จับตาแบงก์ชาติคง/ลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม กนง.วันที่ 27 กุมภาพันธ์นี้ ชี้มีความเป็นไปได้ทั้ง 2 ด้าน แต่หากประเมินตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวได้ดี และความอิสระในการดำเนินนโยบาย รวมถึงเงินเฟ้อขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้นแล้ว น่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิมที่ 3.25%
นายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ นี้ ว่า ทิศทางนโยบายอัตราดอกเบี้ยของ กนง.ในครั้งนี้ เป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ได้ เนื่องจากมีปัจจัยในหลายๆด้านเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน โดยในส่วนของปัจจัยภายนอกนั้น คงต้องดูที่เศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัวลงอย่างรวดเร็ว และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของเฟดที่ยังน่าจะลดลงอีก ขณะที่ปัจจัยภายในนั้น ปัจจัยทางการเมืองถือว่ายังไม่นิ่ง ทำให้ความเชื่อมั่นไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ รวมถึงราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นด้วย
“ถ้าดูจากปัจจัยภายนอกแล้ว เศรษฐกิจที่ชะลดตัวลงอย่างมาก และจะส่งผลกระทบต่อส่งออกของไทยด้วยแล้ว แบงก์ชาติก็อาจจะลดดอกเบี้ยได้ แต่ถ้าให้ผมมองรวมๆมองถึงปัจจัยภายในประกอบด้วย ผมว่าแบงก์ชาติน่าจะคงอัตราดอกเบี้ยเอาที่ระดับ 3.25%ในการประชุมครั้งนี้ เพราะถ้ามองถึงด้านเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นเป้าหมายในการบริหารนโยบายแล้ว ยังมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นจากราคาน้ำมันที่สูง และหากจะลดดอกเบี้ยลงเพื่อกดดันให้เงินบาทอ่อนลงนั้น เงินบาทจะต้องแข็งค่ากว่านี้ แต่โดยทั้งปีแล้วดอกเบี้ยคงจะลดลงอีก” นายบันลือศักดิ์ กล่าว
นายณัฐวุฒิ สัจจพุทธวงค์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส กลุ่มบริหารการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในการประชุม กนง.ครั้งนี้มีความเป็นไปได้ในระดับใกล้เคียงกันที่ธปท.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรือลดดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งหากจะมองถึงปัจจัยทางการเศรษฐกิจของประเทศแล้ว ถือว่าขณะนี้ธปท.ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรับดอกเบี้ยลง เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจเริ่มขยายตัวได้ในระดับที่ดีคือประมาณ 4.5% ขณะที่เงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มในอัตราที่เร่งตัว จากราคาสินค้าที่ทยอยปรับขึ้น และยังมีความเป็นไปได้อีกที่จะปรับขึ้นไปอีกในอนาคต
แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมาก็มีแรงกดดันทางการเมืองที่ต้องการให้ ธปท.ปรับลดดอกเบี้ยลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง ซึ่งก็อาจจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ธปท.ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้เช่นกัน
“คิดว่าเป็นไปได้ 50:50 ที่จะลดดอกเบี้ยหรือคงดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งหากดูตามปัจจัยของเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ก็น่าจะคงดอกเบี้ยไว้ แต่หากมองในเชิงที่แบงก์ชาติต้องลดดอกเบี้ยก็คงจะเป็นแรงกดดันจากการเมืองมากกว่า แต่หากจะต้องลดก็คงลดได้ไม่มากคงแค่ 0.25% เท่านั้น” นายณัฐวุฒิ กล่าว
