วันนี้(1 พ.ค.) นาวาโทปริญญา รักวาทิน กรรมการผู้จัดการบริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา ในฐานะอุปนายกสมาคมเรือโดยสาร กล่าวก่อนยื่นหนังสือต่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และนายประสงค์ ตันมณีวัฒนา อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชนาวี ในฐานะประธานคณะกรรมการกำกับเรือโดยสาร เพื่อขอให้พิจารณาอนุมัติปรับขึ้นค่าโดยสารทางเรือ โดยขอปรับค่าเรือโดยสารเรือคลองแสนแสบระยะละ 2 บาท เรือด่วนเจ้าพระยาระยะละ 2 บาท เรือธรรมดาเจ้าพระยาระยะละ 1 บาท และเรือข้ามฟากปรับขึ้น 50 สตางค์ถึง 1 บาท นอกจากนี้ยังเสนอให้รัฐออกมาตรการแก้ปัญหาเรื่องค่าเรือโดยสารระยะยาว และให้ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์มาใช้ก๊าซ เอ็นจีวี. ซึ่งเรื่องนี้ จะเป็นทางออกให้ผู้ประกอบการ ไม่ต้องขอปรับค่าโดยสารทุกครั้งที่ราคาน้ำมันเคลื่อนไหว
นายอนุรักษ์ จุรีมาศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังหารือร่วมกับสมาคมเรือไทย และผู้ประกอบการเรือโดยสารและเรือข้ามฟาก ยอมรับว่า ที่ประชุมมีข้อสรุปร่วมกันเกี่ยวกับอัตราค่าเรือโดยสาร ซึ่งผู้ประกอบการต้องการให้ปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับผลกระทบจากต้นทุนเดินเรือที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมันแพง ซึ่งเบื้องต้นพบว่าราคาน้ำมันกระทบต่อต้นทุนจริง และเห็นว่าจำเป็นต้องเพิ่มค่าเรือโดยสาร แต่ยังไม่สามารถระบุอัตราค่าเรือโดยสารได้ จึงมอบให้คณะกรรมการพิจารณาการเดินเรือ มีนายประสงค์ ตันมณีวัฒนา อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี (ขน.) เป็นประธานพิจารณากำหนดอัตราค่าเรือโดยสารที่เหมาะสม และประชุมพิจารณาอีกครั้งวันที่ 16 พ.ค.นี้ โดยคาดว่าอัตราค่าโดยสารใหม่ จะมีผลในวันที่ 1 มิ.ย.นี้
ส่วนหลักเกณฑ์วิเคราะห์อัตราค่าโดยสารนั้น ได้แก่ ต้นทุน อาทิเช่น ราคาเรือ ค่าเสื่อมราคาเรือ ค่าเชื้อเพลิง ค่าน้ำมันเครื่อง ค่าแรงงาน ค่าประกันผู้โดยสาร ค่าบริหาร 10% ของต้นทุนแปรผัน ปริมาณผู้โดยสาร และผลกำไรของผู้ประกอบการ ซึ่งพิจารณาจากต้นทุนและรายได้ทั้งหมด โดยกำหนดอัตราค่าโดยสารที่กำไร 15%
อย่างไรก็ตาม อัตราค่าเรือโดยสารใหม่นี้จะอยู่บนฐานราคาน้ำมันดีเซลที่ลิตรละ 31-37 บาท หากราคาดีเซลเพิ่มหรือลดลง จะต้องปรับค่าเรือโดยสารทันที ซึ่งดำเนินการในลักษณะเดียวกับช่วงฐานราคาน้ำมันดีเซลที่ลิตรละ 25-31 บาท แต่หลังจากผู้ประกอบการเปลี่ยนมาใช้เอ็นจีวีแล้ว จะต้องปรับลดค่าโดยสารลงด้วย
แหล่งข่าวจากกรมการขนส่งทางน้ำ กล่าวว่า เบื้องต้นคาดว่าอัตราค่าโดยสารที่จะปรับเพิ่มขึ้น สำหรับเรือด่วนเจ้าพระยา (ธงสีเหลืองและสีส้ม) และเรือคลองแสนแสบ ปรับขึ้นระยะละ 2 บาท เรือด่วนประจำทาง ระยะละ 1 บาท เรือข้ามฟาก 0.25-0.50 บาท
นายเชาวลิต เมธยะประภาส นายกสมาคมเรือไทย กล่าวว่า ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้นทุนเดินเรือสูงขึ้น 55% ของต้นทุนเดินเรือทั้งหมด ซึ่งปกติค่าใช้จ่ายน้ำมันไม่ควรเกิน 30% ดังนั้น ระยะแรกนี้จึงขอปรับค่าโดยสารก่อน ส่วนในระยะยาวขอให้กระทรวงคมนาคมเร่งแก้ปัญหาการตั้งสถานีบริการก๊าซเอ็นจีวีใกล้กับบริเวณริมน้ำ หรือท่าเรือ
