ข่าวและการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการเมืองในตุรกีที่ลงในวารสาร Newsweek ฉบับวันที่ 14 เมษายน 2008 ทำให้เห็นสภาวะทางการเมืองของประเทศตุรกีซึ่งเป็นประเทศที่ผสมผสานระหว่างวัฒธรรมอิสลามและตะวันตก ผู้ที่เคยไปเยี่ยมเยียนประเทศตุรกีจะเห็นว่าเมืองอิสตันบูลเป็นจุดผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมและอารยะตะวันออกและตะวันตก คำว่ายังเติร์กที่มีการใช้ในประเทศไทยนั้นก็มีจุดเริ่มต้นจากตุรกีโดยอตาเติร์กเป็นผู้นำขบวนการดังกล่าวเพื่อนำประเทศตุรกีไปสู่ความทันสมัย กลุ่มยังเติร์กประกอบด้วยนายทหารหนุ่มชั้นระดับนายพันจำนวนหนึ่ง
แต่ตุรกีในปัจจุบันกำลังเผชิญกับปัญหาหนักที่สุดทั้งในเรื่องการเมืองคือระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย เศรษฐกิจ และการวางตัวในการเมืองระหว่างประเทศ ผู้เขียนได้เคยเดินทางไปตุรกีสองครั้ง ครั้งล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ สิ่งซึ่งทำให้สะกิดใจมากที่สุดก็คืออัตราเงินเฟ้อ ข้าวโพดต้มหนึ่งฝักมีราคาหนึ่งล้านลิร่า (Lira) ซึ่งทำให้คำว่า Millionaire หรือเศรษฐีกลายเป็นเรื่องตลกสำหรับตุรกีเพราะคนมีเงินหนึ่งล้านซื้อข้าวโพดได้เพียงหนึ่งฝักเท่านั้น เวลารับประทานอาหารในภัตตาคารต้องชำระเงินเป็นพันๆ ล้านลิร่า
พรรคที่เป็นรัฐบาลในปัจจุบันคือพรรค Justice and Development Party (AKP) ซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำการขัดรัฐธรรมนูญโดยพยายามที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยยกเลิกมาตราที่ห้ามไม่ให้ใส่ผ้าโพกศีรษะในมหาวิทยาลัย การยกเลิกมาตราดังกล่าวเท่ากับเป็นการนำเอาศาสนาอิสลามแบบเคร่งมาสู่ประเทศตุรกีอีกครั้งหนึ่ง โดยรัฐธรรมนูญ ตุรกีเป็นประเทศที่เรียกว่า รัฐโลกาธรรม (secular state) การแก้ไขมาตราในรัฐธรรมนูญดังกล่าวจึงขัดกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เพราะอาจทำให้ตุรกีเป็นรัฐศาสนธรรม (theological or religious state) ดังนั้น อัยการจึงได้ทำการฟ้องร้องพรรค AKP และรัฐบาลซึ่งนำโดยนายกรัฐมนตรี Recep Tayyip Erdogan และประธานาธิบดี Abdullah Gul ซึ่งขณะนี้คดีกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณา
จากกรณีดังกล่าวนั้นบ่งชี้ถึงความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยมีเสียงในสภามากพอและเป็นผู้บริหารประเทศกับฝ่ายตุลาการซึ่งต้องทำหน้าที่ในการรักษากฎหมาย แต่นัยทางการเมืองของกรณีดังกล่าวนั้นมีกว้างไกลทั้งการเมืองภายในประเทศและระหว่างประเทศ ภายในประเทศนั้นจะนำไปสู่การประจันหน้าระหว่างรัฐบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งกับฝ่ายตุลาการและฝ่ายทหาร ซึ่งนำไปสู่การแตกแยกกันในสังคมจนมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่ความรุนแรงทางการเมืองได้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง การเมืองภายในมีผลโดยตรงกับความสมานฉันท์ การเป็นฝักเป็นฝ่ายระหว่างสองกลุ่มนี้คือความขัดแย้งในประเด็นสำคัญที่ว่า ใครจะเป็นผู้ซึ่งมีอำนาจในการปกครองตุรกี ฝ่ายหนึ่งได้แก่ฝ่ายผู้นำของสาธารณรัฐซึ่งยึดถือหลักการของ Kemal Ataturk อันเป็นผู้นำรุ่นเก่า กับฝ่ายรัฐบาลพรรค AKP ที่มาจากการเลือกตั้งอย่างถูกต้องและมีนโยบายที่จะนำตุรกีเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป แต่ขณะเดียวกันก็ต้องการทำให้อิสลามเข้มข้นยิ่งขึ้นซึ่งขัดแย้งกับหลักการของรัฐโลกาธรรม
การละเมิดรัฐธรรมนูญนี้จึงนำไปสู่การเป็นกรณีพิพาทระหว่างศาลและฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการยุบพรรค AKP ซึ่งศาลมีแนวโน้มที่จะยุบพรรค AKP ซึ่งเท่ากับล้มรัฐบาลพรรค AKP ซึ่งจะทำให้คณะรัฐมนตรีและผู้บริหารพรรค AKP จำนวน 71 คน ถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี ก็อาจจะนำไปสู่วิกฤตทางประชาธิปไตยในตุรกีได้ ในส่วนนี้ทำให้สหรัฐฯ รวมทั้งสหภาพยุโรปเกิดความวิตกวิจารณ์ โดยเฉพาะสหรัฐฯ ต้องการให้ตุรกีเป็นตัวแปรสำคัญในกรณีของการเมืองในประเทศอิรัก
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ปัญหาทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายคือมาตรา 301 ของประมวลกฎหมายอาญาซึ่งมีบทลงโทษผู้ดูหมิ่นความเป็นตุรกี มาตราดังกล่าวถูกนำมาใช้ลงโทษนักเขียนและสื่อมวลชนหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเขียนชื่อ Orhan Pamuk ซึ่งได้รับรางวัลโนเบล แต่ที่สำคัญคือการพยายามแก้รัฐธรรมนูญเพื่อไม่ให้ศาลยุบพรรค AKP รวมทั้งการลงโทษคณะรัฐมนตรีและผู้บริหารพรรค 71 คน
ความขัดแย้งดังกล่าวนี้ ส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาที่เป็นมรดกตกทอดในยุคที่ทหารปกครองตุรกีจนกลายเป็นปัญหากลืนไม่เข้าคายไม่ออก และอาจจะกลายเป็นชนวนที่นำไปสู่การล่มสลายของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้งได้ และที่สำคัญก็คือ ยังจะส่งผลถึงการเมืองระหว่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งตุรกีที่จะทำหน้าที่สำคัญให้กับสหรัฐฯ เกี่ยวเนื่องกับประเทศอิรัก และการเข้าสู่สหภาพยุโรปซึ่งจะเป็นตัวแปรสำคัญตัวหนึ่ง เพราะตุรกีนั้นถือเป็นส่วนที่ใกล้ชิดกับสหรัฐฯ
มีแนวโน้มว่าเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกิดขึ้นศาลก็อาจจะใช้วิธีให้ใบเหลือง (Yellow Card) โดยอาจจะไม่ยุบพรรค AKP แต่จะตัดสิทธิทางการเมืองของบุคคลบางคน หรือมิฉะนั้นก็งดการสนับสนุนทางการเงินที่ให้กับพรรค AKP แต่จุดแข็งของพรรค AKP ก็คือ นโยบายพรรค AKP นั้นคือส่งเสริมศาสนาอิสลามและได้รับการสนับสนุนจากประชาชน หรือได้รับอาณัติจากประชาชน การประจันหน้ากับรัฐบาล AKP ก็เท่ากับเป็นการต่อต้านศาสนาและเป็นความขัดแย้งกับประชาชนโดยตรง
ข้อที่น่าสังเกตคือ พรรค AKP นั้นประกอบด้วยสมาชิกซึ่งอยู่ในพรรค The Islamist Welfare Party (RP) มาก่อนแต่ถูกสั่งให้ยุบพรรคโดยศาล สมาชิกบางส่วนจึงรวมกลุ่มกันตั้งพรรค AKP ขึ้น สมาชิกคนสำคัญของพรรค AKP ซึ่งได้เรียนบทเรียนจากอดีตจึงได้ดำเนินนโยบายที่ไม่แข็งกร้าวเกินไป แต่ก็ยังคงรักษาไว้ซึ่งหลักการเดิมจนมีความพยายามยกเลิกมาตราในรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับการห้ามการโพกผ้าเพื่อส่งเสริมศาสนาอิสลามให้เข้มข้นยิ่งขึ้น
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในตุรกีขณะนี้เป็นความขัดแย้งสองมิติ ในมิติที่หนึ่งในขณะที่รัฐบาลปัจจุบันที่มาจากการเลือกตั้งใกล้ชิดกับสหรัฐฯ และต้องการเข้าไปมีบทบาทในสหภาพยุโรป แต่ก็ต้องการรักษาเอกลักษณ์ของตนด้วยการเปลี่ยนจากรัฐโลกาธรรมมาเป็นรัฐที่มุ่งเน้นความเข้มข้นของศาสนามากยิ่งขึ้น ในมิติที่สองคือความขัดแย้งของสองสำนักความคิดหรือสองอุดมการณ์ ระหว่างกลุ่มที่ถือหลักการของ Kemal Ataturk ซึ่งเป็นคนรุ่นเก่า กับกลุ่มใหม่ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประชาชนโดยมุ่งเน้นอุดมการณ์ ส่งเสริมศาสนาอิสลามให้เข้มข้นกว่าเดิม
จะเห็นได้ว่ามิติความขัดแย้งนั้นสลับซับซ้อนพอสมควร ในขณะที่พรรค AKP ได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนซึ่งเป็นประชาธิปไตย แต่กลับมีอุดมการณ์ที่อนุรักษนิยมมากกว่าเดิม พร้อมๆ กับการต้องการเกี่ยวข้องกับตะวันตกแต่ก็ต้องการรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ ในส่วนของตุลาการนั้นโดยทั่วๆ ไปมักจะอนุรักษนิยม แต่ในตุรกีนั้นกลับกลายเป็นฝ่ายเสรีนิยมจนนำไปสู่การประจันหน้ากับฝ่ายรัฐบาล แต่ในแง่หนึ่ง คำว่าเสรีนิยม และอนุรักษนิยมก็อยู่ที่การให้คำจำกัดความเป็นหลัก
ความเห็นของนักเขียนคือ Morton Abramowitz และ Henri J. Barkey สรุปว่า ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและฝ่ายตุลาการที่พยายามจะทำรัฐประหารทางการเมืองนั้นคงจะยืดเยื้อเป็นเดือน หรือยาวกว่านั้น แต่ว่าผลจะออกมาอย่างไรก็ตามโดยพรรค AKP จะแพ้หรือชนะก็ตาม ผลทางการเมืองจะเป็นสิ่งที่ไม่น่าพิสมัยนัก ทั้งนี้เนื่องจากว่าถ้ามีการตัดสินตามที่มีการคาดเดากันจะทำให้นายกรัฐมนตรีของตุรกีไม่สามารถที่จะออมชอมเพื่อหาข้อยุติอันเป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่ายได้ แต่ดูเหมือนว่าโอกาสของการออมชอมจะไม่เกิดขึ้นได้โดยง่าย
ข้อที่น่าสังเกตยิ่งก็คือ พรรค AKP ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนเป็นจำนวนมากจนสามารถจะบริหารประเทศได้โดยไม่ถูกจำกัดด้วยระบบตรวจสอบและการถ่วงดุลอำนาจ ก็มีแต่เพียงอำนาจของศาลหรือตุลาการเท่านั้นที่จะเป็นตัวคานอำนาจของรัฐบาล AKP ได้ การเมืองของตุรกีจึงเป็นที่น่าสนใจรวมทั้งวิตกวิจารณ์ของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป และต่างก็ต้องการทราบว่าผลที่ออกมาจะเป็นอย่างไร เพราะย่อมมีนัยสำคัญต่อการเมืองภายในประเทศตุรกีและการเมืองภูมิภาคในแถบนั้น
แต่ตุรกีในปัจจุบันกำลังเผชิญกับปัญหาหนักที่สุดทั้งในเรื่องการเมืองคือระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย เศรษฐกิจ และการวางตัวในการเมืองระหว่างประเทศ ผู้เขียนได้เคยเดินทางไปตุรกีสองครั้ง ครั้งล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ สิ่งซึ่งทำให้สะกิดใจมากที่สุดก็คืออัตราเงินเฟ้อ ข้าวโพดต้มหนึ่งฝักมีราคาหนึ่งล้านลิร่า (Lira) ซึ่งทำให้คำว่า Millionaire หรือเศรษฐีกลายเป็นเรื่องตลกสำหรับตุรกีเพราะคนมีเงินหนึ่งล้านซื้อข้าวโพดได้เพียงหนึ่งฝักเท่านั้น เวลารับประทานอาหารในภัตตาคารต้องชำระเงินเป็นพันๆ ล้านลิร่า
พรรคที่เป็นรัฐบาลในปัจจุบันคือพรรค Justice and Development Party (AKP) ซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำการขัดรัฐธรรมนูญโดยพยายามที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยยกเลิกมาตราที่ห้ามไม่ให้ใส่ผ้าโพกศีรษะในมหาวิทยาลัย การยกเลิกมาตราดังกล่าวเท่ากับเป็นการนำเอาศาสนาอิสลามแบบเคร่งมาสู่ประเทศตุรกีอีกครั้งหนึ่ง โดยรัฐธรรมนูญ ตุรกีเป็นประเทศที่เรียกว่า รัฐโลกาธรรม (secular state) การแก้ไขมาตราในรัฐธรรมนูญดังกล่าวจึงขัดกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เพราะอาจทำให้ตุรกีเป็นรัฐศาสนธรรม (theological or religious state) ดังนั้น อัยการจึงได้ทำการฟ้องร้องพรรค AKP และรัฐบาลซึ่งนำโดยนายกรัฐมนตรี Recep Tayyip Erdogan และประธานาธิบดี Abdullah Gul ซึ่งขณะนี้คดีกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณา
จากกรณีดังกล่าวนั้นบ่งชี้ถึงความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยมีเสียงในสภามากพอและเป็นผู้บริหารประเทศกับฝ่ายตุลาการซึ่งต้องทำหน้าที่ในการรักษากฎหมาย แต่นัยทางการเมืองของกรณีดังกล่าวนั้นมีกว้างไกลทั้งการเมืองภายในประเทศและระหว่างประเทศ ภายในประเทศนั้นจะนำไปสู่การประจันหน้าระหว่างรัฐบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งกับฝ่ายตุลาการและฝ่ายทหาร ซึ่งนำไปสู่การแตกแยกกันในสังคมจนมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่ความรุนแรงทางการเมืองได้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง การเมืองภายในมีผลโดยตรงกับความสมานฉันท์ การเป็นฝักเป็นฝ่ายระหว่างสองกลุ่มนี้คือความขัดแย้งในประเด็นสำคัญที่ว่า ใครจะเป็นผู้ซึ่งมีอำนาจในการปกครองตุรกี ฝ่ายหนึ่งได้แก่ฝ่ายผู้นำของสาธารณรัฐซึ่งยึดถือหลักการของ Kemal Ataturk อันเป็นผู้นำรุ่นเก่า กับฝ่ายรัฐบาลพรรค AKP ที่มาจากการเลือกตั้งอย่างถูกต้องและมีนโยบายที่จะนำตุรกีเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป แต่ขณะเดียวกันก็ต้องการทำให้อิสลามเข้มข้นยิ่งขึ้นซึ่งขัดแย้งกับหลักการของรัฐโลกาธรรม
