ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 09.00 น. วานนี้ (10 เม.ย.) นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ครั้งที่ 1/2551 โดยมีนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.ยุติธรรม พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) เข้าร่วมประชุม
พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ โฆษกดีเอสไอ แถลงหลังการประชุมว่า วาระแรกของการประชุมเป็นการรายงานการปฏิบัติงานของดีเอสไอที่รับคดีมาดำเนินการเป็นคดีพิเศษแล้วจำนวน 407 คดี ดำเนินการเสร็จแล้ว 269 คดี และอยู่ระหว่างดำเนินการ 138 คดี
นอกจากนี้กคพ.มีมติเห็นชอบให้รับคดีความผิดทางอาญาไว้เป็นคดีพิเศษที่จะต้องดำเนินการสอบสวนจำนวน 6 เรื่อง 1)กรณีธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) ที่ขอให้ดำเนินคดีกับบริษัท เพรสิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง จำกัด กับพวก ในความผิดฐาน ฉ้อโกง 2)กรณี นายลีโอ เดลพินโด นักท่องเที่ยวชาวแคนาดาถูกฆาตกรรม 3)กรณีชมรมบัตรเครดิต-สมาคมธนาคารไทย ที่ขอให้ดำเนินคดีกับกลุ่มบุคคลที่ลักลอกข้อมูลจากเครื่องเบิกเงินสดอัตโนมัติ 4)กรณีกรมศุลกากร ที่ขอให้ดำเนินคดีกับบริษัท มูราโมโต้ อิเล็คตรอน (ประเทศไทย)จำกัด(มหาชน)กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ 5)กรณีธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ที่ขอให้ดำเนินคดีกับบริษัท เพรสิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง จำกัด กับพวก ในความผิดฐานฉ้อโกง 6)กรณีบุกรุกพื้นที่สาธารณะเขาอ่าวนาง จังหวัดกระบี่ อย่างไรก็ตามมีอีก 4 คดี ที่ กคพ.ไม่รับเป็นคดีพิเศษ คือ 1.ความไม่โปร่งใสในการจัดการงบประมาณของวัดมกุฏฯ 2.ผู้ดำรงตำแหน่งการเมืองท้องถิ่นลักทรัพย์ที่นครสวรรค์ 3.กรณีดูดทาย และ4.กรณีที่ตำรวจถูกยิงเสียชีวิต
ส่วนนายกรัฐมนตรีสนใจคดีไหนเป็นพิเศษนั้น พ.ต.อ.ณรัชต์ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีไม่ได้กำชับเรื่องใดเป็นพิเศษ ยกเว้นแต่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบุกรุกทำลายป่า ที่ดินเอกสารสิทธิ์ทับซ้อน การครอบครองพื้นที่สาธารณะแหล่งต้นน้ำลำธารอะไรต่างๆ ซึ่งดีเอสไอกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ประมาณ 50 คดีทั่วประเทศ และนอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังสอบถามในเรื่องของเวลาว่าแต่ละคดีใช้เวลาดำเนินการเท่าไร ซึ่งเราก็ได้ชี้แจงว่าคดีทั่วๆ ไปที่ไม่สลับซับซ้อนก็จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือนต่อคดี แต่ยังมีหลายคดีที่มีความสลับซับซ้อนต้องรอเอกสารต่างๆและมีข้อมูลในการสืบสวนด้วย
