กนง.มีมติคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 3.25% เมินข้อเสนอคลัง ส่อลากยาวมาตรการ 30% อ้างปัจจัยเงินเฟ้อ เผยหากเฟดจะลดดอกเบี้ยอีกก็ไม่มีผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้ายมายังไทย เพราะดอกเบี้ยไทยต่ำสุดในภูมิภาค ส่งผลเงินบาทแข็งค่าทันทีที่ 32.10 ขณะที่ลูกหม้อแบงก์ชาติ "ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล" เอาใจรัฐบาลหมัก เสนอกำหนดค่าเงินบาทชั่วคราวแล้วยกเลิก 30% อัดผู้บริหารแบงก์ชาติทำงานครึ่งๆ กลางๆ
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวานนี้ (27 ก.พ.) ถูกจับตาจากหลายฝ่าย เนื่องจากส่งผลต่อมาตรการกันสำรองเงินนำเข้า 30% ที่กระทรวงการคลังต้องการให้ยกเลิกและให้ กนง.ลดดอกเบี้ยในการประชุมฯ ครั้งนี้ อย่างน้อย 0.25% ปรากฏว่ามติที่ประชุมฯ วานนี้ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 3.25%ต่อปี เช่นเดิม
น.ส.ดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในที่ประชุมฯ มองว่าการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศทั้งการลงทุนการบริโภคเริ่มดีขึ้น ขณะที่ความเชื่อมั่นภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน ประกอบกับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากรัฐบาลช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวให้มีต่อเนื่อง จึงช่วยชดเชยผลกระทบความเสี่ยงส่งออกของไทยจากเศรษฐกิจสหรัฐถดถอยได้ในอนาคต
“ผลจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย ถือเป็นส่วนหนึ่งที่เศรษฐกิจไทยมีแรงส่งที่ดีให้อุปสงค์ภายในประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้น และแม้ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกอาจมีผลให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้นสักพัก ขณะที่เงินเฟ้อของไทยเพิ่มขึ้นจากผักและผลไม้ราคาแพง เพราะฝนที่ตกผิดฤดูกาล ซึ่งสิ่งเหล่านี้มองว่าเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราวเท่า แต่ต่อไปเงินเฟ้อน่าจะปรับลดลงมา ส่วนอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานเชื่อว่ายังอยู่ในเป้าหมาย 0-3.5% ตลอด 8 ไตรมาสข้างหน้า”
การที่ กนง.ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ไม่ได้เป็นการปูทาง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณายกเลิกมาตรการกันสำรอง30% สำหรับเงินทุนระยะสั้นจากต่างประเทศในอนาคต แต่การทำหน้าที่ของ กนง.จำเป็นที่ต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่เชื่อมโยงการขยายตัวเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อทั้งปัจจัยภายในประเทศและนอกประเทศประกอบกัน ซึ่งมีการเข้าไปดูข้อมูลเงินทุนไหลเข้าออกด้วย แต่ก็ไม่ได้มีบทบาทเป็นผู้ตัดสินใจยกเลิกมาตรการนี้หรือไม่
“การปรับลดหรือคงอัตราดอกเบี้ยเราจะดูเฉพาะการเติบโตของเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อเป็นหลัก ฉะนั้น การดำเนินนโยบายการเงินของเราจะทำอะไรก็ดูตามเนื้อผ้า ตามเศรษฐกิจที่เป็นจริงในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งกระทรวงการคลังเองก็เข้าใจดี หลังจากที่เราเสนอข้อมูลในทุกด้าน จึงไม่มีใบสั่งทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องในการดำเนินนโยบายการเงินของเรา”
