ตลาดหุ้นรูดหลังราคาน้ำมันดิบทะยานเหนือ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังวงการคาดโอเปคเตรียมลดการผลิตในการประชุมเดือนหน้า นักลงทุนแห่ขายทำกำไรหุ้นพลังงาน-แบงก์ โบรกเกอร์ชี้ชะตาตลาดหุ้นไทยต้องรอดู "ดาวโจนส์" บล.บีฟิท ยังเชื่อปีนี้ดัชนีมีโอกาสแตะ 1,000 จุด ฟันธงงบการเงินบจ.ปีนี้พุ่ง ขณะที่สนองนโยบายก.ล.ต.สั่งคุ้มเข้มปล่อยมาร์จิ้นลูกค้ากู้ซื้อหุ้น
ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (20 ก.พ.) ความกังวลต่อปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบที่ล่าสุดปรับตัวทะลุระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังมีการคาดการณ์ว่าโอเปคอาจจะลดปริมาณการผลิตน้ำมันลงในการประชุมเดือนหน้า ส่งผลทำให้มีแรงขายทำกำไรในหุ้นกลุ่มพลังงาน รวมทั้งมีการขายทำกำไรหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์เนื่องจากก่อนหน้านี้ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นมาค่อนข้างมาก ส่งผลทำให้ดัชนีปรับตัวลดลงมาปิดที่ 827.13 จุด ลดลง 8.49 จุด หรือ 1.02% โดยจุดสูงสุดระหว่างวันอยู่ที่ 841.14 จุด และจุดต่ำสุดอยู่ที่ 822.55 จุด มูลค่าการซื้อขาย 19,285.14 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 269.91 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 529.07 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 259.17 ล้านบาท
นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงสาเหตุที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นในภูมิภาคปรับตัวลดลงค่อนข้างแรง ว่า เป็นผลมาจากความกังวลว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปัจจุบันปรับเพิ่มขึ้นสูงทะลุ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จากปัญหาความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯและเวเนซูเอลาจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั่วโลก
ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่าผู้ค้าน้ำมัน (โอเปค) อาจจะลดการผลิตน้ำมันในการประชุมวันที่ 5 มี.ค.นี้ ซึ่งจะส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิตรวมถึงต้นทุนในการบริโภคของประชาชนสูงขึ้นและจะกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อซึ่งเป็นสาเหตุในการบั่นทอนการใช้จ่ายของผู้บริโภค ในขณะเดียวกันจะกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนด้วย
นอกจากนี้ ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาสินเชื่อหลังนายแกรี่ สเติร์น ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ สาขามินนีอาโปลิส ออกมาระบุถึงความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะตรึงตัวในตลาดสินเชื่อและอาจจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจรวมถึงกระทบต่ออัตราการว่างงาน โดยในภาวะตรึงตัวในตลาดการเงินส่งผลให้บริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯต้องตั้งสำรองด้อยค่าผลขาดทุนเพิ่มขึ้น
สำหรับแนวโน้มการเคลื่อนไหวของดัชนีในวันศุกร์ยังคงต้องติดตามทิศทางการเคลื่อนไหวของดัชนีดาวโจนส์ เนื่องจากเป็นปัจจัยที่มีผลชี้นำตลาดหุ้นทั่วโลก รวมทั้งต้องติดตามราคาน้ำมันอย่างใกล้ชิดว่าจะเคลื่อนไหวในทิศทางใด เพราะปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อ โดยกลยุทธ์การลงทุน แนะนำทยอยสะสมหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และกลุ่มท่องเที่ยวซึ่งได้รับประโยชน์จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยมองแนวรับที่ 825 จุด แนวต้านที่ 845 จุด
นายเอกพิทยา เอี่ยมคงเอก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ (สายงานวิจัย) บล.บีฟิท กล่าวว่า บริษัทประเมินแนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นสิ้นปีนี้โดยเชื่อว่ามีโอกาสไปถึงระดับ 1,000 จุดได้ในช่วงครึ่งปีหลัง เนื่องจากแนวโน้มผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มหลักๆ ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าในช่วงครึ่งปีแรกจะได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์
ทั้งนี้ คาดว่าหุ้นในกลุ่มพลังงานจะมีการเติบโตของอัตรากำไรต่อหุ้น หรือ EPS ประมาณ 5% ขณะที่กลุ่มปิโตรเคมีคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 25% ส่วนกลุ่มแบงก์คาดว่าจะเติบโต 340% เนื่องจากในปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากเกณฑ์มาตรฐานทางบัญชีทำให้ต้องมีการตั้งสำรองเพิ่ม
"ครึ่งปีหลังดัชนีอาจะจะถึง 1 พันจุดได้โดยคำนวณจากฐานค่าพีอีเรโชที่ 12 เท่า ขณะที่คาดว่าผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในปีนี้จะเติบโตประมาณ 21% จากปีที่ผ่านมาซึ่งติดลบ 1.9%"นายเอกพิทยา กล่าว
นายอภิศักดิ์ ลิมป์ธำรงกุล ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.นครหลวงไทย กล่าวถึงแนวโน้มการเคลื่อนไหวดัชนีในวันศุกร์คาดว่าดัชนีอาจมีการปรับตัวลดลงต่อ เนื่องจากมีความกังวลถึงปัญหาภาวะเงินเฟ้อที่จะส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลก ทั้งนี้ ต้องติดตามการประกาศตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศสหรัฐฯที่จะประกาศในคืนนี้ว่าเป็นอย่างไร เนื่องจากจะส่งผลต่อจิตวิทยาการลงทุน โดยกลยุทธ์การลงทุนแนะนำให้ชะลอการลงทุนก่อน โดยประเมินแนวรับไว้ที่ 815 จุด แนวต้าน 830 จุด
"บีฟิท"คุ้มเข้มปล่อยมาร์จิ้น
นายประสิทธิ์ ศรีสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.บีฟิท เปิดเผยว่า การออกมาตรการเพิ่มเติมที่ใช้กับหุ้นเก็งกำไรของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีเนื่องจากเป็นการวางกรอบให้การทำงานของบริษัทหลักทรัพย์มีความชัดเจนมากขึ้น รวมทั้งยังเป็นการกำหนดให้บริษัททุกแห่งต้องดำเนินการจึงถือว่าเป็นมาตรฐานเดียวกัน
ทั้งนี้ บริษัทพร้อมจะดำเนินการตามประกาศก.ล.ต.ที่ออกมา รวมทั้งจะมีความเข้มงวดเกี่ยวกับการดำเนินการในเรื่องต่างให้มากขึ้น เช่น การปล่อยวงเงินกู้ยืมซื้อหุ้นโดยจะเข้มงวดกว่าปกติ โดยแม้ว่าบริษัทจะปล่อยวงเงินกู้ยืมให้กับผู้ที่จะซื้อขายหุ้นที่อยู่ใน SET100 หรือ SET50 แต่ก็มีการประเมินความเสี่ยงลูกค้าประกอบการพิจารณาด้วย
นอกจากนี้โดยปกติการกำหนดช่วง Force Sell และ Call Margin จะอยู่ที่ 35-40% ตามลำดับ โดยบริษัทได้เปลี่ยนเป็น Force Sell 28% และ Call Margin 35% จนถึง Force Sell 40% และ Call Margin 45% ในระหว่างวันซึ่งอัตราขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของลูกค้าแต่ละราย
ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (20 ก.พ.) ความกังวลต่อปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบที่ล่าสุดปรับตัวทะลุระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังมีการคาดการณ์ว่าโอเปคอาจจะลดปริมาณการผลิตน้ำมันลงในการประชุมเดือนหน้า ส่งผลทำให้มีแรงขายทำกำไรในหุ้นกลุ่มพลังงาน รวมทั้งมีการขายทำกำไรหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์เนื่องจากก่อนหน้านี้ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นมาค่อนข้างมาก ส่งผลทำให้ดัชนีปรับตัวลดลงมาปิดที่ 827.13 จุด ลดลง 8.49 จุด หรือ 1.02% โดยจุดสูงสุดระหว่างวันอยู่ที่ 841.14 จุด และจุดต่ำสุดอยู่ที่ 822.55 จุด มูลค่าการซื้อขาย 19,285.14 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 269.91 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 529.07 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 259.17 ล้านบาท
นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงสาเหตุที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นในภูมิภาคปรับตัวลดลงค่อนข้างแรง ว่า เป็นผลมาจากความกังวลว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปัจจุบันปรับเพิ่มขึ้นสูงทะลุ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จากปัญหาความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯและเวเนซูเอลาจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั่วโลก
ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่าผู้ค้าน้ำมัน (โอเปค) อาจจะลดการผลิตน้ำมันในการประชุมวันที่ 5 มี.ค.นี้ ซึ่งจะส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิตรวมถึงต้นทุนในการบริโภคของประชาชนสูงขึ้นและจะกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อซึ่งเป็นสาเหตุในการบั่นทอนการใช้จ่ายของผู้บริโภค ในขณะเดียวกันจะกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนด้วย
นอกจากนี้ ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาสินเชื่อหลังนายแกรี่ สเติร์น ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ สาขามินนีอาโปลิส ออกมาระบุถึงความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะตรึงตัวในตลาดสินเชื่อและอาจจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจรวมถึงกระทบต่ออัตราการว่างงาน โดยในภาวะตรึงตัวในตลาดการเงินส่งผลให้บริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯต้องตั้งสำรองด้อยค่าผลขาดทุนเพิ่มขึ้น
สำหรับแนวโน้มการเคลื่อนไหวของดัชนีในวันศุกร์ยังคงต้องติดตามทิศทางการเคลื่อนไหวของดัชนีดาวโจนส์ เนื่องจากเป็นปัจจัยที่มีผลชี้นำตลาดหุ้นทั่วโลก รวมทั้งต้องติดตามราคาน้ำมันอย่างใกล้ชิดว่าจะเคลื่อนไหวในทิศทางใด เพราะปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อ โดยกลยุทธ์การลงทุน แนะนำทยอยสะสมหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และกลุ่มท่องเที่ยวซึ่งได้รับประโยชน์จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยมองแนวรับที่ 825 จุด แนวต้านที่ 845 จุด
นายเอกพิทยา เอี่ยมคงเอก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ (สายงานวิจัย) บล.บีฟิท กล่าวว่า บริษัทประเมินแนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นสิ้นปีนี้โดยเชื่อว่ามีโอกาสไปถึงระดับ 1,000 จุดได้ในช่วงครึ่งปีหลัง เนื่องจากแนวโน้มผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มหลักๆ ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าในช่วงครึ่งปีแรกจะได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์
ทั้งนี้ คาดว่าหุ้นในกลุ่มพลังงานจะมีการเติบโตของอัตรากำไรต่อหุ้น หรือ EPS ประมาณ 5% ขณะที่กลุ่มปิโตรเคมีคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 25% ส่วนกลุ่มแบงก์คาดว่าจะเติบโต 340% เนื่องจากในปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากเกณฑ์มาตรฐานทางบัญชีทำให้ต้องมีการตั้งสำรองเพิ่ม
"ครึ่งปีหลังดัชนีอาจะจะถึง 1 พันจุดได้โดยคำนวณจากฐานค่าพีอีเรโชที่ 12 เท่า ขณะที่คาดว่าผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในปีนี้จะเติบโตประมาณ 21% จากปีที่ผ่านมาซึ่งติดลบ 1.9%"นายเอกพิทยา กล่าว
นายอภิศักดิ์ ลิมป์ธำรงกุล ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.นครหลวงไทย กล่าวถึงแนวโน้มการเคลื่อนไหวดัชนีในวันศุกร์คาดว่าดัชนีอาจมีการปรับตัวลดลงต่อ เนื่องจากมีความกังวลถึงปัญหาภาวะเงินเฟ้อที่จะส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลก ทั้งนี้ ต้องติดตามการประกาศตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศสหรัฐฯที่จะประกาศในคืนนี้ว่าเป็นอย่างไร เนื่องจากจะส่งผลต่อจิตวิทยาการลงทุน โดยกลยุทธ์การลงทุนแนะนำให้ชะลอการลงทุนก่อน โดยประเมินแนวรับไว้ที่ 815 จุด แนวต้าน 830 จุด
"บีฟิท"คุ้มเข้มปล่อยมาร์จิ้น
นายประสิทธิ์ ศรีสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.บีฟิท เปิดเผยว่า การออกมาตรการเพิ่มเติมที่ใช้กับหุ้นเก็งกำไรของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีเนื่องจากเป็นการวางกรอบให้การทำงานของบริษัทหลักทรัพย์มีความชัดเจนมากขึ้น รวมทั้งยังเป็นการกำหนดให้บริษัททุกแห่งต้องดำเนินการจึงถือว่าเป็นมาตรฐานเดียวกัน
ทั้งนี้ บริษัทพร้อมจะดำเนินการตามประกาศก.ล.ต.ที่ออกมา รวมทั้งจะมีความเข้มงวดเกี่ยวกับการดำเนินการในเรื่องต่างให้มากขึ้น เช่น การปล่อยวงเงินกู้ยืมซื้อหุ้นโดยจะเข้มงวดกว่าปกติ โดยแม้ว่าบริษัทจะปล่อยวงเงินกู้ยืมให้กับผู้ที่จะซื้อขายหุ้นที่อยู่ใน SET100 หรือ SET50 แต่ก็มีการประเมินความเสี่ยงลูกค้าประกอบการพิจารณาด้วย
นอกจากนี้โดยปกติการกำหนดช่วง Force Sell และ Call Margin จะอยู่ที่ 35-40% ตามลำดับ โดยบริษัทได้เปลี่ยนเป็น Force Sell 28% และ Call Margin 35% จนถึง Force Sell 40% และ Call Margin 45% ในระหว่างวันซึ่งอัตราขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของลูกค้าแต่ละราย