ทั้งนี้ การปรับลดดอกเบี้ยเพื่อกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงนั้น เท่าที่ผ่านมาก็จะเห็นได้ว่าไม่ได้ผลเท่าที่ควร เนื่องจากสภาวะการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป สภาพคล่องส่วนเกินในโลกนี้ไม่ได้มากเหมือนในช่วงก่อน การลดดอกเบี้ยจึงไม่อาดึงหรือโยกเงินไปยังที่ต่างๆได้เป็นจำนวนมากจนมีผลต่อค่าเงินของประเทศใดประเทศหนึ่งได้ ทำให้การลดดอกเบี้ย ในช่วงที่ผ่านมาไม่ค่อยมีผลต่อค่าเงินมากนัก ส่วนการปรับลดดอกเบี้ยของเฟดนั้น เนื่องจากประเทศสหรัฐฯประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวและปัญหาด้านสภาพคล่องของสถาบันการเงินจากวิกฤตซับไพรม์ จึงจำเป็นต้องลดดอกเบี้ยเป็นจำนวนมาก แต่ประเทศไทยยังไม่มีปัญหาในลักษณะดังกล่าวจึงยังไม่มีความจำเป็นต้องปรับลดดอกเบี้ย ในทางกลับกัน ขณะนี้แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สูง การปรับลดดอกเบี้ยลงอีกจะทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ และมีผลต่อการออมในอนาคต
ด้าน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การประชุม กนง.ในครั้งนี้ จะมีการคงหรือปรับลดดอกเบี้ยนโยบายนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าทางธปท.จะให้น้ำหนักในด้านใด โดยหากจะดูจากเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจซึ่งในวันที่ 25 กุมภาพันธ์นี้จะมีการประกาศตัวเศรษฐกิจของไตรมาส 4 ปี 2550 ที่จะออกมานั้น น่าจะขยายตัวดีกว่าในไตรมาส 3 โดยคาดว่าจะมีการขยายตัวในระดับ 5.2% จาก 4.9%ในไตรมาส 3 ด้านความเชื่อมั่นก็เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวแม้จะยังไม่เต็มที่นักเนื่องจากยังรอนโยบายด้านการลงทุนของภาครัฐที่ชัดเจนอยู่ แต่โดยภาพรวมแล้วถือว่ายังขยายตัวได้อยู่ ขณะที่แนวโน้มเงินมีอัตราการขยายตัวที่เร่งตัวขึ้น ดังนั้น หาก ธปท.ให้น้ำหนักในส่วนนี้ ก็น่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิม
แต่หาก ธปท.ให้น้ำหนักที่ไปเศรษฐกิจสหรัฐฯที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงกว่าที่คาดไว้ และอาจส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย ประกอบกับเม็ดเงินใช้จ่ายการลงทุนของภาครัฐนั้นอาจจะยังไม่ออกมาในเร็วๆนี้หรืออาจจะเป็นกลางปีเป็นอย่างเร็ว และเพื่อให้นโยบายการคลังและการเงินมีความสอดคล้องกันในทิศทางกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งด้านการรักษาเสถียรภาพของเงินบาท ธปท.ก็อาจตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้
“การตัดสินใจในช่วงเวลานี้ของแบงก์ชาตินั้น ดูจะเป็นการตัดสินใจที่คาดการณ์ได้ยาก ก็จะต้องขึ้นอยู่กับว่าจะให้น้ำหนักในทิศทางไหน แต่หากเป็นทิศทางในภาพรวมทั้งปีแล้วเชื่อว่าแบงก์ชาติจะยังคงปรับลดดอกเบี้ยลงอีก 0.50% คือครั้งละ 0.25% 2 ครั้ง แต่จะเป็นการปรับลดในครั้งนี้ หรือครั้งไหนคงยังไม่สามารถบอกเจาะจงได้”
แหล่งข่าวจากธนาคารพาณิชย์ กล่าวว่า ในการประชุมครั้งนี้ธปท.น่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ เพราะถือเป็นการรักษาความอิสระในการดำเนินนโยบายของธปท.เอง ภายหลังจากที่มีรัฐบาลใหม่เข้ามาและมีท่าทีที่จะเข้ามาแทรกแซงการทำงานของธปท.ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับการดำเนินนโยบายของรัฐบาล ทั้งในกรณีการยกเลิกกันสำรอง 30% รวมถึงการลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
“เชื่อว่า แบงก์ชาติน่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในการประชุมครั้งนี้ เพราะถือเป็นการแสดงความอิสระของแบงก์ชาติที่ได้เคยประกาศไว้ว่าการดำเนินนโยบายดอกเบี้ยอยู่ในความดูแลของแบงก์ชาติ หลังจากที่ถูกกดดันมาอย่างหนักจากทางคลังให้ยกเลิกมาตรการ 30% และปรับลดดอกเบี้ยในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา”
นายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ นี้ ว่า ทิศทางนโยบายอัตราดอกเบี้ยของ กนง.ในครั้งนี้ เป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ได้ เนื่องจากมีปัจจัยในหลายๆด้านเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน โดยในส่วนของปัจจัยภายนอกนั้น คงต้องดูที่เศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัวลงอย่างรวดเร็ว และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของเฟดที่ยังน่าจะลดลงอีก ขณะที่ปัจจัยภายในนั้น ปัจจัยทางการเมืองถือว่ายังไม่นิ่ง ทำให้ความเชื่อมั่นไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ รวมถึงราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นด้วย
“ถ้าดูจากปัจจัยภายนอกแล้ว เศรษฐกิจที่ชะลดตัวลงอย่างมาก และจะส่งผลกระทบต่อส่งออกของไทยด้วยแล้ว แบงก์ชาติก็อาจจะลดดอกเบี้ยได้ แต่ถ้าให้ผมมองรวมๆมองถึงปัจจัยภายในประกอบด้วย ผมว่าแบงก์ชาติน่าจะคงอัตราดอกเบี้ยเอาที่ระดับ 3.25%ในการประชุมครั้งนี้ เพราะถ้ามองถึงด้านเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นเป้าหมายในการบริหารนโยบายแล้ว ยังมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นจากราคาน้ำมันที่สูง และหากจะลดดอกเบี้ยลงเพื่อกดดันให้เงินบาทอ่อนลงนั้น เงินบาทจะต้องแข็งค่ากว่านี้ แต่โดยทั้งปีแล้วดอกเบี้ยคงจะลดลงอีก” นายบันลือศักดิ์ กล่าว
นายณัฐวุฒิ สัจจพุทธวงค์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส กลุ่มบริหารการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในการประชุม กนง.ครั้งนี้มีความเป็นไปได้ในระดับใกล้เคียงกันที่ธปท.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรือลดดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งหากจะมองถึงปัจจัยทางการเศรษฐกิจของประเทศแล้ว ถือว่าขณะนี้ธปท.ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรับดอกเบี้ยลง เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจเริ่มขยายตัวได้ในระดับที่ดีคือประมาณ 4.5% ขณะที่เงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มในอัตราที่เร่งตัว จากราคาสินค้าที่ทยอยปรับขึ้น และยังมีความเป็นไปได้อีกที่จะปรับขึ้นไปอีกในอนาคต
แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมาก็มีแรงกดดันทางการเมืองที่ต้องการให้ ธปท.ปรับลดดอกเบี้ยลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง ซึ่งก็อาจจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ธปท.ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้เช่นกัน
“คิดว่าเป็นไปได้ 50:50 ที่จะลดดอกเบี้ยหรือคงดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งหากดูตามปัจจัยของเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ก็น่าจะคงดอกเบี้ยไว้ แต่หากมองในเชิงที่แบงก์ชาติต้องลดดอกเบี้ยก็คงจะเป็นแรงกดดันจากการเมืองมากกว่า แต่หากจะต้องลดก็คงลดได้ไม่มากคงแค่ 0.25% เท่านั้น” นายณัฐวุฒิ กล่าว