น.ส.ดวงมณีกล่าวว่า การคงอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้คงไม่ทำให้เงินทุนไหลเข้ามายังไทยมากขึ้น เพราะในปัจจุบันเงินทุนไหลเข้ามามากแล้วทั้งตลาดหุ้น และโดยเฉพาะจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมาก จึงกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น ส่วนความแตกต่างระหว่างดอกเบี้ยไทยกับสหรัฐที่อาจจะมีมากขึ้น ซึ่ง กนง.คาดว่าในการประชุมครั้งต่อไปของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 18 มี.ค.นี้จะปรับลดลงอีก 0.5% จากทั้งปีที่คาดว่าจะลดลงทั้งสิ้น 1.5% ซึ่งสิ่งเหล่านี้ กนง.ได้ประเมินผลกระทบไว้แล้ว จึงเชื่อว่าไม่น่าจะกระทบต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุน เพราะอัตราดอกเบี้ยของไทยต่ำที่สุดในประเทศแถบภูมิภาคอยู่แล้ว
การพิจารณาเรื่องอัตราเงินเฟ้อในครั้งนี้ไม่ได้ต่างกับการประชุมครั้งก่อน คือ วันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านนัก มีเพียงปัจจัยภายนอกประเทศจากสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐที่แย่ลงกว่าที่ กนง.คาดไว้ ซึ่งจากปัจจัยนี้ส่งผลให้ประเทศต่างๆ มีการปรับประมาณการณ์การขยายตัวเศรษฐกิจใหม่ อย่างไรก็ตาม กนง.ยังคงประมาณการขยายตัวเศรษฐกิจไว้ที่ระดับเดิม คือ 4.5-6% รวมทั้งตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆ ด้วย และยังคงติดตามปัจจัยเสี่ยงอย่างใกล้ชิดทั้งอัตราเงินเฟ้อ การขยายตัวเศรษฐกิจของต่างประเทศ รวมทั้งอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจของไทยด้วย
ดอลลาร์บาทแข็งค่าแตะ 32.10
เจ้าหน้าที่บริหารเงินธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า วานนี้เงินบาททำสถิติใหม่ปิดตลาดที่ระดับ 32.10/12 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากช่วงเปิดตลาดที่ระดับ 32.20/22 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทแข็งค่าสุดที่ระดับ 32.10 บาท/ดอลลาร์ และอ่อนค่าสุดที่ระดับ 32.22 บาท/ดอลลาร์ การปรับตัวแข็งค่าเนื่องจากแรงเทขายดอลลาร์ของผู้ส่งออกและ กนง.มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี
"การคงอัตราดอกเบี้ยผิดไปจากความคาดหวังของหลายๆ คน ทำให้มีการเทขายดอลลาร์ออกมา" เจ้าหน้าที่บริหารเงินฯ กล่าวและว่า เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.5000/5005 ดอลลาร์/ยูโร ทำสถิติสูงสุดนับแต่ใช้เงินสกุลยูโร ขณะที่เงินเยนอยู่ที่ระดับ 106.30/35 เยน/ดอลลาร์
ลูกหม้ออัด ธปท.ชเลียร์หมัก
วานนี้ ในงานสัมมนา "ตลาดทุนไทย...ใครจะผ่าตัด" นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เสนอแนวทางการดูแลค่าเงินบาท 4 ประเด็น ประเด็นแรก นายธีระชัยแนะนำให้เปลี่ยนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน พร้อมยกตัวอย่างว่าอาจจะกำหนดระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่ชัดเจนหรืออาจใช้รูปแบบของประเทศสิงคโปร์คือการกำหนดช่วงเคลื่อนไหวค่าเงินโดยใช้ชั่วคราวประมาณ 2-3 ปี เพื่อไม่ไห้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าประเทศภูมิภาค
"หน่วยงานที่รับผิดชอบต้องเตรียมมาตรการเสริม หลังจากนั้นจึงยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ตาม พ.ร.บ.เงินตรา มาตรา 8 ได้เปิดโอกาสให้ ธปท.และรมว.คลังหารือปรับนโยบาย เพื่อกำหนดเป็นนโยบายรัฐบาลในการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ แต่ควรจะเสนอ ครม.ให้เห็นชอบด้วย"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แนวทางดังกล่าวสอดคล้องกับแนวทางที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ออกมาสั่งให้กระทรวงการคลังและ ธปท.ศึกษาระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดค่าเงินตายตัว
ประเด็นต่อมา ธปท.ต้องดูแลค่าเงินแบบเด็ดขาด จากปัจจุบันที่มีการดำเนินงานแบบครึ่งๆ กลาง เพราะ มีความกังวลที่จะโดนฟ้องร้องเหมือนในอดีต และหน้าที่ในการบริหารจัดการค่าเงิน ถือว่าเป็นหน้าที่ที่หนักมากของ ธปท.ดังนั้นรัฐบาลควรที่จะเข้ามาช่วยดูแลในเรื่องดังกล่าวด้วย
