ในน้ำมีปลาในนามีข้าว แผ่นดินของเรา นี่แสนอุดมสมบูรณ์
บ้านเมืองราบคาบ ด้วยอานุภาพพ่อขุน รามคำแหงค้ำจุน ให้ชาติไทยไพศาล
สร้างทำนาไร่ ทั่วแคว้นแดนไทย เราไถเราหว่าน
หมากม่วงหมากขาม พืชผลต่างๆ ล้วนงามตระการ
สร้างบ้านแปงเมือง ให้เกียรติไทยลือเลื่อง ไปทั่วทุกถิ่นฐาน
จูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ปวงราษฎร์ทั้งหลาย ได้อยู่เป็นสุขสราญ...
ผมเชื่อว่าคนไทยทุกคนต้องจำท่อนขึ้นต้นของเพลงในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ที่แต่งคำร้องโดย พลตรีหลวงวิจิตรวาทการกันได้ เพราะแต่ไหนแต่ไรมาดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิหรือประเทศไทยในปัจจุบันนั้นถือเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เป็นแหล่งเพาะปลูกแหล่งทำการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
ที่ผมนึกถึงเพลงในน้ำมีปลา ในนามีข้าวขึ้นมาก็เพราะวานนี้ ขณะที่เดินเข้าร้านสะดวกซื้อบริเวณที่ทำงาน ผมพบเห็นพนักงานของร้านกำลังขะมักเขม้นจัดวางข้าวถุงอยู่ด้านหน้าของร้าน โดยตั้งใจวางไว้ในที่สะดุดตาคือบริเวณแผงขายหนังสือ คล้ายมีนัยบอกว่า “ร้านนี้มีข้าวถุงขายนะจ๊ะ!”
สาเหตุที่คนไทยหันมาสนใจเรื่องราคาข้าวกันมากก็เพราะ ในช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ สื่อมวลชนไทยทุกแขนงหันมาให้ความสนใจและแย่งชิงกันนำเสนอประเด็นเรื่อง ‘ราคาข้าว’ มากเป็นพิเศษ โดยนำเสนอข่าวในประเด็นที่ว่าราคาข้าวในตลาดโลกพุ่งขึ้นสูงมาก โดยที่ประเทศฟิลิปปินส์นั้นมีการเปิดประมูลข้าวโดยข้าวไทยขายได้ราคาสูงกว่า 950 เหรียญสหรัฐต่อตัน และมีแนวโน้มว่าในระยะเวลาอันสั้นราคาข้าวอาจปรับขึ้นไปเฉียด 1,400-1,500 เหรียญสหรัฐต่อตัน ส่วนข้าวสารที่ขายกันในประเทศนั้นก็ราคาพุ่งขึ้นเร็วมาก โดยภายในระยะเวลาเพียง 3 เดือนราคาข้าวพุ่งขึ้นไปถึงเท่าตัว อย่างเช่นต้นเดือน ม.ค. 2551 ราคาข้าวขาว100% ชั้น 1 ข้าวใหม่อยู่ที่ 1,350-1,360 บาทต่อ100 กิโลกรัม ผ่านมาถึงต้นเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ราคาข้าวขาว 100% ชั้น 1 ข้าวใหม่พุ่งขึ้นมาอยู่ที่ 2,750-2,755 บาทต่อ100 กิโลกรัม ขณะที่ราคาขายปลีกข้าวบรรจุถุง 5 กก. ข้าวถุงหอมมะลิเฉลี่ยอยู่ที่ถุงละ 190-195 บาท ส่วนข้าวขาวอยู่ที่ถุงละ 170-180 บาท
การเพิ่มขึ้นของราคาข้าวดังกล่าวส่งผลให้พ่อค้าคนกลาง-พ่อค้าส่งออกหันมากักตุนข้าวเอาไว้ไม่ยอมนำออกมาจำหน่าย ขณะที่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมาคนต่างจังหวัดที่เดินทางเข้ามาทำงานในเมืองกรุงพอได้โอกาสกลับบ้าน เมื่อสิ้นสุดเทศกาลสงกรานต์ก็แบกข้าวกลับมากินกันคนละกระสอบสองกระสอบ ส่วนคนเมืองที่บริโภคข้าวถุง-ข้าวถังต่างก็ตื่นกับข่าวข้าวแพง จนต้องรีบไปตามห้าง รวมถึงร้านค้าต่างๆ เพื่อกว้านซื้อข้าวสารเก็บเอาไว้เพราะเกรงกลัวว่าราคาข้าวสารจะพุ่งสูงขึ้นไปกว่านี้
เมื่อเกิดภาวะดังกล่าวขึ้น สื่อมวลชนหลายเจ้าก็หันมานำเสนอข่าวดังกล่าวอย่างเกินเลย เหมือนกระต่ายตื่นตูมโดยใช้ศัพท์แสงเพื่อนำเสนอในทำนองที่ว่า คนไทยกำลังเผชิญกับ ‘วิกฤตอาหาร (Food Crisis)’ หรือที่สื่อต่างประเทศเรียกว่า ‘สึนามิเงียบ (Silent Tsunami)’ ไปโน่น ขณะที่สื่อมวลชนบางส่วนก็เชิญนักวิชาการมาให้ทัศนะแล้วเชื่อมโยงประเด็นวิกฤตการขาดแคลนอาหารในระดับโลกเข้ากับปัญหาโลกร้อน (Global Warming) และวิเคราะห์กันอย่างเป็นตุเป็นตะ
พูดตามตรง เห็นอย่างนี้แล้วทำเอาผมอดหวนกลับไปนึกถึงเพลงในน้ำมีปลา ในนามีข้าวของท่านหลวงวิจิตรวาทการไม่ได้ โดยขณะที่นึกถึงเพลงนี้ผมก็ตั้งคำถามกับตัวเองว่านี่ ถ้าปู่ ย่า ตา ยาย บรรพบุรุษได้มีโอกาสเห็นภาพคนไทยตื่นกลัวกับเรื่อง “วิกฤตอาหาร” ท่านจะรู้สึกสมเพช เวทนา ลูกหลานของพวกท่านแค่ไหน? แล้วถ้าพวกท่านยังมีชีวิตอยู่จะเอามะเหงกมาเขกกะโหลกลูกหลานพร้อมกับบ่นไปด้วยหรือไม่ว่า “พวกเอ็งนี่มันชักจะเพี้ยนไปกันใหญ่แล้ว” หรือ “พวกเอ็งนี่ปู้ยี่ปู้ยำบ้านเมืองอย่างไร ให้คนที่อยู่ในบ้านในเมือง อยู่บนผืนแผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์แห่งนี้ต้องอยู่อย่างอดๆ อยากๆ”
ภาวะราคาข้าวแพงในปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้เลยว่า มีต้นเหตุมาจากปัจจัยภายนอกประเทศเป็นสำคัญ โดยจะเกิดจากต้นทุนด้านเชื้อเพลิงการขนส่งที่เพิ่มขึ้น, อุปสงค์ต่ออาหารที่เพิ่มขึ้น, การใช้พื้นที่การเกษตรเพื่อนำไปปลูกพืชเพื่อผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ, ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือ การเก็งกำไรในตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าก็ตามที กระนั้นสำหรับเราชาวไทยแล้ว “ปัญหาวิกฤตอาหารโลก” กับ “ปัญหาวิกฤตพลังงานโลก” นั้นมีความแตกต่างกันมาก
แตกต่างกันตรงที่ ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีแหล่งเพาะปลูกอาหารที่เหลือกินเหลือใช้ สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอกับการบริโภคในประเทศและเหลือพอที่จะส่งออกด้วย ดังนั้น “ปัญหาวิกฤตอาหารโลก” จึงเป็นปัญหาที่เราสามารถควบคุมปัจจัยภายในเพื่อกำหนดชะตาชีวิตของเราเองได้ ขณะที่ “ปัญหาวิกฤตพลังงานโลก” นั้นปัจจัยปัญหาส่วนใหญ่อยู่นอกเหนือการควบคุมของเรา
กลับมาถึงคำกล่าวที่ว่า “ประเทศไทยผลิตอาหารได้เพียงพอกับการบริโภคในประเทศและเหลือพอที่จะส่งออก” สำหรับคำกล่าวนี้ รัฐบาลไทยและผู้มีอำนาจในการบริหารประเทศต้อง “ตีความ” อย่างละเอียดและระมัดระวัง กล่าวคือ ในฐานะประเทศที่เป็นผู้ผลิตอาหาร รัฐบาลไทยต้องจัดการให้มีอาหารเพียงพอสำหรับการบริโภคของประชาชนในประเทศเสียก่อน ก่อนที่จะคิดเรื่องของการส่งออกหรือคิดเพ้อฝันที่จะทำให้ประเทศไทยเป็น “ครัวของโลก” หรือ หากจะอุปมาอุปไมยอย่างง่ายๆ ก็คือ คนในบ้านยังกินข้าวไม่อิ่ม พ่อบ้านกลับคิดอุตริจะเอาข้าวในบ้านไปแจกเพื่อนบ้านเสียแล้ว!
วิกฤตราคาข้าวสารในบ้านเราตอนนี้จะบรรเทาไปได้มาก หากรัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์คิดจะแก้ปัญหาเพื่อเกษตรกรและประชาชนอย่างแท้จริง มิใช่ทำเพื่อเจ้าของโรงสี พ่อค้าข้าว ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว หรือ พ่อค้าส่งออกซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ได้ประโยชน์อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยจากราคาข้าวที่พุ่งสูงขึ้นในขณะนี้
เนื่องจากหลักฐานและข้อมูลเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ‘นายทุน’ นั่นแหละคือผู้ที่ได้ประโยชน์ที่แท้จริงจากภาวะที่ราคาข้าวพุ่งขึ้นสูงมิใช่ ‘ชาวนา’ หรือ ‘ผู้บริโภค’ เพราะ ผลจากการพัฒนาประเทศในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาได้เปลี่ยนแปลงให้ชาวนาไทยส่วนใหญ่ กลายพันธุ์เป็นแรงงานที่เข้ามาใช้แรงงานในเมืองหรือไม่ก็กลายสภาพชาวนาที่รับจ้างทำนาในที่ดินของนายทุนไป นอกจากนี้แม้จะขายข้าวได้ราคาสูงขึ้น แต่ชาวนาไทยก็มีต้นทุนการเพาะปลูกที่เพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกันไม่ว่าจะเป็นต้นทุนเชื้อเพลิง ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ ฯลฯ
ที่สำคัญรัฐบาลต้องไปเป็นตัวจุดชนวนเสียเองว่า ประเทศไทยจะร่ำรวยและชาวนาไทยจะร่ำรวยจากสถานการณ์ราคาข้าวแพงเพราะ ในความเป็นจริง โดยนโยบายพื้นฐานแล้วรัฐบาลของประเทศทุกประเทศต่างวางแผนให้เกษตรกรในประเทศผลิตอาหารหล่อเลี้ยงประชากรของประเทศตัวเองได้อย่างเพียงพออยู่แล้ว ส่วนสาเหตุที่เกิดภาวะขาดแคลนอาหารในห้วงเวลานี้ก็อันเนื่องมาจากสถานการณ์ชั่วคราวเท่านั้น ในอนาคตข้างหน้าหรือปีต่อๆ ไป เมื่อรัฐบาลและเกษตรกรของประเทศอื่นๆ ปรับตัวได้ เขาก็จะนำเข้าข้าวจากเราลดลงโดยอัตโนมัติ
มากกว่านั้น เราต้องไม่ลืมว่า “ข้าว” พันธุ์ที่ชาวไทยปลูกและรับประทานกันเป็นอาหารหลักนั้นมิใช่อาหารสากลที่คนทั่วโลกบริโภคกัน อย่างชาวตะวันตกเขาก็ทานข้าวสาลี (ขนมปัง), ชาวจีนนอกเหนือจากข้าวขาวแล้วเขายังรับประทานธัญพืชอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย ส่วนชาวญี่ปุ่นแม้จะรับประทานข้าวเป็นอาหารหลักแต่พวกเขาก็รับประทานข้าวคนละพันธุ์กับเรา กล่าวคือชาวญี่ปุ่นจะมีวัฒนธรรมในการรับประทานข้าวเมล็ดสั้น (Japonica) มิใช่พันธุ์ข้าวเมล็ดยาวที่ปลูกในประเทศไทย เป็นต้น
ดังนั้นการออกมาตีฆ้องร้องป่าวของรัฐบาลเรื่องราคาข้าว อาจนำไปสู่วิกฤตที่หนักขึ้นของวิกฤตการปลูกพืชเชิงเดี่ยว (Monocropping) ที่ผิดหลักวิชาการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ อีกทั้งขัดแย้งกับหลักการของแนวทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง และในท้ายที่สุดแล้วผู้ที่รับเคราะห์คือชาวนา เกษตรกรและผู้บริโภค ขณะที่ผู้ที่ได้รับประโยชน์ก็คือ โรงสี พ่อค้าคนกลาง และผู้ส่งออกข้าวอยู่เช่นเดิม
บ้านเมืองราบคาบ ด้วยอานุภาพพ่อขุน รามคำแหงค้ำจุน ให้ชาติไทยไพศาล
สร้างทำนาไร่ ทั่วแคว้นแดนไทย เราไถเราหว่าน
หมากม่วงหมากขาม พืชผลต่างๆ ล้วนงามตระการ
สร้างบ้านแปงเมือง ให้เกียรติไทยลือเลื่อง ไปทั่วทุกถิ่นฐาน
จูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ปวงราษฎร์ทั้งหลาย ได้อยู่เป็นสุขสราญ...
