ดร.สุวินัย ภรณวลัย
www.suvinai-dragon.com
6. จอมคนของหวงอี้ (ต่อ)
คนที่เป็น ผู้กล้าทั้งผอง ยามเห็นบ้านเมืองเป็นแบบนี้ มันทำให้สะท้อนสะท้านหัวใจเป็นยิ่งนัก แต่ ผู้กล้าทั้งหลาย ก็ไม่ควรมองโลกในแง่ร้ายเกินไปนัก เรื่องราวขึ้นอยู่กับการกระทำของคน แต่ความสำเร็จบั้นปลายฟ้าเป็นคนลิขิต ไม่ว่าเรื่องราววิกฤตอันใด สมควรมีทางออกของมันเสมอ จงอย่าได้วิตกกังวลจนเกินไปเลย
พวกเรา เหล่าผู้กล้าทั้งแผ่นดิน เพียงรอช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อออกไปปฏิบัติการให้ลือลั่นอีกครั้งเหมือนเช่นปลายปี 2548 ถึงต้นปี 2549 ผู้กล้าทุกคน ย่อมมีปณิธานอันยิ่งใหญ่ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ยอมปล่อยให้ชีวิตสูญเปล่า และไม่ยินยอมให้เวลาผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์เป็นอันขาด
ยามอยู่ในสภาพบ้านเมืองที่ “มองไม่เห็นทิศทางที่จะไป และไม่มีที่เหนี่ยวยึด” คนที่เป็น ผู้กล้าที่แท้จริง จะมุ่งสู่ วิถี (เต๋า) ยึดถือ สิถี เป็นสรณะ และมอบตัวตนทั้งหมดของตนให้แก่ วิถี
เขาผู้นั้นพึงทำจิตใจให้กระจ่างแจ่มใสอยู่เสมอ และพึงมีใบหน้าที่สงบราวน้ำนิ่งอยู่เป็นนิจ อารมณ์และจิตใจของเขาผู้นั้น ควรหลอมละลายจนเป็นเหมือนน้ำในบ่อที่ปราศจากความคิด ไร้สิ่งยึดติดในจิตใจ สามารถมองออกจากตัวเองอย่างไร้อารมณ์ในการพิจารณาสรรพสิ่ง เพียงแค่สะท้อนความเป็นจริงของสรรพสิ่งในเอกภพออกมาเท่านั้น
หากมีโอกาส เขาผู้นั้นควรหาเวลาไปยืนอยู่ในสถานที่ที่มีธรรมชาติ ที่มีลักษณะกระบวนการในการไหลอย่างมีชีวิตชีวา เช่น ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในห้วงยามนั้น เขาผู้นั้นจะเห็นแม่น้ำ เห็นเรือ เห็นผู้คน เห็นการขับเคลื่อนของฟ้าดินที่ชีวิตน้อยๆ ของเขาผู้นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของมัน
ถ้าหากเขาผู้นั้นสามารถแลเห็นตัวเขาผู้ที่กำลังยืนดูแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่บริเวณท่าพระจันทร์ บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่กลายเป็นสวนหย่อมอันงดงาม โดยเห็นตัวเขาเป็นส่วนหนึ่งของ “ภาพ” นี้อยู่ ห้วงยามนั้นแหละคือ จิตแห่งจันทร์ในบ่อ แล้ว
เพราะ จิตแห่งจันทร์ในบ่อ ก็คือ ไม่ว่าเขาผู้นั้นจะอยู่ที่ไหน เขาผู้นั้นจะหล่อหลอมรวมสมาธิจิตใจ และลมปราณของเขาเข้าด้วยกันเสมอ ให้อยู่ในระดับเงาจันทร์ในบ่อน้ำ ที่รักษาความเยือกเย็น อารมณ์เป็นหนึ่งเดียวไม่ผันผวน ในยามนั้น เวลาจะดูเหมือนหยุดนิ่งอยู่ชั่วขณะ จนภาพที่เขาผู้นั้นเห็นมันเหมือนกับภาพวาดผืนใหญ่ที่ตัวเขาก็เป็นส่วนหนึ่งในภาพวาดผืนใหญ่นั้น ตัวเขาผู้นั้น กลมกลืนกับสรรพสิ่งที่อยู่เบื้องหน้า และตระหนักรู้เช่นนี้ได้ด้วยสภาวะจิตที่กระจ่างแจ่มใส
จากนั้น เขาผู้นั้นพึง หลอมรวมจิตสมาธิ ลมปราณเข้ากับประสบการณ์ความคิดใหม่ที่เขาผู้นั้นได้เรียนรู้เพิ่มเติมในแต่ละวันเข้าด้วยกันให้มันกลายเป็นพลังสร้างสรรค์ราวกับไม่มีวันหมดสิ้นของเขาผู้นั้น นอกจากนี้ ไม่ว่าเขาผู้นั้นจะเดินเหินหรือนั่งนอน หรืออยู่ในอิริยาบถใด เขาผู้นั้นก็ควรหมั่นฝึกสมาธิจิต และลมปราณอยู่เสมอ เพราะ การพากเพียรฝึกจิต เป็นประจำ เป็นเคล็ดลับที่สำคัญของผู้ที่เป็น จอมคน โดยการฝึกจิตตามเคล็ดจันทร์ในบ่อ เขาผู้นั้นจักกลายเป็นผู้ที่มี ความตระหนักรู้ ยิ่งขึ้นในแต่ละห้วงขณะ ความตระหนักรู้หรือความรู้สึกตัวในทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน อย่างมีสติทุกลมหายใจเข้า-ออก
พระพุทธองค์ทรงเคยตรัสว่า สำหรับผู้ที่ตระหนักรู้หรือรู้สึกตัวจนตื่นรู้แล้วนั้น จะเป็น มนุษย์ที่แท้ ที่ไม่แสดงอาการขึ้นๆ ลงๆ กับความผันผวนของชีวิต และความผันผวนของเหตุการณ์บ้านเมือง เพราะเขาผู้นั้นจะเพียงแค่ “เฝ้าดู” ความเป็นไปของชีวิต และของบ้านเมืองอย่างรู้เท่าทันเหมือนใครสักคนยืนมองสายน้ำที่ไหลไปด้วยความรื่นรมย์อยู่บนฝั่ง
ผู้ที่สนใจจะฝึกจิตตามเคล็ดจันทร์ในบ่อข้างต้น ควรหาโอกาสศึกษา คัมภีร์วัชรปรัชญาปารมิตสูตร ด้วย ข้อความตอนหนึ่งในคัมภีร์เล่มนี้ กล่าวไว้ว่า
“สรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นประเภทใด...เราจักต้องนำพาพวกเขาทั้งหมดให้บรรลุนิพพานได้วิมุตติให้จงได้ แต่เมื่อเรานำพาสรรพสัตว์จำนวนนับไม่ถ้วนเหล่านี้ไปสู่ความหลุดพ้นแล้ว เราจะไม่คิดว่าเราได้นำพาสัตว์ใดๆ ไปสู่ความหลุดพ้นเลย”
นี่คือข้อความที่บ่งบอกถึง จิตปณิธานของโพธิสัตว์ที่แท้จริง และเป็นเงื่อนไขหลักของการจะได้เป็น โพธิสัตว์ ของคัมภีร์เล่มนี้
โพธิสัตว์ คือผู้ที่ตื่นแล้ว และเป็นผู้ที่ฝึกฝนตนเองตลอดชีวิต เพื่อประจักษ์ในความรู้แจ้งแห่งความเป็นพุทธะที่ดำรงอยู่ในตนอย่างสมบูรณ์พร้อมอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว
เมื่อใดก็ตามที่จิตปณิธานนี้ถูกนำไป บูรณาการ กับ หลักการของอนัตตา หรือ หลักแห่งสุญตา แล้ว บุคคลผู้นั้นย่อมออกไปช่วยสรรพสัตว์ ย่อมลุกขึ้นมากอบกู้บ้านเมืองอย่างทันที อย่างเด็ดเดี่ยว อย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง และอย่างเป็นธรรมชาติดุจลมหายใจเข้า-ออก
หน้าที่ของ ผู้กล้า ผู้อยู่บน วิถีแห่งโพธิสัตว์ จึงอยู่ที่การฝึกฝนตนเอง จนกระทั่ง “รูปลักษณ์” ทั้งหลายไม่อาจหลอกลวงเขาผู้นั้นได้อีกต่อไป จนกระทั่งเขาผู้นั้นเกิดปัญญาญาณแลเห็นความเป็นพุทธะ ความเป็นตถาคต ว่ามิได้อยู่ที่รูปลักษณะหรือรูปแบบใดๆ แต่อยู่ที่ธรรมชาติที่แท้จริงของชีวิต ของปัญญา ของความรัก ของความสุขสงบซึ่งสามารถค้นพบได้ภายในตัวของคนเราทุกคน
ใครก็ตามที่สามารถเข้าใจถึงความลึกล้ำของคัมภีร์วัชรปรัชญาปารมิตาสูตรเล่มนี้ได้ จะต้องถือว่าบุคคลผู้นั้นมีคุณสมบัติที่หาได้ยากยิ่ง
หากลำพังบำเพ็ญแต่ปัญญาเรียกว่า โพธิ หากลำพังบำเพ็ญแต่บุญ เรียกว่า สัตว์ ซึ่งยังคงต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ เพราะฉะนั้นผู้ที่บำเพ็ญพร้อมทั้งบุญและปัญญา จึงได้ชื่อว่า โพธิสัตว์ ซึ่งเป็นผู้ที่มุ่งทำให้ทั้งตนและผู้อื่นทั้งปวงรู้แจ้งด้วยดุจเดียวกัน
โพธิสัตว์ คือผู้ที่มีจิตใจกว้างใหญ่ แต่กลับไร้ตัวตน ผู้ที่ยังยึดติดในตัวตน บุคคล สิ่งของ และชีวิต จึงยังไม่ใช่โพธิสัตว์ที่แท้ ต่อให้เขาผู้นั้นทำการโปรดสัตว์ จุด “เทียนแห่งธรรม” ให้ปัญญาผู้คนมากมายเพียงไหน แต่เขาผู้นั้นกลับตระหนักว่า แท้จริงแล้วหาได้มีผู้คนใดที่ได้รับปัญญาจากเขาไม่ เพราะทุกคนต่างมี โพธิจิต ดุจเดียวกัน ธรรมในจิต ของแต่ละคนต่างหากที่สอนคนผู้นั้น หาใช่ใครหรือบุคคลใดที่มาสั่งสอนไม่
ทานบารมี ของโพธิสัตว์ คือ ธรรมทาน
ศีลบารมี ของโพธิสัตว์ คือ การมีวินัยในการฝึกฝนตน
ขันติบารมี ของโพธิสัตว์ คือ ความอดกลั้นให้อภัย
วิริยะบารมี ของโพธิสัตว์ คือ ความพากเพียรในภารกิจศักดิ์สิทธิ์ของตนอย่างไม่ย่อท้อ
ฌานบารมี ของโพธิสัตว์ คือ สมาธิในความเคลื่อนไหว
ปัญญาบารมี ของโพธิสัตว์ คือ การเรียนรู้ในทุกเรื่อง ที่จำเป็นต่อการทำให้ตัวเอง และผู้คนทั้งหลายรู้แจ้ง
บาปที่ยิ่งใหญ่เทียมฟ้า คือการที่ทำความเลวทรามต่ำช้าแค่ไหนก็ยังไม่สำนึก
หลักธรรมอันสูงล้ำ กลับสามัญคือมีแค่ ศรัทธาโดยบริสุทธิ์ใจ ผู้ใดก็ตามที่ได้ศึกษาคัมภีร์วัชรปรัชญาปารมิตาสูตรนี้จนบังเกิดความศรัทธาบริสุทธิ์ขึ้นมา จงรู้ไว้ด้วยเถิดว่า บุคคลผู้นั้นเป็นผู้มีบารมีที่มีรากบุญอันลึกซึ้ง จึงทำให้มีศรัทธามั่นคงในธรรมะนี้ได้ จนตัดสินใจบำเพ็ญธรรมอย่างไม่ย่อท้อ
แต่ พุทธะไม่อาจเห็น ธรรมไม่อาจยึดติด ปุถุชนมักจะคิดว่า “ต้องมีสิ่งที่ได้ จึงจะเรียกว่าได้ ต้องมีธรรมที่ได้รับ จึงจะเรียกว่าธรรม” โดยหารู้ไม่ว่า ธรรม ที่แท้นั้น ไม่อาจเปรียบ ไม่อาจเห็น เป็นสิ่งที่มิอาจประมาณโดยรูปลักษณ์วัตถุ
ในเมื่อเป็นสิ่งที่ไม่อาจเปรียบ ไม่อาจเห็นได้แล้ว ไยยังมี
สิ่งใดให้ได้กันอีก?
คนฉลาดบางคนอาจบอกว่า สามารถได้ด้วยใจ แต่การที่ได้ด้วยใจนั้น แท้จริงก็ยังเป็น อัตตาทิฐิ ที่มองไม่เห็นอีกรูปแบบหนึ่งอยู่ดี และสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เรียกได้ว่า เป็น ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม ซึ่งหมายถึงสิ่งซึ่งกีดขวางทำให้คนเราเข้าถึงพุทธธรรมไม่ได้ ทั้งๆที่ผู้นั้นก็มีความภักดีต่อพุทธธรรมอย่างเต็มที่อยู่เสมอ
ภูเขาแห่ง “เรื่องราว” นั้นกั้นปุถุชน แต่ภูเขาแห่ง “ธรรม” นั้น กั้นโพธิสัตว์ พระพุทธองค์สอน บทธรรมแบบตื้น เพื่อขัดเกลาเวไนยสัตว์ แต่ทรงสอน บทธรรมแบบลึก เพื่อปลุกแจ้งโพธิสัตว์ไม่ให้ยึดติดใน “ธรรมอัตตา” จะได้เห็นแจ้งว่า
อันว่าพุทธธรรม ที่แท้มิใช่พุทธธรรม พุทธธรรมในประโยคแรกหมายถึง อสังขตธรรม (สิ่งที่เกิดขึ้นโดยปราศจากการปรุงแต่ง) ส่วนพุทธธรรมในประโยคหลังหมายถึง ไม่มีธรรมที่จะกล่าว หรือก็คือ ใจที่ผสมกลมกลืนกันเป็นหนึ่ง มิใช่ทั้งพุทธ และมิใช่ทั้งธรรม
การฝึกปฏิบัติธรรมตามคัมภีร์วัชรปรัชญาปารมิตาสูตรเล่มนี้ จักทำให้ผู้นั้นสำเร็จในธรรมอันหาได้ยากยิ่ง เพราะภายในพระสูตรนี้ ได้แฝงด้วย อนุตตรโพธิธรรม ซึ่งหากผู้ใดสามารถรับไปปฏิบัติด้วยความศรัทธาจริงแล้ว ก็จักแจ่มแจ้งใน หลักธรรมแห่งการไร้ลักษณ์ ไร้ดำรง จนในที่สุดบังเกิดปัญญาญาณอันสุกสว่างที่มีความคมแกร่งดุจวัชระ
ปัญญาหรือปรัชญานี้คือ ปรัชญาแห่งธรรมญาณ ที่ผู้ศึกษาคัมภีร์เล่มนี้พึงตระหนักเพื่อทำลายความยึดติดในลักษณะแห่งนามของพระสูตรเล่มนี้ว่า
“ปรัชญาปารมิตา มิใช่ปรัชญาปารมิตา เป็นเพียงแค่อาศัยนามว่าปรัชญาปารมิตามาใช้เท่านั้นเอง”
ปวงธรรมทั้งปวงแห่งพุทธธรรมนั้น ดำรงอยู่และมีไว้เพื่อขจัดใจทั้งปวงที่ยึดติด แต่หาก ไร้ใจ ทั้งปวงแล้ว ไยต้องใช้ธรรมทั้งปวงอีก? ธรรมทั้งปวงล้วนเป็นนามบัญญัติของ ความว่าง ทั้งสิ้น (ยังมีต่อ)
www.suvinai-dragon.com
6. จอมคนของหวงอี้ (ต่อ)
คนที่เป็น ผู้กล้าทั้งผอง ยามเห็นบ้านเมืองเป็นแบบนี้ มันทำให้สะท้อนสะท้านหัวใจเป็นยิ่งนัก แต่ ผู้กล้าทั้งหลาย ก็ไม่ควรมองโลกในแง่ร้ายเกินไปนัก เรื่องราวขึ้นอยู่กับการกระทำของคน แต่ความสำเร็จบั้นปลายฟ้าเป็นคนลิขิต ไม่ว่าเรื่องราววิกฤตอันใด สมควรมีทางออกของมันเสมอ จงอย่าได้วิตกกังวลจนเกินไปเลย
พวกเรา เหล่าผู้กล้าทั้งแผ่นดิน เพียงรอช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อออกไปปฏิบัติการให้ลือลั่นอีกครั้งเหมือนเช่นปลายปี 2548 ถึงต้นปี 2549 ผู้กล้าทุกคน ย่อมมีปณิธานอันยิ่งใหญ่ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ยอมปล่อยให้ชีวิตสูญเปล่า และไม่ยินยอมให้เวลาผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์เป็นอันขาด
ยามอยู่ในสภาพบ้านเมืองที่ “มองไม่เห็นทิศทางที่จะไป และไม่มีที่เหนี่ยวยึด” คนที่เป็น ผู้กล้าที่แท้จริง จะมุ่งสู่ วิถี (เต๋า) ยึดถือ สิถี เป็นสรณะ และมอบตัวตนทั้งหมดของตนให้แก่ วิถี
เขาผู้นั้นพึงทำจิตใจให้กระจ่างแจ่มใสอยู่เสมอ และพึงมีใบหน้าที่สงบราวน้ำนิ่งอยู่เป็นนิจ อารมณ์และจิตใจของเขาผู้นั้น ควรหลอมละลายจนเป็นเหมือนน้ำในบ่อที่ปราศจากความคิด ไร้สิ่งยึดติดในจิตใจ สามารถมองออกจากตัวเองอย่างไร้อารมณ์ในการพิจารณาสรรพสิ่ง เพียงแค่สะท้อนความเป็นจริงของสรรพสิ่งในเอกภพออกมาเท่านั้น
หากมีโอกาส เขาผู้นั้นควรหาเวลาไปยืนอยู่ในสถานที่ที่มีธรรมชาติ ที่มีลักษณะกระบวนการในการไหลอย่างมีชีวิตชีวา เช่น ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในห้วงยามนั้น เขาผู้นั้นจะเห็นแม่น้ำ เห็นเรือ เห็นผู้คน เห็นการขับเคลื่อนของฟ้าดินที่ชีวิตน้อยๆ ของเขาผู้นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของมัน
ถ้าหากเขาผู้นั้นสามารถแลเห็นตัวเขาผู้ที่กำลังยืนดูแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่บริเวณท่าพระจันทร์ บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่กลายเป็นสวนหย่อมอันงดงาม โดยเห็นตัวเขาเป็นส่วนหนึ่งของ “ภาพ” นี้อยู่ ห้วงยามนั้นแหละคือ จิตแห่งจันทร์ในบ่อ แล้ว
เพราะ จิตแห่งจันทร์ในบ่อ ก็คือ ไม่ว่าเขาผู้นั้นจะอยู่ที่ไหน เขาผู้นั้นจะหล่อหลอมรวมสมาธิจิตใจ และลมปราณของเขาเข้าด้วยกันเสมอ ให้อยู่ในระดับเงาจันทร์ในบ่อน้ำ ที่รักษาความเยือกเย็น อารมณ์เป็นหนึ่งเดียวไม่ผันผวน ในยามนั้น เวลาจะดูเหมือนหยุดนิ่งอยู่ชั่วขณะ จนภาพที่เขาผู้นั้นเห็นมันเหมือนกับภาพวาดผืนใหญ่ที่ตัวเขาก็เป็นส่วนหนึ่งในภาพวาดผืนใหญ่นั้น ตัวเขาผู้นั้น กลมกลืนกับสรรพสิ่งที่อยู่เบื้องหน้า และตระหนักรู้เช่นนี้ได้ด้วยสภาวะจิตที่กระจ่างแจ่มใส
จากนั้น เขาผู้นั้นพึง หลอมรวมจิตสมาธิ ลมปราณเข้ากับประสบการณ์ความคิดใหม่ที่เขาผู้นั้นได้เรียนรู้เพิ่มเติมในแต่ละวันเข้าด้วยกันให้มันกลายเป็นพลังสร้างสรรค์ราวกับไม่มีวันหมดสิ้นของเขาผู้นั้น นอกจากนี้ ไม่ว่าเขาผู้นั้นจะเดินเหินหรือนั่งนอน หรืออยู่ในอิริยาบถใด เขาผู้นั้นก็ควรหมั่นฝึกสมาธิจิต และลมปราณอยู่เสมอ เพราะ การพากเพียรฝึกจิต เป็นประจำ เป็นเคล็ดลับที่สำคัญของผู้ที่เป็น จอมคน โดยการฝึกจิตตามเคล็ดจันทร์ในบ่อ เขาผู้นั้นจักกลายเป็นผู้ที่มี ความตระหนักรู้ ยิ่งขึ้นในแต่ละห้วงขณะ ความตระหนักรู้หรือความรู้สึกตัวในทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน อย่างมีสติทุกลมหายใจเข้า-ออก
พระพุทธองค์ทรงเคยตรัสว่า สำหรับผู้ที่ตระหนักรู้หรือรู้สึกตัวจนตื่นรู้แล้วนั้น จะเป็น มนุษย์ที่แท้ ที่ไม่แสดงอาการขึ้นๆ ลงๆ กับความผันผวนของชีวิต และความผันผวนของเหตุการณ์บ้านเมือง เพราะเขาผู้นั้นจะเพียงแค่ “เฝ้าดู” ความเป็นไปของชีวิต และของบ้านเมืองอย่างรู้เท่าทันเหมือนใครสักคนยืนมองสายน้ำที่ไหลไปด้วยความรื่นรมย์อยู่บนฝั่ง
ผู้ที่สนใจจะฝึกจิตตามเคล็ดจันทร์ในบ่อข้างต้น ควรหาโอกาสศึกษา คัมภีร์วัชรปรัชญาปารมิตสูตร ด้วย ข้อความตอนหนึ่งในคัมภีร์เล่มนี้ กล่าวไว้ว่า
“สรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นประเภทใด...เราจักต้องนำพาพวกเขาทั้งหมดให้บรรลุนิพพานได้วิมุตติให้จงได้ แต่เมื่อเรานำพาสรรพสัตว์จำนวนนับไม่ถ้วนเหล่านี้ไปสู่ความหลุดพ้นแล้ว เราจะไม่คิดว่าเราได้นำพาสัตว์ใดๆ ไปสู่ความหลุดพ้นเลย”
นี่คือข้อความที่บ่งบอกถึง จิตปณิธานของโพธิสัตว์ที่แท้จริง และเป็นเงื่อนไขหลักของการจะได้เป็น โพธิสัตว์ ของคัมภีร์เล่มนี้
โพธิสัตว์ คือผู้ที่ตื่นแล้ว และเป็นผู้ที่ฝึกฝนตนเองตลอดชีวิต เพื่อประจักษ์ในความรู้แจ้งแห่งความเป็นพุทธะที่ดำรงอยู่ในตนอย่างสมบูรณ์พร้อมอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว
เมื่อใดก็ตามที่จิตปณิธานนี้ถูกนำไป บูรณาการ กับ หลักการของอนัตตา หรือ หลักแห่งสุญตา แล้ว บุคคลผู้นั้นย่อมออกไปช่วยสรรพสัตว์ ย่อมลุกขึ้นมากอบกู้บ้านเมืองอย่างทันที อย่างเด็ดเดี่ยว อย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง และอย่างเป็นธรรมชาติดุจลมหายใจเข้า-ออก
หน้าที่ของ ผู้กล้า ผู้อยู่บน วิถีแห่งโพธิสัตว์ จึงอยู่ที่การฝึกฝนตนเอง จนกระทั่ง “รูปลักษณ์” ทั้งหลายไม่อาจหลอกลวงเขาผู้นั้นได้อีกต่อไป จนกระทั่งเขาผู้นั้นเกิดปัญญาญาณแลเห็นความเป็นพุทธะ ความเป็นตถาคต ว่ามิได้อยู่ที่รูปลักษณะหรือรูปแบบใดๆ แต่อยู่ที่ธรรมชาติที่แท้จริงของชีวิต ของปัญญา ของความรัก ของความสุขสงบซึ่งสามารถค้นพบได้ภายในตัวของคนเราทุกคน
