ขุนคลังเดินสายล้วงลูกแบงก์รัฐต่อเนื่อง ล่าสุดบุกออมสิน ขีดเส้น 1 เดือน ลดดอกเบี้ยธนาคารประชาชนลงให้ต่ำกว่า 1% สั่งปล่อยกู้ผู้หญิงทั้งแม่บ้านและแม่ค้ามากขึ้น เรียกประชุมคณะกรรมการนโยบายกองทุนหมู่บ้านครั้งแรกวันนี้ที่ทำเนียบฯ ด้าน ผอ.ทีดีอาร์ไอถลกหนังประชานิยม แฉแนวคิดสร้าง 500 ธนาคารหมู่บ้านที่หมอเลี้ยบตีปี๊บ เป็นแค่การย้อมแมว "สหกรณ์ออมทรัพย์" ที่มีอยู่แล้ว
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกและ รมว.คลัง กล่าวภายหลังการตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแก่ธนาคารออมสิน เมื่อวานนี้ (6 มี.ค.) ว่า ธนาคารฯ น่าที่จะเข้าไปสนับสนุนกลุ่มแม่ค้าและแม่บ้าน เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนได้มากขึ้น การโฟกัสไปที่กลุ่มแม่บ้าน แม่ค้า เพื่อให้โอกาสผู้หญิงในการทำมาหากิน ให้โอกาสเข้าถึงในการอบรมการเข้าถึงอาชีพ รวมถึงหาโอกาสทางการตลาด เพื่อเป็นการช่วยเหลือครบวงจร ปัจจุบันธนาคารก็มีลูกค้าที่เป็นแม่ค้าอยู่แล้ว
"หากเราจะประกาศออกมาเป็นสัญลักษณ์ให้ผู้หญิงที่ต้องการมีรายได้เสริม อาจจะออกเป็นแคมเปญ ธนาคารแม่ค้า หรือธนาคารแม่บ้านเป็นต้น มันก็จะมีภาพชัดเจนขึ้น"นพ.สุรพงษ์กล่าวและอ้างว่า ผู้หญิงเป็นกลุ่มผู้กู้ที่มีวินัยในการชำระคืนเงินกู้สูงมาก
รมว.คลังยังกล่าวด้วยว่า ธนาคารออมสินมีผลประกอบการดีเยี่ยม มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพียง 4% และมีการตั้งสำรองเกินกว่ามาตรฐาน กว่า 100% ของจำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเป็นหนี้สูญ ถือว่ามีสถานะทางการเงินที่เข้มแข็ง ที่ผ่านมาบทสรุปของโครงการธนาคารประชาชน และสินเชื่อในชนบทได้พิสูจน์แล้วว่า มีเอ็นพีแอลเพียง 1-3% เท่านั้น
ดังนั้นจึงขอให้การบ้านธนาคารออมสินในการพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยโครงการธนาคารประชาชนลงจากเดิม 1% ต่อเดือน แต่จะปรับลดเท่าไรแล้วแต่คณะกรรมการธนาคารจะเป็นผู้พิจารณาระหว่างคุ้มกับความเสี่ยง และลูกค้ามีต้นทุนต่ำ โดยให้เสนอกลับมาภายใน 1 เดือน ขณะเดียวกันธนาคารฯ น่าจะพิจารณาเพิ่มเงินเดือนหรือสวัสดิการเพื่อจูงใจการทำงานของพนักงานด้วย
นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า ในระยะเปลี่ยนผ่านที่ค่าครองชีพพุ่งสูงจากราคาน้ำมัน รัฐบาลพยายามชะลอเรื่องรายจ่ายในช่วง 6 เดือนที่เป็นระยะเปลี่ยนผ่านของปี โดยเรื่องพลังงานคงช่วยอุดหนุนในระยะสั้น แต่ในระยะยาวคงต้องพิจารณาการเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพให้ต้นทุนน้อยลงมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ในแง่ของการปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันนั้น รัฐบาลยังไม่มีแนวคิดที่จะปรับลดในเวลานี้ ต้องติดตามดูสถานการณ์ต่อไปอีกระยะ
ส่วนเรื่องดอกเบี้ยซึ่งเป็นภาระหนึ่งของประชาชนนั้น ในส่วนของนโยบายก็ต้องขึ้นกับคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เป็นผู้พิจารณาตัดสินใจ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้นั้น ได้ขอให้ทางคณะกรรมการของธนาคารของรัฐ พิจารณาเรื่องดอกเบี้ยเงินกู้ไม่ให้เป็นภาระต่อประชาชนมากนัก และธนาคารก็ต้องไม่เสี่ยงด้วย
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าระเบียบของ ธปท.ทำให้ธนาคารต้องมีการตั้งสำรองความเสี่ยงตามมาตรฐานไอเอเอส 39 นั้น เป็นภาระสำหรับธนาคารของรัฐพอสมควร และกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการศึกษาในเรื่องการยกเว้นให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว
ประชุมบอร์ด กทบ.นัดแรกวันนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 7 มี.ค.นี้ นพ.สุรพงษ์ในฐานประธานกองทุนฯ จะเรียกประชุมคณะกรรมการนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (กทบ.) เป็นครั้งแรกที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้นโยบายเพิ่มศักยภาพของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ให้เป็นแหล่งเงินหมุนเวียน ในการลงทุน สร้างงานและอาชีพ สร้างรายได้และลดรายจ่ายให้แก่ประชาชนในชุมชนและวิสาหกิจขนาดเล็กในครัวเรือน พัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่มีการบริหารจัดการที่ดี ให้สามารถยกระดับเป็นธนาคารหมู่บ้านและชุมชน
นอกจากนี้ เป็นการเตรียมหารือนำเงินโครงการอยู่ดีมีสุข 1.8 หมื่นล้านบาท มาจัดสรรรวมกับงบกลางปีที่คาดว่าจะจัดทำขึ้นด้วย โดยจะเป็นส่วนหนึ่งในนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
ส่วนวันนี้ (7 มี.ค.) เวลา 09.00 น. นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังเงา และนายสรรเสริฐ สมะลาภา รมช.คลังเงา จะเดินทางเข้าพบ นพ.สุรพงศ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ส่วนสัปดาห์หน้า นายเกียรติ์ สิทธีอมร รมว.พาณิชย์เงา จะได้ทางเข้าพบนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์
แฉย้อมแมวสหกรณ์ออมทรัพย์
นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ใหความเห็นถึงนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติของรัฐบาล ที่ นพ.สุรพงษ์ สืบวงษ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง อ้างว่า จะแปรสภาพกองทุนหมู่บ้านให้เป็นธนาคารหมู่บ้าน ถึง 500 แห่งนั้น เชื่อว่ารัฐบาลคงจะไม่ได้แปรสภาพให้กลายเป็นธนาคารพาณิชย์ทั่วไป อย่างน้อยคงไม่สามารถปล่อยเงินกู้ได้มากกว่าเงินฝากที่เข้ามาและตนเชื่อว่า ธนาคารหมู่บ้านที่รัฐบาลจะตั้งขึ้น จะไม่ต่างกับสหกรณ์ออมทรัพย์หรือกองทุนต่างๆ ที่อยู่ในหมู่บ้านนั้นอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าชื่อชั้นที่แปลงเป็นธนาคารหมู่บ้านคงจะดีขึ้น
"นโยบายประชานิยม ของรัฐบาล คงจะเป็นเรื่องเดิมๆ ที่พยายามจะเพิ่มความสามารถทางศักยภาพของชาวบ้านให้มากขึ้น และนโยบายประชานิยมที่สามารถทำได้หลายเรื่อง เช่น นโยบายสินค้าโอท็อปที่เป็นประชานิยมที่น่าจะเดินหน้าต่อไปได้ ถือเป็นนโยบายที่ช่วยเหลือทางด้านการตลาดเป็นสำคัญ ซึ่งหลายๆ โอท็อปที่ได้รับดาว 1 หรือ 2 ดาว รัฐบาลควรจะเข้ามาช่วยเหลือก่อน และสินค้า 4-5 ดาวก็แค่ติดตามเท่านั้น" นายสมชัย กล่าว
