“สมัคร” เรียก ผบ.เหล่าทัพถกโยกย้ายทหารวันนี้ พร้อมเปิดทางให้นายทหารที่ถูกโยกย้ายไม่เป็นธรรมโดยเฉพาะ ตท.10 ร้องเรียนได้ และมีสิทธิผงาดขึ้นครองตำแหน่งสำคัญอีกรอบ “จักรภพ”ว๊ากใส่ ขรก.ตั้งสหภาพ ลั่นไม่ใช่ยุค “อำมาตยาธิปไตย”ที่ ขรก.เป็นใหญ่ ระบุทำแบบนี้ถือเป็นการประกาศสงครามกับฝ่ายการเมือง ประธานศาลปกครอง แนะหาก ขรก.เห็นว่าการโยกย้ายไม่เป็นธรรมฟ้องศาลได้ “เลี้ยบ” ชี้พันธมิตรฯคิดมาก ไม่มีทางที่รัฐบาลจะปฎิวัติตัวเอง ย้ำ “แม้ว” กลับประเทศเพื่อมาต่อสู้คดี ส่วน “นภดล” รับย้ายแน่ทูตหลายประเทศ
แหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า ในวันนี้ (6 มี.ค.) เวลา 09.00 น. นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้เรียกผู้บัญชาการเหล่าทัพ (ผบ.เหล่าทัพ) เข้ามาหารือ ในเรื่องการโยกย้ายนายทหารกลางปีช่วงเดือนเมษายน ที่ทำเนียบรัฐบาล ซึ่ง ผบ.เหล่าทัพได้เตรียมข้อมูลเรื่องการโยกย้ายมาให้นายสมัครดูว่าแต่ละเหล่าทัพจะมีการปรับเปลี่ยนในตำแหน่งไหนบ้าง อาจจะมีตำแหน่งสำคัญบ้างแต่ไม่มาก เพราะตำแหน่งสำคัญส่วนมากจะไปย้ายใหญ่เดือนตุลาคม โดยรายชื่อทั้งหมดจะต้องส่งถึงมือนายสมัคร อย่างช้าคือวันที่ 14-15 มี.ค.นี้
อย่างไรก็ตามนายสมัครให้แต่ละเหล่าทัพที่มีเรื่องร้องเรียนกรณีการโยกย้าย ไม่เป็นธรรมครั้งที่แล้วมาหารือด้วย และอาจจะนำเรื่องที่เตรียมหทารรุ่น 10 (ตท.10) ซึ่งเป็นเพื่อนนายทหารร่วมรุ่นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ถูกโยกย้ายอย่างไม่เป็นธรรมครั้งที่แล้วมาพูดคุย
"นายสมัคร ได้กล่าวไว้แล้วว่าหากข้าราชการคนไหนที่ถูกโยกย้ายอย่าง ไม่เป็นธรรม ก็ขอให้ทำเรื่องมาที่กระทรวงกลาโหม ซึ่งก็มีนายหารบางคนได้ทำเรื่อง ร้องเรียนไว้ เพราะการโยกย้ายครั้งที่แล้วมีทหารหลายคนร้องเรียนว่าถูกโยกย้าย อย่างไม่เป็นธรรม นายสมัครจึงจะนำเรื่องนีมาร่วมหารือในที่ประชุมกับผบ.เหล่าทัพ รวมถึง ตท.10 หลายคนที่ถูกโยกย้ายครั้งที่ผ่านมา ก็อาจจะมีการปรับย้ายในบางตำแหน่งเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ส่วนตำแหน่งผบ.เหล่าทัพคงจะไม่มีการปรับเปลี่ยน ยกเว้นแต่ในบางตำแหน่งหากพูดคุยกันไม่รู้เรื่อง อาจจะมีการปรับแต่คิดว่านายสมัครเป็นคนที่ประณีประนอมน่าจะพูดคุยกันรู้เรื่องไม่น่าจะมีการโยกย้ายผบ.เหล่าทัพในช่วงนี้"
สำหรับนายทหาร ตท.10 ที่คุมกำลังแล้วถูกโยกย้ายหลังปฎิวัติเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และอาจจะได้กลับมาคุมกำลังอีกครั้ง เช่น พล.ท.จิรเดช เกษะโกมล ที่ไปเป็นผู้ทรงคุณวุฒิกระทรวงกลาโหม พล.ต.พฤณฑ์ สุวรรณทัต ผบ.พล1 รอ.เป็นผู้ทรงคุณวุฒิกระทรวงกลาโหม พล.ท.ศานิต พรหมมาส ที่ถูกย้ายจาก ผบ.พล.ม.2 รอ. พล.ต.เรืองศักดิ์ ทองดี ถูกย้ายพ้น ผบ.พล.ปตอ. พล.ต.มนัส เปาริก ถูกย้ายออกจาก รองแม่ทัพภาคที่ 3 เป็นต้น
"ชลิต" เชื่อ "สมัคร" ไม่ทำลายกองทัพ
พล.อ.ชลิต พุกผาสุข ผบ.ทอ. ในฐานะอดีตรักษาการประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) กล่าวถึงการโยกย้ายข้าราชการที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในขณะนี้ว่า รัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการบริหารประเทศ เพราะฉะนั้นก็พยายามหาคนที่เหมาะสมมาทำงาน ส่วนเรื่องการพิจารณาตัวบุคคลก็เป็นเรื่องที่ถ้าท่านทำไม่ดี หรือไม่เหมาะ ท่านก็ต้องรับผิดชอบของท่าน เป็นเรื่องของการที่ผู้บริหารประเทศที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาต้องดำเนินการ
ผู้สื่อข่าวถามว่า มั่นใจในตัว นายสมัคร หรือไม่ว่าสามารถตัดสินใจเรื่องการปรับย้ายข้าราชการพลเรือนและกองทัพได้ดี พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า "นายกฯ สมัคร ท่านก็พยายามทำให้ทุกอย่างง่ายๆ ไปตามนโยบาย และวิถีทางที่พรรคต้องการทำ ท่านเองก็มีแนวความคิด แต่แน่นอนพรรคก็เป็นผู้บริหารประเทศ ก็ต้องเป็นคนส่งข้อมูลผ่านท่านมา"
ผู้สื่อข่าวซักว่า ระหว่างข้อมูลจากพรรคและ ข้อมูลจากเหล่าทัพ คิดว่าส่วนไหนจะมีน้ำหนักในการทำให้ท่านเชื่อมากกว่ากัน พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า "ทุกคนที่มาเป็นผู้บริหารของแต่ละกระทรวง ทุกคนเชื่อมั่นว่าจะทำให้งานที่กระทรวงนั้นๆให้เกิดผลดีที่สุด แล้วท่านต้องคำนึงถึง ในส่วนของกองทัพไทย และกระทรวงกลาโหม โดยเฉพาะกองทัพมีมา 600-700 ปีแล้ว และจะอยู่กับประเทศชาติไปอีกกี่ 100 ปี เพราะฉะนั้น ท่านไม่ทำลายกองทัพ หรือกระทรวงนั้นๆ"
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีรายการคุณขอมาจาก พ.ต.ท. ทักษิณ หรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า "ทุกคนก็พยายามที่จะให้ได้เป็นประโยชน์ส่วนตน หรือเฉพาะกลุ่ม สิ่งที่สำคัญในเทอมของกองทัพคือ กองทัพต้องเดินหน้า และพัฒนาต่อไป อย่างไรยังไม่ได้มีนัดหารือในเรื่องโผทหาร"
"จักรภพ" ว๊ากใส่ ขรก.ตั้งสหภาพฯ
นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การที่สมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทยจะขอ ออก พ.ร.ฎ.จัดต้งสหภาพข้าราชการนั้นเป็นสิทธิที่จะทำได้ แต่ขอติงไว้นิดหนึ่งว่า ประเทศนี้ไม่ใช่ของข้าราชการ แต่เป็นของประชาชนที่ไม่ได้รับราชการ และไม่ได้มีญาติพี่น้องที่อยู่ในตระกูลรับราชการ ฉะนั้นการทำเรื่องนี้ให้กลายเป็นประเด็นระดับชาติขึ้นมาต้องคิดให้ดีว่าในปัจจุบันนี้ประเทศไม่ได้อยู่ในระบอบอำมาตยาธิปไตย แต่อยู่ในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
“แต่ขอย้ำว่าเป็นสิทธิของท่าน(นายจาดุร อภิชาติบุตร รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี) ในการรวมกลุ่มกันได้ แต่ไม่ควรนำเรื่องการโยกย้ายข้าราชการเข้ามาพูด ในภาพรวม เพราะกรณีการย้ายข้าราชการระดับสูงใน ดีเอสไอ อย. กรมประชาสัมพันธ์ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นเหตุผลคนละกรณีกันทั้งสิ้น แต่เกิดขึ้นในคนละหวงกรณีเท่านั้น”
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะดำเนินการอย่างไรกับการเคลื่อนไหวของนายจาดุร อภิชาติบุตร รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีในเรื่องนี้ นายจักรภพ กล่าวว่า ไม่มีอะไรแต่ขอให้ท่านได้ช่วยเหลือข้าราชการด้วยการดูว่าข้าราชการจะต้องไม่เล่นการเมือง ข้าราชการจะต้องไม่คิดที่จะได้รับประโยชน์จากการอิงแอบตนเองเข้ากับรัฐบาลไม่ว่ารัฐบาลนั้นจะอยู่ในยุคเผด็จการ หรือ ยุคประชาธิปไตย ตรงนี้สมาคมข้าราชการพลเรือน สามารถเข้ามาดูแลได้เป็นอย่างดี กล่าวโดยสรุปคือ ช่วยกันกรองข้าราชการให้เหลือแต่ ข้าราชการที่ดีให้มีจำนวนมาก เพื่อรับใช้สังคม แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ มีปัญหาเฉพาะตัวบุคคลบางคนเท่านั้น
ส่วนแนวทางในการออก พ.ร.ฎ.จัดตั้งสหภาพ ถูกต้องหรือไม่ นายจักรภพ กล่าวว่า ไปไกลเกินไป เพราะข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่ภายใต้รัฐบาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การที่ต้องมีกฎหมายใดๆ เพื่อนำมากำหนด ความสมพันธ์ระหว่างกัน แปลว่าแย่แล้ว เพราะฉะนั้นแนวความคิดในการจะสื่อสารต่อสังคม เกิดสงครามขึ้นแล้วระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยกับฝ่ายราชการ จึงไม่ควรสื่อสารแบบนั้น แต่หากจะหาทางแก้ไขปัญหาเพื่อจะได้มาคุยกันอย่างสงบสันติ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีสหภาพ เพราะคิดว่าคงไม่มีใครจะมีความคิดผิดเพี้ยนถึงขั้นนั้น เพียงแต่ว่าอาจจะกล่าวด้วยอารมณ์ความรู้สึก และคิดว่าข้าราชการ ใหญ่กว่าทุกคน ซึ่งเรื่องนี้คิดผิดให้คิดใหม่ได้
“ต้องดูก่อนว่าจะไปไกลถึงขั้นไหน แต่ประเด็นคือ ไม่ต้องการให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้นในสังคมไทย คือ หากไม่พอใจการแต่งตั้งโยกย้ายก็ควรจะใช้ช่องทางปกติในการปรึกษาหารือกันดีกว่า”
"สมชาย" ยันไม่มีกฎหมายให้ตั้งสหภาพฯ
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวถึงกรณีที่ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมองว่าการโยกย้ายข้าราชการ อย่างไม่เป็นธรรมเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับการสู้คดีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อาจนำไปสู่กลียุค และรัฐบาลอาจจะรัฐประหารตัวเองหากเกิดความวุ่นวายว่า เรื่องการย้ายข้าราชการก็มีทุกยุคทุกสมัย แต่ต้องไปถามบุคคลที่เกี่ยวข้องว่า การย้ายมีเหตุผลและความเหมาะสมอย่างไร ซึ่งตนไม่ทราบเพราะไม่เคยย้ายใคร ขอย้ำว่า เรื่องการโยกย้ายมันก็ย้ายกันทั้งนั้น ทุกครั้งที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ทางราชการ ย้ายประจำปีก็มี อาจจะย้ายผิดฤดูก็มีบ้าง ซึ่งรัฐบาลที่ผ่านมาก็พอมีแต่ ไม่ได้หมายความว่า รัฐบาลไหนย้ายแล้วดีไม่ดี ต้องดูเหตุผล เชื่อว่าผู้ที่เกี่ยวข้องคงมีเหตุผลอยู่
นายสมชาย ระบุว่าการโยกย้ายไม่ได้เอื้อให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ส่วนที่มีการประเมินกันว่าการโยกย้ายข้าราชการไปไกลถึงขนาดจะมีการสร้างสถานการณ์ให้ประชาชนไม่พอใจ จากนั้นรัฐบาลอาจจะรัฐประหารตัวเองเพื่อตัดตอนไม่ให้พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม มีโอกาสเป็นไปได้หรือไม่ นายสสชายกล่าวว่า คิดมากไปหรือเปล่า คิดไกลกันไปไหน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในส่วนของสมาคมข้าราชการที่จะไปร่วมมือกันจัดตั้งสหภาพจะกลายเป็นว่ารัฐบาลต้องเจอศึกหนักกับมวลพลังข้าราชการทั่วประเทศหรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า เรื่องสหภาพข้าราชการไม่เคยได้ยินมาก่อน เพราะการตั้งสหภาพ ต้องมีกฎหมายรองรับ อย่างเช่น สหภาพแรงงานจะมี พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์รองรับอยู่ แต่ในส่วนของข้าราชการอาจจะมีอยู่โดยข้าราชการสามารถจะรวมกลุ่มกันได้ เพื่อดำเนินการในทางที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่มีกฎหมายเรื่องสหภาพ
ส่วนที่ขณะนี้ข้าราชการกำลังรอขั้นตอนยกร่างพระราชกฤษฎีกาจากสำนักงาน ก.พ. จะกลายเป็นจุดเฝ้ามองได้หรือไม่ว่ารัฐบาลอาจจะเตะถ่วงหรือเป็นอุปสรรค นายสมชาย กล่าวว่า ไม่หรอกถ้ามีกฎหมายให้ทำ ไม่มีใครเตะถ่วงได้ เพียงแต่มันไม่ใช่สหภาพหรือเปล่า อย่างไรก็ตามการทำอะไรหากมีกฎหมายรองรับ สามารถทำได้อยู่แล้ว ซึ่งเรื่องนี้ตนคงต้องศึกษาดูก่อน เพราะยังไม่เห็นร่างพระราชกฤษฎีกา ตอบไปเดี๋ยวผิดจะไม่ดี
ต่อข้อถามว่า เท่าที่ดูกฎหมายในปัจจุบัน มีช่องทางให้ข้าราชการไปจัดตั้งเป็นสหภาพข้าราชการได้ไหม นายสมชาย กล่าวว่า เคยเห็นแต่ให้รวมกลุ่มกันได้แต่ไม่เคยเห็นว่าเป็นเรื่องสหภาพ เมื่อถามว่า เวลานี้มีการออกมารวมกลุ่มต่อต้าน การโยกย้ายข้าราชการของฝ่ายการเมือง นายสมชายกล่าวว่า ไม่ทราบเหมือนกัน
“เลี้ยบ” ปัดรัฐบาลปฎิวัติตัวเอง
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และเลขาธิการพรรคพลังประชาชน กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแสดงความเป็นห่วงว่ารัฐบาลพยายามสร้างเงื่อนไขหลายประการเพื่อนำไปสู่การปฏิวัติตัวเองว่า รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนซึ่งเราได้พูดระหว่างการหาเสียงว่าเราจะทำให้ประชาธิปไตยกลับคืนมา เพราะฉะนั้นการที่จะมีการปฏิวัติเกิดขึ้นใหม่เป็นไปไม่ได้เลยรวมทั้งรัฐบาลก็ไม่เห็นด้วย นอกจากนี้การรัฐประหารเมื่อ 17 เดือนที่ผ่านมาทำให้บ้านเมืองบอบช้ำและสูญเสียโอกาสไปมากมาย เพราะฉะนั้นที่มีการคาดการณ์ว่าจะมีการรัฐประหารอีกครั้งโดยรัฐบาลจึงไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
ส่วนการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯจะส่งผลต่อการทำงานของรัฐบาลหรือไม่ นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า ระบอบประชาธิปไตยเปิดโอกาสให้แสดงความเห็นอย่าง หลากหลาย การที่กลุ่มพันธมิตรฯหรือกลุ่มอื่นมาแสดงความเห็นที่แตกต่างถือว่า เป็นสิทธิที่สามารถทำได้และรัฐบาลควรรับฟัง เพียงแต่ว่าอยากให้ผู้ที่ออกมา แสดงความเห็นได้ตระหนักว่าวันนี้เราได้ก้าวสู่ความบอบช้ำอย่างหนักและการที่ทุกคนมีสติและให้ความเห็นอย่างสร้างสรรค์น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
ส่วนที่พันธมิตรฯระบุว่าการที่รัฐบาลแต่งตั้งครม.ขี้เหร่และโยกย้ายข้าราชการ จะเป็นการยั่วยุประชาชนเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า การตั้งครม. ที่มีภาพลักษณ์ที่สังคมไม่พอใจมากนัก แต่เชื่อว่าเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่ารัฐมนตรีทุกคนตั้งใจทำงานหนักเพื่อหวังผลแก้ปัญหาของประเทศ ส่วนการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในช่วงนี้นั้น บางเรื่องเป็นเพียงข่าวลือ บางเรื่องก็เกิดจริง โดยรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็แจ้งเหตุผลให้ทราบแล้ว ฉะนั้นการแต่งตั้งโยกย้ายขาราชการเ กิดขึ้นได้ในทุกการบริหารงานของรัฐบาล
ส่วนที่พันธมิตรฯ ตั้งข้อกล่าวหาว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับประเทศครั้งนี้ อาจจะไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและอาจแทรกแซงบางคดี ระหว่างนั้นอาจจะเกิดเหตุไม่คาดฝัน เช่นแก้รัฐธรรมนูญหรือรัฐบาลปฏิวัติตัวเอง นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า การกลับประเทศของ พ.ต.ท.ทักษิณเพื่อมาต่อสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรม อีกทั้งพ.ต.ท.ทักษิณตั้งใจมามอบตัวซึ่งเจตนาคือต้องการมาต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม รัฐบาลอยากเห็นกระบวนการยุติธรรมเดินหน้าเพื่อพิสูจน์ว่าผิดคือผิด ถูกคือถูก และไม่มีอะไรล้มล้างกระบวนการยุติธรรมได้ ส่วนข้ออ้างของพันธมิตรฯที่ว่ารัฐบาลจะปฏิวัติตัวเองนั้น ขอย้ำว่ารัฐบาลนี้มาจากการเลือกตั้งและไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติไม่ว่าจะทำเพื่อตัวเองหรือเพื่อคนอื่น
ปธ.ศาล ปค.แนะ ขรก.ฟ้องศาล
นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด กล่าวถึงการวิพากษ์ วิจารณ์การโยกย้ายข้าราชการระดับสูงในขณะนี้ว่า เป็นเรื่องปกติ เพราะการบริหารงานบุคคลต้องมีการโยกย้าย แต่ถ้าข้าราชการเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมก็มีหลักกฎหมายอยู่ ให้ดำเนินการทางคดีได้ ซึ่งที่ผ่านมา ก็มีการตัดสินคดีดังกล่าวเป็นจำนวนมาก แต่อาจไม่เป็นข่าว ศาลมีหน้าที่ตรวจสอบว่าสิ่งที่ฝ่ายรัฐได้ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
“เราจะดูจากเหตุผลความจำเป็น และข้อเท็จจริง หากเป็นเรื่องที่ไม่สามารถ ยืดเยื้อได้ เราก็จะดูว่าส่งผลกระทบกับการบริหารงานราชการแผ่นดินหรือไม่ ดังนั้น บุคคลที่เป็นตุลาการศาลปกครอง ต้องมีความนิ่ง สร้างดุลยภาพ ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์สาธารณะ เพราะฉะนั้นการพิจารณาคดีใดๆ ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
ผู้สื่อข่าวถามว่า เป็นไปได้หรือไม่หากจะมีการเมืองเข้ามาแทรกแซงกระบวนการไต่สวนของศาล ประธานศาลปกครองสูงสุด กล่าวว่า ศาลเป็นคนที่ให้ความ เป็นธรรม มีเหตุผล เป็นกลาง ทำงานอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น เราไม่ห่วงเรื่อง การแทรกแซง เพราะการทำงานจะเป็นตัวกำหนดว่า เราให้เขาแทรกแซงได้หรือไม่ ถ้าเรามีจุดยืน ก็ไม่มีปัญหา แต่ก็ต้องระวังไว้เหมือนกัน ป้องกันไม่ให้มีอคติ ต้องมีหลักคิดที่เป็นกลาง
"นพดล" ยืนยันย้ายแน่ทูตหลายประเทศ
นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงกระแสข่าวการโยกย้ายทูตประจำญี่ปุ่น อังกฤษ บรัสเซล และ แคนาดา ว่า เป็นการโยกย้ายตามความจำเป็น ไม่ใช่การย้ายทั้งหมดในคราวเดียวกัน ส่วนสาเหตุที่ต้องย้ายเนื่องจาก นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ขอย้ายตัวเองออกจากการเป็นข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศไปอยู่ส่วนราชการอื่น ดังนั้น จึงต้องการสลับสับเปลี่ยนทูตผู้อื่นไปดำรงตำแหน่งแทน
ทั้งนี้ ขอยืนยันว่าได้ทำงานอย่างมีเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ในการทำงาน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่ได้ทำบัญชีโยกย้าย แต่ต้องการทำให้แล้วเสร็จในต้นเดือนนี้
“ขวัญและกำลังใจของข้าราชการอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยผมก็ได้ไปร่วมงานศพ ของข้าราชการชั้นผู้น้อยที่หัวใจวายวานนี้”
แหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า ในวันนี้ (6 มี.ค.) เวลา 09.00 น. นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้เรียกผู้บัญชาการเหล่าทัพ (ผบ.เหล่าทัพ) เข้ามาหารือ ในเรื่องการโยกย้ายนายทหารกลางปีช่วงเดือนเมษายน ที่ทำเนียบรัฐบาล ซึ่ง ผบ.เหล่าทัพได้เตรียมข้อมูลเรื่องการโยกย้ายมาให้นายสมัครดูว่าแต่ละเหล่าทัพจะมีการปรับเปลี่ยนในตำแหน่งไหนบ้าง อาจจะมีตำแหน่งสำคัญบ้างแต่ไม่มาก เพราะตำแหน่งสำคัญส่วนมากจะไปย้ายใหญ่เดือนตุลาคม โดยรายชื่อทั้งหมดจะต้องส่งถึงมือนายสมัคร อย่างช้าคือวันที่ 14-15 มี.ค.นี้
อย่างไรก็ตามนายสมัครให้แต่ละเหล่าทัพที่มีเรื่องร้องเรียนกรณีการโยกย้าย ไม่เป็นธรรมครั้งที่แล้วมาหารือด้วย และอาจจะนำเรื่องที่เตรียมหทารรุ่น 10 (ตท.10) ซึ่งเป็นเพื่อนนายทหารร่วมรุ่นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ถูกโยกย้ายอย่างไม่เป็นธรรมครั้งที่แล้วมาพูดคุย
"นายสมัคร ได้กล่าวไว้แล้วว่าหากข้าราชการคนไหนที่ถูกโยกย้ายอย่าง ไม่เป็นธรรม ก็ขอให้ทำเรื่องมาที่กระทรวงกลาโหม ซึ่งก็มีนายหารบางคนได้ทำเรื่อง ร้องเรียนไว้ เพราะการโยกย้ายครั้งที่แล้วมีทหารหลายคนร้องเรียนว่าถูกโยกย้าย อย่างไม่เป็นธรรม นายสมัครจึงจะนำเรื่องนีมาร่วมหารือในที่ประชุมกับผบ.เหล่าทัพ รวมถึง ตท.10 หลายคนที่ถูกโยกย้ายครั้งที่ผ่านมา ก็อาจจะมีการปรับย้ายในบางตำแหน่งเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ส่วนตำแหน่งผบ.เหล่าทัพคงจะไม่มีการปรับเปลี่ยน ยกเว้นแต่ในบางตำแหน่งหากพูดคุยกันไม่รู้เรื่อง อาจจะมีการปรับแต่คิดว่านายสมัครเป็นคนที่ประณีประนอมน่าจะพูดคุยกันรู้เรื่องไม่น่าจะมีการโยกย้ายผบ.เหล่าทัพในช่วงนี้"
สำหรับนายทหาร ตท.10 ที่คุมกำลังแล้วถูกโยกย้ายหลังปฎิวัติเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และอาจจะได้กลับมาคุมกำลังอีกครั้ง เช่น พล.ท.จิรเดช เกษะโกมล ที่ไปเป็นผู้ทรงคุณวุฒิกระทรวงกลาโหม พล.ต.พฤณฑ์ สุวรรณทัต ผบ.พล1 รอ.เป็นผู้ทรงคุณวุฒิกระทรวงกลาโหม พล.ท.ศานิต พรหมมาส ที่ถูกย้ายจาก ผบ.พล.ม.2 รอ. พล.ต.เรืองศักดิ์ ทองดี ถูกย้ายพ้น ผบ.พล.ปตอ. พล.ต.มนัส เปาริก ถูกย้ายออกจาก รองแม่ทัพภาคที่ 3 เป็นต้น
"ชลิต" เชื่อ "สมัคร" ไม่ทำลายกองทัพ
พล.อ.ชลิต พุกผาสุข ผบ.ทอ. ในฐานะอดีตรักษาการประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) กล่าวถึงการโยกย้ายข้าราชการที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในขณะนี้ว่า รัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการบริหารประเทศ เพราะฉะนั้นก็พยายามหาคนที่เหมาะสมมาทำงาน ส่วนเรื่องการพิจารณาตัวบุคคลก็เป็นเรื่องที่ถ้าท่านทำไม่ดี หรือไม่เหมาะ ท่านก็ต้องรับผิดชอบของท่าน เป็นเรื่องของการที่ผู้บริหารประเทศที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาต้องดำเนินการ
ผู้สื่อข่าวถามว่า มั่นใจในตัว นายสมัคร หรือไม่ว่าสามารถตัดสินใจเรื่องการปรับย้ายข้าราชการพลเรือนและกองทัพได้ดี พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า "นายกฯ สมัคร ท่านก็พยายามทำให้ทุกอย่างง่ายๆ ไปตามนโยบาย และวิถีทางที่พรรคต้องการทำ ท่านเองก็มีแนวความคิด แต่แน่นอนพรรคก็เป็นผู้บริหารประเทศ ก็ต้องเป็นคนส่งข้อมูลผ่านท่านมา"
ผู้สื่อข่าวซักว่า ระหว่างข้อมูลจากพรรคและ ข้อมูลจากเหล่าทัพ คิดว่าส่วนไหนจะมีน้ำหนักในการทำให้ท่านเชื่อมากกว่ากัน พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า "ทุกคนที่มาเป็นผู้บริหารของแต่ละกระทรวง ทุกคนเชื่อมั่นว่าจะทำให้งานที่กระทรวงนั้นๆให้เกิดผลดีที่สุด แล้วท่านต้องคำนึงถึง ในส่วนของกองทัพไทย และกระทรวงกลาโหม โดยเฉพาะกองทัพมีมา 600-700 ปีแล้ว และจะอยู่กับประเทศชาติไปอีกกี่ 100 ปี เพราะฉะนั้น ท่านไม่ทำลายกองทัพ หรือกระทรวงนั้นๆ"
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีรายการคุณขอมาจาก พ.ต.ท. ทักษิณ หรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า "ทุกคนก็พยายามที่จะให้ได้เป็นประโยชน์ส่วนตน หรือเฉพาะกลุ่ม สิ่งที่สำคัญในเทอมของกองทัพคือ กองทัพต้องเดินหน้า และพัฒนาต่อไป อย่างไรยังไม่ได้มีนัดหารือในเรื่องโผทหาร"
"จักรภพ" ว๊ากใส่ ขรก.ตั้งสหภาพฯ
นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การที่สมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทยจะขอ ออก พ.ร.ฎ.จัดต้งสหภาพข้าราชการนั้นเป็นสิทธิที่จะทำได้ แต่ขอติงไว้นิดหนึ่งว่า ประเทศนี้ไม่ใช่ของข้าราชการ แต่เป็นของประชาชนที่ไม่ได้รับราชการ และไม่ได้มีญาติพี่น้องที่อยู่ในตระกูลรับราชการ ฉะนั้นการทำเรื่องนี้ให้กลายเป็นประเด็นระดับชาติขึ้นมาต้องคิดให้ดีว่าในปัจจุบันนี้ประเทศไม่ได้อยู่ในระบอบอำมาตยาธิปไตย แต่อยู่ในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
“แต่ขอย้ำว่าเป็นสิทธิของท่าน(นายจาดุร อภิชาติบุตร รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี) ในการรวมกลุ่มกันได้ แต่ไม่ควรนำเรื่องการโยกย้ายข้าราชการเข้ามาพูด ในภาพรวม เพราะกรณีการย้ายข้าราชการระดับสูงใน ดีเอสไอ อย. กรมประชาสัมพันธ์ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นเหตุผลคนละกรณีกันทั้งสิ้น แต่เกิดขึ้นในคนละหวงกรณีเท่านั้น”
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะดำเนินการอย่างไรกับการเคลื่อนไหวของนายจาดุร อภิชาติบุตร รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีในเรื่องนี้ นายจักรภพ กล่าวว่า ไม่มีอะไรแต่ขอให้ท่านได้ช่วยเหลือข้าราชการด้วยการดูว่าข้าราชการจะต้องไม่เล่นการเมือง ข้าราชการจะต้องไม่คิดที่จะได้รับประโยชน์จากการอิงแอบตนเองเข้ากับรัฐบาลไม่ว่ารัฐบาลนั้นจะอยู่ในยุคเผด็จการ หรือ ยุคประชาธิปไตย ตรงนี้สมาคมข้าราชการพลเรือน สามารถเข้ามาดูแลได้เป็นอย่างดี กล่าวโดยสรุปคือ ช่วยกันกรองข้าราชการให้เหลือแต่ ข้าราชการที่ดีให้มีจำนวนมาก เพื่อรับใช้สังคม แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ มีปัญหาเฉพาะตัวบุคคลบางคนเท่านั้น
ส่วนแนวทางในการออก พ.ร.ฎ.จัดตั้งสหภาพ ถูกต้องหรือไม่ นายจักรภพ กล่าวว่า ไปไกลเกินไป เพราะข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่ภายใต้รัฐบาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การที่ต้องมีกฎหมายใดๆ เพื่อนำมากำหนด ความสมพันธ์ระหว่างกัน แปลว่าแย่แล้ว เพราะฉะนั้นแนวความคิดในการจะสื่อสารต่อสังคม เกิดสงครามขึ้นแล้วระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยกับฝ่ายราชการ จึงไม่ควรสื่อสารแบบนั้น แต่หากจะหาทางแก้ไขปัญหาเพื่อจะได้มาคุยกันอย่างสงบสันติ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีสหภาพ เพราะคิดว่าคงไม่มีใครจะมีความคิดผิดเพี้ยนถึงขั้นนั้น เพียงแต่ว่าอาจจะกล่าวด้วยอารมณ์ความรู้สึก และคิดว่าข้าราชการ ใหญ่กว่าทุกคน ซึ่งเรื่องนี้คิดผิดให้คิดใหม่ได้
“ต้องดูก่อนว่าจะไปไกลถึงขั้นไหน แต่ประเด็นคือ ไม่ต้องการให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้นในสังคมไทย คือ หากไม่พอใจการแต่งตั้งโยกย้ายก็ควรจะใช้ช่องทางปกติในการปรึกษาหารือกันดีกว่า”
"สมชาย" ยันไม่มีกฎหมายให้ตั้งสหภาพฯ
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวถึงกรณีที่ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมองว่าการโยกย้ายข้าราชการ อย่างไม่เป็นธรรมเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับการสู้คดีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อาจนำไปสู่กลียุค และรัฐบาลอาจจะรัฐประหารตัวเองหากเกิดความวุ่นวายว่า เรื่องการย้ายข้าราชการก็มีทุกยุคทุกสมัย แต่ต้องไปถามบุคคลที่เกี่ยวข้องว่า การย้ายมีเหตุผลและความเหมาะสมอย่างไร ซึ่งตนไม่ทราบเพราะไม่เคยย้ายใคร ขอย้ำว่า เรื่องการโยกย้ายมันก็ย้ายกันทั้งนั้น ทุกครั้งที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ทางราชการ ย้ายประจำปีก็มี อาจจะย้ายผิดฤดูก็มีบ้าง ซึ่งรัฐบาลที่ผ่านมาก็พอมีแต่ ไม่ได้หมายความว่า รัฐบาลไหนย้ายแล้วดีไม่ดี ต้องดูเหตุผล เชื่อว่าผู้ที่เกี่ยวข้องคงมีเหตุผลอยู่
นายสมชาย ระบุว่าการโยกย้ายไม่ได้เอื้อให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ส่วนที่มีการประเมินกันว่าการโยกย้ายข้าราชการไปไกลถึงขนาดจะมีการสร้างสถานการณ์ให้ประชาชนไม่พอใจ จากนั้นรัฐบาลอาจจะรัฐประหารตัวเองเพื่อตัดตอนไม่ให้พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม มีโอกาสเป็นไปได้หรือไม่ นายสสชายกล่าวว่า คิดมากไปหรือเปล่า คิดไกลกันไปไหน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในส่วนของสมาคมข้าราชการที่จะไปร่วมมือกันจัดตั้งสหภาพจะกลายเป็นว่ารัฐบาลต้องเจอศึกหนักกับมวลพลังข้าราชการทั่วประเทศหรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า เรื่องสหภาพข้าราชการไม่เคยได้ยินมาก่อน เพราะการตั้งสหภาพ ต้องมีกฎหมายรองรับ อย่างเช่น สหภาพแรงงานจะมี พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์รองรับอยู่ แต่ในส่วนของข้าราชการอาจจะมีอยู่โดยข้าราชการสามารถจะรวมกลุ่มกันได้ เพื่อดำเนินการในทางที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่มีกฎหมายเรื่องสหภาพ
ส่วนที่ขณะนี้ข้าราชการกำลังรอขั้นตอนยกร่างพระราชกฤษฎีกาจากสำนักงาน ก.พ. จะกลายเป็นจุดเฝ้ามองได้หรือไม่ว่ารัฐบาลอาจจะเตะถ่วงหรือเป็นอุปสรรค นายสมชาย กล่าวว่า ไม่หรอกถ้ามีกฎหมายให้ทำ ไม่มีใครเตะถ่วงได้ เพียงแต่มันไม่ใช่สหภาพหรือเปล่า อย่างไรก็ตามการทำอะไรหากมีกฎหมายรองรับ สามารถทำได้อยู่แล้ว ซึ่งเรื่องนี้ตนคงต้องศึกษาดูก่อน เพราะยังไม่เห็นร่างพระราชกฤษฎีกา ตอบไปเดี๋ยวผิดจะไม่ดี
ต่อข้อถามว่า เท่าที่ดูกฎหมายในปัจจุบัน มีช่องทางให้ข้าราชการไปจัดตั้งเป็นสหภาพข้าราชการได้ไหม นายสมชาย กล่าวว่า เคยเห็นแต่ให้รวมกลุ่มกันได้แต่ไม่เคยเห็นว่าเป็นเรื่องสหภาพ เมื่อถามว่า เวลานี้มีการออกมารวมกลุ่มต่อต้าน การโยกย้ายข้าราชการของฝ่ายการเมือง นายสมชายกล่าวว่า ไม่ทราบเหมือนกัน
“เลี้ยบ” ปัดรัฐบาลปฎิวัติตัวเอง
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และเลขาธิการพรรคพลังประชาชน กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแสดงความเป็นห่วงว่ารัฐบาลพยายามสร้างเงื่อนไขหลายประการเพื่อนำไปสู่การปฏิวัติตัวเองว่า รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนซึ่งเราได้พูดระหว่างการหาเสียงว่าเราจะทำให้ประชาธิปไตยกลับคืนมา เพราะฉะนั้นการที่จะมีการปฏิวัติเกิดขึ้นใหม่เป็นไปไม่ได้เลยรวมทั้งรัฐบาลก็ไม่เห็นด้วย นอกจากนี้การรัฐประหารเมื่อ 17 เดือนที่ผ่านมาทำให้บ้านเมืองบอบช้ำและสูญเสียโอกาสไปมากมาย เพราะฉะนั้นที่มีการคาดการณ์ว่าจะมีการรัฐประหารอีกครั้งโดยรัฐบาลจึงไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
ส่วนการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯจะส่งผลต่อการทำงานของรัฐบาลหรือไม่ นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า ระบอบประชาธิปไตยเปิดโอกาสให้แสดงความเห็นอย่าง หลากหลาย การที่กลุ่มพันธมิตรฯหรือกลุ่มอื่นมาแสดงความเห็นที่แตกต่างถือว่า เป็นสิทธิที่สามารถทำได้และรัฐบาลควรรับฟัง เพียงแต่ว่าอยากให้ผู้ที่ออกมา แสดงความเห็นได้ตระหนักว่าวันนี้เราได้ก้าวสู่ความบอบช้ำอย่างหนักและการที่ทุกคนมีสติและให้ความเห็นอย่างสร้างสรรค์น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
ส่วนที่พันธมิตรฯระบุว่าการที่รัฐบาลแต่งตั้งครม.ขี้เหร่และโยกย้ายข้าราชการ จะเป็นการยั่วยุประชาชนเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า การตั้งครม. ที่มีภาพลักษณ์ที่สังคมไม่พอใจมากนัก แต่เชื่อว่าเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่ารัฐมนตรีทุกคนตั้งใจทำงานหนักเพื่อหวังผลแก้ปัญหาของประเทศ ส่วนการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในช่วงนี้นั้น บางเรื่องเป็นเพียงข่าวลือ บางเรื่องก็เกิดจริง โดยรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็แจ้งเหตุผลให้ทราบแล้ว ฉะนั้นการแต่งตั้งโยกย้ายขาราชการเ กิดขึ้นได้ในทุกการบริหารงานของรัฐบาล
ส่วนที่พันธมิตรฯ ตั้งข้อกล่าวหาว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับประเทศครั้งนี้ อาจจะไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและอาจแทรกแซงบางคดี ระหว่างนั้นอาจจะเกิดเหตุไม่คาดฝัน เช่นแก้รัฐธรรมนูญหรือรัฐบาลปฏิวัติตัวเอง นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า การกลับประเทศของ พ.ต.ท.ทักษิณเพื่อมาต่อสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรม อีกทั้งพ.ต.ท.ทักษิณตั้งใจมามอบตัวซึ่งเจตนาคือต้องการมาต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม รัฐบาลอยากเห็นกระบวนการยุติธรรมเดินหน้าเพื่อพิสูจน์ว่าผิดคือผิด ถูกคือถูก และไม่มีอะไรล้มล้างกระบวนการยุติธรรมได้ ส่วนข้ออ้างของพันธมิตรฯที่ว่ารัฐบาลจะปฏิวัติตัวเองนั้น ขอย้ำว่ารัฐบาลนี้มาจากการเลือกตั้งและไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติไม่ว่าจะทำเพื่อตัวเองหรือเพื่อคนอื่น
ปธ.ศาล ปค.แนะ ขรก.ฟ้องศาล
นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด กล่าวถึงการวิพากษ์ วิจารณ์การโยกย้ายข้าราชการระดับสูงในขณะนี้ว่า เป็นเรื่องปกติ เพราะการบริหารงานบุคคลต้องมีการโยกย้าย แต่ถ้าข้าราชการเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมก็มีหลักกฎหมายอยู่ ให้ดำเนินการทางคดีได้ ซึ่งที่ผ่านมา ก็มีการตัดสินคดีดังกล่าวเป็นจำนวนมาก แต่อาจไม่เป็นข่าว ศาลมีหน้าที่ตรวจสอบว่าสิ่งที่ฝ่ายรัฐได้ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
“เราจะดูจากเหตุผลความจำเป็น และข้อเท็จจริง หากเป็นเรื่องที่ไม่สามารถ ยืดเยื้อได้ เราก็จะดูว่าส่งผลกระทบกับการบริหารงานราชการแผ่นดินหรือไม่ ดังนั้น บุคคลที่เป็นตุลาการศาลปกครอง ต้องมีความนิ่ง สร้างดุลยภาพ ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์สาธารณะ เพราะฉะนั้นการพิจารณาคดีใดๆ ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
ผู้สื่อข่าวถามว่า เป็นไปได้หรือไม่หากจะมีการเมืองเข้ามาแทรกแซงกระบวนการไต่สวนของศาล ประธานศาลปกครองสูงสุด กล่าวว่า ศาลเป็นคนที่ให้ความ เป็นธรรม มีเหตุผล เป็นกลาง ทำงานอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น เราไม่ห่วงเรื่อง การแทรกแซง เพราะการทำงานจะเป็นตัวกำหนดว่า เราให้เขาแทรกแซงได้หรือไม่ ถ้าเรามีจุดยืน ก็ไม่มีปัญหา แต่ก็ต้องระวังไว้เหมือนกัน ป้องกันไม่ให้มีอคติ ต้องมีหลักคิดที่เป็นกลาง
"นพดล" ยืนยันย้ายแน่ทูตหลายประเทศ
นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงกระแสข่าวการโยกย้ายทูตประจำญี่ปุ่น อังกฤษ บรัสเซล และ แคนาดา ว่า เป็นการโยกย้ายตามความจำเป็น ไม่ใช่การย้ายทั้งหมดในคราวเดียวกัน ส่วนสาเหตุที่ต้องย้ายเนื่องจาก นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ขอย้ายตัวเองออกจากการเป็นข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศไปอยู่ส่วนราชการอื่น ดังนั้น จึงต้องการสลับสับเปลี่ยนทูตผู้อื่นไปดำรงตำแหน่งแทน
ทั้งนี้ ขอยืนยันว่าได้ทำงานอย่างมีเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ในการทำงาน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่ได้ทำบัญชีโยกย้าย แต่ต้องการทำให้แล้วเสร็จในต้นเดือนนี้
“ขวัญและกำลังใจของข้าราชการอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยผมก็ได้ไปร่วมงานศพ ของข้าราชการชั้นผู้น้อยที่หัวใจวายวานนี้”