ฉบับนี้ผมขอพูดถึงสถานการณ์ปัจจุบันของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อีกครั้งครับ สำนักวิจัยไทยธนาคารได้ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจและพัฒนาการของปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด จึงเห็นชัดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯอยู่ในภาวะถดถอยและกำลังทรุดตัวลง และยังไม่มีข้อมูลชี้ชัดว่าถึงจุดต่ำสุดแล้วหรือยัง
จากที่ผมได้เขียนไว้ในบทความฉบับก่อนๆว่า ผลของการแตกของฟองสบู่ที่อยู่อาศัย ที่แสดงออกด้วยอาการเริ่มต้นด้วยปัญหาซับไพร์ม และขยายวงออกไปสู่สถาบันการเงินอื่นๆ จนกลายเป็นสถานการณ์ที่เรียกว่า สินเชื่อตึงตัว เนื่องจากสถาบันการเงินขาดความมั่นใจซึ่งกันและกัน จึงไม่ปล่อยสินเชื่อระหว่างกัน อีกทั้งยังเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ที่ต้องการกู้ ส่งผลให้ธุรกิจไม่สามารถดำเนินการได้ตามปกติ และครัวเรือนไม่สามารถกู้มาเพื่อใช้จ่ายเหมือนแต่ก่อน
นอกจากนั้น ปัญหายังได้ทรุดตัวลงไปอีกและลุกลามไปสู่ธุรกิจการเงินประเภทอื่นๆ เช่น ธุรกิจค้ำประกันเงินกู้และตราสารหนี้ (Monolines) โดยฉพาะที่อิงกับสินเชื่อซับไพร์ม รวมไปถึงธุรกิจประกัน และกองทุนประกันความเสี่ยง หรือ Hedge Fund ต่างๆ ก็ถูกกระทบเช่นเดียวกัน ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นวิกฤติการเงินครั้งใหญ่ของสหรัฐฯเลยทีเดียว วิกฤตนี้ทำให้ธุรกิจประกันสูญเสียจากการลงทุนในตราสารหนี้ที่อิงกับสินเชื่อซับไพร์ม ถึง 38,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ น้อยกว่าความเสียหายที่เกิดจากพายุเฮอริเคนแคทรินาที่สร้างความเสียหาย 41,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพียงเล็กน้อย และคาดว่ากว่าวิกฤติจะจบสิ้นลง ความเสียหายจะมากกว่านี้
กรณีปัญหาที่เกิดกับ Hedge Fund นั้น สถาบันการเงินได้เรียกเงินประกัน หรือ Margin ของ Hedge Fund เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 20 จากความเสี่ยงที่สูงขึ้น ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืน (Repurchase) ที่เป็นแหล่งระดมทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของธุรกิจ Hedge Fund มีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเกือบ 4-5 เท่า ส่งผลให้ Hedge Fund หลายแห่ง เช่น Carlyle Capital Corp., Pelaton Partners LLP และ Thornbery Mortgage Inc. ขาดสภาพคล่อง และมีหลายกองทุนถูกบังคับขายทรัพย์สินออกมา ที่ผ่านมามี Hedge Fund ขายทรัพย์สินออกมาแล้วถึง 5,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งผมคาดว่าอาจจะมีอีกหลายกองทุนที่จะต้องปิดตัวลงในเร็วๆ นี้
แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง แต่ไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก อัตราดอกเบี้ยเงินกู้โดยเฉพาะตราสารหนี้ในปีนี้ลดลงเพียงเล็กน้อยเพราะความเสี่ยงสูงขึ้น และในกรณีสินเชื่อที่อยู่อาศัยดอกเบี้ยก็ไม่ได้ลดลงแต่กลับปรับเพิ่มขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ 30 ปีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.5 ในวันที่ 24 มกราคมที่ผ่านมา มาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 6.4 ในปัจจุบัน การตึงตัวของสินเชื่อทำให้การระดมทุนมีต้นทุนสูงขึ้น และจากความเสียหายที่เกิดขึ้นทำให้สถาบันการเงินเพิ่มส่วนต่างของดอกเบี้ยเพื่อชดเชยความเสียหาย การที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินไม่ลดลง ทำให้การลดลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed มีผลต่อเศรษฐกิจอย่างจำกัด นอกจากนี้ การที่อัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อเคหะสูงขึ้น ส่งผลให้ตลาดที่อยู่อาศัยยังคงทรุดตัวต่อ และสร้างปัญหาต่อเนื่องไปยังตลาดการเงินและเศรษฐกิจต่อไปอีก
ล่าสุด Bear Stearns วานิชธนกิจอันดับ 5 ของสหรัฐฯ และเป็นผู้ขายตราสารหนี้ที่อิงกับสินเชื่อเคหะอันดับ 2 ของสหรัฐฯ ประสบปัญหาสภาพคล่องอย่างรุนแรง จน Fed ต้องร่วมมือกับวานิชธนกิจอีกแห่งหนึ่งคือ JP Morgan Chase and Co. อัดฉีดสภาพคล่องจำนวนมาก และในที่สุด JP Morgan ก็เข้าไปซื้อกิจการของ Bear Stearns ตอนนี้ตลาดต่างคาดว่าจะมีสถาบันการเงินอีกหลายแห่งเผชิญปัญหาเช่นเดียวกัน ทำให้ Fed ต้องรีบมีมาตรการแก้ไข โดยประกาศลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (Discount Rate) ลงร้อยละ 0.25 และยินยอมให้สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารเข้ามากู้ได้ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ Fed ทำเช่นนี้ เป็นการชี้ให้เห็นว่า ปัญหายังรุนแรงและทรุดตัวลงเร็วกว่าที่ Fed และนักเศรษฐศาสตร์เกือบทุกคนรวมถึงผมด้วยคาดเอาไว้ก่อนหน้านี้
วิกฤติการเงินครั้งนี้ ส่งผลชะลออุปสงค์ในประเทศ และกระทบต่อภาคการผลิตและการจ้างงานของสหรัฐฯอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ด้านอุปสงค์ ยอดค้าปลีกในเดือนกุมภาพันธ์ลดลงร้อยละ 0.6 แสดงถึงแนวโน้มการหดตัวของการบริโภค และล่าสุดคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมในเดือนมกราคมที่ผ่านมาหดตัวร้อยละ 2.5 ซึ่งชี้ว่าการลงทุนอาจจะหดตัวลงเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ดัชนีความมั่นใจของผู้บริโภค (จัดทำโดยมหาวิทยาลัยมิชิแกน) ยังแสดงการปรับตัวลดลงต่อ โดยในเดือนกุมภาพันธ์ลดลงเหลือ 70.8 ต่ำที่สุดในรอบ 16 ปี ซึ่งบ่งชี้ว่าการบริโภคน่าจะทรงตัวหรือทรุดตัวลงในอนาคต ยิ่งไปกว่านั้นตลาดแรงงานก็แสดงถึงปัญหาทรุดตัวลงเช่นเดียวกัน โดย 2 เดือนแรกของปีนี้การจ้างงานนอกภาคเกษตรหดตัวลง 2 เดือนติดต่อกันจากที่มีการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 100,000 ตำแหน่งต่อเดือนในปี 2550 เป็นสัญญาณชี้ว่าการบริโภคจะทรุดตัวลงอีกจากการที่มีคนว่างงานมากขึ้น
ด้านการผลิต ดัชนีผู้จัดการด้านการจัดซื้อ (Purchasing Manager Index: PMI) ภาคอุตสาหกรรมและบริการหดตัวลงพร้อมกัน โดยในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมหดตัวลงเหลือ 48.3 และดัชนีของภาคบริการอยู่ที่ 49.3 แสดงว่าทั้งภาคอุตสาหกรรมและบริการหดตัวลง เนื่องจากดัชนีต่ำกว่าระดับ 50
จากภาพรวมทั้งหมด คาดว่าทั้งการบริโภคและการลงทุนของสหรัฐฯจะลดลงอีก และจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงตลาดการจ้างงานซึ่งจะทำให้การบริโภคชะลอตัวลงไปอีก ด้านการผลิตทั้งภาคบริการและอุตสาหกรรมก็หดตัวลงพร้อมกันในเดือนกุมภาพันธ์ ข้อมูลเหล่านี้บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเผชิญภาวะถดถอยอย่างน่าเป็นห่วง ประกอบกับวิกฤติในตลาดการเงินที่ยังทรุดตัวลงต่อและยังไม่มีวี่แววจะปรับตัวดีขึ้น ทำให้ผมยังไม่เห็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะหลุดจากปากเหวได้อย่างไร ดังนั้นเราจึงต้องเตรียมรองรับผลกระทบที่จะส่งต่อมาถึงเศรษฐกิจไทยในอนาคตอันใกล้นี้
จากที่ผมได้เขียนไว้ในบทความฉบับก่อนๆว่า ผลของการแตกของฟองสบู่ที่อยู่อาศัย ที่แสดงออกด้วยอาการเริ่มต้นด้วยปัญหาซับไพร์ม และขยายวงออกไปสู่สถาบันการเงินอื่นๆ จนกลายเป็นสถานการณ์ที่เรียกว่า สินเชื่อตึงตัว เนื่องจากสถาบันการเงินขาดความมั่นใจซึ่งกันและกัน จึงไม่ปล่อยสินเชื่อระหว่างกัน อีกทั้งยังเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ที่ต้องการกู้ ส่งผลให้ธุรกิจไม่สามารถดำเนินการได้ตามปกติ และครัวเรือนไม่สามารถกู้มาเพื่อใช้จ่ายเหมือนแต่ก่อน
นอกจากนั้น ปัญหายังได้ทรุดตัวลงไปอีกและลุกลามไปสู่ธุรกิจการเงินประเภทอื่นๆ เช่น ธุรกิจค้ำประกันเงินกู้และตราสารหนี้ (Monolines) โดยฉพาะที่อิงกับสินเชื่อซับไพร์ม รวมไปถึงธุรกิจประกัน และกองทุนประกันความเสี่ยง หรือ Hedge Fund ต่างๆ ก็ถูกกระทบเช่นเดียวกัน ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นวิกฤติการเงินครั้งใหญ่ของสหรัฐฯเลยทีเดียว วิกฤตนี้ทำให้ธุรกิจประกันสูญเสียจากการลงทุนในตราสารหนี้ที่อิงกับสินเชื่อซับไพร์ม ถึง 38,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ น้อยกว่าความเสียหายที่เกิดจากพายุเฮอริเคนแคทรินาที่สร้างความเสียหาย 41,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพียงเล็กน้อย และคาดว่ากว่าวิกฤติจะจบสิ้นลง ความเสียหายจะมากกว่านี้
กรณีปัญหาที่เกิดกับ Hedge Fund นั้น สถาบันการเงินได้เรียกเงินประกัน หรือ Margin ของ Hedge Fund เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 20 จากความเสี่ยงที่สูงขึ้น ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืน (Repurchase) ที่เป็นแหล่งระดมทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของธุรกิจ Hedge Fund มีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเกือบ 4-5 เท่า ส่งผลให้ Hedge Fund หลายแห่ง เช่น Carlyle Capital Corp., Pelaton Partners LLP และ Thornbery Mortgage Inc. ขาดสภาพคล่อง และมีหลายกองทุนถูกบังคับขายทรัพย์สินออกมา ที่ผ่านมามี Hedge Fund ขายทรัพย์สินออกมาแล้วถึง 5,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งผมคาดว่าอาจจะมีอีกหลายกองทุนที่จะต้องปิดตัวลงในเร็วๆ นี้
แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง แต่ไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก อัตราดอกเบี้ยเงินกู้โดยเฉพาะตราสารหนี้ในปีนี้ลดลงเพียงเล็กน้อยเพราะความเสี่ยงสูงขึ้น และในกรณีสินเชื่อที่อยู่อาศัยดอกเบี้ยก็ไม่ได้ลดลงแต่กลับปรับเพิ่มขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ 30 ปีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.5 ในวันที่ 24 มกราคมที่ผ่านมา มาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 6.4 ในปัจจุบัน การตึงตัวของสินเชื่อทำให้การระดมทุนมีต้นทุนสูงขึ้น และจากความเสียหายที่เกิดขึ้นทำให้สถาบันการเงินเพิ่มส่วนต่างของดอกเบี้ยเพื่อชดเชยความเสียหาย การที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินไม่ลดลง ทำให้การลดลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed มีผลต่อเศรษฐกิจอย่างจำกัด นอกจากนี้ การที่อัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อเคหะสูงขึ้น ส่งผลให้ตลาดที่อยู่อาศัยยังคงทรุดตัวต่อ และสร้างปัญหาต่อเนื่องไปยังตลาดการเงินและเศรษฐกิจต่อไปอีก
ล่าสุด Bear Stearns วานิชธนกิจอันดับ 5 ของสหรัฐฯ และเป็นผู้ขายตราสารหนี้ที่อิงกับสินเชื่อเคหะอันดับ 2 ของสหรัฐฯ ประสบปัญหาสภาพคล่องอย่างรุนแรง จน Fed ต้องร่วมมือกับวานิชธนกิจอีกแห่งหนึ่งคือ JP Morgan Chase and Co. อัดฉีดสภาพคล่องจำนวนมาก และในที่สุด JP Morgan ก็เข้าไปซื้อกิจการของ Bear Stearns ตอนนี้ตลาดต่างคาดว่าจะมีสถาบันการเงินอีกหลายแห่งเผชิญปัญหาเช่นเดียวกัน ทำให้ Fed ต้องรีบมีมาตรการแก้ไข โดยประกาศลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (Discount Rate) ลงร้อยละ 0.25 และยินยอมให้สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารเข้ามากู้ได้ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ Fed ทำเช่นนี้ เป็นการชี้ให้เห็นว่า ปัญหายังรุนแรงและทรุดตัวลงเร็วกว่าที่ Fed และนักเศรษฐศาสตร์เกือบทุกคนรวมถึงผมด้วยคาดเอาไว้ก่อนหน้านี้
วิกฤติการเงินครั้งนี้ ส่งผลชะลออุปสงค์ในประเทศ และกระทบต่อภาคการผลิตและการจ้างงานของสหรัฐฯอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ด้านอุปสงค์ ยอดค้าปลีกในเดือนกุมภาพันธ์ลดลงร้อยละ 0.6 แสดงถึงแนวโน้มการหดตัวของการบริโภค และล่าสุดคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมในเดือนมกราคมที่ผ่านมาหดตัวร้อยละ 2.5 ซึ่งชี้ว่าการลงทุนอาจจะหดตัวลงเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ดัชนีความมั่นใจของผู้บริโภค (จัดทำโดยมหาวิทยาลัยมิชิแกน) ยังแสดงการปรับตัวลดลงต่อ โดยในเดือนกุมภาพันธ์ลดลงเหลือ 70.8 ต่ำที่สุดในรอบ 16 ปี ซึ่งบ่งชี้ว่าการบริโภคน่าจะทรงตัวหรือทรุดตัวลงในอนาคต ยิ่งไปกว่านั้นตลาดแรงงานก็แสดงถึงปัญหาทรุดตัวลงเช่นเดียวกัน โดย 2 เดือนแรกของปีนี้การจ้างงานนอกภาคเกษตรหดตัวลง 2 เดือนติดต่อกันจากที่มีการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 100,000 ตำแหน่งต่อเดือนในปี 2550 เป็นสัญญาณชี้ว่าการบริโภคจะทรุดตัวลงอีกจากการที่มีคนว่างงานมากขึ้น
ด้านการผลิต ดัชนีผู้จัดการด้านการจัดซื้อ (Purchasing Manager Index: PMI) ภาคอุตสาหกรรมและบริการหดตัวลงพร้อมกัน โดยในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมหดตัวลงเหลือ 48.3 และดัชนีของภาคบริการอยู่ที่ 49.3 แสดงว่าทั้งภาคอุตสาหกรรมและบริการหดตัวลง เนื่องจากดัชนีต่ำกว่าระดับ 50
จากภาพรวมทั้งหมด คาดว่าทั้งการบริโภคและการลงทุนของสหรัฐฯจะลดลงอีก และจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงตลาดการจ้างงานซึ่งจะทำให้การบริโภคชะลอตัวลงไปอีก ด้านการผลิตทั้งภาคบริการและอุตสาหกรรมก็หดตัวลงพร้อมกันในเดือนกุมภาพันธ์ ข้อมูลเหล่านี้บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเผชิญภาวะถดถอยอย่างน่าเป็นห่วง ประกอบกับวิกฤติในตลาดการเงินที่ยังทรุดตัวลงต่อและยังไม่มีวี่แววจะปรับตัวดีขึ้น ทำให้ผมยังไม่เห็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะหลุดจากปากเหวได้อย่างไร ดังนั้นเราจึงต้องเตรียมรองรับผลกระทบที่จะส่งต่อมาถึงเศรษฐกิจไทยในอนาคตอันใกล้นี้