ทั้งนี้ การปรับลดดอกเบี้ยเพื่อกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงนั้น เท่าที่ผ่านมาก็จะเห็นได้ว่าไม่ได้ผลเท่าที่ควร เนื่องจากสภาวะการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป สภาพคล่องส่วนเกินในโลกนี้ไม่ได้มากเหมือนในช่วงก่อน การลดดอกเบี้ยจึงไม่อาดึงหรือโยกเงินไปยังที่ต่างๆได้เป็นจำนวนมากจนมีผลต่อค่าเงินของประเทศใดประเทศหนึ่งได้ ทำให้การลดดอกเบี้ย ในช่วงที่ผ่านมาไม่ค่อยมีผลต่อค่าเงินมากนัก ส่วนการปรับลดดอกเบี้ยของเฟดนั้น เนื่องจากประเทศสหรัฐฯประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวและปัญหาด้านสภาพคล่องของสถาบันการเงินจากวิกฤตซับไพรม์ จึงจำเป็นต้องลดดอกเบี้ยเป็นจำนวนมาก แต่ประเทศไทยยังไม่มีปัญหาในลักษณะดังกล่าวจึงยังไม่มีความจำเป็นต้องปรับลดดอกเบี้ย ในทางกลับกัน ขณะนี้แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สูง การปรับลดดอกเบี้ยลงอีกจะทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ และมีผลต่อการออมในอนาคต
ด้าน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การประชุม กนง.ในครั้งนี้ จะมีการคงหรือปรับลดดอกเบี้ยนโยบายนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าทางธปท.จะให้น้ำหนักในด้านใด โดยหากจะดูจากเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจซึ่งในวันที่ 25 กุมภาพันธ์นี้จะมีการประกาศตัวเศรษฐกิจของไตรมาส 4 ปี 2550 ที่จะออกมานั้น น่าจะขยายตัวดีกว่าในไตรมาส 3 โดยคาดว่าจะมีการขยายตัวในระดับ 5.2% จาก 4.9%ในไตรมาส 3 ด้านความเชื่อมั่นก็เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวแม้จะยังไม่เต็มที่นักเนื่องจากยังรอนโยบายด้านการลงทุนของภาครัฐที่ชัดเจนอยู่ แต่โดยภาพรวมแล้วถือว่ายังขยายตัวได้อยู่ ขณะที่แนวโน้มเงินมีอัตราการขยายตัวที่เร่งตัวขึ้น ดังนั้น หาก ธปท.ให้น้ำหนักในส่วนนี้ ก็น่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิม
แต่หาก ธปท.ให้น้ำหนักที่ไปเศรษฐกิจสหรัฐฯที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงกว่าที่คาดไว้ และอาจส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย ประกอบกับเม็ดเงินใช้จ่ายการลงทุนของภาครัฐนั้นอาจจะยังไม่ออกมาในเร็วๆนี้หรืออาจจะเป็นกลางปีเป็นอย่างเร็ว และเพื่อให้นโยบายการคลังและการเงินมีความสอดคล้องกันในทิศทางกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งด้านการรักษาเสถียรภาพของเงินบาท ธปท.ก็อาจตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้
“การตัดสินใจในช่วงเวลานี้ของแบงก์ชาตินั้น ดูจะเป็นการตัดสินใจที่คาดการณ์ได้ยาก ก็จะต้องขึ้นอยู่กับว่าจะให้น้ำหนักในทิศทางไหน แต่หากเป็นทิศทางในภาพรวมทั้งปีแล้วเชื่อว่าแบงก์ชาติจะยังคงปรับลดดอกเบี้ยลงอีก 0.50% คือครั้งละ 0.25% 2 ครั้ง แต่จะเป็นการปรับลดในครั้งนี้ หรือครั้งไหนคงยังไม่สามารถบอกเจาะจงได้”
แหล่งข่าวจากธนาคารพาณิชย์ กล่าวว่า ในการประชุมครั้งนี้ธปท.น่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ เพราะถือเป็นการรักษาความอิสระในการดำเนินนโยบายของธปท.เอง ภายหลังจากที่มีรัฐบาลใหม่เข้ามาและมีท่าทีที่จะเข้ามาแทรกแซงการทำงานของธปท.ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับการดำเนินนโยบายของรัฐบาล ทั้งในกรณีการยกเลิกกันสำรอง 30% รวมถึงการลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
“เชื่อว่า แบงก์ชาติน่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในการประชุมครั้งนี้ เพราะถือเป็นการแสดงความอิสระของแบงก์ชาติที่ได้เคยประกาศไว้ว่าการดำเนินนโยบายดอกเบี้ยอยู่ในความดูแลของแบงก์ชาติ หลังจากที่ถูกกดดันมาอย่างหนักจากทางคลังให้ยกเลิกมาตรการ 30% และปรับลดดอกเบี้ยในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา”