xs
xsm
sm
md
lg

เลขาฯ ยูเอ็นดันต่อให้พม่าเร่งช่วยเหลือประชาชน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#FF0000>นายบัน คี-มูน (Ban Ki-moon) เลขาธิการ UN ขณะเป็นประธานในการประชุมคณะทำงานเกี่ยวกับวิกฤตทางด้านอาหารโลกเมื่อวันที่ 12 พ.ค.2551 ทั้งนี้นายบัน เป็นผู้หนึ่งที่วิจารณ์รัฐบาลพม่าที่ดำเนินการให้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างล่าช้า (ภาพ : www.un.org).</CENTER>
ผู้จัดการออนไลน์ -- นายบัน คี-มูน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้ออกวิจารณ์รัฐบาลทหารพม่าอีกครั้งหนึ่ง ทั้งแสดงความ “ผิดหวัง” ต่อความล่าช้าในการจัดการกับปัญหาภัยพิบัติอีกครั้งหนึ่ง และเรียกร้องให้รัฐบาลทหารเร่งจัดการช่วยเหลือผูประสบเคราะห์ให้รวดเร็วทันการณ์

นายบัน กล่าวว่า “วันนี้เป็นวันที่สิบเอ็ดหลังจากที่พายุนาร์กีสพัดถล่มพม่า ผมต้องการแสดงความกังวลและเป็นห่วงรวมทั้งความผิดหวังอย่างมากต่อความล่าช้าในการตอบสนองต่อวิกฤตทางด้านมนุษยธรรม”

นายจอห์น โฮล์มส์ (John Holmes) ผู้ประสานงานด้านการบรรเทาทุกข์ฉุกเฉินของสหประชาชาติ กล่าวกับผู้สื่อข่าวในนิวยอร์ก ว่า ยูเอ็นจะสนับสนุนเงินจำนวน 20.3 ล้านดอลลาร์จากกองทุนบรรเทาภัยฉุกเฉินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในสิ่งของที่จำเป็นต่างๆ เช่น อาหาร ที่พักรวมทั้งด้านสุขภาพอนามัย

นายโฮล์มส์ กล่าวต่อว่า ยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับวีซ่า แม้ว่า พม่าจะได้อนุมัติไปแล้วในบางส่วน

ขณะนี้ได้รับการยืนยันว่า รัฐบาลพม่าได้อนุมัติ หรืออยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อออกวีซ่าให้แก่เจ้าหน้าที่ยูเอ็นรวม 34 คน ในจำนวนนั้นรวมทั้งเจ้าหน้าที่บรรเทาภัยพิบัติจากองค์การสหประชาชาติและจากองค์กรช่วยเหลืออื่นๆ

ในการประเมินระดับความเสียหายครั้งล่าสุด องค์กรความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของ UN กล่าวว่า ประชาชนจำนวน 1.2-1.9 ล้านคน ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดและจำนวนผู้ที่เสียชีวิตอาจจะเพิ่มขึ้นจาก 60,000 เป็น 102,000 ราย
<CENTER><FONT color=#FF0000>ภาพผู้รอดชีวิตนั่งอยู่ข้างต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ถูกพายุพัดจนหักโค่นนอกกรุงย่างกุ้งเมื่อัวนที่ 12 พ.ค.2551 วันเดียวกันกับที่เครื่องบินลำเลียงสิ่งของบรรเทาภัยพิบัติเที่ยวแรกของสหรัฐฯ มาถึงยังพม่า ทั้งนี้ ยังมีประชาชนอีกเป็นจำนวนมากที่ยังคงรอความช่วยเหลืออยู่.</CENTER>
สถานีโทรทัศน์พม่าได้รายงานจำนวนผู้ที่เสียชีวิตอย่างเป็นทางการ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (12 พ.ค.) โดยมีจำนวนอยู่ที่ 31,938 ราย และสูญหายอีกกว่า 29,770 ราย สาเหตุหลักของการเสียชีวิตเกิดจากน้ำท่วมฉับพลันสูง 3.5 เมตร รวมทั้งลมพายุที่มีความเร็วลมประมาณ 190 กิโลเมตร/ชม.

ผู้ที่รอดชีวิตได้ไปรวมตัวอาศัยอยู่กันอย่างเบียดเสียดตามวัด โรงเรียนหรืออาคารอื่นๆ บรรดาผู้ที่พลัดถิ่นต่างหลั่งไหลเข้าสู่เมืองซึ่งก็รองรับได้ไม่มากนัก

ประชาชนยังคงขาดอาหาร น้ำดื่ม สุขอนามัย รวมทั้งต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อ เช่น ท้องร่วง และมีการพยากรณ์อากาศว่าจะมีฝนตกหนักบริเวณที่ราบปากแม่น้ำในสัปดาห์นี้ ซึ่งอาจจะทำให้ความช่วยเหลือเป็นไปได้ยากมากขึ้น

ประชาชนจากกรุงย่างกุ้งได้ขนอาหารและน้ำดื่มใส่พาหนะของตน นำออกไปยังหมู่บ้านที่ตั้งอยู่นอกเมืองซึ่งเป็นพื้นที่ที่ปราศจากขาดความช่วยเหลือจากองค์กรต่างๆ

พายุได้พัดถล่มพื้นที่อยู่อาศัยของประชาชนกว่า 53 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นจำนวนเกือบครึ่งประเทศ และพื้นที่ประมาณ 5,000 ตารางกิโลเมตร ยังคงจมอยู่ใต้น้ำ นอกจากนี้ พายุยังได้สร้างความเสียหายแก่พื้นที่บางส่วนที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของพม่าอีกด้วย

ฝรั่งเศสกำลังส่งเรือรบซึ่งบรรทุกข้าวหนัก 150 ตันเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์และคาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้พม่าในปลายสัปดาห์นี้ รัฐบาลฝรั่งเศสกล่าวว่าต้องการที่จะแจกจ่ายอาหารโดยตรงด้วยตนเองแต่จะไม่ดำเนินการใดๆ หากไม่ได้รับการอนุญาตจากพม่า

เรือรบสหรัฐฯ ที่ลำเลียงสิ่งของจำเป็นต่างๆ อีก 3 ลำยังคงจอดรอการอนุมัติจากรัฐบาลพม่า กองเรือรบอีกกองหนึ่งที่นำโดยเรือบลูริดจ์ (Blue Ridge) เข้าจอดเที่ยบท่าที่เกาะชะวา อินโดนีเซียในสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาและมุ่งหน้าสู่ทะเลอันดามันเช่นเดียวกัน

เรือรบราชนาวีของอังกฤษ ก็ถูกส่งไปให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมในพม่าเช่นเดียวกัน
กำลังโหลดความคิดเห็น