ใครก็ตามที่สามารถเข้าใจถึงความลึกล้ำของคัมภีร์วัชรปรัชญาปารมิตาสูตรเล่มนี้ได้ จะต้องถือว่าบุคคลผู้นั้นมีคุณสมบัติที่หาได้ยากยิ่ง
หากลำพังบำเพ็ญแต่ปัญญาเรียกว่า โพธิ หากลำพังบำเพ็ญแต่บุญ เรียกว่า สัตว์ ซึ่งยังคงต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ เพราะฉะนั้นผู้ที่บำเพ็ญพร้อมทั้งบุญและปัญญา จึงได้ชื่อว่า โพธิสัตว์ ซึ่งเป็นผู้ที่มุ่งทำให้ทั้งตนและผู้อื่นทั้งปวงรู้แจ้งด้วยดุจเดียวกัน
โพธิสัตว์ คือผู้ที่มีจิตใจกว้างใหญ่ แต่กลับไร้ตัวตน ผู้ที่ยังยึดติดในตัวตน บุคคล สิ่งของ และชีวิต จึงยังไม่ใช่โพธิสัตว์ที่แท้ ต่อให้เขาผู้นั้นทำการโปรดสัตว์ จุด “เทียนแห่งธรรม” ให้ปัญญาผู้คนมากมายเพียงไหน แต่เขาผู้นั้นกลับตระหนักว่า แท้จริงแล้วหาได้มีผู้คนใดที่ได้รับปัญญาจากเขาไม่ เพราะทุกคนต่างมี โพธิจิต ดุจเดียวกัน ธรรมในจิต ของแต่ละคนต่างหากที่สอนคนผู้นั้น หาใช่ใครหรือบุคคลใดที่มาสั่งสอนไม่
ทานบารมี ของโพธิสัตว์ คือ ธรรมทาน
ศีลบารมี ของโพธิสัตว์ คือ การมีวินัยในการฝึกฝนตน
ขันติบารมี ของโพธิสัตว์ คือ ความอดกลั้นให้อภัย
วิริยะบารมี ของโพธิสัตว์ คือ ความพากเพียรในภารกิจศักดิ์สิทธิ์ของตนอย่างไม่ย่อท้อ
ฌานบารมี ของโพธิสัตว์ คือ สมาธิในความเคลื่อนไหว
ปัญญาบารมี ของโพธิสัตว์ คือ การเรียนรู้ในทุกเรื่อง ที่จำเป็นต่อการทำให้ตัวเอง และผู้คนทั้งหลายรู้แจ้ง
บาปที่ยิ่งใหญ่เทียมฟ้า คือการที่ทำความเลวทรามต่ำช้าแค่ไหนก็ยังไม่สำนึก
หลักธรรมอันสูงล้ำ กลับสามัญคือมีแค่ ศรัทธาโดยบริสุทธิ์ใจ ผู้ใดก็ตามที่ได้ศึกษาคัมภีร์วัชรปรัชญาปารมิตาสูตรนี้จนบังเกิดความศรัทธาบริสุทธิ์ขึ้นมา จงรู้ไว้ด้วยเถิดว่า บุคคลผู้นั้นเป็นผู้มีบารมีที่มีรากบุญอันลึกซึ้ง จึงทำให้มีศรัทธามั่นคงในธรรมะนี้ได้ จนตัดสินใจบำเพ็ญธรรมอย่างไม่ย่อท้อ
แต่ พุทธะไม่อาจเห็น ธรรมไม่อาจยึดติด ปุถุชนมักจะคิดว่า “ต้องมีสิ่งที่ได้ จึงจะเรียกว่าได้ ต้องมีธรรมที่ได้รับ จึงจะเรียกว่าธรรม” โดยหารู้ไม่ว่า ธรรม ที่แท้นั้น ไม่อาจเปรียบ ไม่อาจเห็น เป็นสิ่งที่มิอาจประมาณโดยรูปลักษณ์วัตถุ
ในเมื่อเป็นสิ่งที่ไม่อาจเปรียบ ไม่อาจเห็นได้แล้ว ไยยังมี
สิ่งใดให้ได้กันอีก?
คนฉลาดบางคนอาจบอกว่า สามารถได้ด้วยใจ แต่การที่ได้ด้วยใจนั้น แท้จริงก็ยังเป็น อัตตาทิฐิ ที่มองไม่เห็นอีกรูปแบบหนึ่งอยู่ดี และสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เรียกได้ว่า เป็น ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม ซึ่งหมายถึงสิ่งซึ่งกีดขวางทำให้คนเราเข้าถึงพุทธธรรมไม่ได้ ทั้งๆที่ผู้นั้นก็มีความภักดีต่อพุทธธรรมอย่างเต็มที่อยู่เสมอ
ภูเขาแห่ง “เรื่องราว” นั้นกั้นปุถุชน แต่ภูเขาแห่ง “ธรรม” นั้น กั้นโพธิสัตว์ พระพุทธองค์สอน บทธรรมแบบตื้น เพื่อขัดเกลาเวไนยสัตว์ แต่ทรงสอน บทธรรมแบบลึก เพื่อปลุกแจ้งโพธิสัตว์ไม่ให้ยึดติดใน “ธรรมอัตตา” จะได้เห็นแจ้งว่า
อันว่าพุทธธรรม ที่แท้มิใช่พุทธธรรม พุทธธรรมในประโยคแรกหมายถึง อสังขตธรรม (สิ่งที่เกิดขึ้นโดยปราศจากการปรุงแต่ง) ส่วนพุทธธรรมในประโยคหลังหมายถึง ไม่มีธรรมที่จะกล่าว หรือก็คือ ใจที่ผสมกลมกลืนกันเป็นหนึ่ง มิใช่ทั้งพุทธ และมิใช่ทั้งธรรม
การฝึกปฏิบัติธรรมตามคัมภีร์วัชรปรัชญาปารมิตาสูตรเล่มนี้ จักทำให้ผู้นั้นสำเร็จในธรรมอันหาได้ยากยิ่ง เพราะภายในพระสูตรนี้ ได้แฝงด้วย อนุตตรโพธิธรรม ซึ่งหากผู้ใดสามารถรับไปปฏิบัติด้วยความศรัทธาจริงแล้ว ก็จักแจ่มแจ้งใน หลักธรรมแห่งการไร้ลักษณ์ ไร้ดำรง จนในที่สุดบังเกิดปัญญาญาณอันสุกสว่างที่มีความคมแกร่งดุจวัชระ
ปัญญาหรือปรัชญานี้คือ ปรัชญาแห่งธรรมญาณ ที่ผู้ศึกษาคัมภีร์เล่มนี้พึงตระหนักเพื่อทำลายความยึดติดในลักษณะแห่งนามของพระสูตรเล่มนี้ว่า
“ปรัชญาปารมิตา มิใช่ปรัชญาปารมิตา เป็นเพียงแค่อาศัยนามว่าปรัชญาปารมิตามาใช้เท่านั้นเอง”
ปวงธรรมทั้งปวงแห่งพุทธธรรมนั้น ดำรงอยู่และมีไว้เพื่อขจัดใจทั้งปวงที่ยึดติด แต่หาก ไร้ใจ ทั้งปวงแล้ว ไยต้องใช้ธรรมทั้งปวงอีก? ธรรมทั้งปวงล้วนเป็นนามบัญญัติของ ความว่าง ทั้งสิ้น (ยังมีต่อ)