโปร่งใส พร้อมให้ตรวจสอบได้ทุกเวลา
"วิธีคิดของฝ่ายค้านแบบนี้มันไม่สร้างสรรค์ คิดที่จะทำลายระบบโครงการดีๆ ที่จะมารับใช้ประชาชน นั่งเทียนแล้วก็บอกว่าจะได้คันละ 1 ล้าน จะเป็นไปได้หรือ ถ้าได้คันละ 1 ล้านบาท จบโครงการไปตั้งพรรคกลับมาเป็นนายกฯได้เลย โครงการนี้ ขสมก. จ่ายค่าเช่าเป็นรายวัน รายเดือน ผู้ให้เช่าก็ต้องไปชำระหนี้ต่อ ใครจะเอาเงินมาให้" นายสันติ กล่าว
ทั้งนี้ยอมรับว่า กังวลเรื่องการเปิดประมูลเพื่อหาผู้ให้เช่ารถ NGV ทั้ง 6,000 คัน เพียงรายเดียว เพื่อสะดวกต่อการบริการจัดการ ถือว่าเป็นโครงการใหญ่ และรัฐบาลต้องการให้มอบรถในคราวเดียวทั้งหมดเนื่องจากเป็นการใช้ระบบตั๋วอิเลกทรอนิกส์ หากทยอยรับมอบจะทำให้การบริการไม่ครอบคลุม จึงเป็นไปได้ว่าการประมูลครั้งนี้ต้องมีลักษณะผู้ร่วมทุนซึ่งรถจะมีหลายยี่ห้อได้
ยันเช่าคุ้มกว่าซื้อ
นายสันติ กล่าวยืนยันว่า การเช่าจะคุ้มค่ากว่าการซื้อเนื่องจาก ขสมก.ไม่มีภาระค่าซ่อมบำรุงตลอด 10 ปี ซึ่งก็เป็นเงินจำนวนมาก ขณะเดียวกันเอกชน ซึ่งเป็นผู้จัดหารถ ก็จะต้องการันตี ว่าจะต้องมีรถวิ่งทุกวัน วันละ 6,000 คันตามสัญญา ซึ่งค่าเช่า 5,100 บาทต่อวันต่อคันนั้น เป็นค่าเช่ารถวันละกว่า 1,000 บาทเท่านั้น ที่เหลือเป็น ค่าซ่อมบำรุงค่าประกันภัย ค่าบริหารระบบ GPS และระบบจัดเก็บค่าโดยสารอิเล็คโทรนิกส์
รถร่วมโวย ทำลายธุรกิจเอกชน
ด้านสมาคมผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทาง ได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา คัดค้านแผนดังกล่าวของ ขสมก. และขอให้ทบทวนตัวเลขว่า จะมีกำไรจริงหรือไม่ และ ขสมก.ควรคำนึงถึงผู้ประกอบการเอกชนที่ทำสัญญาร่วมเดินรถกับ ขสมก.ตั้งแต่แรก เพราะจะได้รับผลกระทบ ซึ่งนโยบายที่ผ่านมา การปรับปรุงดังกล่าวต้องให้เอกชนมีส่วนร่วมในการเดินรถกับ ขสมก. 50-50 เพื่อลดภาระการลงทุนของ ขสมก. แต่นโยบายดังกล่าวเป็นการทำลายธุรกิจของเอกชน
เสนอรัฐตั้งกองทุน NGV 2 หมื่นล้าน
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวในการเสวนา "น้ำมันลิตรละ 50 บาท...ประเทศไทยจะอยู่รอดได้อย่างไร? ซึ่งจัดโดยสายงานโลจิสติกส์ ส.อ.ท.วานนี้ (10มิ.ย.) ว่าหลายฝ่ายคาดว่าน้ำมันกลางปีนี้จะแตะระดับ 150 เหรียญ ต่อบาร์เรล จึงเป็นเหตุผลที่หลายฝ่ายมองว่าโอกาสเห็นดีเซลในไทยไปแตะ 50 บาท ต่อลิตรก็มีโอกาสสูงเพราะช่วงพ.ย.ที่ปกติดีเซลจะมีราคาแพงเพราะเข้าสู่ฤดูหนาวที่ความต้องการเพิ่มขึ้น ซึ่งราคาดีเซลระดับดังกล่าวจะกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ระดับ 7.6% (ดีเซล31บ.) เพิ่มไปสูงถึง 9% ได้ในช่วงไตรมาส 3-4 ปีนี้ซึ่งเศรษฐกิจไทยจะชะลออย่างมาก
