เผยทิศทางดอกเบี้ยแบงก์ยังรอสัญญาณที่ชัดเจนจากธปท.ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงตามเฟดหรือไม่ ประเมินหากดอกเบี้ยนโยบายลงถึง 0.50% แบงก์เล็กที่มีการแข่งแคมเปญระดมเงินฝากต้องทยอยหั่นดอกเบี้ยลงเพื่อลดต้นทุน ส่วนการประชุมของเฟดในปลายเดือนนี้ คาดลดอีก 0.25-0.50%
นายตรรก บุนนาค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงทิศทางอัตราดอกเบี้ยว่า ขณะนี้ยังไม่มีความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด คงต้องรอสัญญาณที่ชัดเจนจากทางการเป็นหลัก รวมถึงสภาวะการณ์ต่างๆภายในประเทศที่จะเอื้อต่อการลงทุนและการขยายตัวของสินเชื่อหรือไม่ และอีกปัจจัยสำคัญที่พิจารณาก็คือสภาพคล่องของธนาคารแต่ละแห่ง ซึ่งมีไม่เท่ากัน หากธนาคารแห่งใดยังมีสภาพคล่องอยู่เป็นจำนวนมากก็คงจะตรึงดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิมได้
อย่างไรก็ตาม หากอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับตัวลดลงถึง 0.50% ธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางและเล็กบางแห่งที่ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากไปในช่วงปลายปีก่อนและต้นปีนี้ ก็คงจะต้องมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยตาม เนื่องจากหากยังคงตรึงดอกเบี้ยในระดับสูงสวนทางกับระบบก็จะทำให้ต้องแบกภาระต้นทุนที่อยู่ในระดับสูงเกิน ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่ยังไม่มีการขยับดอกเบี้ยก็อาจจะยังคงไว้ในระดับเดิมได้
"ตอนนี้จะเห็นได้ว่าทิศทางดอกเบี้ยของแบงก์ยังนิ่ง ยังไม่เห็นความเคลื่อนไหวที่ชัดเจนว่าจะขึ้นหรือลง คงต้องรอดูความชัดเจนในหลายๆเรื่อง และที่สำคัญก็คือสภาพคล่องของแต่ละธนาคารเอง จะเห็นได้ว่าเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา ก็เริ่มมีธนาคารขนาดเล็กทยอยออกแคมเปญเงินฝากดอกเบี้ยมาเป็นระยะ ซึ่งในช่วงต่อไปหากแบงก์ชาติต้องปรับลดดอกเบี้ยลงตามเทรนด์ต่างประเทศ และลงถึง 0.50% แบงก์ขนาดเล็กที่ทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยไปนั้น ก็คงต้องลดลง เพราะต้นทุนจะสูงมาก แต่แบงก์ใหญ่ที่ยังไม่มีการเคลื่อนไหว ก็คงจะยังตรึงดอกเบี้ยอยู่ได้”นายตรรกกล่าว
สำหรับแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายของไทยนั้น เท่าที่ประเมินจากที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ออกมากล่าวนั้น ทิศทางก็น่าจะต้องปรับลดลงบ้าง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้สามารถเติบโตได้ในระดับที่ทัดเทียมกับประเทศต่างๆในภูมิภาค เนื่องจากในปีที่แล้วเศรษฐกิจไทยก็มีอัตราการขยายตัวในระดับที่ต่ำกว่าประเทศอื่นๆอยู่
นอกจากนี้ ธปท.น่าจะนำเอาประเด็นในเงินทุนไหลเข้ามาพิจารณาด้วย เพราะหากธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)มีการปรับลดดอกเบี้ยในประชุมวันที่ 29-30 มกราคมนี้ อีก 0.50% เหลือ 3.00% ก็จะอยู่ในระดับที่ต่ำที่กว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่อยู่ในระดับ 3.25% และหากกนง.ไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยก็จะทำให้มีเงินไหลเข้าทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอีก
ส่วนการประชุมเฟดในครั้งนี้นั้น ก็ยังมีการคาดการณ์ว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.25-0.50% เนื่องจากตัวเลข New Home Sale ล่าสุดของสหรัฐที่ออกมานั้น มีอัตราที่ลดลงมาก ซึ่งเป็นสัญญาณว่าปัญหาซับไพรม์ได้กระทบต่อกำลังซื้อที่อยู่อาศัยของประชากรสหรัฐฯ ดังนั้น หากทางการต้องการกระตุ้นหรือแบ่งเบาภาระผู้ที่ต้องการซื้อบ้านก็จะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก
นายตรรก บุนนาค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงทิศทางอัตราดอกเบี้ยว่า ขณะนี้ยังไม่มีความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด คงต้องรอสัญญาณที่ชัดเจนจากทางการเป็นหลัก รวมถึงสภาวะการณ์ต่างๆภายในประเทศที่จะเอื้อต่อการลงทุนและการขยายตัวของสินเชื่อหรือไม่ และอีกปัจจัยสำคัญที่พิจารณาก็คือสภาพคล่องของธนาคารแต่ละแห่ง ซึ่งมีไม่เท่ากัน หากธนาคารแห่งใดยังมีสภาพคล่องอยู่เป็นจำนวนมากก็คงจะตรึงดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิมได้
อย่างไรก็ตาม หากอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับตัวลดลงถึง 0.50% ธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางและเล็กบางแห่งที่ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากไปในช่วงปลายปีก่อนและต้นปีนี้ ก็คงจะต้องมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยตาม เนื่องจากหากยังคงตรึงดอกเบี้ยในระดับสูงสวนทางกับระบบก็จะทำให้ต้องแบกภาระต้นทุนที่อยู่ในระดับสูงเกิน ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่ยังไม่มีการขยับดอกเบี้ยก็อาจจะยังคงไว้ในระดับเดิมได้
"ตอนนี้จะเห็นได้ว่าทิศทางดอกเบี้ยของแบงก์ยังนิ่ง ยังไม่เห็นความเคลื่อนไหวที่ชัดเจนว่าจะขึ้นหรือลง คงต้องรอดูความชัดเจนในหลายๆเรื่อง และที่สำคัญก็คือสภาพคล่องของแต่ละธนาคารเอง จะเห็นได้ว่าเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา ก็เริ่มมีธนาคารขนาดเล็กทยอยออกแคมเปญเงินฝากดอกเบี้ยมาเป็นระยะ ซึ่งในช่วงต่อไปหากแบงก์ชาติต้องปรับลดดอกเบี้ยลงตามเทรนด์ต่างประเทศ และลงถึง 0.50% แบงก์ขนาดเล็กที่ทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยไปนั้น ก็คงต้องลดลง เพราะต้นทุนจะสูงมาก แต่แบงก์ใหญ่ที่ยังไม่มีการเคลื่อนไหว ก็คงจะยังตรึงดอกเบี้ยอยู่ได้”นายตรรกกล่าว
สำหรับแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายของไทยนั้น เท่าที่ประเมินจากที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ออกมากล่าวนั้น ทิศทางก็น่าจะต้องปรับลดลงบ้าง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้สามารถเติบโตได้ในระดับที่ทัดเทียมกับประเทศต่างๆในภูมิภาค เนื่องจากในปีที่แล้วเศรษฐกิจไทยก็มีอัตราการขยายตัวในระดับที่ต่ำกว่าประเทศอื่นๆอยู่
นอกจากนี้ ธปท.น่าจะนำเอาประเด็นในเงินทุนไหลเข้ามาพิจารณาด้วย เพราะหากธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)มีการปรับลดดอกเบี้ยในประชุมวันที่ 29-30 มกราคมนี้ อีก 0.50% เหลือ 3.00% ก็จะอยู่ในระดับที่ต่ำที่กว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่อยู่ในระดับ 3.25% และหากกนง.ไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยก็จะทำให้มีเงินไหลเข้าทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอีก
ส่วนการประชุมเฟดในครั้งนี้นั้น ก็ยังมีการคาดการณ์ว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.25-0.50% เนื่องจากตัวเลข New Home Sale ล่าสุดของสหรัฐที่ออกมานั้น มีอัตราที่ลดลงมาก ซึ่งเป็นสัญญาณว่าปัญหาซับไพรม์ได้กระทบต่อกำลังซื้อที่อยู่อาศัยของประชากรสหรัฐฯ ดังนั้น หากทางการต้องการกระตุ้นหรือแบ่งเบาภาระผู้ที่ต้องการซื้อบ้านก็จะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก