กสิกรไทย รับดอกเบี้ยปีนี้เป็นช่วงขาลง เป็นผลจากเฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างมาก และยังมีแนวโน้มจะปรับลดลงได้อีก ส่วน กนง.จะปรับลดดอกเบี้ยลงเท่าไหร่ตอบยาก เพราะปัจจัยโดยรวมมีการเปลี่ยนแปลง แนะใช้นโยบายการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการขาดดุลงบประมาณ คาดยกเลิกกันสำรอง 30% ปลายปี หลังประเมินผลกระทบซับไพรม์ชัดเจนขึ้น
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า สถานการณ์ในปัจจุบันถือได้ว่ามีความเปลี่ยนแปลงไปจากที่ได้คาดการณ์ในปีที่ผ่านมา จากเดิมคาดว่าในปีนี้จะเป็นช่วงที่อัตราดอกเบี้ยจะเป็นขาขึ้น แต่จากปัจจัยต่างๆในขณะนี้เช่นการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยถึง 1.25% และยังมีแนวโน้มจะปรับลดลงได้อีก ทำให้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยโลกเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย
อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถระบุชัดเจนได้ว่าอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยนั้น จะมีการปรับลดมากน้อยเท่าไหร่ เนื่องจากยังมีปัจจัยตัวแปรอื่นๆ ในประเทศเข้ามาประกอบ แต่เชื่อว่าอย่างน้อยน่าจะมีการปรับลดลงประมาณ 0.25% ส่วนทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์คงจะมีการปรับลดลงตามไปด้วยทั้งส่วนของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ แต่จะมากแค่ไหนขึ้นอยู่กับการแข่งขันและสภาพคล่องของแต่ละธนาคาร
“โจทย์ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ตอนนี้ยากขึ้น แต่เชื่อว่ายังคงให้ความสำคัญกับเรื่องของการกระตุ้นเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อไปควบคู่กัน และ กนง.ก็คงไม่จำเป็นต้องเลื่อนการประชุมให้เร็วขึ้นเหมือนที่เฟดทำ เพราะสถานการณ์ในบ้านเราไม่ได้เลวร้ายขนาดนั้น แต่ดอกเบี้ยจะลงเท่าไหร่ตอบยากมาก เพราะมันมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง”
นายประสาร กล่าวอีกว่า การกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันนั้น การใช้นโยบายการคลังน่าจะเห็นผลชัดเจนมากกว่านโยบายการเงิน โดยส่งผ่านด้วยการเพิ่มงบกลางปีและการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็น และด้วยฐานะการคลังในขณะนี้ยังมีโอกาสที่จะเพิ่มงบประมาณขาดดุลได้ แต่ไม่ควรจะจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลนี้ติดต่อกันนานเกินไป ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดในปีนี้จะน่าจะมีการเกินดุลน้อยลงจากปีที่ผ่านมา
“เศรษฐกิจไทยตอนนี้ขับเคลื่อนด้วยเอกชนถึง 80% ดังนั้น หน้าที่หลักที่ควรจะนำมาใช้เพื่อกระตุ้นให้เกิดความเชื่อมั่น ให้เอกชนอยากลงทุนเพิ่ม โดยเน้นจากนโยบายการคลัง เพราะหากใช้นโยบายการเงินมากระตุ้นด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยนั้น จะไม่สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากเท่าที่ควร อีกทั้งกลไกของการลดอัตราดอกเบี้ยที่จะสื่อไปสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจต้องใช้เวลาในการส่งผ่านหลายขั้นตอนพอสมควร”
นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงมาตรการกันสำรองเงินทุนนำเข้าระยะสั้น 30% ว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่เหมาะสมในการยกเลิก เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯยังผันผวน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทของไทยด้วย ดังนั้น ควรจะรอดูความชัดเจนของปัญหาซับไพรม์ก่อนว่าความเสียหายที่มีต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯจะมากน้อยเพียงใด และส่งผลกระทบต่อไทยอย่างไรบ้าง ซึ่งคาดว่า ปลายปีนี้ภาพของปัญหาทุกอย่างน่าจะชัดเจนมากขึ้น และอาจจะเป็นจังหวะเหมาะสมที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท.จะพิจารณายกเลิกมาตรการดังกล่าวได้
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในปีนี้ คือ เรื่องของเศรษฐกิจนอกประเทศที่จะเข้ามากระทบเศรษฐกิจไทย รวมถึงเรื่องการค้าระหว่างประเทศ ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและค่าครองชีพที่สูงขึ้น อีกทั้งปัจจัยราคาน้ำมันที่มีการปรับตัวสูงขึ้นจนเป็นภาระต่อทุกๆ ด้าน
นายประสาร กล่าวว่า คาดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ของธนาคารในปีนี้ จะทรงตัวในระดับ 4% ใกล้เคียงกับปีก่อนที่ 4.3% เนื่องจากมองว่า ต้นทุนทางการเงินปีนี้คงไม่เพิ่มขึ้น โดยต้นทุนทางการเงินของธนาคารปรับลดลงเรื่อยๆ ตั้งแต่ช่วงปีก่อน เป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า สถานการณ์ในปัจจุบันถือได้ว่ามีความเปลี่ยนแปลงไปจากที่ได้คาดการณ์ในปีที่ผ่านมา จากเดิมคาดว่าในปีนี้จะเป็นช่วงที่อัตราดอกเบี้ยจะเป็นขาขึ้น แต่จากปัจจัยต่างๆในขณะนี้เช่นการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยถึง 1.25% และยังมีแนวโน้มจะปรับลดลงได้อีก ทำให้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยโลกเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย
อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถระบุชัดเจนได้ว่าอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยนั้น จะมีการปรับลดมากน้อยเท่าไหร่ เนื่องจากยังมีปัจจัยตัวแปรอื่นๆ ในประเทศเข้ามาประกอบ แต่เชื่อว่าอย่างน้อยน่าจะมีการปรับลดลงประมาณ 0.25% ส่วนทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์คงจะมีการปรับลดลงตามไปด้วยทั้งส่วนของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ แต่จะมากแค่ไหนขึ้นอยู่กับการแข่งขันและสภาพคล่องของแต่ละธนาคาร
“โจทย์ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ตอนนี้ยากขึ้น แต่เชื่อว่ายังคงให้ความสำคัญกับเรื่องของการกระตุ้นเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อไปควบคู่กัน และ กนง.ก็คงไม่จำเป็นต้องเลื่อนการประชุมให้เร็วขึ้นเหมือนที่เฟดทำ เพราะสถานการณ์ในบ้านเราไม่ได้เลวร้ายขนาดนั้น แต่ดอกเบี้ยจะลงเท่าไหร่ตอบยากมาก เพราะมันมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง”
นายประสาร กล่าวอีกว่า การกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันนั้น การใช้นโยบายการคลังน่าจะเห็นผลชัดเจนมากกว่านโยบายการเงิน โดยส่งผ่านด้วยการเพิ่มงบกลางปีและการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็น และด้วยฐานะการคลังในขณะนี้ยังมีโอกาสที่จะเพิ่มงบประมาณขาดดุลได้ แต่ไม่ควรจะจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลนี้ติดต่อกันนานเกินไป ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดในปีนี้จะน่าจะมีการเกินดุลน้อยลงจากปีที่ผ่านมา
“เศรษฐกิจไทยตอนนี้ขับเคลื่อนด้วยเอกชนถึง 80% ดังนั้น หน้าที่หลักที่ควรจะนำมาใช้เพื่อกระตุ้นให้เกิดความเชื่อมั่น ให้เอกชนอยากลงทุนเพิ่ม โดยเน้นจากนโยบายการคลัง เพราะหากใช้นโยบายการเงินมากระตุ้นด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยนั้น จะไม่สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากเท่าที่ควร อีกทั้งกลไกของการลดอัตราดอกเบี้ยที่จะสื่อไปสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจต้องใช้เวลาในการส่งผ่านหลายขั้นตอนพอสมควร”
นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงมาตรการกันสำรองเงินทุนนำเข้าระยะสั้น 30% ว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่เหมาะสมในการยกเลิก เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯยังผันผวน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทของไทยด้วย ดังนั้น ควรจะรอดูความชัดเจนของปัญหาซับไพรม์ก่อนว่าความเสียหายที่มีต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯจะมากน้อยเพียงใด และส่งผลกระทบต่อไทยอย่างไรบ้าง ซึ่งคาดว่า ปลายปีนี้ภาพของปัญหาทุกอย่างน่าจะชัดเจนมากขึ้น และอาจจะเป็นจังหวะเหมาะสมที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท.จะพิจารณายกเลิกมาตรการดังกล่าวได้
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในปีนี้ คือ เรื่องของเศรษฐกิจนอกประเทศที่จะเข้ามากระทบเศรษฐกิจไทย รวมถึงเรื่องการค้าระหว่างประเทศ ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและค่าครองชีพที่สูงขึ้น อีกทั้งปัจจัยราคาน้ำมันที่มีการปรับตัวสูงขึ้นจนเป็นภาระต่อทุกๆ ด้าน
นายประสาร กล่าวว่า คาดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ของธนาคารในปีนี้ จะทรงตัวในระดับ 4% ใกล้เคียงกับปีก่อนที่ 4.3% เนื่องจากมองว่า ต้นทุนทางการเงินปีนี้คงไม่เพิ่มขึ้น โดยต้นทุนทางการเงินของธนาคารปรับลดลงเรื่อยๆ ตั้งแต่ช่วงปีก่อน เป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง