กรุงเทพฯ-เลขาธิการสหประชาชาติ บันคีมูน กล่าวเมื่อวานนี้ (23 ) ว่า ผู้นำสูงสุดของพม่าได้ตกลงจะรับเจ้าหน้าที่ต่างชาติเข้าไปปฏิบัติงานกู้ภัยช่วยเหลือประชาชนที่ประสบเคราะห์จากพายุแล้ว หลังจากปล่อยให้เรื่องนี้ยืดเยื้อมานาน ซึ่งอาจจะทำให้ผู้รอดชีวิตเสียชีวิตอีกจำนวนมาก
บันประกาศหลังจากที่ได้เข้าพบพลเอกอาวุโสตาน ฉ่วยเป็นเวลานานกว่า 2 ชม. โดยการตัดสินใจดังกล่าวนี้กินเวลาถึง 3 สัปดาห์หลังจากไซโคลนนาร์กิสพัดถล่มภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศวันที่ 2-3 พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งทางการกล่าวว่าทำให้มีผู้ที่เสียชีวิตหรือสูญหายจำนวนกว่า 133,000 รายในขณะนี้ และองค์การสหประชาชาติแถลงว่า ผู้รอดชีวิตอีกราว 2.4 ล้านคนกำลังต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
"พลเอกตาน ฉ่วยได้ตกลงยอมรับทีมช่วยเหลือต่างๆ" บันกล่าวกับผู้สื่อข่าว หลังจากที่ได้พบหารือกับผู้นำคณะปกครองทหารวัย 75 ปีที่เมืองเนปิดอว์
อย่างไรก็ตามโฆษกโครงการอาหารโลกแห่งสหประชาชาติหรือ WFP (World Food Programme) ยังแสดงความสงสัยว่า เรื่องดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้จริงๆ หรือไม่ เจ้าหน้าที่ประเภทใดบ้างที่ทางการพม่าจะยอมรับ ให้ทำอะไรได้บ้างหรือเข้าไปยังพื้นที่ใดได้บ้าง
เมื่อถูกถามว่าการเจรจาครั้งนี้ประสบผลสำเร็จหรือไม่ เลขาธิการยูเอ็นกล่าวว่า "คิดว่าเป็นเช่นนั้น พลเอกตานฉ่วยตกลงที่จะยอมรับทีมช่วยเหลือจากต่างประเทศ โดยไม่ได้คำนึงถึงเชื้อชาติ"
องค์กรบรรเทาภัยพิบัติจากนานาชาติได้ย้ำเตือนแก่รัฐบาลพม่าว่า จำนวนผู้เสียชีวิตอาจจะเพิ่มมากขึ้นหากยังคงไม่ได้รับความช่วยเหลือในด้านอาหาร น้ำดื่ม ที่พักรวมทั้งยารักษาโรคอย่างเร่งด่วน และเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญในการกู้ภัยช่วยเหลือมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการติดตามนำสิ่งของและติดตามขึ้นตอนการให้การช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย
ที่ผ่านมารัฐบาลยินดีรับความช่วยเหลือในรูปแบบสิ่งของเป็นจำนวนหลายพันตัน แต่ยังคงไม่อนุมัติวีซ่าแก่ทีมผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศนับร้อยคนให้เข้าประเทศ รวมทั้งโต้แย้งข่าวภายนอกที่ว่าประชาชนยังคงไม่ได้รับความช่วยเหลือที่เพียงพอ โดยกล่าวว่าเป็นเพียงข่าวลือที่สร้างขึ้นจากกลุ่ม "พวกทรยศต่อชาติ" เท่านั้น
ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการประกาศดังกล่าวจะรวมถึงการยอมรับความช่วยเหลือจากกองเรือรบของสหรัฐฯ อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งขณะนี้จอดรออยู่นอกเขตน่านน้ำพม่าหรือไม่
บันกล่าวเมื่อวันพฤหัส (22 ) ว่า ตนเดินทางมาไปพม่าพร้อมกับ "สารแห่งความหวัง" (message of hope) สำหรับผู้ประสบภัยที่กำลังประสบความลำบากจากเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นในประเทศนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อาศัยในบริเวณที่ราบปากแม่น้ำอิรวดี
บันได้เดินทางเข้าไปในพื้นที่ 2 แห่งซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณทางตอนใต้ของที่ราบปากแม่น้ำโดยเฮลิคอปเตอร์ หลังจากก่อนหน้านี้พื้นที่ดังกล่าวถูกรัฐบาลทหารสั่งห้ามคนภายนอกเข้าไปตลอด 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ก่อนหน้านี้ ฝรั่งเศสตั้งประเด็นว่า การปิดกั้นการช่วยเหลือและเจ้าหน้าที่กู้ภัยจากต่างประเทศของรัฐบาลทหารพม่านั้น เข้าข่ายเป็นความผิดฐานก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และกล่าวว่าจะผลักดันให้มีการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หากการเดินทางเยือนของเลขาธิการสหประชาชาติไม่สามารถทำให้ความช่วยเหลือเข้าไปสู่ผู้ประสบภัยได้
สมาชิกรัฐสภาแห่งสหภาพยุโรป (EU Parliament) ได้ลงมติอย่างท่วมท้นในวันพฤหัสบดี ให้มีการนำ พล.อ.ตานฉ่วยขึ้นไต่สวนในศาลระหว่างประเทศฐานก่ออาชญากรรมต่อประชาชนชาวพม่า ถ้าหากรัฐบาลทหารยังดึงดันปิดกั้นการนำความช่วยเหลือไปให้แก่ประชาชนต่อไป
พล.อ.เต็งเส่ง (Thein Sein) นายกรัฐมนตรีพม่าบอกกับคณะของนายบันเมื่อวันพฤหัสบดีว่า การจัดเตรียมความช่วยเหลือทางด้านอาหาร เสื้อผ้า ที่พักและยารักษาโรคดำเนินไปเกือบจะสมบูรณ์แล้วในขณะนี้
แต่ผู้สื่อข่าวเอเอฟพีซึ่งเล็ดลอดเข้าไปในพื้นที่บริเวณที่ราบปากแม่น้ำยังคงพบกับสภาพความเสียหายอย่างหนัก หมู่บ้านถูกพายุพัดทำลายหายไปทั้งหมู่บ้าน ซากศพยังคงลอยอยู่ในอยู่ในน้ำแม้จะผ่านมาเป็นเวลา 3 สัปดาห์แล้วก็ตาม ชาวบ้านจำนวนมากกล่าวว่า ตนยังไม่ได้รับความช่วยเหลือจากทางรัฐบาล
ผู้สื่อข่าวเห็นชาวบ้านกระโดดลงไปในแม่น้ำที่สกปรกเพื่อลงไปเก็บห่อบะหมี่สำเร็จรูปที่อาสาสมัครโยนให้
อนึ่ง คณะทหารยังคงถูกดึงดันที่จะจัดดันให้มีการจัดลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญรอบสองในพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติในวันเสาร์ที่จะถึงนี้ (24 ) ขณะที่ประชาชนนับล้านยังไม่ได้รับความช่วยเหลือใดๆ จากทางการ
การลงประชามติรอบแรกนั้นจัดขึ้นในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศหลังจากเกิดเหตุการณ์พายุพัดถล่มเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ในเขตที่ไม่ได้รับผลกระทบจากพายุนาร์กิส โดยรัฐบาลได้ประกาศว่าประชาชนผู้ใช้สิทธิถึง 92% โหวตให้การรับรองร่างรัฐธรรมนูญ
บันประกาศหลังจากที่ได้เข้าพบพลเอกอาวุโสตาน ฉ่วยเป็นเวลานานกว่า 2 ชม. โดยการตัดสินใจดังกล่าวนี้กินเวลาถึง 3 สัปดาห์หลังจากไซโคลนนาร์กิสพัดถล่มภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศวันที่ 2-3 พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งทางการกล่าวว่าทำให้มีผู้ที่เสียชีวิตหรือสูญหายจำนวนกว่า 133,000 รายในขณะนี้ และองค์การสหประชาชาติแถลงว่า ผู้รอดชีวิตอีกราว 2.4 ล้านคนกำลังต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
"พลเอกตาน ฉ่วยได้ตกลงยอมรับทีมช่วยเหลือต่างๆ" บันกล่าวกับผู้สื่อข่าว หลังจากที่ได้พบหารือกับผู้นำคณะปกครองทหารวัย 75 ปีที่เมืองเนปิดอว์
อย่างไรก็ตามโฆษกโครงการอาหารโลกแห่งสหประชาชาติหรือ WFP (World Food Programme) ยังแสดงความสงสัยว่า เรื่องดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้จริงๆ หรือไม่ เจ้าหน้าที่ประเภทใดบ้างที่ทางการพม่าจะยอมรับ ให้ทำอะไรได้บ้างหรือเข้าไปยังพื้นที่ใดได้บ้าง
เมื่อถูกถามว่าการเจรจาครั้งนี้ประสบผลสำเร็จหรือไม่ เลขาธิการยูเอ็นกล่าวว่า "คิดว่าเป็นเช่นนั้น พลเอกตานฉ่วยตกลงที่จะยอมรับทีมช่วยเหลือจากต่างประเทศ โดยไม่ได้คำนึงถึงเชื้อชาติ"
องค์กรบรรเทาภัยพิบัติจากนานาชาติได้ย้ำเตือนแก่รัฐบาลพม่าว่า จำนวนผู้เสียชีวิตอาจจะเพิ่มมากขึ้นหากยังคงไม่ได้รับความช่วยเหลือในด้านอาหาร น้ำดื่ม ที่พักรวมทั้งยารักษาโรคอย่างเร่งด่วน และเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญในการกู้ภัยช่วยเหลือมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการติดตามนำสิ่งของและติดตามขึ้นตอนการให้การช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย
ที่ผ่านมารัฐบาลยินดีรับความช่วยเหลือในรูปแบบสิ่งของเป็นจำนวนหลายพันตัน แต่ยังคงไม่อนุมัติวีซ่าแก่ทีมผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศนับร้อยคนให้เข้าประเทศ รวมทั้งโต้แย้งข่าวภายนอกที่ว่าประชาชนยังคงไม่ได้รับความช่วยเหลือที่เพียงพอ โดยกล่าวว่าเป็นเพียงข่าวลือที่สร้างขึ้นจากกลุ่ม "พวกทรยศต่อชาติ" เท่านั้น
ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการประกาศดังกล่าวจะรวมถึงการยอมรับความช่วยเหลือจากกองเรือรบของสหรัฐฯ อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งขณะนี้จอดรออยู่นอกเขตน่านน้ำพม่าหรือไม่
บันกล่าวเมื่อวันพฤหัส (22 ) ว่า ตนเดินทางมาไปพม่าพร้อมกับ "สารแห่งความหวัง" (message of hope) สำหรับผู้ประสบภัยที่กำลังประสบความลำบากจากเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นในประเทศนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อาศัยในบริเวณที่ราบปากแม่น้ำอิรวดี
บันได้เดินทางเข้าไปในพื้นที่ 2 แห่งซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณทางตอนใต้ของที่ราบปากแม่น้ำโดยเฮลิคอปเตอร์ หลังจากก่อนหน้านี้พื้นที่ดังกล่าวถูกรัฐบาลทหารสั่งห้ามคนภายนอกเข้าไปตลอด 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ก่อนหน้านี้ ฝรั่งเศสตั้งประเด็นว่า การปิดกั้นการช่วยเหลือและเจ้าหน้าที่กู้ภัยจากต่างประเทศของรัฐบาลทหารพม่านั้น เข้าข่ายเป็นความผิดฐานก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และกล่าวว่าจะผลักดันให้มีการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หากการเดินทางเยือนของเลขาธิการสหประชาชาติไม่สามารถทำให้ความช่วยเหลือเข้าไปสู่ผู้ประสบภัยได้
สมาชิกรัฐสภาแห่งสหภาพยุโรป (EU Parliament) ได้ลงมติอย่างท่วมท้นในวันพฤหัสบดี ให้มีการนำ พล.อ.ตานฉ่วยขึ้นไต่สวนในศาลระหว่างประเทศฐานก่ออาชญากรรมต่อประชาชนชาวพม่า ถ้าหากรัฐบาลทหารยังดึงดันปิดกั้นการนำความช่วยเหลือไปให้แก่ประชาชนต่อไป
พล.อ.เต็งเส่ง (Thein Sein) นายกรัฐมนตรีพม่าบอกกับคณะของนายบันเมื่อวันพฤหัสบดีว่า การจัดเตรียมความช่วยเหลือทางด้านอาหาร เสื้อผ้า ที่พักและยารักษาโรคดำเนินไปเกือบจะสมบูรณ์แล้วในขณะนี้
แต่ผู้สื่อข่าวเอเอฟพีซึ่งเล็ดลอดเข้าไปในพื้นที่บริเวณที่ราบปากแม่น้ำยังคงพบกับสภาพความเสียหายอย่างหนัก หมู่บ้านถูกพายุพัดทำลายหายไปทั้งหมู่บ้าน ซากศพยังคงลอยอยู่ในอยู่ในน้ำแม้จะผ่านมาเป็นเวลา 3 สัปดาห์แล้วก็ตาม ชาวบ้านจำนวนมากกล่าวว่า ตนยังไม่ได้รับความช่วยเหลือจากทางรัฐบาล
ผู้สื่อข่าวเห็นชาวบ้านกระโดดลงไปในแม่น้ำที่สกปรกเพื่อลงไปเก็บห่อบะหมี่สำเร็จรูปที่อาสาสมัครโยนให้
อนึ่ง คณะทหารยังคงถูกดึงดันที่จะจัดดันให้มีการจัดลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญรอบสองในพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติในวันเสาร์ที่จะถึงนี้ (24 ) ขณะที่ประชาชนนับล้านยังไม่ได้รับความช่วยเหลือใดๆ จากทางการ
การลงประชามติรอบแรกนั้นจัดขึ้นในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศหลังจากเกิดเหตุการณ์พายุพัดถล่มเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ในเขตที่ไม่ได้รับผลกระทบจากพายุนาร์กิส โดยรัฐบาลได้ประกาศว่าประชาชนผู้ใช้สิทธิถึง 92% โหวตให้การรับรองร่างรัฐธรรมนูญ