“หมอเลี้ยบ” บุกจี้แบงก์กรุงไทยสนองนโยบายประชานิยม สั่งปล่อยกู้ข้าราชการชั้นผู้น้อย ยกระดับกองทุนหมู่บ้านน้ำดี 200 แห่งขึ้นเป็นต้นแบบธนาคารหมู่บ้าน หวังเอื้ออาทรตอบแทนราหญ้าผู้หิวโหย มัดมือชกเป็นแหล่งเงินทุนปล่อยกู้รถไฟฟ้า ขณะที่เอ็มดีกรุงไทยเผยเป้าหมายเดิมสินเชื่อ 4 แสนล้าน สนับสนุนเอสเอ็มอี-ไมโครเครดิต
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง แถลงข่าวภายหลังตรวจเยี่ยมธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB ว่า ได้มอบหมายให้ธนาคารกรุงไทยช่วยเหลือข้าราชการชั้นผู้น้อย ข้าราชการครู ทหารและอื่นๆ ที่ประสบปัญหาการเงิน ชักหน้าไม่ถึงหลัง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจชะลอตัว โดยเฉพาะปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยจะมีการหารือร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการอีกครั้ง เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว
โดยแนวทางการแก้ปัญหาในเบื้องต้นสำหรับข้าราชการที่ประสบปัญหาทางการเงินและเป็นหนี้นอกระบบต้องใช้เงินสำหรับจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูง ขณะนี้ในส่วนของธนาคารกรุงไทย ก็มีโครงการสินเชื่อธนวัฏ ซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าสินเชื่อนอกระบบ และสามารถอนุมัติได้ภายใน 1 วัน ซึ่งสามารถช่วยเหลือข้าราชการที่เป็นหนี้นอกระบบได้ในระดับหนึ่ง
สำหรับการสานต่อนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองรัฐบาลจะเน้นการพัฒนาคุณภาพของกองทุนที่มีศักยภาพสูงที่สามารถยกระดับไปสู่การเป็นธนาคารหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลจะเลือกกองทุนหมู่บ้านประมาณ 100-200 แห่งเพื่อพัฒนาขึ้นเป็นต้นแบบให้กับกองทุนของหมู่บ้านอื่นๆ นำไปเป็นตัวอย่างในการพัฒนาต่อไป
“ขั้นตอนต่อไปรัฐบาลจะยกระดับกองทุนหมู่บ้านที่มีคุณภาพดีขึ้นมาเป็นธนาคารหมู่บ้าน โดยจะให้ธนาคารต่างๆ เข้าไปประสานงานร่วมกับกองทุนเหล่านั้นเพื่อถ่ายทอดความรู้ วิธีการบริหารจัดการเทคโนโลยีและบริการรวมทั้งเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชนด้วย”
นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า รัฐบาลจะผลักดันให้ธนาคารกรุงไทยเป็นเครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศหลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศมาตรการภาษี เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เชื่อว่าการลงทุนเอกชนจะตามมา โดยจากการหารือกับนายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) คาดว่าการลงทุนของภาคเอกชนน่าจะเกิดขึ้นภายใน 3 เดือนน่าจะเห็นภาพของการลงทุนภาคเอกชนมากขึ้น ควบคู่ไปกับการลงทุนของภาครัฐ
สำหรับการลงทุนในโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจกต์) นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า ธนาคารกรุงไทยได้เตรียมปล่อยกู้เพื่อรองรับโครงการเรียบร้อยแล้ว โดยรัฐบาลมีนโยบายใช้เงินออมภายในประเทศเป็นหลัก นอกเหนือจากการกู้เงินจากต่างประเทศ ทั้งนี้ นโยบายของรัฐบาลต้องการเห็นธนาคารกรุงไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขัน และในอนาคตต้องการเห็นขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของธนาคารพาณิชย์ไทยด้วยซ้ำ
ขณะที่เป้าหมายการปล่อยสินเชื่อของธนาคารกรุงไทยในปีนี้ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ได้ตั้งเป้าหมายปล่อยสินเชื่อรวมกว่า 4 แสนล้านบาท โดยจะให้ความสำคัญกับการปล่อยสินเชื่อช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) และสินเชื่อไมโครเครดิตมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของนโยบายอัตราดอกเบี้ย รมว.คลังยืนยันว่า จะไม่เข้าไปแทรกแซงนโยบายปล่อยสินเชื่อ หรืออัตราดอกเบี้ยของธนาคาร โดยจะปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของตลาด
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง แถลงข่าวภายหลังตรวจเยี่ยมธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB ว่า ได้มอบหมายให้ธนาคารกรุงไทยช่วยเหลือข้าราชการชั้นผู้น้อย ข้าราชการครู ทหารและอื่นๆ ที่ประสบปัญหาการเงิน ชักหน้าไม่ถึงหลัง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจชะลอตัว โดยเฉพาะปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยจะมีการหารือร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการอีกครั้ง เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว
โดยแนวทางการแก้ปัญหาในเบื้องต้นสำหรับข้าราชการที่ประสบปัญหาทางการเงินและเป็นหนี้นอกระบบต้องใช้เงินสำหรับจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูง ขณะนี้ในส่วนของธนาคารกรุงไทย ก็มีโครงการสินเชื่อธนวัฏ ซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าสินเชื่อนอกระบบ และสามารถอนุมัติได้ภายใน 1 วัน ซึ่งสามารถช่วยเหลือข้าราชการที่เป็นหนี้นอกระบบได้ในระดับหนึ่ง
สำหรับการสานต่อนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองรัฐบาลจะเน้นการพัฒนาคุณภาพของกองทุนที่มีศักยภาพสูงที่สามารถยกระดับไปสู่การเป็นธนาคารหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลจะเลือกกองทุนหมู่บ้านประมาณ 100-200 แห่งเพื่อพัฒนาขึ้นเป็นต้นแบบให้กับกองทุนของหมู่บ้านอื่นๆ นำไปเป็นตัวอย่างในการพัฒนาต่อไป
“ขั้นตอนต่อไปรัฐบาลจะยกระดับกองทุนหมู่บ้านที่มีคุณภาพดีขึ้นมาเป็นธนาคารหมู่บ้าน โดยจะให้ธนาคารต่างๆ เข้าไปประสานงานร่วมกับกองทุนเหล่านั้นเพื่อถ่ายทอดความรู้ วิธีการบริหารจัดการเทคโนโลยีและบริการรวมทั้งเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชนด้วย”
นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า รัฐบาลจะผลักดันให้ธนาคารกรุงไทยเป็นเครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศหลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศมาตรการภาษี เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เชื่อว่าการลงทุนเอกชนจะตามมา โดยจากการหารือกับนายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) คาดว่าการลงทุนของภาคเอกชนน่าจะเกิดขึ้นภายใน 3 เดือนน่าจะเห็นภาพของการลงทุนภาคเอกชนมากขึ้น ควบคู่ไปกับการลงทุนของภาครัฐ
สำหรับการลงทุนในโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจกต์) นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า ธนาคารกรุงไทยได้เตรียมปล่อยกู้เพื่อรองรับโครงการเรียบร้อยแล้ว โดยรัฐบาลมีนโยบายใช้เงินออมภายในประเทศเป็นหลัก นอกเหนือจากการกู้เงินจากต่างประเทศ ทั้งนี้ นโยบายของรัฐบาลต้องการเห็นธนาคารกรุงไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขัน และในอนาคตต้องการเห็นขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของธนาคารพาณิชย์ไทยด้วยซ้ำ
ขณะที่เป้าหมายการปล่อยสินเชื่อของธนาคารกรุงไทยในปีนี้ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ได้ตั้งเป้าหมายปล่อยสินเชื่อรวมกว่า 4 แสนล้านบาท โดยจะให้ความสำคัญกับการปล่อยสินเชื่อช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) และสินเชื่อไมโครเครดิตมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของนโยบายอัตราดอกเบี้ย รมว.คลังยืนยันว่า จะไม่เข้าไปแทรกแซงนโยบายปล่อยสินเชื่อ หรืออัตราดอกเบี้ยของธนาคาร โดยจะปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของตลาด