ASTVผู้จัดการรายวัน - กูรูวงการบลจ.มองเศรษฐกิจโลกยังไม่ถึงจุดต่ำสุด คาดอาจมีความเสียหายหลงเหลืออยู่ แนะอย่าวางใจ ดัชนีอาจดีดตัวจากแรงทำกำไรระยะสั้น แต่พ้องเสียง เชื่อการลงทุนในภูมิภาคเอเชียยังน่าสนใจ โดยเฉพาะจีนและอินเดีย แต่เตือนนักลงทุนยังต้องระมัดระวังโดยเฉพาะการลงทุนในตลาดหุ้น ขณะเดียวกันระบุการลงทุนในพันธบัตรโสมยังทำได้ เหตุผลตอบแทนยังอยู่ในระดับสูงแต่ความเสี่ยงไม่กังวล
แหล่งข่าวจากผู้จัดการกองทุนรายหนึ่ง เปิดเผยว่า บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกที่ปรับขึ้นมา ยังไม่ได้สะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในอีก 6 เดือนข้างหน้าอย่างที่สถิติเคยเป็นมา แต่เป็นการเข้ามาเก็งกำไรระยะสั้นของนักลงทุนมากกว่า โดยเฉพาะนักลงทุนที่มีเงินสดอยู่ในมือและพร้อมที่จะลงทุน ซึ่งการลงทุนลักษณะนี้ จะเป็นการลงทุนระยะสั้น ไม่ใช่การลงทุนแล้วถือยาว อย่างไรก็ตาม หากมองไปถึงความน่าสนใจของราคาหุ้นแล้ว ต้องบอกว่าราคาหุ้นส่วนใหญ่ปรับลดลงไปค่อนข้างเยอะ แต่หลังจากนี้ คาดว่าน่าจะยังมีความเสียหายออกมาให้เห็นอีกระลอก ดังนั้น นักลงทุนที่จะจับจังหวะลงทุนหุ้นผ่านกองทุนรวมต่างประเทศในช่วงนี้ อาจจะต้องระมัดระวังพอสมควร
"ดูแล้วเศรษฐกิจโลกตอนนี้ ยังปัญหาหลงเหลืออยู่นั่นคือ น่าจะยังมีความเสียหายออกมาให้เห็นอีกระรอก "แหล่งข่าวกล่าว
สำหรับการลงทุนในตร่าสารหนี้ต่างประเทศ โดยเฉพาะตราสารหนี้ที่ออกโดยประเทศเกาหลีใต้ มองว่ายังสามารถลงทุนได้อยู่ แม้ภาพโดยรวมของเศรษฐกิจเกาหลีเองจะออกมาไม่ดี แต่ก็เป็นผลกระทบที่ประเทศอื่นทั่วโลกประสบเช่นกัน ซึ่งจากแนวโน้มดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในช่วงขาลงทั่วโลก ก็เชื่อว่าหลังจาก ธนาคารกลางเกาหลีใต้เองก็จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเช่นกัน หลังจากคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2% ในการประชุมครั้งล่าสุด และหลังจากนี้ ก็เชื่อว่าจะเกาหลีใต้จะลดดอกเบี้ยลงได้อีก 0.50% ซึ่งการปรับลดดังกล่าว แน่นอนว่าจะทำให้ผลตอบแทนของกองทุนตราสารหนี้เกาหลีใต้ลดลงไปด้วย แต่ก็ยังถือว่าสูงกว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศ
"ความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีในตอนนี้ ต้องบอกว่าดีกว่าช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาค่อนข้างมาก และปัจจุบัน ธปท. ซึ่งเป็นผู้ดูแลเงินเข้าออก ก็ได้แสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับกดารนำเงินออกไปลงทุนเกาหลีแต่อย่างใด ดังนั้น ความเสี่ยงในขณะนี้จึงน่าจะยังพอลงทุนได้อยู่"แหล่งข่าวกล่าว
นายต่อ อินทรวิวัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการตลาด-กองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เศรษฐกิจต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีน รวมถึงประเทศต่างๆเริ่มส่งสัญญาณการดีขึ้น จากมาตรการเเละนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเเต่ละประเทศ ซึ่งประเทศที่น่าจับตามองตอนนี้คงไม่พ้นประเทศจีนเเละประเทศในกลุ่มบริค ได้เเก่ประเทศ บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน ซึ่งประเทศเหล่านี้มีอัตราการขยายการเติบโตได้ค่อนข้างสูงกว่าประเทศในภูมิภาคอื่น
อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นทั่วโลก ราคาน้ำมันในตลาดโลก รวมถึงราคาสินค้าโภคภันฑ์หรือ คอมมอนีตี้ นั้น ส่งสัญญาณดีขึ้นในช่วงไตรมาส 1 ที่ผ่านทมา ซึ่งตอนนี้ต้องถือว่าเป็นโอกาสที่ดีหากนักลงทุนหาผลตอบเเทนดีกว่าการลงทุนในประเทศ ทั้งนี้ นักลงทุนที่ต้องการลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ หรือ FIF น่าจะให้น้ำหนักไปที่ประเทศจีน กับประเทศในกลุ่มบริคมากที่สุด โดยกองทุนที่ บลจ.ไอเอ็นจีอยากเเนะนำคือกองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย บริค 40 เเละกองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย ออล เอเชีย อีควิตี้
"ในช่วงนี้เราอยากเเนะนำกองทุนที่ลงทุนที่ประเทศจีน เเละประเทศในกลุ่มบริคเป็นหลัก ซึ่งเรามองว่าเป็นกองทุนที่ให้ผลตอบเเทนที่ดีกับนักลงทุนในอนาคต สำหรับการเปิดไอพีโอกองทุน FIF กองใหม่นั้นเราคงต้องดูตลาดก่อนว่าจะเป็นอย่างไร เเต่หลักๆคงจะปัดฝุ่นกองเก่าให้นักลงทุนได้เลือกลงทุนก่อน"นายต่อ กล่าว
มร. อลัน ฮาร์เด็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอเอ็นจี อินเวสท์เม้นท์ แมเนจเม้นท์ เอเชีย/แปซิฟิก กล่าวว่า จีนและอินเดียเป็นตลาดที่มีการขับเคลื่อนสำคัญของเอเชีย โดยมีการคาดการณ์ว่า รัฐบาลจีนจะยังคงเข้ามาช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจจีนในกรณีที่จำเป็นต่อไป และนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ผ่านมาของจีน นับเป็นแม่แบบการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ดียิ่ง และเมื่อผนวกกับตลาดหลักทรัพย์อันแข็งแกร่งของจีน จึงส่งผลให้ความเชื่อมั่นการลงทุนในจีนเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัด นอกจากนี้ การปล่อยสินเชื่อในจีนได้ขยายตัวอย่างมาก โดยมีดัชนี PMI (Purchasing Managers’ Index) เพิ่มขึ้นสู่ระดับที่สูงกว่า 50 ซึ่งเราเชื่อว่าผู้บริโภคยังคงซื้อบ้าน ซื้อรถ ทั้งหมดนี้ คือ ปรากฏการณ์เชิงบวกและตอกย้ำว่า ตลาดจีนมีการเติบโตอย่างสดใส
ทั้งนี้ ทัศนคติเชิงบวกของนักลงทุนในจีนดูเหมือนจะส่งผลดีต่อไต้หวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมุมมองเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลจีนและไต้หวันที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นการลงทุนของไต้หวันเพิ่มขึ้น 25% มาอยู่ในที่ระดับ 95ในไตรมาส 1/2552 จากที่ระดับ 76 ในไตรมาส 4/2551
“วิกฤติเศรษฐกิจและการเงินโลก ไม่ใช่เป็นปัญหาที่ลำพังเพียงจีนและอินเดียจะสามารถแก้ไขได้ ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียจึงได้ริเริ่มมาตรการเยียวยาทางเศรษฐกิจเพื่อรับมือกับวิกฤติดังกล่าว ซึ่งภูมิภาคเอเชียต้องมีแนวทางพัฒนาตลาดอย่างรอบคอบ จนกว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและยุโรปจะฟื้นตัว” มร. ฮาร์เด็น กล่าว
ขณะเดียวกันประเทศจีนและอินเดีย เป็นสองประเทศที่ผลักดันการเติบโตในภูมิภาคเอเชีย โดยขับเคลื่อนความเชื่อมั่นการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย ด้วยค่าดัชนีความเชื่อมั่นการลงทุนในประเทศของตนที่เพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่นในไตรมาส 1/2552 แม้ว่าดัชนีความเชื่อมั่นการลงทุนในจีนลดลงจากไตรมาส 1/2551 แต่ดัชนีความเชื่อมั่นการลงทุนที่เพิ่มขึ้นในไตรมาส 1/2552 บ่งชี้ว่า นักลงทุนจีนมั่นใจว่า ระบบเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของจีนจะช่วยสนับสนุนการลงทุนท่ามกลางภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลก
นอกจากนี้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 4 ล้านล้านหยวนของรัฐบาล เพื่อเสริมสร้างการเติบโตของประเทศจีนและตอบสนองความต้องการภายในประเทศ ก่อให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจจีนโดยรวม ส่งผลให้นักลงทุนมีทัศนคติที่ดีต่อภาวะการลงทุนในไตรมาส 1/2552 และยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อสภาวะเศรษฐกิจในไตรมาส 2/2552
อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นของการลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น 10% มาอยู่ที่ 65 ในไตรมาส 1/2552 จาก 59 ในไตรมาส 4/2551 แต่ลดลง 50% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว โดยยังคงจัดอยู่ในระดับต่ำ (Pessimistic) ขณะที่ฮ่องกงและสิงคโปร์ เป็นประเทศที่มีดัชนีความเชื่อมั่นของการลงทุนในระดับต่ำที่สุด (Very Pessimistic) ในภูมิภาคเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) ในไตรมาส 1/2552
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นการลงทุนในภูมิภาคเอเชียโดยรวม (ยกเว้นญี่ปุ่น) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 85 ในไตรมาส 1/2552 จากที่ระดับ 73 ในไตรมาสก่อน (4/2551) ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินอย่างต่อเนื่องของโลก ทั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่ดัชนีความเชื่อมั่นการลงทุนมีการปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา นับตั้งแต่มีการจัดทำดัชนีดังกล่าวในไตรมาส 3/2550 โดยดัชนีความเชื่อมั่นของการลงทุนได้ปรับตัวจากระดับต่ำ (Pessimistic) กลับสู่ระดับปานกลาง (Neutral)
แหล่งข่าวจากผู้จัดการกองทุนรายหนึ่ง เปิดเผยว่า บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกที่ปรับขึ้นมา ยังไม่ได้สะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในอีก 6 เดือนข้างหน้าอย่างที่สถิติเคยเป็นมา แต่เป็นการเข้ามาเก็งกำไรระยะสั้นของนักลงทุนมากกว่า โดยเฉพาะนักลงทุนที่มีเงินสดอยู่ในมือและพร้อมที่จะลงทุน ซึ่งการลงทุนลักษณะนี้ จะเป็นการลงทุนระยะสั้น ไม่ใช่การลงทุนแล้วถือยาว อย่างไรก็ตาม หากมองไปถึงความน่าสนใจของราคาหุ้นแล้ว ต้องบอกว่าราคาหุ้นส่วนใหญ่ปรับลดลงไปค่อนข้างเยอะ แต่หลังจากนี้ คาดว่าน่าจะยังมีความเสียหายออกมาให้เห็นอีกระลอก ดังนั้น นักลงทุนที่จะจับจังหวะลงทุนหุ้นผ่านกองทุนรวมต่างประเทศในช่วงนี้ อาจจะต้องระมัดระวังพอสมควร
"ดูแล้วเศรษฐกิจโลกตอนนี้ ยังปัญหาหลงเหลืออยู่นั่นคือ น่าจะยังมีความเสียหายออกมาให้เห็นอีกระรอก "แหล่งข่าวกล่าว
สำหรับการลงทุนในตร่าสารหนี้ต่างประเทศ โดยเฉพาะตราสารหนี้ที่ออกโดยประเทศเกาหลีใต้ มองว่ายังสามารถลงทุนได้อยู่ แม้ภาพโดยรวมของเศรษฐกิจเกาหลีเองจะออกมาไม่ดี แต่ก็เป็นผลกระทบที่ประเทศอื่นทั่วโลกประสบเช่นกัน ซึ่งจากแนวโน้มดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในช่วงขาลงทั่วโลก ก็เชื่อว่าหลังจาก ธนาคารกลางเกาหลีใต้เองก็จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเช่นกัน หลังจากคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2% ในการประชุมครั้งล่าสุด และหลังจากนี้ ก็เชื่อว่าจะเกาหลีใต้จะลดดอกเบี้ยลงได้อีก 0.50% ซึ่งการปรับลดดังกล่าว แน่นอนว่าจะทำให้ผลตอบแทนของกองทุนตราสารหนี้เกาหลีใต้ลดลงไปด้วย แต่ก็ยังถือว่าสูงกว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศ
"ความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีในตอนนี้ ต้องบอกว่าดีกว่าช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาค่อนข้างมาก และปัจจุบัน ธปท. ซึ่งเป็นผู้ดูแลเงินเข้าออก ก็ได้แสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับกดารนำเงินออกไปลงทุนเกาหลีแต่อย่างใด ดังนั้น ความเสี่ยงในขณะนี้จึงน่าจะยังพอลงทุนได้อยู่"แหล่งข่าวกล่าว
นายต่อ อินทรวิวัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการตลาด-กองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เศรษฐกิจต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีน รวมถึงประเทศต่างๆเริ่มส่งสัญญาณการดีขึ้น จากมาตรการเเละนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเเต่ละประเทศ ซึ่งประเทศที่น่าจับตามองตอนนี้คงไม่พ้นประเทศจีนเเละประเทศในกลุ่มบริค ได้เเก่ประเทศ บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน ซึ่งประเทศเหล่านี้มีอัตราการขยายการเติบโตได้ค่อนข้างสูงกว่าประเทศในภูมิภาคอื่น
อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นทั่วโลก ราคาน้ำมันในตลาดโลก รวมถึงราคาสินค้าโภคภันฑ์หรือ คอมมอนีตี้ นั้น ส่งสัญญาณดีขึ้นในช่วงไตรมาส 1 ที่ผ่านทมา ซึ่งตอนนี้ต้องถือว่าเป็นโอกาสที่ดีหากนักลงทุนหาผลตอบเเทนดีกว่าการลงทุนในประเทศ ทั้งนี้ นักลงทุนที่ต้องการลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ หรือ FIF น่าจะให้น้ำหนักไปที่ประเทศจีน กับประเทศในกลุ่มบริคมากที่สุด โดยกองทุนที่ บลจ.ไอเอ็นจีอยากเเนะนำคือกองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย บริค 40 เเละกองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย ออล เอเชีย อีควิตี้
"ในช่วงนี้เราอยากเเนะนำกองทุนที่ลงทุนที่ประเทศจีน เเละประเทศในกลุ่มบริคเป็นหลัก ซึ่งเรามองว่าเป็นกองทุนที่ให้ผลตอบเเทนที่ดีกับนักลงทุนในอนาคต สำหรับการเปิดไอพีโอกองทุน FIF กองใหม่นั้นเราคงต้องดูตลาดก่อนว่าจะเป็นอย่างไร เเต่หลักๆคงจะปัดฝุ่นกองเก่าให้นักลงทุนได้เลือกลงทุนก่อน"นายต่อ กล่าว
มร. อลัน ฮาร์เด็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอเอ็นจี อินเวสท์เม้นท์ แมเนจเม้นท์ เอเชีย/แปซิฟิก กล่าวว่า จีนและอินเดียเป็นตลาดที่มีการขับเคลื่อนสำคัญของเอเชีย โดยมีการคาดการณ์ว่า รัฐบาลจีนจะยังคงเข้ามาช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจจีนในกรณีที่จำเป็นต่อไป และนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ผ่านมาของจีน นับเป็นแม่แบบการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ดียิ่ง และเมื่อผนวกกับตลาดหลักทรัพย์อันแข็งแกร่งของจีน จึงส่งผลให้ความเชื่อมั่นการลงทุนในจีนเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัด นอกจากนี้ การปล่อยสินเชื่อในจีนได้ขยายตัวอย่างมาก โดยมีดัชนี PMI (Purchasing Managers’ Index) เพิ่มขึ้นสู่ระดับที่สูงกว่า 50 ซึ่งเราเชื่อว่าผู้บริโภคยังคงซื้อบ้าน ซื้อรถ ทั้งหมดนี้ คือ ปรากฏการณ์เชิงบวกและตอกย้ำว่า ตลาดจีนมีการเติบโตอย่างสดใส
ทั้งนี้ ทัศนคติเชิงบวกของนักลงทุนในจีนดูเหมือนจะส่งผลดีต่อไต้หวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมุมมองเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลจีนและไต้หวันที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นการลงทุนของไต้หวันเพิ่มขึ้น 25% มาอยู่ในที่ระดับ 95ในไตรมาส 1/2552 จากที่ระดับ 76 ในไตรมาส 4/2551
“วิกฤติเศรษฐกิจและการเงินโลก ไม่ใช่เป็นปัญหาที่ลำพังเพียงจีนและอินเดียจะสามารถแก้ไขได้ ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียจึงได้ริเริ่มมาตรการเยียวยาทางเศรษฐกิจเพื่อรับมือกับวิกฤติดังกล่าว ซึ่งภูมิภาคเอเชียต้องมีแนวทางพัฒนาตลาดอย่างรอบคอบ จนกว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและยุโรปจะฟื้นตัว” มร. ฮาร์เด็น กล่าว
ขณะเดียวกันประเทศจีนและอินเดีย เป็นสองประเทศที่ผลักดันการเติบโตในภูมิภาคเอเชีย โดยขับเคลื่อนความเชื่อมั่นการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย ด้วยค่าดัชนีความเชื่อมั่นการลงทุนในประเทศของตนที่เพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่นในไตรมาส 1/2552 แม้ว่าดัชนีความเชื่อมั่นการลงทุนในจีนลดลงจากไตรมาส 1/2551 แต่ดัชนีความเชื่อมั่นการลงทุนที่เพิ่มขึ้นในไตรมาส 1/2552 บ่งชี้ว่า นักลงทุนจีนมั่นใจว่า ระบบเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของจีนจะช่วยสนับสนุนการลงทุนท่ามกลางภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลก
นอกจากนี้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 4 ล้านล้านหยวนของรัฐบาล เพื่อเสริมสร้างการเติบโตของประเทศจีนและตอบสนองความต้องการภายในประเทศ ก่อให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจจีนโดยรวม ส่งผลให้นักลงทุนมีทัศนคติที่ดีต่อภาวะการลงทุนในไตรมาส 1/2552 และยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อสภาวะเศรษฐกิจในไตรมาส 2/2552
อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นของการลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น 10% มาอยู่ที่ 65 ในไตรมาส 1/2552 จาก 59 ในไตรมาส 4/2551 แต่ลดลง 50% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว โดยยังคงจัดอยู่ในระดับต่ำ (Pessimistic) ขณะที่ฮ่องกงและสิงคโปร์ เป็นประเทศที่มีดัชนีความเชื่อมั่นของการลงทุนในระดับต่ำที่สุด (Very Pessimistic) ในภูมิภาคเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) ในไตรมาส 1/2552
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นการลงทุนในภูมิภาคเอเชียโดยรวม (ยกเว้นญี่ปุ่น) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 85 ในไตรมาส 1/2552 จากที่ระดับ 73 ในไตรมาสก่อน (4/2551) ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินอย่างต่อเนื่องของโลก ทั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่ดัชนีความเชื่อมั่นการลงทุนมีการปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา นับตั้งแต่มีการจัดทำดัชนีดังกล่าวในไตรมาส 3/2550 โดยดัชนีความเชื่อมั่นของการลงทุนได้ปรับตัวจากระดับต่ำ (Pessimistic) กลับสู่ระดับปานกลาง (Neutral)