“มาตรการกันเงินสำรอง 30% ที่ธปท.ประกาศใช้ ไม่ได้มีการหารือกับ ก.ล.ต.และตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งพอมีการประกาศใช้มาตรการดังกล่าวออกมาทำให้ตลาดช็อก ซึ่งผมมองว่ามาตรการ 30% นั้นมีข้อเสียพอสมควร จากที่เรามีตลาดเงิน 2 ตลาด คือ ออฟชอร์และออนชอร์ ซึ่งออฟชอร์นั้นจะมีสภาพคล่องที่ต่ำหากเข้ามาลงทุนมากๆ จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น และเมื่อเราไปโรดโชว์ต่างประเทศนั้น นักลงทุนต่างชาติจะมองไทยเป็นตลาดชั้น 2 หากยังไม่ยกเลิก 30% ”
ประเด็นที่ 3 มาตรการที่ป้องกันเงินทุนต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในระยะสั้น (เงินร้อน) ที่เข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้แล้วได้รับผลตอบแทนที่สูงจากมีต้นทุนที่ต่ำ จึงมองว่าควรที่จะมีการเพิ่มต้นทุนเงินลงทุนระยะสั้นเพื่อให้ได้ประโยชน์จากการเข้ามาลงทุนในตรสารหนี้ที่น้อยลง จึงมองว่าควรที่จะมีการยกเลิก 30%การเข้ามาลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ แต่ควรคงไว้กับการลงทุนในตราสารหนี้
ประเด็นที่ 4 มาตรการเปิดทางให้นักลงทุนไทยสามารถไปลงทุนในต่างประเทศได้เสรีมากขึ้น ซึ่งธปท.ไม่ควรที่จะกังวลมากเกินไปที่นักลงทุนไทยไปลงทุนแล้วจะขาดทุน เพราะ การลงทุนนั้นขึ้นอยู่การตัดสินใจและเป็นเงินลงทุนของนักลงทุนเอง ไม่ได้มีผลเสียต่อประเทศแต่อย่างไร ซึ่งที่ผ่านมา ก.ล.ต.ได้มีการขอเพิ่มวงเงินลงทุนต่างประเทศแก่ ธปท.ไปนานพอสมควรแล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่ได้รับความเห็นชอบจาก ธปท.
"เลี้ยบ"บอกไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน
ในงานเดียวกัน นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวว่า ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนยังไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่จะต้องพิจารณาในขณะนี้ เพราะจะต้องศึกษารายละเอียดอีกมาก รวมถึงข้อเสนอให้ใช้มาตรา 8 ใน พ.ร.บ.เงินตรา ก็จะต้องมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจมากกว่านี้ และต้องอาศัยการพิจารณาจากหลายฝ่าย
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวานนี้ (27 ก.พ.) ถูกจับตาจากหลายฝ่าย เนื่องจากส่งผลต่อมาตรการกันสำรองเงินนำเข้า 30% ที่กระทรวงการคลังต้องการให้ยกเลิกและให้ กนง.ลดดอกเบี้ยในการประชุมฯ ครั้งนี้ อย่างน้อย 0.25% ปรากฏว่ามติที่ประชุมฯ วานนี้ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 3.25%ต่อปี เช่นเดิม
น.ส.ดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในที่ประชุมฯ มองว่าการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศทั้งการลงทุนการบริโภคเริ่มดีขึ้น ขณะที่ความเชื่อมั่นภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน ประกอบกับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากรัฐบาลช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวให้มีต่อเนื่อง จึงช่วยชดเชยผลกระทบความเสี่ยงส่งออกของไทยจากเศรษฐกิจสหรัฐถดถอยได้ในอนาคต
“ผลจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย ถือเป็นส่วนหนึ่งที่เศรษฐกิจไทยมีแรงส่งที่ดีให้อุปสงค์ภายในประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้น และแม้ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกอาจมีผลให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้นสักพัก ขณะที่เงินเฟ้อของไทยเพิ่มขึ้นจากผักและผลไม้ราคาแพง เพราะฝนที่ตกผิดฤดูกาล ซึ่งสิ่งเหล่านี้มองว่าเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราวเท่า แต่ต่อไปเงินเฟ้อน่าจะปรับลดลงมา ส่วนอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานเชื่อว่ายังอยู่ในเป้าหมาย 0-3.5% ตลอด 8 ไตรมาสข้างหน้า”
การที่ กนง.ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ไม่ได้เป็นการปูทาง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณายกเลิกมาตรการกันสำรอง30% สำหรับเงินทุนระยะสั้นจากต่างประเทศในอนาคต แต่การทำหน้าที่ของ กนง.จำเป็นที่ต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่เชื่อมโยงการขยายตัวเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อทั้งปัจจัยภายในประเทศและนอกประเทศประกอบกัน ซึ่งมีการเข้าไปดูข้อมูลเงินทุนไหลเข้าออกด้วย แต่ก็ไม่ได้มีบทบาทเป็นผู้ตัดสินใจยกเลิกมาตรการนี้หรือไม่
“การปรับลดหรือคงอัตราดอกเบี้ยเราจะดูเฉพาะการเติบโตของเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อเป็นหลัก ฉะนั้น การดำเนินนโยบายการเงินของเราจะทำอะไรก็ดูตามเนื้อผ้า ตามเศรษฐกิจที่เป็นจริงในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งกระทรวงการคลังเองก็เข้าใจดี หลังจากที่เราเสนอข้อมูลในทุกด้าน จึงไม่มีใบสั่งทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องในการดำเนินนโยบายการเงินของเรา”
น.ส.ดวงมณีกล่าวว่า การคงอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้คงไม่ทำให้เงินทุนไหลเข้ามายังไทยมากขึ้น เพราะในปัจจุบันเงินทุนไหลเข้ามามากแล้วทั้งตลาดหุ้น และโดยเฉพาะจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมาก จึงกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น ส่วนความแตกต่างระหว่างดอกเบี้ยไทยกับสหรัฐที่อาจจะมีมากขึ้น ซึ่ง กนง.คาดว่าในการประชุมครั้งต่อไปของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 18 มี.ค.นี้จะปรับลดลงอีก 0.5% จากทั้งปีที่คาดว่าจะลดลงทั้งสิ้น 1.5% ซึ่งสิ่งเหล่านี้ กนง.ได้ประเมินผลกระทบไว้แล้ว จึงเชื่อว่าไม่น่าจะกระทบต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุน เพราะอัตราดอกเบี้ยของไทยต่ำที่สุดในประเทศแถบภูมิภาคอยู่แล้ว
การพิจารณาเรื่องอัตราเงินเฟ้อในครั้งนี้ไม่ได้ต่างกับการประชุมครั้งก่อน คือ วันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านนัก มีเพียงปัจจัยภายนอกประเทศจากสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐที่แย่ลงกว่าที่ กนง.คาดไว้ ซึ่งจากปัจจัยนี้ส่งผลให้ประเทศต่างๆ มีการปรับประมาณการณ์การขยายตัวเศรษฐกิจใหม่ อย่างไรก็ตาม กนง.ยังคงประมาณการขยายตัวเศรษฐกิจไว้ที่ระดับเดิม คือ 4.5-6% รวมทั้งตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆ ด้วย และยังคงติดตามปัจจัยเสี่ยงอย่างใกล้ชิดทั้งอัตราเงินเฟ้อ การขยายตัวเศรษฐกิจของต่างประเทศ รวมทั้งอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจของไทยด้วย
ดอลลาร์บาทแข็งค่าแตะ 32.10
เจ้าหน้าที่บริหารเงินธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า วานนี้เงินบาททำสถิติใหม่ปิดตลาดที่ระดับ 32.10/12 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากช่วงเปิดตลาดที่ระดับ 32.20/22 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทแข็งค่าสุดที่ระดับ 32.10 บาท/ดอลลาร์ และอ่อนค่าสุดที่ระดับ 32.22 บาท/ดอลลาร์ การปรับตัวแข็งค่าเนื่องจากแรงเทขายดอลลาร์ของผู้ส่งออกและ กนง.มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี
"การคงอัตราดอกเบี้ยผิดไปจากความคาดหวังของหลายๆ คน ทำให้มีการเทขายดอลลาร์ออกมา" เจ้าหน้าที่บริหารเงินฯ กล่าวและว่า เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.5000/5005 ดอลลาร์/ยูโร ทำสถิติสูงสุดนับแต่ใช้เงินสกุลยูโร ขณะที่เงินเยนอยู่ที่ระดับ 106.30/35 เยน/ดอลลาร์
