"ลูกแหง่เลี้ยบ" เตรียมเข้าพบ "จำเลยคดีที่ดินรัชดา" ช่วยตัดสินใจยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% พร้อมขอคำปรึกษาแก้ปัญหาเศรษฐกิจ อ้าง "ทักษิณ" เดินทางมาทั่วโลกจนรู้ใจต่างชาติว่าต้องการอะไร อ้อนวอนแบงก์ชาติปรับอัตราดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ด้าน "ธาริษา" เหนื่อยใจ เพราะเคลียร์ข้อมูล 30% กันเรียบร้อยแล้ว เงินบาทวานนี้แข็งค่าสุดที่ 31.98 บาทต่อดอลลาร์
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวว่า หลังจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำเลยคดีที่ดินรัชดา เดินทางกลับประเทศ และสะสางปัญหาต่างๆ เมื่อเวลาลงตัวก็จะไปหารือเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และคาดว่า คงจะขอให้เป็นที่ปรึกษาในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ แต่คงไม่ใช่การมอบหมายตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ซึ่งสามารถดำเนินการได้และไม่ขัดคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ
นพ.สุรพงษ์ยอมรับว่า อาจจะมีการนำเรื่องมาตรการสำรอง 30% เงินทุนนำเข้าระยะสั้นไปขอคำแนะนำและคำปรึกษากับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยขณะนี้การรับข้อมูลเบื้องต้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เกือบครบถ้วนเหลือเพียงหาข้อมูลเพิ่มเติม และคงสามารถประกาศความชัดเจนของนโยบายดังกล่าวได้ภายในไม่กี่วันนี้ ยืนยันว่ารัฐบาลคิดเรื่องนี้อย่างรอบคอบ รวมทั้งหามาตรการต่างๆ รองรับ จะไม่ทำให้ตลาดเกิดความตื่นตระหนก
"เป็นการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะในช่วงที่ผ่านมาอดีตนายกรัฐมนตรีเดินทางไปพูดคุยกับนักธุรกิจระดับโลกในเวทีต่างๆ อาจสะท้อนความต้องการของนักลงทุนได้ดี" รมว.คลังกล่าว
ส่วนกรณีคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ร้อยละ 3.25 เพราะ ธปท.ห่วงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากติดลบจากอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง รวมทั้งต้องการดูแลเสถียรภาพค่าเงินบาท แต่เมื่อรัฐบาลออกมาตรการหรือดำเนินโครงการต่าง ๆ ทั้งการลงทุนเมกะโปรเจกต์ การกระตุ้นการบริโภคและการลงทุน น่าจะทำให้ กนง.พิจารณานโยบายการเงินด้วยอัตราดอกเบี้ยสอดคล้องกับนโยบายการคลังของรัฐบาลที่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ
สำหรับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องนั้น ธปท.กำลังดูอย่างใกล้ชิด แต่คงพยายามไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน โดยยอมรับว่าจะไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่าคงเป็นไปไม่ได้ เพราะทุกสกุลแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง
"ธาริษา"ยันเคลียร์ 30% กับ"เลี้ยบ"แล้ว
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าฯ ธปท.กล่าวว่า ในการหารือเรื่องการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% กับกระทรวงการคลัง รมว.คลัง ก็รับฟังและแสดงความเข้าใจเป็นอย่างดี แต่จากนี้จะมีการหารืออีกเมื่อไรนั้น ยังไม่สามารถกำหนดได้ชัดเจน
ส่วนกรณีที่นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)ให้ความเห็นว่า ธปท.ควรใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่เป็นการชั่วคราวในการดูแลค่าเงินบาท จากปัจจุบันที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการบริหารจัดการ (Manage Float) นั้น นางธาริษากล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ดังนั้นเพื่อเป็นผลดีของประเทศชาติไม่สมควรระบุอะไรออกไป แต่ในขณะนี้ ธปท.ยังใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว แบบมีการบริหารจัดการในการดูแลค่าเงินบาทอยู่
สำหรับผลการประชุม กนง.ที่ผ่านมา ซึ่งมีมติคงอัตราคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 3.25% ต่อปีนั้น การพิจารณาดังกล่าวไม่ได้มีความสัมพันธ์กับเรื่องอัตราตราแลกเปลี่ยน โดย กนง.มองที่ปัจจัยเกี่ยวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อเท่านั้น
ส่วนกรณีค่าเงินบาทที่แข็งค่าอยู่ในขณะนี้ โดยวานนี้แข็งค่าทะลุที่ระดับ 31.98 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับวานนี้อยู่ที่ 32.085-32.105 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐนั้น ซึ่งถือเป็นการแข็งค่าในรอบ 10 ปีครึ่งนั้น เกิดจากการคาดการณ์ว่า ธปท.จะมีการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% รวมทั้งผู้ส่งออกพากันเทขายดอลลาร์สหรัฐ แต่อย่างไรก็ตาม การแข็งของเงินบาทยังเป็นไปในทิศทางเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค ซึ่งไม่ควรดูทิศทางค่าเงินบาทในระยะสั้นๆ หรือดูเป็นรายวัน
"ค่าเงินบาทที่แข็งค่าน่าจะเกิดจากการคาดการณ์ว่าจะมีการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% หรืออาจจะมีปัจจัยอื่นๆ รวมทั้งผู้ส่งออกมีการเทขายดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเรื่องการคาดการณ์เป็นเรื่องของมุมมองของแต่ละคน โดยก่อนหน้านี้ หลายประเทศ ก็มีการทำนิวไฮ สลับกันไป ส่วนเราก็ทำนิวไฮ เป็นครั้งคราว และหากต้องการทราบว่า ธปท.เข้าแทรกแซงเงินบาทในช่วงนี้หรือไม่ ก็ให้ดูข้อมูลปริมาณทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศจากเว็บไซต์ ธปท.ก็จะทราบ" นางธาริษากล่าว
อนึ่ง จากข้อมูลทุนสำรองเงินตราต่างประเทศจากธปท. ณ 15 กุมภาพันธ์ 2551อยู่ที่ 94.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 5.1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับต้นปี 4 มกราคม 2551
ด้านนักค้าเงินจากธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทวานนี้ เปิดตลาดที่ระดับ 32.05-32.07 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากนั้นปรับตัวในทิศทางแข็งค่าต่อเนื่องกระทั่งแข็งค่าสุดของวันที่ระดับ 31.98 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังจากนั้นอ่อนค่าลงเล็กน้อยมาปิดตลาดที่ระดับ 32.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ปัจจัยยังมีแรงขายเงินดอลลาร์ออกจากผู้ส่งออกอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะยังมีการเข้าแทรกแซงจาก ธปท.อยู่เช่นกัน
สำหรับทิศทางค่าเงินบาทวันนี้นั้น ก็คงจะแข็งค่าขึ้นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค โดยหากหลุดแนวรับที่ระดับ 32.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐแล้ว แนวรับต่อไปก็จะอยู่ที่ระดับ 31.95 บาทต่อดอลลาร์
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวว่า หลังจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำเลยคดีที่ดินรัชดา เดินทางกลับประเทศ และสะสางปัญหาต่างๆ เมื่อเวลาลงตัวก็จะไปหารือเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และคาดว่า คงจะขอให้เป็นที่ปรึกษาในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ แต่คงไม่ใช่การมอบหมายตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ซึ่งสามารถดำเนินการได้และไม่ขัดคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ
นพ.สุรพงษ์ยอมรับว่า อาจจะมีการนำเรื่องมาตรการสำรอง 30% เงินทุนนำเข้าระยะสั้นไปขอคำแนะนำและคำปรึกษากับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยขณะนี้การรับข้อมูลเบื้องต้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เกือบครบถ้วนเหลือเพียงหาข้อมูลเพิ่มเติม และคงสามารถประกาศความชัดเจนของนโยบายดังกล่าวได้ภายในไม่กี่วันนี้ ยืนยันว่ารัฐบาลคิดเรื่องนี้อย่างรอบคอบ รวมทั้งหามาตรการต่างๆ รองรับ จะไม่ทำให้ตลาดเกิดความตื่นตระหนก
"เป็นการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะในช่วงที่ผ่านมาอดีตนายกรัฐมนตรีเดินทางไปพูดคุยกับนักธุรกิจระดับโลกในเวทีต่างๆ อาจสะท้อนความต้องการของนักลงทุนได้ดี" รมว.คลังกล่าว
ส่วนกรณีคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ร้อยละ 3.25 เพราะ ธปท.ห่วงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากติดลบจากอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง รวมทั้งต้องการดูแลเสถียรภาพค่าเงินบาท แต่เมื่อรัฐบาลออกมาตรการหรือดำเนินโครงการต่าง ๆ ทั้งการลงทุนเมกะโปรเจกต์ การกระตุ้นการบริโภคและการลงทุน น่าจะทำให้ กนง.พิจารณานโยบายการเงินด้วยอัตราดอกเบี้ยสอดคล้องกับนโยบายการคลังของรัฐบาลที่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ
สำหรับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องนั้น ธปท.กำลังดูอย่างใกล้ชิด แต่คงพยายามไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน โดยยอมรับว่าจะไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่าคงเป็นไปไม่ได้ เพราะทุกสกุลแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง
"ธาริษา"ยันเคลียร์ 30% กับ"เลี้ยบ"แล้ว
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าฯ ธปท.กล่าวว่า ในการหารือเรื่องการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% กับกระทรวงการคลัง รมว.คลัง ก็รับฟังและแสดงความเข้าใจเป็นอย่างดี แต่จากนี้จะมีการหารืออีกเมื่อไรนั้น ยังไม่สามารถกำหนดได้ชัดเจน
ส่วนกรณีที่นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)ให้ความเห็นว่า ธปท.ควรใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่เป็นการชั่วคราวในการดูแลค่าเงินบาท จากปัจจุบันที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการบริหารจัดการ (Manage Float) นั้น นางธาริษากล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ดังนั้นเพื่อเป็นผลดีของประเทศชาติไม่สมควรระบุอะไรออกไป แต่ในขณะนี้ ธปท.ยังใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว แบบมีการบริหารจัดการในการดูแลค่าเงินบาทอยู่
สำหรับผลการประชุม กนง.ที่ผ่านมา ซึ่งมีมติคงอัตราคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 3.25% ต่อปีนั้น การพิจารณาดังกล่าวไม่ได้มีความสัมพันธ์กับเรื่องอัตราตราแลกเปลี่ยน โดย กนง.มองที่ปัจจัยเกี่ยวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อเท่านั้น
ส่วนกรณีค่าเงินบาทที่แข็งค่าอยู่ในขณะนี้ โดยวานนี้แข็งค่าทะลุที่ระดับ 31.98 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับวานนี้อยู่ที่ 32.085-32.105 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐนั้น ซึ่งถือเป็นการแข็งค่าในรอบ 10 ปีครึ่งนั้น เกิดจากการคาดการณ์ว่า ธปท.จะมีการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% รวมทั้งผู้ส่งออกพากันเทขายดอลลาร์สหรัฐ แต่อย่างไรก็ตาม การแข็งของเงินบาทยังเป็นไปในทิศทางเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค ซึ่งไม่ควรดูทิศทางค่าเงินบาทในระยะสั้นๆ หรือดูเป็นรายวัน
"ค่าเงินบาทที่แข็งค่าน่าจะเกิดจากการคาดการณ์ว่าจะมีการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% หรืออาจจะมีปัจจัยอื่นๆ รวมทั้งผู้ส่งออกมีการเทขายดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเรื่องการคาดการณ์เป็นเรื่องของมุมมองของแต่ละคน โดยก่อนหน้านี้ หลายประเทศ ก็มีการทำนิวไฮ สลับกันไป ส่วนเราก็ทำนิวไฮ เป็นครั้งคราว และหากต้องการทราบว่า ธปท.เข้าแทรกแซงเงินบาทในช่วงนี้หรือไม่ ก็ให้ดูข้อมูลปริมาณทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศจากเว็บไซต์ ธปท.ก็จะทราบ" นางธาริษากล่าว
อนึ่ง จากข้อมูลทุนสำรองเงินตราต่างประเทศจากธปท. ณ 15 กุมภาพันธ์ 2551อยู่ที่ 94.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 5.1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับต้นปี 4 มกราคม 2551
ด้านนักค้าเงินจากธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทวานนี้ เปิดตลาดที่ระดับ 32.05-32.07 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากนั้นปรับตัวในทิศทางแข็งค่าต่อเนื่องกระทั่งแข็งค่าสุดของวันที่ระดับ 31.98 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังจากนั้นอ่อนค่าลงเล็กน้อยมาปิดตลาดที่ระดับ 32.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ปัจจัยยังมีแรงขายเงินดอลลาร์ออกจากผู้ส่งออกอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะยังมีการเข้าแทรกแซงจาก ธปท.อยู่เช่นกัน
สำหรับทิศทางค่าเงินบาทวันนี้นั้น ก็คงจะแข็งค่าขึ้นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค โดยหากหลุดแนวรับที่ระดับ 32.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐแล้ว แนวรับต่อไปก็จะอยู่ที่ระดับ 31.95 บาทต่อดอลลาร์