xs
xsm
sm
md
lg

สหรัฐฯ ถามอาเซียนเมื่อไรจะได้ช่วยชาวพม่า?

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#FF0000>ภาพนาวิกโยธินและทหารเรือบนเรือ USS Essex ของสหรัฐฯ ขณะกำลังช่วยกันเติมน้ำลงในแกลลอนเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับความช่วยเหลือแก่เหยื่อพายุในพม่าเมื่อวันที่ 16 พ.ค. โดยเรือดังกล่าวจอดรออยู่ไม่ไกลจากบริเวณที่ราบปากแม่น้ำและพร้อมที่จะเข้าช่วยเหลือทันทีที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลพม่า.</CENTER>
กรุงเทพฯ-- เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ยังคงประณามรัฐบาลทหารพม่าให้ต้องรับผิดชอบคนที่จะเสียชีวิตอีกจำนวนมาก หากยังคงดื้อรั้นปิดกั้นมิให้ผู้ปฏิบัติงานกู้ภัยกับความช่วยเหลือจากประชาคมระหว่างเทศเข้าไปให้ถึงผู้รอดชีวิตอีกเรือนล้านที่กำลังอดอยาก

ขณะเดียวกันนายบันคีมูน เลขาธิการสหประชาชาติกล่าวในเมืองหลวงของไทยเมื่อวันพุธ (21 พ.ค.) ว่า กำลังจะเจรจาให้ผู้นำพม่าเปิดกว้างรับความช่วยเหลือ ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นในวันเดียวกันกับที่สื่อทางการพม่ารายการว่า รัฐบาลทหารปฏิเสธความช่วยเหลือที่สหรัฐฯ นำไปกับเรือรบ เนื่องจากเป็นการช่วยเหลือ "ที่มีเงื่อนไขติดไปด้วย"

หนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์รายงานในฉบับวันพุธนี้ แต่ก็ไม่ได้ให้รายละเอียดว่า "เงื่อนไข" ที่ว่าฝ่ายสหรัฐฯ ตั้งขึ้นมาเพื่อการช่วยเหลือนั้นคืออะไร

ปัจจุบันเรือจู่โจมยกพลขึ้นบกเอ็สเส็ก (Essex) กับเรือฮาร์เปอร์สเฟอร์รี (Harpers Ferry) เรือพิฆาตมัสติน (Mustin) กับเรืออื่นๆ อีก 3 ลำปัจจุบันลอยลำในน่านน้ำสากลไม่ไกลจากปากแม่น้ำอิรวดี

กองเรือรบฝรั่งเศสกับอังกฤษพร้อมสิ่งของช่วยเหลือก็ประจำอยู่ในน่านน้ำใกล้กัน

สหรัฐฯ กล่าวว่าสิ่งของช่วยเหลือน้ำหนักกว่า 3,000 ตัน รวมทั้งข้าว 700 ตัน เพียงพอที่จะช่วยผู้ประสบเคราะห์จากไซโคลนาร์กิส 100,000 คนสามารถดำรงชีพอยู่ได้นานนับสิบวัน
<CENTER><FONT color=#FF0000>เจ้าหน้าที่บนเรือ Essex ของสหรัฐฯ ขณะกำลังให้สัญญาณลงจอดแก่เฮลิคอปเตอร์ CH-46E Sea Knight เมื่อวันที่ 16 พ.ค.2551 ในระหว่างการเตรียมพร้อมเพื่อเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพม่า.</CENTER>
นาวิกโยธินสหรัฐฯ กว่า 1,000 คนสามารถเข้าไปติดตั้งเครื่องกรองน้ำที่ทันสมัยผลิตน้ำสะอาดและปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชนในเขตประสบภัยให้มีที่พักพิง

อย่างไรก็ตามสื่อของรัฐกล่าวว่า รัฐบาลทหารมีขีดความสามารถช่วยเหลือตัวเองได้และยังกล่าวอีกว่าที่ผ่านมาสื่อโลกตะวันตกได้พยายามสร้างข่าวเท็จหาว่ารัฐบาลไม่ช่วยเหลือประชาชน ทั้งที่ทหารสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทั่วถึง

นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ยังกล่าวหาอีกว่าปัจจุบัน มี "ภัยร้าย" และ "กลลวง" ที่มีความรุนแรงมากกว่าพายุนาร์กิส พยายามบ่อนทำลายความมั่นคงของประเทศ สร้างความแตกแยกระหว่างฝ่ายทหารกับประชาชน

