xs
xsm
sm
md
lg

หม่องยอมงอให้ จนท.ยูเอ็นเข้าประเทศแล้ว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#660099>สำนักข่าวทางการพม่าเผยแพร่ภาพนี้ในวันที่ 6 พ.ค.2551 เจ้าหน้าที่ทหารได้นำข้าวของออกแจกจ่ายในเขตที่ราบปากแม่น้ำอิรวดี หลังจากถูกวิจารณ์อย่างหนักฐานดำเนินการกู้ภัยช่วยเหลือล่าช้าและยังขัดขวางความพยายามของประชาคมระหว่างประเทศที่จะเข้าไปช่วยบรรเทาทุกข์แก้ราษฎรในเขตภัยพิบัติ  (ภาพ: AFP) </FONT> </CENTER>

ผู้จัดการออนไลน์ - ทางการพม่าได้อนุญาตให้เจ้าหน้าที่กู้ภัยช่วยเหลือจากองค์การระหว่างประเทศรวมทั้งสหประชาชาติเดินทางเข้าประเทศได้แล้วหลังจากมีความเคลื่อนไหวในสหประชาชาติเพื่อให้คณะมนตรีความมั่นคง (UNSC) ลงมติบีบให้คณะปกครองทหารต้องรับความช่วยเหลือจากภายนอก เพื่อช่วยราษฎรนับล้านที่ประสบภัยพิบัติไซโคลนนาร์กิส

ทางการพม่าเตะถ่วงมาเป็นเวลา 4 วันนับตั้งแต่พายุได้ผ่านไปและทิ้งผู้เสียชีวิตกับคนสูญหายเอาไว้เบื้องหลังเป็นจำนวนกว่าครึ่งแสนในขณะนี้

วันพุธที่ผ่านมา สื่อของทางการไม่มีการปรับตัวเลขจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นจาก 22,464 คน ที่รายงานเมื่อวันอังคาร และจำนวนผู้เสียชีวิตก็ยังคงไว้ที่ 41,054 คนเท่าเดิม ในเหตุการณ์วาตภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในเขตอ่าวเบงกอล นับตั้งแต่ไซโคลนลูกหนึ่งพัดกระหน่ำบังกลาเทศในปี 2534 ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 143,000 คน

เจ้าหน้าที่กู้ภัยระหว่างประเทศกำลังจะเข้าช่วยเหลือชาวพม่าไร้ที่อาศัย “นับล้านๆ คน” อันเป็นตัวเลขประเมินของเจ้าหน้าที่องค์การ Save the Children ซึ่งเป็นองค์กรภาคเอกชนไม่สังกัดรัฐบาลเพียง 1 ใน 3 แห่งที่รัฐบาลทหารพม่าอนุญาตให้ปฏิบัติงานประจำอยู่ในประเทศได้

ทางการพม่าได้ลังเลอยู่หลายวันที่จะให้เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยสหประชาชาติเดินทางเข้าปฏิบัติงานช่วยเหลือ และเจ้าหน้าที่กล่าวว่าอาจจะต้องรอไปจนถึงช่วงสุดสัปดาห์ก่อนที่ความช่วยเหลือชุดแรกจะส่งถึงกรุงย่างกุ้ง

รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสนายแบร์นาร์ด คูชเนอร์ (Bernard Kouchner) ให้สัมภาษณ์ในวันพุธว่า สหประชาชาติควรจะนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของคณะมนตรีความมั่นคงในนครนิวยอร์ก เพื่อบีบบังคับให้บรรดาผู้นำพม่าต้องยอมรับการช่วยเหลือจากภายนอก

ยังไม่มีฝ่ายใดทราบว่าความเคลื่อนไหวในฝรั่งเศสจะเกี่ยวข้องอะไรหรือไม่ แต่ตอนบ่ายวันพุธที่ผ่านมา คณะปกครองทหารในเมืองเนย์ปีดอก็เปลี่ยนใจ อนุญาตให้ทีมเจ้าหน้าที่ยูเอ็นเดินทางเข้าประเทศได้
<CENTER><FONT color=#660099> เจ้าหน้าที่กองทัพอากาศไทยนำสิ่งของและเวชภัณฑ์เตรียมขนขึ้นเครื่องบิน C-130 ไปยังกรุงย่างกุ้งอีกรอบหนึ่งในวันพุธนี้ เพื่อช่วยเหลือก่อนที่องค์การระหว่างประเทศจะไปถึง  (ภาพ: Reuters) </FONT> </CENTER>
อย่างไรก็ตาม นางอลิซาเบ็ธ บีร์ส (Elisabeth Byrs) โฆษกสำนักงานประสานงานความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของยูเอ็นกล่าวว่า เป็นการอนุญาตเท่านั้น แต่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องรอวีซ่าอีกทีเพื่อเดินทางเข้าพม่า รวมทั้งทีมสำรวจจำนวน 5 คนที่กำลังรออยู่ในกรุงเทพฯ

ยังไม่ทราบว่ารัฐบาลพม่าจะอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ทีมช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมยูเอ็นเดินทางเข้าประเทศได้กี่คน แต่นางบีร์สกล่าวว่าความช่วยเหลือชุดแรกจะถูกส่งไปจากโกดังเก็บในประเทศอิตาลี ประกอบด้วยสารช่วยทำน้ำสะอาด ผ้าห่ม ชุดทำครัว ผ้าพลาสติก จนถึงเครื่องปั่นไป เพื่อไปช่วยเหลือประชาชนในเขตภัยพิบัติ

ในวันพุธทางการทหารพม่าได้ส่งอาหารและน้ำดื่มไปทางเฮลิคอปเตอร์เพื่อช่วยเหลือประชาชนในเขตที่ราบปากแม่น้ำอิรวดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมู่บ้านที่ถูกพายุพัดทำลายจนราบคาบ ผู้คนนับร้อยๆ ไม่ที่อาศัย

ไซโคลนนาร์กีสก่อตัวขึ้นในย่านกลางกลางทะเลเบงกอลเมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้ว และ เริ่มเคลื่อนเข้าสู่ชายฝั่งพม่าในวันศุกร์ (2 พ.ค.) ด้วยความเร็วลมที่ศูนย์กลาง 120-190 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พัดกระหน่ำเขตที่ราบปากแม่น้ำสายหลักอันเป็นอู่ข้าวอู่น้ำใหญ่ของประเทศ

พายุเคลื่อนต่อไปตามแนวตะวันตก-ตะวันออก เข้ากระหน่ำกรุงย่างกุ้งที่อยู่ห่างจากชายฝั่งเข้าไปราว 220 กิโลเมตร
กำลังโหลดความคิดเห็น