การละเมิดรัฐธรรมนูญนี้จึงนำไปสู่การเป็นกรณีพิพาทระหว่างศาลและฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการยุบพรรค AKP ซึ่งศาลมีแนวโน้มที่จะยุบพรรค AKP ซึ่งเท่ากับล้มรัฐบาลพรรค AKP ซึ่งจะทำให้คณะรัฐมนตรีและผู้บริหารพรรค AKP จำนวน 71 คน ถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี ก็อาจจะนำไปสู่วิกฤตทางประชาธิปไตยในตุรกีได้ ในส่วนนี้ทำให้สหรัฐฯ รวมทั้งสหภาพยุโรปเกิดความวิตกวิจารณ์ โดยเฉพาะสหรัฐฯ ต้องการให้ตุรกีเป็นตัวแปรสำคัญในกรณีของการเมืองในประเทศอิรัก
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ปัญหาทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายคือมาตรา 301 ของประมวลกฎหมายอาญาซึ่งมีบทลงโทษผู้ดูหมิ่นความเป็นตุรกี มาตราดังกล่าวถูกนำมาใช้ลงโทษนักเขียนและสื่อมวลชนหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเขียนชื่อ Orhan Pamuk ซึ่งได้รับรางวัลโนเบล แต่ที่สำคัญคือการพยายามแก้รัฐธรรมนูญเพื่อไม่ให้ศาลยุบพรรค AKP รวมทั้งการลงโทษคณะรัฐมนตรีและผู้บริหารพรรค 71 คน
ความขัดแย้งดังกล่าวนี้ ส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาที่เป็นมรดกตกทอดในยุคที่ทหารปกครองตุรกีจนกลายเป็นปัญหากลืนไม่เข้าคายไม่ออก และอาจจะกลายเป็นชนวนที่นำไปสู่การล่มสลายของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้งได้ และที่สำคัญก็คือ ยังจะส่งผลถึงการเมืองระหว่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งตุรกีที่จะทำหน้าที่สำคัญให้กับสหรัฐฯ เกี่ยวเนื่องกับประเทศอิรัก และการเข้าสู่สหภาพยุโรปซึ่งจะเป็นตัวแปรสำคัญตัวหนึ่ง เพราะตุรกีนั้นถือเป็นส่วนที่ใกล้ชิดกับสหรัฐฯ
มีแนวโน้มว่าเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกิดขึ้นศาลก็อาจจะใช้วิธีให้ใบเหลือง (Yellow Card) โดยอาจจะไม่ยุบพรรค AKP แต่จะตัดสิทธิทางการเมืองของบุคคลบางคน หรือมิฉะนั้นก็งดการสนับสนุนทางการเงินที่ให้กับพรรค AKP แต่จุดแข็งของพรรค AKP ก็คือ นโยบายพรรค AKP นั้นคือส่งเสริมศาสนาอิสลามและได้รับการสนับสนุนจากประชาชน หรือได้รับอาณัติจากประชาชน การประจันหน้ากับรัฐบาล AKP ก็เท่ากับเป็นการต่อต้านศาสนาและเป็นความขัดแย้งกับประชาชนโดยตรง
ข้อที่น่าสังเกตคือ พรรค AKP นั้นประกอบด้วยสมาชิกซึ่งอยู่ในพรรค The Islamist Welfare Party (RP) มาก่อนแต่ถูกสั่งให้ยุบพรรคโดยศาล สมาชิกบางส่วนจึงรวมกลุ่มกันตั้งพรรค AKP ขึ้น สมาชิกคนสำคัญของพรรค AKP ซึ่งได้เรียนบทเรียนจากอดีตจึงได้ดำเนินนโยบายที่ไม่แข็งกร้าวเกินไป แต่ก็ยังคงรักษาไว้ซึ่งหลักการเดิมจนมีความพยายามยกเลิกมาตราในรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับการห้ามการโพกผ้าเพื่อส่งเสริมศาสนาอิสลามให้เข้มข้นยิ่งขึ้น
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในตุรกีขณะนี้เป็นความขัดแย้งสองมิติ ในมิติที่หนึ่งในขณะที่รัฐบาลปัจจุบันที่มาจากการเลือกตั้งใกล้ชิดกับสหรัฐฯ และต้องการเข้าไปมีบทบาทในสหภาพยุโรป แต่ก็ต้องการรักษาเอกลักษณ์ของตนด้วยการเปลี่ยนจากรัฐโลกาธรรมมาเป็นรัฐที่มุ่งเน้นความเข้มข้นของศาสนามากยิ่งขึ้น ในมิติที่สองคือความขัดแย้งของสองสำนักความคิดหรือสองอุดมการณ์ ระหว่างกลุ่มที่ถือหลักการของ Kemal Ataturk ซึ่งเป็นคนรุ่นเก่า กับกลุ่มใหม่ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประชาชนโดยมุ่งเน้นอุดมการณ์ ส่งเสริมศาสนาอิสลามให้เข้มข้นกว่าเดิม
จะเห็นได้ว่ามิติความขัดแย้งนั้นสลับซับซ้อนพอสมควร ในขณะที่พรรค AKP ได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนซึ่งเป็นประชาธิปไตย แต่กลับมีอุดมการณ์ที่อนุรักษนิยมมากกว่าเดิม พร้อมๆ กับการต้องการเกี่ยวข้องกับตะวันตกแต่ก็ต้องการรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ ในส่วนของตุลาการนั้นโดยทั่วๆ ไปมักจะอนุรักษนิยม แต่ในตุรกีนั้นกลับกลายเป็นฝ่ายเสรีนิยมจนนำไปสู่การประจันหน้ากับฝ่ายรัฐบาล แต่ในแง่หนึ่ง คำว่าเสรีนิยม และอนุรักษนิยมก็อยู่ที่การให้คำจำกัดความเป็นหลัก
ความเห็นของนักเขียนคือ Morton Abramowitz และ Henri J. Barkey สรุปว่า ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและฝ่ายตุลาการที่พยายามจะทำรัฐประหารทางการเมืองนั้นคงจะยืดเยื้อเป็นเดือน หรือยาวกว่านั้น แต่ว่าผลจะออกมาอย่างไรก็ตามโดยพรรค AKP จะแพ้หรือชนะก็ตาม ผลทางการเมืองจะเป็นสิ่งที่ไม่น่าพิสมัยนัก ทั้งนี้เนื่องจากว่าถ้ามีการตัดสินตามที่มีการคาดเดากันจะทำให้นายกรัฐมนตรีของตุรกีไม่สามารถที่จะออมชอมเพื่อหาข้อยุติอันเป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่ายได้ แต่ดูเหมือนว่าโอกาสของการออมชอมจะไม่เกิดขึ้นได้โดยง่าย
ข้อที่น่าสังเกตยิ่งก็คือ พรรค AKP ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนเป็นจำนวนมากจนสามารถจะบริหารประเทศได้โดยไม่ถูกจำกัดด้วยระบบตรวจสอบและการถ่วงดุลอำนาจ ก็มีแต่เพียงอำนาจของศาลหรือตุลาการเท่านั้นที่จะเป็นตัวคานอำนาจของรัฐบาล AKP ได้ การเมืองของตุรกีจึงเป็นที่น่าสนใจรวมทั้งวิตกวิจารณ์ของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป และต่างก็ต้องการทราบว่าผลที่ออกมาจะเป็นอย่างไร เพราะย่อมมีนัยสำคัญต่อการเมืองภายในประเทศตุรกีและการเมืองภูมิภาคในแถบนั้น