เดิมที ผมตั้งใจว่าจะไม่เขียนถึงเรื่องของคุณโชติศักดิ์ อ่อนสูง ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากกรณีการไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์ เพราะ ผมเห็นว่าผู้คนในสังคมได้ขบคิด ได้พูดถึง และได้วิพากษ์การกระทำดังกล่าวไปมากแล้ว อีกทั้งการกระทำของคุณโชติศักดิ์เองก็ได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตของเขามากเกินพอแล้ว
แต่วันนี้ที่ผมต้องออกมาเขียนถึง คุณโชติศักดิ์ ผู้มีนิกเนมในหมู่เพื่อนฝูงว่า ‘แมมมอธ’ หรือ ‘โฉด’ และเรียกตัวเองว่าเป็นนักกิจกรรมรณรงค์ด้านประชาธิปไตยที่ออกมารณรงค์แคมเปญ “ไม่ยืนไม่ใช่อาชญากร เห็นต่างไม่ใช่อาชญากรรม (Not Standing is No Crime, Different Thinking is No Crime)” ก็อันเนื่องมาจาก ผมรู้สึกอเนจอนาถและสะอิดสะเอียนกับกระบวนการใช้เด็กหนุ่มคนหนึ่งเป็นเครื่องมือในการสนองความทะยานอยาก-ทิฐิของผู้ใหญ่ นักวิชาการ และนักการเมืองบางคนที่ต้องการให้คนส่วนใหญ่ในสังคมคิดในสิ่งที่ตนคิด เชื่อในสิ่งที่ตนเชื่อ
การตกเป็นผู้ต้องหาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของคุณโชติศักดิ์และเพื่อนจากกรณีการไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์จะไม่กลายเป็นเรื่องซับซ้อน หรือ ประเด็นทางสังคมอะไรเลย หากเขาไม่ออกมารณรงค์แคมเปญ “ไม่ยืนไม่ใช่อาชญากร เห็นต่างไม่ใช่อาชญากรรม” อีกทั้ง เครือข่ายและสื่อในเครือข่ายของเขาไม่ออกมาดำเนินการประชาสัมพันธ์เรื่องนี้ไปในวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นการทำเรื่องนี้ให้เป็นประเด็นใหญ่ เป็นประเด็นสากล ด้วยการเรียกผู้สื่อข่าวต่างประเทศมาทำข่าว หรือ การใส่เสื้อรณรงค์เรื่องดังกล่าวไปออกรายการโทรทัศน์ช่องเอ็นบีที กรมประชาสัมพันธ์ นอกจากนี้คุณโชติศักดิ์และเพื่อนเองก็อาจจะมีความได้เปรียบยิ่งขึ้นในคดีทำร้ายร่างกาย-ดูหมิ่น ที่เขาแจ้งความคู่ความจากเหตุการณ์ในโรงภาพยนตร์เสียด้วยซ้ำ
อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานการณ์ถูกพัฒนาไปเรื่อยๆ และ กลุ่มคนที่หนุนหลังคุณโชติศักดิ์เองมองว่า “การเดินหมาก” เรื่องการรณรงค์แคมเปญ “ไม่ยืนไม่ใช่อาชญากร เห็นต่างไม่ใช่อาชญากรรม” และการขยายผลประเด็นนี้ให้ไปสู่ระดับนานาชาติคงไม่สามารถลดทอนกระแสความไม่เห็นด้วยต่อ “การไม่ยืน” ของคุณโชติศักดิ์และเพื่อนให้เบาบางลงได้เท่าใดนัก ณ เวลานั้นเอง สื่อในเครือผู้จัดการซึ่งก็รวมถึง หนังสือพิมพ์ วิทยุชุมชน เว็บไซต์ และ เอเอสทีวี ที่นำเสนอข่าวสารเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมาก็ถูกหยิบขึ้นมาเป็น “เป้าแทน”
