ผู้สื่อข่าวรายงานจากนรัฐสภาว่าเมื่อเวลา12.40 น. วานนี้ (20 มี.ค.) ในระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมี พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาฯคนที่ 2 เป็นประธานการประชุม ได้เปิดโอกาสให้สมาชิกได้หารือปัญหาต่างๆ นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคพลังประชาชน ได้หารือว่าข่าวการยุบพรรคการเมืองช่วงนี้ กกต.ออกมาพูด เหมือนเป็นเรื่องเล่น เป็นเรื่องสนุก ทั้งๆที่พรรคการเมืองตั้งมานาน มีความผูกพันกับประชาชนมายาวนาน แต่ กกต.และตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่มาจากอำนาจปฎิวัติแล้วมายุบพรรคไทยรักไทย จะอ้างว่าเป็นภาวะวิกฤติ แต่เรื่องนี้เป็นความเดือดร้อนของคนทั้งประเทศ ถึงวันนี้มีอำนาจประชาธิปไตยแล้ว ก็ควรคำนึงถึงอำนาจที่มาขององค์กรเหล่านี้และตนได้รับจดหมายจาก เลขาธิการวุฒิสภา ขอให้ ส.ส.ให้ข้อมูลบุคคลที่สมัครเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพราะ ไม่อยากให้มีเงาของเผด็จการ ที่ได้รับผลประโยชน์จากการรัฐประหาร คนหนึ่งเป็นอดีตผู้พิพากษาอีกคนเป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัย
นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.กทม.นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ ลุกประท้วงว่าเป็นการอภิปรายพาดพิงเสียดสีบุคคลภายนอก ให้เสียหาย ทำให้ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย กำชับไม่ให้อภิปรายพาดพิงบุคคลอื่น โดยไม่จำเป็น
แต่นายสุนัยไม่หยุดอภิปรายยังอภิปรายอีกว่า ในการสมัครตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีบุคคลมีประวีติที่เกี่ยวข้องระบบเผด็จการชัดเจน มีอดีตผู้พิพากษากับอาจารย์ พร้อมได้ชูเอกสารของวุฒิสภาเกี่ยวกับผู้รับสมัครดำรงตำแหน่ง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่แจกให้กับสมาชิก โดยยืนยันว่าข้อมูลเหล่านี้ จะส่งให้ประธานเพื่อส่งข้อมูลไปยังวุฒิสภาต่อไป แม้ว้าประธานจะเตือนให้นายสุนัยนั่งลง แต่นายสุนัยไม่ยอมนั่งได้ยืนยันว่าไม่ได้พาดพิงใคร แค่พูดถึงระบบเผด็จการ ทำไมถึงเดือดร้อนกันนัก แต่สุดท้ายนายสุนัยก็ปฎิบัติตามที่ประธานวินิจฉัยจึงจะเริ่มประชุมตามระเบียบวาระ
สำหรับในส่วนของ 2 ผู้สมัครดำรงตำแหน่งตุลากรศาลรัฐธรรมนูญ ที่นายสุนัย ได้หยิบยกมาหารือในประชุมสภาฯครั้งนี้คือนายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรมและนายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ อดีต รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับการแต่งตั้งสมัยรัฐบาลภายหลังเหตุการณ์ยึดอำนาจที่ผ่านมา
นายพีระพันธ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร พรรคพลังประชาชน ในฐานะคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) กล่าวว่า มีข้อเสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษากฎหมายที่ออกในช่วงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เนื่องจากมีนักวิชาการมายื่นหนังสือต่อนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ทบทวนกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาในช่วงดังกล่าว โดยเฉพาะประกาศ คปค.ฉบับต่างๆ ที่มีกระบวนการไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะผ่านการลงชื่อรับรองแค่บุคคลเพียงคนเดียวแต่นำมาประกาศเป็นกฎหมาย รวมถึงกฎหมาย ที่ผ่านการพิจารณาของสมาชิกสภานิติบัญญติแห่งชาติ (สนช.) ด้วย
นายพีระพันธ์ กล่าวด้วยว่า การตั้งคณะกรรมาธิการฯชุดนี้จะเชิญบุคคลภายนอก อาทิ นักวิชาการ ผู้นำชุมชน และกลุ่มบุคคลต่างๆ เข้ามาดำเนินการพิจารณาในเรื่องนี้ด้วย ซึ่งอาจะมีการเชิญ นายวิษณุ เครืองาม และนายบวรศักดิ์ อุวรรณโน อดีตสนช. และอดีตสภาร่างรัฐธรรมนูญเข้าร่วมให้ความเห็นด้วย
นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.กทม.นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ ลุกประท้วงว่าเป็นการอภิปรายพาดพิงเสียดสีบุคคลภายนอก ให้เสียหาย ทำให้ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย กำชับไม่ให้อภิปรายพาดพิงบุคคลอื่น โดยไม่จำเป็น
แต่นายสุนัยไม่หยุดอภิปรายยังอภิปรายอีกว่า ในการสมัครตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีบุคคลมีประวีติที่เกี่ยวข้องระบบเผด็จการชัดเจน มีอดีตผู้พิพากษากับอาจารย์ พร้อมได้ชูเอกสารของวุฒิสภาเกี่ยวกับผู้รับสมัครดำรงตำแหน่ง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่แจกให้กับสมาชิก โดยยืนยันว่าข้อมูลเหล่านี้ จะส่งให้ประธานเพื่อส่งข้อมูลไปยังวุฒิสภาต่อไป แม้ว้าประธานจะเตือนให้นายสุนัยนั่งลง แต่นายสุนัยไม่ยอมนั่งได้ยืนยันว่าไม่ได้พาดพิงใคร แค่พูดถึงระบบเผด็จการ ทำไมถึงเดือดร้อนกันนัก แต่สุดท้ายนายสุนัยก็ปฎิบัติตามที่ประธานวินิจฉัยจึงจะเริ่มประชุมตามระเบียบวาระ
สำหรับในส่วนของ 2 ผู้สมัครดำรงตำแหน่งตุลากรศาลรัฐธรรมนูญ ที่นายสุนัย ได้หยิบยกมาหารือในประชุมสภาฯครั้งนี้คือนายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรมและนายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ อดีต รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับการแต่งตั้งสมัยรัฐบาลภายหลังเหตุการณ์ยึดอำนาจที่ผ่านมา
นายพีระพันธ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร พรรคพลังประชาชน ในฐานะคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) กล่าวว่า มีข้อเสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษากฎหมายที่ออกในช่วงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เนื่องจากมีนักวิชาการมายื่นหนังสือต่อนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ทบทวนกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาในช่วงดังกล่าว โดยเฉพาะประกาศ คปค.ฉบับต่างๆ ที่มีกระบวนการไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะผ่านการลงชื่อรับรองแค่บุคคลเพียงคนเดียวแต่นำมาประกาศเป็นกฎหมาย รวมถึงกฎหมาย ที่ผ่านการพิจารณาของสมาชิกสภานิติบัญญติแห่งชาติ (สนช.) ด้วย
นายพีระพันธ์ กล่าวด้วยว่า การตั้งคณะกรรมาธิการฯชุดนี้จะเชิญบุคคลภายนอก อาทิ นักวิชาการ ผู้นำชุมชน และกลุ่มบุคคลต่างๆ เข้ามาดำเนินการพิจารณาในเรื่องนี้ด้วย ซึ่งอาจะมีการเชิญ นายวิษณุ เครืองาม และนายบวรศักดิ์ อุวรรณโน อดีตสนช. และอดีตสภาร่างรัฐธรรมนูญเข้าร่วมให้ความเห็นด้วย