"น้ำมันขึ้นไป 50 บาทต่อลิตร เราจะต้องเผชิญ 2 วิกฤติคือ นอกจากน้ำมันแพงมากแล้ว เราต้องเจอกับปัญหาราคาอาหารปัญหาเงินเฟ้อเกิดขึ้น แรงซื้อประชาชนจะลดลงทุกอย่างจะกระทบเป็นลูกโซ่ โดยภาคธุรกิจจะเห็นชัดเจนส่วนของผู้ประกอบการรายเล็ก หรือ เอสเอ็มอี ซึ่งถ้าน้ำมัน 50 บาทต่อลิตร น่าเป็นห่วงมากเพราะเอสเอ็มอีมีแรงงานอยู่ในระดับถึง 2.5 ล้านคน ปัญหาการเมืองและสังคมจะรุนแรงขึ้นจุดนี้ต้องระวัง ซึ่งเรามองโลกในแง่ดีว่าคงไม่ถึงขั้นวิกฤติช่วงปี 2540 เพราะทั่วโลกก็มีปัญหาเช่นกัน" นายธนิตกล่าว
จวกรัฐแก้ปัญหารายวัน
ทั้งนี้แนวทางที่จะอยู่ให้รอดนั้นรัฐบาลไม่ควรแก้ไขปัญหาแบบรายวันเช่นที่ทำอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องปลีกย่อยแต่ควรมองเรื่องพลังงานเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องกำหนดให้ชัดเจนระยะสั้น ระยะกลางและยาวเพื่อให้เดินไปสู่เป้าหมายทุกส่วนซึ่งเห็นว่าเร่งด่วนที่ควรมองคือ การลดต้นทุนภาคขนส่งที่ต้องเน้นไปใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์หรือ NGV ที่เดินมาถูกทางแต่ต้องเร่งในเรื่องการติดตั้งในรถบรรทุก รถขนส่งให้มากสุดด้วยการจัดตั้งกองทุน NGV วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท เพื่อติดกับรถบรรทุกที่มีอยู่ 3.3 หมื่นคัน ดอกเบี้ยต่ำกว่า MLR 2% ระยะเวลา 3 ปี อย่างไรก็ตามราคา NGV ภาครัฐก็ต้องประกาศให้ชัดเจนว่าจะไปทางใดด้วยเพื่อให้เอกชนปรับตัวได้ทัน
"ระยะกลางและยาวต้องเร่งให้มีรถไฟ 9 สายและรถไฟรางคู่เพราะจุดนี้ต้องใช้เวลาอีก 4-5 ปีจึงจะเห็นผล ซึ่งอยากให้รัฐบาลมองว่าน้ำมันเป็นวิกฤติรัฐบาลควรชัดเจนว่าจะมียุทธศาสตร์ชี้นำภาคการผลิตและขนส่งให้รับมืออย่างไร ส่วนการที่คลังออกมาทำคูปองคนจนนั้นยังไม่ชัดว่าช่วยอย่างไร นานแค่ไหนและจะแก้ปัญหาได้หรือไม่เพราะคนไทยไม่ได้บริโภคอาหารแค่ 3 มื้อแล้วจบ ขณะเดียวกันเมื่อน้ำมันมีปัญหากระทบเงินเฟ้อก็ควรมองเรื่องของการตรึงอัตราดอกเบี้ยด้วย" นายธนิต กล่าว
แนะตรึงดอกเบี้ยหวั่นกระทบลงทุน
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานส.อ.ท. กล่าวว่า ราคาดีเซล 50 บาทต่อลิตร มีโอกาสเกิดขึ้นได้ช่วงปลายปี สิ่งที่เอกชนวิตกคือ ภาวะเงินเฟ้อ และค่าครองชีพของประชาชนจะสูงขึ้น ซึ่งขณะนี้ผู้ประกอบการรายเล็กเริ่มมีการหยุดกิจการบ้างแล้วเช่นประมงชายฝั่ง เฟอร์นิเจอร์รายย่อย เป็นต้น หากปล่อยปัญหาไว้จะกระทบมากขึ้นและนำไปสู่การชะลอตัวทางเศรษฐกิจได้และเห็นว่าทิศทางของดอกเบี้ยนั้นควรจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบหากปรับเพิ่มจะกระทบลงทุนได้
"เงินเฟ้อเวลานี้ไม่ได้เกิดจากอุปสงค์แต่เกิดจากราคาน้ำมันดันต้นทุนเพิ่ม ขึ้นหากรัฐมีการพิจารณาปรับดอกเบี้ยขึ้นก็จะกระทบต่อการลงทุนอย่างมากซึ่งจะต้องพิจารณาเรื่องนี้ให้รอบคอบ ส่วนการจัดคูปองของคลังนั้นก็ถือว่าดีในการลดค่าใช้จ่ายซึ่งควรจะหารือกับผู้ผลิตรายใหญ่ในการร่วมกันผลักดันแต่ก็ต้องชัดเจนว่าให้กลุ่มไหนและทำอย่างไร" นายสันติกล่าว
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกลุ่มธุรกิจเกษตร และอาหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า ราคาน้ำมันดิบ 150 เหรียญต่อบาร์เรลมีโอกาสเกิดขึ้นได้แต่ 200 เหรียญต่อบาร์เรลนั้น จะกระทบอย่างมากซึ่งเชื่อว่าทุกประเทศจะต้องหาทางออกไม่ให้เกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตามปัญหาดังกล่าวคงไม่มีผลให้เกิดวิกฤติอาหารในไทย เพราะโชคดีที่ไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของโลก อย่งไรก็ตาม ทุกส่วนก็ต้องเตรียมพร้อมรับมือ และมีการลดใช้น้ำมันอย่างจริงจังและเห็นว่าการผลิตพลังานจากพืชจีเอ็มโอก็น่าจะเป็นทางเลือกของไทยได้
นำเข้าพลังงานปีนี้จ่อ 1.5 ล้านล้าน
นางศรีวรรณ เอี่ยมรุ่งโรจน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่และแผนกลยุทธ์ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ประเมินว่าปีนี้ไทยอาจนำเข้าพลังงานสูงถึง 1.5 ล้านล้านบาท หรือ 15 %ของจีดีพี เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่นำเข้า มูลค่า 9 แสนล้านบาทหรือ 10 % ของจีดีพี โดยส่วนของก๊าซหุงต้มนั้นอยู่ที่รัฐจะให้ปรับขึ้นมากน้อยเพียงใดเพื่อชะลอการใช้ที่สูงขึ้นมากซึ่งหากขึ้นเฉพาะภาคขนส่ง-อุตสาหกรรมอีก 3 บาทต่อกิโลกรัมคาดว่ายังไม่เพียงพอ เพราะยังต่ำกว่าราคาน้ำมันมาก โดยหากจะต้องสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงก็น่าจะขึ้นอีก 10 บาทต่อกิโลกรัม
ปตท.บางจากสุดอั้นขึ้นน้ำมันตาม
รายงานข่าวจากสำนักนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.)แจ้งว่า ปตท.และบางจาก ได้ตัดสินใจปรับขึ้นน้ำมันเบนซิน และดีเซลอีกลิตรละ 80 สตางค์ มีผลวันที่ 11 มิ.ย.เป็นต้นไปส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันเท่ากันทุกราย หลังจากที่ค่ายอื่นๆได้ปรับไปก่อนหน้านี้ โดยเบนซิน 95 แตะที่ 41.95 บาทต่อลิตร เบนซิน 91 อยู่ที่ 40.49 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 95 เป็น 36.89 บาทต่อลิตร และดีเซล 40.54 บาทต่อลิตร
รถบรรทุกขู่หยุดวิ่งวันนี้
นายทองอยู่ คงขันธ์ นายกสมาคมขนส่งสินค้าเพื่อการนำเข้าและส่งออก กล่าวว่า วันนี้ (11มิ.ย.) รถบรรทุกประมาณ 1 หมื่นคัน จะหยุดวิ่งเพื่อประท้วงรัฐบาลที่ไม่ใส่ใจแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้นซึ่งก่อนหน้านี้ได้ยื่นข้อเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมแล้ว และจะมีการเคลื่อนขบวนเข้ากทม.ในวันที่ 17 มิ.ย.นี้ หากรัฐยังไม่มีมาตรการช่วยเหลือที่เป็นรูปธรรม