คำพูดอย่างคึกคะนองและถูกมองว่ายั่วยุอันส่อให้เกิดการทำร้ายนายโชติศักดิ์ของผู้จัดรายการวิทยุรายการหนึ่งที่ออกอากาศทางวิทยุชุมชนเจ้าฟ้า 97.75MHz ถูกหยิบยกขึ้นมาแบบ “ติเรือทั้งโกลน” โดยผู้หยิบยกกล่าวเหมาเอาว่าคำพูดดังกล่าวนั้นเป็น นโยบายของสื่อทั้งเครือผู้จัดการและเอเอสทีวี โดยในเวลาต่อมากลุ่มคนและนักวิชาการที่อยู่เบื้องหลังคุณโชติศักดิ์ได้สนับสนุนให้เกิดการเขียนบทความอย่างเช่น “ผู้จัดการ-พันธมิตรฯ กำลังก่อกระแส ‘ละครแขวนคอ’ ยุคใหม่” โดย สมศักดิ์ เจียมธีรกุล, “อย่าเดินไปสู่ 6 ตุลาคม” โดย เกษียร เตชะพีระ รวมไปถึงการรายงานข่าวอย่างต่อเนื่องของสื่อนอกกระแสอย่างเว็บไซต์ประชาไท และ ฟ้าเดียวกัน
ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการล่ารายชื่อนักวิชาการจำนวน 130 คน เพื่อประณามสื่อเครือผู้จัดการโดยมุ่งเป้าไปที่การบิดเบือนข้อเท็จจริงและพยายามที่จะทำให้ ‘สื่อเครือผู้จัดการ’ กลายเป็น ‘ดาวสยามยุคใหม่’ และ ‘วิทยุยานเกราะ’ สื่อในอดีตที่บิดเบือนข้อเท็จจริงและแสดงบทบาทขวาจัดในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 รวมไปถึงการเชื่อมโยงนักวิชาการรุ่นอาวุโสอย่าง อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ และ ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ให้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงสื่อและองค์กรสื่อ เรียกร้องให้หยุดพฤติกรรมยั่วยุ ปลุกปั่น โฆษณาชวนเชื่อและเรียกร้องรักษามาตรฐานจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
แม้ในเวลาต่อมาผู้บริหารวิทยุชุมชนเจ้าฟ้าได้ออกแถลงการณ์ขออภัยต่อกรณีการใช้คำพูดไม่เหมาะสมในการจัดรายการและแสดงความรับผิดชอบด้วยการถอดรายการดังกล่าวออกจากผัง รวมถึงสื่อในเครือผู้จัดการ-เอเอสทีวีก็ออกมายืนยันแล้วว่า บทบาทของ ‘เครือผู้จัดการ’ ในยุคปัจจุบันกับ ‘ดาวสยาม’ ในสมัย 6 ตุลาคม 2519 นั้นมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยยืนยันว่าหลักฐานและข่าวสารที่สื่อเครือผู้จัดการนำเสนอต่อกรณีคุณโชติศักดิ์และเครือข่ายของเขา รวมถึงการหมิ่นและล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ นั้นอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงและสามารถพิสูจน์ได้
ทว่า ฝ่ายที่อยู่เบื้องหลังคุณโชติศักดิ์ก็ยังไม่หยุดรุกคืบ พวกเขายังคงอาศัยเครือข่ายทางวิชาการ สื่อมวลชนและเอ็นจีโอที่มีทั้งในและนอกประเทศเพื่อปรักปรำสื่อเครือผู้จัดการต่อไป โดยเมื่อวันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเมืองของสถานทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย (หรืออีกนัยหนึ่งคือ ซีไอเอ) ได้ติดต่อเข้ามาขอพูดคุยกับผู้บริหารสถานีวิทยุชุมชนเจ้าฟ้าต่อกรณีทัศนะของสถานีต่อคุณโชติศักดิ์ ทั้งๆ ที่กรณีดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องของคนภายในประเทศแท้ๆ แต่น่าแปลกว่าทำไม สหรัฐอเมริกาจึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ นอกจากจะมี “ผู้ที่อยากปั่นเรื่องนี้เป็นประเด็นสากล” แฝงตัวอยู่เบื้องหลัง?
มากกว่านั้นเช้าวานนี้ (14 พ.ค.) บทบรรณาธิการในหน้า 12 ของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษที่อ้างตัวเองว่าเป็น The Newspaper You Can Trust ก็ได้หยิบประเด็นดังกล่าวขึ้นมาโจมตีสื่อเครือผู้จัดการอย่างไม่หยุดยั้ง
โดย บทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ระบุว่า การแสดงความรับผิดชอบของผู้บริหารสถานีวิทยุชุมชนเจ้าฟ้าด้วยการประกาศยุติรายการดังกล่าวยังไม่เพียงพอ เพราะ สื่อเครือผู้จัดการโดยเฉพาะเว็บไซต์ในเครือผู้จัดการยังคงเผยแพร่ความเห็นที่สุดขั้วและดันทุรัง นอกจากนี้ยังกล่าวหาด้วยว่าคอลัมน์หลายชิ้นก็นำเสนอข้อเท็จจริงแบบผิดเพี้ยน
เป็นเรื่องน่าขันที่หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษที่เคยตีพิมพ์ภาพ ‘ละครแขวนคอ’ อันเป็นหนึ่งในชนวนเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 (1) เคยเซ็นเซอร์ตัวเองด้วยความหวาดกลัวทหารในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 รวมถึงเคยไล่ ‘เป๊ปซี่’ คุณเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ อดีตหัวหน้าข่าวความมั่นคงของหนังสือพิมพ์ออกจากงานอย่างไม่เป็นธรรม (2) ยังกล้าออกมาวิพากษ์บทบาทของ สื่อเครือผู้จัดการในปัจจุบัน โดยไม่ได้ส่องกระจกดูอดีตและความประพฤติตัวเองเสียก่อน
ท่านทั้งหลายโปรดถามตัวเองเถิดว่า กรณีคุณโชติศักดิ์ ใครกำลังใช้ใคร ใครกำลังชักใย ใครกันแน่ที่กำลังบิดเบือนความจริง ใครกันแน่ที่กล้าทำแต่ไม่กล้ารับ และใครกันแน่ที่เคยประพฤติตนเป็น “ดาวสยาม”!!!
----------
อ้างอิง
(1) อ้างอิงจากบทความ “ผู้จัดการ-พันธมิตรฯ กำลังก่อกระแส ‘ละครแขวนคอ’ ยุคใหม่” โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เผยแพร่ในเดือนพฤษภาคม 2551
(2) กรณีดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2550 ศาลแรงงานกลางพิพากษาสั่งให้บางกอกโพสต์รับคุณเสริมสุขกลับเข้าทำงานโดยตำแหน่งและเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดิมโดยชี้ว่าเป็นการไล่ออกโดยไม่เป็นธรรมจากกรณีการเสนอข่าวรันเวย์สนามบินสุวรรณภูมิร้าว
แต่วันนี้ที่ผมต้องออกมาเขียนถึง คุณโชติศักดิ์ ผู้มีนิกเนมในหมู่เพื่อนฝูงว่า ‘แมมมอธ’ หรือ ‘โฉด’ และเรียกตัวเองว่าเป็นนักกิจกรรมรณรงค์ด้านประชาธิปไตยที่ออกมารณรงค์แคมเปญ “ไม่ยืนไม่ใช่อาชญากร เห็นต่างไม่ใช่อาชญากรรม (Not Standing is No Crime, Different Thinking is No Crime)” ก็อันเนื่องมาจาก ผมรู้สึกอเนจอนาถและสะอิดสะเอียนกับกระบวนการใช้เด็กหนุ่มคนหนึ่งเป็นเครื่องมือในการสนองความทะยานอยาก-ทิฐิของผู้ใหญ่ นักวิชาการ และนักการเมืองบางคนที่ต้องการให้คนส่วนใหญ่ในสังคมคิดในสิ่งที่ตนคิด เชื่อในสิ่งที่ตนเชื่อ
การตกเป็นผู้ต้องหาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของคุณโชติศักดิ์และเพื่อนจากกรณีการไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์จะไม่กลายเป็นเรื่องซับซ้อน หรือ ประเด็นทางสังคมอะไรเลย หากเขาไม่ออกมารณรงค์แคมเปญ “ไม่ยืนไม่ใช่อาชญากร เห็นต่างไม่ใช่อาชญากรรม” อีกทั้ง เครือข่ายและสื่อในเครือข่ายของเขาไม่ออกมาดำเนินการประชาสัมพันธ์เรื่องนี้ไปในวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นการทำเรื่องนี้ให้เป็นประเด็นใหญ่ เป็นประเด็นสากล ด้วยการเรียกผู้สื่อข่าวต่างประเทศมาทำข่าว หรือ การใส่เสื้อรณรงค์เรื่องดังกล่าวไปออกรายการโทรทัศน์ช่องเอ็นบีที กรมประชาสัมพันธ์ นอกจากนี้คุณโชติศักดิ์และเพื่อนเองก็อาจจะมีความได้เปรียบยิ่งขึ้นในคดีทำร้ายร่างกาย-ดูหมิ่น ที่เขาแจ้งความคู่ความจากเหตุการณ์ในโรงภาพยนตร์เสียด้วยซ้ำ
อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานการณ์ถูกพัฒนาไปเรื่อยๆ และ กลุ่มคนที่หนุนหลังคุณโชติศักดิ์เองมองว่า “การเดินหมาก” เรื่องการรณรงค์แคมเปญ “ไม่ยืนไม่ใช่อาชญากร เห็นต่างไม่ใช่อาชญากรรม” และการขยายผลประเด็นนี้ให้ไปสู่ระดับนานาชาติคงไม่สามารถลดทอนกระแสความไม่เห็นด้วยต่อ “การไม่ยืน” ของคุณโชติศักดิ์และเพื่อนให้เบาบางลงได้เท่าใดนัก ณ เวลานั้นเอง สื่อในเครือผู้จัดการซึ่งก็รวมถึง หนังสือพิมพ์ วิทยุชุมชน เว็บไซต์ และ เอเอสทีวี ที่นำเสนอข่าวสารเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมาก็ถูกหยิบขึ้นมาเป็น “เป้าแทน”
คำพูดอย่างคึกคะนองและถูกมองว่ายั่วยุอันส่อให้เกิดการทำร้ายนายโชติศักดิ์ของผู้จัดรายการวิทยุรายการหนึ่งที่ออกอากาศทางวิทยุชุมชนเจ้าฟ้า 97.75MHz ถูกหยิบยกขึ้นมาแบบ “ติเรือทั้งโกลน” โดยผู้หยิบยกกล่าวเหมาเอาว่าคำพูดดังกล่าวนั้นเป็น นโยบายของสื่อทั้งเครือผู้จัดการและเอเอสทีวี โดยในเวลาต่อมากลุ่มคนและนักวิชาการที่อยู่เบื้องหลังคุณโชติศักดิ์ได้สนับสนุนให้เกิดการเขียนบทความอย่างเช่น “ผู้จัดการ-พันธมิตรฯ กำลังก่อกระแส ‘ละครแขวนคอ’ ยุคใหม่” โดย สมศักดิ์ เจียมธีรกุล, “อย่าเดินไปสู่ 6 ตุลาคม” โดย เกษียร เตชะพีระ รวมไปถึงการรายงานข่าวอย่างต่อเนื่องของสื่อนอกกระแสอย่างเว็บไซต์ประชาไท และ ฟ้าเดียวกัน
ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการล่ารายชื่อนักวิชาการจำนวน 130 คน เพื่อประณามสื่อเครือผู้จัดการโดยมุ่งเป้าไปที่การบิดเบือนข้อเท็จจริงและพยายามที่จะทำให้ ‘สื่อเครือผู้จัดการ’ กลายเป็น ‘ดาวสยามยุคใหม่’ และ ‘วิทยุยานเกราะ’ สื่อในอดีตที่บิดเบือนข้อเท็จจริงและแสดงบทบาทขวาจัดในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 รวมไปถึงการเชื่อมโยงนักวิชาการรุ่นอาวุโสอย่าง อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ และ ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ให้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงสื่อและองค์กรสื่อ เรียกร้องให้หยุดพฤติกรรมยั่วยุ ปลุกปั่น โฆษณาชวนเชื่อและเรียกร้องรักษามาตรฐานจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
แม้ในเวลาต่อมาผู้บริหารวิทยุชุมชนเจ้าฟ้าได้ออกแถลงการณ์ขออภัยต่อกรณีการใช้คำพูดไม่เหมาะสมในการจัดรายการและแสดงความรับผิดชอบด้วยการถอดรายการดังกล่าวออกจากผัง รวมถึงสื่อในเครือผู้จัดการ-เอเอสทีวีก็ออกมายืนยันแล้วว่า บทบาทของ ‘เครือผู้จัดการ’ ในยุคปัจจุบันกับ ‘ดาวสยาม’ ในสมัย 6 ตุลาคม 2519 นั้นมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยยืนยันว่าหลักฐานและข่าวสารที่สื่อเครือผู้จัดการนำเสนอต่อกรณีคุณโชติศักดิ์และเครือข่ายของเขา รวมถึงการหมิ่นและล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ นั้นอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงและสามารถพิสูจน์ได้
ทว่า ฝ่ายที่อยู่เบื้องหลังคุณโชติศักดิ์ก็ยังไม่หยุดรุกคืบ พวกเขายังคงอาศัยเครือข่ายทางวิชาการ สื่อมวลชนและเอ็นจีโอที่มีทั้งในและนอกประเทศเพื่อปรักปรำสื่อเครือผู้จัดการต่อไป โดยเมื่อวันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเมืองของสถานทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย (หรืออีกนัยหนึ่งคือ ซีไอเอ) ได้ติดต่อเข้ามาขอพูดคุยกับผู้บริหารสถานีวิทยุชุมชนเจ้าฟ้าต่อกรณีทัศนะของสถานีต่อคุณโชติศักดิ์ ทั้งๆ ที่กรณีดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องของคนภายในประเทศแท้ๆ แต่น่าแปลกว่าทำไม สหรัฐอเมริกาจึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ นอกจากจะมี “ผู้ที่อยากปั่นเรื่องนี้เป็นประเด็นสากล” แฝงตัวอยู่เบื้องหลัง?
มากกว่านั้นเช้าวานนี้ (14 พ.ค.) บทบรรณาธิการในหน้า 12 ของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษที่อ้างตัวเองว่าเป็น The Newspaper You Can Trust ก็ได้หยิบประเด็นดังกล่าวขึ้นมาโจมตีสื่อเครือผู้จัดการอย่างไม่หยุดยั้ง
โดย บทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ระบุว่า การแสดงความรับผิดชอบของผู้บริหารสถานีวิทยุชุมชนเจ้าฟ้าด้วยการประกาศยุติรายการดังกล่าวยังไม่เพียงพอ เพราะ สื่อเครือผู้จัดการโดยเฉพาะเว็บไซต์ในเครือผู้จัดการยังคงเผยแพร่ความเห็นที่สุดขั้วและดันทุรัง นอกจากนี้ยังกล่าวหาด้วยว่าคอลัมน์หลายชิ้นก็นำเสนอข้อเท็จจริงแบบผิดเพี้ยน
เป็นเรื่องน่าขันที่หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษที่เคยตีพิมพ์ภาพ ‘ละครแขวนคอ’ อันเป็นหนึ่งในชนวนเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 (1) เคยเซ็นเซอร์ตัวเองด้วยความหวาดกลัวทหารในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 รวมถึงเคยไล่ ‘เป๊ปซี่’ คุณเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ อดีตหัวหน้าข่าวความมั่นคงของหนังสือพิมพ์ออกจากงานอย่างไม่เป็นธรรม (2) ยังกล้าออกมาวิพากษ์บทบาทของ สื่อเครือผู้จัดการในปัจจุบัน โดยไม่ได้ส่องกระจกดูอดีตและความประพฤติตัวเองเสียก่อน
ท่านทั้งหลายโปรดถามตัวเองเถิดว่า กรณีคุณโชติศักดิ์ ใครกำลังใช้ใคร ใครกำลังชักใย ใครกันแน่ที่กำลังบิดเบือนความจริง ใครกันแน่ที่กล้าทำแต่ไม่กล้ารับ และใครกันแน่ที่เคยประพฤติตนเป็น “ดาวสยาม”!!!
----------
อ้างอิง
(1) อ้างอิงจากบทความ “ผู้จัดการ-พันธมิตรฯ กำลังก่อกระแส ‘ละครแขวนคอ’ ยุคใหม่” โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เผยแพร่ในเดือนพฤษภาคม 2551
(2) กรณีดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2550 ศาลแรงงานกลางพิพากษาสั่งให้บางกอกโพสต์รับคุณเสริมสุขกลับเข้าทำงานโดยตำแหน่งและเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดิมโดยชี้ว่าเป็นการไล่ออกโดยไม่เป็นธรรมจากกรณีการเสนอข่าวรันเวย์สนามบินสุวรรณภูมิร้าว