“หมอศิริวัฒน์” ประกาศเดินหน้าสู้เต็มที่กรณีถูกโยกย้ายไม่เป็นธรรม เตรียมยื่นเรื่องอุทธรณ์ต่อ ก.พ. เชื่อกระทบซีแอลแน่ แพทย์ชนบทผนึกเครือข่ายผู้ป่วยบุกสธ.วางหรีดไล่ “ไชยา” ลั่นจะถวายฎีกาขอความเป็นธรรม พร้อมใช้มาตรการทางสังคมกดดัน เจอหน้าไม่ทัก-ไม่ไหว้ ด้าน “หมอประเวศ” ระบุในสหรัฐฯ บริษัทยาหลายบริษัทต่างร่วมมือกันล็อบบี้ตำแหน่งผอ.อย.มาแล้ว ขณะที่รมว.สธ.ย้ำไม่มีอคติ-ไม่ใช่ส่งสัญญาณล้มซีแอล ส่วน“หมอวิชัย” ลั่นถูกสั่งปลดไม่อยู่เฉยแน่ หมอมงคลเหน็บเจ็บทำไงได้ในเมื่อคนที่มาบริหารเป็นคนที่ประชาชนเลือกเข้ามาทำงานเอง
วานนี้(27 ก.พ.)นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล อดีตเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวเปิดใจถึงกรณีที่นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ลงนามในคำสั่งย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขว่า สาเหตุที่ รมว.สธ.สั่งย้ายไปเป็นผู้ตรวจราชการ โดยอ้างว่าเพื่อความเหมาะสมและได้มีการสั่งให้ อย.ตรวจสินค้าสุขภาพ 2-3 รายการ ได้แก่ การนำเข้าเครื่องในหมูที่มีสารปนเปื้อน เครื่องดื่มผสมกาเฟอีนที่มีสารกระตุ้นทางเพศ หรือแม้แต่สุราพื้นบ้านที่มีการปนเปื้อน ทั้งหมดทาง อย.ได้ดำเนินการทันที โดยส่งให้ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์วิเคราะห์และรายงานผล อย่างไรก็ตาม ผลวิเคราะห์ต้องใช้ระยะเวลา แต่ยืนยันว่าดำเนินการแล้วในทันที
ชี้ไม่เป็นธรรมยื่นอุทธรณ์ ก.พ.
สำหรับการเดินหน้าต่อจากนี้ นพ.ศิริวัฒน์ เปิดเผยว่าจะดำเนินการต่อสู้โดยการขอยื่นอุทธรณ์ตามกระบวนการไปยังสำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ตามขั้นตอนกระบวนการข้าราชการ ส่วนจะฟ้องศาลปกครองหรือไม่ ขอปรึกษาผู้ใหญ่ด้านกฎหมายก่อน
นพ.ศิริวัฒน์ กล่าวต่ออีกว่า การถูกโยกย้ายในครั้งนี้เชื่อว่าน่าจะส่งผลกระทบต่อการผลักดันการทำซีแอลยามะเร็ง เนื่องจากการทำซีแอลไม่ได้เกี่ยวกับการเจรจาต่อรองราคายาแต่เพียงอย่างเดียว การทำซีแอลต้องทำเป็นทีม ถ้าหากไปคนใดคนหนึ่งจะทำให้เกิดการชะงัก เพราะที่ผ่านมาก็มีประสบการณ์ในการเจรจาต่อรองราคา ตลอดระยะเวลาประมาณ 1 ปีเศษที่ทำงานมา จากนี้จะนำประสบการณ์ทั้งหมดถ่ายทอดลงหนังสือเพื่อประโยชน์ต่อคนอื่นๆ และประเทศเพื่อนบ้าน
ถวายฎีกาขอความเป็นธรรม
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ให้สัมภาษณ์ว่า ทางชมรมแพทย์ชนบทจะร่วมกับเครือข่ายผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรคมะเร็ง โรคเอดส์โรคไต ทำหนังสือถวายฎีกาขอความเป็นธรรมกรณีที่นพ.ศิริวัฒน์ถูกย้าย ซึ่งมั่นใจว่ามีสาเหตุจากการทำซีแอลยาแน่นอน
นอกจากนั้น ในวันที่ 29 ก.พ.นี้ แพทย์ชนบทจะเดินทางมาที่ สธ.เพื่อมอบสิ่งของบางอย่างให้นายไชยา และสิ่งที่กระทำได้เลยคือการใช้มาตรการทางสังคมหรือโซเชียล แซงชั่นส์
“สิ่งที่เราชาวสาธารณสุขทำได้ตอนนี้เลยคือ โซเชียล แซงชั่นส์ เจอหน้าก็จะไม่ทัก ไม่นับถือ ไม่ไหว้ ไม่ต้อนรับ เราเป็นข้าราชการ จะไม่ยอมให้ผีป่าเข้ามาทำลายบ้านของเรา ทำให้กระทรวงเสียหาย”ประธานชมรมแพทย์ชนบทกล่าว
"หมอประเวศ"ชี้หมอศิริวัฒน์คนดี
ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ให้สัมภาษณ์กรณีการโยกย้ายข้าราชการระดับสูง ทั้งของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ว่า ต้องให้กำลังใจและสนับสนุนการดำเนินงานของรัฐบาล แต่ในส่วนของกระบวนการยุติธรรม ไม่ต้องการให้มีการแตะต้อง รัฐบาลควรเป็นกลาง และกระบวนการยุติธรรมไม่ควรเข้าไปแทรกแซง
ส่วนเรื่องปัญหาการดำเนินการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (ซีแอล) ยา และปัญหาในสธ.นั้น ต้องบอกว่า ความจริงต้องชื่นชม นพ.วิชัย โชควิวัฒนประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผอ.องค์การเภสัชกรรม นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการ อย. ที่กล้าทำงานเรื่องยาเพื่อคนจน คนไทยต้องช่วยให้กำลังใจ ช่วยเชียร์คนทำงาน ทั้งนี้ ตนเห็น นพ.ศิริวัฒน์ มาตั้งแต่เป็นนักเรียนแพทย์ เป็นคนดี
“เรื่องของสิทธิบัตรยาในต่างประเทศมีบทเรียนให้เห็น เช่น ในสหรัฐ บริษัทยาหลายบริษัทต่างร่วมมือกันล็อบบี้ตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การอาหารและยาของสหรัฐมาแล้ว แต่ในส่วนของประเทศไทยผมยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด แต่เราอยู่ในกลุ่มประเทศการค้าและการแข่งขันทางการตลาดที่ไม่แตกต่างกัน จึงเชื่อว่าก็คงไม่แตกต่าง” ศ.นพ.ประเวศ กล่าว
"ไชยา"ย้ำไม่มีอคติ-ไม่ล้มซีแอล
วันเดียวกันนายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สธ.กล่าวย้ำถึงการโยกย้ายผู้บริหารระดับ 10 จำนวน 3 ตำแหน่งว่าเป็นการโยกย้ายตามปกติ โยกย้ายสับเปลี่ยนเพื่อทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยไม่มีอคติใดๆ ไม่ได้ทำร้ายใครทั้งสิ้น การโยกย้ายไม่เกี่ยวข้องกับซีแอลแต่อย่างใด ไม่ใช่การส่งสัญญาณล้มเรื่องซีแอล
“ถ้าจะถวายฎีกาฯ ก็ไม่รู้จะห้ามยังไง ยินดี เพราะถือว่าบริสุทธิ์ ใจ ก่อนหน้าที่ท่านมากระโดดข้ามมากี่คน เอาแค่นี้ คนเราอย่าไปมองคนอื่น มองตัวเราเองด้วย สิ่งที่ผมทำมีคำตอบมีเหตุมีผล พร้อมให้ข้าราชการวิจารณ์ ผมเป็นนักการเมือง ต้องยืนกลางแจ้ง หลบไม่ได้ ทำดีได้ดอกไม้ ไม่ดีก็ก้อนอิฐ พร้อมเปิดห้องให้มาคุย ว่าทำไมต้องย้าย เป็นเรื่องปกติ ในวงราชการ จะไม่มีการทบทวนเสนอ เพราะเสนอให้โปรดเกล้าไปแล้ว”นายไชยากล่าว
บุก สธ.ให้กำลังใจ "หมอศิริวัฒน์"
วานนี้ (27 ก.พ.) นายสุบิน นกสกุล ประธานชมรมเครือข่ายผู้ป่วยโรคไต พร้อมด้วย น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท พร้อมด้วยผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรคไต โรคหัวใจ ประมาณ 30 คน เดินทางมามอบกระเช้าดอกไม้ให้ นพ.ศิริวัฒน์
จากนั้นกลุ่มเครือข่ายผู้ป่วยได้เดินเท้าไปอาคารสำนักงานปลัด สธ. โดยได้นำพวงรีดดอกไม้จันทน์ ระบุข้อความว่า “แด่...รัด-มน-ตี และ ปา-หลัด” นอกจากนี้เครือข่ายผู้ป่วยเรื้อรังยังได้ถือป้ายประท้วงนโยบายการทำงานต่างๆ ของนายไชยา กว่า 10 แผ่นป้าย อาทิ “เอาซีแอลคืนมา เอารมต.คืนไป (เลี้ยงหมู)” “ครม. ขี้เหร่ไม่ว่า แต่อย่าขี้ขลาดเรื่องซีแอล”
“หมอวิชัย” ลั่นถูกสั่งปลดไม่อยู่เฉยแน่
นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม(อภ.) และฐานะประธานคณะกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยรัฐ กล่าวว่า ไม่กังวล หากจะถูกคำสั่งปลดออกจากตำแหน่งประธานบอร์ด อภ. แบบฟ้าผ่าเหมือนนพ.ศิริวัฒน์ ยังจะปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุดตามปกติ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าที่ผ่านมาก็มีสัญญาณเกี่ยวกับเรื่องนี้มาที่ตนเหมือนกัน แต่ขอไม่เปิดเผยว่าคืออะไรเพราะไม่เหมาะสม
“หากผมถูกสั่งปลดจริงๆ คงจะไม่อยู่เฉยแน่ๆ มีช่องทางให้ร้องเรียนเยอะ บ้านเมืองนี้มีขื่อ มีแป ไม่มีใครมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในประเทศนี้ และผมรักความเป็นธรรมหากไม่ได้รับความเป็นธรรมก็ต้องเรียกร้องแน่ ซึ่งผมไม่ได้ถือว่าอภ. เป็นของเรา แต่เมื่อได้รับมอบหมายหน้าที่มาก็ต้องทำให้ดีที่สุด ซึ่งตำแหน่งประธานบอร์ดอภ. กฎหมายกำหนดระยะเวลาให้ทำงานได้ 5 ปี ซึ่งมีเหตุผล เพราะอภ. เป็นรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่ 2 เรื่อง คือ ดูแลเรื่องยาทั้งหมด การผลิตยา สำรองยาในภาวะฉุกเฉิน ตรึงราคายา แก้ไขปัญหาขาดแคลนยา เป็นต้น ขณะเดียวกันก็มีหน้าที่ในการส่งเงินให้รัฐ” นพ.วิชัยกล่าว
“หมอมงคล” ชี้ประชาชนคือผู้สูญเสีย
นพ.มงคล ณ สงขลา อดีตรมว.สธ. กล่าวว่า การยกเลิกซีแอลเป็นเรื่องลำบาก รวมถึงซีแอลกับยารักษาโรคมะเร็งไปด้วย แต่ในอนาคตไทยจะต่อรองกับบริษัทยาได้ยากขึ้น การต่อรองเหล่านี้จะหายไป เพราะซีแอลเป็นเครื่องมือหนึ่งในการทำให้บริษัทยายอมมาเจรจาต่อรองราคายา หรืออย่างน้อยก็เกรงใจและยอมมาเจรจากัน และทำให้จากเดิมที่ได้ยาดีราคาถูก กลับกลายเป็นยาดีราคาแพง
ทั้งนี้ ในอนาคตอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม ความสูญเสียไม่ได้เกิดกับผู้ถูกปลด แต่ประชาชนคือผู้สูญเสีย
“อย่าให้คนที่ทั้งชีวิตต่อสู้เพื่อประชาชน ต้องต่อสู้จนตัวเองเป็นแผลทั้งตัว เอาตัวเองไม่รอด ซึ่งควรเป็นเรื่องของประชาชนด้วย หากมีอะไรไม่ถูกต้อง ไม่ดี ก็ต้องช่วยกัน ไม่ให้ใครเป็นพระเอกต้องถูกฆ่าตายทีละคนสองคน ถ้าสังคมเข้มแข็ง สังคมที่มีคนดี ยึดถือความถูกต้อง ยึดประโยชน์ช่วยเหลือความยากไร้ ถ้าแบบนี้คนเหล่านี้จะได้รับความคุ้มครอง แต่ถ้าไม่ได้รับความคุ้มครองแสดงว่าสังคมไม่ดีพอไม่แข็งแรงพอ ไม่มีภูมิต้านทานพอ ขณะนี้ภูมิต้านทานของเราไม่ดี ผีบ้านเราก็ไม่แข็งแรง คนในสธ.เองก็ไม่แข็งพอ ผมสงสารคนเหล่านี้ที่มีศักดิ์ศรีของตนเอง แต่ทำเพื่อความอยู่รอด เอาศักดิ์ศรีเข้าแลก คนเหล่านี้เหมือนกับคนที่ไม่มีศักดิ์ศรีนั่นคือคนตายไปแล้ว”นพ.มงคล กล่าว
นพ.มงคล กล่าวต่อว่า จนถึงวันนี้ยังไม่ได้คุยกับนพ.ศิริวัฒน์แต่อย่างใด แต่เคยได้ยินบ่นว่าเหนื่อย เพราะทราบดีว่ารู้สึกอย่างไร ซึ่งการไปรับตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงก็ไม่น่าห่วงอะไร นพ.ศิริวัฒน์เป็นผู้ไม่มีผลประโยชน์อะไรอยู่แล้ว ไปอยู่ที่ไหนก็ไม่ต้องเป็นห่วง แต่ห่วงตรงที่ประชาชนจะได้ประโยชน์น้อยลง แต่จะทำอย่างไรได้ ในเมื่อคนที่มาบริหารเป็นคนที่ประชาชนเลือกเข้ามาทำงานเอง ทุกคนมีบทบาทของตัวเองก็เล่นไปตามลีลา
วานนี้(27 ก.พ.)นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล อดีตเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวเปิดใจถึงกรณีที่นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ลงนามในคำสั่งย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขว่า สาเหตุที่ รมว.สธ.สั่งย้ายไปเป็นผู้ตรวจราชการ โดยอ้างว่าเพื่อความเหมาะสมและได้มีการสั่งให้ อย.ตรวจสินค้าสุขภาพ 2-3 รายการ ได้แก่ การนำเข้าเครื่องในหมูที่มีสารปนเปื้อน เครื่องดื่มผสมกาเฟอีนที่มีสารกระตุ้นทางเพศ หรือแม้แต่สุราพื้นบ้านที่มีการปนเปื้อน ทั้งหมดทาง อย.ได้ดำเนินการทันที โดยส่งให้ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์วิเคราะห์และรายงานผล อย่างไรก็ตาม ผลวิเคราะห์ต้องใช้ระยะเวลา แต่ยืนยันว่าดำเนินการแล้วในทันที
ชี้ไม่เป็นธรรมยื่นอุทธรณ์ ก.พ.
สำหรับการเดินหน้าต่อจากนี้ นพ.ศิริวัฒน์ เปิดเผยว่าจะดำเนินการต่อสู้โดยการขอยื่นอุทธรณ์ตามกระบวนการไปยังสำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ตามขั้นตอนกระบวนการข้าราชการ ส่วนจะฟ้องศาลปกครองหรือไม่ ขอปรึกษาผู้ใหญ่ด้านกฎหมายก่อน
นพ.ศิริวัฒน์ กล่าวต่ออีกว่า การถูกโยกย้ายในครั้งนี้เชื่อว่าน่าจะส่งผลกระทบต่อการผลักดันการทำซีแอลยามะเร็ง เนื่องจากการทำซีแอลไม่ได้เกี่ยวกับการเจรจาต่อรองราคายาแต่เพียงอย่างเดียว การทำซีแอลต้องทำเป็นทีม ถ้าหากไปคนใดคนหนึ่งจะทำให้เกิดการชะงัก เพราะที่ผ่านมาก็มีประสบการณ์ในการเจรจาต่อรองราคา ตลอดระยะเวลาประมาณ 1 ปีเศษที่ทำงานมา จากนี้จะนำประสบการณ์ทั้งหมดถ่ายทอดลงหนังสือเพื่อประโยชน์ต่อคนอื่นๆ และประเทศเพื่อนบ้าน
ถวายฎีกาขอความเป็นธรรม
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ให้สัมภาษณ์ว่า ทางชมรมแพทย์ชนบทจะร่วมกับเครือข่ายผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรคมะเร็ง โรคเอดส์โรคไต ทำหนังสือถวายฎีกาขอความเป็นธรรมกรณีที่นพ.ศิริวัฒน์ถูกย้าย ซึ่งมั่นใจว่ามีสาเหตุจากการทำซีแอลยาแน่นอน
นอกจากนั้น ในวันที่ 29 ก.พ.นี้ แพทย์ชนบทจะเดินทางมาที่ สธ.เพื่อมอบสิ่งของบางอย่างให้นายไชยา และสิ่งที่กระทำได้เลยคือการใช้มาตรการทางสังคมหรือโซเชียล แซงชั่นส์
“สิ่งที่เราชาวสาธารณสุขทำได้ตอนนี้เลยคือ โซเชียล แซงชั่นส์ เจอหน้าก็จะไม่ทัก ไม่นับถือ ไม่ไหว้ ไม่ต้อนรับ เราเป็นข้าราชการ จะไม่ยอมให้ผีป่าเข้ามาทำลายบ้านของเรา ทำให้กระทรวงเสียหาย”ประธานชมรมแพทย์ชนบทกล่าว
"หมอประเวศ"ชี้หมอศิริวัฒน์คนดี
ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ให้สัมภาษณ์กรณีการโยกย้ายข้าราชการระดับสูง ทั้งของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ว่า ต้องให้กำลังใจและสนับสนุนการดำเนินงานของรัฐบาล แต่ในส่วนของกระบวนการยุติธรรม ไม่ต้องการให้มีการแตะต้อง รัฐบาลควรเป็นกลาง และกระบวนการยุติธรรมไม่ควรเข้าไปแทรกแซง
ส่วนเรื่องปัญหาการดำเนินการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (ซีแอล) ยา และปัญหาในสธ.นั้น ต้องบอกว่า ความจริงต้องชื่นชม นพ.วิชัย โชควิวัฒนประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผอ.องค์การเภสัชกรรม นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการ อย. ที่กล้าทำงานเรื่องยาเพื่อคนจน คนไทยต้องช่วยให้กำลังใจ ช่วยเชียร์คนทำงาน ทั้งนี้ ตนเห็น นพ.ศิริวัฒน์ มาตั้งแต่เป็นนักเรียนแพทย์ เป็นคนดี
“เรื่องของสิทธิบัตรยาในต่างประเทศมีบทเรียนให้เห็น เช่น ในสหรัฐ บริษัทยาหลายบริษัทต่างร่วมมือกันล็อบบี้ตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การอาหารและยาของสหรัฐมาแล้ว แต่ในส่วนของประเทศไทยผมยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด แต่เราอยู่ในกลุ่มประเทศการค้าและการแข่งขันทางการตลาดที่ไม่แตกต่างกัน จึงเชื่อว่าก็คงไม่แตกต่าง” ศ.นพ.ประเวศ กล่าว
"ไชยา"ย้ำไม่มีอคติ-ไม่ล้มซีแอล
วันเดียวกันนายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สธ.กล่าวย้ำถึงการโยกย้ายผู้บริหารระดับ 10 จำนวน 3 ตำแหน่งว่าเป็นการโยกย้ายตามปกติ โยกย้ายสับเปลี่ยนเพื่อทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยไม่มีอคติใดๆ ไม่ได้ทำร้ายใครทั้งสิ้น การโยกย้ายไม่เกี่ยวข้องกับซีแอลแต่อย่างใด ไม่ใช่การส่งสัญญาณล้มเรื่องซีแอล
“ถ้าจะถวายฎีกาฯ ก็ไม่รู้จะห้ามยังไง ยินดี เพราะถือว่าบริสุทธิ์ ใจ ก่อนหน้าที่ท่านมากระโดดข้ามมากี่คน เอาแค่นี้ คนเราอย่าไปมองคนอื่น มองตัวเราเองด้วย สิ่งที่ผมทำมีคำตอบมีเหตุมีผล พร้อมให้ข้าราชการวิจารณ์ ผมเป็นนักการเมือง ต้องยืนกลางแจ้ง หลบไม่ได้ ทำดีได้ดอกไม้ ไม่ดีก็ก้อนอิฐ พร้อมเปิดห้องให้มาคุย ว่าทำไมต้องย้าย เป็นเรื่องปกติ ในวงราชการ จะไม่มีการทบทวนเสนอ เพราะเสนอให้โปรดเกล้าไปแล้ว”นายไชยากล่าว
บุก สธ.ให้กำลังใจ "หมอศิริวัฒน์"
วานนี้ (27 ก.พ.) นายสุบิน นกสกุล ประธานชมรมเครือข่ายผู้ป่วยโรคไต พร้อมด้วย น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท พร้อมด้วยผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรคไต โรคหัวใจ ประมาณ 30 คน เดินทางมามอบกระเช้าดอกไม้ให้ นพ.ศิริวัฒน์
จากนั้นกลุ่มเครือข่ายผู้ป่วยได้เดินเท้าไปอาคารสำนักงานปลัด สธ. โดยได้นำพวงรีดดอกไม้จันทน์ ระบุข้อความว่า “แด่...รัด-มน-ตี และ ปา-หลัด” นอกจากนี้เครือข่ายผู้ป่วยเรื้อรังยังได้ถือป้ายประท้วงนโยบายการทำงานต่างๆ ของนายไชยา กว่า 10 แผ่นป้าย อาทิ “เอาซีแอลคืนมา เอารมต.คืนไป (เลี้ยงหมู)” “ครม. ขี้เหร่ไม่ว่า แต่อย่าขี้ขลาดเรื่องซีแอล”
“หมอวิชัย” ลั่นถูกสั่งปลดไม่อยู่เฉยแน่
นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม(อภ.) และฐานะประธานคณะกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยรัฐ กล่าวว่า ไม่กังวล หากจะถูกคำสั่งปลดออกจากตำแหน่งประธานบอร์ด อภ. แบบฟ้าผ่าเหมือนนพ.ศิริวัฒน์ ยังจะปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุดตามปกติ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าที่ผ่านมาก็มีสัญญาณเกี่ยวกับเรื่องนี้มาที่ตนเหมือนกัน แต่ขอไม่เปิดเผยว่าคืออะไรเพราะไม่เหมาะสม
“หากผมถูกสั่งปลดจริงๆ คงจะไม่อยู่เฉยแน่ๆ มีช่องทางให้ร้องเรียนเยอะ บ้านเมืองนี้มีขื่อ มีแป ไม่มีใครมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในประเทศนี้ และผมรักความเป็นธรรมหากไม่ได้รับความเป็นธรรมก็ต้องเรียกร้องแน่ ซึ่งผมไม่ได้ถือว่าอภ. เป็นของเรา แต่เมื่อได้รับมอบหมายหน้าที่มาก็ต้องทำให้ดีที่สุด ซึ่งตำแหน่งประธานบอร์ดอภ. กฎหมายกำหนดระยะเวลาให้ทำงานได้ 5 ปี ซึ่งมีเหตุผล เพราะอภ. เป็นรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่ 2 เรื่อง คือ ดูแลเรื่องยาทั้งหมด การผลิตยา สำรองยาในภาวะฉุกเฉิน ตรึงราคายา แก้ไขปัญหาขาดแคลนยา เป็นต้น ขณะเดียวกันก็มีหน้าที่ในการส่งเงินให้รัฐ” นพ.วิชัยกล่าว
“หมอมงคล” ชี้ประชาชนคือผู้สูญเสีย
นพ.มงคล ณ สงขลา อดีตรมว.สธ. กล่าวว่า การยกเลิกซีแอลเป็นเรื่องลำบาก รวมถึงซีแอลกับยารักษาโรคมะเร็งไปด้วย แต่ในอนาคตไทยจะต่อรองกับบริษัทยาได้ยากขึ้น การต่อรองเหล่านี้จะหายไป เพราะซีแอลเป็นเครื่องมือหนึ่งในการทำให้บริษัทยายอมมาเจรจาต่อรองราคายา หรืออย่างน้อยก็เกรงใจและยอมมาเจรจากัน และทำให้จากเดิมที่ได้ยาดีราคาถูก กลับกลายเป็นยาดีราคาแพง
ทั้งนี้ ในอนาคตอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม ความสูญเสียไม่ได้เกิดกับผู้ถูกปลด แต่ประชาชนคือผู้สูญเสีย
“อย่าให้คนที่ทั้งชีวิตต่อสู้เพื่อประชาชน ต้องต่อสู้จนตัวเองเป็นแผลทั้งตัว เอาตัวเองไม่รอด ซึ่งควรเป็นเรื่องของประชาชนด้วย หากมีอะไรไม่ถูกต้อง ไม่ดี ก็ต้องช่วยกัน ไม่ให้ใครเป็นพระเอกต้องถูกฆ่าตายทีละคนสองคน ถ้าสังคมเข้มแข็ง สังคมที่มีคนดี ยึดถือความถูกต้อง ยึดประโยชน์ช่วยเหลือความยากไร้ ถ้าแบบนี้คนเหล่านี้จะได้รับความคุ้มครอง แต่ถ้าไม่ได้รับความคุ้มครองแสดงว่าสังคมไม่ดีพอไม่แข็งแรงพอ ไม่มีภูมิต้านทานพอ ขณะนี้ภูมิต้านทานของเราไม่ดี ผีบ้านเราก็ไม่แข็งแรง คนในสธ.เองก็ไม่แข็งพอ ผมสงสารคนเหล่านี้ที่มีศักดิ์ศรีของตนเอง แต่ทำเพื่อความอยู่รอด เอาศักดิ์ศรีเข้าแลก คนเหล่านี้เหมือนกับคนที่ไม่มีศักดิ์ศรีนั่นคือคนตายไปแล้ว”นพ.มงคล กล่าว
นพ.มงคล กล่าวต่อว่า จนถึงวันนี้ยังไม่ได้คุยกับนพ.ศิริวัฒน์แต่อย่างใด แต่เคยได้ยินบ่นว่าเหนื่อย เพราะทราบดีว่ารู้สึกอย่างไร ซึ่งการไปรับตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงก็ไม่น่าห่วงอะไร นพ.ศิริวัฒน์เป็นผู้ไม่มีผลประโยชน์อะไรอยู่แล้ว ไปอยู่ที่ไหนก็ไม่ต้องเป็นห่วง แต่ห่วงตรงที่ประชาชนจะได้ประโยชน์น้อยลง แต่จะทำอย่างไรได้ ในเมื่อคนที่มาบริหารเป็นคนที่ประชาชนเลือกเข้ามาทำงานเอง ทุกคนมีบทบาทของตัวเองก็เล่นไปตามลีลา