ผมเชื่อว่าคนไทยทุกคนต้องจำท่อนขึ้นต้นของเพลงในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ที่แต่งคำร้องโดย พลตรีหลวงวิจิตรวาทการกันได้ เพราะแต่ไหนแต่ไรมาดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิหรือประเทศไทยในปัจจุบันนั้นถือเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เป็นแหล่งเพาะปลูกแหล่งทำการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
ที่ผมนึกถึงเพลงในน้ำมีปลา ในนามีข้าวขึ้นมาก็เพราะวานนี้ ขณะที่เดินเข้าร้านสะดวกซื้อบริเวณที่ทำงาน ผมพบเห็นพนักงานของร้านกำลังขะมักเขม้นจัดวางข้าวถุงอยู่ด้านหน้าของร้าน โดยตั้งใจวางไว้ในที่สะดุดตาคือบริเวณแผงขายหนังสือ คล้ายมีนัยบอกว่า “ร้านนี้มีข้าวถุงขายนะจ๊ะ!”
สาเหตุที่คนไทยหันมาสนใจเรื่องราคาข้าวกันมากก็เพราะ ในช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ สื่อมวลชนไทยทุกแขนงหันมาให้ความสนใจและแย่งชิงกันนำเสนอประเด็นเรื่อง ‘ราคาข้าว’ มากเป็นพิเศษ โดยนำเสนอข่าวในประเด็นที่ว่าราคาข้าวในตลาดโลกพุ่งขึ้นสูงมาก โดยที่ประเทศฟิลิปปินส์นั้นมีการเปิดประมูลข้าวโดยข้าวไทยขายได้ราคาสูงกว่า 950 เหรียญสหรัฐต่อตัน และมีแนวโน้มว่าในระยะเวลาอันสั้นราคาข้าวอาจปรับขึ้นไปเฉียด 1,400-1,500 เหรียญสหรัฐต่อตัน ส่วนข้าวสารที่ขายกันในประเทศนั้นก็ราคาพุ่งขึ้นเร็วมาก โดยภายในระยะเวลาเพียง 3 เดือนราคาข้าวพุ่งขึ้นไปถึงเท่าตัว อย่างเช่นต้นเดือน ม.ค. 2551 ราคาข้าวขาว100% ชั้น 1 ข้าวใหม่อยู่ที่ 1,350-1,360 บาทต่อ100 กิโลกรัม ผ่านมาถึงต้นเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ราคาข้าวขาว 100% ชั้น 1 ข้าวใหม่พุ่งขึ้นมาอยู่ที่ 2,750-2,755 บาทต่อ100 กิโลกรัม ขณะที่ราคาขายปลีกข้าวบรรจุถุง 5 กก. ข้าวถุงหอมมะลิเฉลี่ยอยู่ที่ถุงละ 190-195 บาท ส่วนข้าวขาวอยู่ที่ถุงละ 170-180 บาท
การเพิ่มขึ้นของราคาข้าวดังกล่าวส่งผลให้พ่อค้าคนกลาง-พ่อค้าส่งออกหันมากักตุนข้าวเอาไว้ไม่ยอมนำออกมาจำหน่าย ขณะที่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมาคนต่างจังหวัดที่เดินทางเข้ามาทำงานในเมืองกรุงพอได้โอกาสกลับบ้าน เมื่อสิ้นสุดเทศกาลสงกรานต์ก็แบกข้าวกลับมากินกันคนละกระสอบสองกระสอบ ส่วนคนเมืองที่บริโภคข้าวถุง-ข้าวถังต่างก็ตื่นกับข่าวข้าวแพง จนต้องรีบไปตามห้าง รวมถึงร้านค้าต่างๆ เพื่อกว้านซื้อข้าวสารเก็บเอาไว้เพราะเกรงกลัวว่าราคาข้าวสารจะพุ่งสูงขึ้นไปกว่านี้
เมื่อเกิดภาวะดังกล่าวขึ้น สื่อมวลชนหลายเจ้าก็หันมานำเสนอข่าวดังกล่าวอย่างเกินเลย เหมือนกระต่ายตื่นตูมโดยใช้ศัพท์แสงเพื่อนำเสนอในทำนองที่ว่า คนไทยกำลังเผชิญกับ ‘วิกฤตอาหาร (Food Crisis)’ หรือที่สื่อต่างประเทศเรียกว่า ‘สึนามิเงียบ (Silent Tsunami)’ ไปโน่น ขณะที่สื่อมวลชนบางส่วนก็เชิญนักวิชาการมาให้ทัศนะแล้วเชื่อมโยงประเด็นวิกฤตการขาดแคลนอาหารในระดับโลกเข้ากับปัญหาโลกร้อน (Global Warming) และวิเคราะห์กันอย่างเป็นตุเป็นตะ
พูดตามตรง เห็นอย่างนี้แล้วทำเอาผมอดหวนกลับไปนึกถึงเพลงในน้ำมีปลา ในนามีข้าวของท่านหลวงวิจิตรวาทการไม่ได้ โดยขณะที่นึกถึงเพลงนี้ผมก็ตั้งคำถามกับตัวเองว่านี่ ถ้าปู่ ย่า ตา ยาย บรรพบุรุษได้มีโอกาสเห็นภาพคนไทยตื่นกลัวกับเรื่อง “วิกฤตอาหาร” ท่านจะรู้สึกสมเพช เวทนา ลูกหลานของพวกท่านแค่ไหน? แล้วถ้าพวกท่านยังมีชีวิตอยู่จะเอามะเหงกมาเขกกะโหลกลูกหลานพร้อมกับบ่นไปด้วยหรือไม่ว่า “พวกเอ็งนี่มันชักจะเพี้ยนไปกันใหญ่แล้ว” หรือ “พวกเอ็งนี่ปู้ยี่ปู้ยำบ้านเมืองอย่างไร ให้คนที่อยู่ในบ้านในเมือง อยู่บนผืนแผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์แห่งนี้ต้องอยู่อย่างอดๆ อยากๆ”
ภาวะราคาข้าวแพงในปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้เลยว่า มีต้นเหตุมาจากปัจจัยภายนอกประเทศเป็นสำคัญ โดยจะเกิดจากต้นทุนด้านเชื้อเพลิงการขนส่งที่เพิ่มขึ้น, อุปสงค์ต่ออาหารที่เพิ่มขึ้น, การใช้พื้นที่การเกษตรเพื่อนำไปปลูกพืชเพื่อผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ, ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือ การเก็งกำไรในตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าก็ตามที กระนั้นสำหรับเราชาวไทยแล้ว “ปัญหาวิกฤตอาหารโลก” กับ “ปัญหาวิกฤตพลังงานโลก” นั้นมีความแตกต่างกันมาก
แตกต่างกันตรงที่ ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีแหล่งเพาะปลูกอาหารที่เหลือกินเหลือใช้ สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอกับการบริโภคในประเทศและเหลือพอที่จะส่งออกด้วย ดังนั้น “ปัญหาวิกฤตอาหารโลก” จึงเป็นปัญหาที่เราสามารถควบคุมปัจจัยภายในเพื่อกำหนดชะตาชีวิตของเราเองได้ ขณะที่ “ปัญหาวิกฤตพลังงานโลก” นั้นปัจจัยปัญหาส่วนใหญ่อยู่นอกเหนือการควบคุมของเรา
กลับมาถึงคำกล่าวที่ว่า “ประเทศไทยผลิตอาหารได้เพียงพอกับการบริโภคในประเทศและเหลือพอที่จะส่งออก” สำหรับคำกล่าวนี้ รัฐบาลไทยและผู้มีอำนาจในการบริหารประเทศต้อง “ตีความ” อย่างละเอียดและระมัดระวัง กล่าวคือ ในฐานะประเทศที่เป็นผู้ผลิตอาหาร รัฐบาลไทยต้องจัดการให้มีอาหารเพียงพอสำหรับการบริโภคของประชาชนในประเทศเสียก่อน ก่อนที่จะคิดเรื่องของการส่งออกหรือคิดเพ้อฝันที่จะทำให้ประเทศไทยเป็น “ครัวของโลก” หรือ หากจะอุปมาอุปไมยอย่างง่ายๆ ก็คือ คนในบ้านยังกินข้าวไม่อิ่ม พ่อบ้านกลับคิดอุตริจะเอาข้าวในบ้านไปแจกเพื่อนบ้านเสียแล้ว!