พ.ต.อ.ณรัชต์ กล่าวอีกว่า ผู้แทนกระทรวงมหาดไทยได้เรียน นายกรัฐมนตรีให้ทราบถึงปัญหาเกี่ยวกับที่ดินทับซ้อนเอกสารสิทธิ์ที่อยู่ในหลายหน่วยงาน จึงมีการหารือในแนวเสนอความคิดเห็น ซึ่งคณะกรรมการกพค.บางท่านเสนอว่าน่าจะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาคุยกัน เพราะจะทำให้ทุกหน่วยมีข้อมูลตรงกันเพื่อทำให้เป็นมาตรฐานให้เกิดความชัดเจน ซึ่งท่านนายกก็สนับสนุนเพราะทราบว่าเอกสารสิทธิ์ในการถือครองที่ดินและที่ทำกินกระจายอยู่หลายหน่วยงาน
ผู้สื่อข่าวถามว่าแสดงว่าแนวทางการทำงานของดีเอสไอจากนี้จะเน้นในคดี เรื่องที่ดินทำกินเป็นหลัก พ.ต.อ.ณรัชต์ กล่าวว่า กฎหมายใหม่ที่ออกมามีอยู่หลายฉบับด้วยกันที่ครอบคลุม ซึ่งดีเอสไอได้ขอเสนอและได้รับความเห็นชอบ ซึ่งระบุไว้ใน พ.ร.บ.ใหม่ว่ามีคดี 10 ประเภทที่เราเห็นว่ามีความสลับซับซ้อน มีความสำคัญ อาจจะมีผลกระทบต่อความมั่นคง เศรษฐกิจ ซึ่งมีถึง 5 ประเภทที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ การบุกรุกทรัพยากรต่างๆ เช่น กฎหมายที่ดิน กฎหมายป่าไม้ กฎหมายอุทยานแห่งชาติ กฎหมายป่าสงวนแห่งชาติ และกฎหมายเกี่ยวกับการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า เป็น 5 ใน 10 ประเภทกฎหมายที่เราขอความเห็นชอบจากครม.ให้กระทรวงยุติธรรม ออกเป็นกฎกระทรวงเพิ่มอำนาจหน้าที่ของกรมสอบสวนคดีพิเศษที่จะทำ
ด้าน ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย กล่าวว่าที่มีคนวิจารณ์ว่าหากคณะกรรมการคดีพิเศษนำคดีการรุกป่าของ บริษัท ศรีสุบรรณ ฟาร์มเข้าเป็นคดีพิเศษ เพื่อต้องการดำเนินการกับฝ่ายค้านว่า คนคิดแบบนี้คับแคบ เข้าข้างตัวเอง ใครก็ตาม ที่ทำผิดก็ต้องถูกกฎหมายลงโทษ คดีนี้ ดีเอสไอ สอบสวนมาตั้งแต่ปี 2548 ขณะนั้นตนก็ยังไม่มีตำแหน่งหน้าที่ พอปลายปี 2549 สอบเสร็จ พบว่า ที่ดินดังกล่าว มันออกเอกสารสิทธิไม่ได้ ก็ได้แจ้งมายังกรมที่ดิน ว่าให้เพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดินดังกล่าว ซึ่งต้องิกถอนไป 700 ไร่ แต่กรมที่ดินไม่ทำ จนกระทั่งมีคนมาร้องเรียน ดังนั้นจึงต้องตรวจสอบว่า ทำไมไม่เพิกถอนสิทธิ์ เพราะที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ มันออกเอกสารสิทธิไม่ได้ แล้วดีเอสไอสอบเสร็จก็สรุปออกมา 3 ประเด็น โดยประเด็นที่สำคัญคือ ไม่มีการเดินสำรวจในการออกโฉนด ดังนั้นจึงได้สั่งให้ไปทำให้ถูกต้อง โดยให้มีการสอบเบื้องต้นให้ชัดเจน ซึ่งรองอธิบดีดีเอสไอได้รายงานมาว่า น่าจะเพิกถอนได้จำนวน 1300 ไร่