แม้ว่าจะปฏิเสธรับความช่วยเหลือที่ไปกับเรือรบสหรัฐฯ แล้ว หนังสือพิมพ์ฉบับนี้กล่าวว่าพม่าพร้อมที่จะรับความช่วยเหลือในรูปแบบอื่นจากสหรัฐฯ และยังได้ขอบคุณที่สหรัฐฯ ส่งความช่วยเหลือหลายเที่ยวบินไปที่กรุงย่างกุ้ง

ตามรายงานของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ จนถึงวันที่ 19 พ.ค.ที่ผ่านมา เครื่องบินลำเลียงขนส่งแบบ C-130 ได้นำสิ่งของช่วยเหลือไปส่งถึงพม่าแล้วรวม 31 เที่ยว

แต่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ กล่าวว่าสิ่งของช่วยเหลือส่วนใหญ่ยังคงถูกทางการพม่าเก็บเอาไว้ที่สนามบินและในคลังเก็บ มีเพียงจำนวนน้อยนิดที่ถูกนำส่งถึงผู้ประสบเคราะห์ในเขตภัยพิบัติ ซึ่งผิดวัตถุประสงค์การให้

เจ้าหน้าที่สหประชาชาติที่ปฏิบัติงานในพม่ากล่าวว่า รัฐบาลทหารขาดแคลนยานหานะที่จำเป็นในการขนส่งลำเลียงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรือยนต์กับเฮลิคอปเตอร์ ทำให้สิ่งของช่วยเหลือเข้าไปถึงเขตภัยพิบัติล่าช้า

สหประชาชาติเตือนว่าประชาชนผู้รอดชีวิตจากพายุราว 2.4 ล้านคนยังคงอดอยากหิวโหย และจะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก หากไม่มีความช่วยเหลือโดยด่วนจากภายนอก

องค์การ Save the Children จากอังกฤษเตือนว่า เด็กอ่อนอาจจะเสียชีวิตลงนับหมื่นคนหากไม่มีอาหารเข้าถึงพื้นที่ภัยพิบัติในสัปดาห์นี้

ไซโคลนนาร์กิสพัดกระหน่ำเข้าภาคตะวันตกเฉียงใต้ของพม่าในวันที่ 2-3 พ.ค. ทำลายเขตที่ราบปากแม่น้ำอิรวดีเสียหายหนัก เลยเข้าไปในเขตย่างกุ้ง พะโค ถึงรัฐมอญกับรัฐกะเหรี่ยง

ทางการพม่ายอมรับว่าที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตถึง 77,738 คน อีก 55,917 คนยังสูญหาย ทำให้เหยื่อพายุนาร์กิสมีจำนวนถึง 133,655 คน กับอีก 19,359 คนได้รับบาดเจ็บ
<CENTER><FONT color=#FF0000> ภาพเมื่อวันที่ 19 พ.ค.2551 : รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและเจ้าหน้าที่อาวุโสขณะยืนไว้อาลัยเป็นเวลา 1 นาทีให้แก่ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์พายุพัดถล่มในพม่าและเหุตแผ่นดินไหวในจีน ในระหว่างประประชุมนัดพิเศษเพื่อหารือในประเด็นการส่งความช่วยเหลือให้แก่พม่า.</CENTER>
**สหรัฐฯ ข้องใจประชุมอาเซียน**

เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำกลุ่มอาเซียน นายสก๊อต มาร์เซียล (Scot Marciel) กล่าวในการประชุมคณะกรรมาธิการสภาพผู้แทนสหรัฐฯ ชุดหนึ่งในวันอังคารว่า พม่ากำลังขาดแคลนทุกสิ่งทุกอย่าง และทางการทหารจะต้องรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตล้มตายของคนจำนวนมากที่กำลังจะติดตามมา

นายมาร์เซียลระบุดังกล่าว 1 วันหลังจากรัฐมนตรีต่างประเทศกลุ่มอาเซียนได้ตกลงจะจัดดารประชุมเพื่อรระดมความช่วยเหลือพม่าขึ้นในกรุงย่างกุ้งวันที่ 25 พ.ค.นี้ พร้อมกับตั้งคำถามว่ามันเป็นการประชุมที่เหมาะที่ควรหรือไม่ขณะที่ผู้คนเรือนล้านกำลังต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน

พม่ากำลังอยู่ในวิกฤต เวลาผ่านไปนานกว่า 2 สัปดาห์แล้ว ทางการยังคงจำกัดการช่วยเหลือ ประชาชนนับล้านยังคงไม่ได้รับการช่วยเหลือใดๆ แม้ว่าจะอนุญาตให้คณะแพทย์จากไทย อินเดีย และ จีน ราว 100 คน เข้าไปปฏิบัติงานในเขตภัยพิบัติแล้ว แต่ก็เป็นจำนวนน้อยนิดหากเทียบกับคนเจ็บและผู้รอดชีวิตที่ต้องได้รับการดูแลด้านสุขภาพ

