xs
xsm
sm
md
lg

ส.ว.โร่ถอนชื่อเลิกหนุนแก้รธน.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

รายงานข่าวจากสภาผู้แทนราษฎร ถึง ญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญปี 2550

ที่ ส.ส.และ ส.ว.ยื่นมานั้น ขณะนี้พบว่ามี ส.ส.และส.ว.ขอถอนรายชื่อ ที่ได้ลงสนับสนุน

ญัตติดังกล่าวไปแล้ว 20 ราย แบ่งเป็นส.ว. 19 คน และส.ส. 1 คนได้แก่ 1.นายต่วนอับดุล

เล๊าะ ดาโอ๊ะมารียอ ส.ว.ยะลา 2. พ.ต.ท.จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ ส.ว.มุกดาหาร 3.

นายรักพงษ์ ณ อุบล ส.ว.หนองบัวลำภู 4.นายถนอม ส่งเสริม ส.ว.อุบล ราชธานี
5.นายบุญส่ง โควาริสารัช ส.ว.แม่ฮ่องสอน 6.นายจตุรงค์ ธีระกนก ส.ว.ร้อยเอ็ด

7.นายชูชัย เลิศพงษ์อดิศร ส.ว.เชียงใหม่ 8.นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ส.ว.ชลบุรี 9.นาย

สิทธิศักดิ์ ยนต์ตระกูล ส.ว.กาฬสินธุ์
10.พล.ต.ต.ขจร สัยวัฒน์ ส.ว.หนอง คาย 11.พ.ต.อ.พายัพ ทองชื่น ส.ว.

สระแก้ว 12.นายสุริยา ปันจอร์ ส.ว.สตูล 13.นายวรวิทย์ บารู ส.ว.สงขลา 14.นายแวดือรา

แม มะมิงจิ ส.ว.ปัตตานี
15.นายมูหามะรอสดี บอตอ ส.ว.นราธิวาส 16.นายรุสดี บินหะยีสะมะแอ ส.ว.

สรรหา 17.นายโสภณ ศรีมาเหล็ก ส.ว.น่าน 18.นายวิทยา อินาลา ส.ว.นครพนม 19.นาย

ภิญโญ สายนุ้ย ส.ว.สงขลา
ส่วนนางสุมล เมฆเสรีกุล ส.ว.เพชรบุรี ที่มีชื่อว่าเป็นหนึ่งในผู้ร่วมลงชื่อ

ตั้งแต่ครั้งแรก ยืนยันว่าไม่ได้ร่วมลงชื่อ ทำให้มี ส.ว.ร่วมลงชื่อในวันแรกที่ยื่นเสนอญัตติ

ทั้งหมด 28 คน เวลานี้ถอนรายชื่อไปแล้ว 19 คน ทำให้เหลือ ส.ว.ที่ยังมีชื่อสนับสนุน

ญัตติอยู่เพียง 9 คน
ส่วน ส.ส.ที่ถอนชื่อ มีเพียงนายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส. สัดส่วน พรรคพลัง

ประชาชน แต่อย่างไรก็ตาม คาดว่าภายในอาทิตย์นี้ จะมีส.ว.ขอถอนรายชื่อที่สนับสนุน

ออกทั้งหมด และเหลือผู้ที่เสนอญัตติเพียงส.ส.ของพรรคพลังประชาชนเท่านั้น ซึ่งน่าจะ

เหลือประมาณสมาชิกรัฐสภาที่ร่วมลงชื่อเพียง1 ใน 5 ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้เท่านั้น

เพราะพบว่ามี ส.ส.เซ็นชื่อซ้ำประมาณ 4-5 คน

ด้านนายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส. สัดส่วน พรรคพลังประชาชน เปิดเผยว่า ตนได้

ขอถอนชื่ออกจากญัตติดังกล่าวจริง เพราะได้มีโอกาสไปพูดคุยกับผู้ใหญ่ของพรรคมา 4-5

คนก่อนจะไปถอนชื่อออก ซึ่งการถอนชื่อออกครั้งนี้มีเหตุผล 3 ประการคือ 1. พรรคร่วม

รัฐบาลไม่ให้การสนับสนุน 2. ยังไม่มีการตกผลึกทางด้านความคิดว่าจะแก้อย่างไร 3.

ควรทำประชามติก่อน
อย่างไรก็ตาม การถอนชื่อครั้งนี้ ไม่เกี่ยวกับเรื่องที่ว่า พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ

อดีตนายกรัฐมนตรี ขอร้องมา
**พ.ร.ก.ประชามติอาจมีปัญหา
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. กล่าวถึงกรณีที่ นายสมัคร สุนทรเวช

นายกรัฐมนตรี จะออกพ.ร.ก.ประชามติ โดยไม่รอกฎหมายลูกจากการยกร่างของกกต. ว่า

ขณะนี้ถือว่ากฎหมายเกี่ยวกับการทำประชามติยังไม่มี และรัฐธรรมนูญ มาตรา 165

กำหนดให้การออกเสียงประชามติต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ. การออกเสียงประชามติ ซึ่งใน

มาตรา 302 วรรคท้าย ระบุให้ กกต.เป็นผู้จัดทำร่าง พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ หากใช้

บททั่วไปออกเป็น พ.ร.ก. อาจจะมีปัญหา ในเรื่องความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขณะนี้ กกต.

ได้มอบหมายให้ที่ปรึกษาพรรคการเมืองดูแลในเรื่องของการจัดทำร่างฯ พ.ร.บ.ประชามติ

ซึ่งตามกรอบเวลา จะครบกำหนด 1 ปี คือในเดือนส.ค. ขณะนี้ กกต.กำลังเร่งยกร่างฯ

ซึ่งจะต้องทำอย่างรอบคอบ เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน โดยเฉพาะเรื่องที่จะเป็นปัญหา

เรื่องที่ไม่ชอบโดยรัฐธรรมนูญ
"จะใช้กฎหมายเก่าของปี 2541 เป็นต้นแบบ เพื่อนำมาพิจารณาประกอบกับ

รัฐธรรมนูญปี 2550 เนื่องจากกฎหมายเปลี่ยนไป เพราะฉะนั้นการดำเนินการไม่น่าจะ

ยุ่งยากในส่วนของ กกต. ต่อจากนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐสภา" นายสุทธิพลกล่าว

เมื่อถามว่า หากกฤษฎีกา เห็นว่ารัฐบาลสามารถออก พ.ร.ก.ประชามติได้ กก

ต.พร้อมจะปฎิบัติหรือไม่ นายสุทธิพล กล่าวว่า กกต.ทำงานภายใต้กรอบของกฎหมาย

หากมีกฎหมายรองรับที่ชัดเจน เพราะขณะนี้ตัวหลักเกณฑ์การออกเสียงประชามติเรายัง

ไม่มี ข้อกำหนดของ พ.ร.บ.ยังไม่มี ดังนั้นหากมีกฎหมายรองรับที่ชัดเจน กกต.ในฐานะ

องค์กรที่ปฎิบัติตามกฎหมายก็ยินดีที่จะปฎิบัติตาม
ทั้งนี้ ในกระบวนการที่จะนำไปสู่กฎหมายดังกล่าว อยากให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

พิจารณาให้รอบคอบ เพราะจะมีแนวทางในการปฎิบัติ ทั้งผู้จัดออกเสียงประชามติ

เนื้อหาที่จะมีการทำประชามติ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว จะทำให้ประชาชนเข้าใจยาก อยาก

ให้รัฐบาลกำหนดให้ชัดเจนว่า ประชาชนเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในประเด็นใด เพื่อไม่

ให้เกิดความยุ่งยากในการอธิบาย เพราะขณะนี้ไม่มี ส.ส.ร. คอยประชาสัมพันธ์ให้

ประชาชนทราบ จึงต้องเป็นหน้าที่ กกต. ในการทำความเข้าใจกับประชาชน
ด้านนายสมชัย จึงประเสริฐ กกต. ด้านกิจการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย

กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่จะพิจารณาว่ารัฐบาลจะสามารถ

ออก พ.ร.ก. มาบังคับใช้ได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม กกต. ในฐานะหน่วยปฏิบัติ เมื่อมี

กฎหมายออกมาบังคับ กกต. ก็ต้องปฏิบัติตาม อย่างไรก็ตาม ปัญหาบ้านเมืองขณะนี้เรา

ต้องช่วยกันแก้ไข ลองเทียบปัญหากับประเทศเพื่อนบ้านเราก็น่าจะดีใจที่เรามีปัญหาเบา

กว่า
ด้านนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว. สรรหา กล่าวว่า การออกเป็นพ.ร.ก.นั้น

ไม่สามารถทำได้ และการออก พ.ร.ก.ในรัฐธรรมนูญได้เขียนกติกาไว้ว่า ต้องมีเหตุอะไร

บ้างจึงจะออกได้ ซึ่งต้องเป็นไปตามมาตรา184 ที่ระบุว่าการตรา พ.ร.ก.จะทำได้เมื่อคณะ

รัฐมนตรีเห็นว่า เป็นกรณีฉุกเฉินที่เป็นกรณีเร่งด่วน ซึ่งหากออกเป็น พ.ร.ก.จริง ทางส.ว.

จะเอาเรื่องนี้เข้าพิจารณา เพราะการออกเป็น พ.ร.ก.ถือว่าขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจมีปัญหา

ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะต้องมีการยื่นตีความแน่นอน
กำลังโหลดความคิดเห็น