ผู้จัดการรายวัน - คมนาคมเปิดทางคณะกรรมการขนส่งทางบกกลางไฟเขียวขึ้นค่าโดยสาร หลังกระทรวงการคลังไม่ลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน เหลือแค่หนุนใช้ก๊าซNGV เพิ่ม “ปิยะพันธ์” ยอมรับอาจต้องยอมขึ้นค่าโดยสารแก้ปัญหา ขณะที่เรือโดยสารยื่นหนังสือ ”อนุรักษ์” ขอขึ้นค่าโดยสารเรือด่วนเจ้าพระยาอีกระยะละ 2 บาท เรือธรรมดาอีก 1 บาท อ้างข้อตกลงดีเซลทะลุ 31 บาทต่อลิตร พร้อมเสนอ 2 แนวทาง แก้ปัญหาระยะยาว รัฐออกมาตรการหนุนใช้เอ็นจีวีและชดเชยราคาน้ำมันให้ผู้ประกอบการ
นายสุรพงษ์ สืบวงษ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง กล่าวว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (29 เม.ย.) จะยังไม่มีการนำเสนอแนวทางการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลเพื่อช่วยเหลือภาคขนส่ง เกี่ยวกับมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล เนื่องจากในปัจจุบันราคาน้ำมันโลกยังมีความผันผวน การใช้มาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลอาจจะไม่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามเห็นว่า มาตรการที่รัฐบาลจำเป็นที่จะต้องสนับสนุน เช่นการช่วยเหลือพลังงานทดแทนอย่างเอ็นจีวีมากกว่า ดังนั้นจึงต้องรอดูสถานการณ์ราคาน้ำมันอีก 1-2 เดือนก่อน
พล.ท. (หญิง) พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รมว.พลังงาน กล่าวว่า กระทรวงการคลัง พร้อมที่จะรับคำเสนอแนะต่าง ๆไปทบทวนอีกครั้งเช่นเดียวกับกระทรวงพลังงาน ว่าจะสามารถลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลได้เท่าไร ซึ่งกระทรวงพลังงานคงรณรงค์ให้ประชาชนช่วยกันประหยัดการใช้พลังงานต่อไป เนื่องจากแนวโน้มราคาน้ำมันยังคงผันผวนในระดับสูง
อย่างไรก็ตามสิ่งที่กระทรวงการคลัง พร้อมที่จะช่วยเหลือขนาดนี้ ได้แก่ การจัดสรรงบประมาณจำนวน 9 พันล้าน เพื่อนำมาปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับผู้ที่ขับรถขนาดใหญ่ และผู้ขับรถแท็กซี่ เพื่อนำไปใช้ในการติดตั้งอุปกรณ์แก๊ส NGV ที่จะหมดอายุในปี 2551 เพื่อขยายไปถึงปี 2553โดยจะนำเงินมาจากกองทุนอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 4 ล้านบาท และจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จำนวน 5 ล้านบาท หรือที่ผ่านมามีการช่วยเหลือกลุ่มรถโดยสาร ก็จะมีการช่วยเหลือกลุ่มรถบรรทุก รวมทั้งการลดภาษีเอ็นจีวีให้กับสถานบริการน้ำมัน เป็นต้น
นายทรงศักดิ์ ทองศรี รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ในส่วนของการพิจารณาให้ผู้ประกอบการรถโดยสารปรับค่าโดยสารนั้นยังไม่ได้อนุมัติใดๆ โดยเรื่องการปรับค่าโดยสารคณะกรรมการควบคุมขนส่งทางบกกลาง จะพิจารณาซึ่งจะต้องมีการศึกษาข้อมูลและรายละเอียดอย่างรอบคอบก่อนว่าจะให้ปรับขึ้นเท่าไร และมีผลเมื่อใด เพื่อไม่ให้กระทบทั้งต่อผู้ประกอบการและผู้โดยสาร
ส่วนการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนส่งนั้น ที่ประชุมได้แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างกระทรวงคมนาคมกับกระทรวงพลังงาน เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการภาคการขนส่งในทางปฏิบัติให้ออกมาเป็นรูปธรรม ภายใน 1 สัปดาห์ ทั้งเรื่องการสนับสนุนให้ผู้ประกอบปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์มาใช้ก๊าซ NGV ที่ปัจจุบันมีผู้ประกอบการขนส่งทั่วประเทศใช้ก๊าซ NGV เพียง 7% เฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครมีใช้เพียง 2 %เท่านั้น รวมถึงการขยายสถานีบริการก๊าซNGVให้ครอบคลุมทั่วประเทศ จากปัจจุบันที่มีเพียง 170 แห่งเท่านั้น โดยเบื้องต้นภาครัฐมีงบประมาณในการสนับสนุนผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ทั้งสิ้น 9,000 ล้านบาท
กก.ขนส่งทางบกกลางส่งซิกยอม
นายปิยะพันธ์ จัมปาสุต รองปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมขนส่งทางบกกลาง กล่าวว่า จะนำปัญหาราคาน้ำมันดีเซลและการพิจารณาปรับค่าโดยสารสำหรับรถโดยสารร่วมบริการทั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) หารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อขอนโยบายในการดำเนินการหามาตรการระยะสั้นช่วยเหลือผู้ประกอบการ ซึ่งยอมรับว่า จากการที่กระทรวงการคลังส่งสัญญาณว่าจะยังไม่มีมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการขนส่งในขณะนี้ จึงเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงการอนุมัติให้ผู้ประกอบการรถโดยสารปรับขึ้นค่าโดยสาร เนื่องจากภาวะราคาน้ำมันดีเซลได้ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและสูงกว่าข้อตกลงในการอนุมัติให้ผู้ประกอบการปรับค่าโดยสารครั้งล่าสุดถึง 6 บาทต่อลิตรแล้ว
เรือโดยสารจี้อนุมัติปรับราคา
วานนี้ (28 เม.ย.) น.ท.ปริญญา รักวาทิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา ในฐานะอุปนายกสมาคมเรือโดยสาร กล่าวว่า ทางสมาคมฯได้ยื่นหนังสือถึงนายอนุรักษ์ จุรีมาศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมและนายประสงค์ ตันมณีวัฒนา อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ในฐานะประธานคณะกรรมการกำกับเรือโดยสาร เพื่อขอให้พิจาณาอนุมัติให้ผู้ประกอบการเรือโดยสาร ปรับค่าโดยสาร ตามข้อตกลงร่วมกันกรณีราคาน้ำมันดีเซล สูงกว่า 31 บาทต่อลิตร โดยขณะนี้ราคาน้ำมันดีเซลสูงถึง 32.94 บาทต่อลิตรแล้ว ทำให้ผู้ประกอบการต้องรับภาระหนักมากขึ้น
โดยผู้ประกอบการเรือโดยสารขอปรับค่าโดยสารในส่วนของเรือโดยสารในคลองแสนแสบขึ้นระยะละ 2 บาท เรือด่วนเจ้าพระยาอีก 2 บาท เรือธรรมดาเจ้าพระยาขึ้นระยะละ 1 บาท และเรือข้ามฟากปรับขึ้นอีก 50 สต. - 1 บาท
นอกจากนี้สมาคมฯ ได้ยื่นข้อเสนออีก 2 ข้อ เพื่อแก้ปัญหาในระยะยาว โดยขอให้ภาครัฐเข้ามาชดเชยราคาน้ำมันให้ผู้ประกอบการหากราคาน้ำมันดีเซลสูงกว่า 31 บาทต่อลิตร และขอให้ภาครัฐกำหนดแนวทางในการสนับสนุน ให้ผู้ประกอบการเรือโดยสาร เปลี่ยนเครื่องยนต์มาใช้ก๊าซเอ็นจีวีเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งหากมาตรการช่วยเหลือชัดเจนก็จะทำให้ไม่ต้องแก้ปัญหาเมื่อราคาน้ำมันดีเซลปรับเพิ่มขึ้นด้วยการปรับขึ้นค่าโดยสารตามทุกครั้ง
ด้าน นายอนุรักษ์ จุรีมาศ รมช.คมนาคม กล่าวว่า จะรายงานผลกระทบที่ผู้ประกอบการเรือโดยสารได้รับจากราคาน้ำมันดีเซลที่เพิ่มสูงขึ้น ต่อที่ประชุม ครม.วันนี้ (29 เม.ย.) รับทราบ และหากกระทรวงพลังงานและกระทรวงการคลัง มีข้อตกลงใดๆในการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนส่ง ก็จะขอให้ครอบคลุม ธุรกิจเรือโดยสารด้วย เพื่อลดผลกระทบประชาชน
ขณะที่นายประสงค์ ตันมณีวัฒนา อธิบดีกรมขนส่งทางน้ำฯ กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าโดยสารคงจะต้องมีการหารือกันก่อน แต่จากต้นทุนราคาน้ำมันดีเซลที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 31 บาทต่อลิตรในขณะนี้ คงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการปรับขึ้นค่าโดยสารได้
นายสุรพงษ์ สืบวงษ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง กล่าวว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (29 เม.ย.) จะยังไม่มีการนำเสนอแนวทางการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลเพื่อช่วยเหลือภาคขนส่ง เกี่ยวกับมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล เนื่องจากในปัจจุบันราคาน้ำมันโลกยังมีความผันผวน การใช้มาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลอาจจะไม่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามเห็นว่า มาตรการที่รัฐบาลจำเป็นที่จะต้องสนับสนุน เช่นการช่วยเหลือพลังงานทดแทนอย่างเอ็นจีวีมากกว่า ดังนั้นจึงต้องรอดูสถานการณ์ราคาน้ำมันอีก 1-2 เดือนก่อน
พล.ท. (หญิง) พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รมว.พลังงาน กล่าวว่า กระทรวงการคลัง พร้อมที่จะรับคำเสนอแนะต่าง ๆไปทบทวนอีกครั้งเช่นเดียวกับกระทรวงพลังงาน ว่าจะสามารถลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลได้เท่าไร ซึ่งกระทรวงพลังงานคงรณรงค์ให้ประชาชนช่วยกันประหยัดการใช้พลังงานต่อไป เนื่องจากแนวโน้มราคาน้ำมันยังคงผันผวนในระดับสูง
อย่างไรก็ตามสิ่งที่กระทรวงการคลัง พร้อมที่จะช่วยเหลือขนาดนี้ ได้แก่ การจัดสรรงบประมาณจำนวน 9 พันล้าน เพื่อนำมาปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับผู้ที่ขับรถขนาดใหญ่ และผู้ขับรถแท็กซี่ เพื่อนำไปใช้ในการติดตั้งอุปกรณ์แก๊ส NGV ที่จะหมดอายุในปี 2551 เพื่อขยายไปถึงปี 2553โดยจะนำเงินมาจากกองทุนอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 4 ล้านบาท และจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จำนวน 5 ล้านบาท หรือที่ผ่านมามีการช่วยเหลือกลุ่มรถโดยสาร ก็จะมีการช่วยเหลือกลุ่มรถบรรทุก รวมทั้งการลดภาษีเอ็นจีวีให้กับสถานบริการน้ำมัน เป็นต้น
นายทรงศักดิ์ ทองศรี รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ในส่วนของการพิจารณาให้ผู้ประกอบการรถโดยสารปรับค่าโดยสารนั้นยังไม่ได้อนุมัติใดๆ โดยเรื่องการปรับค่าโดยสารคณะกรรมการควบคุมขนส่งทางบกกลาง จะพิจารณาซึ่งจะต้องมีการศึกษาข้อมูลและรายละเอียดอย่างรอบคอบก่อนว่าจะให้ปรับขึ้นเท่าไร และมีผลเมื่อใด เพื่อไม่ให้กระทบทั้งต่อผู้ประกอบการและผู้โดยสาร
ส่วนการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนส่งนั้น ที่ประชุมได้แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างกระทรวงคมนาคมกับกระทรวงพลังงาน เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการภาคการขนส่งในทางปฏิบัติให้ออกมาเป็นรูปธรรม ภายใน 1 สัปดาห์ ทั้งเรื่องการสนับสนุนให้ผู้ประกอบปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์มาใช้ก๊าซ NGV ที่ปัจจุบันมีผู้ประกอบการขนส่งทั่วประเทศใช้ก๊าซ NGV เพียง 7% เฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครมีใช้เพียง 2 %เท่านั้น รวมถึงการขยายสถานีบริการก๊าซNGVให้ครอบคลุมทั่วประเทศ จากปัจจุบันที่มีเพียง 170 แห่งเท่านั้น โดยเบื้องต้นภาครัฐมีงบประมาณในการสนับสนุนผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ทั้งสิ้น 9,000 ล้านบาท
กก.ขนส่งทางบกกลางส่งซิกยอม
นายปิยะพันธ์ จัมปาสุต รองปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมขนส่งทางบกกลาง กล่าวว่า จะนำปัญหาราคาน้ำมันดีเซลและการพิจารณาปรับค่าโดยสารสำหรับรถโดยสารร่วมบริการทั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) หารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อขอนโยบายในการดำเนินการหามาตรการระยะสั้นช่วยเหลือผู้ประกอบการ ซึ่งยอมรับว่า จากการที่กระทรวงการคลังส่งสัญญาณว่าจะยังไม่มีมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการขนส่งในขณะนี้ จึงเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงการอนุมัติให้ผู้ประกอบการรถโดยสารปรับขึ้นค่าโดยสาร เนื่องจากภาวะราคาน้ำมันดีเซลได้ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและสูงกว่าข้อตกลงในการอนุมัติให้ผู้ประกอบการปรับค่าโดยสารครั้งล่าสุดถึง 6 บาทต่อลิตรแล้ว
เรือโดยสารจี้อนุมัติปรับราคา
วานนี้ (28 เม.ย.) น.ท.ปริญญา รักวาทิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา ในฐานะอุปนายกสมาคมเรือโดยสาร กล่าวว่า ทางสมาคมฯได้ยื่นหนังสือถึงนายอนุรักษ์ จุรีมาศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมและนายประสงค์ ตันมณีวัฒนา อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ในฐานะประธานคณะกรรมการกำกับเรือโดยสาร เพื่อขอให้พิจาณาอนุมัติให้ผู้ประกอบการเรือโดยสาร ปรับค่าโดยสาร ตามข้อตกลงร่วมกันกรณีราคาน้ำมันดีเซล สูงกว่า 31 บาทต่อลิตร โดยขณะนี้ราคาน้ำมันดีเซลสูงถึง 32.94 บาทต่อลิตรแล้ว ทำให้ผู้ประกอบการต้องรับภาระหนักมากขึ้น
โดยผู้ประกอบการเรือโดยสารขอปรับค่าโดยสารในส่วนของเรือโดยสารในคลองแสนแสบขึ้นระยะละ 2 บาท เรือด่วนเจ้าพระยาอีก 2 บาท เรือธรรมดาเจ้าพระยาขึ้นระยะละ 1 บาท และเรือข้ามฟากปรับขึ้นอีก 50 สต. - 1 บาท
นอกจากนี้สมาคมฯ ได้ยื่นข้อเสนออีก 2 ข้อ เพื่อแก้ปัญหาในระยะยาว โดยขอให้ภาครัฐเข้ามาชดเชยราคาน้ำมันให้ผู้ประกอบการหากราคาน้ำมันดีเซลสูงกว่า 31 บาทต่อลิตร และขอให้ภาครัฐกำหนดแนวทางในการสนับสนุน ให้ผู้ประกอบการเรือโดยสาร เปลี่ยนเครื่องยนต์มาใช้ก๊าซเอ็นจีวีเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งหากมาตรการช่วยเหลือชัดเจนก็จะทำให้ไม่ต้องแก้ปัญหาเมื่อราคาน้ำมันดีเซลปรับเพิ่มขึ้นด้วยการปรับขึ้นค่าโดยสารตามทุกครั้ง
ด้าน นายอนุรักษ์ จุรีมาศ รมช.คมนาคม กล่าวว่า จะรายงานผลกระทบที่ผู้ประกอบการเรือโดยสารได้รับจากราคาน้ำมันดีเซลที่เพิ่มสูงขึ้น ต่อที่ประชุม ครม.วันนี้ (29 เม.ย.) รับทราบ และหากกระทรวงพลังงานและกระทรวงการคลัง มีข้อตกลงใดๆในการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนส่ง ก็จะขอให้ครอบคลุม ธุรกิจเรือโดยสารด้วย เพื่อลดผลกระทบประชาชน
ขณะที่นายประสงค์ ตันมณีวัฒนา อธิบดีกรมขนส่งทางน้ำฯ กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าโดยสารคงจะต้องมีการหารือกันก่อน แต่จากต้นทุนราคาน้ำมันดีเซลที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 31 บาทต่อลิตรในขณะนี้ คงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการปรับขึ้นค่าโดยสารได้