"ประตูจะต้องเปิดกว้างขึ้นอย่างมากและอย่างรวดเร็วที่สุดเพื่อป้องกันหายนะรอบสอง" นายมาร์เซียลกล่าว

"ถ้าหากความช่วยเหลือกับบรรดาผู้เชี่ยวชาญในการช่วยเหลือกู้ภัยยังไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปได้ ความรับผิดชอบทั้งหมดก็จะตกอยู่ที่พลเอกตานฉ่วยกับบรรดาผู้นำพม่า" ทูตสหรัฐฯ ประจำอาเซียนกล่าว

อาเซียนแถลงในวันจันทร์ว่า ทางการพม่าได้อนุญาตให้กลุ่มอาเซียนเป็นแกนนำในการให้การช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบเคราะห์ และกลุ่มนี้กำลังเตรียมบุคคลากรเพื่อนำสิ่งของช่วยเหลือจากประชาคมระหว่างประเทศเข้าสู้พื้นที่ภัยพิบัติ

"เรายินดีกับความพยายามของอาเซียน แต่ ณ เวลานี้เรายังไม่ทราบว่า ระบอบในพม่าจะอนุญาตให้ผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมืออุปกรณ์และการช่วยเหลือจากนานาชาติเข้าไปได้หรือไม่"

ที่ผ่านมาอาเซียนได้รับการวิจารณ์อย่างหนักว่าไร้ประสิทธิภาพ ไม่สามารถทำอะไรได้ในการช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์ทั้งๆ ที่พม่าร่วมเป็นสมาชิกอยู่ด้วย
<CENTER><FONT color=#FF0000>นายบัน คี-มูน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติขณะโบกมือให้แก่ช่างภาพที่สนามบินสุวรรณภูมิก่อนออกเดินทางต่อไปยังพม่าในวันพฤหัสบดีนี้ (22 พ.ค.) เพื่อกดดันให้รัฐบาลทหารพม่าเปิดรับความช่วยเหลือจากต่างชาติมากขึ้น.</CENTER>
**เลขาฯยูเอ็นดันพม่ารับช่วยเหลือ **

เลขาธิการสหประชาชาติ นายบันคีมูน ซึ่งเดินทางถึงไทยและมีกำหนดจะเดินทางต่อไปยังกรุงย่างกุ้งในวันพฤหัสบดีนี้กล่าวเช่นเดียวกันกับทูตสหรัฐฯ ประจำยูเอ็นว่า สถานการณ์ในพม่ากำลังอยู่ในขั้นวิกฤต

นายบันกล่าวว่ากำลังจะไปพบกับพล.อ.ตานฉ่วย เพื่อขอให้พม่าเปิดกว้างรับความช่วยเหลือ นอกจากนั้นยังจะทำงานร่วมกับอาเซียนเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีการประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยเกิดขึ้น

นายบันกล่าวในวันเดียวกันว่า พม่าได้อนุญาตให้เฮลิคอปเตอร์ของยูเอ็นจำนวน 9 ลำ สามารถนำสิ่งของช่วยเหลือไปยังเขตภัยพิบัติได้ "เป็นการอนุญาตให้เราเข้าไปยังเขตที่ไม่สามารถเข้าไปได้"

"ผมเชื่อว่าจะมีความเคลื่อนไหวคล้ายกันนี้ต่อไป รวมทั้งการออกวีซ่าให้แก่เจ้าหน้าที่กู้ภัยช่วยเหลือที่กำลังพยายามเดินทางเข้าพม่า" นายบันกล่าวในนครนนิวยอร์กก่อนเดินทางมุ่งสู่กรุงเทพฯ เป็นด่านแรก

ทางการพม่าเปิดเผยว่าไซโคลนนาร์กิสสร้างความเสียหายให้พม่าคิดเป็นมูลค่ากว่า 10,000 ล้านดอลลาร์

นายบันกล่าวว่า ถึงเวลานี้ก็สายเกินไปเสียแล้วสำหรับการทำนาฤดูใหม่ในพม่าซึ่งโดยปกติจะเริ่มในเดือน มิ.ย. สิ่งนี้จะกระทบถึงวิกฤติอาหารในปัจจุบัน วิกกฤตทางเศรษฐกิจอาจจะทอดยาวและหนักหน่วงรุนแรงยิ่งกว่าเมื่อครั้งเกิดภัยพิบัติคลื่นสึนามิ เดือน ธ.ค.2547 ที่มีผู้เสียชีวิตกว่า 200,000 คน.
กำลังโหลดความคิดเห็น