แบงก์ชาติประกาศยกเลิกมาตรการ 30 อ้างเศรษฐกิจฟื้นตัว การไหลเข้าออกของเงินทุนเริ่มสมดุล เชิญนายแบงก์ชี้แจงจันทร์นี้ ด้านหมอเลี้ยบบอกสื่อปิ๊งแนวคิด "ธีระชัย" แก้บาท ทั้งๆ ที่วันก่อนยังสวนหมัดอยู่กลางเวทีสัมมนา คาดวางตัวเป็นผู้ว่าฯ แบงก์ชาติหากปลด "ธาริษา" สำเร็จ เงินบาทป่วนแข็งแตะ 31.40 บิ๊กตลาดหุ้นเฮ หวังสร้างความมั่นใจให้นักลงทุน ผู้ส่งออกผวาได้เห็น 30 บาทต่อดอลลาร์
เมื่อเวลา 16.30น. วานนี้ (29 ก.พ.) นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ควง นางอัจนา ไวความดี และ นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าฯ ธปท. แถลงยกเลิกมาตรการกันสำรองเงินทุนนำเข้าระยะสั้น 30% มีผลตั้งแต่ 3 ก.พ.นี้ โดยมาตรการดังกล่าวใช้มาแต่วันที่ 18 ธ.ค. 49 นับเป็นเวลากว่า 14 เดือน ที่ ธปท. ประกาศใช้มาตรการฯ 30% ทั้งนี้ ก่อนประกาศมาตรการฯ เงินบาทอยู่ที่ระดับ 36 บาทต่อดอลลาร์ ล่าสุดวานนี้อยู่ที่ 31.50 บาทต่อดอลลาร์
นางธาริษาให้เหตุผลของการยกเลิกมาตรการฯ ว่า เนื่องจากพิจารณาภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ปี 2550 และในเดือนมกราคม ปี 2551 แล้ว พบว่า อุปสงค์ในประเทศฟื้นตัวดี ประกอบกับแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวต่อเนื่องของรัฐบาล สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ช่วงที่ผ่านมากระแสเงินตราต่างประเทศไหลเข้าออก อย่างสมดุลมากขึ้น ซึ่งเห็นได้จากการเกินดุลการค้าที่ลดลง
"เชื่อว่า การประกาศยกเลิกมาตรการดังกล่าว จะไม่สร้างความตื่นตระหนกให้ตลาดมากนัก เนื่องจากที่ผ่านมาตลาดมีการคาดการณ์ล่วงหน้าไว้แล้ว ขณะที่ ธปท.ได้เตรียมมาตรการรองรับการบริหารจัดการเงินทุนไหลเข้าออก หลังยกเลิกมาตรการไว้เช่นกัน ได้แก่ การเพิ่มวงเงินการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศเพิ่มขึ้น เป็น 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ/มาตรการป้องปรามการเก็งกำไรต่าง ๆ/การปรับปรุงโครงสร้างบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ" นางธาริษากล่าวและว่า วันที่ 3 มี.ค.นี้ จะเชิญผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ เข้ารับฟังคำชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว การชี้แจงดังกล่าว จะครอบคลุมถึงเงินที่ธนาคารได้มีการกันสำรองและนำส่งมายัง ธปท. ว่าจะมีการส่งคืนภายในเมื่อไหร่ อย่างไร
นางธาริษาย้ำว่า หลังจากนี้จะรับมือการเคลื่อนย้ายเงินทุนได้ และนโยบายดอกเบี้ยของ ธปท.ในขณะนี้ ยังให้น้ำหนักกับเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ไม่เกี่ยวข้องกับยกเลิกเกณฑ์ 30% และ ธปท.จะติดตามค่าเงินอย่างใกล้ชิด เชื่อว่ามาตรการ 30% ไม่ได้มีผลต่อตลาดหุ้น เพียงแต่เป็นผลทางจิตวิทยาเท่านั้น
ผู้ว่าฯ ธปท.ยืนยันว่า การยกเลิกมาตรการฯ ไม่ได้ถูกกดดันจากกระทรวงการคลัง และตนจะยังทำงานในตำแหน่งผู้ว่าการฯ เหมือนเดิมและยังอยากทำงานต่อไป จากการไปพบ รมว.คลังได้ข้อสรุปที่ตรงกัน จึงไม่มีแรงกดดัน
**เลี้ยบบอกสื่อปิ๊งแนวคิด "ธีระชัย"
ช่วงเช้าวานนี้ (29 ก.พ.) น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวว่า จะสรุปการยกเลิกมาตรการ 30% ภายในไม่กี่วันนี้ เนื่องจากได้รับข้อมูลเพิ่มจาก ธปท.ที่ขอเพิ่มเป็นบางส่วนแล้ว ซึ่งการยกเลิกจะต้องหามาตรการอื่นมารองรับไม่ให้เกิดการเก็งกำไรค่าเงินบาทจนทำให้ความผันผวน
"มาตรการที่ไม่ต้อนรับนักลงทุน คลังก็ไม่อยากที่จะเก็บไว้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน ในประเทศและต่างประเทศ ส่วนเรื่องการดูแลเสถียรภาพค่าเงินต้องติดตามอย่างใกล้ชิด"
รมว.คลังกล่าวถึงข้อเสนอการปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ว่า เป็นแนวคิดหนึ่งที่น่าสนใจ แต่เรื่องการปรับเปลี่ยนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนไม่ใช่ทำได้ในช่วงสั้น ต้องใช้เวลาในการศึกษารายละเอียดก่อนส่วนการจะใช้อำนาจมาตรา 8 ของ พ.ร.บ.เงินตรา ที่ให้อำนาจ รมว.คลัง กำหนดวิธีการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนได้นั้น ยังต้องใช้เวลาศึกษารายละเอียดก่อน
โดยมาตรา 8 กำหนดว่า รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศใช้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราระบบใดก็ได้ตามที่เห็นสมควร หากมีเหตุอันควร แต่ไม่เกิน 90 วัน โดยคำแนะนำของ ธปท. โดยการออกพระราชกฤษฎีกา
เป็นที่น่าสังเกตว่า นพ.สุรพงษ์ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนของนายธีระชัยในงานสัมมนา "ตลาดทุนไทย...ใครจะผ่าตัด" เมื่อวันที่ 27 ก.พ.ที่ผ่านมา
**คาดธีระชัยผงาดหากปลดธาริษา
แหล่งข่าวกระทรวงการคลังกล่าวว่า คลังมีอำนาจที่จะสั่งการผู้ว่าฯ ธปท. ให้ดำเนินนโยบายตามรัฐบาลได้ ตามกฎหมาย (พ.ร.บ.ธปท.) ซึ่งได้ให้อำนาจไว้ ถ้าผู้ว่าธปท.ไม่ปฎิบัติตามก็สามารถปลดได้ ซึ่งที่ผ่านมาผู้ว่าแบงก์ชาติก็ถูกปลดไปหลายคน เนื่องจากขัดนโยบายรัฐมนตรีคลัง
"เป็นที่น่าสังเกตว่า รมว.คลังมีวาระซ่อนเร้นเกี่ยวกับตำแหน่งผู้ว่าฯ ธปท. แล้วยกมาตรการ 30% ขึ้นมาเป็นข้ออ้างในการปลดคุณธาริษาแล้วแต่งตั้งคนของรัฐบาลขึ้นมา โดยล่าสุดกระทรวงการคลังยกคำแนะนำการแก้ปัญหาบาทแข็งที่คุณธีระชัยเสนอ จึงเป็นไปได้ว่านายธีระชัยซึ่งเป็นลูกหม้อแบงก์ชาติอาจถูกหมายตาไว้" แหล่งข่าวกล่าว
**บาทป่วนแข็งแตะ 31.40
นักค้าเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ค่าเงินบาทวานนี้มีความผันผวนมากภายหลังจากมีข่าวออกมาว่าจะมีการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% โดยมีผู้ส่งออกได้เทขายเงินดอลลาร์สหรัฐอย่างต่อเนื่อง จากเปิดตลาดที่อยู่ในระดับ 32.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 31.40 บาทต่อดอลลาร์ หลังจากก็ปิดตลาดที่ระดับ 31.52-57 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเชื่อว่า ธปท.ยังคงจะมีการดูแลค่าเงินบาทอยู่อย่างต่อเนื่อง
"ภายหลังจากที่มีข่าวว่าจะยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% เงินบาทตลาดในประเทศไหลขึ้นไปเรื่อยๆ จนแตะระดับ 31.40 บาท ขณะที่เงินบาทนอกประเทศไหลลงมาเรื่อยๆจากระดับ 29.46 บาท มาที่ระดับ 31.20 บาท ซึ่งขยับเข้ามาเป็นเรทที่ใกล้เคียงกันแล้ว ส่วนแนวโน้มสัปดาห์หน้าก็คงจะแข็งค่าขึ้นต่อ แต่ก็ขึ้นอยู่กับทางแบงก์ชาติด้วยว่าจะเข้ามาดูแลขนาดไหน"
**"ภัทรียา" ขานรับหวังบูมตลาดหุ้น
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ของธปท. เป็นสัญญาณที่ดีที่แสดงให้เห็นถึงความชัดเจน จากก่อนหน้านี้หลายฝ่ายได้มีการคาดการณ์ว่าจะยกเลิกหรือไม่ หรือยกเลิกเมื่อไหร่ รวมทั้งหากยกเลิกแล้วจะกระทบต่อค่าเงินบาทมากน้อยเพียงใด
"การยกเลิก 30% จะทำให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้น จากเดิมที่มีการเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวนในแต่ละวัน ขณะที่ตลาดหุ้นเองจะได้รับผลดีคือสร้างสร้างให้นักลงทุนมีความมั่นใจมากขึ้น แม้ว่าเงินต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในหุ้นได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกกันสำรอง 30% อยู่แล้ว แต่ผู้ที่จะได้รับผลดีคือบรรดากองทุนรวม และกองทุนอสังหาริมทรัพย์"
"เชื่อว่าในสัปดาห์หน้า คงไม่มีเงินร้อนเข้ามาเก็งกำไรในตลาดหุ้นมากนัก สังเกตจากช่วงเย็นก่อนที่ธปท.จะประกาศยกเลิกมาตรการดังกล่าว ไม่มีสัญญาณที่ชัดเจนว่ามีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น เพราะนักลงทุนต่างชาติได้รับรู้เรื่องนี้อยู่แล้ว"
ส่วนกระแสข่าวการปลดนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. นั้น นางภัทรียา กล่าวว่า แต่ละช่วงเวลาตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงไม่อย่างให้โทษตัวบุคคล แต่ต้องการให้มองที่ภาพรวมว่า ณ ขณะนั้น เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นมาบ้าง
**ส่งออกผวาดอลลาร์บาท 30
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นหลักยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% มีความน่าเป็นห่วงมาก ถ้าไม่มีมาตรการอื่นมารองรับจะทำให้เงินบาทแข็งค่า ทำให้เงินทุนต่างประเทศไหลเข้าไทยจำนวนมาก เพราะนอกจากไม่มีมาตรการมาดูแลแล้ว อัตราดอกเบี้ยไทยยังมีความจูงใจ ซึ่งอาจเห็นระดับ 30 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะทำให้การส่งออกเผชิญกับความยากลำบากจนทำให้ยอดส่งออกลดลงในไตรมาส 2 ปีนี้ ทั้งนี้ การส่งออกข้าวหากมีการแข็งค่าเงินบาทเพิ่มขึ้นทุก 1 บาท จะทำให้การกำหนดราคาเพิ่มขึ้น 25 เหรียญสหรัฐต่อตัน
นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า สมาคมเตรียมประชุมด่วนเพื่อประเมินสถานการณ์ ผลกระทบหลังยกเลิกมาตรการกันสำรองเงินทุนต่างประเทศ 30% ซึ่งเบื้องต้นมองว่า หากเงินบาทแข็งค่ามากจะส่งผลกระทบถึงเกษตรกรเพราะผู้ส่งออกต้องลดราคารับซื้อสินค้าเกษตรลงทำให้เกษตรกรมีรายได้ลดลงตามไปด้วย นอกจากนี้ สถานการณ์ค่าบาทที่ผันผวนทำให้การเสนอราคาทำได้ยากเพราะไม่สามารถกำหนดราคาที่เหมาะสมได้.
เมื่อเวลา 16.30น. วานนี้ (29 ก.พ.) นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ควง นางอัจนา ไวความดี และ นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าฯ ธปท. แถลงยกเลิกมาตรการกันสำรองเงินทุนนำเข้าระยะสั้น 30% มีผลตั้งแต่ 3 ก.พ.นี้ โดยมาตรการดังกล่าวใช้มาแต่วันที่ 18 ธ.ค. 49 นับเป็นเวลากว่า 14 เดือน ที่ ธปท. ประกาศใช้มาตรการฯ 30% ทั้งนี้ ก่อนประกาศมาตรการฯ เงินบาทอยู่ที่ระดับ 36 บาทต่อดอลลาร์ ล่าสุดวานนี้อยู่ที่ 31.50 บาทต่อดอลลาร์
นางธาริษาให้เหตุผลของการยกเลิกมาตรการฯ ว่า เนื่องจากพิจารณาภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ปี 2550 และในเดือนมกราคม ปี 2551 แล้ว พบว่า อุปสงค์ในประเทศฟื้นตัวดี ประกอบกับแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวต่อเนื่องของรัฐบาล สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ช่วงที่ผ่านมากระแสเงินตราต่างประเทศไหลเข้าออก อย่างสมดุลมากขึ้น ซึ่งเห็นได้จากการเกินดุลการค้าที่ลดลง
"เชื่อว่า การประกาศยกเลิกมาตรการดังกล่าว จะไม่สร้างความตื่นตระหนกให้ตลาดมากนัก เนื่องจากที่ผ่านมาตลาดมีการคาดการณ์ล่วงหน้าไว้แล้ว ขณะที่ ธปท.ได้เตรียมมาตรการรองรับการบริหารจัดการเงินทุนไหลเข้าออก หลังยกเลิกมาตรการไว้เช่นกัน ได้แก่ การเพิ่มวงเงินการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศเพิ่มขึ้น เป็น 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ/มาตรการป้องปรามการเก็งกำไรต่าง ๆ/การปรับปรุงโครงสร้างบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ" นางธาริษากล่าวและว่า วันที่ 3 มี.ค.นี้ จะเชิญผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ เข้ารับฟังคำชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว การชี้แจงดังกล่าว จะครอบคลุมถึงเงินที่ธนาคารได้มีการกันสำรองและนำส่งมายัง ธปท. ว่าจะมีการส่งคืนภายในเมื่อไหร่ อย่างไร
นางธาริษาย้ำว่า หลังจากนี้จะรับมือการเคลื่อนย้ายเงินทุนได้ และนโยบายดอกเบี้ยของ ธปท.ในขณะนี้ ยังให้น้ำหนักกับเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ไม่เกี่ยวข้องกับยกเลิกเกณฑ์ 30% และ ธปท.จะติดตามค่าเงินอย่างใกล้ชิด เชื่อว่ามาตรการ 30% ไม่ได้มีผลต่อตลาดหุ้น เพียงแต่เป็นผลทางจิตวิทยาเท่านั้น
ผู้ว่าฯ ธปท.ยืนยันว่า การยกเลิกมาตรการฯ ไม่ได้ถูกกดดันจากกระทรวงการคลัง และตนจะยังทำงานในตำแหน่งผู้ว่าการฯ เหมือนเดิมและยังอยากทำงานต่อไป จากการไปพบ รมว.คลังได้ข้อสรุปที่ตรงกัน จึงไม่มีแรงกดดัน
**เลี้ยบบอกสื่อปิ๊งแนวคิด "ธีระชัย"
ช่วงเช้าวานนี้ (29 ก.พ.) น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวว่า จะสรุปการยกเลิกมาตรการ 30% ภายในไม่กี่วันนี้ เนื่องจากได้รับข้อมูลเพิ่มจาก ธปท.ที่ขอเพิ่มเป็นบางส่วนแล้ว ซึ่งการยกเลิกจะต้องหามาตรการอื่นมารองรับไม่ให้เกิดการเก็งกำไรค่าเงินบาทจนทำให้ความผันผวน