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่าที่ตนตั้งกรรมการขึ้นมาพิจารณาภายใน 60 วันให้เสร็จ ตามกฎหมาย เป็นคนละเรื่องที่ดีเอสไอจะสอบ ซึ่งดีเอสไอไปสอบอยู่นั้นน่าจะเป็นเรื่องทุจริต แต่กรมที่ดิน ที่ทำอยู่นั้นเป็นเรื่องของเอกสารสิทธิ ไม่ใช้เรื่องการเมือง แล้วบริษัท ศรีสุบรรณฟาร์ม ก็ไม่เกี่ยวกับพรรคประชาธิปปัตย์ เกี่ยวกันตรงไหน จากนั้นบริษัทมาบอกว่าที่ดิน ไปซื้อมาจากกรมบังคับคดี ซึ่งก็ไม่ได้ว่าอะไร แล้วมาฟ้องตน
“การที่พรรคประชาธิปปัตย์เข้ามายุ่งนั้นให้ระวังไว้ เพราะถ้าหากมีการ เพิกถอนสิทธิพรรคจะเสียชื่อได้ และวันนี้ประชาชนได้เห็นว่าผมได้กระทำจริงจัง รัฐบาลชุดนี้ชัดเจนในการที่จะเอาทรัพย์สมบัติของชาติคืนมา”
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า จ.จันทบุรีจะเป็นจังหวัดเป้าหมายต่อไป ตอนนี้ไม่ไหวแล้ว บ้านเมือง เศรษฐี มหาเศรษฐี ไปเอาที่ดินของหลวงมาทำสนามกอล์ฟ หลังสงกรานต์จะลงพื้นไปตรวจสอบด้วยตนเอง ผิดต้องดำเนินการ ถ้าออกเอกสารไปแล้วก็ต้องเพิกถอน ต้องทำให้ถูกต้อง การที่มาทำเรื่องนี้ ไม่ใช่เรื่องการเมือง แต่มันอาจจะผิดปกติตรงที่ว่า มันไม่เคยมีใครมาทำ
ผู้สื่อข่าวถามว่าที่ดินจ.จันทบุรีกับจ.ระนอง คนที่เข้าไปบุกรุกพื้นที่ป่า เป็นคนคนเดียวกันหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่า ที่ดินที่จ.ระนองนั้นยังมีข้อมูลไม่ชัดเจน ส่วนที่ จ.จันทบุรี ขณะที่ตนดำรงตำแหน่งเป็นรมต.ประจำสำนักนายกญ ได้มีคน มาร้องเรียนว่าไปเช่ามาจากกรมป่าไม้ ไร่ละ 10 บาทต่อไร่ต่อปี โดยให้เหตุผล เพื่อปลูกป่า แต่วันนี้เหตุการณ์ผ่านมา 20 ปีแล้ว ซึ่งที่ดินที่มีปัญหาที่จ.จันทบุรีนั้น เป็นของเจ้าของธนาคาร ย่านสีชม ซึ่งตนได้เรียนนายกรัฐมนตรีไปแล้ว
“ผมได้รับรายงานจากจังหวัดพบว่า มันเยอะจริงๆไม่ไหวแล้ว ต้องมีการดำเนินการเด็ดขาด”
ผู้สื่อข่าวถามว่า เจ้าของธนาคารเป็นเจ้าของสนามกอล์ฟใช่หรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ไม่ทราบว่าใส่ชื่อใคร เป็นรายงานทางลับ
ผู้สื่อข่าวถามว่า หลังเทศกาลสงกรานต์จะลงพื้นที่ไปตรวจสอบการบุกรุก ที่สาธารณะจังหวัดไหนบ้าง รมว.กระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ลงทั้งหมด โดยจะไปดู ผู้ว่าราชการจังหวัดได้รายงานมาตลอด ที่ผ่านมาผู้ว่าฯ ไม่กล้าตัดสินใจ เพราะรัฐมนตรีไม่เอาจริง แต่รอบนี้ท่านนายกรัฐมนตรีเอาจริงเอาจัง เมื่อไปรับนโยบายมาแล้ว ก็ต้องนำไปปฏิบัติ อย่างไรก็ตามถ้าสนามกอล์ฟดังกล่าวทำผิดต้องยึดที่ดินคืนมา แน่นนอน ถ้าเอาไปแล้วผิดจริงต้องคืนหลวง
พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ โฆษกดีเอสไอ แถลงหลังการประชุมว่า วาระแรกของการประชุมเป็นการรายงานการปฏิบัติงานของดีเอสไอที่รับคดีมาดำเนินการเป็นคดีพิเศษแล้วจำนวน 407 คดี ดำเนินการเสร็จแล้ว 269 คดี และอยู่ระหว่างดำเนินการ 138 คดี
นอกจากนี้กคพ.มีมติเห็นชอบให้รับคดีความผิดทางอาญาไว้เป็นคดีพิเศษที่จะต้องดำเนินการสอบสวนจำนวน 6 เรื่อง 1)กรณีธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) ที่ขอให้ดำเนินคดีกับบริษัท เพรสิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง จำกัด กับพวก ในความผิดฐาน ฉ้อโกง 2)กรณี นายลีโอ เดลพินโด นักท่องเที่ยวชาวแคนาดาถูกฆาตกรรม 3)กรณีชมรมบัตรเครดิต-สมาคมธนาคารไทย ที่ขอให้ดำเนินคดีกับกลุ่มบุคคลที่ลักลอกข้อมูลจากเครื่องเบิกเงินสดอัตโนมัติ 4)กรณีกรมศุลกากร ที่ขอให้ดำเนินคดีกับบริษัท มูราโมโต้ อิเล็คตรอน (ประเทศไทย)จำกัด(มหาชน)กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ 5)กรณีธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ที่ขอให้ดำเนินคดีกับบริษัท เพรสิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง จำกัด กับพวก ในความผิดฐานฉ้อโกง 6)กรณีบุกรุกพื้นที่สาธารณะเขาอ่าวนาง จังหวัดกระบี่ อย่างไรก็ตามมีอีก 4 คดี ที่ กคพ.ไม่รับเป็นคดีพิเศษ คือ 1.ความไม่โปร่งใสในการจัดการงบประมาณของวัดมกุฏฯ 2.ผู้ดำรงตำแหน่งการเมืองท้องถิ่นลักทรัพย์ที่นครสวรรค์ 3.กรณีดูดทาย และ4.กรณีที่ตำรวจถูกยิงเสียชีวิต
ส่วนนายกรัฐมนตรีสนใจคดีไหนเป็นพิเศษนั้น พ.ต.อ.ณรัชต์ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีไม่ได้กำชับเรื่องใดเป็นพิเศษ ยกเว้นแต่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบุกรุกทำลายป่า ที่ดินเอกสารสิทธิ์ทับซ้อน การครอบครองพื้นที่สาธารณะแหล่งต้นน้ำลำธารอะไรต่างๆ ซึ่งดีเอสไอกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ประมาณ 50 คดีทั่วประเทศ และนอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังสอบถามในเรื่องของเวลาว่าแต่ละคดีใช้เวลาดำเนินการเท่าไร ซึ่งเราก็ได้ชี้แจงว่าคดีทั่วๆ ไปที่ไม่สลับซับซ้อนก็จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือนต่อคดี แต่ยังมีหลายคดีที่มีความสลับซับซ้อนต้องรอเอกสารต่างๆและมีข้อมูลในการสืบสวนด้วย
