xs
xsm
sm
md
lg

2 สัปดาห์โลกแทบกราบพม่าขอเข้าไปช่วยเหลือ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#660099> นายบันคีมูนเรียกร้องมาหลายครั้งตลอด 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาให้พม่ารีบเปิดรับเจ้าหน้าที่ต่างชาติเข้าไปกู้ภัยช่วยเหลือประชาชนเรือนล้านซึ่งเกินกำลังของรัฐบาลทหาร เลขาธิการสหประชาชาติเตือนเมื่อวันพฤหัสบดีว่า การปิดกั้นการช่วยเหลืออาจจะทำให้เรื่องมนุษยธรรมกลายเป็นประเด็นทางการเมือง (ภาพ: AFP) </FONT></CENTER>

ผู้จัดการออนไลน์-- คณะกรรมการกาชาดสากลได้ออกเรียกร้องเมื่อวันศุกร์ (16 พ.ค.) ให้ทุกฝ่ายเร่งระดมส่งความช่วยเหลือให้ถึงมือผู้ประสบเคราะห์กรรมจากไซโคลนนาร์กิสกว่า 1 ล้านคน พร้อมกับเตือนทางการพม่าอีกครั้งหนึ่งว่า การช่วยเหลือที่ล่าช้าจะทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก

กาชาดสากลออกแถลงเรื่องนี้ในนครเจนีวา โดยระบุว่าต้องการเงินทุนอีกราว 50.8 ล้านดอลลาร์ในการช่วยเหลือชาวพม่าที่รอดชีวิตให้รอดพ้นจากภัยพิบัติซ้ำสอง อันเนื่องมาจากการช่วยเหลือที่ล่าช้า

"ยิ่งการช่วยเหลือฉุกเฉินล่าช้าออกไปนานเท่าไร การฟื้นฟูและการก่อร่างสร้างทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นมาใหม่ก็ยิ่งจะใช้เวลายาวนานออกไปอีก" นายโทมัส กันเธอร์ (Thomas Gunther) ผู้อำนวยการโครงการและการประสานของกาชาดสากลกล่าว

"แน่นอนเรากำลังจะได้เห็นสถานการณ์ที่เลวร้ายหนักหน่วงยิ่งกว่าเดิม ได้เห็นความหดหู่สิ้นหวังที่เพิ่มขึ้นในหมู่ผู้ประสบภัยพิบัติที่ย่ำแย่อยู่แล้ว" นายกันเธอร์กล่าว
<CENTER><FONT color=#660099>คุณแม่กับลูกๆ ที่คุณพ่อเสียชีวิตในพายุเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน ในเขตภัยพิบัติปากแม่น้ำอิรวดี บ่อน้ำเต็มไปด้วยนำเค็ม ต้องดื่มน้ำจากท้องนา ใช้น้ำที่นี้ซักล้างทุกสิ่งทุกอย่าง ความช่วยเหลือไม่เคยไปถึง คนเรือนล้านเช่นครอบครัวนี้กำลังเผชิญกับอหิวาตกโรคกันตามลำพัง (ภาพ: AFP) </FONT> </CENTER>
ตามตัวเลขทางการพม่านั้นมีผู้เสียชีวิตและสูญหายราว 70,000 คนในขณะนี้ ส่วนตัวเลขของกาชาดสากลคาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตกว่า 200,000 คน ขณะที่ทางการพูดถึงเฉพาะศพที่พบแล้วและการสำรวจตัวเลขจากบัญชีประชากร

องค์การสหประชาชาติกล่าวว่าปัจจุบันผู้ประสบภัยระหว่าง 1.6-2.5 ล้านคนกำลังรอคอยความช่วยเหลือ ขณะที่รัฐบาลทหารพม่าขาดเครื่องมือและยานพาหนะที่จำเป็นในการขนส่งของไปยังพื้นที่ห่างไกล ซึ่งจะใช้เรือกับเฮลิคอปเตอร์เป็นพาหนะหลัก

นายลูยส์ มิเชล (Louis Michel) ข้าหลวงใหญ่ฝ่ายกิจการมนุษยธรรมสหภาพยุโรปซึ่งไปเยือนพม่าเมื่อวันพฤหัสบดี แถลงในกรุงย่างกุ้งเมื่อวันศุกร์ว่า เวลาล่วงเลยมานาน 2 สัปดาห์ยังไม่มีความคืบหน้ามากนักในความพยายามชักชวนให้รัฐบาลทหารเปิดรับผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่กู้ภัยของสหประชาชาติเข้าไปปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชนในเขตภัยพิบัติ
<CENTER><FONT color=#660099>ดินแดนแถบนั้นมีเพียงเรือกับเฮลิคอปเตอร์เท่านั้นที่จะเข้าถึง ซึ่งรัฐบาลทหารพม่ามีไม่พอใช้งาน และยังยืนกรานไม่ให้ใครเข้าไปช่วย (ภาพ: AFP)</FONT> </CENTER>
"ใน 2-3 วันข้างหน้านี้ หากยังไม่มีคำตอบที่เป็นรูปธรรมต่อคำถามทั้งหลายทั้งปวง ผมก็คงจะลงความเห็นอะไรต่างๆ ได้ แต่ตอนนี้ยังทำไม่ได้" นายมิเชลกล่าวให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี

ที่ผ่านมาพม่าไม่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ต่างชาติ รวมทั้งเจ้าหน้าที่สหประชาชาติ เข้าไปในเขตที่ราบปากแม่น้ำอิรวดี ซึ่งเป็นเขตที่ถูกพายุนาร์กิสพัดทำลายหนักหน่วงที่สุด

"ผมได้เรียกร้องขอเข้าไปเขตที่ราบปากแม่น้ำ แต่ยังไม่ได้รับอนุญาตเมื่อวาน (พฤหัสบดี) ผมยังมีความหวังว่าจะเป็นวันนี้" นายมิเชลกล่าว

ข้าหลวงใหญ่ฯ สหภาพยุโรปกล่าวว่า ได้ถูกนำไปเยี่ยมชมศูนย์พักพิงผู้พลัดถิ่นที่ค่อนข้างดีและสมบูรณ์ทุกอย่างในเขตรอบๆ กรุงย่างกุ้ง ซึ่งห่างไกลลับจากเขตภัยพิบัติ ที่องค์การระหว่างประเทศกล่าวว่า มีผู้คนอีกนับล้านกำลังรอคอยอาหาร น้ำดื่มและยารักษาโรค
<CENTER><FONT color=#660099>ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรียกร้องมาหลายครั้งให้พม่าเปิดรับความช่วยเหลือแต่ 2 สัปดาห์ผ่านมาทุกอย่างยังเหมือนเดิม คณะปกครองทหารพม่าไม่เคยเห็นหัว ราวกับว่าไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มอาเซียน (ภาพ: AFP)  </FONT> </CENTER>
องค์การอนามัยโลกได้ออกเตือนในวันเดียวกันว่า การขาดน้ำดื่มสะอาดและอาหารที่ถูกสุขอนามัยหลังเกิดภัยพิบัติเป็นสาเหตุสำคัญที่จะทำให้เกิดโรคระบาด

วันพฤหัสบดีนายบันคีมูนยเลขาธิการสหประชาชาติได้ออกเรียกร้องทางการพม่าอีกครั้งหนึ่งให้รีบเปิดรับบุคลากรขององค์การระหว่างประเทศเข้าไปกู้ภัยช่วยเกลือประชาชนในเขตภัยพิบัติ และย้ำว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องมนุษยธรรมล้วนๆ ไม่ใช่ประเด็นทางการเมืองเลย

อย่างไรก็ตามนายบันกล่าวเตือนว่าการที่คณะปกครองทหารไม่อนุญาตให้ประชาคมโลกเข้าไปช่วยเหลือประชาชน อาจจะทำให้เกิด “ประเด็นทางการเมือง” อะไรบางอย่างขึ้นมาได้.
กำลังโหลดความคิดเห็น