ลูกหม้ออัด ธปท.ชเลียร์หมัก
วานนี้ ในงานสัมมนา "ตลาดทุนไทย...ใครจะผ่าตัด" นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เสนอแนวทางการดูแลค่าเงินบาท 4 ประเด็น ประเด็นแรก นายธีระชัยแนะนำให้เปลี่ยนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน พร้อมยกตัวอย่างว่าอาจจะกำหนดระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่ชัดเจนหรืออาจใช้รูปแบบของประเทศสิงคโปร์คือการกำหนดช่วงเคลื่อนไหวค่าเงินโดยใช้ชั่วคราวประมาณ 2-3 ปี เพื่อไม่ไห้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าประเทศภูมิภาค
"หน่วยงานที่รับผิดชอบต้องเตรียมมาตรการเสริม หลังจากนั้นจึงยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ตาม พ.ร.บ.เงินตรา มาตรา 8 ได้เปิดโอกาสให้ ธปท.และรมว.คลังหารือปรับนโยบาย เพื่อกำหนดเป็นนโยบายรัฐบาลในการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ แต่ควรจะเสนอ ครม.ให้เห็นชอบด้วย"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แนวทางดังกล่าวสอดคล้องกับแนวทางที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ออกมาสั่งให้กระทรวงการคลังและ ธปท.ศึกษาระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดค่าเงินตายตัว
ประเด็นต่อมา ธปท.ต้องดูแลค่าเงินแบบเด็ดขาด จากปัจจุบันที่มีการดำเนินงานแบบครึ่งๆ กลาง เพราะ มีความกังวลที่จะโดนฟ้องร้องเหมือนในอดีต และหน้าที่ในการบริหารจัดการค่าเงิน ถือว่าเป็นหน้าที่ที่หนักมากของ ธปท.ดังนั้นรัฐบาลควรที่จะเข้ามาช่วยดูแลในเรื่องดังกล่าวด้วย
“มาตรการกันเงินสำรอง 30% ที่ธปท.ประกาศใช้ ไม่ได้มีการหารือกับ ก.ล.ต.และตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งพอมีการประกาศใช้มาตรการดังกล่าวออกมาทำให้ตลาดช็อก ซึ่งผมมองว่ามาตรการ 30% นั้นมีข้อเสียพอสมควร จากที่เรามีตลาดเงิน 2 ตลาด คือ ออฟชอร์และออนชอร์ ซึ่งออฟชอร์นั้นจะมีสภาพคล่องที่ต่ำหากเข้ามาลงทุนมากๆ จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น และเมื่อเราไปโรดโชว์ต่างประเทศนั้น นักลงทุนต่างชาติจะมองไทยเป็นตลาดชั้น 2 หากยังไม่ยกเลิก 30% ”
ประเด็นที่ 3 มาตรการที่ป้องกันเงินทุนต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในระยะสั้น (เงินร้อน) ที่เข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้แล้วได้รับผลตอบแทนที่สูงจากมีต้นทุนที่ต่ำ จึงมองว่าควรที่จะมีการเพิ่มต้นทุนเงินลงทุนระยะสั้นเพื่อให้ได้ประโยชน์จากการเข้ามาลงทุนในตรสารหนี้ที่น้อยลง จึงมองว่าควรที่จะมีการยกเลิก 30%การเข้ามาลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ แต่ควรคงไว้กับการลงทุนในตราสารหนี้
ประเด็นที่ 4 มาตรการเปิดทางให้นักลงทุนไทยสามารถไปลงทุนในต่างประเทศได้เสรีมากขึ้น ซึ่งธปท.ไม่ควรที่จะกังวลมากเกินไปที่นักลงทุนไทยไปลงทุนแล้วจะขาดทุน เพราะ การลงทุนนั้นขึ้นอยู่การตัดสินใจและเป็นเงินลงทุนของนักลงทุนเอง ไม่ได้มีผลเสียต่อประเทศแต่อย่างไร ซึ่งที่ผ่านมา ก.ล.ต.ได้มีการขอเพิ่มวงเงินลงทุนต่างประเทศแก่ ธปท.ไปนานพอสมควรแล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่ได้รับความเห็นชอบจาก ธปท.
"เลี้ยบ"บอกไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน
ในงานเดียวกัน นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวว่า ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนยังไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่จะต้องพิจารณาในขณะนี้ เพราะจะต้องศึกษารายละเอียดอีกมาก รวมถึงข้อเสนอให้ใช้มาตรา 8 ใน พ.ร.บ.เงินตรา ก็จะต้องมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจมากกว่านี้ และต้องอาศัยการพิจารณาจากหลายฝ่าย