พ.ต.อ.ณรัชต์ กล่าวอีกว่า ผู้แทนกระทรวงมหาดไทยได้เรียน นายกรัฐมนตรีให้ทราบถึงปัญหาเกี่ยวกับที่ดินทับซ้อนเอกสารสิทธิ์ที่อยู่ในหลายหน่วยงาน จึงมีการหารือในแนวเสนอความคิดเห็น ซึ่งคณะกรรมการกพค.บางท่านเสนอว่าน่าจะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาคุยกัน เพราะจะทำให้ทุกหน่วยมีข้อมูลตรงกันเพื่อทำให้เป็นมาตรฐานให้เกิดความชัดเจน ซึ่งท่านนายกก็สนับสนุนเพราะทราบว่าเอกสารสิทธิ์ในการถือครองที่ดินและที่ทำกินกระจายอยู่หลายหน่วยงาน
ผู้สื่อข่าวถามว่าแสดงว่าแนวทางการทำงานของดีเอสไอจากนี้จะเน้นในคดี เรื่องที่ดินทำกินเป็นหลัก พ.ต.อ.ณรัชต์ กล่าวว่า กฎหมายใหม่ที่ออกมามีอยู่หลายฉบับด้วยกันที่ครอบคลุม ซึ่งดีเอสไอได้ขอเสนอและได้รับความเห็นชอบ ซึ่งระบุไว้ใน พ.ร.บ.ใหม่ว่ามีคดี 10 ประเภทที่เราเห็นว่ามีความสลับซับซ้อน มีความสำคัญ อาจจะมีผลกระทบต่อความมั่นคง เศรษฐกิจ ซึ่งมีถึง 5 ประเภทที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ การบุกรุกทรัพยากรต่างๆ เช่น กฎหมายที่ดิน กฎหมายป่าไม้ กฎหมายอุทยานแห่งชาติ กฎหมายป่าสงวนแห่งชาติ และกฎหมายเกี่ยวกับการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า เป็น 5 ใน 10 ประเภทกฎหมายที่เราขอความเห็นชอบจากครม.ให้กระทรวงยุติธรรม ออกเป็นกฎกระทรวงเพิ่มอำนาจหน้าที่ของกรมสอบสวนคดีพิเศษที่จะทำ
ด้าน ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย กล่าวว่าที่มีคนวิจารณ์ว่าหากคณะกรรมการคดีพิเศษนำคดีการรุกป่าของ บริษัท ศรีสุบรรณ ฟาร์มเข้าเป็นคดีพิเศษ เพื่อต้องการดำเนินการกับฝ่ายค้านว่า คนคิดแบบนี้คับแคบ เข้าข้างตัวเอง ใครก็ตาม ที่ทำผิดก็ต้องถูกกฎหมายลงโทษ คดีนี้ ดีเอสไอ สอบสวนมาตั้งแต่ปี 2548 ขณะนั้นตนก็ยังไม่มีตำแหน่งหน้าที่ พอปลายปี 2549 สอบเสร็จ พบว่า ที่ดินดังกล่าว มันออกเอกสารสิทธิไม่ได้ ก็ได้แจ้งมายังกรมที่ดิน ว่าให้เพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดินดังกล่าว ซึ่งต้องิกถอนไป 700 ไร่ แต่กรมที่ดินไม่ทำ จนกระทั่งมีคนมาร้องเรียน ดังนั้นจึงต้องตรวจสอบว่า ทำไมไม่เพิกถอนสิทธิ์ เพราะที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ มันออกเอกสารสิทธิไม่ได้ แล้วดีเอสไอสอบเสร็จก็สรุปออกมา 3 ประเด็น โดยประเด็นที่สำคัญคือ ไม่มีการเดินสำรวจในการออกโฉนด ดังนั้นจึงได้สั่งให้ไปทำให้ถูกต้อง โดยให้มีการสอบเบื้องต้นให้ชัดเจน ซึ่งรองอธิบดีดีเอสไอได้รายงานมาว่า น่าจะเพิกถอนได้จำนวน 1300 ไร่
