ช่วงเช้าที่ผ่านมา ศาลปกครองได้นัดไต่สวนคดีที่เครือข่ายคัดค้านขึ้นค่าโดยสารรถสาธารณะ ยื่นฟ้องร้องนายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และนายประสงค์ ตันมณีวัฒนา อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี (ขน.) ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาเกี่ยวกับเรือเดินประจำทาง เนื่องจากทั้ง 2 คน ได้ดำเนินการในฐานะผู้บริหาร อนุมัติมติปรับขึ้นราคาค่าโดยสารเรือประจำทางทั้งในแม่น้ำเจ้าพระยาและในคลองแสนแสบ โดยให้ขึ้นค่าโดยสารเรือด่วนเจ้าพระยา (ธงสีเหลืองและสีส้ม) อีกระยะละ 2 บาท เรือคลองแสนแสบระยะละ 2 บาท ส่วนเรือด่วนประจำทางขึ้นระยะละ 1 บาท และเรือข้ามฟากขึ้น 50 สตางค์ และมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา และขอให้ศาลคุ้มครองให้ผู้ประกอบการเรือโดยสารกลับไปจัดเก็บในราคาเดิม จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย
โดยนายบุญชัย รุ่งเรืองไพศาลสุข ประธานเครือข่ายคัดค้านขึ้นค่าโดยสารรถสาธารณะ กล่าวว่า ในการฟ้องร้องเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมา กลุ่มเครือข่ายต้องการให้มีผลชะลอการขึ้นค่าโดยสารเรือสาธารณะเหล่านี้ เนื่องจากที่ผ่านมา กลุ่มเครือข่ายได้มีข้อมูลชัดเจนว่าการดำเนินการธุรกิจเรือโดยสารและเรือข้ามฝาก ผู้ประกอบการแต่ละรายมีการดำเนินการในลักษณะผูกขาด ไม่มีการแข่งขัน และมีผลประกอบการที่มีกำไรมากมายมหาศาล และแม้ว่าราคาน้ำมันจะปรับตัวสูงขึ้น แต่ผู้ประกอบการก็มีกำไรเหลืออยู่ จึงไม่ควรคิดที่จะผลักภาระมาให้กับประชาชนเพียงอย่างเดียว
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการเหล่านี้ยังไม่มีความจริงใจที่จะเปลี่ยนไปใช้พลังงานทดแทน เช่น การใช้พลังงานก๊าซเอ็นจีวี ที่สามารถลดต้นทุนเชื้องเพลิงได้เหลือเพียง 1 ใน 3 โดยอ้างว่าไม่สามารถติดตั้งสถานีเติมเอ็นจีวีในเส้นทางเดินเรือได้ ทั้งๆ ที่บริษัทที่จำหน่ายก๊าซเอ็นจีวี เช่น บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ก็พร้อมให้การสนับสนุน แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการตั้งใจที่จะใช้ผลของการที่ราคาน้ำมันดีเซลขึ้นราคา มาอ้างในการปรับราคากับประชาชนมากกว่า
โดยนายบุญชัย รุ่งเรืองไพศาลสุข ประธานเครือข่ายคัดค้านขึ้นค่าโดยสารรถสาธารณะ กล่าวว่า ในการฟ้องร้องเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมา กลุ่มเครือข่ายต้องการให้มีผลชะลอการขึ้นค่าโดยสารเรือสาธารณะเหล่านี้ เนื่องจากที่ผ่านมา กลุ่มเครือข่ายได้มีข้อมูลชัดเจนว่าการดำเนินการธุรกิจเรือโดยสารและเรือข้ามฝาก ผู้ประกอบการแต่ละรายมีการดำเนินการในลักษณะผูกขาด ไม่มีการแข่งขัน และมีผลประกอบการที่มีกำไรมากมายมหาศาล และแม้ว่าราคาน้ำมันจะปรับตัวสูงขึ้น แต่ผู้ประกอบการก็มีกำไรเหลืออยู่ จึงไม่ควรคิดที่จะผลักภาระมาให้กับประชาชนเพียงอย่างเดียว
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการเหล่านี้ยังไม่มีความจริงใจที่จะเปลี่ยนไปใช้พลังงานทดแทน เช่น การใช้พลังงานก๊าซเอ็นจีวี ที่สามารถลดต้นทุนเชื้องเพลิงได้เหลือเพียง 1 ใน 3 โดยอ้างว่าไม่สามารถติดตั้งสถานีเติมเอ็นจีวีในเส้นทางเดินเรือได้ ทั้งๆ ที่บริษัทที่จำหน่ายก๊าซเอ็นจีวี เช่น บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ก็พร้อมให้การสนับสนุน แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการตั้งใจที่จะใช้ผลของการที่ราคาน้ำมันดีเซลขึ้นราคา มาอ้างในการปรับราคากับประชาชนมากกว่า