xs
xsm
sm
md
lg

C-130 เข้าพม่าอีก 2 เที่ยว “บุช” ยังด่าไม่เลิก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#3366FF>ผู้บริหาร USAID นางเฮ็นเรียตต้า ฟอเร่ (Henrietta H. Fore) กำลังทักทายกับเจ้าหน้าที่คนหนึ่งของพม่า ทั้งนี้ ทำเนียบขาวได้กล่าวว่าจะขยายเงินช่วยเหลือพิเศษแก่ผู้ประสบภัยจากพายุในพม่าเพิ่มขึ้น.</CENTER>
ผู้จัดการออนไลน์ -- ผู้เห็นเหตุการณ์กล่าวว่า เที่ยวบินลำเลียงสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์ของสหรัฐฯ อีก 1 เที่ยวได้บินขึ้นจากสนามบินอู่ตะเภาอีกครั้งหนึ่งในตอนสายวันอังคาร (13 พ.ค.) นี้ พร้อมสส่งของช่วยเหลือไปยังประชาชนพม่าที่ประภัยจากไซโคลนนาร์กีสเมือ 11 วันก่อน ขณะที่ทางการพม่ายังคงรับการช่วยเหลือจากต่างประเทศอย่างจำกัดเช่นเคยและการแจกจ่ายส่งของช่วยเหลือก็ยังล่าช้า

ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ฯ นายจอร์จ ดับเบิลยู บุช ได้ออกประณามการเพิกเฉยไม่เอาใจใส่ต่อประชาชนผู้ประสบภัยเรือนล้านของรัฐบาลทหารพม่า ขณะเดียวกันรัฐบาลสหรัฐฯ ก็ได้ประกาศขยายความช่วยเหลือขึ้นเป็น 30 ล้านดอลลาร์ จาก 13 ล้านดอลลาร์ที่ประกาศไปเมื่อวันจันทร์

สหรัฐฯ ประกาศในวันจันทร์ว่า พม่าได้อนุญาตให้สหรัฐฯ ส่งความช่วยเหลือไปได้อีก 2 เที่ยวบินในวันอังคารนี้ หลังจากมีการเจรจาที่สนามบินกรุงย่างกุ้ง

รัฐบาลคณะทหารยังคงไม่เปิดประเทศรับความช่วยเหลือส่วนใหญ่จากนานาชาติให้เข้าไปยังพื้นที่บริเวณที่ราบปากแม่น้ำอิรวดี

ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นใหญ่เกินกว่าที่เจ้าหน้าที่ขององค์กรความช่วยเหลือต่างๆ จะสามารถรับผิดชอบได้ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ยังต้องเผชิญกับกฎเกณฑ์ข้อบังคับที่เข้มงวดในด้านของการส่งความช่วยเหลือจากต่างชาติเข้าไปในประเทศเพื่อช่วยเหลือเหยื่อพายุกว่า 1.5 ล้านคนที่กำลังต่อสู้กับความหิวโหยและโรคภัยต่างๆ
<CENTER><FONT color=#3366FF>น้ำดื่มจำนวนมากถูกขนลงจากเครื่องบินลำเลียง C-130 ของสหรัฐฯที่สนามบินกรุ่งย่างกุ้งเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (12 พ.ค.).</CENTER>
แพทย์ไร้พรมแดน หรือ MSF กล่าวว่า เครื่องบินขนส่งสินค้าลำแรกขององค์กรที่บรรทุกยารักษาโรคและความช่วยเหลืออื่นๆ ได้ลงจอดที่กรุงย่างกุ้งเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (12 พ.ค.) แต่ต้องเจอกับข้อจำกัดที่เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ที่จะเข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเขตที่ราบปากแม่น้ำ

“ในเมืองเช่นเบาะกะเลย์ (Bogalay) ทีมช่วยเหลือของ MSF ไม่สามารถที่จะให้ความช่วยเหลือได้มากเท่าควรต่อความต้องการทางด้านอาหารและการดูแลรักษา” กลุ่ม MSF กล่าว

คณะทหารยินดีที่จะรับความช่วยเหลือจากชาติต่างๆ แต่ก็กล่าวอย่างชัดเจนว่าไม่ต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญจากต่างชาติหรือเครื่องมือในการขนส่งความช่วยเหลือไปยัง 5 พื้นที่ที่ประสบภัยหลังจากเหตุการณ์ผ่านมาแล้วเป็นเวลาถึง 11 วัน

นายจอร์จ ดับเบิลยู บุช ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้กล่าวตำหนิพม่าเรื่องความล่าช้าในการรับความช่วยเหลือจากต่างชาติ หลังจากที่เครื่องบินลำเลียงสิ่งของความช่วยเหลือของสหรัฐฯ เที่ยวแรกลงจอดยังพม่าเมื่อวันจันทร์ที่ผ่าน โดยกล่าวว่า “พม่าต้องการจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวหรือใจดำกันแน่”

ปธน.บุช ซึ่งก่อนหน้าได้ออกมาตราการคว่ำบาตรพม่า กล่าวว่า รัฐปกครองทหารให้ความสนใจในเรื่องของอำนาจมากกว่าประชาชนของตนอย่างเห็นได้ชัด
<CENTER><FONT color=#3366FF>ทหารพม่าคนหนึ่งซึ่งได้มาช่วยขนถ่ายสิ่งของที่จำเป็นเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยลงจากเครื่องบิน C-130 ของสหรัฐฯ กำลังนอนพักอยู่ที่สนามบินนานาชาติในกรุงย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 12 พ.ค.2551.</CENTER
“เป็นเวลาหลายวันมาแล้วรวมทั้งไม่มีการบอกถึงจำนวนประชาชนที่เสียชีวิต อันเนื่องมาจากความล่าช้าในการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชน” ปธน.สหรัฐฯ กล่าวในการให้สัมภาษณ์แก่สำนักข่าวซีบีเอส

ปธน.บุช กล่าวต่อว่า “ในที่สุด เครื่องบินลำเลียงของสหรัฐฯ ก็ได้เข้าไปถึง แต่การตอบสนองต่อความต้องการความช่วยเหลือนี้ยังดีไม่พอ”

ปธน.สหรัฐฯ ยังเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศประณามทางการพม่าต่อไป ฐานไม่เอาใจใส่ต่อทุกข์สุขของประชาชนผู้ประสบภัยและไม่พัฒนาระบอบประชาธิปไตยในประเทศ

เครื่องบิน C-130 ของสหรัฐฯ เดินทางออกจากฐานทัพอากาศในประเทศไทย โดยบรรทุกน้ำดื่ม มุ้ง และผ้าห่ม เพื่อนำไปช่วยเหลือเหยื่อพายุ แต่เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ ที่ร่วมเดินทางไปกับเที่ยวบินดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตให้ออกไปไกลจากสนามบินย่างกุ้ง

เที่ยวบินความช่วยเหลืออื่นๆ ได้ถึงยังสนามบินย่างกุ้งเรียบร้อยแล้ว แต่มีปริมาณความช่วยเหลือเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ถูกส่งไปยังพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย

โครงการอาหารโลก หรือ WFP กล่าวว่า สามารถส่งอาหารได้น้อยกว่า 20% จากจำนวนทั้งหมด 375 เมตริกตันต่อวัน
กำลังโหลดความคิดเห็น