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่าที่ตนตั้งกรรมการขึ้นมาพิจารณาภายใน 60 วันให้เสร็จ ตามกฎหมาย เป็นคนละเรื่องที่ดีเอสไอจะสอบ ซึ่งดีเอสไอไปสอบอยู่นั้นน่าจะเป็นเรื่องทุจริต แต่กรมที่ดิน ที่ทำอยู่นั้นเป็นเรื่องของเอกสารสิทธิ ไม่ใช้เรื่องการเมือง แล้วบริษัท ศรีสุบรรณฟาร์ม ก็ไม่เกี่ยวกับพรรคประชาธิปปัตย์ เกี่ยวกันตรงไหน จากนั้นบริษัทมาบอกว่าที่ดิน ไปซื้อมาจากกรมบังคับคดี ซึ่งก็ไม่ได้ว่าอะไร แล้วมาฟ้องตน
“การที่พรรคประชาธิปปัตย์เข้ามายุ่งนั้นให้ระวังไว้ เพราะถ้าหากมีการ เพิกถอนสิทธิพรรคจะเสียชื่อได้ และวันนี้ประชาชนได้เห็นว่าผมได้กระทำจริงจัง รัฐบาลชุดนี้ชัดเจนในการที่จะเอาทรัพย์สมบัติของชาติคืนมา”
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า จ.จันทบุรีจะเป็นจังหวัดเป้าหมายต่อไป ตอนนี้ไม่ไหวแล้ว บ้านเมือง เศรษฐี มหาเศรษฐี ไปเอาที่ดินของหลวงมาทำสนามกอล์ฟ หลังสงกรานต์จะลงพื้นไปตรวจสอบด้วยตนเอง ผิดต้องดำเนินการ ถ้าออกเอกสารไปแล้วก็ต้องเพิกถอน ต้องทำให้ถูกต้อง การที่มาทำเรื่องนี้ ไม่ใช่เรื่องการเมือง แต่มันอาจจะผิดปกติตรงที่ว่า มันไม่เคยมีใครมาทำ
ผู้สื่อข่าวถามว่าที่ดินจ.จันทบุรีกับจ.ระนอง คนที่เข้าไปบุกรุกพื้นที่ป่า เป็นคนคนเดียวกันหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่า ที่ดินที่จ.ระนองนั้นยังมีข้อมูลไม่ชัดเจน ส่วนที่ จ.จันทบุรี ขณะที่ตนดำรงตำแหน่งเป็นรมต.ประจำสำนักนายกญ ได้มีคน มาร้องเรียนว่าไปเช่ามาจากกรมป่าไม้ ไร่ละ 10 บาทต่อไร่ต่อปี โดยให้เหตุผล เพื่อปลูกป่า แต่วันนี้เหตุการณ์ผ่านมา 20 ปีแล้ว ซึ่งที่ดินที่มีปัญหาที่จ.จันทบุรีนั้น เป็นของเจ้าของธนาคาร ย่านสีชม ซึ่งตนได้เรียนนายกรัฐมนตรีไปแล้ว
“ผมได้รับรายงานจากจังหวัดพบว่า มันเยอะจริงๆไม่ไหวแล้ว ต้องมีการดำเนินการเด็ดขาด”
ผู้สื่อข่าวถามว่า เจ้าของธนาคารเป็นเจ้าของสนามกอล์ฟใช่หรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ไม่ทราบว่าใส่ชื่อใคร เป็นรายงานทางลับ
ผู้สื่อข่าวถามว่า หลังเทศกาลสงกรานต์จะลงพื้นที่ไปตรวจสอบการบุกรุก ที่สาธารณะจังหวัดไหนบ้าง รมว.กระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ลงทั้งหมด โดยจะไปดู ผู้ว่าราชการจังหวัดได้รายงานมาตลอด ที่ผ่านมาผู้ว่าฯ ไม่กล้าตัดสินใจ เพราะรัฐมนตรีไม่เอาจริง แต่รอบนี้ท่านนายกรัฐมนตรีเอาจริงเอาจัง เมื่อไปรับนโยบายมาแล้ว ก็ต้องนำไปปฏิบัติ อย่างไรก็ตามถ้าสนามกอล์ฟดังกล่าวทำผิดต้องยึดที่ดินคืนมา แน่นนอน ถ้าเอาไปแล้วผิดจริงต้องคืนหลวง