บทความฉบับนี้ ผมขอเขียนถึงเศรษฐกิจสหรัฐฯ อีกครั้งหลังจากที่เคยเขียนถึงเรื่องนี้มาแล้วว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯมีทิศทางที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยจากการแตกของฟองสบู่ที่อยู่อาศัย ซึ่งข้อมูลที่เพิ่งจะเปิดเผยล่าสุดชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ จึงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพื่อวิเคราะห์ว่าแนวโน้มจะไปในทิศทางใด บทความนี้ผมขออ้างงานของสำนักวิจัย ไทยธนาคาร เนื่องจากเนื้อหาที่ใช้เป็นผลการวิเคราะห์ของนักวิเคราะห์ของสำนักวิจัยหลายคนร่วมกันทำ
ข้อมูลทั้งด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการจ้างงานล่าสุดชี้ชัดว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย ดัชนีชี้นำในภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญหรือ Purchasing Manager Index (PMI) ปรับตัวลดลงเหลือเพียง 47.7 จุดในเดือนธันวาคม 2550 จาก 50.5 จุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นระดับต่ำกว่า 50 แสดงว่าภาคอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 12 ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังหดตัวลง
นอกจากภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวลงแล้ว ตลาดแรงงานก็ทรุดตัวลงอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน โดยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 18,000 รายในเดือนธันวาคม เปรียบเทียบกับ 115,000 รายในเดือนพฤศจิกายน และลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับการจ้างงานเฉลี่ยต่อเดือนที่ 188,583 รายในปี 2549 และ 132,906 รายใน 11 เดือนแรกของปี 2550 นอกจากนี้ อัตราการว่างงานในเดือนธันวาคมยังพุ่งขึ้นเป็นร้อยละ 5.0 จากร้อยละ 4.7 ในเดือนก่อน สูงกว่าระดับต่ำสุดที่ร้อยละ 4.4 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ถึงร้อยละ 0.6 ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาถ้าอัตราการว่างงานเพิ่มจากระดับต่ำสุดมากกว่า 0.5 เศรษฐกิจสหรัฐฯจะเข้าสู่ภาวะถดถอยตามมา
ตัวเลขการจ้างงานและการว่างงานในตลาดแรงงานสหรัฐฯ มีความหมายอย่างมากต่อการวิเคราะห์เศรษฐกิจ เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ เผชิญปัญหาการแตกของฟองสบู่ที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่ต้นปี 2549 ทำให้การลงทุนและการก่อสร้างที่อยู่อาศัยหดตัวลง อีกทั้งราคาที่อยู่อาศัยก็ปรับลดลงด้วย แต่เศรษฐกิจก็ยังขยายตัวได้ค่อนข้างดี (อัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 4.9 ในไตรมาสที่ 3 ของปีที่ผ่านมา) จากการขยายตัวของการบริโภคที่มีสัดส่วนสูงถึงประมาณร้อยละ 70 ของ GDP อย่างไรก็ตาม การทรุดตัวของตลาดแรงงานจะส่งผลให้อัตราการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างและรายได้ของประชาชนลดลงในอนาคตอันใกล้นี้ ประกอบกับราคาบ้านและดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการยึดบ้านที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลให้การใช้จ่ายในการบริโภคชะลอตัวลงหรือหดตัวได้ในอนาคต และจะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอยได้ในที่สุด
จากสถานการณ์และตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุด ทำให้การคาดการณ์เกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยและภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เปลี่ยนไป ในเรื่องอัตราดอกเบี้ย ตลาด Fed Funds Future ให้ความน่าจะเป็นเพิ่มจากร้อยละ 0 เป็นถึงร้อยละ 62 ในการที่ Fed Funds Rate จะถูกปรับลดลงร้อยละ 0.50 ในการประชุม FOMC ที่จะถึงในปลายเดือนนี้ และยังคาดว่าอัตราดอกเบี้ย Fed Funds Rate จะปรับลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.00 จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.50 ในสิ้นปีนี้
ในเรื่องภาวะเศรษฐกิจ นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของโลกหลายท่านคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอย เช่น ศาสตราจารย์มาร์ติน เฟลด์สไตน์ (Martin Feldstein) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติ (National Bureau of Economic Research) ของสหรัฐฯ และเป็นอดีตประธานที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของประธานาธิบดีโรนัล รีแกน ได้ให้สัมภาษณ์เร็วๆ นี้ว่า โอกาสที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอยมีเกินกว่าร้อยละ 50 ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา ถ้าความน่าจะเป็นสูงระดับนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอยทุกครั้ง นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำบางท่าน เช่น ดร.เดวิด โรเซนเบิร์ก (David Rosenberg) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของบริษัท Merrill Lynch มีความเห็นว่า ที่จริงแล้วเศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอย (ทางเทคนิคคือการมีอัตราขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 1) ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปีที่ผ่านมา นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำหลายคนมีความเห็นว่าโอกาสที่เศรษฐกิจสหรัฐฯจะเข้าสู่ภาวะถดถอยสูงขึ้น
สำหรับสำนักวิจัย ไทยธนาคาร ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่ามีแนวโน้มสูงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 2551 และอัตราดอกเบี้ย Fed Funds Rate จะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3.00 ณ สิ้นปีนี้ เรายังคงรักษาการคาดการณ์ดังกล่าวไว้ แต่มีโอกาสว่าอาจจะปรับลดการคาดการณ์ระดับอัตราดอกเบี้ยปลายปีลงอีกถ้าเศรษฐกิจสหรัฐฯทรุดตัวลงไปมากกว่าที่คาดไว้
โดยสรุปแล้ว ข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดของสหรัฐฯทำให้นักเศรษฐศาสตร์ตลอดจนนักลงทุนส่วนใหญ่เริ่มเห็นโอกาสที่เศรษฐกิจสหรัฐฯจะเข้าสู่ภาวะถดถอยสูงมาก และอัตราดอกเบี้ย Fed Funds Rate อาจจะลดลงมากกว่าที่คาดไว้จากเดิม จากเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น ผมขอแนะนำให้ผู้อ่านที่สนใจเรื่องนี้ติดตามข้อมูลที่สำคัญ 2 ตัวคือ ดัชนี PMI ของภาคอุตสาหกรรมของเดือนมกราคมที่จะเปิดเผยในปลายเดือนนี้ และข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานของเดือนมกราคมที่จะออกในต้นเดือนหน้า ถ้าข้อมูลที่ได้ใกล้เคียงกับข้อมูลของเดือนธันวาคม เราสรุปได้เลยว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างแน่นอนในปี 2551
ข้อมูลทั้งด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการจ้างงานล่าสุดชี้ชัดว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย ดัชนีชี้นำในภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญหรือ Purchasing Manager Index (PMI) ปรับตัวลดลงเหลือเพียง 47.7 จุดในเดือนธันวาคม 2550 จาก 50.5 จุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นระดับต่ำกว่า 50 แสดงว่าภาคอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 12 ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังหดตัวลง
นอกจากภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวลงแล้ว ตลาดแรงงานก็ทรุดตัวลงอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน โดยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 18,000 รายในเดือนธันวาคม เปรียบเทียบกับ 115,000 รายในเดือนพฤศจิกายน และลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับการจ้างงานเฉลี่ยต่อเดือนที่ 188,583 รายในปี 2549 และ 132,906 รายใน 11 เดือนแรกของปี 2550 นอกจากนี้ อัตราการว่างงานในเดือนธันวาคมยังพุ่งขึ้นเป็นร้อยละ 5.0 จากร้อยละ 4.7 ในเดือนก่อน สูงกว่าระดับต่ำสุดที่ร้อยละ 4.4 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ถึงร้อยละ 0.6 ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาถ้าอัตราการว่างงานเพิ่มจากระดับต่ำสุดมากกว่า 0.5 เศรษฐกิจสหรัฐฯจะเข้าสู่ภาวะถดถอยตามมา
ตัวเลขการจ้างงานและการว่างงานในตลาดแรงงานสหรัฐฯ มีความหมายอย่างมากต่อการวิเคราะห์เศรษฐกิจ เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ เผชิญปัญหาการแตกของฟองสบู่ที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่ต้นปี 2549 ทำให้การลงทุนและการก่อสร้างที่อยู่อาศัยหดตัวลง อีกทั้งราคาที่อยู่อาศัยก็ปรับลดลงด้วย แต่เศรษฐกิจก็ยังขยายตัวได้ค่อนข้างดี (อัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 4.9 ในไตรมาสที่ 3 ของปีที่ผ่านมา) จากการขยายตัวของการบริโภคที่มีสัดส่วนสูงถึงประมาณร้อยละ 70 ของ GDP อย่างไรก็ตาม การทรุดตัวของตลาดแรงงานจะส่งผลให้อัตราการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างและรายได้ของประชาชนลดลงในอนาคตอันใกล้นี้ ประกอบกับราคาบ้านและดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการยึดบ้านที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลให้การใช้จ่ายในการบริโภคชะลอตัวลงหรือหดตัวได้ในอนาคต และจะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอยได้ในที่สุด
จากสถานการณ์และตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุด ทำให้การคาดการณ์เกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยและภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เปลี่ยนไป ในเรื่องอัตราดอกเบี้ย ตลาด Fed Funds Future ให้ความน่าจะเป็นเพิ่มจากร้อยละ 0 เป็นถึงร้อยละ 62 ในการที่ Fed Funds Rate จะถูกปรับลดลงร้อยละ 0.50 ในการประชุม FOMC ที่จะถึงในปลายเดือนนี้ และยังคาดว่าอัตราดอกเบี้ย Fed Funds Rate จะปรับลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.00 จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.50 ในสิ้นปีนี้
ในเรื่องภาวะเศรษฐกิจ นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของโลกหลายท่านคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอย เช่น ศาสตราจารย์มาร์ติน เฟลด์สไตน์ (Martin Feldstein) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติ (National Bureau of Economic Research) ของสหรัฐฯ และเป็นอดีตประธานที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของประธานาธิบดีโรนัล รีแกน ได้ให้สัมภาษณ์เร็วๆ นี้ว่า โอกาสที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอยมีเกินกว่าร้อยละ 50 ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา ถ้าความน่าจะเป็นสูงระดับนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอยทุกครั้ง นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำบางท่าน เช่น ดร.เดวิด โรเซนเบิร์ก (David Rosenberg) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของบริษัท Merrill Lynch มีความเห็นว่า ที่จริงแล้วเศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอย (ทางเทคนิคคือการมีอัตราขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 1) ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปีที่ผ่านมา นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำหลายคนมีความเห็นว่าโอกาสที่เศรษฐกิจสหรัฐฯจะเข้าสู่ภาวะถดถอยสูงขึ้น
สำหรับสำนักวิจัย ไทยธนาคาร ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่ามีแนวโน้มสูงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 2551 และอัตราดอกเบี้ย Fed Funds Rate จะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3.00 ณ สิ้นปีนี้ เรายังคงรักษาการคาดการณ์ดังกล่าวไว้ แต่มีโอกาสว่าอาจจะปรับลดการคาดการณ์ระดับอัตราดอกเบี้ยปลายปีลงอีกถ้าเศรษฐกิจสหรัฐฯทรุดตัวลงไปมากกว่าที่คาดไว้
โดยสรุปแล้ว ข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดของสหรัฐฯทำให้นักเศรษฐศาสตร์ตลอดจนนักลงทุนส่วนใหญ่เริ่มเห็นโอกาสที่เศรษฐกิจสหรัฐฯจะเข้าสู่ภาวะถดถอยสูงมาก และอัตราดอกเบี้ย Fed Funds Rate อาจจะลดลงมากกว่าที่คาดไว้จากเดิม จากเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น ผมขอแนะนำให้ผู้อ่านที่สนใจเรื่องนี้ติดตามข้อมูลที่สำคัญ 2 ตัวคือ ดัชนี PMI ของภาคอุตสาหกรรมของเดือนมกราคมที่จะเปิดเผยในปลายเดือนนี้ และข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานของเดือนมกราคมที่จะออกในต้นเดือนหน้า ถ้าข้อมูลที่ได้ใกล้เคียงกับข้อมูลของเดือนธันวาคม เราสรุปได้เลยว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างแน่นอนในปี 2551