"มาตรการที่ไม่ต้อนรับนักลงทุน คลังก็ไม่อยากที่จะเก็บไว้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน ในประเทศและต่างประเทศ ส่วนเรื่องการดูแลเสถียรภาพค่าเงินต้องติดตามอย่างใกล้ชิด"
รมว.คลังกล่าวถึงข้อเสนอการปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ว่า เป็นแนวคิดหนึ่งที่น่าสนใจ แต่เรื่องการปรับเปลี่ยนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนไม่ใช่ทำได้ในช่วงสั้น ต้องใช้เวลาในการศึกษารายละเอียดก่อนส่วนการจะใช้อำนาจมาตรา 8 ของ พ.ร.บ.เงินตรา ที่ให้อำนาจ รมว.คลัง กำหนดวิธีการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนได้นั้น ยังต้องใช้เวลาศึกษารายละเอียดก่อน
โดยมาตรา 8 กำหนดว่า รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศใช้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราระบบใดก็ได้ตามที่เห็นสมควร หากมีเหตุอันควร แต่ไม่เกิน 90 วัน โดยคำแนะนำของ ธปท. โดยการออกพระราชกฤษฎีกา
เป็นที่น่าสังเกตว่า นพ.สุรพงษ์ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนของนายธีระชัยในงานสัมมนา "ตลาดทุนไทย...ใครจะผ่าตัด" เมื่อวันที่ 27 ก.พ.ที่ผ่านมา
**คาดธีระชัยผงาดหากปลดธาริษา
แหล่งข่าวกระทรวงการคลังกล่าวว่า คลังมีอำนาจที่จะสั่งการผู้ว่าฯ ธปท. ให้ดำเนินนโยบายตามรัฐบาลได้ ตามกฎหมาย (พ.ร.บ.ธปท.) ซึ่งได้ให้อำนาจไว้ ถ้าผู้ว่าธปท.ไม่ปฎิบัติตามก็สามารถปลดได้ ซึ่งที่ผ่านมาผู้ว่าแบงก์ชาติก็ถูกปลดไปหลายคน เนื่องจากขัดนโยบายรัฐมนตรีคลัง
"เป็นที่น่าสังเกตว่า รมว.คลังมีวาระซ่อนเร้นเกี่ยวกับตำแหน่งผู้ว่าฯ ธปท. แล้วยกมาตรการ 30% ขึ้นมาเป็นข้ออ้างในการปลดคุณธาริษาแล้วแต่งตั้งคนของรัฐบาลขึ้นมา โดยล่าสุดกระทรวงการคลังยกคำแนะนำการแก้ปัญหาบาทแข็งที่คุณธีระชัยเสนอ จึงเป็นไปได้ว่านายธีระชัยซึ่งเป็นลูกหม้อแบงก์ชาติอาจถูกหมายตาไว้" แหล่งข่าวกล่าว
**บาทป่วนแข็งแตะ 31.40
นักค้าเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ค่าเงินบาทวานนี้มีความผันผวนมากภายหลังจากมีข่าวออกมาว่าจะมีการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% โดยมีผู้ส่งออกได้เทขายเงินดอลลาร์สหรัฐอย่างต่อเนื่อง จากเปิดตลาดที่อยู่ในระดับ 32.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 31.40 บาทต่อดอลลาร์ หลังจากก็ปิดตลาดที่ระดับ 31.52-57 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเชื่อว่า ธปท.ยังคงจะมีการดูแลค่าเงินบาทอยู่อย่างต่อเนื่อง
"ภายหลังจากที่มีข่าวว่าจะยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% เงินบาทตลาดในประเทศไหลขึ้นไปเรื่อยๆ จนแตะระดับ 31.40 บาท ขณะที่เงินบาทนอกประเทศไหลลงมาเรื่อยๆจากระดับ 29.46 บาท มาที่ระดับ 31.20 บาท ซึ่งขยับเข้ามาเป็นเรทที่ใกล้เคียงกันแล้ว ส่วนแนวโน้มสัปดาห์หน้าก็คงจะแข็งค่าขึ้นต่อ แต่ก็ขึ้นอยู่กับทางแบงก์ชาติด้วยว่าจะเข้ามาดูแลขนาดไหน"
**"ภัทรียา" ขานรับหวังบูมตลาดหุ้น
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ของธปท. เป็นสัญญาณที่ดีที่แสดงให้เห็นถึงความชัดเจน จากก่อนหน้านี้หลายฝ่ายได้มีการคาดการณ์ว่าจะยกเลิกหรือไม่ หรือยกเลิกเมื่อไหร่ รวมทั้งหากยกเลิกแล้วจะกระทบต่อค่าเงินบาทมากน้อยเพียงใด
"การยกเลิก 30% จะทำให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้น จากเดิมที่มีการเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวนในแต่ละวัน ขณะที่ตลาดหุ้นเองจะได้รับผลดีคือสร้างสร้างให้นักลงทุนมีความมั่นใจมากขึ้น แม้ว่าเงินต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในหุ้นได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกกันสำรอง 30% อยู่แล้ว แต่ผู้ที่จะได้รับผลดีคือบรรดากองทุนรวม และกองทุนอสังหาริมทรัพย์"
"เชื่อว่าในสัปดาห์หน้า คงไม่มีเงินร้อนเข้ามาเก็งกำไรในตลาดหุ้นมากนัก สังเกตจากช่วงเย็นก่อนที่ธปท.จะประกาศยกเลิกมาตรการดังกล่าว ไม่มีสัญญาณที่ชัดเจนว่ามีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น เพราะนักลงทุนต่างชาติได้รับรู้เรื่องนี้อยู่แล้ว"
ส่วนกระแสข่าวการปลดนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. นั้น นางภัทรียา กล่าวว่า แต่ละช่วงเวลาตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงไม่อย่างให้โทษตัวบุคคล แต่ต้องการให้มองที่ภาพรวมว่า ณ ขณะนั้น เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นมาบ้าง
**ส่งออกผวาดอลลาร์บาท 30
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นหลักยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% มีความน่าเป็นห่วงมาก ถ้าไม่มีมาตรการอื่นมารองรับจะทำให้เงินบาทแข็งค่า ทำให้เงินทุนต่างประเทศไหลเข้าไทยจำนวนมาก เพราะนอกจากไม่มีมาตรการมาดูแลแล้ว อัตราดอกเบี้ยไทยยังมีความจูงใจ ซึ่งอาจเห็นระดับ 30 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะทำให้การส่งออกเผชิญกับความยากลำบากจนทำให้ยอดส่งออกลดลงในไตรมาส 2 ปีนี้ ทั้งนี้ การส่งออกข้าวหากมีการแข็งค่าเงินบาทเพิ่มขึ้นทุก 1 บาท จะทำให้การกำหนดราคาเพิ่มขึ้น 25 เหรียญสหรัฐต่อตัน
นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า สมาคมเตรียมประชุมด่วนเพื่อประเมินสถานการณ์ ผลกระทบหลังยกเลิกมาตรการกันสำรองเงินทุนต่างประเทศ 30% ซึ่งเบื้องต้นมองว่า หากเงินบาทแข็งค่ามากจะส่งผลกระทบถึงเกษตรกรเพราะผู้ส่งออกต้องลดราคารับซื้อสินค้าเกษตรลงทำให้เกษตรกรมีรายได้ลดลงตามไปด้วย นอกจากนี้ สถานการณ์ค่าบาทที่ผันผวนทำให้การเสนอราคาทำได้ยากเพราะไม่สามารถกำหนดราคาที่เหมาะสมได้.