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการเรือโดยสารรวม 20 ราย มีปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลของกลุ่มเรือโดยสารและเรือข้ามฟาก 1,222,138 ลิตรต่อเดือน แบ่งเป็นบริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด (เรือโดยสารนนทบุรี-ราษฎรบูรณะ) เดือนละ 2.58 แสนลิตร บริษัท เรือครอบครัวขนส่ง จำกัด (เรือคลองแสนแสบ) ใช้น้ำมันเดือนละ 4.5 แสนลิตร ท่าเรือข้ามฟากกลุ่มบริษัท สุภัทรา จำกัด จำนวน 6 ท่า 3.79 แสนลิตร ที่เหลือกว่า 1 แสนลิตร เป็นบริษัทเรือรายย่อย
นายอนุรักษ์ จุรีมาศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังหารือร่วมกับสมาคมเรือไทย และผู้ประกอบการเรือโดยสารและเรือข้ามฟาก ยอมรับว่า ที่ประชุมมีข้อสรุปร่วมกันเกี่ยวกับอัตราค่าเรือโดยสาร ซึ่งผู้ประกอบการต้องการให้ปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับผลกระทบจากต้นทุนเดินเรือที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมันแพง ซึ่งเบื้องต้นพบว่าราคาน้ำมันกระทบต่อต้นทุนจริง และเห็นว่าจำเป็นต้องเพิ่มค่าเรือโดยสาร แต่ยังไม่สามารถระบุอัตราค่าเรือโดยสารได้ จึงมอบให้คณะกรรมการพิจารณาการเดินเรือ มีนายประสงค์ ตันมณีวัฒนา อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี (ขน.) เป็นประธานพิจารณากำหนดอัตราค่าเรือโดยสารที่เหมาะสม และประชุมพิจารณาอีกครั้งวันที่ 16 พ.ค.นี้ โดยคาดว่าอัตราค่าโดยสารใหม่ จะมีผลในวันที่ 1 มิ.ย.นี้
ส่วนหลักเกณฑ์วิเคราะห์อัตราค่าโดยสารนั้น ได้แก่ ต้นทุน อาทิเช่น ราคาเรือ ค่าเสื่อมราคาเรือ ค่าเชื้อเพลิง ค่าน้ำมันเครื่อง ค่าแรงงาน ค่าประกันผู้โดยสาร ค่าบริหาร 10% ของต้นทุนแปรผัน ปริมาณผู้โดยสาร และผลกำไรของผู้ประกอบการ ซึ่งพิจารณาจากต้นทุนและรายได้ทั้งหมด โดยกำหนดอัตราค่าโดยสารที่กำไร 15%
อย่างไรก็ตาม อัตราค่าเรือโดยสารใหม่นี้จะอยู่บนฐานราคาน้ำมันดีเซลที่ลิตรละ 31-37 บาท หากราคาดีเซลเพิ่มหรือลดลง จะต้องปรับค่าเรือโดยสารทันที ซึ่งดำเนินการในลักษณะเดียวกับช่วงฐานราคาน้ำมันดีเซลที่ลิตรละ 25-31 บาท แต่หลังจากผู้ประกอบการเปลี่ยนมาใช้เอ็นจีวีแล้ว จะต้องปรับลดค่าโดยสารลงด้วย
แหล่งข่าวจากกรมการขนส่งทางน้ำ กล่าวว่า เบื้องต้นคาดว่าอัตราค่าโดยสารที่จะปรับเพิ่มขึ้น สำหรับเรือด่วนเจ้าพระยา (ธงสีเหลืองและสีส้ม) และเรือคลองแสนแสบ ปรับขึ้นระยะละ 2 บาท เรือด่วนประจำทาง ระยะละ 1 บาท เรือข้ามฟาก 0.25-0.50 บาท
นายเชาวลิต เมธยะประภาส นายกสมาคมเรือไทย กล่าวว่า ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้นทุนเดินเรือสูงขึ้น 55% ของต้นทุนเดินเรือทั้งหมด ซึ่งปกติค่าใช้จ่ายน้ำมันไม่ควรเกิน 30% ดังนั้น ระยะแรกนี้จึงขอปรับค่าโดยสารก่อน ส่วนในระยะยาวขอให้กระทรวงคมนาคมเร่งแก้ปัญหาการตั้งสถานีบริการก๊าซเอ็นจีวีใกล้กับบริเวณริมน้ำ หรือท่าเรือ
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการเรือโดยสารรวม 20 ราย มีปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลของกลุ่มเรือโดยสารและเรือข้ามฟาก 1,222,138 ลิตรต่อเดือน แบ่งเป็นบริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด (เรือโดยสารนนทบุรี-ราษฎรบูรณะ) เดือนละ 2.58 แสนลิตร บริษัท เรือครอบครัวขนส่ง จำกัด (เรือคลองแสนแสบ) ใช้น้ำมันเดือนละ 4.5 แสนลิตร ท่าเรือข้ามฟากกลุ่มบริษัท สุภัทรา จำกัด จำนวน 6 ท่า 3.79 แสนลิตร ที่เหลือกว่า 1 แสนลิตร เป็นบริษัทเรือรายย่อย