วิกฤตราคาข้าวสารในบ้านเราตอนนี้จะบรรเทาไปได้มาก หากรัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์คิดจะแก้ปัญหาเพื่อเกษตรกรและประชาชนอย่างแท้จริง มิใช่ทำเพื่อเจ้าของโรงสี พ่อค้าข้าว ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว หรือ พ่อค้าส่งออกซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ได้ประโยชน์อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยจากราคาข้าวที่พุ่งสูงขึ้นในขณะนี้
เนื่องจากหลักฐานและข้อมูลเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ‘นายทุน’ นั่นแหละคือผู้ที่ได้ประโยชน์ที่แท้จริงจากภาวะที่ราคาข้าวพุ่งขึ้นสูงมิใช่ ‘ชาวนา’ หรือ ‘ผู้บริโภค’ เพราะ ผลจากการพัฒนาประเทศในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาได้เปลี่ยนแปลงให้ชาวนาไทยส่วนใหญ่ กลายพันธุ์เป็นแรงงานที่เข้ามาใช้แรงงานในเมืองหรือไม่ก็กลายสภาพชาวนาที่รับจ้างทำนาในที่ดินของนายทุนไป นอกจากนี้แม้จะขายข้าวได้ราคาสูงขึ้น แต่ชาวนาไทยก็มีต้นทุนการเพาะปลูกที่เพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกันไม่ว่าจะเป็นต้นทุนเชื้อเพลิง ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ ฯลฯ
ที่สำคัญรัฐบาลต้องไปเป็นตัวจุดชนวนเสียเองว่า ประเทศไทยจะร่ำรวยและชาวนาไทยจะร่ำรวยจากสถานการณ์ราคาข้าวแพงเพราะ ในความเป็นจริง โดยนโยบายพื้นฐานแล้วรัฐบาลของประเทศทุกประเทศต่างวางแผนให้เกษตรกรในประเทศผลิตอาหารหล่อเลี้ยงประชากรของประเทศตัวเองได้อย่างเพียงพออยู่แล้ว ส่วนสาเหตุที่เกิดภาวะขาดแคลนอาหารในห้วงเวลานี้ก็อันเนื่องมาจากสถานการณ์ชั่วคราวเท่านั้น ในอนาคตข้างหน้าหรือปีต่อๆ ไป เมื่อรัฐบาลและเกษตรกรของประเทศอื่นๆ ปรับตัวได้ เขาก็จะนำเข้าข้าวจากเราลดลงโดยอัตโนมัติ
มากกว่านั้น เราต้องไม่ลืมว่า “ข้าว” พันธุ์ที่ชาวไทยปลูกและรับประทานกันเป็นอาหารหลักนั้นมิใช่อาหารสากลที่คนทั่วโลกบริโภคกัน อย่างชาวตะวันตกเขาก็ทานข้าวสาลี (ขนมปัง), ชาวจีนนอกเหนือจากข้าวขาวแล้วเขายังรับประทานธัญพืชอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย ส่วนชาวญี่ปุ่นแม้จะรับประทานข้าวเป็นอาหารหลักแต่พวกเขาก็รับประทานข้าวคนละพันธุ์กับเรา กล่าวคือชาวญี่ปุ่นจะมีวัฒนธรรมในการรับประทานข้าวเมล็ดสั้น (Japonica) มิใช่พันธุ์ข้าวเมล็ดยาวที่ปลูกในประเทศไทย เป็นต้น
ดังนั้นการออกมาตีฆ้องร้องป่าวของรัฐบาลเรื่องราคาข้าว อาจนำไปสู่วิกฤตที่หนักขึ้นของวิกฤตการปลูกพืชเชิงเดี่ยว (Monocropping) ที่ผิดหลักวิชาการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ อีกทั้งขัดแย้งกับหลักการของแนวทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง และในท้ายที่สุดแล้วผู้ที่รับเคราะห์คือชาวนา เกษตรกรและผู้บริโภค ขณะที่ผู้ที่ได้รับประโยชน์ก็คือ โรงสี พ่อค้าคนกลาง และผู้ส่งออกข้าวอยู่เช่นเดิม