ธปท.ยังใจเย็นระบุราคาน้ำมันตลาดโลกทุบสถิติ 100 เหรียญต่อบาร์เรลในปัจจุบันไม่เหนือความคาดหมาย ฟุ้งประเมินไว้หมดแล้วและมั่นใจเงินเฟ้อยังอยู่ในกรอบ หวังเศรษฐกิจโลกที่ชะลอจะทำให้ปริมาณความต้องการน้ำมันลด ช่วยกดดันราคาน้ำมันลงได้ เผยในการประชุมกนง.วันที่ 27 ก.พ.นี้จะนำประเด็นเฟดลดดอกเบี้ย ความเชื่อมั่นที่ดีขึ้น และการเบิกจ่ายเม็ดเงินของรัฐบาลใหม่ที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจนำมาเป็นปัจจัยใหม่พิจารณาเพิ่มเติม ขณะที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นอีกแตะระดับ 32.39 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กที่ปิดตลาดพุ่งสูงขึ้นในครั้งเดียวถึง 4.51 เหรียญ แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 100.01 เหรียญต่อบาร์เรล เมื่อคืนวันที่ 19 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่พุ่งขึ้นสูงน่าจะเกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างสหรัฐและเวเนซูเอลา ประกอบกับความกังวลที่มีข่าวว่าจะเกิดเหตุระเบิดโรงกลั่นน้ำมันในรัฐเท็กซัสของสหรัฐ และส่งผลให้กลุ่มโอเปคอาจปรับลดเพดานการผลิตน้ำมันลง อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นระดับนี้ยังเป็นไปตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ประเมินไว้แล้ว และเชื่ออัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในกรอบ 0-3.5%
“ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นในขณะนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าสถานการณ์น้ำมันจะสูงเหมือนในอดีตที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กนง.ได้มองว่าสถานการณ์ต่างๆ ในปัจจุบันไม่ได้มีอะไรเหนือความคาดหมายและเราเองได้คาดการณ์กรณีเลวร้ายสุดทั้งปัจจัยราคาน้ำมันอาจพุ่งสูงและเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวจนทำให้เศรษฐกิจสหรัฐถดถอยอยู่แล้ว ฉะนั้น หากในระยะยาวเศรษฐกิจโลกชะลอ อาจมีความเป็นไปได้ที่ดีมานด์และซับพลายด้านราคาน้ำมันสมดุลมากขึ้น คงไม่พุ่งสูงในทิศทางเดียว”
ทั้งนี้ ปัจจัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลงจากการประชุมครั้งก่อนและนำมาวิเคราะห์เพิ่มเติมในการประชุมครั้งต่อไป คือ วันที่ 27 กุมภาพันธ์นี้ ได้แก่ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ถึง 0.75% และความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นจากความชัดเจนด้านการเมือง ซึ่งสะท้อนผ่านดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและการลงทุนต่างๆ ของหลายสำนัก รวมถึงของธปท.ด้วย นอกจากนี้ยังเกี่ยวกับเม็ดเงินการเบิกจ่ายของรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวดีขึ้นเช่นกัน
“การส่งผ่านนโยบายการเงินต้องใช้เวลา และแม้เศรษฐกิจไทยจะต้องเผชิญกับปัจจัยลบต่างๆ ทั้งปัญหาสินเชื่อที่อยู่อาศัยด้อยคุณภาพ(ซับไพรม์)มีผลต่อความเสี่ยงด้านเครดิต และต่อมาเกิดจากเศรษฐกิจมหภาค แต่เศรษฐกิจไทยปรับตัวได้ดีขึ้น”
นางอมรา กล่าวว่า อย่างไรก็ตามแม้เศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากปัจจัยนอกประเทศอยู่ และหากมองในภาพของจุลภาค(Micro)อาจมีผลกระทบต่อรายภาคธุรกิจบ้างทั้งจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เงินบาทที่แข็งค่าขึ้น เป็นต้น แต่ภาพรวมมหภาค(Macro) คือ เศรษฐกิจโดยรวมของปีก่อนไม่ได้แย่นัก โดยการขยายตัวเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ขยายตัวดีขึ้นกว่าในไตรมาส 3 ของปี 50 และหากพิจารณาเป็นรายปีในปี 50 เศรษฐกิจไทยเติบโต 4.8% จากปีก่อนที่ขยายตัว 5% ถือว่าเศรษฐกิจไทยไม่ได้เปราะบางอย่างที่หลายฝ่ายมอง และมองว่าแนวโน้มอุปสงค์ในประเทศจะปรับตัวดีขึ้น และหากนโยบายของภาครัฐมีความชัดเจนก็จะสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคและนักลงทุนมากขึ้น
**บาทนิ่งรอดูตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ**
นักค้าเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เงินบาทวานนี้แกว่งตัวแข็งค่าขึ้นอีกจากแรงขายเงินดอลลาร์สหรัฐของผู้ส่งออก โดยค่าเงินบาทเปิดตลาดช่วงเช้าที่ระดับ 32.50-32.53 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากนั้นปรับตัวแข็งค่าสุดที่ระดับ 32.39 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และอ่อนค่าสุดที่ระดับ 32.51 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังจากนั้นปิดตลาดที่ระดับ 32.42-32.44 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องแตะที่ระดับ 32.30 บาทต่อดอลลาร์ได้ในช่วงสัปดาห์นี้
ทั้งนี้ ปัจจัยส่วนใหญ่ยังมาจากแรงขายของผู้ส่งออกที่ยังมองว่าเงินดอลลาร์สหรัฐยังคงมีทิศทางอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับทิศทางนโยบายของทางการเกี่ยวกับมาตรการกันสำรอง 30%ยังไม่มีความชัดเจน ขณะที่นักลงทุนบางส่วนคาดว่าอาจมีการยกเลิกมาตรการดังกล่าว ซึ่งจะทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปอีก ก็เป็นอีกปัจจัยที่ให้มีการเทขายเงินดอลลาร์สหรัฐออกมาอย่างต่อเนื่อง
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กที่ปิดตลาดพุ่งสูงขึ้นในครั้งเดียวถึง 4.51 เหรียญ แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 100.01 เหรียญต่อบาร์เรล เมื่อคืนวันที่ 19 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่พุ่งขึ้นสูงน่าจะเกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างสหรัฐและเวเนซูเอลา ประกอบกับความกังวลที่มีข่าวว่าจะเกิดเหตุระเบิดโรงกลั่นน้ำมันในรัฐเท็กซัสของสหรัฐ และส่งผลให้กลุ่มโอเปคอาจปรับลดเพดานการผลิตน้ำมันลง อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นระดับนี้ยังเป็นไปตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ประเมินไว้แล้ว และเชื่ออัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในกรอบ 0-3.5%
“ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นในขณะนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าสถานการณ์น้ำมันจะสูงเหมือนในอดีตที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กนง.ได้มองว่าสถานการณ์ต่างๆ ในปัจจุบันไม่ได้มีอะไรเหนือความคาดหมายและเราเองได้คาดการณ์กรณีเลวร้ายสุดทั้งปัจจัยราคาน้ำมันอาจพุ่งสูงและเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวจนทำให้เศรษฐกิจสหรัฐถดถอยอยู่แล้ว ฉะนั้น หากในระยะยาวเศรษฐกิจโลกชะลอ อาจมีความเป็นไปได้ที่ดีมานด์และซับพลายด้านราคาน้ำมันสมดุลมากขึ้น คงไม่พุ่งสูงในทิศทางเดียว”
ทั้งนี้ ปัจจัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลงจากการประชุมครั้งก่อนและนำมาวิเคราะห์เพิ่มเติมในการประชุมครั้งต่อไป คือ วันที่ 27 กุมภาพันธ์นี้ ได้แก่ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ถึง 0.75% และความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นจากความชัดเจนด้านการเมือง ซึ่งสะท้อนผ่านดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและการลงทุนต่างๆ ของหลายสำนัก รวมถึงของธปท.ด้วย นอกจากนี้ยังเกี่ยวกับเม็ดเงินการเบิกจ่ายของรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวดีขึ้นเช่นกัน
“การส่งผ่านนโยบายการเงินต้องใช้เวลา และแม้เศรษฐกิจไทยจะต้องเผชิญกับปัจจัยลบต่างๆ ทั้งปัญหาสินเชื่อที่อยู่อาศัยด้อยคุณภาพ(ซับไพรม์)มีผลต่อความเสี่ยงด้านเครดิต และต่อมาเกิดจากเศรษฐกิจมหภาค แต่เศรษฐกิจไทยปรับตัวได้ดีขึ้น”
นางอมรา กล่าวว่า อย่างไรก็ตามแม้เศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากปัจจัยนอกประเทศอยู่ และหากมองในภาพของจุลภาค(Micro)อาจมีผลกระทบต่อรายภาคธุรกิจบ้างทั้งจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เงินบาทที่แข็งค่าขึ้น เป็นต้น แต่ภาพรวมมหภาค(Macro) คือ เศรษฐกิจโดยรวมของปีก่อนไม่ได้แย่นัก โดยการขยายตัวเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ขยายตัวดีขึ้นกว่าในไตรมาส 3 ของปี 50 และหากพิจารณาเป็นรายปีในปี 50 เศรษฐกิจไทยเติบโต 4.8% จากปีก่อนที่ขยายตัว 5% ถือว่าเศรษฐกิจไทยไม่ได้เปราะบางอย่างที่หลายฝ่ายมอง และมองว่าแนวโน้มอุปสงค์ในประเทศจะปรับตัวดีขึ้น และหากนโยบายของภาครัฐมีความชัดเจนก็จะสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคและนักลงทุนมากขึ้น
**บาทนิ่งรอดูตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ**
นักค้าเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เงินบาทวานนี้แกว่งตัวแข็งค่าขึ้นอีกจากแรงขายเงินดอลลาร์สหรัฐของผู้ส่งออก โดยค่าเงินบาทเปิดตลาดช่วงเช้าที่ระดับ 32.50-32.53 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากนั้นปรับตัวแข็งค่าสุดที่ระดับ 32.39 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และอ่อนค่าสุดที่ระดับ 32.51 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังจากนั้นปิดตลาดที่ระดับ 32.42-32.44 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องแตะที่ระดับ 32.30 บาทต่อดอลลาร์ได้ในช่วงสัปดาห์นี้
ทั้งนี้ ปัจจัยส่วนใหญ่ยังมาจากแรงขายของผู้ส่งออกที่ยังมองว่าเงินดอลลาร์สหรัฐยังคงมีทิศทางอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับทิศทางนโยบายของทางการเกี่ยวกับมาตรการกันสำรอง 30%ยังไม่มีความชัดเจน ขณะที่นักลงทุนบางส่วนคาดว่าอาจมีการยกเลิกมาตรการดังกล่าว ซึ่งจะทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปอีก ก็เป็นอีกปัจจัยที่ให้มีการเทขายเงินดอลลาร์สหรัฐออกมาอย่างต่อเนื่อง