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกและ รมว.คลัง กล่าวภายหลังการตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแก่ธนาคารออมสิน เมื่อวานนี้ (6 มี.ค.) ว่า ธนาคารฯ น่าที่จะเข้าไปสนับสนุนกลุ่มแม่ค้าและแม่บ้าน เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนได้มากขึ้น การโฟกัสไปที่กลุ่มแม่บ้าน แม่ค้า เพื่อให้โอกาสผู้หญิงในการทำมาหากิน ให้โอกาสเข้าถึงในการอบรมการเข้าถึงอาชีพ รวมถึงหาโอกาสทางการตลาด เพื่อเป็นการช่วยเหลือครบวงจร ปัจจุบันธนาคารก็มีลูกค้าที่เป็นแม่ค้าอยู่แล้ว
"หากเราจะประกาศออกมาเป็นสัญลักษณ์ให้ผู้หญิงที่ต้องการมีรายได้เสริม อาจจะออกเป็นแคมเปญ ธนาคารแม่ค้า หรือธนาคารแม่บ้านเป็นต้น มันก็จะมีภาพชัดเจนขึ้น"นพ.สุรพงษ์กล่าวและอ้างว่า ผู้หญิงเป็นกลุ่มผู้กู้ที่มีวินัยในการชำระคืนเงินกู้สูงมาก
รมว.คลังยังกล่าวด้วยว่า ธนาคารออมสินมีผลประกอบการดีเยี่ยม มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพียง 4% และมีการตั้งสำรองเกินกว่ามาตรฐาน กว่า 100% ของจำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเป็นหนี้สูญ ถือว่ามีสถานะทางการเงินที่เข้มแข็ง ที่ผ่านมาบทสรุปของโครงการธนาคารประชาชน และสินเชื่อในชนบทได้พิสูจน์แล้วว่า มีเอ็นพีแอลเพียง 1-3% เท่านั้น
ดังนั้นจึงขอให้การบ้านธนาคารออมสินในการพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยโครงการธนาคารประชาชนลงจากเดิม 1% ต่อเดือน แต่จะปรับลดเท่าไรแล้วแต่คณะกรรมการธนาคารจะเป็นผู้พิจารณาระหว่างคุ้มกับความเสี่ยง และลูกค้ามีต้นทุนต่ำ โดยให้เสนอกลับมาภายใน 1 เดือน ขณะเดียวกันธนาคารฯ น่าจะพิจารณาเพิ่มเงินเดือนหรือสวัสดิการเพื่อจูงใจการทำงานของพนักงานด้วย
นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า ในระยะเปลี่ยนผ่านที่ค่าครองชีพพุ่งสูงจากราคาน้ำมัน รัฐบาลพยายามชะลอเรื่องรายจ่ายในช่วง 6 เดือนที่เป็นระยะเปลี่ยนผ่านของปี โดยเรื่องพลังงานคงช่วยอุดหนุนในระยะสั้น แต่ในระยะยาวคงต้องพิจารณาการเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพให้ต้นทุนน้อยลงมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ในแง่ของการปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันนั้น รัฐบาลยังไม่มีแนวคิดที่จะปรับลดในเวลานี้ ต้องติดตามดูสถานการณ์ต่อไปอีกระยะ
ส่วนเรื่องดอกเบี้ยซึ่งเป็นภาระหนึ่งของประชาชนนั้น ในส่วนของนโยบายก็ต้องขึ้นกับคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เป็นผู้พิจารณาตัดสินใจ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้นั้น ได้ขอให้ทางคณะกรรมการของธนาคารของรัฐ พิจารณาเรื่องดอกเบี้ยเงินกู้ไม่ให้เป็นภาระต่อประชาชนมากนัก และธนาคารก็ต้องไม่เสี่ยงด้วย
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าระเบียบของ ธปท.ทำให้ธนาคารต้องมีการตั้งสำรองความเสี่ยงตามมาตรฐานไอเอเอส 39 นั้น เป็นภาระสำหรับธนาคารของรัฐพอสมควร และกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการศึกษาในเรื่องการยกเว้นให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว
ประชุมบอร์ด กทบ.นัดแรกวันนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 7 มี.ค.นี้ นพ.สุรพงษ์ในฐานประธานกองทุนฯ จะเรียกประชุมคณะกรรมการนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (กทบ.) เป็นครั้งแรกที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้นโยบายเพิ่มศักยภาพของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ให้เป็นแหล่งเงินหมุนเวียน ในการลงทุน สร้างงานและอาชีพ สร้างรายได้และลดรายจ่ายให้แก่ประชาชนในชุมชนและวิสาหกิจขนาดเล็กในครัวเรือน พัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่มีการบริหารจัดการที่ดี ให้สามารถยกระดับเป็นธนาคารหมู่บ้านและชุมชน
นอกจากนี้ เป็นการเตรียมหารือนำเงินโครงการอยู่ดีมีสุข 1.8 หมื่นล้านบาท มาจัดสรรรวมกับงบกลางปีที่คาดว่าจะจัดทำขึ้นด้วย โดยจะเป็นส่วนหนึ่งในนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
ส่วนวันนี้ (7 มี.ค.) เวลา 09.00 น. นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังเงา และนายสรรเสริฐ สมะลาภา รมช.คลังเงา จะเดินทางเข้าพบ นพ.สุรพงศ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ส่วนสัปดาห์หน้า นายเกียรติ์ สิทธีอมร รมว.พาณิชย์เงา จะได้ทางเข้าพบนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์
แฉย้อมแมวสหกรณ์ออมทรัพย์
นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ใหความเห็นถึงนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติของรัฐบาล ที่ นพ.สุรพงษ์ สืบวงษ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง อ้างว่า จะแปรสภาพกองทุนหมู่บ้านให้เป็นธนาคารหมู่บ้าน ถึง 500 แห่งนั้น เชื่อว่ารัฐบาลคงจะไม่ได้แปรสภาพให้กลายเป็นธนาคารพาณิชย์ทั่วไป อย่างน้อยคงไม่สามารถปล่อยเงินกู้ได้มากกว่าเงินฝากที่เข้ามาและตนเชื่อว่า ธนาคารหมู่บ้านที่รัฐบาลจะตั้งขึ้น จะไม่ต่างกับสหกรณ์ออมทรัพย์หรือกองทุนต่างๆ ที่อยู่ในหมู่บ้านนั้นอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าชื่อชั้นที่แปลงเป็นธนาคารหมู่บ้านคงจะดีขึ้น
"นโยบายประชานิยม ของรัฐบาล คงจะเป็นเรื่องเดิมๆ ที่พยายามจะเพิ่มความสามารถทางศักยภาพของชาวบ้านให้มากขึ้น และนโยบายประชานิยมที่สามารถทำได้หลายเรื่อง เช่น นโยบายสินค้าโอท็อปที่เป็นประชานิยมที่น่าจะเดินหน้าต่อไปได้ ถือเป็นนโยบายที่ช่วยเหลือทางด้านการตลาดเป็นสำคัญ ซึ่งหลายๆ โอท็อปที่ได้รับดาว 1 หรือ 2 ดาว รัฐบาลควรจะเข้ามาช่วยเหลือก่อน และสินค้า 4-5 ดาวก็แค่ติดตามเท่านั้น" นายสมชัย กล่าว