คมนาคมยอมรับน้ำมันดีเซลพุ่งไม่หยุด ต้องยอมขึ้นค่าโดยสาร โยนกก.ขนส่งกลางอนุมัติ 20 พ.ค.นี้ คาดประกาศเร่งด่วนมีผล 25 พ.ค.นี้ รถร่วมฯ ขสมก.ขอขึ้น 1.50 บาท-บขส.ขอ 6 สต.ต่อกม. ขู่ไม่อนุมัติหยุดวิ่งแน่ ขณะที่เรือโดยสารยื้อถึงกลางมิ.ย.ขน.อ้างข้อมูลยังไม่ตรงกับผู้ประกอบการ ขณะที่ ปตท.ประกาศขึ้นราคาเบนซินอีกลิตรละ 50 ส.ต.
นายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล ที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบันอย่ที่ระดับ 35.74 บาทต่อลิตร ในเบื้องต้นจึงเห็นด้วยที่จะให้ปรับขึ้นค่าโดยสารให้กับรถขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และรถร่วมบริการฯ ขสมก. อีก 1.50 บาท ซึ่งจะทำให้รถธรรมดาครีม-แดง จาก 7 บาทเป็น 8.50 บาท รถธรรมดาครีม-น้ำเงินจาก 8.50 บาท เป็น 10 บาท ส่วนรถโดยสารปรับอากาศ เห็นควรให้เพิ่มขึ้นช่วงละ 1 บาท จากเดิม14-26 บาท เป็น 15-27 บาท โดยคณะกรรมการควบคุมขนส่งทางบกกลาง ที่มีนายปิยะพันธ์ จัมปาสุต รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานจะมีการประชุมเพื่อพิจารณาอนุมัติในวันที่ 20 พ.ค.นี้
นายทรงศักดิ์ กล่าวว่า ในส่วนของการแก้ปัญหาของขสมก.ทั้งเรื่องการขาดทุนสะสม และลดต้นทุนในการเดินรถ ได้สั่งการให้ขสมก.เร่งจัดทำแผนการเปลี่ยนรถโดยสาร จากรถโดยสารธรรมดามาเป็น รถปรับอากาศใหม่ทั้งหมด และใช้ก๊าซเอ็นจีวี เป็นเชื้อเพลิง โดยนโยบายที่มอบหมายไปนั้น ต้องการให้ ขสมก.ดำเนินการเช่าแบบเหมาจ่ายรถที่ใช้เอ็นจีวีจากเอกชน จำนวน 6,500 คัน และเพิ่มการให้บริการให้มากกว่า 300 เส้นทาง จากปัจจุบันที่มีรถโดยสาร 3,500 คัน บริการใน 115 เส้นทาง
"เชื่อว่าเมื่อมีการจัดหารถมาเพิ่มจะทำให้บริการของ ขสมก. ครอบคลุมในกรุงเทพฯและปริมณฑลและกระตุ้นให้ผู้โดยสารที่มาใช้บริการรถ ขสมก.มากขึ้นจากปัจจบันที่มีผู้โดยสาร 600,000 คน ขณะที่มีผู้โดยสารที่ใช้ระบบขนส่งทุกประเภทรวมกัน กว่า 2 ล้านคน นอกจากนี้ ขสมก.จะนำระบบตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ (E-Ticket) มาใช้ เบื้องต้นกำหนดราคา 30 บาทต่อคนต่อวัน ซึ่งผู้โดยสารจะได้รับความสะดวกมากขึ้น โดยในเบื้องต้นคาดว่าจะมีการจำหน่ายในราคา 30 บาท/คน/วัน "นายทรงศักดิ์ กล่าว
รถร่วมฯ ขสมก.ขอขึ้น 2.50 บ. - บขส. 6 สต.
วานนี้ (16 พ.ค.) ผู้ประกอบการรถร่วมบริการ ขสมก. จากสมาคมพัฒนารถร่วมเอกชน และผู้ประกอบการรถร่วมบขส. จากสมาคมกิจการรถโดยสารประจำทางไทย ประมาณ 100 คนได้เข้าพบ นายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.คมนาคม เพื่อยื่นข้อเรียกร้องให้มีการปรับราคาค่าโดยสารเร่งด่วน เนื่องจากประสบปัญหาภาระราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยหากยังไม่ได้รับอนุมัติปรับค่าโดยสาร ในวันที่ 22 พ.ค.นี้ ผู้ประกอบการรถร่วม ขสมก.ที่มีประมาณ 10,000 คัน ทั้งรถขนาดใหญ่ สีขาว-น้ำเงิน ครีม-แดง และมินิบัส จำเป็นต้องหยุดเดินรถ เนื่องจากไม่สามารถทนภาระราคาน้ำมันได้
นายฉัตรชัย ชัยวิเศษ นายกสมาคมพัฒนารถร่วมเอกชน กล่าวว่า ผู้ประกอบการรถร่วมขสมก.ขอให้กระทรวงคมนาคม และคณะกรรมการควบคุมขนส่งทางบกกลาง อนุมัติให้ปรับขึ้นค่าโดยสารเป็นการเร่งด่วน ในส่วนของรถโดยสารธรรมดา 2.50 บาทโดยจาก 8.50 บาท เป็น 11 บาท รถโดยสารปรับอากาศ ระยะละ 2 บาท เพราะที่ผ่านมาผู้ประกอบการได้เคยยื่นขอปรับค่าโดยสารตั้งแต่เดือนก.พ.ที่ผ่านมา และการปรับราคาครั้งล่าสุดในเดือนต.ค.50 ซึ่งราคาน้ำมันดีเซล 27 บาท ต่อลิตร นั้นได้อนุมัติให้เพียง 50 ส.ต.เท่านั้น ขณะที่ปัจจุบันดีเซล เพิ่มขึ้นเกือบถึงระดับ 36-37 บาทต่อลิตรแล้ว
นายบรรยงค์ อัมพรตระกูล ประธานชมรมรถร่วม ขสมก. กล่าวว่าจะรอผลที่ประชุมคณะกรรมการฯ ที่จะมีการประชุมในวันที่ 20 พ.ค.นี้ หากไม่อนุมัติให้ปรับขึ้นค่าโดยสาร ผู้ประกอบการทั้งหมดคงต้องหยุดให้บริการ เพราะปัจจุบันก็มีบางส่วนที่หยุดให้บริการไปแล้ว 40% ของรถจำนวนทั้งหมดที่มี 3,700 คัน
นายวิโรจน์ วงศ์ธีเรศ เลขาธิการสมาคมกิจการรถโดยสารประจำทางไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการรถร่วมฯ บขส. ต้องการให้รัฐบาลอนุมัติปรับค่าโดยสารอย่างน้อย 6 สต.ต่อกม.และให้มีผลตั้งแต่วันที่ 20 พ.ค.นี้เช่นกัน เนื่องจากปัจจุบันสมาชิกสมาคมฯที่มีกว่า 25,000 คัน ทั่วประเทศไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนน้ำมันได้ และที่ผ่านมามีบางส่วนทยอยหยุดเดินรถกว่า 20% แล้ว
นายชัยรัตน์ สงวนซื่อ รักษาการอธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า คณะกรรมการฯขนส่งทางบกกลาง จะประชุมในวันที่ 20 พ.ค.นี้ และเมื่อมีมติ จะประกาศภายใน 5 วัน หรือและมีผลใน วันที่ 25 พ.ค. เป็นการเร่งด่วนจากปกติที่จะประกาศขึ้นภายใน 10 วัน หลังมีมติ
ขน.ยื้อขึ้นค่าเรือเหตุข้อมูลไม่ตรงกัน
นายประสงค์ ตันมณีวัฒนา อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำ และพานิชยนาวี (ขน.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับเรือเดินประจำทาง ว่า คณะกรรมการฯ ยังไม่ได้อนุมัติให้เรือปรับขึ้นค่าโดยสารในขณะนี้ แต่เห็นชอบว่า ต้องให้ปรับขึ้นแน่ เนื่องจากข้อมูลเรื่องต้นทุนการเดินเรือ ระหว่างภาคเอกชนและขน.ไม่ตรงกัน ดังนั้น จึงขอเลื่อนการพิจารณาออกไปเป็นปลายเดือนพ.ค. หรือต้นเดือนมิ.ย. เพื่อทั้งสองฝ่ายหารือและทำความเข้าใจให้ตรงกัน โดยภายในปลายเดือนนี้จะมีการประชุมกันอีกครั้ง และคาดว่าจะประกาศอัตราที่จะให้เรือโดยสารปรับขึ้นราคาได้ในกลางเดือนมิ.ย. ซึ่งผู้ประกอบการเรือด่วนเจ้าพระยา ขอปรับขึ้นในอัตราระยะละ 2 บาท เรือโดยสารธรรมดาและเรือคลองแสนแสบ ขึ้น 1 บาท และเรือข้ามฟากขึ้น 50 สตางค์ ต่อเที่ยว
นาวาโทปริญญา รักวาทิน กรรมการผู้จัดการบริษัทเรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด ในฐานะอุปนายกสมาคมเรือโดยสาร กล่าวว่า ตัวเลขต้นทุนของ ขน. และผู้ประกอบการ ยังคลาดเคลื่อนเล็กน้อย อย่างไรก็ตามขณะนี้มีผู้ประกอบการบางรายที่จะยกเลิกการให้บริการเรือ เพราะประสบปัญหาขาดทุน มีผู้โดยสารมีจำนวนน้อย เช่น เส้นทาง ดาวคะนอง-สาทร , เพชรเกษม-สาทร
นายบุญชัย รุ่งเรืองไพศาลสุข ประธานเครือข่ายคัดค้านการขึ้นค่าโดยสารรถยนต์โดยสารสาธารณะ กล่าวว่า จะเข้าพบนายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีที่รถร่วมฯ ขสมก.มีการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็นเอ็นจีวีแล้ว 2,100 คัน ของรถที่วิ่งในระบบจริง ประมาณ 3,000 คันหรือ คิดเป็นสัดส่วนรถเอ็นจีวีร้อยละ 60 โดยได้ตรวจสอบข้อมูลของบริษัทปตท.จำกัด (มหาชน)
ดังนั้นการที่ผู้ประกอบการ ใช้ฐานของน้ำมันดีเซล มาคำนวณเพื่อขอขึ้นค่าโดยสาร จึงไม่ถูกต้องเป็นการเอาเปรียบประชาชน ส่วนรถร่วมบริการ บขส. จากการตรวจสอบมีการเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็นเอ็นจีวีแล้วกว่า 600 คัน ซึ่งยังถือว่าน้อยอยู่
ดังนั้น หากคณะกรรมการขนส่งทางบกกลางและกระทรวงคมนาคมอนุมัติให้ผู้ประกอบการปรับขึ้นค่าโดยสารได้ กลุ่มเครือข่ายฯ จะเข้าฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ระงับการปรับขึ้นค่าโดยสารที่ไม่ถูกต้อง นอกจากนี้จะดำเนินการมาตรการทางสังคม เพื่อลงโทษผู้เกี่ยวข้อง โดยล่ารายชื่อประชาชน 20,000 คน เพื่อถอดถอน รมว.คมนาคม ออกจากตำแหน่ง
ปตท.สุดอั้นขึ้น 50 สต.วันนี้
นายชัยวัฒน์ ชูฤทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปตท.มีค่าการตลาดติดลบกว่า 2.40 บาท/ลิตร (ค่าการตลาด ที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 1.50 บาท/ลิตร) หรือทุกลิตรที่ขายเท่ากับขาดทุนเกือบ 4 บาท/ลิตร หรือต้องรับภาระอยู่ประมาณวันละ 95 ล้านบาท รวมนับตั้งแต่ต้นปี 51 ถึงปัจจุบัน ปตท. รับภาระแทนประชาชนไปแล้ว 3,600 ล้านบาท ปตท. จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ต้องปรับราคาขายปลีกน้ำมันทุกชนิดขึ้น 50 สตางค์/ลิตร มีผลตั้งแต่วันนี้ (17 พ.ค.51 )
ทั้งนี้ส่งผลให้ราคาเบนซิน 95 ปตท.ขยับไปอยู่ที่ 38.59 บาทต่อลิตร เบนซิน 91 เป็น 37.49 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 95 เป็น 34.59 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 91 เป็น 33.29 บาทต่อลิตร และดีเซล 34. 94 บาทต่อลิตรหลังจากที่ปตท.ได้อั้นราคาดีเซลมา 2 ครั้งก่อนหน้านี้
บางจากขยับเฉพาะเบนซิน
ผู้สื่อข่าวแจ้งว่าบางจากได้แจ้งปรับขึ้นเฉพาะเบนซิน 50 สตางค์ต่อลิตรเนื่องจากก่อนหน้าได้ขึ้นดีเซลไปแล้ว 50 สตางค์ต่อลิตร ทำให้ราคาน้ำมันของปตท.เท่ากัน
เตือนดีเซลจ่อขึ้นอีก
นายมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการด้านน้ำมัน กล่าวว่า ราคาน้ำมันดีเซลยังมีแนวโน้มปรับราคาต่อไปอีก เพราะค่าการตลาดยังติดลบ แต่เบนซินราคาในประเทศน่าจะทรงตัวได้ระดับหนึ่ง เพราะค่าการตลาดเริ่มปรับตัวดีขึ้นประกอบกับราคาสิงคโปร์เริ่มปรับลด อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันตลาดโลกยังสวิงตัวสูงเมื่อปรับลดลงมาระยะหนึ่งก็จะปรับขึ้นอีก
นายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล ที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบันอย่ที่ระดับ 35.74 บาทต่อลิตร ในเบื้องต้นจึงเห็นด้วยที่จะให้ปรับขึ้นค่าโดยสารให้กับรถขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และรถร่วมบริการฯ ขสมก. อีก 1.50 บาท ซึ่งจะทำให้รถธรรมดาครีม-แดง จาก 7 บาทเป็น 8.50 บาท รถธรรมดาครีม-น้ำเงินจาก 8.50 บาท เป็น 10 บาท ส่วนรถโดยสารปรับอากาศ เห็นควรให้เพิ่มขึ้นช่วงละ 1 บาท จากเดิม14-26 บาท เป็น 15-27 บาท โดยคณะกรรมการควบคุมขนส่งทางบกกลาง ที่มีนายปิยะพันธ์ จัมปาสุต รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานจะมีการประชุมเพื่อพิจารณาอนุมัติในวันที่ 20 พ.ค.นี้
นายทรงศักดิ์ กล่าวว่า ในส่วนของการแก้ปัญหาของขสมก.ทั้งเรื่องการขาดทุนสะสม และลดต้นทุนในการเดินรถ ได้สั่งการให้ขสมก.เร่งจัดทำแผนการเปลี่ยนรถโดยสาร จากรถโดยสารธรรมดามาเป็น รถปรับอากาศใหม่ทั้งหมด และใช้ก๊าซเอ็นจีวี เป็นเชื้อเพลิง โดยนโยบายที่มอบหมายไปนั้น ต้องการให้ ขสมก.ดำเนินการเช่าแบบเหมาจ่ายรถที่ใช้เอ็นจีวีจากเอกชน จำนวน 6,500 คัน และเพิ่มการให้บริการให้มากกว่า 300 เส้นทาง จากปัจจุบันที่มีรถโดยสาร 3,500 คัน บริการใน 115 เส้นทาง
"เชื่อว่าเมื่อมีการจัดหารถมาเพิ่มจะทำให้บริการของ ขสมก. ครอบคลุมในกรุงเทพฯและปริมณฑลและกระตุ้นให้ผู้โดยสารที่มาใช้บริการรถ ขสมก.มากขึ้นจากปัจจบันที่มีผู้โดยสาร 600,000 คน ขณะที่มีผู้โดยสารที่ใช้ระบบขนส่งทุกประเภทรวมกัน กว่า 2 ล้านคน นอกจากนี้ ขสมก.จะนำระบบตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ (E-Ticket) มาใช้ เบื้องต้นกำหนดราคา 30 บาทต่อคนต่อวัน ซึ่งผู้โดยสารจะได้รับความสะดวกมากขึ้น โดยในเบื้องต้นคาดว่าจะมีการจำหน่ายในราคา 30 บาท/คน/วัน "นายทรงศักดิ์ กล่าว
รถร่วมฯ ขสมก.ขอขึ้น 2.50 บ. - บขส. 6 สต.
วานนี้ (16 พ.ค.) ผู้ประกอบการรถร่วมบริการ ขสมก. จากสมาคมพัฒนารถร่วมเอกชน และผู้ประกอบการรถร่วมบขส. จากสมาคมกิจการรถโดยสารประจำทางไทย ประมาณ 100 คนได้เข้าพบ นายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.คมนาคม เพื่อยื่นข้อเรียกร้องให้มีการปรับราคาค่าโดยสารเร่งด่วน เนื่องจากประสบปัญหาภาระราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยหากยังไม่ได้รับอนุมัติปรับค่าโดยสาร ในวันที่ 22 พ.ค.นี้ ผู้ประกอบการรถร่วม ขสมก.ที่มีประมาณ 10,000 คัน ทั้งรถขนาดใหญ่ สีขาว-น้ำเงิน ครีม-แดง และมินิบัส จำเป็นต้องหยุดเดินรถ เนื่องจากไม่สามารถทนภาระราคาน้ำมันได้
นายฉัตรชัย ชัยวิเศษ นายกสมาคมพัฒนารถร่วมเอกชน กล่าวว่า ผู้ประกอบการรถร่วมขสมก.ขอให้กระทรวงคมนาคม และคณะกรรมการควบคุมขนส่งทางบกกลาง อนุมัติให้ปรับขึ้นค่าโดยสารเป็นการเร่งด่วน ในส่วนของรถโดยสารธรรมดา 2.50 บาทโดยจาก 8.50 บาท เป็น 11 บาท รถโดยสารปรับอากาศ ระยะละ 2 บาท เพราะที่ผ่านมาผู้ประกอบการได้เคยยื่นขอปรับค่าโดยสารตั้งแต่เดือนก.พ.ที่ผ่านมา และการปรับราคาครั้งล่าสุดในเดือนต.ค.50 ซึ่งราคาน้ำมันดีเซล 27 บาท ต่อลิตร นั้นได้อนุมัติให้เพียง 50 ส.ต.เท่านั้น ขณะที่ปัจจุบันดีเซล เพิ่มขึ้นเกือบถึงระดับ 36-37 บาทต่อลิตรแล้ว
นายบรรยงค์ อัมพรตระกูล ประธานชมรมรถร่วม ขสมก. กล่าวว่าจะรอผลที่ประชุมคณะกรรมการฯ ที่จะมีการประชุมในวันที่ 20 พ.ค.นี้ หากไม่อนุมัติให้ปรับขึ้นค่าโดยสาร ผู้ประกอบการทั้งหมดคงต้องหยุดให้บริการ เพราะปัจจุบันก็มีบางส่วนที่หยุดให้บริการไปแล้ว 40% ของรถจำนวนทั้งหมดที่มี 3,700 คัน
นายวิโรจน์ วงศ์ธีเรศ เลขาธิการสมาคมกิจการรถโดยสารประจำทางไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการรถร่วมฯ บขส. ต้องการให้รัฐบาลอนุมัติปรับค่าโดยสารอย่างน้อย 6 สต.ต่อกม.และให้มีผลตั้งแต่วันที่ 20 พ.ค.นี้เช่นกัน เนื่องจากปัจจุบันสมาชิกสมาคมฯที่มีกว่า 25,000 คัน ทั่วประเทศไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนน้ำมันได้ และที่ผ่านมามีบางส่วนทยอยหยุดเดินรถกว่า 20% แล้ว
นายชัยรัตน์ สงวนซื่อ รักษาการอธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า คณะกรรมการฯขนส่งทางบกกลาง จะประชุมในวันที่ 20 พ.ค.นี้ และเมื่อมีมติ จะประกาศภายใน 5 วัน หรือและมีผลใน วันที่ 25 พ.ค. เป็นการเร่งด่วนจากปกติที่จะประกาศขึ้นภายใน 10 วัน หลังมีมติ
ขน.ยื้อขึ้นค่าเรือเหตุข้อมูลไม่ตรงกัน
นายประสงค์ ตันมณีวัฒนา อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำ และพานิชยนาวี (ขน.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับเรือเดินประจำทาง ว่า คณะกรรมการฯ ยังไม่ได้อนุมัติให้เรือปรับขึ้นค่าโดยสารในขณะนี้ แต่เห็นชอบว่า ต้องให้ปรับขึ้นแน่ เนื่องจากข้อมูลเรื่องต้นทุนการเดินเรือ ระหว่างภาคเอกชนและขน.ไม่ตรงกัน ดังนั้น จึงขอเลื่อนการพิจารณาออกไปเป็นปลายเดือนพ.ค. หรือต้นเดือนมิ.ย. เพื่อทั้งสองฝ่ายหารือและทำความเข้าใจให้ตรงกัน โดยภายในปลายเดือนนี้จะมีการประชุมกันอีกครั้ง และคาดว่าจะประกาศอัตราที่จะให้เรือโดยสารปรับขึ้นราคาได้ในกลางเดือนมิ.ย. ซึ่งผู้ประกอบการเรือด่วนเจ้าพระยา ขอปรับขึ้นในอัตราระยะละ 2 บาท เรือโดยสารธรรมดาและเรือคลองแสนแสบ ขึ้น 1 บาท และเรือข้ามฟากขึ้น 50 สตางค์ ต่อเที่ยว
นาวาโทปริญญา รักวาทิน กรรมการผู้จัดการบริษัทเรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด ในฐานะอุปนายกสมาคมเรือโดยสาร กล่าวว่า ตัวเลขต้นทุนของ ขน. และผู้ประกอบการ ยังคลาดเคลื่อนเล็กน้อย อย่างไรก็ตามขณะนี้มีผู้ประกอบการบางรายที่จะยกเลิกการให้บริการเรือ เพราะประสบปัญหาขาดทุน มีผู้โดยสารมีจำนวนน้อย เช่น เส้นทาง ดาวคะนอง-สาทร , เพชรเกษม-สาทร
นายบุญชัย รุ่งเรืองไพศาลสุข ประธานเครือข่ายคัดค้านการขึ้นค่าโดยสารรถยนต์โดยสารสาธารณะ กล่าวว่า จะเข้าพบนายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีที่รถร่วมฯ ขสมก.มีการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็นเอ็นจีวีแล้ว 2,100 คัน ของรถที่วิ่งในระบบจริง ประมาณ 3,000 คันหรือ คิดเป็นสัดส่วนรถเอ็นจีวีร้อยละ 60 โดยได้ตรวจสอบข้อมูลของบริษัทปตท.จำกัด (มหาชน)
ดังนั้นการที่ผู้ประกอบการ ใช้ฐานของน้ำมันดีเซล มาคำนวณเพื่อขอขึ้นค่าโดยสาร จึงไม่ถูกต้องเป็นการเอาเปรียบประชาชน ส่วนรถร่วมบริการ บขส. จากการตรวจสอบมีการเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็นเอ็นจีวีแล้วกว่า 600 คัน ซึ่งยังถือว่าน้อยอยู่
ดังนั้น หากคณะกรรมการขนส่งทางบกกลางและกระทรวงคมนาคมอนุมัติให้ผู้ประกอบการปรับขึ้นค่าโดยสารได้ กลุ่มเครือข่ายฯ จะเข้าฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ระงับการปรับขึ้นค่าโดยสารที่ไม่ถูกต้อง นอกจากนี้จะดำเนินการมาตรการทางสังคม เพื่อลงโทษผู้เกี่ยวข้อง โดยล่ารายชื่อประชาชน 20,000 คน เพื่อถอดถอน รมว.คมนาคม ออกจากตำแหน่ง
ปตท.สุดอั้นขึ้น 50 สต.วันนี้
นายชัยวัฒน์ ชูฤทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปตท.มีค่าการตลาดติดลบกว่า 2.40 บาท/ลิตร (ค่าการตลาด ที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 1.50 บาท/ลิตร) หรือทุกลิตรที่ขายเท่ากับขาดทุนเกือบ 4 บาท/ลิตร หรือต้องรับภาระอยู่ประมาณวันละ 95 ล้านบาท รวมนับตั้งแต่ต้นปี 51 ถึงปัจจุบัน ปตท. รับภาระแทนประชาชนไปแล้ว 3,600 ล้านบาท ปตท. จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ต้องปรับราคาขายปลีกน้ำมันทุกชนิดขึ้น 50 สตางค์/ลิตร มีผลตั้งแต่วันนี้ (17 พ.ค.51 )
ทั้งนี้ส่งผลให้ราคาเบนซิน 95 ปตท.ขยับไปอยู่ที่ 38.59 บาทต่อลิตร เบนซิน 91 เป็น 37.49 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 95 เป็น 34.59 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 91 เป็น 33.29 บาทต่อลิตร และดีเซล 34. 94 บาทต่อลิตรหลังจากที่ปตท.ได้อั้นราคาดีเซลมา 2 ครั้งก่อนหน้านี้
บางจากขยับเฉพาะเบนซิน
ผู้สื่อข่าวแจ้งว่าบางจากได้แจ้งปรับขึ้นเฉพาะเบนซิน 50 สตางค์ต่อลิตรเนื่องจากก่อนหน้าได้ขึ้นดีเซลไปแล้ว 50 สตางค์ต่อลิตร ทำให้ราคาน้ำมันของปตท.เท่ากัน
เตือนดีเซลจ่อขึ้นอีก
นายมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการด้านน้ำมัน กล่าวว่า ราคาน้ำมันดีเซลยังมีแนวโน้มปรับราคาต่อไปอีก เพราะค่าการตลาดยังติดลบ แต่เบนซินราคาในประเทศน่าจะทรงตัวได้ระดับหนึ่ง เพราะค่าการตลาดเริ่มปรับตัวดีขึ้นประกอบกับราคาสิงคโปร์เริ่มปรับลด อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันตลาดโลกยังสวิงตัวสูงเมื่อปรับลดลงมาระยะหนึ่งก็จะปรับขึ้นอีก